The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by วีระ โชติธรรมาภรณ์, 2021-03-04 01:53:16

Packaging Printing Technology 01

Packaging Printing Technology 01

Keywords: Packaging Printing Technology

weera.chweera.ch

weera.chweera.ch

1

weera.chweera.ch แผนบรหิ ารการสอนประจ�ำ บทที่ 1
ความรพู้ น้ื ฐานบรรจภุ ัณฑ์

หวั ขอ้ เนอ้ื หา
ความหมายของบรรจภุ ัณฑ์
ค�ำ ท่ีเกี่ยวข้องกบั บรรจุภณั ฑ์
ความเปน็ มาของบรรจุภณั ฑ์
บทบาทหน้าทีโ่ ครงสร้างของบรรจภุ ัณฑ์
ประเภทของบรรจุภัณฑ์

วตั ถุประสงคเ์ ชงิ พฤตกิ รรม
เม่ือศึกษาบทเรียนจบแล้ว นกั ศึกษาสามารถ
1. อธบิ ายความหมายของบรรจุภัณฑไ์ ด้
2. เขยี นความหมายของค�ำ ทีเ่ ก่ยี วขอ้ งกบั บรรจุภัณฑ์ได้
3. เรยี งลำ�ดบั พฒั นาการความเป็นมาของบรรจภุ ัณฑไ์ ด้
4. บอกถึงบทบาทหนา้ ท่โี ครงสร้างของบรรจุภณั ฑไ์ ด้
5. ยกตัวอยา่ งบรรจภุ ัณฑใ์ นแต่ละประเภทได้

วิธสี อนและกจิ กรรมการเรียนการสอน
1. วิธสี อน
1.1 วิธสี อนแบบบรรยาย
1.2 วิธีสอนแบบอภปิ ราย
1.3 วธิ ีสอนแบบเนน้ การเรียนรู้ดว้ ยตนเองผา่ นเว็บไซต์

2

2. กิจกรรมการเรียนการสอน
2.1 นำ�บรรจภุ ัณฑ์ในลกั ษณะตา่ ง ๆ มาใหผ้ ู้เรียนสงั เกต แลว้ ตัง้ ค�ำ ถาม เพื่อบรรยายเข้าสู่
เน้อื หาทต่ี ้องการ
2.2 บรรยายเนอ้ื หา อธบิ ายความหมายของบรรจุภณั ฑ์ ใหผ้ ้เู รียนอธบิ ายความหมายของ
บรรจภุ ณั ฑ ์
2.3 ใหผ้ เู้ รียนอภิปรายและยกตวั อย่างบรรรจุภณั ฑแ์ ต่ละประเภท
2.4 ฝึกปฏบิ ตั ิใชแ้ ว่นขายสอ่ งดลู กั ษณะของระบบการพิมพ์ของบรรจุภัณฑ์แตล่ ะประเภท
2.5 ตอบค�ำ ถามทบทวนท้ายบทที่ 1

สอ่ื การเรยี นการสอน
1. บรรจุภณั ฑ์ตา่ ง ๆ
2. สื่อน�ำ เสนอประกอบการสอนผ่านเว็บไซต์ผู้สอน
3. หนงั สืออ่านประกอบทเี่ กยี่ วขอ้ ง
4. การสืบคน้ ขอ้ มลู ผา่ นระบบเครือขา่ ยอินเทอร์เนต็

การวดั ผลและการประเมินผล
1. สังเกตจากการตอบค�ำ ถามของผู้เรยี น
2. สังเกตจากการอภปิ รายและซักถามของผ้เู รียน
3. ตรวจสอบการตอบค�ำ ถามทบทวนท้ายบท
weera.chweera.ch

3

บทที่ 1
ความรพู้ นื้ ฐานบรรจุภัณฑ์

weera.chweera.ch ผลติ ภัณฑท์ มี่ กี ารจำ�หนา่ ย ทั้งผลิตภณั ฑอ์ ุปโภคและบรโิ ภค จำ�เปน็ ต้องมกี ารหอ่ ห้มุ
ตวั ผลิตภณั ฑ์ เพื่อให้ผลติ ภณั ฑ์คงอยใู่ นสภาพจากผู้ผลิตไปยงั สูผ่ ใู้ ช้ผลิตภณั ฑ์ จะสังเกตไดว้ า่ ผลิตภัณฑ์
ทกุ ชนิด ไมว่ า่ จะมขี นาดเล็กขนาดใหญ่ ไมว่ า่ ผลิตภณั ฑภ์ ายในนัน้ จะอยูใ่ นระดบั เกรดดเี ย่ยี ม เกรดดี
เกรดธรรมดา หรือแมแ้ ตเ่ กรดตํ่า กย็ งั ต้องบรรจุอยใู่ นภาชนะบรรจุ เพื่อใหส้ ามารถบรรจุผลติ ภณั ฑไ์ ด้
ซ่ึงอาจเปน็ ภาชนะบรรจุจากธรรมชาติโดยตรง เชน่ ขา้ วหลามถูกบรรจอุ ยู่ในกระบอกไมไ้ ผ่ ซง่ึ กระบอก
ไมไ้ ผ่ถือเปน็ ภาชนะบรรจุ นอกจากน้ียงั ผลติ จากวัสดุอ่นื ที่ตอ้ งผา่ นกระบวนการแปรสภาพวสั ดกุ ่อน เชน่
กระดาษ พลาสตกิ โลหะ แก้ว เป็นตน้ ภายหลงั ภาชนะบรรจุไดร้ บั การพฒั นาจนกลายเปน็ บรรจุภณั ฑ์

ความหมายของบรรจุภัณฑ์
บรรจภุ ณั ฑ์ ซง่ึ ในภาษาอังกฤษเรยี กว่า Packaging มผี ู้ใหค้ วามหมายไว้เป็นจ�ำ นวน
มากหลายความหมาย เพราะบรรจุภณั ฑเ์ กีย่ วขอ้ งกบั ศาสตรต์ ่าง ๆ หลายด้าน ท้งั ดา้ นวิทยาศาสตร์
ดา้ นการออกแบบ ด้านการตลาด ดา้ นเทคโนโลยี ดา้ นวัสดศุ าสตร์ จะเหน็ ได้ว่าบรรจุภัณฑเ์ ปน็ ส่งิ ตอ้ ง
น�ำ ศาสตรต์ ่าง ๆ เหล่านมี้ าสร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใชบ้ รรจุภณั ฑ์
เพ่อื ให้เกดิ ความเขา้ ใจในความหมายของบรรจภุ ณั ฑ์ จึงขอยกตวั อย่างความหมายของบรรจุภณั ฑ์ ดงั น้ี
หนังสือประมวลศพั ทห์ บี หอ่ (สถาบนั วจิ ยั วิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยแี ห่งประเทศไทย,
2545, น.37) ได้ให้ความหมายวา่ การบรรจภุ ณั ฑ์ การบรรจหุ ีบหอ่ การหบี หอ่ (Packaging) คือระบบ
รวมในการเตรียมสนิ คา้ สำ�หรับขนสง่ การจดั จ�ำ หนา่ ย การเกบ็ รกั ษาและการตลาด โดยใชค้ ่าใชจ้ ่ายที่
เหมาะสมซ่ึงสอดคล้องกับความต้องการของผลิตภณั ฑ์
ปนุ่ คงเจรญิ เกียรติ ได้กล่าวไว้ในรวมบทความบรรจภุ ณั ฑ์ พ.ศ.2544-2547 (ป่นุ
คงเจริญเกยี รติ, 2547, น.9) ไดใ้ ห้ความหมายไว้ว่า บรรจภุ ณั ฑ์ (Packaging) คอื สิ่งหอ่ หมุ้ หรือบรรจุ
ผลิตภัณฑ์รวมทั้งภาชนะท่ีใช้ในการขนส่งผลิตภัณฑ์จากแหล่งผู้ผลิตไปยังแหล่งบริโภคหรือแหล่ง

4 weera.chweera.ch

ใช้ประโยชน์ เพื่อวัตถปุ ระสงค์เบอ้ื งต้นในการป้องกันและรกั ษาผลิตภณั ฑใ์ หค้ งสภาพ นอกจากน ้ี
บรรจภุ ณั ฑ์ (Packaging) กย็ ังเปน็ ปจั จยั ทีส่ �ำ คญั อย่างหนง่ึ ในกระบวนการผลิตและหบี ห่อ โดยสรา้ งขน้ึ
เพอื่ วัตถปุ ระสงค์ทางด้านการตลาดและดา้ นการเก็บรกั ษา
บรษิ ัท กรตะวนั จำ�กดั (2558) ไดใ้ ห้ความหมายไว้วา่ บรรจุภัณฑ์” หมายถงึ สนิ ค้าทุก
ชนดิ ที่ทำ�จากวสั ดใุ ด ๆ ทน่ี ำ�มาใช้สำ�หรับห่อหมุ้ ป้องกนั ล�ำ เลยี ง จดั ส่ง และน�ำ เสนอสนิ คา้ ตง้ั แต่วตั ถดุ ิบ
ถงึ สินค้าที่ผา่ นการผลิต ตั้งแตผ่ ผู้ ลิตถึงผ้ใู ช้หรอื ผู้บรโิ ภค ซึ่งประกอบดว้ ยบรรจภุ ณั ฑส์ ำ�หรับการขาย
หรอื บรรจุภณั ฑ์ลำ�ดบั ทห่ี น่งึ ไดแ้ ก่ บรรจุภัณฑท์ ใ่ี ชเ้ ปน็ สว่ นหนงึ่ ของการขายของใหก้ บั ผู้ใช้รายสดุ ท้าย
หรอื ผ้บู ริโภค ณ จุดซ้ือ บรรจภุ ัณฑก์ ล่มุ หรือบรรจภุ ัณฑล์ ำ�ดับท่สี อง ได้แก่ บรรจภุ ัณฑ์ทใ่ี ช้ทจี่ ดุ ซอื้ กลุ่ม
สินคา้ ท่มี จี ำ�นวนขายมากกว่าหนง่ึ ไมว่ า่ สนิ คา้ น้นั จะถูกขายให้กบั ผูใ้ ช้รายสุดท้ายหรอื ผู้บริโภคหรอื ไม่
กต็ าม และไมว่ า่ บรรจุภัณฑ์นจ้ี ะถูกใชเ้ พ่อื การดงึ สินคา้ จากชัน้ วางของ ณ จดุ ขายกต็ าม บรรจุภัณฑ์
ส�ำ หรบั การขนส่งหรอื บรรจภุ ัณฑ์ลำ�ดบั ที่สาม ไดแ้ ก่ บรรจุภณั ฑ์ที่ใชส้ ำ�หรับช่วยในการลำ�เลียงและขนส่ง
สินค้าทีข่ ายจำ�นวนมากหรอื กล่มุ บรรจภุ ัณฑ์ เพอื่ ปอ้ งกันความเสยี หายทางกายภาพระหว่างการขนสง่
ประชิด ทิณบตุ ร (2555) ไดใ้ ห้ความหมายไวว้ า่ การบรรจุภัณฑ์ (Packaging) หรอื การ
บรรจหุ บี ห่อนั้น เปน็ สิง่ ทีม่ ีความสำ�คัญทั้งในทางเศรษฐกิจ การขนส่งและการจำ�หนา่ ยสินคา้ ทุกประเภท
ท้งั นี้เพราะสนิ ค้าแทบทกุ ชนิดจำ�เป็นต้องอาศัยการบรรจหุ ีบหอ่ แทบทั้งส้ิน เพ่อื ทำ�หนา้ ท่ีปอ้ งกัน
ผลติ ภณั ฑจ์ ากสภาวะส่งิ แวดล้อมภายนอกและรักษาคุณภาพของผลติ ภัณฑ์ นอกจากนบ้ี รรจุภัณฑ์ยังมี
สว่ นในการเพ่มิ คุณค่า ของผลติ ภัณฑ์และเรง่ เรา้ ให้เกดิ ความต้องการเพือ่ ผลทางการตลาดอกี ดว้ ย
สถาบนั กศน.ภาคกลาง (2557) ให้ความหมายของบรรจุภณั ฑ์ไว้ในเว็บไซต์ e-learning
รายวิชาบรรจุผลิตภัณฑ์ โดยกลา่ ววา่ บรรจภุ ณั ฑห์ รือการบรรจหุ บี หอ่ หมายถงึ ศาสตรแ์ ละศลิ ป์ทใี่ ชใ้ น
การบรรจสุ นิ คา้ โดยใช้เทคโนโลยีท่ีทนั สมยั และเปน็ มติ รกับสิง่ แวดล้อม เพ่อื การคมุ้ ครองปกปอ้ งสินคา้
จากผผู้ ลิตจนถึงมือะลกู ค้า อยา่ งปลอดภยั ด้วยต้นทนุ การผลิตท่ีเหมาะสม
ดวงฤทัย ธำ�รงโชติ (2550, น.9) ไดใ้ หค้ วามหมายไว้ว่า ภาชนะบรรจุ (Packaging)
หมายถึง วัตถหุ รอื วัสดุทใ่ี ช้บรรจุสินคา้ หรอื ส่งิ ของถูกปกปดิ มิดชิด โดยมีหนา้ ทป่ี กป้องคมุ้ ครองสนิ ค้าท่ี
อยู่ภายใน ให้ปลอดภยั สะดวกต่อการใช้งาน การขนยา้ ยและช่วยส่งเสรมิ การจำ�หนา่ ย
สำ�นกั พมิ พ์ Imprint tp21 GmbH (2015) ประเทศเยอรมนั ไดใ้ ห้ความหมายว่า
บรรจุภณั ฑ์คอื ส่งิ ทหี่ ่อหมุ้ ผลติ ภัณฑ์ในรูปแบบของการหอ่ การพนั การบรรจกุ ลอ่ ง การบรรจุในถว้ ย
ถาด หลอด ขวด หรือรูปแบบภาชนะอ่นื ๆ ท่จี ะด�ำ เนินการอย่างใดอยา่ งหนึ่ง หรอื เพ่ือการบรรจุสำ�หรบั
การจัดการ การขนส่งและการใช้งาน เพอื่ การเก็บรกั ษาและการป้องกัน ผลิตภัณฑ์ เพอ่ื จำ�แนกลักษณะ

weera.chweera.ch 5

ของผลิตภัณฑ์ ในด้านปรมิ าณ คุณภาพและผผู้ ลติ เพ่ือความสะดวกในการจดั จำ�หนา่ ย หรือความสะดวก
ในการใชง้ าน
ศูนย์การคา้ ระหวา่ งประเทศแห่งสหประชาชาติ The International Trade Centre
(ITC) ซ่ึงเปน็ หน่วยงานการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เพอื่ สนับสนุนสากลของวสิ าหกจิ ขนาดกลางและ
ขนาดยอ่ ม (SMEs) ITC จะช่วยใหผ้ ู้ประกอบการ SMEs ในการพฒั นาเศรษฐกจิ เชอื่ มตอ่ ไปยังตลาดตา่ ง
ประเทศเพือ่ การค้าและการลงทนุ ดงั นั้นการเพิม่ รายไดแ้ ละการสรา้ งโอกาสในการทำ�งาน โดยเฉพาะ
อยา่ งยงิ่ ส�ำ หรับผู้หญิงคนหน่มุ สาวและชุมชนทย่ี ากจน TTC ไดใ้ หค้ �ำ จ�ำ กัดความของบรรจภุ ัณฑว์ า่
บรรจุภณั ฑค์ อื การนำ�วสั ดแุ ละแนวคดิ โดยรวมของระบบการประสานงาน ในการจดั ท�ำ สินค้าทีผ่ ลติ เพ่ือ
การจัดการการขนส่ง การจดั เกบ็ ขอ้ มลู การตลาด การจัดจำ�หน่าย และการใชง้ านทม่ี คี า่ ใชจ้ ่าย ทเ่ี หมาะ
สมและสอดคล้องกบั ความตอ้ งการของผลิตภณั ฑ์ (The International Trade Centre, 2015)
บรรจภุ ณั ฑไ์ ดม้ ีผูใ้ หค้ วามหมายไวอ้ ยา่ งหลากหลาย ซ่งึ สามารถสรปุ ได้วา่ บรรจุภณั ฑ์
เปน็ สิ่งหอ่ หมุ้ ปกป้อง รักษาคุณภาพ ของผลิตภณั ฑ์ทอ่ี ยดู่ ้านในให้มีสภาพคงอยู่ บรรจุภณั ฑ์จะไดร้ บั
การออกแบบทงั้ ด้านโครงสรา้ งของบรรจุภณั ฑ์ ซงึ่ ตอ้ งอาศยั ความรูค้ วามเขา้ ใจในดา้ นวิทยาศาสตร์
ดา้ นวสั ดศุ าสตร์ ด้านเทคโนโลยเี ข้ามาประยกุ ตใ์ ช้ และการออกแบบกราฟกิ บนบรรจุภัณฑ์ ท่จี ะชว่ ย
ให้บรรจภุ ณั ฑม์ คี วามสวยงาม เปน็ ทีน่ า่ สนใจ สร้างเอกลกั ษณ์ สรา้ งความโดดเด่น ใหก้ บั ผลิตภณั ฑ์
ซึ่งตอ้ งอาศัยความรดู้ ้านการออกแบบ ท�ำ ใหบ้ รรจุภัณฑเ์ ปน็ งานทใี่ ช้ทั้งศาสตร์ ศลิ ป์และเทคโนโลยี ทงั้ นี้
บรรจภุ ณั ฑต์ อ้ งมคี า่ ใช้จ่ายทเี่ หมาะสม ไมท่ �ำ ใหบ้ รรจุภณั ฑ์มีราคาสูงเกนิ ไป นอกจากนี้บรรจภุ ัณฑ์ยงั ท�ำ
หนา้ ท่ีในด้านการตลาด ไดแ้ ก่ จัดจ�ำ หนา่ ยตวั ผลิตภณั ฑ์ เปน็ ตัวแทนหรือรูปลักษณ์ของผลติ ภัณฑ์ การ
แบ่งหนว่ ย จำ�นวนผลิตภัณฑ์ ช่วยส่งเสริมการขาย ชว่ ยสอ่ื สารผลิตภัณฑ์ ช่วยสร้างระดับของผลติ ภัณฑ์
ชว่ ยดึงดูดผบู้ รโิ ภคใหส้ นใจผลิตภณั ฑ์ การส่งเสรมิ การตลาดของผลิตภัณฑ์ รวมทัง้ เพือ่ ความสะดวกใน
การขนส่งผลติ ภัณฑใ์ นลกั ษณะตา่ ง ๆ

ภาพท่ี 1.1 บรรจุภัณฑ์ประเภทตา่ ง ๆ

6

คำ�ทเี่ กี่ยวข้องกับบรรจภุ ณั ฑ์
บรรจภุ ณั ฑม์ คี ำ�ทเ่ี กยี่ วขอ้ งหลายตวั ซึ่งอาจก่อใหเ้ กดิ ความสบั สน หากไม่ท�ำ ความเข้าใจ
ในความหมายใหด้ ี ซง่ึ ค�ำ ท่ีเกี่ยวขอ้ งมีดงั น้ี
1. บรรจุภณั ฑ์ (Packaging) หมายถงึ ตัวบรรจุภณั ฑท์ ่ีสรา้ งข้ึนเพอ่ื บรรจุผลิตภณั ฑ์ มกี าร
ออกแบบโครงสรา้ งและกราฟกิ บนบรรจภุ ณั ฑ์ใหส้ วยงาม เพอ่ื การจดั จำ�หนา่ ย เพอื่ การประชาสมั พันธ์
ผลิตภณั ฑ์ เพอื่ รักษาคุณภาพของบรรจภุ ณั ฑ์ เพอ่ื การขนสง่ บรรจภุ ณั ฑจ์ ะเป็นในลกั ษณะการค้าเชงิ
พาณชิ ยห์ รอื อุตสาหกรรม
2. ภาชนะบรรจุ (Package) หมายถงึ ภาชนะบรรจเุ พอ่ื ใส่ผลติ ภณั ฑ์หรือสินคา้ ซงึ่ มที ัง้
ภาชนะบรรจุที่เป็นแบบธรรมชาตแิ ละใชว้ ัสดุทางอตุ สาหกรรมได้ เชน่ จานข้าวบรรจอุ าหาร ตวั จาน
ข้าวกจ็ ะเปน็ ภาชนะบรรจุ นาํ้ บรรจุในแก้วหรือขวด แก้วหรือขวดก็จะเป็นภาชนะบรรจุ การซือ้ ของใน
รา้ นสะดวกซ้อื ท่ีพนักงานจะใส่ผลิตภัณฑท์ ่ีอยู่ในบรรจภุ ณั ฑท์ เ่ี ราเลอื กซอ้ื ลงในถุงหิ้วพลาสติก ซงึ่ ถุงหวิ้
พลาสตกิ กจ็ ะเปน็ ภาชนะบรรจุ
3. การบรรจุ (Packing) หมายถงึ การบรรจผุ ลิตภัณฑล์ งในบรรจภุ ัณฑ์ด้วยวิธตี ่าง ๆ เพอ่ื
ให้ผลติ ภัณฑ์ในภาชนะบรรจุสามารถรวบรวมเป็นหน่วยเดียวกนั คงอยู่ในบรรจภุ ัณฑ์ในสภาพทสี่ มบรู ณ์
จนถึงการเปดิ ใชห้ รอื เพ่อื การขนส่ง ซึง่ อาจใชว้ สั ดอุ น่ื ๆ ช่วยในการปอ้ งกันความเสียหายต่อผลติ ภณั ฑ์
การบรรจนุ บ้ี างทีก็เรียกว่า การบรรจุหบี ห่อ
weera.chweera.ch
ตารางที่ 1.1 แสดงความแตกตา่ งของคำ�ท่ีเก่ยี วข้องกับบรรจภุ ัณฑ์

คำ�ศัพท ์ ความหมาย ตัวอย่าง

บรรจุภัณฑ ์ ตวั บรรจภุ ัณฑ์ท่สี รา้ งข้นึ เพื่อบรรจุผลิตภัณฑ์
(Packaging) มกี ารออกแบบโครงสร้างและกราฟกิ บนบรรจภุ ัณฑ์

ภาชนะบรรจ ุ ภาชนะบรรจุเพ่อื ใสผ่ ลติ ภัณฑห์ รือสนิ คา้
(Package)
การบรรจ ุ การบรรจผุ ลติ ภัณฑ์ลงในบรรจภุ ัณฑด์ ้วยวิธตี า่ ง ๆ
(Packing) เพื่อให้ผลติ ภัณฑ์ในภาชนะบรรจุ
สามารถรวบรวมเปน็ หน่วยเดยี วกัน

weera.chweera.ch 7

ความเปน็ มาของบรรจุภัณฑ์
บรรจภุ ณั ฑ์เปน็ สง่ิ ทเี่ กดิ ขน้ึ มาจากภาชนะทจี่ ะใช้ในการบรรจุ่ส่ิงของต่าง ๆ เชน่ บรรจุ
อาหาร ใสน่ ้ํา ใส่ผลไม้ เป็นตน้ อาจกล่าวไดว้ ่าภาชนะบรรจเุ กดิ ขนึ้ มาพร้อม ๆ กบั มนุษย์ ในสมยั กอ่ น
ประวตั ิศาสตร์ มนษุ ย์อาจไมม่ กี ารบนั ทกึ เร่ืองราวต่าง ๆ ของบรรจุภัณฑ์ เปน็ การสันนิฐานว่ามนษุ ยร์ ู้จัก
ทจ่ี ะใช้สิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาตทิ ีห่ าไดม้ าเปน็ ภาชนะบรรจุ เชน่ ใบไมข้ นาดใหญ่ทส่ี ามารถใส่นา้ํ ได้ หรอื
การนำ�เปลือกหอย ขนาดใหญม่ าเกบ็ กักน้ําไว้ มนษุ ยใ์ นอดีตดำ�รงชีพดว้ ยการลา่ สตั ว์ มีการเรร่ ่อนยา้ ย
ถิน่ ฐานไปเรอ่ื ย ๆ เพื่อหาอาหารด้วยการลา่ สตั วแ์ ละเกบ็ พืชผักกนิ การเรร่ ่อนไปยังทีต่ ่าง ๆ อาจไกลจาก
แหลง่ น้าํ อนั เป็นสง่ิ สำ�คัญในการด�ำ รงชวี ิต จึงต้องหาวิธีในการเกบ็ กักน้ําไปพรอ้ มกบั การเรร่ ่อน
ดังนน้ั จงึ อาจกลา่ วไดว้ ่า ธรรมชาติเปน็ ผูส้ ร้างภาชนะบรรจใุ ห้กับมนษุ ยไว้แลว้ เพียงแต่
มนุษยร์ ้จู กั ใช้ความคิดในการเลอื กใชว้ สั ดตุ า่ ง ๆ ในธรรมชาติมาช่วยให้ชีวติ อย่รู อดนั่นเอง ยังมวี ัสดุใน
ธรรมชาตทิ ่มี นษุ ย์รู้จกั นำ�มาทำ�เปน็ ภาชนะบรรจุอกี เช่น กะลามะพร้าว เปลือกหอย ผลบวบ หนงั สตั ว์
อวัยวะสตั ว ์ กระบอกไม้ ผลนาํ้ เตา้ (Calabash) ผลมะระ (Gourds) เปน็ ต้น

ภาพที่ 1.2 บรรจุภณั ฑจ์ ากธรรมชาติ

จากการทใ่ี ช้วัสดุในธรรมชาตมิ าเปน็ ภาชนะแลว้ มนุษย์เรมิ่ รู้จกั ดัดแปลงสง่ิ ของต่าง ๆ
ในธรรมชาตมิ าใชบ้ รรจสุ ง่ิ ของต่าง ๆ เช่น การสงั เกตว่าดินริมนํ้ามคี วามเหนียวสามารถบบี ป้นั
ไปมาได้ จงึ ลองป้นั เป็นรปู ตา่ ง ๆ แลว้ กท็ ิง้ ไว้ บงั เอิญเกดิ ฟา้ ผา่ ต้นไมแ้ ลว้ ไฟลกุ บนดินที่ปนั้ ไว้ ทำ�ใหด้ นิ
ดังกล่าวถกู เผา แข็งและไมล่ ะลายน้ํา มนุษย์จึงเริ่มร้จู ักการนำ�ดินเผามาใชท้ �ำ ภาชนะตา่ ง ๆ เพอ่ื บรรจุ
ส่ิงของได้ นอกจากนมี้ นษุ ยย์ ังรู้จักใชไ้ ฟในการท�ำ ใหเ้ นอ้ื สตั ว์ท่ีล่ามาสกุ และสามารถเกบ็ ไว้กนิ ไดน้ านขน้ึ

8 weera.chweera.ch

เน่าเปอื่ ยช้าลง จงึ เร่ิมหาส่งิ ต่าง ๆ มาห่อเนื้อสัตว์ ในระยะแรกใช้หนังของสัตว์มาตากแห้ง เพราะสังเกต
จากธรรมชาติวา่ เม่ือถูกตากด้วยแสงอาทิตยห์ นังสตั วไ์ มเ่ นา่ เปือ่ ยและมคี วามเหนยี วคงทน จึงน�ำ มาใช้
ในการห่อเน้อื สัตว์ จากการทมี่ นษุ ยเ์ ริ่มรจู้ กั ทีจ่ ะน�ำ สงิ่ ของตา่ ง ๆ ในธรรมชาตมิ าช่วยในการดำ�รงชีพ
ไดม้ ากข้นึ การเรร่ อ่ นของมนษุ ยก์ ็เริ่มลดลง เพราะสามารถเกบ็ กกั อาหารและส่ิงดำ�รงชวี ติ ได้มากและ
นานข้นึ ไม่ตอ้ งเรร่ ่อนเพอ่ื หาอาหารกนิ เป็นวนั ๆ มีการอยรู่ วมกันมากข้นึ เรมิ่ เกิดเปน็ สงั คมและเปน็
ชุมชน
มนษุ ย์หลงั จากลดการเร่ร่อนแล้ว เรมิ่ มกี ารขงั สตั ว์ทจ่ี ับมาได้เพือ่ เปน็ อาหารทไี่ ม่สามารถ
กินไดห้ มด โดยน�ำ ไมม้ ากั้นเป็นคอกไม่ให้สัตวห์ นี ตอ้ งหานาํ้ และพืชผักต่าง ๆ มาให้สตั วก์ นิ เพือ่ ไม่ให้สัตว์
ตาย เมอ่ื สตั วอ์ ยูม่ ากขึน้ ก็มีการออกลูกท�ำ ใหม้ จี �ำ นวนสตั ว์มากข้ึนโดยไม่ตอ้ งล่าสตั ว์เพิ่มขึ้น นบั เปน็ จดุ
เริ่มต้นของการปศสุ ัตว์ นอกจากน้ียังเริม่ มีการเก็บพชื ตา่ ง ๆ มาไวเ้ ปน็ อาหาร สังเกตวา่ พืชบางชนิดมกี าร
เจรญิ เติบโตเปน็ ต้นขึ้นมาใหม่ มนุษย์จงึ เรมิ่ รูจ้ ักเกษตรกรรม รู้จกั ท่ีจะเพาะปลกู การท่ีมนษุ ย์ร้จู กั คิดและ
หาทางอยู่รอด ทำ�ใหม้ นษุ ย์ได้พฒั นาสง่ิ ตา่ ง ๆ ข้ึนเป็นล�ำ ดบั จะเหน็ ไดว้ า่ มกี ารขุดพบแหลง่ อารยธรรมใน
สว่ นตา่ ง ๆ ของโลกรวมทง้ั ประเทศไทย ที่มีอายุนบั พัน ๆ ปี มกั จะเปน็ บรเิ วณทใ่ี กลแ้ หลง่ น้ำ� มกี ารขดุ
พบหลมุ ศพตา่ ง ๆ และหลุมศพมกั จะมเี คร่อื งใช้ตา่ ง ๆ ฝงั รวมอย ู่ เชน่ ถ้วย ชาม ไห โอง่ หม้อ ซึ่งมกั ท�ำ
จากเคร่ืองปนั้ ดนิ เผา บางแหง่ อาจมีเครือ่ งประดบั ทีท่ �ำ จากหนิ สดี ว้ ย อาจเปน็ เพราะความเชอื่ ท่วี า่ จะให้
ผู้ตายนำ�ไปใช้ หลักฐานดังกล่าวแสดงว่าภาชนะบรรจเุ กิดขึ้นมานานแล้วนับพัน ๆ ปี ตามหลกั ฐานทขี่ ุด
คน้ พบ

ภาพที่ 1.3 บรรจุภัณฑ์ทีม่ นุษย์ดดั แปลงจากธรรมชาติ

เมอื่ ผ่านยคุ ต่าง ๆ มาจนถงึ ยคุ ท่มี นษุ ย์รจู้ กั ท่จี ะบันทกึ เรื่องราวมภี าษาเกดิ ขึ้น บรรจุภณั ฑ์
ก็ไดร้ บั การบันทึกการกำ�เนิดของบรรจภุ ณั ฑ์ตา่ ง ๆ ไดพ้ อสงั เขป ดังนี้

weera.chweera.ch 9

ราว 1500 ปีกอ่ นครสิ ตกาล การผลติ แผ่นดบี ุกถูกคิดคน้ ในโบฮีเมยี (Bohemia) ราว
1200 ปีก่อนครสิ ตกาล ในอียปิ ตม์ บี รรจภุ ัณฑ์ท่ผี ลติ จากแก้ว เปน็ แก้วที่ผลิตจากหนิ ปูน (Limestone)
โซดา (Soda) ทราย (Sand) ซลิ เิ กต (silicate) ในรูปร่างบรรจภุ ณั ฑ์แกว้ ลกั ษณะตา่ ง ๆ ราว 1200 ปีก่อน
ครสิ ตกาล หม้อและแกว้ เร่ิมมีการผลติ โดยมีแม่พิมพ์จงึ ท�ำ ให้ผลติ ได้ครงั้ ละมาก ๆ และมีความเหมอื นกนั
ในการผลิต ซึง่ แตกตา่ งจากเดมิ ทีจ่ ะมีลกั ษณะแตกตา่ งกันเพราะไมไ่ ดส้ ร้างจากแมพ่ ิมพ์ และราว 300
ปกี ่อนคริสตกาล สามารถผลิตแก้วทมี่ ีความโปร่งใสได้ (Packaging Manufacturers Association
ISTANBUL, 2013)
600 ปกี อ่ นคริสตกาล จนี ใช้กระดาษที่ทำ�จากเปลือกตน้ หม่อน (Mulberry) เป็นวัสดุ
บรรจภุ ณั ฑเ์ พ่ือใช้หอ่ อาหาร หลงั จากนั้นไดพ้ ฒั นาเทคนิคการท�ำ กระดาษไดด้ ี ภายหลังเทคนิคการทำ�
กระดาษ จากจีนจงึ ไดถ้ กู สง่ ไปยังตะวันออกกลาง ยโุ รป ราวปี ค.ศ. 1310 และสหรัฐอเมริกา ราวปี ค.ศ.
1690 (The Monument Paper Bag Co Ltd., 2015)
ปี ค.ศ. 1630 มกี ารบันทกึ ว่ามีการนำ�ถุงกระดาษ (Paper Bags) มาใชเ้ ป็นครง้ั แรกใน
ร้านขายของช�ำ ในประเทศองั กฤษ
ปี ค.ศ. 1660 จนี คิดค้นกระดาษแขง็ เพือ่ ใช้บรรจผุ ลิตภณั ฑ์ตา่ ง ๆ
ปี ค.ศ. 1800 มีการผลิตกระดาษเพ่ือทำ�ถุงกระดาษและกล่องกระดาษแข็งในเชิง
พาณชิ ย์ ของกล่องกระดาษแขง็ เปน็ วสั ดบุ รรจภุ ัณฑอ์ าหาร กระดาษมรี าคาถูกและมนี ้าํ หนักเบาแต่
กระดาษขาดความตา้ นทานไขมัน ต่อมาจึงมาการเคลือบ (Laminate) หรอื ชบุ ด้วยวัสดุ เช่น แวก็ ซ์
(Wax) เรซนิ (Resin) หรือแลคเกอร์ (Lacquer) เพือ่ ปรบั ปรงุ คณุ สมบัตใิ หส้ ามารถกันไขมนั ได้
ปี ค.ศ. 1805 นิโคลัส แอพเพิล (Nicholas Appert) ชาวฝรั่งเศส คดิ ค้นวธิ ีการรกั ษา
อาหาร โดยบรรจไุ วใ้ นขวดแกว้ และการปิดผนึกด้วยจุกและข้ผี ้งึ ท�ำ ให้ยดื อายุของอาหารที่อยู่ภายในได้
ปี ค.ศ. 1809 เรม่ิ มีการน�ำ โลหะมาใชใ้ นการท�ำ บรรจุภัณฑ์ หลงั จากท่ีนายพลนโปเลียน
โบนาปาร์ (Napoleon Bonaparte) ยืน่ ข้อเสนอจำ�นวน 12,000 ฟรงั ก์ สำ�หรับทกุ คนที่สามารถคดิ ค้น
วธิ กี ารเก็บรกั ษาอาหารส�ำ หรับกองทัพ ไมใ่ ห้เน่าเสียและเก็บได้เปน็ เวลานาน นโิ คลสั แอพเพิล ชาว
ฝรงั่ เศส คดิ ค้นวธิ ีการของการปดิ ผนกึ อาหารในกระป๋องและฆ่าเชอื้ โดยผา่ นกระบวนการท�ำ ใหเ้ ดือด
ปี ค.ศ. 1817 กลอ่ งกระดาษแข็งในเชิงพาณิชยท์ ่ถี กู ผลิตขึ้นคร้ังแรกในประเทศองั กฤษ
ปี ค.ศ. 1830 อาหารท่ถี ูกบรรจุลงในกระปอ๋ งเริ่มการนำ�มาใช้ โดยกองทัพเรือองั กฤษ
หลังจากทีโ่ ลหะถกู คดิ ค้นมาใชบ้ รรจุอาหาร แตก่ ระป๋องเหล่านีม้ ีอันตรายจากพิษตะกั่ว

10 weera.chweera.ch

ปี ค.ศ. 1838 อเลก็ ซานเดอร์ ปาร์กเกอร์ (Alexander Parker) คดิ พลาสตกิ เพือ่ ทดแทน
วสั ดุธรรมชาติ เช่น งาช้าง และในปี ค.ศ. 1862 ได้รับการแสดงที่งานแกรนด์อินเตอรเ์ นช่ันแนล (Grand
International Fair) ในลอนดอน ประเทศองั กฤษ
ปี ค.ศ. 1849 ชาร์ลส์ กูด๊ เยียร์ และ โทมสั แฮนค็อก (Charles Goodyear and
Thomas Hancock) พฒั นาข้ันตอนทท่ี ำ�ลายคณุ สมบัติเหนียวและเพม่ิ ความยืดหยนุ่ ใหก้ ับยางธรรมชาติ
จนในปี ค.ศ. 1851 ยางแขง็ หรือยางผสมกบั ก�ำ มะถนั ไดก้ ลายเปน็ เชิงพาณิชยท์ ใี่ นปจั จบุ ันคอื ยางลอ้
รถยนต์
ปี ค.ศ. 1850 กระดาษลกู ฟกู ปรากฏในประเทศองั กฤษ ท�ำ จากแผ่นบางของกระดาษ
แข็ง ทมี่ กี ารข้นึ รูปเป็นรปู ทรงหยกั และตดิ กาวระหวา่ งสองแผ่นแบนของกระดาษแขง็
ปี ค.ศ. 1866 มกี ารพิมพบ์ นกล่องโลหะบรรจุภณั ฑ์ขนึ้ เปน็ ครัง้ แรกในประวัตศิ าสตร์ ใน
ประเทศสหรฐั อเมรกิ า ปี ค.ศ. 1870 กลอ่ งพับได้ถกู น�ำ มาใช้เป็นครั้งแรก ซึง่ เป็นกลอ่ งกระดาษแขง็ โดย
เปน็ กลอ่ งบรรจุธัญพชื หรอื ซีเรยี ล (Cereal)
ปี ค.ศ. 1872 ลูเธอร์ คราวเวลล์ (Luther Crowell) ได้จดสทิ ธบิ ตั รเคร่ืองผลติ ถงุ
กระดาษ เมอื่ วันที่ 20 กมุ ภาพันธ์ ค.ศ. 1872
ปี ค.ศ. 1889 ไดม้ กี ารจดสทิ ธิบตั รของเคร่ืองผลิตแก้วโรตาร่อี ัตโนมตั ิ (Automated
Rotary Glass Manufacture Machine)
ปี ค.ศ. 1900 เริ่มการใชแ้ ก้วมาใช้บรรจุผลติ ภัณฑข์ องเหลว จนสามารถเข้าใชใ้ นเชงิ
พาณชิ ย์ แตแ่ ก้วเป็นบรรจุภณั ฑ์ที่มนี ้ําหนักและแตกหกั ไดง้ ่ายกว่าเมือ่ เทียบกับโลหะ นํ้าหนกั ของแก้ว
เป็นปจั จยั สำ�คญั เพราะมันจะเพิ่มคา่ ใช้จา่ ยในการขนส่งหรอื เชอ้ื เพลิงสำ�หรบั ผลติ ภณั ฑ์ ซ่งึ เปน็ ต้นทุนตอ่
บรรจุภัณฑ์ แตแ่ ก้วยังคงเป็นบรรจภุ ัณฑช์ ั้นนำ�สำ�หรับผลิตภัณฑบ์ างประเภท เช่น ไวน์ เหลา้
ปี ค.ศ. 1920 มีการประดิษฐข์ องกระดาษแกว้ โปรง่ ใส (Transparent Cellophane)
เปน็ จุด เรม่ิ ต้นของยุคของพลาสตกิ ปี ค.ศ. 1950 โฟม (Styrofoam) เริ่มเกดิ ขน้ึ
ปี ค.ศ. 1940 มีการพฒั นาบรรจุภณั ฑส์ ำ�หรับอาหารแชแ่ ข็ง (Frozen Food)
ปี ค.ศ. 1959 เร่ิมมีการน�ำ อะลูมิเนยี มมาใชเ้ ป็นวัสดสุ ำ�หรบั บรรจุภณั ฑ์ เหตทุ ี่มีการน�ำ
อะลมู เิ นียมมาทำ�บรรจภุ ณั ฑอ์ าหาร เน่ืองจากโลหะทีใ่ ช้ท�ำ บรรจุภณั ฑม์ ีความเปน็ พษิ ที่เกดิ จากความ
เขม้ ขน้ สูงของดีบกุ ในกระป๋องและการกัดกร่อน ซงึ่ การกดั กร่อนดีบกุ เกิดข้ึนตลอดอายกุ ารเกบ็ รักษา
ของผลิตภณั ฑ์ เชน่ เดียวกบั อาหารที่เปน็ กรด มะเขอื เทศเป็นตัวอยา่ งของอาหารทเี่ ป็นกรดทีช่ ่วยเร่ง
การกัดกรอ่ นของกระปอ๋ ง เหตุผลเหล่านีจ้ งึ ก่อใหเ้ กดิ การเปล่ียนแปลงของบรรจุภัณฑอ์ าหารกระป๋อง

weera.chweera.ch 11

จากโลหะมาเป็นอะลมู ิเนยี ม ข้อดขี องอะลูมเิ นยี มคือทนตอ่ การกดั กร่อน แตด่ บี ุกยังคงใช้ในบรรจุภัณฑ์
อาหาร เนอื่ งจากผผู้ ลติ นำ�สารมาเคลอื บดบี กุ เหมือนเป็นกำ�แพงกั้นระหว่างโลหะและอาหารเช่นเดียวกับ
เคลือบขีผ้ งึ้ บนกระดาษ การเปิดบรรจภุ ัณฑ์โลหะจะใชส้ ่ิวและคอ้ นชว่ ยจึงจะสามารถเปิดใช้ผลิตภัณฑ์
ภายในได้
ปี ค.ศ. 1960 มกี ารนำ�อะลมู เิ นยี มมาท�ำ กระปอ๋ งบรรจุนาํ้ อดั ลม เนอ่ื งจากการขยายตัว
ของตลาดนํ้าอดั ลม ในปี ค.ศ.1961 กล่องปลอดเชื้อ (Aseptic Cartons) ได้ถูกน�ำ มาใชใ้ นการบรรจุ
ผลติ ภัณฑ์ ประเภทนํา้ นมจงึ ทำ�ใหอ้ ุตสาหกรรมนมกล่องเตบิ โตข้นึ เป็นอยา่ งมาก เพราะสามารถเก็บได้
นานโดยนา้ํ นมไมบ่ ูดเสีย
ปี ค.ศ. 1977 มกี ารนำ�พลาสติกท่มี กี ารใช้กนั มากที่สุดคอื พอลเี อทิลนิ เทอร์เรฟทาเลต
(Polyethylene Terephthalate) หรอื PETE นำ�มาใช้เป็นวสั ดสุ ำ�หรับบรรจภุ ณั ฑเ์ คร่อื งด่ืม
ปี ค.ศ. 1980 พลาสตกิ สามารถนำ�มาใชบ้ รรจภุ ณั ฑ์อาหารร้อนได้
ความก้าวหนา้ ของเทคโนโลยีตา่ ง ๆ ช่วยใหบ้ รรจภุ ณั ฑ์ในปัจจบุ ันมเี ทคโนโลยีของบรรจุ
ภณั ฑ์ โดยเฉพาะไม่วา่ จะเป็นเทคโนโลยดี า้ นวสั ดุ สามารถน�ำ วสั ดทุ ม่ี คี ณุ สมบตั แิ ตกตา่ งกนั มาใชร้ ่วมกัน
ชว่ ยใหผ้ ลติ ภณั ฑภ์ ายในบรรจภุ ณั ฑม์ สี ภาพทีด่ ี คงสภาพไดด้ ีกวา่ เดิม เช่น การใช้กระดาษมาผนกึ ติดกบั
แผ่นอะลมู ิเนยี มเปลว (Aluminum Foil) และพลาสติก แลว้ น�ำ มาบรรจผุ ลติ ภัณฑ์ของเหลวประเภท
นม นาํ้ ผลไม้ รวมทัง้ มีการออกแบบบรรจภุ ณั ฑใ์ หส้ ามารถบง่ บอกคุณภาพของผลิตภัณฑภ์ ายในวา่ ยังมี
คณุ ภาพดอี ยหู่ รือไม่ การเปิดใชผ้ ลติ ภณั ฑ์ภายในก็ทำ�ให้สะดวกข้นึ เช่น การเปดิ ใช้อาหารกระป๋อง จาก
เดิมตอ้ งใชท้ ่ีเปิดกระปอ๋ ง จงึ จะเปดิ ใชผ้ ลติ ภัณฑ์ภายในได้ ปจั จุบันมกี ารเปลย่ี นเป็นการใช้ฝาดึงแทน ซึง่
สะดวกและเปดิ ง่าย แต่ยงั สามารถรกั ษาผลิตภัณฑภ์ ายในไดเ้ หมือนเดมิ นอกจากน้ยี งั มกี ารออกแบบที่
ทำ�ให้อยากใช้ผลิตภณั ฑ์ ทงั้ ๆ ทยี่ ังไม่เคยเหน็ ผลิตภณั ฑ์หรืออยากซ้ือเพราะอยากได้บรรจุภัณฑ์มากกว่า
ตวั ผลิตภณั ฑด์ ้านใน

ภาพท่ี 1.4 บรรจุภณั ฑ์ในปจั จุบัน

12

ตารางที่ 1.2 แสดงพฒั นาการของบรรจภุ ณั ฑ์

ระยะเวลา พัฒนาการบรรจภุ ัณฑ ์

กอ่ นประวัติศาสตร ์ บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ เชน่ กะลามะพร้าว เปลอื กหอย อวัยวะสัตว์

1500 ปี ก่อน ค.ศ. การผลิตแผน่ ดบี ุกถกู คิดคน้ ในโบฮีเมีย

1200 ปี กอ่ น ค.ศ. อียิปต์มบี รรจภุ ัณฑ์ทผี่ ลติ จากแกว้
weera.chweera.ch
600 ปี ก่อน ค.ศ. จีนใชก้ ระดาษท่ีท�ำ จากเปลือกตน้ หม่อน เปน็ วัสดุบรรจภุ ัณฑเ์ พื่อใช้หอ่ อาหาร

ค.ศ.1630 มกี ารนำ�ถุงกระดาษ มาใชเ้ ป็นครัง้ แรกในรา้ นขายของช�ำ ในประเทศอังกฤษ

ค.ศ. 1805 ฝรง่ั เศส คดิ ค้นวิธกี ารรักษาอาหาร โดยบรรจไุ วใ้ นขวดแกว้ และ
การปิดผนึกด้วยจุกและข้ผี ึ้ง

ค.ศ. 1809 ฝรัง่ เศสเริม่ มีการนำ�โลหะมาใชใ้ นการทำ�บรรจภุ ณั ฑ์

ค.ศ. 1817 กล่องกระดาษแข็งในเชิงพาณิชยท์ ี่ถูกผลติ ข้ึนคร้ังแรกในประเทศองั กฤษ

ค.ศ. 1838 Alexander Parker คิดพลาสตกิ เพอื่ ทดแทนวัสดุธรรมชาติ

ค.ศ. 1850 กระดาษลูกฟกู ปรากฏในประเทศอังกฤษ

ค.ศ. 1900 เรม่ิ การใชแ้ ก้วมาใชบ้ รรจผุ ลิตภัณฑข์ องเหลว จนสามารถเขา้ ใชใ้ นเชิงพาณชิ ย์

ค.ศ. 1950 เริ่มมีโฟมเกิดขึน้

ค.ศ. 1959 เรม่ิ มกี ารนำ�อะลูมเิ นียมมาใชเ้ ป็นวสั ดสุ �ำ หรับบรรจภุ ณั ฑ์

ค.ศ. 1977 มกี ารนำ�พลาสติกทม่ี ีการใชก้ นั มากทสี่ ุดคือพอลีเอทิลินมาบรรจุเครอ่ื งดม่ื

ค.ศ. 1980 พลาสตกิ สามารถนำ�มาใช้บรรจภุ ณั ฑอ์ าหารร้อนได้

13

บทบาทหนา้ ที่โครงสร้างของบรรจภุ ัณฑ์
บรรจุภัณฑ์มีบทบาทหน้าที่หลักที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ท่ีถูกบรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์
คงสภาพสมบรู ณแ์ ละสามารถใช้ผลติ ภัณฑ์ภายในได้ ตามเงอ่ื นไขของอายขุ องผลิตภัณฑท์ กี่ ำ�หนดไว้
โดยไม่เส่อื มสภาพ (Protect products) รวมท้ังตวั บรรจุภัณฑ์เองก็ตอ้ งสามารถป้องกนั ตนเองให้อยู่
ในสภาพสมบรู ณ์ ไมบ่ ุบหรือเสยี รปู ทรง ในปจั จุบันบทบาทหนา้ ท่ขี องบรรจภุ ัณฑ์ไม่ได้มเี พยี งปกปอ้ ง
ผลติ ภณั ฑ์หรอื สินค้าภายในเท่านนั้ ยังมบี ทบาทหน้าทอ่ี ่นื ทเ่ี พม่ิ เตมิ ซึง่ สามารถจ�ำ แนกออกได้เปน็ 2
ด้านคอื ดา้ นเทคนิคและดา้ นการตลาด ดงั แผนภมู ิท่ี 1.1 ดังน้ี

แผนภมู ทิ ่ี 1.1 แสดงบทบาทหน้าทขี่ องบรรจภุ ณั ฑ์

บทบาทหน้าทขี่ องบรรจุภณั ฑ์
weera.chweera.ch
ดา้ นเทคนิค ด้านการตลาด

การรองรับ การส่งเสริมการขาย
การปอ้ งกนั แสดงข้อมูล
การรักษาคุณภาพ สร้างมลู ค่าเพ่ิม
ความสะดวกในการขนส่ง เพมิ่ ปรมิ าณการจำ�หนา่ ย
ความสะดวกในการใช้
มีเอกลักษณ์
เป็นมติ รกบั สิ่งแวดล้อม

บทบาทหน้าท่ีของบรรจภุ ัณฑจ์ ากแผนภมู ทิ ่ี 1.1 สามารถอธิบายรายละเอยี ดเพิ่มเตมิ
เพื่อใหเ้ กดิ ความเข้าใจย่ิงขนึ้ ดงั น้ี
1. ดา้ นเทคนิค (Technical Functions) บทบาทหน้าทีข่ องบรรจภุ ัณฑด์ า้ นเทคนคิ ซ่งึ
ประกอบด้วย

14 weera.chweera.ch

1.1 การรองรบั (Containment) บรรจภุ ณั ฑ์จะทำ�หน้าที่รองรับผลิตภัณฑห์ รอื สินค้า
ให้รวมกนั หรอื เป็นตามรูปร่างของภาชนะทีน่ ำ�มารองรับ ซ่งึ ผลติ ภณั ฑม์ ีทงั้ ของแขง็ ของเหลว และกา๊ ซ
จะขึน้ อยกู่ บั วสั ดุทน่ี ำ�มาใชร้ องรบั ผลิตภณั ฑ์แตล่ ะชนดิ ด้วย เพราะผลติ ภณั ฑ์มีสมบติแตกตา่ งกัน จึงตอ้ ง
เลือกใช้วัสดุแต่ละชนดิ ใหเ้ หมาะสม
1.2 การป้องกนั (Protection) บรรจภุ ณั ฑ์จะท�ำ หนา้ ที่ป้องกนั คุ้มครองผลิตภัณฑ์
หรอื สินคา้ บรรจอุ ยู่ภายใน ไม่ใหเ้ กดิ การยบุ ตัว สลาย เสียรปู ทรง แตกหัก ไหลซึม หรือเสยี หายอย่าง
อื่น ซึง่ เป็นความเสียหายทางกายภาพ อนั เกดิ จากการเก็บรักษา สภาพสงิ่ แวดลอ้ ม สภาพดนิ ฟ้า
อากาศ สภาพการใชง้ าน สภาพการขนสง่ กลา่ วคือให้คงสภาพลักษณะของผลติ ภัณฑ์หรอื สินค้า รวมทั้ง
ตวั บรรจุภัณฑใ์ หม้ สี ภาพเหมอื นท่อี อกจากผผู้ ลิตสนิ ค้า ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบโครงสรา้ งของ
บรรจภุ ณั ฑ์ให้มสี มบัตใิ นการป้องกนั ผลติ ภณั ฑห์ รือสินคา้ ภายใน และปอ้ งกนั ส่ิงท่จี ะให้บรรจภุ ัณฑ์เสีย
สภาพดว้ ย
1.3 การรักษาคุณภาพ (Preserve) คุณภาพของผลิตภณั ฑ์หรือสนิ คา้ ให้คงเดมิ ตั้งแต่
ผ้ผู ลติ จนถึงผูใ้ ชผ้ ลิตภณั ฑ์ ผลิตภณั ฑห์ รือสนิ คา้ บางชนดิ ไม่สามารถทนตอ้ งแสงได้ หรอื ห้ามโดนอากาศ
จากภายนอกเขา้ ไปในบรรจุภณั ฑ์ เพราะอาจท�ำ ให้ผลติ ภัณฑ์หรอื สนิ คา้ เสียหรือเส่อื มสภาพ ซ่ึงเป็น
ความเสียหายทางเคมี ที่อาจเกดิ การบดู เสีย การขน้ึ รา เหมน็ หืน หรอื รสชาติเปลีย่ น เป็นตน้ ดังนนั้ การ
เลอื กวสั ดุทนี่ �ำ มาใชต้ อ้ งมคี วามรคู้ วามเข้าใจถึงสมบตั ิในการชว่ ยรักษาผลติ ภณั ฑห์ รอื สินคา้ ได้
1.4 ความสะดวกในการขนสง่ (Ease of Transport) บรรจภุ ัณฑ์จะถงึ ผู้ใช้ผลติ ภัณฑ์
ต้องมกี ารขนสง่ จากแหลง่ ผลิต ดังน้นั บรรจุภณั ฑ์ตอ้ งสามารถขนย้ายไดส้ ะดวกและไดร้ ับการปกปอ้ ง
(Protection During) ไมเ่ สยี หายระหวา่ งการขนส่ง ดังนัน้ บรรจุภณั ฑ์ควรได้รับการออกแบบมา เพ่ือ
ใหง้ ่ายตอ่ การขนสง่ การเคลอื่ นยา้ ยหรอื การใชร้ ถยก (Forklift) บรรจุภณั ฑ์ท่ีมีรูปร่างปกติ เชน่ ทรง
สี่เหลีย่ ม สามารถซอ้ นกนั ได้ โดยไมต่ อ้ งใชพ้ ื้นท่ีมากเกนิ ไป เมอื่ เปรยี บเทียบกับบรรจุภัณฑ์ทีม่ รี ปู ทรง
อืน่ เช่น ทรงกระบอกจะทำ�ใหเ้ ปลืองพืน้ ทใ่ี นการวางบรรจุภัณฑ์ ซง่ึ หมายถงึ ค่าใช้จา่ ยทจี่ ะเพิม่ ขึน้ กับ
การขนสง่ ดังน้ัน บรรจุภณั ฑ์เพ่ือการขนสง่ มกั จะเปน็ รปู ทรงสเ่ี หล่ยี ม แมว้ า่ บรรจุภณั ฑภ์ ายในอาจไมใ่ ช่
รูปทรงสีเ่ หลย่ี ม
1.5 ความสะดวกในการใช้ (Enhancing Convenience) บรรจุภณั ฑน์ อกจากทำ�
หน้าที่ในการปกป้องรักษาผลิตภัณฑ์แล้วยังมีหน้าท่ีในการสร้างความสะดวกในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ
อย่ใู นบรรจภุ ณั ฑ์ กล่าวคอื บรรจภุ ณั ฑต์ อ้ งง่ายตอ่ การเปิด แต่ตอ้ งมีความปลอดภยั สงู ในการเปิดโดยไม่

weera.chweera.ch 15

ได้ต้ังใจ เช่น บรรจุภณั ฑโ์ ลหะกระปอ๋ งไมจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งใชท้ เ่ี ปิดเพียงดงึ กส็ ามารถเปิดบรรจภุ ณั ฑไ์ ด้ การ
เปิดถุงบรรจขุ นมขบเคีย้ ว ไม่ต้องใชก้ รรไกรชว่ ยตดั เพยี งฉีกตามรอยทบ่ี ากไว้กส็ ามารถเปดิ ถุงบรรจไุ ด้
แล้ว
1.6 มีเอกลกั ษณ์ (Identification) บรรจุภัณฑ์จะเป็นตัวช่วยสร้างเอกลักษณใ์ หเ้ ปน็
ท่จี ดจำ�ต่อผ้ใู ช้ผลติ ภัณฑ์ ใหส้ ามารถแยกแยะไดว้ ่าผลิตภณั ฑ์ของตนเองแตกตา่ งจากผลิตภัณฑ์ของ
ผ้อู น่ื โดยปกติมกั อาศยั การออกแบบกราฟกิ เปน็ ตัวสรา้ งเอกลกั ษณข์ องบรรจุภัณฑ์ เชน่ สี มกั ใชส้ ีที่
เป็นเอกลกั ษณเ์ ฉพาะของผลติ ภณั ฑน์ น้ั ๆ มกั ไมเ่ ปล่ยี นสีเพ่ือให้เกดิ ความจดจำ�ได้ นอกจากนี้ยงั มีชอ่ื
การค้า (Brand) หรือเครอ่ื งหมายการคา้ (Trademark) ทไี่ ม่นิยมเปลีย่ น ทัง้ นเ้ี พ่อื ให้ผู้ใชผ้ ลิตภณั ฑจ์ ดจ�ำ
เอกลกั ษณ์ได้
1.7 เปน็ มิตรกับส่ิงแวดลอ้ ม (Environmentally Friendly) บรรจุภัณฑม์ ีการใชเ้ ป็น
จ�ำ นวนมาก การใช้วสั ดทุ ่มี ีปริมาณของเสยี นอ้ ย สามารถยอ่ ยสลายได้ (Compose) นำ�กลบั มาเวียนท�ำ
ใหม่ (Recycle) น�ำ กลบั มาใชใ้ หม่ (Reuse) กจ็ ะทำ�ใหบ้ รรจุภัณฑไ์ ม่รบกวนสง่ิ แวดล้อม อุตสาหกรรม
บรรจุภณั ฑท์ ่ัวโลกไดต้ ระหนักในเรือ่ งนี้เป็นอย่างดี จงึ พยายามออกแบบบรรจุภณั ฑท์ ่ีใชว้ ัสดนุ ้อยแต่มี
คุณสมบัติปกป้องรักษาผลิตภณั ฑ์ภายในใหม้ สี ภาพสมบรู ณ์ รวมทงั้ การออกแบบกราฟิกท่ีพยายามใช้
หมกึ พมิ พ์ท่ี ไมเ่ ปน็ มลพิษและพยายามลดปรมิ าณสีลดลงซึ่งจะสง่ ผลให้ใช้ปรมิ าณหมึกลดลงดว้ ย
2. ดา้ นการตลาด (Marketing Functions) บทบาทหน้าท่ีของบรรจุภณั ฑ์ด้านการตลาด
ประกอบด้วย
2.1 การสง่ เสรมิ การขาย (Promotion) เป็นบทบาทหนา้ ทีส่ �ำ คญั ของบรรจภุ ณั ฑ์ท่ี
จะช่วยสง่ เสรมิ การขายของผลติ ภัณฑ์ ถา้ ผลิตภัณฑท์ ไี่ ด้รบั การบรรจุในบรรจุภณั ฑ์ทีน่ า่ สนใจ สวยงาม
แปลกใหม่ ถูกใจ กถ็ อื เปน็ ส่อื โฆษณาได้ด้วยตัวบรรจุภัณฑ์เอง ซงึ่ จะช่วยดึงความสนใจของลกู ค้าทจ่ี ะ
กระตุน้ ความสนใจของพวกเขาท่มี ีตอ่ บรรจุภณั ฑ์ และกระตุ้นใหผ้ ้ใู ช้ผลิตภณั ฑส์ นใจทจ่ี ะซ้อื นอกจากนี้
ตัวบรรจภุ ัณฑ์ยงั สามารถออกแบบให้เหมาะสมตามแผนการส่งเสรมิ การขายได้ เชน่ ช่วงเทศกาลต่าง ๆ
อาจออกแบบบรรจภุ ณั ฑ์ใหเ้ ขา้ กับช่วงระยะเวลานั้น ๆ เพอ่ื กระต้นุ ยอดจำ�หนา่ ยผลติ ภัณฑ์
2.2 แสดงข้อมลู (Printed Information) บรรจุภณั ฑ์มีบทบาทหนา้ ทส่ี �ำ คัญใน
การใหข้ ้อมูล โดยการพิมพ์รายละเอยี ดต่าง ๆ ของผลติ ภณั ฑห์ รือสินคา้ เชน่ สรรพคุณ สว่ นประกอบ
วิธีการใช้ คำ�แนะน�ำ เครื่องหมายการค้า วนั เดือนปีทผี่ ลติ วนั เดือนปีท่ีหมดอายุ สถานท่ีผลติ ผลติ ภณั ฑ์
หรือสนิ ค้า บารโ์ ค้ด (Barcode) รวมทงั้ ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ตอ่ ผลิตภณั ฑห์ รอื สนิ คา้

16 weera.chweera.ch

2.3 สรา้ งมูลค่าเพิม่ (Value Added) บรรจุภณั ฑ์สามารถชว่ ยให้ผลิตภณั ฑ์มคี วาม
นา่ เช่ือถอื ว่าผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยูภ่ ายในบรรจภุ ณั ฑ์เป็นของทม่ี ีคณุ ภาพ มีมาตรฐาน สร้างความนยิ มให้
เกิดตอ่ ผ้ใู ช้ผลติ ภัณฑ์ จนสามารถท�ำ ใหเ้ กดิ ความภกั ดี (Loyalty) ในตวั ผลิตภัณฑห์ รือสินคา้ จะทำ�ให้
สามารถขายไดใ้ นราคาที่สงู ข้ึน ท�ำ ให้สนิ คา้ มลี ักษณะเหนอื กวา่ ผูข้ ายผลติ ภณั ฑร์ ายอื่น
2.4 เพิ่มปริมาณการจ�ำ หนา่ ย (Increase sales volume) บรรจภุ ณั ฑม์ กั จำ�หน่าย
เปน็ เฉพาะหนว่ ย บรรจภุ ณั ฑส์ ามารถทำ�ให้เพ่ิมปรมิ าณการจำ�หน่ายได้ โดยอาจจัดรวมหน่วยเพ่ิมขึ้น
มากกว่า หน่ึงหน่วยใหส้ ามารถจ�ำ หน่ายได้ในปรมิ าณท่มี ากข้นึ เชน่ การขายนํ้าผลไมก้ ลอ่ ง จะขายได้ครง้ั
ละหนง่ึ หน่วย เมื่อนำ�มารวมหน่วย (Unit Packaging) เปน็ 6 หน่วยหรอื 12 หนว่ ย โดยอาจออกแบบ
บรรจุภัณฑร์ วมหน่วย ให้สวยงามและสะดวกตอ่ การถอื ก็จะทำ�ให้สามารถจ�ำ หน่ายผลิตภณั ฑ์ไดม้ ากข้ึน
ทง้ั นี้อาจไมจ่ ำ�เป็นตอ้ งลดราคาของผลติ ภณั ฑห์ รอื สินค้าลงก็ได้

ประเภทของบรรจุภัณฑ์
การจำ�แนกประเภทของบรรจุภัณฑ์สามารถจำ�แนกได้หลายวธิ ี โดยอาศัยหลกั เกณฑ์
ต่าง ๆ ในการแบง่ ประเภทของบรรจภุ ณั ฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ได้ดังนี้
1. แบ่งตามระดบั ชน้ั ของบรรจภุ ณั ฑ์ (Levels of Packaging) โดยแบ่งตามลักษณะของ
การอยู่ใกล้กบั ผลติ ภัณฑ์เป็นหลกั ซึ่งสามารถแบง่ ได้เปน็ 3 ระดบั ได้แก่
1.1 บรรจภุ ณั ฑ์ชั้นท่ี 1 หรือชนั้ ปฐมภูมิ (Primary Packaging) บางทีก็เรียกวา่
บรรจภุ ัณฑ์หลัก หรือบรรจภุ ัณฑ์ช้ันในสดุ เพราะเป็นบรรจภุ ัณฑท์ ี่อยตู่ ิดกบั ผลิตภณั ฑห์ รอื สินค้า ม ี
หน้าทใี่ นการรองรบั ปกปอ้ ง และรกั ษาใหผ้ ลิตภัณฑห์ รือสินคา้ อยใู่ นสภาพสมบูรณ์ จนถึงการใชข้ องผู้
ใช้ผลิตภณั ฑ์ ส่วนใหญจ่ ะมีการออกแบบให้สวยงาม เมอ่ื น�ำ วางบนชน้ั ขายบรรจภุ ณั ฑ์จะชว่ ยดึงดดู ความ
สนใจของผซู้ ้อื เนน้ ความสวยงาม ความโดดเดน่ บรรจุภัณฑช์ นดิ น้ี เชน่ ซองพลาสติก ขวดพลาสตกิ ขวด
แกว้ กระปอ๋ งโลหะ ซองกระดาษ กล่องน้าํ ผลไม้ เป็นตน้ ดงั แสดงในภาพท่ี 1.5

ภาพที่ 1.5 บรรจภุ ัณฑช์ นั้ ที่ 1 หรอื บรรจุภณั ฑห์ ลัก

weera.chweera.ch 17

2. บรรจภุ ณั ฑ์ช้นั ท่ี 2 หรือชน้ั ทตุ ยิ ภูมิ (Secondary Packaging) บางทกี เ็ รยี กวา่
บรรจุภณั ฑร์ อง บรรจุภัณฑ์กลุ่ม (Group Packaging) เปน็ บรรจุภณั ฑท์ ่มี ีหน้าทใี่ นการรวบบรรจุภณั ฑ์
ชัน้ ท่ี 1 เข้าด้วยกัน หรือเพอื่ ให้สามารถจำ�หนา่ ยผลติ ภัณฑ์หรอื สนิ คา้ ได้มากขึน้ กว่าหนง่ึ หน่วย หรอื
อาจเพือ่ สะดวกตอ่ การเคล่ือนยา้ ย การเกบ็ สินค้า หรือการขนสง่ บรรจุภณั ฑ์รองยงั มคี วามจำ�เป็นต้อง
ออกแบบให้มคี วามสวยงาม ดงึ ดดู ความสนใจของผู้ซ้ือเชน่ เดยี วกับบรรจุภัณฑห์ ลกั เพราะยงั ต้องมี
การนำ�บรรจภุ ณั ฑ์วางบนชั้นขายเชน่ เดียวกนั บรรจภุ ณั ฑ์ชนิดนี้ เชน่ กลอ่ งกระดาษ พลาสติกหดตวั
ถงุ พลาสติก เปน็ ต้น ดังแสดงในภาพที่ 1.6

ภาพที่ 1.6 บรรจภุ ัณฑช์ ั้นท่ี 2 หรอื บรรจุภณั ฑร์ อง

3. บรรจุภณั ฑช์ น้ั ท่ี 3 หรอื ชน้ั ตติยภมู ิ (Tertiary Packaging) บางทีกเ็ รยี กว่า
บรรจุภณั ฑ์เพอ่ื การสง่ สินค้า (Shipping Packaging) บรรจภุ ณั ฑ์เพอ่ื การกระจายสินคา้ (Distribution
Packaging) หรอื บรรจุภัณฑเ์ พ่อื การขนส่ง (Transport Packaging) เปน็ บรรจภุ ัณฑท์ ่ีมหี น้าทีใ่ นการ
รวบบรรจภุ ัณฑ์ ช้ันที่ 2 เขา้ ด้วยกันหรอื อาจเปน็ บรรจภุ ัณฑช์ น้ั ที่ 1 ก็ได้ เพ่ือการจดั เก็บสต๊อคสนิ ค้า
(Stock) เพื่อรอการจดั ส่ง และเพ่ือการขนส่งจากแหล่งผลิตไปสแู่ หล่งจ�ำ หนา่ ย บรรจภุ ณั ฑช์ ้นั นตี้ ้องมี
การออกแบบโครงสร้างของบรรจุภัณฑ์ให้มีความแข็งแรงต้องเลือกวัสดุท่ีมีความแข็งแรงต่อการขนส่งที่
ตอ้ งมีการเคล่อื นที่ การรับนํา้ หนักในการซ้อนทับกัน ไม่เสยี รูปทรงได้ง่าย รวมทัง้ การใช้เครื่องจกั รชว่ ย
ในการขนส่ง บรรจภุ ัณฑ์ชัน้ นี้มกั ไมอ่ อกแบบเพอ่ื ความสวยงาม เหมอื นบรรจุภณั ฑห์ ลกั และบรรจุภัณฑ์
รอง บรรจภุ ณั ฑช์ นดิ นี้ เชน่ กลอ่ งกระดาษลูกฟกู ลังไม้ ลังพลาสติก เป็นตน้ ดงั แสดงในภาพที่ 1.7

18 weera.chweera.ch

ภาพที่ 1.7 บรรจุภณั ฑช์ น้ั ที่ 3 หรือบรรจุภัณฑเ์ พื่อการส่งสนิ ค้า
2. แบง่ ตามลกั ษณะการบรรจุ (Packing) โดยแบ่งตามลกั ษณะของจ�ำ นวนหนว่ ยใน
การบรรจุเปน็ หลัก ซึง่ สามารถแบง่ ได้เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่
2.1 บรรจุภณั ฑเ์ ฉพาะหน่วย (Individual Package) คือ บรรจุภัณฑท์ ่ีสมั ผัสอยูก่ ับ
ผลติ ภณั ฑ์ชนั้ แรก เปน็ ส่งิ ทีบ่ รรจผุ ลิตภณั ฑเ์ อาไว้เฉพาะหน่วย เพ่อื ใหผ้ ลิตภัณฑ์บรรจอุ ยู่ตามปรมิ าณ
ท่ีตอ้ งการ เชน่ กล่องบรรจุนาํ้ นม ผงกาแฟบรรจุซอง ขนมขบเค้ยี วบรรจุถงุ อาหารแชแ่ ขง็ บรรจกุ ล่อง
เปน็ ต้น ซง่ึ เป็นจ�ำ นวนท่ีผูผ้ ลติ ต้องการจะบรรจุผลติ ภณั ฑใ์ นการจำ�หนา่ ยหนง่ึ หน่วย โดยบรรจภุ ัณฑ์
เฉพาะหน่วยนีจ้ ะออกแบบเพ่อื ให้สามารถดงึ ดูดความสนใจของผใู้ ชด้ ว้ ย ดังแสดงในภาพท่ี 1.8

ภาพที่ 1.8 บรรจภุ ัณฑเ์ ฉพาะหน่วย
2.2 บรรจุภัณฑ์รวมหน่วย (Set Package) คือ บรรจภุ ัณฑท์ ่บี รรจเุ ฉพาะหน่วย
มากกว่าหนึ่งหน่วย ซง่ึ อาจจะตั้งแต่ 2 หน่วยขนึ้ ไป ทง้ั น้ีเพอ่ื ความสะดวกในการซื้อผลติ ภณั ฑจ์ ำ�นวน
มากขึ้น เหมาะกับผลิตภัณฑ์ท่มี ปี ริมาณการใชบ้ อ่ ย หรอื มีปรมิ าณของผลติ ภัณฑ์ในบรรจภุ ัณฑ์เฉพาะ
หนว่ ยนอ้ ย รวมท้ังยังเปน็ การสง่ เสริมการขายใหก้ บั ผลิตภัณฑใ์ ห้ขายไดม้ ากข้ึน ซึ่งอาจส่งเสรมิ การขาย

weera.chweera.ch 19

โดยการซ้ือแบบรวมหนว่ ย มีราคาเฉล่ียตอ่ หน่วยถกู กว่าซือ้ แบบเฉพาะหน่วย เชน่ กาแฟ 30 หน่วยใน
หน่ึงเซต็ (Set) บางทีเรยี กเปน็ แพค็ (Pack) น้าํ อดั ลมกระปอ๋ ง 6 กระป๋องในหนึ่งแพค็ นมกล่องบรรจุ 1
โหลในหนึ่งแพค็ เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 1.9

ภาพท่ี 1.9 บรรจุภัณฑ์รวมหน่วย
2.3 บรรจภุ ัณฑเ์ พ่ือการขนส่ง (Transport Package) คอื บรรจภุ ัณฑท์ ีเ่ ป็นหน่วย
รวมจำ�นวนมากที่ใชใ้ นการขนส่ง ซึ่งเป็นการรวมบรรจภุ ณั ฑเ์ ฉพาะหนว่ ยบรรจลุ งในบรรจภุ ัณฑ์เพื่อ
การขนสง่ หรอื อาจเป็นการรวมบรรจภุ ัณฑ์รวมหน่วยหลาย ๆ หน่วย บรรจุลงในบรรจุภณั ฑเ์ พ่อื การ
ขนสง่ กไ็ ด้ ท้ังนีบ้ รรจุภัณฑ์เพ่ือการขนสง่ จะทำ�หนา้ ที่สำ�คญั คอื ปกปอ้ งบรรจุภัณฑแ์ ละผลิตภัณฑ์ภายใน
บรรจุภณั ฑใ์ ห้มสี ภาพสมบรู ณ์ ไม่เสียหายในระหว่างการขนส่ง บรรจุภณั ฑ์เพอื่ การขนส่งน้ีมักไมค่ อ่ ย
คำ�นึงถงึ ความสวยงามเหมอื นกับบรรจุภณั ฑ์เฉพาะหนว่ ยและรวมหน่วย เพราะไม่เน้นในการวางโชว์ใน
ช้นั ขายและผู้ซ้อื ทัว่ ไปไมไ่ ด้เห็นบรรจุภณั ฑ์ประเภทนี้ บรรจภุ ัณฑเ์ พื่อการขนส่งตอ้ งมีความแขง็ แรงทจี่ ะ
ไม่เสยี หายจากการขนส่ง อาจมกี ารพิมพ์ลวดลายตา่ ง ๆ ตราสินค้า จำ�นวนบรรจุ วนั เดอื นปีท่ผี ลิต วัน
เดอื นปที ห่ี มดอายุ ครงั้ ท่ีผลติ เป็นตน้
วัสดุทีใ่ ช้ทำ�บรรจภุ ัณฑต์ ้องมคี วามแข็งแรง ทนตอ่ การกระแทกไดด้ ี รบั นํา้ หนักได้ดี เช่น
กระดาษลูกฟูก ลงั ไม้ ลงั พลาสตกิ ดงั แสดงในภาพที่ 1.10

ภาพท่ี 1.10 บรรจุภณั ฑ์เพ่ือการขนสง่

20 weera.chweera.ch
3. แบ่งตามความคงรูปของบรรจภุ ัณฑ์ (Rigidity) โดยแบ่งตามลกั ษณะของความคงตวั
ของรปู ทรงบรรจภุ ณั ฑเ์ ปน็ หลกั ซงึ่ สามารถแบ่งไดเ้ ปน็ 3 ลักษณะ ไดแ้ ก่
3.1 บรรจภุ ณั ฑ์คงรูปประเภทรปู ทรงแข็งตวั (Rigid Forms) หรอื บรรจุภณั ฑค์ งรปู
(Rigid Packaging) คอื บรรจภุ ณั ฑท์ ม่ี ีความคงรูปทรงเดมิ ไมว่ ่าจะมผี ลิตภัณฑ์บรรจุไว้ในบรรจภุ ัณฑ์
หรือไม่ ภายใต้สภาพอากาศและอณุ หภมู ปิ กติ บรรจภุ ณั ฑ์ประเภทนี้ ไดแ้ ก่ กระดาษลกู ฟกู โลหะ
ไม้ เครอ่ื งป้นั ดินเผา เครื่องแก้ว เซรามคิ ขวดพลาสตกิ ประเภทคงรปู ได้ ดงั แสดงในภาพที่ 1.11

ภาพที่ 1.11 บรรจภุ ัณฑ์คงรปู ประเภทรูปทรงแข็งตัว
3.2. บรรจุภณั ฑค์ งรูปประเภทรูปทรงก่งึ แข็งตวั (Semi-rigid Forms) หรือบรรจภุ ัณฑ์
กงึ่ แข็งตวั (Semi-rigid Packaging) คอื บรรจุภัณฑ์ทมี่ คี วามคงรปู ในระดบั ปานกลาง เมอื่ มผี ลิตภัณฑ์
บรรจุเขา้ ไปในบรรจุภณั ฑ์ ตวั บรรจุภัณฑจ์ ะไมเ่ ปลี่ยนรปู ทรง ยกเวน้ ได้รับแรงกดหรืออณุ หภมู ิท่สี ูงข้ึน ซ่ึง
จะเปล่ยี นรปู ทรงไดง้ า่ ยกวา่ บรรจุภณั ฑ์คงรูปประเภทรูปทรงแขง็ ตวั บรรจภุ ณั ฑป์ ระเภทน้ี ไดแ้ ก่ กล่อง
กระดาษพับได้ ถาดกระดาษ ถาดอะลมู ิเนียมบาง ถาดพลาสตกิ บาง กลอ่ งพลาสตกิ บรรจุเนย เป็นตน้
ดังแสดงในภาพท่ี 1.12

ภาพท่ี 1.12 บรรจุภณั ฑ์คงรูปประเภทรปู ทรงกง่ึ แข็งตัว

weera.chweera.ch 21

3.3. บรรจุภณั ฑค์ งรปู ประเภทรูปทรงยดื หยุ่น (Flexible Forms) หรอื บรรจภุ ัณฑ์
รูปทรงยืดหยนุ่ (Flexible Packaging) บางทีก็เรียกวา่ บรรจุภัณฑ์คงรูปประเภทออ่ นตัวหรือบรรจภุ ณั ฑ์
อ่อนตวั คอื บรรจุภัณฑ์ที่มคี วามคงรปู ในระดบั ตํ่าหรือไมค่ งรูป เมื่อมผี ลติ ภัณฑถ์ กู บรรจุเข้าไปใน
บรรจุภณั ฑ์ ตัวบรรจภุ ณั ฑ์จะเปล่ยี นรูปทรงตามผลิตภัณฑ์ที่บรรจุเขา้ ไป เช่น ใสน่ าํ้ ลงไปบรรจภุ ณั ฑ์ จะ
ทำ�ใหต้ วั บรรจุภณั ฑ์เปล่ยี นรูปทรงจากแบน ๆ จะโปง่ ขึน้ ตามน้ําทใี่ ส่เขา้ ไป ปัจจุบนั ได้รับความนยิ มอย่าง
มากในอตุ สาหกรรมบรรจภุ ณั ฑ์ เพราะใชง้ านสะดวก นํ้าหนกั เบา ใชว้ สั ดุนอ้ ย ทำ�ให้ตน้ ทนุ ในการผลิต
ถกู ลง บรรจุภณั ฑป์ ระเภทน้ี ไดแ้ ก่ ซองกระดาษ ถงุ กระดาษ ซองพลาสติก ถงุ พลาสติก ถงุ ซปิ
ถงุ ลามิเนต หลอดอะลมู ิเนียม ถุงอะลูมิเนยี มบาง เปน็ ต้น ดังแสดงในภาพท่ี 1.13

ภาพที่ 1.13 บรรจุภัณฑ์คงรปู ประเภทรปู ทรงยืดหย่นุ

4. แบง่ ตามวัสดุบรรจภุ ัณฑท์ ีใ่ ช้ (Material) โดยแบ่งตามลักษณะของวสั ดุที่ใช้ในการผลติ
บรรจภุ ัณฑเ์ ป็นหลัก ซ่ึงสามารถแบง่ ไดเ้ ป็น 5 ชนดิ ได้แก่
4.1 บรรจภุ ณั ฑก์ ระดาษ (Paper Packaging) เป็นบรรจุภณั ฑ์ทีใ่ ช้การใชอ้ ยา่ งแพร่
หลาย เพราะมรี าคาถูก สามารถขนึ้ รูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย กระดาษเป็นวสั ดพุ มิ พ์ทใ่ี นอตุ สาหกรรมการ
พมิ พบ์ รรจภุ ณั ฑ์ น�ำ ใช้ท�ำ บรรจภุ ัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น กระดาษห่อ (Paper Wrap) ซองกระดาษ
(Paper Envelope) ถงุ กระดาษ (Paper Bag) กล่องกระดาษแขง็ (Paper Board Box) กลอ่ งกระดาษ
ลกู ฟกู (Corrugated Box) ถว้ ยกระดาษ (Paper Cup) ถาดกระดาษ (Paper Tray) กระป๋องกระดาษ
(Paper Can) ถังกระดาษ (Paper Drum) หลอดกระดาษ (Paper Tube)
บรรจุภัณฑ์กระดาษน้ีมักจะใช้กับผลิตภัณฑ์ท่ีไม่เกี่ยวข้องกับความช้ืนหรือ
อากาศ เนอื่ งจากกระดาษมีคณุ สมบตั ทิ ่ไี ม่เหมาะสม หากต้องการจะต้องนำ�วสั ดุอ่ืนมาประกบ หรอื
ลามเิ นต (laminate) เพ่อื ใหส้ ามารถทนตอ่ ความชนื้ และอากาศได้ ตวั อย่างบรรจภุ ณั ฑ์กระดาษ เช่น
กระดาษฉลากหมุ้ นมกระป๋อง ซองกระดาษบรรจุ ถุงกระดาษ กล่องกระดาษ เปน็ ตน้ ดังแสดงในภาพท่ี
1.14

22 weera.chweera.ch

ภาพที่ 1.14 บรรจุภัณฑ์กระดาษชนิดต่าง ๆ
4.2 บรรจภุ ณั ฑ์พลาสตกิ (Plastic Packaging) เป็นบรรจุภณั ฑ์อกี ชนิดหน่ึงทไ่ี ด้รับ
ความนิยมอยา่ งมากในการน�ำ มาท�ำ เป็นบรรจภุ ณั ฑ์ มีพลาสติกหลากหลายชนิดให้สามารถเลือกใช้ให้
เหมาะกับการน�ำ ไปใชบ้ รรจผุ ลิตภณั ฑ์แต่ละประเภท นอกจากนยี้ งั สามารถพมิ พ์ลวดลายสสี ันตา่ งๆ
ได้อยา่ งสวยงาม พลาสตกิ นำ�มาท�ำ เปน็ บรรจภุ ณั ฑไ์ ดห้ ลากหลายชนิด เช่น ฟลิ ม์ หอ่ (Wrap Film)
ฟลิ ม์ หด (Shrink Film) ฟิล์มยืด (Stretch Film) ถงุ พลาสติก (Plastic Bag) ขวดพลาสติก (plastic
Bottle) ถ้วยพลาสตกิ (Plastic Cup) ชามพลาสติก (Plastic bowl) ถาดพลาสติก (Plastic Tray)
กลอ่ งพลาสติก (Plastic Box) ถังพลาสตกิ (Plastic Drum) ลังพลาตกิ (Plastic Tube) หลอดพลาสติก
(Plastic Tube) หลอดบบี พลาสตกิ (Plastic Collapsible Tube) ตาข่ายพลาสตกิ (Plastic Netting)
บรรจภุ ัณฑ์พลาสตกิ นี้มกั จะใช้กบั ผลิตภณั ฑท์ ี่ตอ้ งการป้องกนั ของเหลว ความชื้น
และอากาศ เพราะมีคณุ สมบตั เิ หมาะสม ใช้วสั ดจุ ำ�นวนนอ้ ยในการทำ�บรรจภุ ัณฑ์ สามารถเปลยี่ นรปู ทรง
ได้ง่าย นอกจากน้ียงั มีความแข็งแรงทนทาน และพลาสตกิ ประเภทเทอร์โมพลาสติก ยังสามารถนำ�การ
หลอมขน้ึ รูปใหมไ่ ด้ ตัวอยา่ งบรรจุภัณฑพ์ ลาสติก เช่น ฉลากฟิล์มหด (Shrink Label) ถงุ พลาสติก ถงุ ซปิ
ขวดนํ้าดม่ื ขวดใสน่ าํ้ ยา หลอดยา เป็นตน้ ดังแสดงในภาพที่ 1.15

ภาพท่ี 1.15 บรรจภุ ัณฑ์พลาสตกิ ชนิดตา่ ง ๆ

weera.chweera.ch 23

4.3 บรรจุภัณฑ์โลหะ (Metal Packaging) เปน็ บรรจภุ ัณฑท์ ีน่ ำ�มาท�ำ เป็นบรรจุภัณฑ์
เนือ่ งจากมคี วามแขง็ แรงทนทานกวา่ วัสดชุ นดิ อืน่ แตจ่ ะราคาค่อนขา้ งแพง ช่วยทำ�ให้เกิดความหรูหรา
แข็งแรง ดมู รี าคาใหก้ ับรรจภุ ณั ฑไ์ ด้เปน็ อย่างดี โลหะทน่ี ำ�มาใช้ทำ�บรรจภุ ณั ฑม์ ีด้วยกนั 2 ชนิดคอื เหลก็
และอะลมู เิ นยี ม นอกจากนีย้ งั สามารถพิมพ์ลวดลายสีสนั ต่างๆ ไดอ้ ยา่ งสวยงาม โลหะสามารถน�ำ มา
ทำ�เป็นบรรจภุ ัณฑ์ไดห้ ลากหลายชนดิ เชน่ บรรจภุ ณั ฑ์จากแผน่ เปลวอะลมู เิ นยี ม หรอื อะลมู ิเนยี มฟอยล์
(Aluminum Foil) กระปอ๋ งโลหะ (Metal Can) ถงั โลหะ (Metal Drum) ปบี๊ โลหะ (Rectangular can)
หลอดบีบโลหะ (Metal Collapsible Tube)
บรรจภุ ณั ฑโ์ ลหะนี้มกั จะใช้กับผลติ ภณั ฑ์ทีเ่ ป็นของเหลวท่วั ไป บรรจขุ องเหลว
ประเภททม่ี ีความเป็นกรด ผลิตภัณฑ์ท่ีมีตอ้ งแรงดนั เขา้ มาเก่ียวข้องในการใช้ผลติ ภณั ฑ์ภายใน หรอื อาจ
ต้องการความแข็งแรงของบรรจภุ ณั ฑ์ สามารถเปล่ยี นรูปทรงไดย้ ากจงึ มีความคงรปู สงู มาก บรรจุภัณฑ์
โลหะ จะมรี าคาค่อนขา้ งสูงเมอื่ เทยี บกบั วัสดุท่ใี ช้ทำ�บรรจภุ ัณฑต์ วั อืน่ ดงั นน้ั นหากต้องการใช้โลหะใน
การทำ�บรรจุภณั ฑ์ อาจต้องค�ำ นงึ ถึงตน้ ทนุ ของบรรจุภณั ฑ์ดว้ ย ตัวอย่างบรรจภุ ัณฑโ์ ลหะ เช่น แผน่ อะลู
มเิ นยี มฟอยด์ห่อผลติ ภณั ฑ์ อาหารกระป๋อง นา้ํ อัดลมกระปอ๋ ง กระปอ๋ งสเปรย์ ถงั สีทาบ้าน ป๊ิบบรรจุ
ขนม หลอดบบี โลหะ เปน็ ตน้ ดงั แสดงในภาพที่ 1.16

ภาพที่ 1.16 บรรจุภณั ฑ์โลหะชนิดตา่ ง ๆ

4.4 บรรจภุ ณั ฑ์แกว้ (Glass Packaging) เป็นบรรจภุ ัณฑท์ ่ีนำ�มาท�ำ เปน็ บรรจภุ ัณฑ์
น้อยกว่ากระดาษ พลาสตกิ และโลหะ เน่ืองจากบรรจุภณั ฑแ์ กว้ จะมนี าํ้ หนกั มาก แตกหกั ได้ง่าย ท�ำ ให้
เกิดการเสยี หายได้ง่าย อกี ทั้งในปจั จบุ ันมีพลาสตกิ ที่สามารถเขา้ มาแทนทแ่ี กว้ ได้ และยังมีราคาถกู ท้ังตวั

24 weera.chweera.ch

วสั ดแุ ละคา่ ขนส่งเน่อื งจากมีนํ้าหนกั เบากว่าแกว้ มาก แต่แก้วก็ยงั เปน็ วัสดุในการผลิตบรรจุภัณฑท์ ีไ่ ดร้ บั
การยอมรับและน�ำ มาผลติ เป็นบรรจุภณั ฑท์ ี่สำ�คัญในอตุ สาหกรรมเครือ่ งด่ืมต่าง ๆ อุตสาหกรรมเครอ่ื ง
ส�ำ อาง อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมสารเคมี อุตสาหกรรมอาหาร รวมทั้งอุตสาหกรรมจากผลิตภัณฑ์
ของเหลวอื่น ๆ แกว้ สามารถนำ�มาทำ�เป็นบรรจภุ ัณฑไ์ ด้หลากหลายชนิด เช่น หลอดแกว้ ขวดแก้ว
โหลแกว้
บรรจุภณั ฑ์แก้วนมี้ ักจะใช้กับผลิตภัณฑท์ ตี่ อ้ งการปอ้ งกันของเหลว ต้องการความ
ใสหรอื สีที่ไม่แปรเปล่ยี นได้ง่าย และคุณสมบตั สิ �ำ คญั ของแก้วคือมีความเปน็ กลางไม่ทำ�ปฏิกิริยาใด ๆ
ที่จะส่งผลต่อผลิตภณั ฑ์ที่อย่ภู ายใน ปอ้ งกันการผ่านของไอนา้ํ และอากาศได้ดี ช่วยท�ำ ใหผ้ ลิตภณั ฑ์
ภายในมอี ายุยาวนาน และบรรจภุ ณั ฑ์แกว้ สามารถนำ�กลบั มาเวยี นใชใ้ หมไ่ ด้ (Reuse) หลอมเหลวทำ�
ใหม่ได้ (Recycle) ตวั อย่างบรรจุภณั ฑ์แก้ว เชน่ ขวดนา้ํ อดั ลม ขวดสรุ า ขวดกาแฟ ขวดซอส ขวดแยม
ขวดยา ขวดเครื่องส�ำ อาง ขวดสารเคมี เป็นตน้ ดังแสดงในภาพที่ 1.17

ภาพที่ 1.17 บรรจภุ ัณฑ์แก้วชนิดต่าง ๆ

4.5 บรรจภุ ณั ฑ์ไม้ (Wood Packaging) เป็นบรรจุภณั ฑท์ ี่นำ�มาท�ำ เปน็ บรรจุภณั ฑ์
นอ้ ยทส่ี ดุ เน่ืองจากบรรจุภัณฑไ์ มม้ ักไดร้ ับการทดแทนจากวัสดชุ นดิ อน่ื ไมม้ ีขอ้ จ�ำ กดั ในหลายประเดน็
เชน่ การขึน้ รปู ยาก กระแสการอนรุ ักษไ์ ม้มีสูงท�ำ ให้อาจสง่ ผลเสยี ต่อผลิตภัณฑ์ได้ ทำ�ใหม้ ีการปรบั
เปล่ียนวัสดุจากไมไ้ ปเปน็ วสั ดอุ ย่างอ่ืนแทน แต่ไมก้ ็ยงั เปน็ วัสดุในการผลิตบรรจภุ ณั ฑท์ ี่ไดร้ ับการยอมรบั
และนำ�มาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สำ�คัญในด้านบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งโดยเฉพาะบรรจุผลิตภัณฑ์ท่ีมี
ขนาดใหญห่ รือมีน้ําหนกั มาก ทวี่ สั ดอุ ่นื ไมส่ ามารถรองรบั ได้ นอกจากน้ียังมกี ารนำ�ไม้มาท�ำ บรรจภุ ณั ฑ์
ส�ำ หรับผลิตภัณฑ์ที่ตอ้ งการความโดดเดน่ เปน็ เอกลกั ษณ์ ดูมีคุณคา่ เช่น ท�ำ กลอ่ งไมใ้ ส่ผลติ ภัณฑ์พร้อม
มีของพิเศษในช่วงเทศกาลตา่ ง ๆ ทำ�ให้ดมู ีเอกลกั ษณ์ มรี าคา ไม้ยังสามารถน�ำ มาท�ำ เปน็ บรรจุภัณฑ์ได้
หลากหลายชนดิ เชน่ กล่องไม้ ลงั ไม้ เขง่ ไม้

weera.chweera.ch 25

บรรจุภัณฑไ์ ม้น้มี กั จะใชก้ บั ผลติ ภณั ฑท์ ตี่ อ้ งการการับน้าํ หนกั บรรจุภณั ฑ์เพอ่ื
การขนสง่ นอกจากนยี้ งั เหมาะสำ�หรบั บรรจภุ ณั ฑ์ทีต่ อ้ งการความโดดเด่น ดมู ีคณุ ค่าสูง ดูมรี าคา น่าเกบ็
รักษา ตัวอยา่ งบรรจุภณั ฑไ์ ม้ เช่น กลอ่ งไม้ ลังผลไม้ ลงั ใสผ่ ลิตภัณฑอ์ ะไหล่เครือ่ งจักร เปน็ ตน้ ดงั แสดง
ในภาพท่ี 1.18

ภาพท่ี 1.18 บรรจภุ ัณฑ์ไม้ชนิดต่าง ๆ

การแบ่งประเภทของบรรจุภัณฑ์ ดังทก่ี ล่าวมาแลว้ ในข้างต้นว่ามกี ารแบง่ ประเภทออก
เปน็ 4 ลักษณะด้วยกัน กลา่ วคือ การแบง่ ตามระดับชน้ั ของบรรจภุ ัณฑ์ การแบง่ ตามลกั ษณะการบรรจุ
การแบง่ ตามความคงรปู ของบรรจุภัณฑ์ และการแบง่ ตามวัสดบุ รรจุภณั ฑ์ท่ใี ช้ทำ�บรรจุภณั ฑ์ เรายัง
สามารถแบง่ ประเภทของบรรจุภัณฑ์ในลักษณะอ่นื ได้ด้วย เชน่ การแบ่งตามลกั ษณะการใชง้ าน ตัวอย่าง
เชน่ บรรจุภณั ฑอ์ าหาร ซ่ึงเปน็ บรรจภุ ัณฑท์ จ่ี �ำ เพาะเจาะจงลงไปในเรือ่ งของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ
อาหาร โดยไมไ่ ด้แยกประเภทตามวัสดุทน่ี �ำ มาใช้ท�ำ บรรจภุ ณั ฑ์ บรรจภุ ณั ฑอ์ าหารจะใชวัสดุทีต่ อ้ งผา่ น
การยอมรบั ตามมาตรฐานเพราะเกี่ยวข้องกับเร่ืองสขุ ภาพของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เปน็ หลัก จึงมผี แู้ บ่งประเภท
ไวต้ ่างหาก ซ่ึงอตุ สาหกรรมอาหารเเปน็ อตุ สาหกรรมขนาดใหญ่ จงึ มอี งค์กรหลายองคก์ รท่คี วบคุม
มาตรฐานของบรรจุภัณฑอ์ าหารนด้ี ว้ ย ทั้งวสั ดทุ ี่ใช้ กระบวนการผลิต การพมิ พบ์ รรจุภัณฑ์ ตลอดจน
การบรรจผุ ลิตภณั ฑ์อาหารลงในบรรจภุ ณั ฑ์
การแบ่งตามลกั ษณะการใชง้ านนอกจากบรรจุภณั ฑ์อาหารแลว้ จะยกตัวอย่างลักษณะ
บรรจุภัณฑ์ท่ีมีการแบ่งอยา่ งคอ่ นขา้ งชดั เจน เช่น บรรจภุ ัณฑท์ างการแพทย์ ซึ่งเป็บรรจุภัณฑท์ ่ตี ้องการ
ควบคุมสูง บรรจุภณั ฑ์สำ�หรบั ผู้สงู อายุ บรรจุภณั ฑ์ปลอดเช้ือ บรรจุภณั ฑ์ปอ้ งกันการปลอมแปลง
บรรจภุ ณั ฑ์ทใี่ ชก้ ับไมโครเวฟ เปน็ ตน้

26

สรปุ
ตามทกี่ ลา่ วมาแลว้ ตน้ จะเหน็ ว่าบรรจุภณั ฑ์มีหนา้ ท่ปี กปอ้ งคุ้มครองผลติ ภณั ฑ์ตา่ ง ๆ ให้
ถงึ ผู้ใช้ผลติ ภัณฑ์ในสภาพทีเ่ หมือนเดิมจากผู้ผลิต จึงเป็นหน้าทีห่ ลกั ของบรรจภุ ัณฑ์ที่จะห่อหุ้มและ
รักษาคณุ ภาพของผลติ ภณั ฑ์ท่อี ยดู่ า้ นในใหม้ สี ภาพคงอยู่ บรรจุภัณฑจ์ ึงต้องไดร้ บั การออกแบบทงั้ ดา้ น
โครงสร้างของบรรจภุ ณั ฑ์ ซง่ึ ต้องอาศยั ความร้คู วามเขา้ ใจในดา้ นวทิ ยาศาสตร์ ด้านวสั ดุศาสตร์ ด้าน
เทคโนโลยเี ข้ามาประยกุ ต์ใช้ และการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภณั ฑ์ ท่จี ะช่วยให้บรรจภุ ัณฑ์มีความ
สวยงาม เปน็ ท่นี ่าสนใจ สรา้ งเอกลักษณ์ สร้างความโดดเดน่ ให้กบั ผลิตภณั ฑ์ ซ่ึงตอ้ งอาศยั ความรู้ด้าน
การออกแบบ ทำ�ใหบ้ รรจุภณั ฑเ์ ป็นงานทใ่ี ชท้ ัง้ ศาสตร์ ศลิ ปแ์ ละเทคโนโลยี ท้ังนี้บรรจภุ ณั ฑ์ตอ้ งมีคา่ ใช้
จา่ ยทีเ่ หมาะสม ไมท่ ำ�ใหบ้ รรจภุ ัณฑม์ ีราคาสูงเกนิ ไป
ในประเทศใดที่มีการใช้บรรจุภัณฑ์มากแสดงให้เห็นถึงอัตราการเจริญเติบโตของประเทศ
นัน้ ๆ ได้เปน็ อยา่ งดี อุตสาหกรรมบรรจุภณั ฑ์เป็นอุตสาหกรรมทมี่ ีขนาดใหญเ่ กย่ี วขอ้ งกบั ธรุ กจิ หลาย
ประเภท ทง้ั ดา้ นวสั ดทุ ี่ใช้ การโฆษณา การออกแบบ การพมิ พ์ การส่งออก รวมไปถงึ การจ้างงานท่มี ี
ปรมิ าณการลงทนุ คอ่ นข้างสูง จึงนับได้ว่าอตุ สาหกรรมบรรจภุ ณั ฑ์เปน็ อุตสาหกรรมหลักอุตสาหกรรม
หนง่ึ ของประเทศ
weera.chweera.ch

27

ค�ำ ถามทา้ ยบท

1. ค�ำ วา่ Packaging และ Package มคี วามแตกตา่ งกันอยา่ งไร
2. ถ้าเราน�ำ นาํ้ ปลาจากขวดเทใสถ่ ว้ ย ขวดทใ่ี ส่นํา้ ปลาและถว้ ยท่ีใส่นา้ํ ปลาเราเรียกวา่
Packaging หรอื Package เพราะเหตุใด
3. กระดาษท่ีห่อหมากฝร่งั ถ้าแบง่ ตามประเภทระดบั ชัน้ ของบรรจภุ ัณฑ์ เปน็ บรรจุภณั ฑ์ช้นั ใด
4. ถา้ บรรจภุ ณั ฑช์ ้นั ที่ 3 ตามการแบง่ ประเภทระดับช้นั ของบรรจภุ ัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับ
การแบ่งตามลักษณะการบรรจุ จะใกลเ้ คยี งลกั ษณะใดมากท่ีสุด
5. วสั ดปุ ระเภทใดทมี่ ปี ริมาณการน�ำ มาใช้ท�ำ บรรจุภณั ฑ์น้อยท่ีสดุ เพราะเหตใุ ด
6. หากต้องการหาบรรจุภณั ฑส์ �ำ หรับบรรจผุ ลิตภัณฑป์ ระเภทข้าวสาร ควรใช้บรรจภุ ณั ฑ์ประเภทใด
ลกั ษณะใด จงึ จะดที ส่ี ดุ ในด้านต้นทุนวสั ดแุ ละสะดวกตอ่ การใช้งาน
7. การพิมพล์ วดลายตา่ ง ๆ ลงบนขวดพลาสติก ในปัจจบุ นั ไม่นยิ มท่ีจะพมิ พล์ งบนขวดโดยตรง
จะพิมพใ์ สบ่ นฟิล์มแลว้ สวมลงไปในขวด จากน้นั ใชค้ วามรอ้ นท�ำ ให้ฟลิ ์มรัดเขา้ กบั รูปทรงของขวด
อยากทราบวา่ ฟิลม์ ดังกลา่ วคอื ฟลิ ์มอะไร
8. วัสดทุ ใี่ ช้ท�ำ บรรจุภณั ฑ์ชนิดใดขึ้นรปู ยากท่สี ดุ
9. จงบอกตัวอยา่ งบรรจุภัณฑ์คงรปู ประเภทรูปทรงแข็งตวั มา 3 ตัวอย่าง
10. วัสดทุ ใี่ ช้ท�ำ บรรจุภณั ฑช์ นิดใดท่ีมปี ฏิกริ ยิ ากบั ผลติ ภณั ฑ์ท่ีบรรจุนอ้ ยทส่ี ุด
weera.chweera.ch

28 weera.chweera.ch

เอกสารอา้ งองิ

ดวงฤทัย ธำ�รงโชต.ิ (2550). เทคโนโลยภี าชนะบรรจ.ุ กรงุ เทพฯ: โอเดยี นสโตร.์ หนา้ 9.
บรษิ ัท กรตะวนั จำ�กัด. (2558). ความรูเ้ กี่ยวกับบรรจภุ ณั ฑ.์ สืบค้นเมอ่ื วันท่ี 15 ธันวาคม 2559,
จาก http://http://www.gorntawan.com/Article/Detail/62046
ประชดิ ทณิ บุตร. (2555). ความส�ำ คญั ของการบรรจภุ ณั ฑ.์ สบื คน้ เมอ่ื วนั ท่ี 8 มกราคม 2559, จาก
http: //creativekanchanaburi.blogspot.com/2012/06/blog-post.html
ปุ่น คงเจริญเกยี รต.ิ (2547). รวมบทความบรรจภุ ณั ฑ์ พ.ศ.2544-2547. กรุงเทพฯ: บรษิ ทั แพคเมทส์
จ�ำ กดั . หน้า 9.
สถาบนั กศน.ภาคกลาง. (2557). e-learning รายวิชาบรรจผุ ลติ ภัณฑ์. สบื ค้นเมือ่ วันท่ี 9 มกราคม
2559, จาก http://www.crnfe.ac.th/packaging/unit1.htmhow-to-export/
packaging-meaning/
สถาบันวิจัยวทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยแี ห่งประเทศไทย. (2545). ประมวลศพั ทก์ ารหบี หอ่ .
กรงุ เทพฯ:อรณุ การพิมพ.์ หนา้ 37.
Imprint tp21 GmbH. (2015). Glossary of packaging terms. Retrived January, 4, 2016,
from http://www.tp21.com/?id=299
LinkedIn Corporation. (2015). The History of Packaging. Retrived January, 7, 2016,
from https://www.linkedin.com/pulse/brief-history-shrink-sleeve-film-plastics-
jaime-papa-j-d-
Lisa Nash. (2014). A History of Food Packaging. Retrived January, 7, 2016, from
https://greenseal-blog.com/2014/05/22/a-history-of-food-packaging/
Packaging Manufacturers Association ISTANBUL. (2013). History of Packaging.
Retrived January, 7, 2016, from http://www.ambalaj.org.tr/en/environment-
history-of-packaging.html
The International Trade Centre. (2015). Glossary. Retrived January, 5, 2016,
from http://www.intracen.org/packaging/glossary/P/
The Monument Paper Bag Co Ltd. (2015). History of Packaging. Retrived January,
7, 2016, from http://www.monumentpaperbag.co.uk/history_of_packaging_

weera.chweera.ch


Click to View FlipBook Version