The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิจัยในชั้นเรียน

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วรัญญา แก้วบุตรดา, 2024-02-01 21:23:56

วิจัยในชั้นเรียน

วิจัยในชั้นเรียน

บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เสียง ซึ่งเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีจำนวนทั้งหมด 20 ข้อ คะแนนเต็ม 20 คะแนน ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ STEM จากนั้นนำคะแนนการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน แสดงผลดังตารางที่ 3 ตารางที่ 3 ผลการศึกษาสะเต็มศึกษา (STEM) เร่ือง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เลขที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน (20 คะแนน) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ( 20 คะแนน ) คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ 1 5 25 16 80 2 8 40 15 75 3 3 15 13 65 4 6 30 16 80 5 7 35 14 70 6 5 25 16 80 7 8 40 13 65 8 5 25 14 70 9 6 30 15 75 10 3 15 16 80 11 7 35 15 75 12 5 25 16 80 13 9 45 15 65 14 5 25 14 70


44 ตารางที่ 3 ผลการศึกษาสะเต็มศึกษา (STEM) เร่ือง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (ต่อ) จากตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้สะเต็ม ศึกษา (STEM) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.73 คิดเป็น เลขที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน (20 คะแนน) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน ( 20 คะแนน ) คะแนน ร้อยละ คะแนน ร้อยละ 15 8 40 12 60 16 4 20 15 75 17 9 45 14 70 18 9 45 13 65 19 7 35 16 80 20 8 40 11 55 21 4 20 15 75 22 5 25 13 65 23 4 20 10 50 24 7 35 14 70 25 9 45 13 65 26 10 50 16 80 27 7 35 16 80 28 6 30 14 70 29 8 40 15 75 30 9 45 15 75 31 8 40 12 60 32 9 45 14 70 33 7 35 11 55 คะแนนเฉลี่ย 6.73 33.33 14.15 72.85 S.D 1.23 - 1.87 -


45 ร้อยละ 33.33 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 14.15 คิดเป็นร้อยละ 72.85 ซึ่งไม่น้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 เป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็ม ศึกษา (STEM) เรื่อง เสียง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อน เรียนและหลังเรียน ได้นำคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนจากการทดสอบวัดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ มาวิเคราะห์เปรียบเทียบโดยการทดสอบ t-test for Dependent Sample ผลการวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผลดังตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ผลการเปรียบเทียบทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) ก่อนเรียนและหลังเรียน การทดสอบ n คะแนนเต็ม คะแนนเฉลี่ย S.D. ร้อยละ t-test ก่อนเรียน 33 20 6.73 1.23 33.33 25.45 หลังเรียน 33 20 14.15 1.87 72.85 **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จากตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 พบว่านักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 6.73 คิดเป็นร้อยละ 33.33 และ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 14.15 คิดเป็นร้อยละ 72.85 เมื่อทำการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง ด้วยการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ( t-test Dependent Samples ) ปรากฏว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังสูงกว่าก่อนเรียน อย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 ผลการเปรียบเทียบจากแบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา ก่อนเรียนและหลัง เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) เรื่อง เสียง ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา โดยใช้สถิติได้แก่ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้เกณฑ์ในการแปลผลระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา ทางฟิสิกส์ของนักเรียนดังตารางที่5


46 ตารางที่ 5 ผลคะแนนและระดับความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาของโพลยา ของนักเรียนก่อน และหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ คะแนนความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ N คะแนน เต็ม MAX MIN S.D. X ระดับความสามารถใน การแก้โจทย์ปัญหา ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ 33 100 47 8 8.21 25.70 พอใช้ หลังได้รับการจัดการเรียนรู้ 33 100 85 30 15.49 42.92 ปานกลาง จากตารางที่ 5 ผู้วิจัยวัดความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาทางฟิสิกส์ของนักเรียนทั้งก่อนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เสียง โดยใช้แบบวัดความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาทางฟิสิกส์ตาม กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา โดยนำคะแนนเฉลี่ยที่ได้มาทำการแปลผลระดับความสามารถฺดังกล่าว ตามเกณฑ์การให้คะแนนพบว่า ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ นักเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.70 คะแนน ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฺฐาน 8.21 ส่วนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีค่าเฉลี่ยความสามารถเท่ากับ 42.92 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.49 โดยทั้งก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้นักเรียนมีระดับ ความสามารถในระดับปานกลาง


บทที่ 5 สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ การวิจัย เรื่องการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEM วิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียง โดยการจัดการเรียนรู้ตาม แนวคิดสะเต็มศึกษา เพื่อศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ ข้อมูลสามารถสรุปผล อภิปรายผล และให้ข้อเสนอแนะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาวิชาฟิสิกส์เรื่อง เสียง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนมีความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาทางฟิสิกส์ โดยได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการแก้โจทฺย์ปัญหาของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สมมติฐานของการวิจัย 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาวิชาฟิสิกส์เรื่อง เสียง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 2. นักเรียนมีความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาทางฟิสิกส์ โดยได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการแก้โจทฺย์ปัญหาของโพลยา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย 1. ประชากร กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 78 คน 2. ตัวแปรที่ศึกษา 2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยสเต็มศึกษา (STEM) วิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียง 2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา 3. เนื้อหาที่วิจัย เน ื้อหาที่ผู้วิจัยนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตัวชี้วัดในสาระที่ 2 มาตรฐาน ว 2.3 ประกอบด้วยเนื้อหา ย่อยดังนี้


48 3.1 การสะท้อน การหักเห การเลี้ยวเบน ของคลื่นเสียง 3.2 ความเข้มเสียงกับระดับเสียง 3.3 การเกิดเสียงสะท้อนกลับ บีต ดอปเพลอร์ 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้เวลาในการ ทดลอง 15 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1.1 แผนการจัดการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ ที่ใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 3 แผนการจัดการเรียนรู้ใช้เวลา 9 ชั่วโมง ประกอบด้วยเนื้อหาย่อย ดังนี้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเกิดเสียง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความเข้มเสียงกับระดับเสียง แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ปรากฏการณ์ดอปเพลอร์ 1.2 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัด ความรู้ ความเข้าใจหรือความสามารถทางสติปัญญาที่สามารถวัดออกมาเป็นคะแนน หลังจากได้จัดกิจกรรม การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา ซึ่งแบบทดสอบเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 1.3 แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา วิชาฟิสิกส์ เรื่อง เสียง เป็นแบบทดสอบ ถาม-ตอบ 5 ข้อ การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. ก่อนการทดลอง ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เพื่อนำคะแนนมาวิเคราะห์เป็นคะแนนก่อนเรียน 2. ผู้วิจัยดำเนินการสอนนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่อง เสียง จำนวน 3 แผน รวม 15 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 5 สัปดาห์ 3. เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการทดลองหลังเรียน โดยให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัด ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ ชุดเดิมกับทดสอบก่อนเรียน เพื่อนำคะแนนมา วิเคราะห์เป็นคะแนนหลังเรียน


49 การวิเคราะห์ข้อมูล นำคะแนนผลการทดสอบการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน มาคิด คะแนนเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วนำคะแนนทั้งสองมาเปรียบเทียบโดยใช้ สถิติ t-test for Dependent Sample สรุปผลการวิจัย จากการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 เพื่อ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สรุปผลการศึกษา ได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด (ร้อยละ 70) 2. นักเรียนมีระดับความสามารถฺในการแก้โจทย์ปัญหฺาทางฟิสิกส์ก่อนเรียนอยู่ในระดับพอใช้ และหลังได้รับ การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา อยู่ในระดับปานกลาง อภิปรายผล จากผลการศึกษาการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ บูรณาการเรียนรู้ แบบสะเต็ม เรื่อง เสียง สามารถ อภิปรายผลการวิจัย ได้ดังต่อไปนี้ 1. ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM) 1.1 คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEM เรื่อง เสียง สูงกว่าก่อนใช้หน่วยการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดไว้ (ร้อยละ 70) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อาจเนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้้ หน่วยการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาเป็นการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของ 4 รายวิชา ได้แก่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์ โดยเชื่อมโยงกัน ผ่านหัวข้อ (Theme) ของหน่วยการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) ที่กำหนดไว้ นักเรียนจะได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่มี ความหลากหลาย เช่น การออกแบบการทดลอง ต่าง ๆ การสร้างชิ้นงานจากกระบวนการออกแบบเชิง วิศวกรรม แต่ละกิจกรรมมุ่งเน้นให้นักเรียน ระดมความคิด ลงมือปฏิบัติ สร้างองค์ความรู้ ด้วยตนเอง และนำ ความรู้ที่เรียนไปประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง นักเรียนได้เรียนรู้ จากรูปธรรมสู่นามธรรม ส่งผล ให้เข้าใจสาระ รายวิชาวิทยาศาสตร์มากขึ้น สอดคล้องกับ Henson (2001 อ้างถึงใน กมลฉัตร กล่อมอิ่ม (2562, 95 น.99) กล่าวว่า การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้ จะต้องบูรณาการประสบการเรียนรู้ กับชีวิตจริง กระบวนการเรียนรู้ และการประเมินเน้นการปฏิบัติเน้นการรับรู้ ถึงสังคมและพฤติกรรมทำงาน ร่วมกัน และ สนองความต้องการของนักเรียนแต่ละคนที่มีระดับการเรียนรู้แตกต่างกัน ซึ่งสอดคล้องกับ วศิณีส์อิศรเสนา ณ อยุธยา (2559, น.20) กล่าวว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ STEM เป็นการเรียนการสอนที่สร้างองค์ ความรู้ให้นักเรียน ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสิ่งต่าง ๆ โดยเรียนรู้จาก รูปธรรมสู่นามธรรม ลงมือปฏิบัติให้เกิดองค์


50 ความรู้ ผลการศึกษานี้ สอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิริลักษณ์ชาวลุ่มบัว (2558, น.148-150) ที่ได้พัฒนา หลักสูตรตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง อ้อย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนของนกัเรียนหลัง การใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 70) และสุชานาฏ สุวรรณพิบูลย์(2559, น.84-85) ที่ได้ พัฒนาหน่วยการ เรียนรู้บูรณาการ เรื่อง บ้านพักเชิงนิเวศ ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 1 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสงู กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .01 และนัสรินทร์บือชา (2558, น.59) ได้จัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสมั ฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา หลังเรียนสงู กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 1.2 คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลัง ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็มศึกษา (STEM) เรื่อง เสียง การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยแบ่งการอภิปรายออกเป็น 2 ประเด็นดังนี้ 1.ผลของระดับความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์จากการใช้แบบวัด ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ตามแนวทางกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาพบว่า นักเรียนกลุ่มที่ศึกษาทั้งหมดมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 42.92 คะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนนซึ่งนักเรียน ส่วนใหญ่มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์อยู่ในระดับพอใช้รองลงมาคือระดับปรับปรุง และ ระดับปานกลาง โดยไม่มีนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ในระดับดีและดีมาก และ พบปัญหาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ ในแต่ละองค์ประกอบทั้งนี้อาจเป็นเพราะนักเรียนไม่ เข้าใจในเนื้อหาในเรื่อง เสียง และการน ากฎของนิวตันมาประยุกต์เพื่อแก้สถานการณ์ต่าง ๆ อีกทั้งไม่คุ้นชิน กับการทำแบบวัดในรูปแบบที่เป็นลำดับขั้นตอนจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้เรียนกลุ่มนี้มีความสามารถในการแก้ โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์อยู่ในระดับพอใช้และควรปรับปรุง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Chaichana(2017) ได้ ศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยากับนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่กล่าวว่าความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาที่นักเรียนสามารถแสดงออกและ ยังคงบกพร่องอยู่มากคือตั้งแต่การดำเนินการแก้โจทย์ปัญหาไปจนถึงการสรุปคำตอบและตรวจสอบความ สมเหตุสมผล 2. แบบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ตามแนวทางกระบวนการแก้โจทย์ ปัญหาของโพลยาเป็นแบบวัดที่มีข้อคำถามที่กระตุ้นให้ผู้ทดสอบสะท้อนความสามารถในแก้โจทย์ปัญหาตาม กระบวนแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา ได้แก่ ขั้นที่ 1 การทำความเข้าใจโจทย์ปัญหาขั้นที่ 2 การวางแผนการ ดำเนินการแก้โจทย์ปัญหา ขั้นที่ 3 การดำเนินการตามแผนและขั้นที่ 4 การตรวจสอบผลลัพธ์โดยข้อสอบที่ สร้างขึ้นเป็นข้อสอบแบบเขียนตอบ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง เสียง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐานพุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560) ซึ่งต้องใช้หลักการในการแก้สมการทางคณิตศาสตร์ การหา องค์ประกอบที่โจทย์กำหนด และการเปลี่ยนโจทย์ให้อยู่ในรูปของแผนภาพและสัญลักษณ์ทางฟิสิกส์สามารถ


51 นำไปใช้ในการวัดความสามารถของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีทั้งยังใช้ในการจำแนกผู้เรียนตามระดับความสามารถ ของความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ทั้งนี้เป็นเพราะ แบบวัดฯ นี้มีขั้นตอนการสร้างและ ตรวจสอบคุณภาพอย่างถูกต้องเหมาะสมเป็นลำดับ ซึ่งจุดเด่นของแบบวัดฯ นี้คือมีข้อคำถามที่กระตุ้นให้ นักเรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาตามกระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา ส่วน ข้อจำกัดของแบบวัดฯ นี้คือ ลักษณะของโจทย์ปัญหาที่มีความซับซ้อนที่ไม่เท่ากันโดยความซับซ้อนขึ้นอยู่กับ เนื้อหาและสถานการณ์โจทย์ปัญหา ซึ่งสถานการณ์ที่ประกอบด้วยแรงหลายแรงที่กระทำกับวัตถุ จะต้อง พิจารณาแรงให้อยู่ในแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุ หากแรงไม่อยู่ในแนวการเคลื่อนที่จะต้องมีการแยก องค์ประกอบของแรงให้อยู่ในแนวการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยบางข้ออาจต้องการเวลาในการทำค่อนข้างมากกว่า ข้ออื่น ๆ ซึ่งผู้เรียนมีความจำเป็นต้องบริหารเวลาในการทำแบบวัดฯ ลักษณะนี้ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ Rawanprakhon (2017) ที่กล่าวถึงความซับซ้อนของข้อสอบ มีผลต่อการให้เวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบโดย หากเวลาเพียงพอและเหมาะสมกับการให้นักเรียนตอบคำถามนักเรียนจะสามารถสะท้อนคำตอบออกมาได้ดี มากยิ่งขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้ 1.1 ก่อนนำหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ ควรศึกษาในด้านผลการเรียนรู้ ขอบเขตเนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลก่อนนำหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ 1.2 การนำหน่วยการเรียนรู้ไปใช้ ควรคำนึงถึงบริบทของโรงเรียน ขอบเขตเนื้อหาของนักเรียน ความ พร้อมของสื่อการสอน อุปกรณ์การทดลองและสถานที่ในการทดลองต้องเพียงพอ ต่อนักเรียน 1.3 ในการจัดการเรียนการสอนตามหน่วยการเรียนรู้ ผู้สอนควรมีความเข้าใจในรูปแบบการจัดการ เรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เนื้อหาฟิสิกส์เพิ่มเติมเรื่อง เสียง เพื่อเป็นผู้ชี้แนะที่ดีสามารถดำเนินกิจกรรมการ เรียนรู้ได้อย่างราบรื่น และสามารถพัฒนาต่อยอดให้นักเรียนกำหนดปัญหาที่เกี่ยวข้องตามสถานการณ์ที่ก าหนดให้ด้วยตนเอง ช่วยเพิ่มความท้าทายของนักเรียนมากขึ้น 2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป 2.1 ควรมีการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการแบบ STEM โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอื่น ๆ เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ใช้กิจกรรมเป็นฐาน การใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นต้น เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของนักเรียน 2.2 จากผลของงานวิจัยที่ได้ทำการศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ โดยใช้แบบ วัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ตามแนวทางกระบวนแก้โจทย์ปัญหาของโพลยานักเรียนมี ระดับความสามารถอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นครูผู้สอนฟิสิกส์หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญ


52 ในการจัดการเรียนรู้ควรนำผลของการศึกษาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ที่ได้จากการวิจัย ครั้งนี้ไปดำเนินการออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริม และกระตุ้นพฤติกรรมในการแก้โจทย์ปัญหา ทางฟิสิกส์ที่ยังคงบกพร่องให้เกิดการพัฒนาต่อไป บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว. กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. กนกพรรณ ภูกองพลอย. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ และ


53 ความพึ่งพอใจในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องธุรกิจใช้ ชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่จัดการเรียนรู้แบบ CIPPA กับการ จัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัย มหาวิทยาลัย มหาสารคาม. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.). กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว. รักษพล ธนานุวงศ์. เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วย STEM Education แบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2556. ฤทัย เพลงวัฒนา. สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้วิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 2556. พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2558). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการชั้นเรียนและ สิ่งแวดล้อมเพื่อ การเรียนรู้ . ม.ป.ท.:ม.ป.พ.. พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Educationกบการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, 33(2), 49-56. พลศักดิ์ แสงพรมศรี . (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขั้นบูรณาการ และเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 ที่ได้รับการจัดการ เรียนรู้ สะเต็มศึกษากับแบบปกติ(Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษาเทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตรสุวีริยาสาส์น, 2538. วชิระ ศรีคุ้ม. (2559). “การจัดการเรียนรู้ตาม แนวสะเต็มศึกษา (STEM Education: The innovation Way of Learning)”, www.slideshare.net/wawachira/stemeducation-62525207. กันยายน, 2559. วิจารณ์ พานิช. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี- สฤษดิ์วงศ์, 2555. ศิริภรณ์ เม่นมั่น. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนตาม ทฤษฎีสรรคนิยมกับการ สอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2543 จุไรรัตน์ สอนสีดา. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับ กระบวนการแก้ โจทย์ปัญหา ตามเทคนิคของโพลยา ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ความสามารถในการแก้โจทย์


54 ปัญหา และเจตคติต่อวิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5. Veridian e-Journal ฉบับ ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(3), 21-37 นฤมล ฉิมงาม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ โดยใช้เทคนิคการ แก้ปัญหาของ โพลยาผสานกับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี, ปทุมธานี พันธ์ทิพา พิณทิพย์. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง "พื้นที่ผิวและปริมาตร" โดยใช้การแก้ปัญหาแบบ ฮิวริสติกส์. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(3), 129-137. สมฤทัย พุทธมนต์สิงห์. (2559). การศึกษาความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับใช้ในวิชาฟิสิกส์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบการแก้ปัญหาของ Polya ร่วมกับเทคนิค KWDL. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น , 10(พิเศษ), 129-137. สิริเกศ หมัดเจริญ. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชัน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ ฉบับ วิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(4) Tawfik, A., Trueman, R.J. & Trueman, M.M. (2014). Engaging non-sciencetists in STEM through problem-based learning and service learning. Interdisciplinary Journal of Problembased Learning, 8(2), 1-10


55 ภาคผนวก


56 ภาคผนวก ก: รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินเครื่องมือวิจัย ภาคผนวก ข: แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM) ภาคผนวก ค: การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของหน่วยการเรียนรู้ด้วยสะเต็ม ศึกษา เรื่อง เสียง ภาคผนวก ง: ภาพประกอบการวิจัย และผลงานนักเรียน


57 ภาคผนวก ก รายชื่อผู้เชี่ยวชาญในการตรวจประเมินเครื่องมือวิจัย


58 รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ที่ประเมินแผนการจัดการเรียนรู้และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน มีรายนามดังต่อไปนี้ 1. นางสาวดวงแข มณีสุข ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า 2. นางวราภรณ์ พันธนะบุตร ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า 3. นางสาวพิภาพร วงษ์ปัตตา ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า


59 ภาคผนวก ข ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM)


60 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ STEM รหัสวิชา ว31203 ฟิสิกส์ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง เสียง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่อง การเกิดเสียง เวลา 3 ชั่วโมง ครูผู้สอน นางสาววรัญญา แก้วบุตรดา 1. มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด / ผลการเรียนรู้ สาระที่ 6 สาระฟิสิกส์ เข้าใจการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ธรรมชาติของคลื่น เสียงและการได้ยิน ปรากฏการณ์ที่ เกี่ยวข้องกับเสียง แสงและการมองเห็น ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแสง รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ผลการเรียนรู้ อธิบายการเกิดเสียง การเคลื่อนที่ของเสียง ความสัมพันธ์ระหว่างคลื่น การกระจัดของอนุภาคกับคลื่น ความดัน ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วของเสียงในอากาศที่ขึ้นกับอุณหภูมิในหน่วยองศาเซลเซียส สมบัติของ คลื่นเสียง ได้แก่ การสะท้อน การหักเห การแทรกสอด การเลี้ยวเบน รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2. สาระสำคัญ เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง แล้วถ่ายโอนผ่านตัวกลาง เสียงจะเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิด เสียงโดยมีโมเลกุลของอากาศ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการถ่ายโอนพลังงานของคลื่นเสียงนั้น โดยอัตราเร็วของ เสียงในอากาศจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของอากาศ 3. จุดประสงค์การเรียนรู้ 3.1 อธิบายการเกิดเสียงและการถ่ายโอนพ ลังงานของเสียงผ่านอากาศได้(K) 3.2 ออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการสร้างชุดทดลองเรื่อง เสียงที่มองเห็น (P) 3.3 มีความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ตรงตามที่กำหนดและตรงต่อเวลา (A) 4. สาระสำคัญ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์) เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียง และถ่ายโอนพลังงานการสั่นไปยังอนุภาค ตัวกลางที่อยู่ติด กับแหล่งกำเนิดเสียง ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นและเกิดการถ่ายโอนพลังงาน ต่อไปยังอนุภาคที่อยู่ถัดกันไป เรื่อย ๆ จนถึงหูผู้ฟัง หากไม่มีตัวกลางเพื่อการถ่ายโอนพลังงานจาก แหล่งกำเนิดเสียง เราจะไม่สามารถได้ยิน เสียงได้ ความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ว 5.1 ม.4-6/2, ว 5.1 ม.4-6/3, ว 8.1 ม.4-6/4


61 เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยี ช่วยในการบันทึกข้อมูลผลการทดลองการมองเห็นคลื่นเสียง เป็นสิ่งจำเป็น เพราะ ลักษณะการสั่นอนุภาคของเสียงจากแหล่งกำเนิดที่ต่างกัน จะได้ลักษณะของ คลื่นเสียงที่ต่างกัน และการใช้ เทคโนโลยีในการบันทึกภาพ จะช่วยให้เห็นการเปรียบเทียบรูปร่าง ของคลื่นเสียงได้ชัดเจน และเป็นการสร้าง จิตสำนึกที่ดีในการใช้งานอย่างมีคุณธรรม ความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ง 3.1 ม.4-6/6 คณิตศาสตร์ การมองเห็นคลื่นเสียง ต้องมีการออกแบบการทดลองโดยใช้วัสดุที่ช่วยทำให้เห็นเป็นภาพคลื่นเสียง ออกมา โดยวัสดุต้องมีการวัดขนาด และคำนวณพื้นที่ของวัสดุให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับภาพคลื่นเสียงที่ตก กระทบลงมา ความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ค 6.1 ม.4-6/2 วิศวกรรมศาสตร์ การนำความรู้ เรื่องเสียงมาใช้ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ปัญหาเรื่องเสียงใน ชีวิตประจำวัน อาศัย หลักการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยเริ่มขั้นตอนการระบุปัญหา (Identify a challenge) เป็นขั้นตอนผู้ แก้ปัญหาทำความเข้าใจสิ่งทีเป็นปัญหาในชีวิตประจำวันโดยใช้ความรู้ที่ศึกษามาแล้ว ความสอดคล้องกับตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเพิ่มเติม 1 5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5.1 ความสามารถในการสื่อสาร 5.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา 5.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5.4 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี 6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 6.1 ซื่อสัตย์ 6.2 ใฝ่เรียนรู้ 6.3 มุ่งมั่นในการทำงาน


62 7. กิจกรรมการเรียนรู้(ใช้วิธีการสอนแบบ สะเต็มศึกษา) 7.1 ขั้นที่ 1 ระบุปัญหา 1. นักเรียนแต่ละคนให้นิยามของคำว่า “เสียง” ลงในสมุดของตน แล้วจับคู่กับเพื่อนข้างๆ เพื่อนำเสนอ แนวคิดของตนให้เพื่อนฟัง จากนั้นครูสุ่มนักเรียน 3 คนออกมาอธิบายเกี่ยวกับนิยามคำว่าพลังงานเพื่อเป็นการ แลกเปลี่ยนความคิดกัน (เทคนิค Think-Pair-Share) 2. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆ ละ 5 คน ทำกิจกรรมเสียงที่มองเห็น 7.2 ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับปัญหา 3. นักเรียนศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเรื่อง การเปลี่ยนรูปแบบพลังงาน 4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นดังต่อไปนี้ - การเกิดเสียง - การถ่ายโอนพลังงานของเสียง 5. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการออกแบบและนำการทดลองที่กำหนดไว้ 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาการออกแบบเสียงที่มองเห็น 7. นักเรียนแต่ละกลุ่มสำรวจอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว่ให้ เพื่อนำมาสร้างเสียงที่มองเห็น -พลาสติกแรปใส 1 ม้วน -ลำโพงขยายเสียง 1 ตัว -อุปกรณ์แหล่งกำเนิดเสียง -อุปกรณ์บันทึกภาพ -แผ่นซัดีที่ไม่ใช้แล้ว 1 แผ่น 8. นักเรียนแต่กลุ่มสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกแต่ละคนแล้วรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเสียง ที่มองเห็น 7.3 ขั้นที่ 3 ออกแบบวิธีการแก้ปัญหา 9. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลอง เรื่อง เสียงที่มองเห็น จากการค้นหาข้อมูลและแนวคิดที่ได้จาก การวิเคราะห์ข้อมูล 7.4 ขั้นที่ 4 วางแผนและดำเนินการแก้ปัญหา 10. ให้นักเรียนวางแผน และลงมือทำการทดลอง เรื่อง เสียงที่มองเห็น และตอบคำถามในกิจกรรม 7.5 ขั้นที่ 5 ทดสอบประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขวิธีการแก้ไขปัญหาหรือชิ้นงาน 11. นักเรียนทำการทดลอง เรื่อง เสียงที่มองเห็น นักเรียนประเมินว่าสามารถออกแบบผนังห้องเก็บ เสียงรูปทรงต่าง ๆ ให้เก็บเสียงได้เบาที่สุด แล้วนำมาหาวิธีการปรับปรุงแก้ไขปัญหา 7.6 ขั้นที่ 6 นำเสนอวิธีแก้ไขปัญหาผลงานหรือชิ้นงาน 12. นักเรียนนำเสนอและร่วมอภิปรายเกี่ยวกับกรอบแนวคิด ขั้นตอนการสร้าง และ วิธีการออกแบบ การเลือกใช้อุปกรณ์ ตลอดจนวิธีการปรับปรุงแก้ไขเสียงที่มองเห็น


63 13. ครูนำอภิปรายเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรางรถไฟหรรษา 8. แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ 1. อุปกรณ์ในการประดิษฐ์ชิ้นงานได้แก่ -พลาสติกแรปใส 1 ม้วน -ลำโพงขยายเสียง 1 ตัว -อุปกรณ์แหล่งกำเนิดเสียง -อุปกรณ์บันทึกภาพ -แผ่นซัดีที่ไม่ใช้แล้ว 1 แผ่น 2. สื่อการเรียนรู้ - ใบงานที่ 1 เรื่อง เสียงที่มองเห็น 3. แหล่งเรียนรู้ -หนังสือเรียนฟิสิกส์ 3 ม.5 -ค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต 10. การวัดและประเมินผล การวัดและประเมินผลจุดประสงค์ วิธีการวัดผล เครื่องมือวัด เกณฑ์การประเมินผล ความรู้ (K) อธิบายการเกิดเสียงและการถ่ายโอนพ ลังงานของเสียงผ่านอากาศได้ การถามตอบ คำถามในห้องเรียน นักเรียนตอบคำถามได้ ถูกต้องมากกว่าร้อยละ 60 ทักษะกระบวนการ(P) ออกแบบและเลือกใช้วัสดุในการ สร้างชุดทดลองเรื่อง เสียงที่มองเห็น การประดิษฐ์ ชิ้นงาน ชิ้นงานนักเรียน นักเรียนมีผลการ ประเมินอยู่ในร้อยละ 60 ขึ้นไป คุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) ความรับผิดชอบทำงานที่ได้รับ มอบหมายได้สมบูรณ์ตรงตามที่กำหนด และตรงต่อเวลา การสังเกต พฤติกรรม แบบสังเกต พฤติกรรมในชั้น เรียน นักเรียนร้อยละ 70 ผ่าน เกณฑ์การประเมินใน ระดับ “ดี” ขึ้นไป 11. กิจกรรมเสนอแนะ นักเรียนควรศึกษาหรือค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเสียงในชีวิตประจำวัน เพื่อให้เข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น


64 แบบสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน เรื่องที่สอน : การเกิดเสียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วัน/เดือน/ปี ที่สอน............................. เวลา............................ ผู้สังเกต : นางสาววรัญญา แก้วบุตรดา คำชี้แจง : สังเกตการณ์ทำงานและการให้ความร่วมมือของนักเรียนเป็นกลุ่มโดยทำเครื่องหมาย ✓ ลงใน ช่องว่าง กลุ่มที่ รายการประเมิน/คะแนน รวม ผ่าน ไม่ผ่าน ความสนใจ ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมถึงยอมรับฟังความ คิดเห็นผู้อื่น 1 2 1 2 4 1 2 3 4 5 6 เกณฑ์การประเมิน ช่วงคะแนน 3-4 1-2 การประเมิน ผ่าน ไม่ผ่าน เกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการเรียน พฤติกรรมการเรียน ระดับคะแนน 2 1 ความสนใจเรียน ตั้งใจเรียน ตอบคำถาม ไม่ค่อยตั้งใจเรียน ตอบได้บ้าง


65


66


67


68


69 ภาคผนวก ค ตัวอย่างการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยสะเต็ม


70 แบบประเมินความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) แผนการจัดการการเรียนรู้รูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เรื่อง เสียง รายวิชา ฟิสิกส์ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยผู้เชี่ยวชาญ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเกิดเสียง 3 ชั่วโมง ที่ รายการประเมิน ความคิดเห็นของ ผู้เชี่ยวชาญ ∑R IOC คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3 1. สาระสำคัญ +1 +1 +1 1.1 เขียนได้ใจความสำคัญของเรื่อง +1 +1 +1 3 1 1.2 สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ +1 +1 +1 3 1 2. จุดประสงค์การเรียนรู้ +1 +1 +1 2.1 ถูกต้องครอบคลุมเนื้อหา +1 +1 +1 3 1 2.2 สามารถวัดและประเมินได้ +1 +1 +1 3 1 3. สาระการเรียนรู้สอดคล้องกับตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้ +1 +1 +1 3 1 4. กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4.1 การจัดการเรียนรู้เป็นไปตามรูปแบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) +1 +1 +1 3 1 4.2 กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และ เนื้อหา/สาระการเรียนรู้ +1 +1 +1 3 1 4.3 กิจกรรมเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน +1 +1 +1 3 1 4.4 กิจกรรมสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วย ตนเอง +1 +1 +1 3 1 4.5 กิจกรรมส่งเสริมผลการเรียนรู้ด้านความรู้ของผู้เรียน +1 +1 +1 3 1 4.6 กิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ ผู้เรียน +1 +1 +1 3 1 4.7 กิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด และนำเสนอ ผลงาน +1 +1 +1 3 1 4.7 เวลาที่ใช้เพียงพอต่อกิจกรรมการเรียนรู้ ++11 +1 +1 3 1 5. สื่อการเรียนรู้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ ++1 +1 +1 3 1


71 6. การวัดและประเมินผล +1 +1 6.1 การวัดและประเมินผลมีความหลากหลาย +1 +1 +1 3 1 6.2 วิธีวัดและเครื่องมือวัด สามารถวัดได้ +1 +1 +1 3 1 6.3 ตรงและครบถ้วนตามจุดประสงค์การเรียนรู้ +1 +1 +1 3 1


72 ภาคผนวก ง ตัวอย่าง ภาพประกอบการวิจัย และผลงานนักเรียน


73


74 ประวัติผู้วิจัย ชื่อ นางสาววรัญญา แก้วบุตรดา วัน เดือน ปีเกิด 25 มกราคม พ.ศ.2544 สถานที่เกิด โรงบาลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี สถานที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 12 ตำบลไชยวาน อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี41290 หมายเลขโทรศัพท์ 062-1234205 ประวัติการศึกษา วุฒิการศึกษา ชื่อสถาบัน ปีที่สำเร็จการศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลไชยวาน 2556 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหนองคายวิทยาคาร 2559 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2562


Click to View FlipBook Version