The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by lalitphat2016, 2022-07-12 12:21:02

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ไทย

ครูลมุล ยมะคุปต์

จัดทำโดย
นางสาวธนภรณ์ สุวิชาญเมธี
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5/4 เลขที่ 5

มูลนิธิ กู๊ดสจ๊วต ส า ร บั ญ

0 1
ประวัติส่วนตัว
0 2
การศึกษา
04
ผลงาน
0 8 ท่านครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการด้านนาฏศิลป์

ครูลมุล ยมะคุปต์ 01

ป ร ะ วั ติ ส่ ว น ตั ว pn

เกิดที่จังหวัดน่าน เมื่ออายุได้ 5 ขวบ

บิดาได้พามาถวายตัวเป็นละครที่วังสวน

กุหลาบ และที่วังสวนกุหลาบ คุณครูลมุล

ได้ความรู้ทางละครในรูปแบบของละคร

นอก ละครในและ ละครพันทาง ต่อมาได้

ย้ายมาอยู่ที่วังเพชรบูรณ์ และได้ความรู้

ในเรื่องของละครดึกดำบรรพ์

เมื่อออกจากวังเพชรบูรณ์ ครูลมุลได้

สมรสกับครูสงัด ยมะคุปต์ และได้ขึ้นไป

เป็นครูสอนละครที่ เชียงใหม่ในคุ้มพระ

ราชชายาเจ้าดารารัศมี ซึ่งครูลมูลได้

ความรู้เกี่ยวกับนาฏยศิลป์ล้านนาและ

พม่า ครูลมุลได้นำคณะละครไปแสดงที่

เมืองพระตะบอง ประเทศเขมร อยู่ 1 ปี

ซึ่งคงได้ประสบการณ์ด้านดนตรีและ

นาฏศิลป์ของเขมรมาบ้าง ต่อมาเข้ารับ

ราชการเป็นครูแผนก นาฏศิลป์ กรม

ศิลปากร และทำงานตามที่ผู้บังคับบัญชา

มอบหมาย มีผลงานระหว่างปี พ.ศ.

2477-2525 มากกว่า 50 ชุด แบ่งได้เป็น

6 ประเภท คือ
1.ระบำที่ยึดแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย
2.ระบำที่ผสมผสานทั้งอาศัยและไม่ได้

อาศัยแบบแผนนาฏยศิลป์ไทย
3.ระบำาจากภาพแกะสลักโบราณคดี
4.ระบำประกอบเครื่องดนตรี
5.ระบ่ำกำ-แบ
6.ระบำเลียนแบบท่าทางของสัตว์

ครูลมุล ยมะคุปต์ 02

การศึกษา

เริ่มต้นเรียนวิชาสามัญที่โรงเรียนสตรีวิทยา เมื่ออายุได้ 5 ขวบ

เรียนได้เพียงปีเดียว บิดานำไปกราบถวายตัวเป็นละคร ณ วังสวนกุ

หลาย ในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์ เดชาวุธ กรม

หลวงนครราชสีมา ซึ่งอยู่ในความปกครองของคุณท้าวนารีวรคณา

รักษ์ (แจ่ม ไกรฤกษ์)

ชีวิตการศึกษาในวังสวนกุหลาบ ดำเนินไปด้วยดีและ

ประสบผลสำเร็จสูงสุด คือ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น

ตัวเอก ตั้งแต่เริ่มการฝึกหัดเมื่ออายุ 6 ขวบ
จนกระทั่งกราบบังคมทูลลาจากวังสวนกุหลาบไปรับ

พระราชทานสนองพระคุณเป็นละครใน สมเด็จ

พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเพชรบูรณ์อินทรา

ชัย ณ วังเพชรบูรณ์ ร่วมกับเพื่อนละครอีกหลายท่าน

ท่านได้ออกแสดงเป็นตัวเอกหลายครั้งหลายครา เท่า

ที่จดจำได้ก็คือ ได้ออกแสดงครั้งแรกในชีวิตเรื่องสังข์

ทอง
โดยแสดงเป็นตัวหกเขย อยู่ปลายแถว ต่อมาแสดงเป็น

พระมาตุลี จึงได้หน้าพาทย์ปฐมเพราะจะต้องไปจัด

ทัพ และได้เลื่อนขึ้นเป็นพระสังข์ทอง

pn

ครูลมุล ยมะคุปต์ 03

การศึกษา

ขณะที่อยู่ในวังสวนกุหลาบนั้น ท่านได้รับเกียรติสูงสุดให้เป็นตัว

นายโรงของทุกเรื่องทั้งละครนอก ละครใน ละครพันทาง เช่น

ละครใน

เรื่อองอิเหนา แสดงเป็น อิเหนา สียะตรา สังคามาระตา วิหยาสะกำ
เรื่องอุณรุท แสดงเป็น อุณรุท
เรื่องรามเกียรติ์ แสดงเป็น พระราม พระมงกุฎ อินทรชิต
นารายณ์สิบสอง แสดงเป็น พระนารายณ์ พระคเณศ

ละครนอก
เรื่องสังข์ทอง แสดงเป็น เขยเล็ก พระวิศณุกรรม พระมาตุลี พระสังข์

เจ้าเงาะ
เรื่องเงาะป่า แสดงเป็น ซมพลา ฉเนา
เรื่องสังข์ศิลป์ชัย แสดงเป็น สังข์ศิลป์ชัย ศรีสัณพ์
เรื่องพระอภัยมณี แสดงเป็น พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร

อุศเรน เจ้ามหุต

ละครพันทาง

เรื่องลิลิตพระลอ แสดงเป็น พระลอ
เรื่องราชาธิราช แสดงเป็น สมิงพระราม สมิงนครอินทร์
เรื่องขุนช้างขุนแผน แสดงเป็น พระพันวษา พระไวย พลายบัว

pn

ครูลมุล ยมะคุปต์ 04

ผลงาน

01 ผลงานด้านการแสดง

ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือ

เป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขย

เล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัย

มณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศเรน อิเหนา สียะตรา วิหยา

สะกำ อุณรุท พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิต

พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลาย

บัว พระพันวษา เป็นต้น

02 ผลงานด้านการประดิษฐ์


คิ ด ค้ น ท่ า รำ

ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งครู ครูพิเศษ และ

ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ประจำวิทยาลัย

นาฏศิลป์ กรมศิลปากรนั้น ท่านได้ถ่ายทอดท่ารำ

สำคัญ และในขณะเดียวกัน ได้ประดิษฐ์คิดค้นท่ารำที่

งดงามยิ่งไว้มากมายเกินกว่าที่จะนำมากล่าวได้ครบ

ถ้วน หากจะนำมาเฉพาะเรื่องสำคัญและเป็นสารัตถ

ประโยชน์ ดังนี้

ประเภท “รำ”
1. รำแม่บทใหญ่ พ.ศ. 2478 ร่วมคิดการแสดงชุดนี้กับ

นางมัลลี คงประภัศร์ ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง

“สุริยคุปต์” หลังจากนั้นได้ขออนุญาตพระยานัฏกานุ

รักษ์ (ทองดี สุวรรณการต) จัดเป็นหลักสูตรใช้สอนใน

โรงเรียนนาฏศิลป์ตราบเท่าทุกวันนี้ (ท่ารำแม่บทใหญ่)

เดิมเป็นท่านิ่งท่านได้ประดิษฐ์ท่าเชื่อมหรือที่เรียกว่า

“ลีลา” เป็นประบวนรำขึ้น

pn

ครูลมุล ยมะคุปต์ 05

ผลงาน ประเภท “รำ” (ต่อ)
2. รำซัดชาตรี ร่วมคิดท่ารำกับนางมัลลี (หมัน) คงประ

ภัศร์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากท่าซัดไหว้ครูชาตรี
3. รำวงมาตรฐาน ร่วมคิดท่ารำกับจมื่นมานิตย์เรศ

(เฉลิม เศวตนันท์)
4. ต้นวรเชษฐ์ ร่วมคือท่ารำกับนางมัลลี (หมัน) คงประ

ภัศร์ และหม่อมต่วน ภัทรนาวิก (นางศุภลักษณ์ ภัทร

นาวิก)
5. รำเถิดเทิง คิดขึ้นเมื่อครั้งไปเผยแพร่นาฏศิล์ไทย ณ

สหภาพพม่า เมื่อปี 2498
6. รำกิ่งไม้เงินทองถวายพระพร ร่วมคิดกับนางเฉลย

ศุขะวณิช จัดแสดงเนื่องในวาระสมัยเฉลิม

พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปี

พ.ศ.2525 นางสาวปราณี สำราญวงศ์ ประพันธ์บท
ประเภท “ระบำ”

ประเภท “ระบำ”
1. ระบำกินนรรำ จากบทละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง จัน

ทกินรี โดยร่วมคิดท่ารำกับนางเฉลย ศุขะวณิช
2. ร่วมคิดท่ารำกับหม่อมต่วน ภัทนาวิก (นางศุภลักษณ์

ภัทรนาวิก) เพื่อใช้ประกอบการแสดงละครในเรื่อง

อิเหนา ตอนลมหอบ
3. ระบำกฤดาภินิหาร ร่วมคิดท่ารำกับหม่อมต่วน ภัทร

นวิก เพื่อใช้ประกอบ การแสดงละครเรื่อง เกียรติศักดิ์

ไทย
4. ระบำพม่า-มอญ ใช้ประกอบการแสดงละครเรื่อง

ราชาธิราช ตอนกระทำสัตย์ ณ โรงละครศิลปากร

ประมาณปี พ.ศ.2496

pn

ครูลมุล ยมะคุปต์ 06

ผลงาน

ประเภท “ระบำ” (ต่อ)
5. ระบำกลอง ร่วมกับนางผัน โมรากุล ผู้ประพันธ์เพลง

คือหลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปะบรรเลง)
6. ระบำฉิ่ง ร่วมกับนาง ผัน โมรากุล ผู้ประพันธ์เพลง คือ

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ(ศร ศิลปะบรรเลง)
7. ระบำพม่าไทยอธิษฐาน เนื่องในโอกาสเดินทางไปเผย

แพร่นาฏศิลป์ไทย ณ สหภาพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2498
8. ระบำนกยูง ร่วมกับนางผัน โมรากุล เมื่อครั้งไปหัด

ละครของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉิลมเขตมงคล
9. ระบำม้า ร่วมกับนางผัน โมรากุล เมื่อครั้งไปหัดละคร

ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตมงคล
10. ระบำสวัสดิรักษา ทำขึ้นในโอกาสเป็นที่ปรึกษาของ

นางสำเนียง วิภาตะศิลปิน
11. ระบำโบราณคดี ชุด ทวารวดี ศรีวิชัย เชียงแสน

ลพบุรี ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช ในขณะที่นายธนิต อยู่

โพธิ์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร
12. ระบำเริงอรุณ เมื่อกรมศิลปากรจัดแสดงแสดงโขน

ชุด ศึกวิรุณจำบัง พ.ศ. 2492
13. ระบำฉิ่ง (ฉิ่งทิเบต) ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัด

แสดงครั้งแรกในงาน “น้อมเกล้า” ณ โรงละครแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2524
14. ระบำกรับ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงครั้ง

แรกในงานเลี้ยงรับรองคณะโครงการเรือเยาวชน ณ

ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2524
15. ระบำกลอง เป็นผลงานชิ้นสุดท้ายที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อ

ใช้จัดแสดงในงานดนตรีไทยมัธยมศึกษา ในครั้งนี้ นาย

ปฐมรัตน์ ถิ่นธรณี เป็นผู้ปรับทำนองเพลง

ครูลมุล ยมะคุปต์ 07

ผลงาน

ประเภท “ฟ้อน”
1. ฟ้อนเงี้ยว คิดขึ้นเมื่ออยู่เชียงใหม่ โดยได้รับแบบอย่างมา

จากพวกเงี้ยว (ไทยใหญ่) และนำท่ารำของชาวเชียงใหม่เข้า

ผสมผสานดังที่ยึดถือเป็นแบบอย่างในการแสดงตราบกระทั่ง

ทุกวันนี้
2. ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน คิดขึ้นตามพระกระแสรับสั่ง พระราช

ชายา เจ้าดารารัศมี โดยนำท่ารำของภาคกลางเข้าปรับปรุงให้

งดงามขึ้น
3. ฟ้อนแพน ร่วมกับนางมัลลี (หมัน) คงประภัศร์ เมื่อปี

พ.ศ.2477
4. ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ดัดแปลงท่ารำของพม่า มาปรับปรุง

ขึ้นเมื่อครั้งอยู่เชียงใหม่
5. ฟ้อนแคน ร่วมคิดกับนางเฉลย ศุขะวณิช เมื่อปี พ.ศ.2518

ประเภท “เซิ้ง”
1. เซิ้งสัมพันธ์ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช จัดแสดงครั้งแรก

ในวาระที่รัฐบาลไทยจัดงานต้อนรับ ฯพณฯ เติ้ง เสี่ยวผิง รอง

นายกรัฐมาตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 8

พฤษภาคม พ.ศ. 2521
2. เซิ้งสราญ ร่วมกับนางเฉลย ศุขะวณิช โดยดัดแปลงมาจาก

ชุดฟ้อนแคน แสดงครั้งแรกในรายการเสาร์สโมสร เมื่อ

พ.ศ.2525

ครูลมุล ยมะคุปต์ 08

ท่านครูที่ประสิทธิ์ประสาท

วิทยาการด้านนาฏศิลป์

01 ท่านครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิทยาการ


ด้านนาฏศิลป์ ให้แก่ครูลุมล ยมะคุปต์

1.หม่อมครูแย้ม หม่อมละครในสมเด็จเจ้าพระยาบรม

มหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สอนบทบาทของตัว

ละครเอกทางด้านละครใน เช่น อิเหนา ย่าหรันฯ
2.หม่อมครูอึ่ง หม่อมละครในสมเด็จพระบัณฑูรฯ

(เข้าใจว่า คือกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) สอนใน

เรื่องของเพลงหน้าพาทย์ และบทบาทตัวเอก ตัวรอง
เช่น บทบาท พระวิศณุกรรม พระมาตุลี บทบาท

ของตัวยักษ์ เช่น อินทรชิต รามสูร ฯลฯ
3.หม่อมครูนุ่ม หม่อมในกรมหมื่นสถิตธำรงสวัสดิ์

(พระองค์เต้าเนาวรัตน์) เดิมเป็นละครในสมเด็จพระ

บัณฑูรฯ ท่านเป็นครูฝ่ายนาง สอนบทบาทที่เกี่ยวกับ
ตัวนาง เช่น ศุภลักษณ์อุ้มสม และบทบาทของ

ตัวนางที่เป็นตัวประกอบ

02 ท่านครูสอนพิเศษให้แก่ครูลุมล ยมะคุปต์

1. ท้าววรจันทร์ (วาด) ในรัชกาลที่ 4 สอน เพลง

ช้านารายณ์ ซึ่งใช้สำหรับการรำบวงสรวงเทพยดา

โดยเฉพาะ
2. เจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4 สอนบทบาท

ตัวเอกในละครพันทาง เรื่อง ลิลิตพระลอ พญาแกรก

พญาวังสัน โดยเฉพาะบทบาทของพระลอทุกตอน
3. เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 สอน

บทบาทตัวเอกละครในบางตัว เช่น บทบาทของตัว

ย่าหรัน ตอนย่าหรันลักนางเกนหลง

pn

ครูลมุล ยมะคุปต์ 09

ท่านครูที่ประสิทธิ์ประสาท

วิทยาการด้านนาฏศิลป์

02 ท่านครูสอนพิเศษให้แก่ครูลุมล


ยมะคุปต์(ต่อ)

4. เจ้าจอมมารดาสาย ในรัชกาลที่ 5 สอน ท่ารำ

“ฝรั่งคู่” ทั้งพระและนาง
5. เจ้าจอมละม้าย ในรัชกาลที่ 5 สอน ท่ารำ

“ฝรั่งคู่” ทั้งพระและนาง
6. พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต)

เป็นผู้ทบทวนความรู้ และเกร็ดนาฏศิลป์ด้าน

ต่าง ๆ และเป็นผู้ประกอบพิธีครอบ มอบ

กรรมสิทธิ์ให้เป็นครูเมื่ออายุได้ 18 ปี
7. คุณนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) เป็นผู้

ทบทวนและฝึกหักเพิ่มเติม วิชาการด้าน

นาฏศิลป์ ในระยะหลังต่อมา
8. ท่านครูหงิม เป็นครูผู้เชียวชาญในบทบาท

ของละครนอก และละครพันทางอย่างยิ่ง เป็นผู้

ฝึกสอนบทบาทของตัวเจ้าเงาะ ในเรื่องสังข์ทอง

ทุกตอน

pn

จัดทำผลงานโดย
นางสาวธนภรณ์ สุวิชาญเมธี
โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5/4 เลขที่ 5


Click to View FlipBook Version