คำนำ
ระบบนิเวศเป็นหน่วยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิชานิเวศวิทยาสมัยใหม่ ระบบ
นิเวศหนึ่งๆ อาจมีรูปร่าง ลักษณะโครงสร้าง และขนาดพื้นที่ใหญ่เล็กแตกต่างกันออกไป
ซึ่งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในระบบก็จะมีบทบาทหรือกิจกรรมในการดำเนินชีวิตร่วมกัน โดยมี
ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ เป็นตัวควบคุมและช่วยให้เกิดการถ่ายทอดและการสะสมพลังงาน
ตลอดจนการหมุนเวียนของสารและแร่ธาตุอาหารโดยการผ่านกระบวนการของสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้
เพื่อรักษาดุลยภาพและเสถียรภาพของระบบเอาไว้
หนังสือเรียนพื้นฐานรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดทำ
ขึ้นตามมาตรฐานและตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560)
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช โดยมีเนื้อกาที่เข้าใจง่าย ภาพ
ประกอบชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการ
จัดการเรียนรู้ ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษารายวิชา ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องที่มีส่วนทำให้หนังสือ
เรียนเล่มนี้ สำเร็จลุล่วงไว้ ณ โอกาสนี้
คณะผู้จัดทำ
สารบัญ
หน้า
คำนำ ก
สารบัญ ข
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบนิเวศ
2
บทที่ 1 ความหมาย องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ 6
ความหมายของระบบนิเวศ 10
องค์ประกอบของระบบนิเวศ 14
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
คำถามท้ายบท 16
บทที่ 2 การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ 19
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 23
การหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ 26
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำถามท้ายบท
บรรณานุกรม
บทที่ 1 ความหมาย องค์ประกอบ
และความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ที่ 1 วิทยาศาสตร์
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิต กับสิ่งมีชีวิต และ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลงแทนที่ใน
ระบบนิเวศ ความหมาย ของประชากรปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวทางใน
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ม.3/1 อธิบายปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของ ระบบนิเวศที่ได้จากการสำรวจ
ม.3/2 อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต กับสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆในแหล่งที่อยู่เดียวกัน
ที่ได้จากการสำรวจ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบนิเวศได้
2. อธิบายรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่าง ๆ ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน
3. อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ
2
ความหมายของระบบนิเวศ
ความหมาย
ในธรรมชาติ เรามักพบว่าสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
สิ่งมีชีวิต หรือเป็นสังคมของสิ่งมีชีวิต (community) กระจัดกระจายอยู่ใน
บริเวณแหล่งที่อยู่ (habitat) แตกต่างกัน ได้แก่กลุ่มสิ่งมีชีวิตในสระน้ำจืด
ในทะเลในป่า บนต้นไม้ใหญ่ ใต้ขอนไม้ผุริมกำแพงบ้านหรือแม้แต่ร่างกาย
ของสิ่งมีชีวิตก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตบางชนิดด้วย กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่
อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่แต่ละแห่งนั้นจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ทั้งในลักษณะที่พึ่งพาอาศัยกันในรูปแบบต่าง ๆ และการแก่งแย่งแข่งขันกัน
เป็นความสัมพันธ์ทางชีวภาพกลุ่ม สิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสภาพ-
แวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสภาพทางกายภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ แร่ธาตุ
แสงสว่าง และ อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต
?ระบบนิเวศ คืออะไรกันนะ
ภาพที่ 1.1 ระบบนิเวศของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (กบ)
ที่มา : MemoryCatcher, (25 ตุลาคม 2564)
3
ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกทั้งทางชีวภาพและกายภาพล้วนผ่านกระบวน
การวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน และหลอมรวมกันขึ้นเป็นระบบขนาดใหญ่ที่มี
ปฏิสัมพันธ์ต่อกัน หรือที่เรียกว่า “ระบบนิเวศ”
ภาพที่ 1.2 ระบบนิเวศ
ที่มา : pikist, (25 ตุลาคม 2564)
ระบบนิเวศ (Ecosystem) เป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเพราะประกอบไปด้วย สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด
มีการแลกเปลี่ยนสสาร แร่ธาตุ และพลังงานกับสิ่งแวดล้อม โดยผ่านห่วงโซ่อาหาร
(food chain) มีลำดับของการกินเป็นทอด ๆ ทำให้สสารและแร่ธาตุมีการ
หมุนเวียนไปใช้ในระบบจนเกิดเป็นวัฏจักร ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานไปตาม
ลำดับขั้นเป็นช่วงๆในห่วงโซ่อาหารได้การจำแนกองค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วน
ใหญ่ จะจำแนกได้เป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ ๆ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิตและ องค์
ประกอบที่ไม่มีชีวิต
• กลุ่มสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่บริเวณเดียวกัน มีความ
สัมพันธ์กันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต อย่าง
เป็นระบบ
• โลกเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)
4
โลกของเรา คือ ระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดหรือที่เรียกกันว่า “ชีวมณฑล”
(Biosphere) ซึ่งประกอบขึ้นจากระบบนิเวศขนาดเล็กจำนวนมากที่ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้
ด้วยกัน ผ่านความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อน ดังนั้น ในแต่ละพื้นที่ของโลก ด้วยสภาพภูมิ
อากาศและภูมิประเทศที่แตกต่าง จึงก่อกำเนิดระบบนิเวศอันหลากหลาย ทั้งป่าไม้ แม่น้ำ
ทะเลทราย รวมถึงมหาสมุทร
ระบบนิเวศสามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท
ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystem) คือ ความสัมพันธ์ของ
สิ่งมีชีวิตบนภาคพื้นดิน โดยมีปั จจัยทางด้านอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝนและพืช
พรรณเป็นหลักในการจำแนกระบบนิเวศต่างๆ เช่น ป่ าดิบชื้น ทุ่งหญ้า และ
ทะเลทราย
ภาพที่ 1.4 ป่าฝนเขตร้อน ภาพที่ 1.5 ทะเลทราย
ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564)
ภาพที่ 1.6 ทุ่งหญ้าสะวันนา
ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564)
5
ระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystem) คือ ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตใน
แหล่งน้ำต่าง ๆ ของโลก ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
• ระบบนิเวศน้ำจืด เช่น บึง ลำธารและทะเลสาบ
• ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น ป่าชายเลน
• ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเลลึก แนวปะการังและชายฝั่ ง
ภาพที่ 1.7 บึงน้ำจืด ภาพที่ 1.8 ป่าชายเลน
ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา :NGThai, (25 ตุลาคม 2564)
ภาพที่ 1.9 แนวปะการังใต้ทะเล
ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564
ระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystem) คือ ระบบนิเวศที่ถูกสร้างขึ้นโดยมนุษย์
เช่น เขตเมือง เขตพื้นที่อุตสาหกรรมและเขตพื้นที่การเกษตร
ภาพที่ 1.10 ระบบนิเวศเมือง ภาพที่ 1.11 พื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่
ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : NGThai, (25 ตุลาคม 2564)
6
องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ จะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ องค์ประกอบทางชีวภาพ
และ องค์ประกอบทางกายภาพ
1) องค์ประกอบทางชีวภาพ หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้น
2) องค์ประกอบทางกายภาพ หมายถึง สิ่งไม่มีชีวิตที่มีอยู่ในระบบนิเวศนั้นๆ
จำแนกได้เป็น 3 ส่วน
2.1 อนินทรียสาร (Inorganic Substance) เช่น คาร์บอนไดออกไซด์
คาร์บอน ฟอสฟอรัส ไนโตรเจน น้ำ ออกซิเจน
2.2 อินทรียสาร (Organic Substance) เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน
ไขมัน ฮิวมัส
2.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) เช่น แสง
อุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ความเป็นกรดด่าง
บทบาทและความสำคัญของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
กลุ่มของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
อีกทั้งสิ่งมีชีวิตในแต่ละชนิดยังแสดงบทบาทและความสำคัญภายในระบบ
นิเวศแตกต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้
1. ผู้ผลิต (producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ซึ่งส่วน
ใหญ่เกิดโดยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสง เนื่องจากมีคลอโรฟีลล์เป็นองค์ประกอบ
ได้แก่ พืชสีเขียว สาหร่าย โพรทิสต์ รวมทั้งแบคทีเรียบางชนิด สิ่งมีชีวิตเหล่านี้
เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานเคมี และเก็บไว้ในโมเลกุลของสารอาหาร
พวกแป้ งและน้ำตาล จากนั้นจะถ่ายทอดพลังงานนี้ให้กับกลุ่มของผู้บริโภคต่อไป
ภาพที่ 1.12 ต้นข้าว ภาพที่ 1.13 สาหร่ายทะเล
ที่มา : Pixabay, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : learnkindom, (25 ตุลาคม 2564)
7
2. ผู้บริโภค (consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องอาศัยการ
บริโภคผู้ผลิตหรือผู้บริโภคด้วยกันเป็นอาหารเพื่อการดำรงชีพ ผู้บริโภคยังสามารถแบ่งออก
ตามลักษณะและการกินได้ ดังนี้
- ผู้บริโภคพืช (herbivore)
ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง เช่น
กระต่าย วัว ควาย ม้า กวาง ช้าง เป็นต้น
ภาพที่ 1.14 ผู้บริโภคพืช (กระต่าย)
ที่มา : Box Meaww, (25 ตุลาคม 2564)
- ผู้บริโภคสัตว์ (carnivore)
ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สอง เช่น
เหยี่ยว นกฮูก เสือ งู เป็นต้น
ภาพที่ 1.15 ผู้บริโภคสัตว์ (เสือ)
ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (25 ตุลาคม 2564)
- ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (omnivore)
ถือเป็นผู้บริโภคลำดับที่สาม เช่น
ไก่ นก แมว สุนัข คน เป็นต้น
ภาพที่ 1.16 ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ (แมว)
ที่มา : GaryneVillegasm, (25 ตุลาคม 2564)
- ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์ (scavenger)
ถือว่าเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย เช่น
แร้ง ไส้เดือนดิน กิ้งกือ ปลวก เป็นต้น
ภาพที่ 1.17 ผู้บริโภคซากพืชซากสัตว์
ที่มา : วิกพีเดีย, (25 ตุลาคม 2564)
8
3. ผู้ย่อยสลาย (decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ดำรงชีพ
อยู่ได้โดยการย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ใช้เป็นพลังงาน ดังนั้น ผู้ย่อยสลาย จึงเป็นผู้
ที่ย่อยสลายสารอินทรีย์เป็นสารอนินทรีย์หรือแร่ธาตุต่าง ๆ หมุนเวียนกลับคืนสู่ระบบ
นิเวศ และผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตอีกด้วย
ภาพที่ 1.18 ผู้ย่อยสลาย
ที่มา : วิกิพีเดีย, (25 ตุลาคม 2564)
ไหนน้องๆ ลองยกตัวอย่างผู้บริโภค ผู้ผลิตและผู้ย่อยสลายมาอย่างน้อย 3 อย่าง
9
องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Component) คือ ปัจจัยทางสภาพแวดล้อม ที่ส่ง
ผลต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต (Living Factors)
• อนินทรียสาร (Inorganic Compound) : แร่ธาตุ น้ำ ออกซิเจนและ
คาร์บอนไดออกไซด์
• อินทรียสาร (Organic Compound) : คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน
• สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Factor) : อุณหภูมิ แสง ความชื้น
ความเค็มและความเป็นกรดด่าง
ภาพที่ 1.19 กลุ่มสิ่งมีชีวิต
ที่มา : ศราวุธ กองทอง, (25 ตุลาคม 2564)
ในระบบนิเวศ การดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายในสภาพแวดล้อมที่
แตกต่าง ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ บทบาทและหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตอย่างสลับซับ
ซ้อน เกิดการแลกเปลี่ยนสสาร พลังงานและแร่ธาตุระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันเอง
ผ่านห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) และปฏิสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านวัฏจักร
และการหมุนเวียนของสสาร (Biogeochemical Cycle) ดังนั้น โครงสร้างและ
บทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดภายในระบบนิเวศ จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งที่
ช่วยให้ทุกสรรพชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิ
อากาศและสภาพแวดล้อม รวมถึงการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใดสายพันธุ์
หนึ่ง อาจนำมาซึ่งจุดเริ่มต้นของการสูญเสียสมดุลทางธรรมชาติและการล่มสลาย
ของสังคมหรือระบบนิเวศของการอยู่ร่วมกัน
10
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดในระบบนิเวศเดียวกัน (Interspecific
interaction) แบ่งเป็น 7 แบบ คือ
1. ความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (Mutualism : +,+) หมายถึง การอยู่ร่วมกัน
ของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยต่างก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน หากแยกกันอยู่จะไม่
สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ เช่น
- ไลเคนส์ ( Lichens) : สาหร่ายอยู่ร่วมกับรา สาหร่ายได้รับความชื้นและ
แร่ธาตุจากรา ราได้รับอาหารและออกซิเจนจากสาหร่าย
- โพรโทซัวในลำไส้ปลวก
- แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์
- แบคทีเรียในปมรากพืชตระกูลถั่ว
- ราในรากพืชตระกูลสน
ภาพที่ 1.21 แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ภาพที่ 1.20 โพรโทซัวในลำไส้ปลวก
ที่มา : NATTAPHAT KAT, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : Dr.ปลวก, (25 ตุลาคม 2564)
2. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน (Protocooperation : + ,+ )
หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยก็ได้รับประโยชน์ซึ่งกันและกัน
แม้แยกกันอยู่ก็สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ เช่น
- แมลงกับดอกไม้
- ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล (sea anemone)
- มดดำกับเพลี้ย
- นกเอี้ยงกับควาย
11
ภาพที่ 1.22 แมลงกับดอกไม้ ภาพที่ 1.23 ปูเสฉวนกับดอกไม้ทะเล
ที่มา : pixabay, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : The Planner Education, (25 ตุลาคม 2564)
3. ความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยหรือความสัมพันธ์แบบเกื้อกูล (Commensalism : + , 0)
หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้
และไม่เสียประโยชน์ เช่น
- ปลาฉลามกับเหาฉลาม
- พืชอิงอาศัย (epiphyte) บนต้นไม้ใหญ่ เช่น กล้วยไม้ที่อยู่บนต้นมะม่วง
- นก ต่อ แตน ผึ้ง ทำรังบนต้นไม้
ภาพที่ 1.24 ปลาฉลามกับเหาฉลาม ภาพที่ 1.25 กล้วยไม้บนต้นไม้
ที่มา : ทรูปลูกปัญญา, (25 ตุลาคม 2564) ที่มา : symbiosis, (25 ตุลาคม 2564)
4. ความสัมพันธ์แบบปรสิต (Parasitism : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกันของสิ่งมี
ชีวิต 2 ชนิด โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ปรสิต (parasite) อีกฝ่ายหนึ่งเสีย
ประโยชน์เรียกว่าผู้ถูกอาศัย (host) เช่น
- เห็บ เหา ไร หมัด บนร่างกายสัตว์
- พยาธิ ในร่างกายสัตว์
ภาพที่ 1.26 หมัดบนร่างกายสัตว์
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ, (25 ตุลาคม 2564)
12
5. ความสัมพันธ์แบบล่าเหยื่อ (Predation : + , -) หมายถึง การอยู่ร่วมกัน
ของสิ่งมีชีวิตโดยฝ่ายหนึ่งจับอีกฝ่ายหนึ่งเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วน
ฝ่ายที่ถูกจับเป็นอาหารหรือถูกล่า เรียกว่า เหยื่อ (prey)
ภาพที่ 1.27 สิงโตล่าเหยื่อ (ม้าลาย)
ที่มา : เพชรมายา, (25 ตุลาคม 2564)
6. ความสัมพันธ์แบบแข่งขัน (Competition : - ,-) หมายถึง การอยู่ร่วม
กันของสิ่งมีชีวิตที่มีการแย่งปั จจัยในการดำรงชีพเหมือนกันจึงทำให้เสียประโยชน์ทั้ง
สองฝ่าย เช่น เสือ , สิงโต , สุนัขป่าแย่งชิงกันครอบครองที่อยู่อาศัยหรืออาหารพืช
หลายชนิดที่เจริญอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นต้น
ภาพที่ 1.28 สิงโตกับไฮยีนาต่อสู้กัน
ที่มา : Animal Channel, (25 ตุลาคม 2564)
7. ความสัมพันธ์แบบเป็นกลางต่อกัน (Neutralism : 0 , 0) เป็นการอยู่ร่วม
กันของสิ่งมีชีวิตที่เป็นอิสระต่อกันจึงไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้หรือเสียประโยชน์ เช่น ไก่
กับกระต่ายในทุ่งหญ้า
ภาพที่ 1.29 ไก่กับกระต่ายในทุ่งหญ้า
ที่มา : Pixabay25 ตุลาคม 2564)
13
เกร็ดน่ารู้
หากระบบนิเวศมีจำนวนผู้ล่ามากเกินไป เมื่อออกล่าจนประชากรของ
เหยื่อไม่เพียงพอต่อความต้องการของตน ประชากรผู้ล่าจะมีจำนวนลดลง
เองตามธรรมชาติ เนื่องจากภาวะการขาดแคลนอาหาร ส่งผลให้ประชากร
ของเหยื่อที่หลงเหลืออยู่สามารถฟื้ นฟูกลับมาและเพิ่มจำนวนประชากรขึ้น
ภาวะการล่าเหยื่อนี้ จะเกิดขึ้นเป็นวงจรหรือวัฏจักรตามธรรมชาติ หากไม่
เกิดการล่าที่รุนแรงจนส่งผลให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ไปจาก
ระบบนิเวศ
ให้นักเรียนยกตัวอย่างแต่ละความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดใน
ระบบนิเวศเดียวกัน ทั้ง 7 แบบ มาอย่างละ 3 ตัวอย่าง
14
คำถามท้ายบท
เรื่อง ความหมาย องค์ประกอบและความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
✓คำชี้แจง เขียนเครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย ✗
หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
1. สิ่งมีชีวิตแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มพืชและกลุ่มสัตว์
2. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตในบริเวณเดียวกันมีความสัมพันธ์กัน
3. สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวด้านโครงสร้างและลักษณะให้เหมาะสมกับ
แหล่งที่อยู่
4. ผู้ผลิต เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เอง ซึ่งส่วนใหญ่เกิดโดย
วิธีสังเคราะห์ด้วยแสง
5. ผู้บริโภค เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง
6. ผู้ย่อยสลาย เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองได้
7. นกเอี้ยงกับควายมีความสัมพันธ์กันโดย ควายให้อาหารแก่นกเอี้ยง
นกเอี้ยงแจ้งอันตรายต่างๆ ให้แก่ควาย
8. ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกันคือ การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
2 ชนิด แยกกันอยู่ไม่ได้
9. ความสัมพันธ์แบบปรสิต ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ เรียกว่า ผู้ถูกอาศัย
อีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์เรียกว่า ปรสิต
10. ความสัมพันธ์แบบเป็นกลางต่อกัน เป็นการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตที่
เป็นอิสระต่อกัน
ตอบคำถามให้ถูกต้อง พร้อมทั้งอธิบายมาพอสังเขป
1. ระบบนิเวศมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
2. ระบบนิเวศแต่ละระบบนิเวศมีความเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร
3. องค์ประกอบที่มีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไรและมีปฏิสัมพันธ์กับองค์
ประกอบที่ไม่มีชีวิตอย่างไร
4. อธิบายบทบาทและความสำคัญภายในระบบนิเวศ ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง
5. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ว่ามีกี่แบบ อะไรบ้าง
บทที่ 2 การถ่ายทอดพลังงาน
ในระบบนิเวศ
มาตรฐานการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้ที่ 1 วิทยาศาสตร์
มาตรฐาน ว 1.1 เข้าใจความหลากหลายของระบบนิเวศ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิต กับสิ่งมีชีวิต
และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ การถ่ายทอดพลังงาน การเปลี่ยนแปลง
แทนที่ในระบบนิเวศ ความหมาย ของประชากรปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด
ม.3/3 สร้างแบบจำลองในการอธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหาร
ม.3/4 อธิบายความสัมพันธ์ของผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายสารอินทรีย์ในระบบนิเวศ
ม.3/5 อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหาร
ม.3/6 ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ โดยไม่ทำลาย
สมดุลของระบบนิเวศ
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. สร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายการถ่ายทอดพลังงานในสายใยอาหาร
2. อธิบายการสะสมสารพิษในสิ่งมีชีวิต
3. ตระหนักถึงความสัมพันธ์ของสิ่งมีขีวิตและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศ โดยนำเสนอแนว
ทางการดูแลรักษาระบบนิเวศให้สมดุล
16
การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 2.1 การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแหล่งที่อยู่
ที่มา SciMath, (10 ตุลาคม 2564) แต่ละแห่งจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้งใน
ลักษณะที่พึงพาอาศัยกันในรูปแบบต่าง ๆ และ
การแก่งแย่งแข่งขันกัน เป็นความสัมพันธ์ทาง
ชีวภาพกลุ่มสิ่งมีชีวิตยังมีความสัมพันธ์กับสภาพ
แวดล้อมของแหล่งที่อยู่ ซึ่งเป็นสภาพทางกายภาพ
ได้แก่ ดิน น้ำ แร่ธาตุ แสงสว่าง และอื่นๆ ที่
จำเป็นต่อการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิต บทบาทด้าน
พลังงานของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศจากพืชผู้ผลิตสู่
ผู้บริโภคพืช ผู้บริโภคสัตว์ ผู้บริโภคทั้งพืชและ
สัตว์ และผู้ย่อยสลายอินทรียสารตามลำดับ
คลอโรฟีลล์
สารสีที่มอบสีเขียวของพืชให้แก่พวกมันและช่วยในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไป
ยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งเริ่มต้นจากผู้ผลิตได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์
มีน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ ซึ่งจากกระบวนการสังเคราะห์
ด้วยแสง พลังงานจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารอาหาร และ
ถ่ายทอดไปยังผู้บริโภค ซึ่งมี 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ห่วงโซ่อาหาร (food chain)
เป็นลำดับเชื่อมโยงเส้นตรงและกลมในสายใยอาหารโดยเริ่มจากพืชและ
ต่อด้วยสัตว์กินพืชจากนั้นจะเกิดการกินเป็นทอดๆ โซ่อาหารแตกต่างจากสายใย
อาหาร เพราะสายใยมีเครือข่ายความสัมพันธ์การกินที่ซับซ้อน แต่โซ่อาหารมีเส้น
ทางการกินเป็นเส้นตรงและรูปทรงวงกลมเท่านั้น ตัววัดทั่วไปที่ใช้บอกจำนวน
โครงสร้างเชิงอาหารของสายใยอาหารคือ ความยาวโซ่อาหาร ในรูปแบบง่าย
ที่สุด ความยาวของโซ่อาหาร คือ จำนวนเชื่อมโยงระหว่างผู้บริโภคกับฐานของ
สายใย และความยาวโซ่เฉลี่ยของสายใยทั้งหมด คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของ
ความยาวโซ่ทั้งหมดในสายใยอาหาร
17
การเขียนโซ่อาหารทำได้โดยเขียนเป็นลูกศรระหว่างสิ่งมีชีวิตโดยสิ่งมีชีวิตที่ถูกกิน
จะอยู่ทางซ้ายมือส่วนสิ่งมีชีวิตที่ถูกกินจะอยู่ทางขวามือ
ภาพที่ 2.2 ห่วงโซ่อาหาร
ที่มา Wijsbegeerte, (10 ตุลาคม 2564)
พืชเป็นผู้ผลิต หนูเป็นผู้บริโภคอันดับ1 งูเป็นผู้บริโภคอันดับ2 เหยี่ยวเป็นผู้บริโภค
อันดับ 3 หรือผู้บริโภคสูงสุด
ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตในโซ่อาหารหนึ่งอาจเกี่ยวพันกับโซ่อาหารอื่น มากกว่า 1 โซ่
อาหาร ซึ่งจะเกิดความสัมพันธ์ ที่ซับซ้อน เรียกว่า สายใยอาหาร
2. สายใยอาหาร (food web)
ในระบบของโซ่อาหารในการถ่ายทอดจะถ่ายทอดโดยตรงจากชีวิตหนึ่งไปสู่อีกชีวิต
หนึ่ง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งอาจกินอาหารหลายชนิด หลายระดับและเหยื่อชนิด
เดียวกันก็อาจถูกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดกิน ลักษณะดังกล่าวได้เกิดความซับซ้อนกัน
ในระบบของโซ่อาหารซึ่งเรียกว่า สายใยอาหาร (food web) ซึ่งสายใยอาหารจะ
ประกอบด้วย โซ่อาหารหลายสายที่เชื่อมโยงกันอันแสดงถึงความสัมพันธ์อันสลับ
ซับซ้อนของสิ่งมีชีวิตในชุมชนของระบบนิเวศ ซึ่งยิ่งสายใยอาหารมีความสลับซับ
ซ้อนมากเพียงใด ก็ได้แสดงให้เห็นถึงระบบนิเวศที่มีระบบความสมดุลสูง อันเนื่อง
มาจากมีความหลากหลายของชีวิตในระบบ
การถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหาร
การถ่ายทอดพลังงานในโซ่อาหารอาจแสดง
ในในลักษณะของสามเหลี่ยมพีรามิดของ
สิ่งมีชีวิต (ecological pyramid) แบ่งได้
3 ประเภท ตามหน่วยที่ใช้วัดปริมาณของ
ลำดับขั้นในการกิน
ภาพที่ 2.3 พีระมิดโซ่อาหารของสิ่งมีชีวิต
ที่มา Thai Good View, (10 ตุลาคม 2564)
18
1. พีรามิดจำนวนของสิ่งมีชีวิต (pyramid of number) แสดงจำนวน
สิ่งมีชีวิตเป็นหน่วยตัวต่อพื้นที่ โดยทั่วไปพีระมิดจะมีฐานกว้าง ซึ่ง หมายถึง
มีจำนวนผู้ผลิตมากที่สุด และจำนวนผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ ลดลงมา แต่การ
วัดปริมาณพลังงานโดยวิธีนี้ อาจมีความคลาดเคลื่อนได้เนื่องจากสิ่งมีชีวิตไม่
ว่าจะเป็นเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ เช่น ไส้เดือน
จะนับเป็นหนึ่งเหมือนกันหมด แต่ความเป็นจริงนั้นในแง่ปริมาณพลังงานที่ได้
รับหรืออาหารที่ผู้บริโภคได้ รับจะมากกว่าหลายเท่า ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูป
แบบในรูปของพีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต
ภาพที่ 2.4 pyramid of number
ที่มา World Class Standard School, (10 ตุลาคม 2564)
2. พีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass) โดยพีรามิดนี้แสดง
ปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับขั้นของการกินโดยใช้มวลรวมของน้ำหนัก
แห้ง (dry weight) ของสิ่งมีชีวิตต่อพื้นที่แทนการนับจำนวนพีรามิดแบบนี้มี
ความแม่นยำมากกว่า แบบที่ 1 แต่ในความเป็นจริงจำนวนหรือมวล ของสิ่งมี
ชีวิต มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลา เช่น ตามฤดูกาลหรือ ตามอัตราการ
เจริญเติบโต ปัจจัยเหล่านี้ จึงเป็นตัวแปรที่สำคัญ ถึงแม้มวลที่มากขึ้น เช่น
ต้นไม้ใหญ่ จะผลิตเป็นสารอาหารของผู้บริโภคได้มากแต่ก็ยังน้อยกว่าที่ผู้
บริโภคได้จาก สิ่งมีชีวิตเล็กๆ เช่น สาหร่ายหรือแพลงก์ตอน ทั้ง ๆ ที่มวล หรือ
ปริมาณของสาหร่ายหรือแพลงก์ตอนน้อยกว่ามาก ดังนั้น จึงมีการพัฒนาแนว
ความคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยในการเสนอรูปของพีรามิดพลังงาน
(pyramid of energy)
ภาพที่ 2.5 pyramid of energy
ที่มา World Class Standard School, (10 ตุลาคม 2564)
19
3. พีรามิดพลังงาน (pyramid of energy)
เป็นพีรามิดแสดงปริมาณพลังงานของแต่ละลำดับ
ชั้นของการกินซึ่งจะมีค่าลดลงตามลำดับขั้นของ
การโภค
ภาพที่ 2.6 pyramid of number
ที่มา World Class Standard School, (10 ตุลาคม 2564)
การหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ
ภาพที่ 2.7 การหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศ ในระบบนิเวศน์ ทั้งสสารและแร่ธาตุ
ที่มา ทรูปลูกปัญญา, (10 ตุลาคม 2564) ต่างๆ จะถูกหมุนเวียนกันไปภายใต้เวลาที่
เหมาะสมและมีความสมดุลซึ่งกัน และกัน
วนเวียนกันเป็นวัฏจักรที่เรียกว่า วัฏจักรของ
สสาร (matter cycling) ซึ่งเปรียบเสมือน
กลไกสำคัญ ที่เชื่อมโยงระหว่าง สสาร
และพลังงานจากธรรมชาติสู่สิ่งมีชีวิตแล้ว
ถ่ายทอดพลังงานในรูปแบบของการกินต่อ
กันเป็นทอดๆ ผลสุดท้ายวัฏจักรจะสลายใน
ขั้นตอนท้ายสุดโดยผู้ย่อยสลายกลับคืนสู่
ธรรมชาติ วัฏจักรของสสารที่มีความสำคัญ
ต่อสมดุลของระบบนิเวศ ได้แก่ วัฏจักรของ
น้ำ วัฏจักรของไนโตรเจน วัฏจักรของ
คาร์บอนและ วัฏจักรของฟอสฟอรัส
20
1. วัฏจักรของน้ำ
พื้นผิวของโลกประกอบด้วยแหล่งน้ำประมาณ 3 ใน 4 ส่วน น้ำเป็นสิ่งจำเป็น
อย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต ทุกชนิด เพราะน้ำเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของเซลล์
เป็นตัวกลางสำคัญของกระบวนการต่างๆ ในสิ่งมีชีวิต และเป็นแหล่งที่อยู่การ
หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงของน้ำหรือวัฏจักรของน้ำ คือ ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ โดยเริ่มต้นจากน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เช่น ทะเล มหาสมุทร แม่น้ำ
ลำคลองหนอง บึง ทะเลสาบ จากการคายน้ำของพืช จากการขับถ่ายของเสีย
ของสิ่งมีชีวิต และจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ระเหย
ขึ้นไปในบรรยากาศ กระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ เป็นก้อน
เมฆ ตกลงมาเป็นฝนหรือลูกเห็บสู่พื้นดินไหลลงสู่แหล่งน้ำต่าง ๆ หมุนเวียนอยู่
เช่นนี้เรื่อยไป และปัจจัยที่ช่วยให้เกิดวัฏจักรของน้ำ คือ
1. ความร้อนจากดวงอาทิตย์
ทำให้เกิดการระเหยของน้ำจาก
แหล่งน้ำต่าง ๆ กลายเป็นไอน้ำ
ขึ้นสู่บรรยากาศ
ภาพที่ 2.8 แสงจากพระอาทิตย์
ที่มา Shutterstock, (10 ตุลาคม 2564)
2. กระแสลม ช่วยทำให้น้ำระเหย
กลายเป็นไอได้เร็วขึ้น
ภาพที่ 2.9 กระแสลม
ที่มา Auf Twitter, (10 ตุลาคม 2564)
3. มนุษย์และสัตว์ ขับถ่ายของเสียออกมาในรูปของเหงื่อ ปัสสาวะ และลม
หายใจออกกลายเป็นไอน้ำสู่บรรยากาศ
21
4. พืช รากต้นไม้เปรียบเหมือน
ฟองน้ำ มีความสามารถในการดูดน้ำ
จากดินจำนวนมากขึ้นไปเก็บไว้ใน
ส่วนต่าง ๆ ทั้งยอด กิ่ง ใบ ดอก ผล
และลำต้น แล้วคายน้ำสู่บรรยากาศ
ไอเหล่านี้จะควบแน่นและรวมกันเป็น
เมฆและตกลงมาเป็นฝนต่อไป
ภาพที่ 2.10 วัฏจักรน้ำ
ที่มา Wordpress, (10 ตุลาคม 2564)
2. การหมุนเวียนก๊าซไนโตรเจนในระบบนิเวศ (Nitrogen Cycle)
สารประกอบไนโตรเจนจะมีอยู่ในดิน ในน้ำ และเป็นองค์ประกอบหลัก
ของอากาศที่ห่อหุ้มโลก เป็นแร่ธาตุหลักสำคัญ 1 ใน 4 ธาตุที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด
ต้องการ เพื่อนำไปสร้างโปรตีนสำหรับ การเจริญเติบโต ในบรรยากาศมีก๊าซ
ไนโตรเจนประมาณร้อยละ 78 แต่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง แต่
จะใช้ได้เมื่ออยู่ในสภาพในรูปของสารประกอบไนโตรเจนคือแอมโมเนีย ไนไตร
ท์และไนเตรท ไนโตรเจนในบรรยากาศ จึงต้องเปลี่ยนรูปให้อยู่ในสภาพที่สิ่งมี
ชีวิต ส่วนใหญ่จะใช้ได้การหมุนเวียนของไนโตรเจนจึงต้องผ่านสิ่งมีชีวิตเสมอ
ภาพที่ 2.11 การหมุนเวียนก๊าซไนโตรเจนในระบบนิเวศ
ที่มา Rabbniwesecosytem, (10 ตุลาคม 2564)
22
3. การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ
คาร์บอน (C) เป็นธาตุสำคัญที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของอินทรีย์
สารในร่างกายสิ่งมีชีวิต เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ฯลฯ และเป็น
สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในระบบนิเวศ ในบรรยากาศ มี ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่พืชนำมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง
ในระบบนิเวศการหมุนเวียนของคาร์บอนต้องผ่านสิ่งมีชีวิตเสมอ
ภาพที่ 2.12 การหมุนเวียนของคาร์บอนในระบบนิเวศ แต่คาร์บอนในธรรมชาติเกิด จากการ
ที่มา Selfaccess, (10 ตุลาคม 2564) สะสมของตะกอนซากพืชซากสัตว์ใต้ผิวโลก
เป็นเวลานานจนมีการเปลี่ยนสภาพเป็น
ถ่านหินและปิโตรเลียม ซึ่งเป็นพลังงาน
แหล่งใหญ่ เมื่อมีการนำมาใช้ประโยชน์
เป็นเชื้อเพลิงก็ จะมีการคืนคาร์บอนกลับสู่
บรรยากาศในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์
และหมุนเวียนกลับให้พืช นำไปใช้ประโยชน์
ต่อไป ดังนั้นคาร์บอนจึงหมุนเวียนเป็น
วัฏจักรที่อยู่ในระบบนิเวศอย่างสมดุล
4. การหมุนเวียนฟอสฟอรัสในระบบนิเวศ
ฟอสฟอรัสเป็นธาตุสำคัญ 1 ใน 3 ชนิด สำหรับการเจริญเติบโตของพืช
ในสัตว์ ฟอสฟอรัสเป็น ธาตุสำคัญต่อการสร้างโครงสร้างของร่างกายให้แข็ง
แรง เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟันเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน
ของเซลล์ในระบบนิเวศการหมุนเวียนฟอสฟอรัสโดยพืชนำฟอสฟอรัสจาก
ธรรมชาติเข้ามาในลักษณะ ของสารประกอบฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ แล้วนำไป
สะสมไว้ในเซลล์ต่าง ๆ เมื่อสัตว์กินพืชก็จะ ได้รับฟอสฟอรัส โดยผ่าน
กระบวนการกินเข้าสู่ร่างกาย สัตว์นำฟอสฟอรัสที่ได้ไปสร้างกระดูก และฟัน และ
ใช้ในขบวนการอื่นๆ
เมื่อสัตว์และพืชตายลง ซากพืชซากสัตว์
จะทับถมลงสู่ดิน ฟอสฟอรัสบางส่วนพืชจะดูดซึม
ไปใช้ใหม่ บางส่วนถูกแบคทีเรียบางกลุ่มที่อยู่ใน
ดิน ย่อยสลาย เป็นกรดฟอสฟอริก ทำปฏิกิริยา
กับสารในดิน เกิดเป็นสารประกอบฟอสฟอรัส
กลับคืนไปทับถม เป็นหินฟอสเฟต ในดิน ในน้ำ
ในทะเล และมหาสมุทร
ภาพที่ 2.13 การหมุนเวียนฟอสฟอรัสในระบบนิเวศ
ที่มา Siamchemi, (10 ตุลาคม 2564)
23
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resource) หมายถึง สิ่งที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ
มนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิต ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วไม่หมดสิ้น ได้แก่
1) ประเภทที่คงอยู่ตามสภาพเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
เลย เช่น พลังงาน จากดวงอาทิตย์ ลม อากาศ ฝุ่น ใช้เท่าไรก็
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไม่รู้จักหมด
2) ประเภทที่มีการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจาก
ถูก ใช้ในทางที่ผิด เช่น ที่ดิน น้ำ ลักษณะภูมิประเทศ
ฯลฯ ถ้าใช้ไม่เป็นจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่
การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในที่เดิม
ย่อมทำ ให้ดินเสื่อมคุณภาพ ได้ผลผลิตน้อยลง
ถ้าต้องการให้ดินมีคุณภาพดีต้องใส่ปุ๋ยหรือปลูกพืช
สลับและ หมุนเวียน
ภาพที่ 2.14 นวัตกรรมพลังงานทดแทน
ที่มา Praornpit Katchwattana, (10 ตุลาคม 2564)
2. ทรัพยากรธรรมชาติประเภทใช้แล้วหมดสิ้นไป ได้แก่
1) ประเภทที่ใช้แล้วหมดไป แต่สามารถรักษาให้คงสภาพเดิมไว้ได้ เช่น
ป่าไม้ สัตว์ป่า ประชากรโลก ความอุดมสมบูรณ์ของดิน น้ำเสียจากโรงงาน
น้ำในดิน ปลาบางชนิด ทัศนียภาพอันงดงาม ฯลฯ ซึ่ง อาจทำให้เกิดขึ้นใหม่ได้
2) ประเภทที่ไม่อาจทำให้มีใหม่ได้ เช่น คุณสมบัติธรรมชาติของดิน
พรสวรรค์ของมนุษย์ สติปัญญา เผ่าพันธุ์ของมนุษย์ชาติ ไม้พุ่ม ต้นไม้ใหญ่
ดอกไม้ป่า สัตว์บก สัตว์น้ำ ฯลฯ
3) ประเภทที่ไม่อาจรักษาไว้ได้ เมื่อใช้แล้วหมดไป แต่ยังสามารถนำมา
ยุบให้ กลับเป็นวัตถุเช่นเดิมแล้ว นำกลับมาประดิษฐ์ขึ้นใหม่ เช่น โลหะต่าง ๆ
สังกะสี ทองแดง เงิน ทองคำ ฯลฯ
4) ประเภทที่ใช้แล้วหมดสิ้นไปนำกลับมาใช้อีกไม่ได้ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน
ก๊าซ อโลหะส่วนใหญ่ ฯลฯ ถูกนำมาใช้เพียงครั้งเดียวก็เผาไหม้หมดไป
ไม่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้
24
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา
ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
ประกอบด้วยสิ่งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม รวมเรียกว่า สภาพแวดล้อม
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันอย่างแนบแน่นและเป็นประโยชน์
ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ (Natural Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ ป่าไม้ สัตว์ป่า ฯลฯ สิ่งแวดล้อมประเภทนี้เกิด
ขึ้นเองตามธรรมชาติอาจใช้เวลาเร็วหรือช้าเพียงใดขึ้นอยู่กับชนิดและประเภท
ภาพที่ 2.15 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติสามารถแบ่งออก
ที่มา paveerat1122, (10 ตุลาคม 2564) เป็น 2 ประเภท ได้แก่
1) สิ่งมีชีวิต (Biotic Environment)
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ มีลักษณะและ
คุณสมบัติเฉพาะตัวของสิ่งมีชีวิตเช่น พืช สัตว์
และมนุษย์เราอาจจะเรียกว่าสิ่งแวดล้อมทาง
ชีวภาพ (Biological Environment) ก็ได้
2) สิ่งไม่มีชีวิต (Abiotic Environment) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่
ไม่มีชีวิต อาจจะมองเห็นหรือไม่ก็ได้ เช่น ดิน น้ำ ก๊าซ อากาศ ควัน แร่ธาตุ เมฆ
รังสีความร้อน เสียง ฯลฯ เราอาจเรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical
Environment) ได้เช่นกัน
2. สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Man-Make
Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ความรู้ความ
สามารถที่ได้รับการสั่งสอน สืบทอด และพัฒนา
กันมาตลอด ซึ่ง ได้แบ่งไว้ 2 ประเภทคือ
1) สิ่งแวดล้อมทางวัตถุ หรือสิ่งแวดล้อม
ที่สามารถมองเห็นได้ เช่น บ้านเรือน เครื่องบิน
โทรทัศน์ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้สร้างขึ้นเพื่ออำนวยความ
ภาพที่ 2.16 สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น สะดวก หรือตอบสนองความต้องการในการดำรง
ที่มา Findingbeautyeverywhere, (10 ตุลาคม 2564) ชีวิต บางอย่างอาจมีความจำเป็น แต่บางอย่าง
เป็นเพียงสิ่งฟุ่มเฟือย
25
2) สิ่งแวดล้อมทางสังคม หรือสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม
(Social Environment) หรือ ( Abstract Environment) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
เพื่อความเป็นระเบียบสำหรับอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สิ่งแวดล้อมทางสังคม
ได้แก่ระบอบการปกครอง ศาสนา การศึกษา อาชีพ ความเชื่อ เจตคติ กฎหมาย
ขนบธรรมเนียมประเพณี ระเบียบข้อบังคับ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมที่มองไม่เห็นจะแสดง
ออกมาในรูปพฤติกรรม
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดำเนิน
การต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้าน
การจัดหา การเก็บรักษา การซ่อมแซม การใช้อย่างประหยัด การสงวนรักษา
เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั่นสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์
แก่มนุษย์ได้ใช้ตลอดไปอย่างไม่ขาดแคลน หรือมีปัญหา
การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การพัฒนา หมายถึง การทำให้สิ่งต่างๆอยู่ในสภาพดีขึ้นกว่าเดิมและ
เจริญก้าวหน้าขึ้น
การอนุรักษ์ หมายถึง การรู้จักใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด การใช้ประโยชน์
นั้นจะต้องเกิดผลดีต่อส่วนรวมมากที่สุด รู้จักใช้ประโยชน์ให้ได้เป็นเวลายายนาน
ที่สุด ให้มีการสูญเสียทรัพยากรอย่างเปล่าประโยชน์น้อยที่สุด รวมทั้งต้อง
กระจายการใช้ประโยชน์แก่ประชากรของประเทศอย่างทั่วถึงด้วย
กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๑. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วยกลไกของการบริหาร
และการจัดการโดยทั่วไป
๒. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่
๓. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับโครงการ
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องมีแนวทางและ
มาตรการต่างๆ ที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกันไป ซึ่งขึ้นกับสถานภาพของ
ปัญหาที่เกิดขึ้น และเป็นอยู่ในขณะนั้น แนวทาง และมาตรการดังกล่าว จะมี
ลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด หรือมีทุกลักษณะประกอบกัน ดังนี้
การรักษาและฟื้ นฟู เพื่อการปรับปรุง แก้ไขทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่ง
แวดล้อมที่ประ สบปัญหา หรือถูกทำลายไปแล้ว โดยจะต้องเร่ง แก้ไข สงวน
รักษามิให้เกิดความเสื่อมโทรมมากยิ่งขึ้น และขณะเดียวกัน จะต้องฟื้ นฟูสภาพ
แวดล้อมที่เสียไปให้กลับฟื้ นคืนสภาพ
26
คำถามท้ายบท
เรื่อง การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
✓คำชี้แจง เขียนเครื่องหมาย หน้าข้อความที่ถูกต้อง และเขียนเครื่องหมาย ✗
หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง
1. ผู้ผลิต คือสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารเองได้ทั้งหมดในระบบนิเวศ
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดโดยวิธี สังเคราะห์ด้วยแสง
2. หนอนเป็นผู้บริโภคสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร
3. สามเหลี่ยมพีรามิดของสิ่งมีชีวิต (ecological pyramid) แบ่งได้ 3
ประเภทตามหน่วยที่ใช้วัดปริมาณ ของลำดับขั้นในการกิน
4. พีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass) โดยพีรามิดนี้แสดง
ปริมาณของสิ่งมีชีวิตในแต่ละลำดับ ขั้นของการกิน
5. พีรามิดมวลของสิ่งมีชีวิต (pyramid of mass) เป็นพีรามิดแสดง
ปริมาณพลังงานของแต่ละลำดับชั้น ของการกินซึ่งจะมีค่าลดลงตาม
ลำดับขั้นของการโภค
ตอบคำถามให้ถูกต้องพร้อมทั้งอธิบายมาพอสังเขป
1. ภาวะพึ่งพาอาศัยกันหมายถึงอะไร
2. ปรสิต (Parasite) สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
3. การหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศมีความสำคัญอย่างไร
4. ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง
5. กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง
บรรณานุกรม
ประกาศิษย์ แทบมะลัย. (2563). ระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม
2564, จาก http://www.kkwschool.com/sci3/2020/03/13/
พจนา เพชรคอน. (2563). ภาวะความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ 25
ตุลาคม 2564, จาก https://www.scimath.org/lesson-biology/item/9796-
2019-02-21-07-11-20
อดุลย์ ลิมาน.(2562). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. สืบค้นเมื่อ สืบค้นเมื่อ 25
ตุลาคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/dulsci1/bth-thi-2-rabb-
niwes/3-khwam-samphanth-rahwang-sing-mi-chiwit-kab-sing-waedlxm
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน.(2562). ระบบนิเวศและความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมี
ชีวิต. สืบค้นเมื่อ25 ตุลาคม 2564, จาก http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/
book/book.php?book=17&chap=3&page=t17-3-infodetail07.html
คัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ.(2562). ระบบนิเวศ (Ecosystem). สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2564, จาก
https://ngthai.com/science/25251/ecosystem
โรงเรียนน้ำพองศึกษา. (2558). การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม
2564 จาก, https://sites.google.com/a/nps.ac.th/sawai2558/withyasastr
/kar-thaythxd-phlangngan-ni-rabb-niwes
การถ่ายทอดพลังงานในห่วงโซ่อาหาร. (2559). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก,
http://jeerapa-thong.blogspot.com/2016/03/blog-post_12.html
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. โซ่อาหาร. (2564). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก,
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B9%
88%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3
The planner. GED Science : FOOD CHAIN. (2563). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก,
https://theplannereducation.com/home/blog/ged-science-food-chain/
พจนา เพชรคอน. การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ. (2563). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564
จาก, https://www.scimath.org/lesson-biology/item/9642-2018-12-14-08-29-47
NGThai. ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ในระบบนิเวศ. (2563). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564
จาก, https://ngthai.com/science/31096/organism-relations/
ชมพูนุช โล่ลา. การหมุนเวียนสารในระบบนิเวศ. (2557). สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2564 จาก,
https://sites.google.com/site/rabbniwesxxy/contact-me