The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การแปลพาดหวั ข่าว (Headline Translation)
• การแปลป้ายจราจรหรือป้ายประกาศ (Traffic Sign or Notice Translation)
• การแปลรายละเอียดสินคา้ (Product Description Translation)
• การแปลใบรับประกนั สินคา้ (Warranty Card Translation)
• การแปลคาแนะนาในการใชส้ ินคา้ (User Guide Translation)
• การแปลทางวิชาการเกี่ยวกบั โครงการ(ProjectTranslation)
• การแปลบทคดั ยอ่ งานวิจยั (Abstract Translation)
• การแปลบทกวี (Poem Translation)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by ศุณิษรา อินต๊ะมารค, 2023-02-08 01:13:08

การแปลเฉพาะทาง (Translation for Specific Purposes)

การแปลพาดหวั ข่าว (Headline Translation)
• การแปลป้ายจราจรหรือป้ายประกาศ (Traffic Sign or Notice Translation)
• การแปลรายละเอียดสินคา้ (Product Description Translation)
• การแปลใบรับประกนั สินคา้ (Warranty Card Translation)
• การแปลคาแนะนาในการใชส้ ินคา้ (User Guide Translation)
• การแปลทางวิชาการเกี่ยวกบั โครงการ(ProjectTranslation)
• การแปลบทคดั ยอ่ งานวิจยั (Abstract Translation)
• การแปลบทกวี (Poem Translation)

การแปลเฉพาะทาง TRANSLATION FOR SPECIFIC PURPOSES


คำ นำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เล่มนี้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับ วิชาการเเปลสำ หรับ ครูภาษาอังกฤษ ( ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมด 8 หน่วยการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย • การแปลพาดหัวข่าว (Headline Translation) • การแปลป้ายจราจรหรือป้ายประกาศ (Traffic Sign or Notice Translation) • การแปลรายละเอียดสินค้า(Product Description Translation) • การแปลใบรับประกันสินค้า(Warranty Card Translation) • การแปลคำ แนะนำ ในการใชสินค้า(User Guide Translation) • การแปลทางวิชาการเกี่ยวกับโครงการ(ProjectTranslation) • การแปลบทคัดย่องานวิจัย(Abstract Translation) • การแปลบทกวี (Poem Translation) ผู้จัดทำ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เล่มนี้ จะมี ประโยชน์สำ หรับผู้เรียนไม่มากก็น้อย และหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ คณะผู้จัดทำ


1.การแปลพาดหัวข่าว 1 (Headline Translation) 2. การแปลป้ายจราจรหรือป้ายประกาศ 4 (Traffic Sign or Notice Translation) 3. การแปลรายละเอียดสินค้า 7 (Product Description Translation) 4. ใบรับประกันสินค้า 9 (Warranty Card Translation) 5. คำ แนะนำ ในการใช้สินค้า 11 (User Guide Translation) 6. การแปลทางวิชาการเกี่ยวกับโครงการ 14 (Project Translation) 7. การแปลบทคัดย่องานวิจัย 16 (Abstract Translation) 8. การเเปลบทกวี 19 (Poem Translation) สารบัญ เนื้อเรื่อง หน้า


การแปลพาดหัวข่าว พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2554 : 190) ได้อธิบายความหมายของ คำ ว่า "ข่าว" ไว้ว่า หมายถึง คำ บอกเล่าเรื่องราวซึ่งโดยปกติมักเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ หรือเป็นที่สนใจ คำ บอกกล่าวหรือคำ เล่าลือ เป็นต้น ในการแปลข่าวแต่ละข่าวนั้น ไม่ว่าจะ เป็นการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษหรือ จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยก็ตาม สิ่งสำ คัญที่ผู้แปลควรคำ นึงถึงและควรศึกษาให้เข้าใจอย่าง ถ่องแท้และเป็นประโยชน์ อย่างมากก็คือโครงสร้างของข่าวเนื่องจากจะช่วยให้ผู้แปลเข้าใจเกี่ยวกับข่าวที่จะแป ลนั้นๆ ได้ง่ายและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งประเพศ ไกรจันทร์ (2550 : 42 ได้กล่าวถึงโครงสร้าง ข่าวว่าประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก ๆ 3 ส่วน ดังต่อไปนี้ 1. พาดหัวข่าว (Headlines) 2. ข่าวนำ (Lead News) 3. เนื้อข่าว (Body of News) HEADLINE TRANSLATION การแปลเฉพาะทาง ภาพที่ 1 แสดงพาดหัวข่าวภาษาไทยที่มีโครงสร้างเป็นนามวลี (Thai Headline with Noun Phrase Structure) Source: http://www.thairath.co.th/newspaper?date=2016-01-28 หลักการพาดข่าวภาษาไทย 1.1 พาดหัวข่าวที่มีโครงสร้างเป็นนามวลี จากพาดหัวข่าว “ อันดับไทยดีขึ้นจัดปท. ‘‘โปรงใส” หมายถึง อันดับของประเทศไทยดีขึ้น จากการจัดอันดับประเทศโปร่งใสนานาชาติ ปีพุทธศักราช 2558 1


1.2 พาดหัวข่าวที่มีโครงสร้างเป็นประโยค จากหนังพิมพ์ มีพาดหัวข่าวที่มีโครงสร้างเป็นประโยค ดังต่อไปนี้ "น้องเมย์ทำ ได้แล้ว ซิว มือ1โลก" หมายถึง เมย์ รัชนก อินทนนท์ สามารถชนะการแข่งขันคว้าแชมป์แบดมินตัน รายการใหญ่ โอยูอี สิงคโปร์ โอเพ่นซุปเปอร์ซีรีส์ 2016 ทำ ให้ได้เลื่อนตำ แหน่งเป็นนัก แบดมินตันมือหนึ่งของโลก ภาพที่ 2 แสดงพาดหัวข่าวภาษไทยที่มีโครงสร้างเป็นประโยค (Thai Headline with Sentence Structure) Source:http://www.thairath.co.th/newspaper?date=2016-0 1.3 พาดหัวข่าวโดยที่มีคำ ว่า “คาด” จากพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ "ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดศก.ไทยเติบโต 3% จับตาการเมือง" หมายถึง ศูนย์วิจัยกสิกไทยได้ประมาณการเศรษฐกิจของประเทศไทยปีนี้ไว้ร้อย 3 โดยต้อง รอดูสถานการณ์หรือทิศทางทางการเมืองของประเทศไทยด้วย ภาพที่ 3 แสดงพาดหัวข่าวภาษาไทยที่มีคำ ว่า "คาด" (Thai Headline with the Specific Word) Source: http://www.thairath.co.th/content/407303 2


ต้นฉบับ : ผู้ว่าฯ น่านเดือด! โพสต์ท้านักเลงคีย์บอร์ด ช่วยปลูกป่าน่าน 5 แสนไร่ ฉบับแปล : Nan's Governor flares! posts for challenging Internet Troll to afforest 500,000 Rais พาดหัวข่าวนี้ มีการใช้เครื่องหมายอัศเจรีย์ เพื่อเป็นการเน้นอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้นใน การแปลพาดหัวข่าวเป็นภาษาอังกฤษยังคงใส่เครื่องหมายอัศเจรีย์อยู่ นอกจากนี้ในภาษา ฉบับแปลยังมีการใช้เครื่องหมาย apostrophe-s ('s) เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของ คือ Nan's Governor หมายถึงผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นอกจากนี้พาดหัวข่าวต้นฉบับมีการ ท้าให้ช่วยปลูกป่า ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ยังไม่เกิดขึ้น จึงแปลโดยใช้โครงสร้างไวยากรณ์ infinitive with to แทนเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้เมื่อจบประโยคไม่ต้อง ใส่เครื่องหมายจุดท้ายประโยค ดังนั้นพาดหัวข่าวนี้จึงแปลว่า Nan's Governor flares! posts for challenging Internet Troll to afforest 500,000 Rais 2. หลักการแปลพาดหัวข่าวภาษาอังกฤษ 2.1 นิยมตัดเครื่องหมายวรรคตอนต่าง ๆ (Punctuations) เมื่อจบประโยค ดัง นั้นจึงไม่มีการใช้เครื่องหมายมทัพภาค (Period) หรือ (.)แต่ในบางครั้งอาจมีการ ใช้เครื่องหมายปรัศนี (Question Mark )หรือ(?) แสดงความสงสัย หรือ เครื่องหมายอัศเจรีย์ (Exclamation Mark) หรือ (!) แสดง ความแปลกใจ นอกจากนี้ในบางครั้งอาจมีการใช้เครื่องหมายจุลภาค (Comma) หรือ (,) แทนคำ ว่า “and” เป็นต้น 2.2 นิยมตัดคำ นำ หน้านามออก และนิยมใช้ตัวย่อ (Abbreviations) แทน เพื่อ เป็นการประหยัดพื้นที่ 2.3 นิยมใช้ประโยคสมบูรณ์ Present Tense หรือ Future Tense เพื่อเป็นการ ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน ทำ ให้ข่าวนั้นดูสดใหม่ ทันเหตุการณ์ เป็นต้น 2.4 ใช้ to infinitive แสดงถึงเหตุการณ์ในอนาคต 2.5 ใช้ Past Participle (V3) แสดงถึงประโยคกรรมวาจกโดยละ Verb to be เป็นต้น 2.6 ใช้เครื่องหมายทวิภาค (colon) หรือ : แทนคำ ว่า "say" 3


1.เครื่องหมายจราจรหรือป้ายจราจร (Traffc Signs) คือ สัญลักษณ์ทางจราจรที่ใช้ใน การควบคุมการจราจร แบ่งออกเป็นป้ายบังคับ (Regulatory Traffic Signs) ป้าย เตือน (Warning Traffic Signs)หรือป้ายแนะนำ (Informative Traffic Signs) เพื่อ เป็นการจัดระเบียบและทำ ให้การจราจรเป็นไปอย่างปลอดภัย การแปลป้ายจราจรหรือป้ายประกาศ (TRAFFIC SIGN OR NOTICE TRANSLATION) 4


5


ต้นฉบับ : Even though we are so hurry,we have to follow other cars in front of us because there is no overtaking sign. ฉบับแปล : แม้ว่าเราจะรีบแค่ไหน แต่เราก็ต้องขับตามคันข้างหน้าไป เพราะมีป้ายห้ามแซง ต้นฉบับ : Please reduce speed, there is pedestrian crossing ahead. ฉบับแปล : ขับช้า ๆ หน่อย มีทางม้าลายอยู่ข้างหน้า ต้นฉบับ : No parking in front of the gate 24 hours - your car may be removed. ฉบับแปล : ห้ามจอดรถขวางประตูตลอด 24 ชั่วโมง หากฝ่าฝืนรถของท่านอาจถูกเคลื่อน ย้าย ต้นฉบับ : I can see that notice over there. It says "This area is under 24 HR video surveillance, trespassers will be prosecuted." ฉบับแปล : ฉันมองเห็นป้ายประกาศอยู่ตรงโน้น มีข้อความว่า "บริเวณนี้ติดตั้งกล้อง วงจรปิดตลอด 24 ชั่วโมง ผู้บุกรุกจะถูกดำ เนินคดีตามกฎหมาย" ต้นฉบับ : When we went into the wildlife safety zone, we saw the notice. It said "No hunting, fishing, trapping or vehicles but hiking, photography and study permitted" ฉบับแปล : เมื่อพวกเราเข้าไปยังเขตคุ้มครองสัตว์ป่า พวกเราก็มองเห็นป้ายประกาศ บอก ว่าห้ามล่าสัตว์ ห้ามตกปลา ห้ามวางกับตัก ห้ามใช้ยานพาหนะ แต่อนุญาตให้เดินป่า ถ่าย ภาพ และศึกษาเรียนรู้ได้" 6


หลักทั่วไปในการเขียนอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดสินค้า 1. บอกลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้สินค้านั้นๆ รวมถึงราคาสินค้า(ถ้ามี) 2. ข้อความดังกล่าวต้องบอกถึงข้อดีของสินค้าให้มากที่สุด 3. ใช้ภาษาที่กระชับ ไม่ฟุ่มเฟือย เนื่องจากมีพื้นที่จำ กัด 4. ใช้ภาษาที่ดึงดูด มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และอ่านแล้วไหลลื่น การแปลรายละเอียดสินค้า (PRODUCT DESCRIPTION TRANSLATION) ภาพที่ 4 แสดงตัวอย่างรายละเอียดสินค้าฉบับแปลภาษาอังกฤษ (Example of Product Description in English) Source: http://www.chanel.com/th_TH/fragrncebeauty/makeup/p/Complexion/foundations/vitalumiere-aqua-ultra-light-skin-perfectingmakeup-spf-15-p170800html#skuid-0170860 ภาพที่ 5 แสดงตัวอย่างรายละเอียดสินค้าฉบับแปลภาษาไทย (Example of Product Description in Thai) Source: http://www.chanel.com/th_TH/fragrncebeauty/makeup/p/Complexion/foundations/vitalumiere-aqua-ultra-light-skinperfecting-makeup-spf-15-p170800html#skuid-0170860 7


ดังนั้นการแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งจำ เป็นต้องใช้ถ้อยคำ กระชับและน่าสนใจ จึงแปล ว่า"เครื่องสำ อางเพื่อ ที่สุดแห่งผิวสวยใสอย่างไร้ที่ติ เอสพีเอฟ15" นอกจากนี้ยังมีข้อความอื่น 1 ที่บ่งบอก คุณลักษณะที่โดดเด่นของสินค้าและใช้ภาษาที่สละสลวย น่าดึงดูดใจ เมื่อผู้ซื้ออ่านแล้วทำ ให้ อยากทดลองใช้สินค้านี้ เช่น ข้อความที่ว่า "A fluid foundation that awakens tired skin. It's exceptionally fine, fresh and lightweight aqueous formula offers an incomparable "second skin" fnish." ซึ่งแปลเป็นไทยว่า "รองพื้นชนิดน้ำ ที่ช่วยปลุกผิว ให้ฟื้นจากความอ่อนล้า ด้วยสูตรผสมของน้ำ ที่มอบความอ่อนโยน สดชื่น และบางเบา มอบ สัมผัสแนบเนียนดุจผิวชั้นที่สอง" จะเห็นได้ว่าภาษาที่ใช้ในการแปลมีลักษณะเฉพาะตัว มีการใช้คำ ที่กระตุ้นความรู้สึกหรือ จินตนาการให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เนื่องจากวัตถุประสงค์หนึ่งของการอธิบาย รายละเอียดสินค้า คือต้องการให้ผู้อ่านทราบข้อมูลสินค้า และยังเชิญชวนให้ผู้อ่านซื้อสินค้า นั้นด้วย ซึ่งแตกต่างจากลักษณะภาษาที่ใช้ในการพาดหัวข่าว และภาษาที่ใช้เกี่ยวกับป้าย จราจรและป้ายประกาศต่าง ๆ ผู้แปลงจำ เนต้องเลือกใช้คำ ที่มีความเหมาะสมตรงตาม ลักษณะของการแปลรายละเอียดสินค้าตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น จากตัวอย่างภาพที่ 4 และ 5 ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการแปลรายระเอียดสินค้าจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย โดยแปล เกี่ยวกับลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้ รวมถึงข้อดีต่าง ๆ ของสินค้า ภาษาที่ใช้ในการแปล สามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ฟุ่มเฟือย และดึงดูดความสนใจผู้อ่าน ยกตัวอย่างเช่น "ULTRALIGHT SKIN PERFECTING MAKEUP SPF 15" เป็นการบอกถึงจุดเด่นของรองพื้นชนิด นี้ซึ่งสามารถปกปิดผิวได้อย่างดีเยี่ยม บางเบา และสามารถปกป้องแสงแดดได้โดยมีค่าเอ สพีเอฟ 15 อีกด้วย 8


การแปลใบรับประกันสินค้า (WARRANTY CARD TRANSLATION) ใบรับประกันสินค้า เป็นเอกสารที่ใช้เพื่อรับรองหรือรับประกันว่าบริษัทเจ้าของสินค้าจะ รับผิดชอบ ซ่อม เปลี่ยน หรือคืนสินค้าตังกล่าวโดยไม่คิดมูลค่า กรณีที่สินค้าชำ รุดหรือ เสียหายอันเกิดมาจากความบกพร่องของทางบริษัท เจ้าของสินค้า หรือเกิดการชำ รดเสีย หายภายในระยะเวลารับประกันสินค้าซึ่งสอดคล้องใกล้เคียงกับความหมายภาษาอังกฤษ ที่กล่าวไว้ใน Reverso Dictionary.net โดยอธิบายว่า "Warranty means a warranty is a written promise by a company that, if you find a fault in something they have sold you within a certain time, they will repair it or replace it free of charge. ภาพที่ 6 แสดงตัวอย่างใบรับประกันสินค้า (Example of Warranty Card) Source :http://www.apricathailand.com ภาพที่ 7แสดงตัวอย่างใบรับประกันสินค้า ( Example of Warranty Card)Sourcehttps://pantip.com/topic/31353317 9


จากภาพที่ 6 และ 7 แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างใบรับประกันสินค้าชนิดต่างๆ เช่น กล้องติดตั้งรถยนต์ทกล้องถ่ายรูปและหม้อหุงข้าว เป็นต้น ใบรับประกันสินค้าแต่ละ ชนิดมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน โดยมีลักษณะข้อความที่ระบุดังต่อไปนี้ 1. ชื่อยี่ห้อหรือชื่อบริษัทเจ้าของสินค้า ตัวอย่างเช่น Proof ultimate visual, Car หรือ Hitachi เป็นต้น 2. เลขที่ใบรับประกันสินค้า โดยทั้ง 3 ตัวอย่างใช้คำ ว่า NO. หรือ No. ซึ่งย่อมา "Number" แปลว่า หมายเลข 3. รุ่นของสินค้า โดยอาจใช้คำ ว่า รุ่นหรือแบบ (Model) ก็ได้ 4. หมายเลขเครื่องเพื่อระบุว่าเป็นสินค้าขึ้นใด โดยส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษนิยมใช้คำ ว่า "Serial No." หรือ "Serial Number" 5. ระยะรับประกันสินค้า โดยอาจระบุช่วงเวลาในการรับประกัน เช่น รับประกัน 1 ปี (1 year warranty) อาจระบุวันที่ซื้อ (Purchase Date หรือ Date of Purchased) หรือ ระบุวันหมดประกัน(Date of Expired) หรือวันสิ้นสุดการประกัน (Expire Date) 6. ชื่อผู้ซื้อหรือลูกค้า โดยระบุทั้งชื่อ-สกุลของลูกค้า อาจใช้คำ ว่า ชื่อ ชื่อสกุลผู้ซื้อ หรือ นามผู้ซื้อ โดยอาจใช้ภาษาอังกฤษว่า Customer, Owner's Name หรือ Name of buyer เป็นต้น 7. ที่อยู่ของผู้ซื้อ อาจใช้คำ ว่า ที่อยู่ (Address) หรือ ระบุรายละเอียดของที่อยู่ เช่น หมู่ (Moo) ซอย (Soi) ถนน (Road) แขวง/ตำ บล (Tambol) เขต/อำ เภอ (District) จังหวัด (Province)รหัสไปรษณีย์ (Post Code/ Zip Code/ Zip) เป็นต้น 8. เบอร์โทรศัพท์ผู้ซื้อ อาจใช้คำ ว่า โทรศัพท์ (Telephone/ Tel.) เบอร์ติดต่อ (tel/Telephone No.) 9. ร้านที่ซื้อ บอกว่าสินค้านั้นซื้อจากร้านใด อาจใช้คำ ว่า ซื้อร้าน/สถานที่ซื้อ (Shop) ผู้ จำ หน่าย(Disistributor) ซื้อจากบริษัท ห้าง ร้าน (Purchase From) หรือ ซื้อจากร้าน (Dealer's Name) เป็นต้น จากที่กล่าวมาข้างต้น ทำ ให้ทราบถึงส่วนประกอบที่สำ คัญที่จำ เป็นต้องระบุในใบรับ ประกันสินค้า ดังนั้นในการแปลเกี่ยวกับใบรับประกันสินค้า ผู้แปลจำ เป็นต้องศึกษาคำ ศัพท์ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษและเลือกใช้คำ ที่มีความเหมาะสมตาม บริบทของสินค้านั้นๆ บางกรณีอาจต้องใช้คำ ศัพท์เฉพาะ เช่น หมายเลขเครื่อง (Serial No.) หรือบางกรณีสามารถใช้คำ ศัพท์ได้หลากหลายแต่สื่อความหมายไปใน ทางเดียวกัน เช่น ชื่อผู้ซื้อ นามผู้ซื้อ หรือชื่อสกุลผู้ซื้อ (Customer, Owner's Name หรือ Name of buyer) เป็นต้น 10


การแปลคำ แนะนำ การใช้สินค้า (USER GUIDE TRANSLATION) ภาพที่ 8 แสดงตัวอย่างข้อควรระวังเพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัย (Example of Precautions) Source : http://www.hitachi-th.com/hitachi2014/product/catalog/pdf/SF-80P.pdf จากภาพตัวอย่างที่ 8 ซึ่งแสดงตัวอย่างข้อควรระวังเพื่อการใช้งานอย่างปลอดภัยของ สินค้าประเภทเครื่องซักผ้า มีการอธิบายรายละเอียดการเตือนโดยใช้คำ ศัพท์เฉพาะประกอบ กลับมีสัญลักษณ์และรูปภาพ เพื่อแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดและเป็นการป้องกันอันตราย ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการใช้งาน คำ ศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับข้อระวังเพื่อการใช้งานเครื่องซักผ้าอย่างปลอดภัย เช่น ระวัง น้ำ รั่ว (water leakage) ขันน๊อตเชื่อมต่อตัวเครื่องซักผ้ากับท่อจ่ายน้ำ ให้แน่น (Screw union nut tightly.) หรือข้อความที่ว่าเนื่องจากมีส่วนที่หมุนอยู่จึงมีความเสี่ยงว่าอาจเกิด การบาดเจ็บขึ้นได้ (Spinning fan may cause injury.) เป็นต้น 11


แนวทางการแปลทางวิชาการ (Academic Translation) 1.ก่อนเริ่มแปล ผู้แปลควรอ่านเรื่องราวให้เข้าใจดยตลอดเป็นอันดับแรก เพื่อป้องกันการ แปลผิดพลาด และเพื่อให้การแปลดำ เนินไปด้วยความราบรื่น ไม่ติดขัด 2.การแปลงานวิชาการไม่ควรใช้คำ พุ่มเฟือย และไม่จำ เป็นต้องใช้ภาษาที่มีสีสัน เช่นเดียว กับวรรณกรรม รวมทั้งไม่ควรใช้คำ สแลง 3.การแปลประโยคโครงสร้างภาษาต้นฉบับเป็นภาษาไทย โดยเฉพาะประโยคกรรมวาจก ควรแปลให้เหมาะสมตามโครงสร้างประโยคภาษาไทย แต่ยังคงความหมายตามต้นฉบับ 4.ควรเลือกใช้คำ ที่มีหลายความหมาย ให้ตรงตามความหมายของต้นฉบับ 5.การแปลคำ ที่มีการบัญญัติศัพท์ขึ้นใช้แล้ว ควรใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน 6.เมื่อนำ เรื่องใดมาแปล ควรวงเล็บภาษาเดิมไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นคว้าต้นฉบับ เดิมมาอ่านได้ และเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนหนังสือต้นฉบับด้วย 7.การแปลประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงกษัตริย์ หรือราชวงศ์ ควรใช้คำ ราชาศัพท์ให้เหมาะสม นอกจากทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น การแปลทางวิชาการผู้แปลจะต้องคำ นึงถึงความ ครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อความ เลือกใช้ถ้อยคำ ให้เหมาะกับเนื้อหาและบริบท และผู้อ่าน ควรเลือกใช้ภาษาที่สื่อถึงข้อเท็จจริง ตรงไปตรงมา เป็นต้น การแปลทางวิชาการเกี่ยวกับโครงการ และบทคัดย่องานวิจัย (ACADEMIC TRANSLATION ABOUT PROJECT AND ABSTRACT) การแปลทางวิชาการเกี่ยวกับโครงการ และบทคัดย่องานวิจัย (ACADEMIC TRANSLATION ABOUT PROJECT AND ABSTRACT) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน (2554 : 280 ได้อธิบายความหมายของคำ ว่า"โครงการ” หมายถึง "แผนหรือเค้าโครงตามที่กะกำ หนดไว้" ซึ่งในภาษาอังกฤษ ตรงกับคำ ว่า "Project" หมายถึง การดำ เนินกิจกรรมอันประกอบด้วยแผนงานย่อย ที่ระบุรายละเอียดไว้อย่างชัดเจน โดยทั่วไปโครงการมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ 1.ชื่อโครงการ (Title) 2. หลักการและเหตุผล (Rationale) 3.วัตถุประสงค์ (Objectives/Purposes/Aims) 4.เป้าหมาย (Targets/Goals) 5. กระบวนการหรือวิธีดำ เนินการ (Procedure/Process) 6. ระยะเวลาและสถานที่ (Duration and Place) 7. งบประมาณโครงการ (Project Budget) 8.ผู้รับผิดชอบโครงการ (Project Responsible Person/Team) 9. ที่ปรึกษา (ถ้ามี) (Consultant/Advisor) (If any) 10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Outcomes) 11. การประเมินผลโครงการ (Project Evaluation) 12


ตัวอย่าง ต้นฉบับภาษาไทย : บทนำ ในปัจจุบันมนุษย์เราได้มีการให้ความสำ คัญในการศึกษาเกี่ยวกับสารอนุมูลอิสระ (Free Radical) [Halliwell, B., 2009; เจนจิรา จิรัมย์, 2554] ค่อนข้างมากเนื่องจากสาร อนุมูลอิสระเป็นตัวสำ คัญในการทำ ให้เกิดโรคร้าย ซึ่งสารอนุมูลอิสระนั้น สามารถเกิด ขึ้นภายในร่างกายได้ เช่น จากการหายใจ โดยเกิดจากขบวนการเผาผลาญภายใน ร่างกาย หรือจากความเครียดมีผลทำ ให้สามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระขึ้นได้ ซึ่งถ้า มีอนุมูลอิสระมากจะทำ ให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคหัวใจ โรคทางสมอง หรือโรค มะเร็ง ฉบับภาษาอังกฤษ : Introduction Nowadays, people largely put emphasis on the importance of the study about free radicals [Halliwell, B., 2009; Jenjira Jirum, 2011], since free radicals are the main cause of diseases. Free radicals can be formed in human bodies; for example, from respiration, and they are caused by the metabolism process or even stress, which can also stimulate the formation of free radicals. If the number of free radicals is high, various diseases like heart disease, brain disease or cancer may follow. Source : https://www.xn- -12c2caf5bkd1bzada1d2kla0dzh.com/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88 %E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5.html 13


ชำ นาญ รอดเหตุภัย (2553 : 254 ได้กล่าวถึงคามหมายและองค์ประกอบของ บทคัดย่อไว้ว่า บทคัดย่อ คือบทสรุปของรายงานการวิจัยที่เขียนด้วยข้อความสั้น กะทัดรัดชัดเจน และได้ใจความ ครอบคลุมเนื้อหาของการวิจัยทั้งหมด โดยเขียนเป็น ความเรียงทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษแยกเป็นข้อๆ ยกเว้นในส่วนของผลการวิจัย อาจแยกเป็นข้อได้ ความยาวไม่ควรเกินสองหน้า ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้ 1. ส่วนนำ ประกอบด้วยชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ชื่อหน่วยงาน หรือสถาบันการศึกษา และ ปี ที่พิมพ์ 2. ส่วนเนื้อความ ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ วิธีการทำ วิจัย และผลการวิจัยซึ่งอาจมี ข้อเสนอแนะด้วยก็ได้ องค์ประกอบของบทคัดย่อที่จะเป็นแนวทางในการเขียนนั้นมี 3ส่วน คือ ที่มาของ งานวิจัย เนื้อหาของบทคัดย่อ และคำ สำ คัญหรือคำ หลักของงานวิจัย โดยแต่ละส่วน สามารถอธิบาย ได้ว่า ส่วนแรก เป็นที่มาของงานวิจัย มี 5 ส่วน คือ ชื่อหัวข้อวิจัย ชื่อผู้ วิจัย ปริญญา อาจารย์ที่ปรึกษา และปีการศึกษา ส่วนที่สอง เป็นเนื้อหาบทคัดย่อ มี 5 ส่วน ได้แก่ ความสำ คัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย วิธีดำ เนินการวิจัย ผลการ วิจัย และข้อเสนอแนะ และ ส่วนสุดท้ายเป็นคำ สำ คัญหรือคำ หลักของงานวิจัย เพื่อการ สืบค้นสำ หรับผู้สนใจที่จะได้ขยายองค์ความรู้ต่อไป คำ สำ คัญตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Keywords" หรือ "Descriptors" กำ หนดให้คำ สำ คัญมีความยาวไม่เกิน 72 อักษร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (รวมการเว้นช่องว่างระหว่างคำ บทคัดย่อภาษาไทยให้ ใช้คำ สำ คัญภาษาไทย และบทคัดย่อภาษาอังกฤษให้ใช้คำ สำ คัญภาษาอังกฤษ โดยให้ คำ สำ คัญของทั้งสองภาษามีความหมายตรงกัน (http://graduate.psru.ac.th/about.php) โดยหลักสากลของงานวิจัยจำ เป็นต้องเขียนบทคัดย่อเป็น 2 ภาษา คือ ภาษาของผู้ ทำ วิจัยในประเทศนั้น เช่น ผู้วิจัยเป็นคนไทย บทคัดย่อจึงเป็นภาษาไทย (Abstract in Thai) และจะต้องแปลบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ (Abstract in English) ด้วย โดย จำ เป็นต้องแปลผลงานวิจัยให้มีความหมายเหมือนกับบทคัดย่อภาษาไทยทุกประการ การแปลทางวิชาการเกี่ยวกับบทคัดย่องานวิจัย (ACADEMIC TRANSLATION ABOUT ABSTRACT) 14


- การสนทนากลุ่ม focus group discussion………. ตัวอย่างกลุ่มคำ ศัพท์เฉพาะที่มักใช้ในบทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 1). การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ….. - The objective (s) of the study/research was (were) to…………… - The purposes of this study/research were: 1) to……….., 2) to…………. - The study/research aimed to... - The study/research had…………objectives, which were……….. - The study/research had………..objectives : to………………. 2). เพื่อศึกษา……… - to examine……… - to investigate……… - to explore…….. - to find out……… 3). เพื่อเปรียบเทียบ……. - to compare…….. - to make a comparison between……….. 4). โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเเบบง่าย - by using simple random sampling methods 5). กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย……… - The samples consisted of………… - The samples comprised……….. - The samples included……….. - …...... cases were included as a sampling group 6). วิเคราะห์ข้อมูลโดย………… - Data was analyzed using………. 7). ผลการวิจัยคือ…………. - The findings indicated that..... - The findings showed, pointed out, revealed that....………….. - It was found that.………. - The results of the study/research were as follows: 1)…………. 2)…………… 8)……. มีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 - ……. was statistically significant at 0.01 level 9) การวิจัยนี้เป็น…………. The study/research was a/an……… - เชิงปริมาณ quantitative research - เชิงคุณภาพ qualitative research - เชิงประวัติศาสตร์ historical research - เชิงเอกสาร documentary research - เชิงสำ รวจ survey research - เชิงทดลอง experimental research 10). วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล……… The data were collected by using……… - การสำ รวจ survey……….. - การสังเกต observation……….. - การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม participant observation………. - การสัมภาษณ์เชิงลึก in depth interview……….. 15


ตัวอย่างการแปลบทคัดย่อ ต้นต้ฉบับภาษาไทย ชื่อวิทยานิพนธ์ การประเมินตัดสินและการเผชิญภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ของญาติผู้ป่วย ที่มารับบริการ ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ผู้เขียน นางสาวมณทิพย์ เกสโร สาขาวิชา พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลผู้ใหญ่) ปีการศึกษา 2557 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) เพื่อศึกษาการ ประเมินตัดสินและการเผชิญภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินของญาติผู้ป่วย ที่นำ ผู้ป่วยที่มี ภาวะฉุกเฉินมารับบริการ ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นญาติ ของผู้ป่วยที่นำ ผู้ป่วยมารับการรักษาที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกฉิน โรงพยาบาลศูนย์ แห่งหนึ่งของภาคใต้ ระหว่างเดือนตุลาคม 2556 ถึง เดือน ธันวาคม 2556 โดยคัด เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามคุณสมบัติที่กำ หนด จำ นวน 380 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ข้อมูลส่วน บุคคลของญาติ และข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของผู้ป่วย 2) แบบสอบถามปัจจัยที่ เกี่ยวข้องกับการประเมินตัดสินภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3) แบบสอบถามการประเมิน ตัดสินภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน 4) แบบสอบถามการเผชิญภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ซึ่งผ่าน การตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดสอบความเที่ยง ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ (test retest) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติพรรณนา และสถิติการหาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) ผลการศึกษาพบว่า 1.กลุ่มตัวอย่างมีการประเมินตัดสินภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยอยู่ในระดับ มากทุกด้าน โดยให้คะแนนด้านอาการเจ็บป่วยมีความสำ คัญสูงที่สุด (M = 3.97) และ ให้คะแนนด้านอาการเจ็บป่วยมีผลในทางที่ดีกับผู้ป่วยต่ำ สุด (M = 3.02) 2. กลุ่มตัวอย่างมีการประเมินว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประเมินตัดสินภาวะเจ็บป่วย ฉุกเฉิน อยู่ในระดับมาก 3 ด้าน คือ ความรุนแรงของอาการเจ็บป่วย ความรู้เดิมของ บุคคลในการประเมินอาการเจ็บป่วย และประสบการณ์การเจ็บป่วยมีผลต่อการ ประเมินอาการเจ็บป่วย (M = 3.20, M = 3.11 และ M = 3.02 ตามลำ ดับ) และระดับปาน กลาง 3 ด้าน คือ การทำ นายการดำ เนินโรคของอาการเจ็บป่วย ความไม่แน่นอนของ อาการเจ็บป่วย และความเชื่อในการควบคุมอาการเจ็บป่วย (M = 2.82, M = 2.81 และ M = 2.70 ตามลำ ดับ) 3. กลุ่มตัวอย่างมีการเผชิญภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับมากทุกด้าน แต่ จะให้คะแนนด้านการจัดการอาการเจ็บป่วยด้วยตัวเองสูงที่สุด (M = 3.45 ) และให้ คะแนนด้านพยายามขอความช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างต่ำ สุด (M = 3.11) 4. ความสัมพันธ์ระหว่างการประเมินตัดสินภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินกับการเผชิญภาวะเจ็บ ป่วยฉุกเฉิน พบว่า การประเมินตัดสินภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินมีความสัมพันธ์ในทางบวก ระดับต่ำ กับการพยายามจัดการอาการเจ็บป่วยด้วยตัวเอง อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ในทางบวกระดับต่ำ กับการพยายามขอความช่วยเหลือ จากบุคคลรอบข้างอย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .05 16 การแปลบทคัดย่องานวิจัย (ABSTRACT TRANSLATION)


ฉบับภาษาอังกฤษ Thesis Name Decisive evaluation and confrontation of the patient relative in emergency Situation while using hospital service at Accident and Emergency Department Author Ms. Monthip Kesroe Program Nursing (Adult Nursing) Academic year 2014 Abstract This study is descriptive research to study the decisive evaluation and confrontation of the patient relative who brought emergency patient to use hospital service at Accident and Emergency Department. The samples are the patient relatives who brought the patient to receive medical care at Accident and Emergency Department of a center hospital in Southern Region during October 2013 to December 2013. The sample was selected by purposive sampling method on specified characteristic. Sample size is 380 samples. The data collection tools are; 1) Questionnaire to collect general data, patient relative personal data, and data related to patient illness, 2) Questionnaire to collect factors that are related to decisive evaluation in emergency illness situation, 3) Questionnaire to collect decisive evaluation in emergency illness situation, 4) Questionnaire to collect confrontation to emergency illness situation which were tested their conformity with the topic by three experts. The validity was tested by retest with validity equals to 0.73. The analysis is done by descriptive statistic and Person correlation statistic. Results: We found that; 17


1. The respondents decisively evaluated the emergency illness situation in high level in all respect. The important of illness symptom is in the highest score (M = 3.97) and the lowest score in the positive effect of illness symptom to the patient (M = 3.02). 2. The respondents evaluated that the factor which related to decisive evaluation of the emergency illness situation is in high level in three areas which are; the seriousness of illness symptom, former personal perception in illness evaluation, and illness experience that effect to the evaluation of illness symptom (M = 3.20, M = 3.11, and M =3.02 respectively) and in medium level in 3 areas which are the prediction of illness development, the uncertainty of illness symptom, and believe in illness symptom control (M = 2.28, M= 2.81, and M = 2.70 respectively) 3. The respondents confronted the emergency illness situation in high level in all aspects. The score in self-managed illness is the highest (M = 3.45) while the score in attempt to ask for help from surrounded people is the lowest (M = 3.11) 4. For the relationship between decisive evaluation in emergency illness situation and confrontation of emergency illness, we found that the decisive evaluation in emergency illness situation is positively correlated at low level to the attempt to cure their own illness with 0.01 significant level and is positively correlated at low level to the attempt to ask for help from surrounded people with 0.05 significant level. Source :https://www.facebook.com/translatorbyme/posts/360310994177389/ 18


บทร้อยกรองเป็นงานศิลปะและงานแปลบทร้อยกรองนั้นนับว่าเป็นงานศิลปะ ชนิดหนึ่ง การนำ บทร้อยกรองมาสรุป อธิบาย หรือพูดเสียใหม่ เป็นอีกภาษาหนึ่งเพื่อ มุ่งให้เนื้อหาที่เป็นความหมายของคำ โดยขาดความหมายหรือ รสชาติส่วนที่ แสดงออก โดยรูปแบบไม่น่านับว่าเป็นการแปล ด้วยเหตุที่งานแปลบทร้อยกรอง เป็น ศิลปะ ผู้แปลจึงมีกลวิธีที่จะผลิตงานออกมาหลายแบบหลายอย่าง ไม่มีกฎหรือวิธีที่ ตายตัว แบบที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นแบบการแปลบทร้อยกรองของนักแปลยุโรปและ อเมริกันซึ่งแลฟเฟอร์รายงานไว้ใน "Translating Poetry"(Lefevre, 1975) ซึ่งมี ทั้งหมด 3 แบบดังนี้ 1. การแปลแบบตรงตัว (Literal translation) เป็นการรักษารูปแบบเดิมของ ต้นฉบับไว้ในฉบับแปลมากที่สุด ตัวอย่างและรายละ เอียดจะกล่าวถึงในตอนต่อไปใน ตัวอย่างการแปลบทร้อยกรองไทย ตัวอย่างบทกลอน Feme or self: Which matters more ? Self or wealth: Which is more precious ? Gain or loss: Which is more painful ? He who is attached to things will suffer much. He who saves will suffer heavy loss. A contented man is never disappointed. He who knows when to stop does not find himself in trouble He will stay forever safe. คำ แปลบทกลอน ชื่อ เสียงกับตน เอง ไหนจะสำ คัญกว่า ตนเองกับสมบัติ ไหนจะมีค่ากว่า ได้มากับสูญไป ไหนจะปวดร้าวกว่า ผู้ผูกติดกับสิ่งใด จะต้องทุกข์ ผู้เก็บออมไว้ จะต้องสูญมาก ผู้รู้จักพอ จะไม่ต้องผิดหวัง ผู้รู้จักหยุด จะไม่ต้องลำ บาก จะอยู่ปลอดภัยชั่วนิรันดร์ การแปลบทร้อยกรอง (POEM TRANSLATION) 19


บทร้อยกรองเป็นงานศิลปะและงานแปลบทร้อยกรองนั้นนับว่าเป็นงานศิลปะ ชนิดหนึ่ง การนำ บทร้อยกรองมาสรุป อธิบาย หรือพูดเสียใหม่ เป็นอีกภาษาหนึ่ง เพื่อมุ่งให้เนื้อหาที่เป็นความหมายของคำ โดยขาดความหมายหรือ รสชาติส่วนที่ แสดงออก โดยรูปแบบไม่น่านับว่าเป็นการแปล ด้วยเหตุที่งานแปลบทร้อยกรอง เป็นศิลปะ ผู้แปลจึงมีกลวิธีที่จะผลิตงานออกมาหลายแบบหลายอย่าง ไม่มีกฎหรือ วิธีที่ตายตัว แบบที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นแบบการแปลบทร้อยกรองของนักแปลยุโรป และอเมริกันซึ่งแลฟเฟอร์รายงานไว้ใน "Translating Poetry"(Lefevre, 1975) ซึ่งมีทั้งหมด 3 แบบดังนี้ 1. การแปลแบบตรงตัว (Literal translation) เป็นการรักษารูปแบบเดิมของ ต้นฉบับไว้ในฉบับแปลมากที่สุด ตัวอย่างและรายละ เอียดจะกล่าวถึงในตอนต่อไปใน ตัวอย่างการแปลบทร้อยกรองไทย ตัวอย่างบทกลอน Feme or self: Which matters more ? Self or wealth: Which is more precious ? Gain or loss: Which is more painful ? He who is attached to things will suffer much. He who saves will suffer heavy loss. A contented man is never disappointed. He who knows when to stop does not find himself in trouble He will stay forever safe. คำ แปลบทกลอน ชื่อ เสียงกับตน เอง ไหนจะสำ คัญกว่า ตนเองกับสมบัติ ไหนจะมีค่ากว่า ได้มากับสูญไป ไหนจะปวดร้าวกว่า ผู้ผูกติดกับสิ่งใด จะต้องทุกข์ ผู้เก็บออมไว้ จะต้องสูญมาก ผู้รู้จักพอ จะไม่ต้องผิดหวัง ผู้รู้จักหยุด จะไม่ต้องลำ บาก จะอยู่ปลอดภัยชั่วนิรันดร์ 20


2 . การแปลด้วยสัมผัส (rhyming translation) การแปลแบบนี้มีการเพิ่มการใช้ แบบสัมผัสในต้นฉบับลงไปด้วย มีข้อจำ กัดในด้านความหมายคลาดเคลื่อนและ การสื่อความหมายไม่ได้ผลเต็มที่ นักแปลที่ใช้การแปลลักษณะนี้จะถูกบังคับ แปล ในเรื่องของจังหวะและสัมผัส ส่วนมากคำ สัมผัสจะอยู่ที่ส่วนท้ายของบรรทัด ความ คล้ายคลึง ระหว่างการแปลแบบจังหวะและการแปลแบบสัมผัสจะ อยู่ในจำ นวน ของคำ ดังนั้นจำ นวนของคำ ในภาษาฉบับแปลก็จะต้องเหมือนกับด้นฉบับ ผู้แปล ต้อง คงไว้เรื่องคำ สัมผัสใน สัมผัสนอกในภาษาฉบับแปลด้วย ตัวอย่างบทกลอน Ladybird! Ladybird! Fly away home, Night is approaching, and sunset is come: The herons are flown to their trees by the Hall; Felt, but unseen, the damp dewdrops fall. This is the close of a still summer day; Ladybird! Ladybird! Haste! Fly away! คำ แปลบทกลอน เต่าทอง! เต่าทอง! บินกลับบ้าน กลางคืนกำ ลังใกล้เข้ามาและพระอาทิตย์ตกดินก็มาถึง: นกกระสาบินไปที่ต้นไม้ข้างห้องโถง หยาดน้ำ ค้างเปียกชื้นรู้สึกแต่มองไม่เห็น นี่คือช่วงปิดของวันในฤดูร้อน เต่าทอง! เต่าทอง! เร่งรีบ! บินออกไป! 3. การแปลเป็นบทร้อยแก้ว (prose translation) ลักษณะการแปล เป็นการนำ บทร้อยกรองมา เขียนใหม่ในลักษณะร้อยแก้ว ความมุ่งหมายสำ คัญคือ สื่อความ หมายของต้นฉบับแต่เพียงอย่างเดียว บทแปลจึงมีลักษณะ เป็นการตีความหรือ อธิบายความหมายตามความเข้าใจ สำ หรับการแปลบทร้อยกรอง ภาษาไทย-ภาษา ต่างประเทศ ก็ได้มีผู้พยายามทำ อยู่ตลอดมาด้วยแบบต่างๆ กัน และด้วยจุดมุ่ง หมายที่ต่างกันไป ในที่นี้จะขอเสนอการแปลบทร้อยกรองภาษาไทย-อังกฤษของผู้ แปลไทย แบบพร้อมด้วยหลักเกณฑ์ความมุ่งหมายของผู้แปล ภาษาต้นฉบับ :พระจันทร์ทรงกลดดูหมดเมฆ แล้วมาลอยวิเวกส่องสว่างกลางเวหา พระจันทร์แจ่มแจ้งกระจ่างตา มาต้องหน้าลาวทองละอองนวล ภาษาฉบับแปล : There were no clouds and the haloed moon appeared alone and apart in the midst of the sky. Its stillness lays upon the face of creamy-skinned Lao Thong. 21


เอกสารอ้างอิง วราภรณ์ ศรีนาราช. (2559). การแปลเฉพาะทาง(Translation for Specific Purposes) : สำ นักพิมพ์ โรงพิมพ์สินอักษรการพิมพ์ 888 สิริน มีชัย. (2560). การแปลบทเพลงหรือบทกวีนิพนธ์. มหาวิทยาลัยบรูพา


นางสาวกฤติยาภรณ์ วิชัยเนตร นางสาวสุนิตา ทับอาจ นางสาวศุณิษรา อินต๊ะมารค นางสาวฌาณิศา แก้วรากมุก 641153001 641153015 641153021 641153030 จัดทำ โดย


Click to View FlipBook Version