บุ ค ค ล สำ คั ญ ใ น ว ง ก า ร น า ฏ ศิ ล ป์ ไ ท ย
สุวรรณี
ชลานุเคราะห์
จั ด ทำ โ ด ย
น า ง ส า ว ล ลิ ต ภั ท ร ป า น น อ ก ม . 5 / 4 เ ล ข ที่ 1 6
นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์ ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2469
ที่จังหวัดนนทบุรี เป็นละครหลวง สำนักพระราชวังรุ่นสุดท้าย
ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นนาฏ
ศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ทั้งแบบพื้นเมืองและ
แบบราชสำนัก เคยแสดงเป็นตัวเอกในละครแบบต่างๆ ให้กรม
ศิลปากรมาแล้วมากมายหลายเรื่องหลายตอน บทบาทที่ได้รับ
การยกย่องและนิยมชมชอบจากผู้ชมมากที่สุด “ตัวพระ” เช่น
อิเหนา สังข์ทอง พระไวย ไกรทอง สัตยวาน บางครั้งก็แสดง
เป็น “นางเอก” เช่น ละเวงวัลลา เป็นต้น
แม่ครูสุวรรณี เป็นผู้อนุรักษ์แบบแผนท่ารำนาฏศิลป์ไทย
และละครรำไว้ได้มากที่สุด เคยแสดงและนำคณะไปแสดงแลก
เปลี่ยนวัฒนธรรมในหลายประเทศ ได้ถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ให้
กับนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย และโรงเรียนต่าง ๆ
หลายแห่ง เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยจริยธรรมคุณธรรม และอุทิศ
ตนเพื่อประโยชน์ให้แก่สาขาวิชาชีพมาเป็นเวลากว่า 50 ปี จน
เป็นที่ยอมรับกันในวงการนาฏศิลปินว่า เป็นผู้มีความสามารถ
สูงยิ่งต่อเนื่องมาตลอด ท่านจึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ
เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ – ละคร
รำ) พุทธศักราช 2533
แรงบันดาลใจ
ท่านเริ่มมีความสนใจทางด้านนาฏศิลป์ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้มี
โอกาสไปชมการฝึกซ้อมละครหลวงที่ท้ายพระบรมมหาราชวังเมื่อ
อายุได้เพียง ๖ ปี โดยมี คุณมณฑาฯ นักแสดงละครหลวง ผู้
ซึ่งท่านนับถือเป็นพี่ เป็นผู้พาเข้าไปชม เมื่อได้ไปเห็นการฝึกซ้อม
ละครในครั้งนั้น ท่านก็รู้สึกชอบขึ้นมาทันทีจึงได้ขอร้องให้คุณ
มณฑาพาไปสมัครเป็นตัวละครหลวงภายใต้การควบคุมดูแลของ
พระยานัฏกานุรักษ์ และคุณหญิงเทศ ในที่สุด ท่านก็ได้เข้ารับการ
ฝึกฝนเป็นตัวละครหลวงรุ่นจิ๋วในราชสำนัก พระบาทสมเด็จพระ
ปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สมดังปรารถนา โดย ท่านเจ้าคุณและคุณ
หญิงนัฏกานุรักษ์ได้คัดเลือกให้ท่านหัดเป็นตัวนาง โดยมี ครูวิไล
และครูจาด เป็นผู้ฝึกสอนเบื้องต้น
การศึกษา
ครูสุวรรณีเข้ารับการฝึกหัดละครอยู่เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็เกิด
การเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นเมื่อปี ๒๔๗๕ ซึ่งเหตุการณ์ใน
ครั้งนั้นได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงโดยทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราชสำนัก ยังผลให้คณะละครหลวงต้องมี
อันล้มเลิกไปโดยปริยาย บิดาของครูสุวรรณีจึงได้พาท่านไปสมัคร
เข้าเรียนที่โรงเรียนราษฎร์สามัคคีอยู่ระยะหนึ่ง
จากนั้นไม่นาน คือในปี ๒๔๗๗ พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ
อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้ริเริ่มจัดตั้งโรงเรียนนาฏดุริยางค์
ขึ้น บิดาของครูสุวรรณีซึ่งทราบว่าครูสุวรรณียังมีความรักใน
วิชานาฏศิลป์อยู่อย่างมั่นคง จึงได้พาท่านไปสมัครเข้าเรียนที่นั่น
ในปีต่อมา โดยเริ่มเรียนในชั้นประถมปีที่ ๔ และได้รับการคัดเลือก
ให้เป็นตัวนางเช่นที่เคยฝึกหัดมาแต่ก่อนเก่า ครั้นต่อมาเมื่อเข้าสู่
วัยสาวรุ่น รูปร่างของครูสุวรรณีที่เคยป้อมและเตี้ยก็เริ่ม
เปลี่ยนแปลงเป็นผอมและสูงขึ้น ครูลมุล ยมะคุปต์ ผู้ซึ่งเป็นครูที่
สอนกระบวนรำตัวพระ จึงได้ให้เปลี่ยนมาฝึกหัดเป็นตัวพระ ทำให้
ท่านเป็นผู้ที่มีความสามารถในกระบวนรำทั้งตัวนางและตัวพระ
เป็นอย่างดี
การศึกษา
ในระหว่างที่เรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์ ของกรมศิลปากรนี้
ครูสุวรรณีได้มีโอกาสเล่าเรียนครูนาฏศิลป์หลายท่าน ซึ่งแต่ละ
ท่านล้วนเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นบรมครูทางนาฏศิลป์ไทย
ในยุคนั้นทั้งสิ้นอันได้แก่ คุณหญิงนัฏกานุรักษ์ หม่อมครูต่วน
ภัทรนาวิก ครูลมุล ยมะคุปต์ ครูมัลลี คงประภัศร์ (ครูหมัน)
ครูหุ่น ปัญญาพล ครูน้อม และ ครูเกษร เป็นต้น ซึ่งท่านครูทั้ง
หลายเหล่านี้ได้ทุ่มเททั้งกายและใจถ่ายทอดความรู้ตามระเบียบ
แบบแผนที่สืบทอดต่อกันมาแต่ครั้งโบราณอย่างเคร่งครัด ทำให้
ความสามารถในเชิงนาฏศิลป์ของครูสุวรรณี ค่อยๆ พัฒนาขึ้น
โดยลำดับจนกระทั่งมีความสามารถเป็นเลิศทางกระบวนรำในที่สุด
ครูสุวรรณีได้เล่าเรียนอยู่ที่โรงเรียนนาฏดุริยางค์จนจบชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ ๖ เมื่อปี ๒๔๘๕ และในปี ๒๔๘๖ ท่านก็ได้รับ
การบรรจุเข้ารับราชการเป็นศิลปินสำรองของกรมศิลปากรก่อนที่
จะได้รับตำแหน่งศิลปินจัตวาอันดับ ๓ ในแผนกนาฏศิลป์ กอง
การสังคีต กรมศิลปากรในปีต่อมา ในขณะที่รับราชการอยู่ที่กรม
ศิลปากรนั้น ท่านยังได้มีโอกาสเล่าเรียนเพิ่มเติมกับ ท่านผู้หญิง
แผ้ว สนิทวงศ์เสนี หลวงวิลาศวงศ์งาม และ ครูอร่าม อินทร
นัฏ ซึ่งแต่ละท่านล้วนเป็นปรมาจารย์ผู้มีความสามารถพิเศษ
และมีลีลา ตลอดจนชั้นเชิงอันเป็นแบบฉบับเฉพาะตัว ทำให้ครูสุ
วรรณีผู้มีพื้นฐานทางนาฏศิลป์อันมั่นคงอยู่แล้ว ยิ่งได้รับเอา
ความรู้ที่แปลกใหม่มาพัฒนากระบวนรำ จนประสบความสำเร็จใน
วิชาชีพอย่างงดงาม
ผลงาน
ครูสุวรรณี ชลานุเคราะห์ มีผลงานทั้งทางด้านการเป็นนัก
แสดง ผู้ฝึกซ้อม และผู้กำกับการแสดงมากมาย โดยผลงาน
ด้านการแสดงนั้น ท่านเคยแสดงทั้งละครนอก ละครใน ละคร
พันทาง ละครพูด ตลอดจนระบำต่างๆ ทั้งแบบราชสำนัก และ
พื้นเมืองนับพันครั้ง โดยในการแสดงละครส่วนใหญ่ท่านจะได้รับ
บทเป็นพระเอก เช่น อิเหนา พระไวย พระลอ สุวรรณหงษ์
พระสังข์ ฯลฯ และนานๆ ครั้งก็จะได้รับบทเป็นตัวนาง เช่น นาง
ละเวง เป็นต้น ส่วนในการแสดงระบำแบบราชสำนัก ท่านมักจะ
ได้รับมอบหมายให้แสดงเป็นผู้ชายคู่หน้า แต่หากเป็นการแสดง
ระบำพื้นเมือง ท่านก็มักจะแสดงเป็นผู้หญิงคู่หน้าเสมอ
นอกจากการแสดงในประเทศแล้ว ครูสุวรรณียังเคยเดินทางไป
แสดงนาฏศิลป์ในต่างประเทศหลายครั้ง เช่น สหภาพพม่า
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อินเดีย สหรัฐอเมริกา
และ สิงคโปร์ เป็นต้น
นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่ง
เสริมวัฒนธรรม (สวธ.) เปิดเผย
ว่า นางสุวรรณี ชลานุเคราะห์
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการ
แสดง (นาฏศิลป์ – ละครรำ)
พุทธศักราช 2533 ได้ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา เวลา
ประมาณ 19.42 น. ที่โรง
พยาบาลศิริราช เนื่องจากอาการ
ลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดปอด สิริ
รวมอายุ 95 ปี 4 เดือน
โดยทายาทได้ขอพระราชทานน้ำ
หลวงอาบศพ วันที่ 9 ก.ย.2564
เวลา 17.30 น. ณ ศาลา 1 และ
กำหนดสวดพระอภิธรรมศพ
ระหว่างวันที่ 9-11 กันยายน เวลา
18.00 น. ณ ศาลา 1 วัดบางไผ่
พระอารามหลวง ตำบลบางรัก
พัฒนา อำเภอบางบัวทอง จังหวัด
นนทบุรี โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ได้ดำเนินการขอพระราชทานเพลิง
ศพ ในวันอาทิตย์ที่ 12 ก.ย.64
เวลา 16.00 น. ณ เมรุวัดบางไผ่
จังหวัดนนทบุรี