ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ คำนำ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ว23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนรู้ของครู หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไป ตามลำดับขั้นตอน และบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดทั้งสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอน อีกอย่างหนึ่งในปัจจุบัน ที่มีส่วนช่วยให้กิจกรรมการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 องค์ประกอบของระบบนิเวศ เล่มนี้สำเร็จลงด้วยดี โดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา นายกนกพล ศรีพั้ว ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ พิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2“เชิงชุมอนุชนวิทยา” นางวารุณี บุรีมาตร ครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล3 “ยุติธรรมวิทยา” ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนวัตกรรม นางนภาพร ศรีมรกต ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นายกำแพง ไชยมาตย์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน นายนนทชัย เวยสาร ผู้อำนวยการ สถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ และขอขอบคุณ นายสุทัศน์ สุวรรณโน ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณะครู ในโรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ที่คอยให้การสนับสนุนทุกท่าน จึงขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สวรรยา ผิวบุญเรือง
ข ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ สารบัญ เรื่อง..........................................................................................................................................หน้า คำนำ .............................................................................................................................. ก สารบัญ ........................................................................................................................... ข คำชี้แจง .......................................................................................................................... ค การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ............................................................................. ง ส่วนประกอบ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์............................................................................. ฉ การเตรียมการล่วงหน้า ................................................................................................... ช บทบาทและหน้าที่ของครู ............................................................................................... ช บทบาทนักเรียน ............................................................................................................. ซ การจัดชั้นเรียน ............................................................................................................... ซ การประเมินผลการเรียนรู้................................................................................................. ฌ เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู ........................................................................................ ฌ แผนการจัดการเรียนรู้ .................................................................................................... 1 สื่อสำหรับ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ .................................................. 13 บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ ................................................. 14 บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ ................................................. 15 บัตรความรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดพลังงาน ............................................................ 20 บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2.1 การกินอาหารของสัตว์ ......................................... 23 บัตรแบบฝึกเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 ........................................................................ 24 บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม .................................................................................. 29 เฉลยแนวคำตอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ..... 31 บรรณานุกรม ............................................................................................................... 38
ค ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ คำชี้แจง ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชุดนี้ ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ประกอบด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จำนวน 6 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 3 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 4 เรื่อง วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 6 เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทั้ง 6 ชุด ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งสิ้น โดยกิจกรรมในแตละชั่วโมง จะใหนักเรียนสามารถเรียนรู ดวยตนเอง นักเรียนมีสวนรวมในกิจกรรมโดยการฝกปฏิบัติและทํากิจกรรม ฝกทักษะการคิดและ การอภิปรายแสดงความคิดเห็น ฝกทักษะกระบวนการในการทํางานกลุม ฝกกระบวนการสืบคนขอมูล การคนควา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห สังเคราะหขอมูลที่ไดโดยนํามาเขียนสรุปความรู้ และสงเสริม ปฏิสัมพันธอันดีระหวางครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและ กัน มีการชวยเหลือกันระหวางนักเรียนเกงและนักเรียนที่ออน ตลอดจน การฝกตนเองใหมีวินัย และมี ความรับผิดชอบรวมกันในการทํางาน ครูแป๋วเองค่ะ
ง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบเป็น คะแนนก่อนเรียน 2. ทดสอบก่อนเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบเป็นคะแนน ก่อนเรียน 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด ตามลำดับโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ใน แผนการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 3.1.ขั้นสร้างความสนใจ 3.1.1 เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน หรือเรื่องที่สนใจ โดยการที่ครูและนักเรียนจะร่วมกัน อภิปราย และสนทนาถึงเรื่องที่จะศึกษา 3.1.2 โดยครูอาจจะทบทวนเนื้อหาที่เรียนแล้ว โดยการตั้งคำถามหรือกระตุ้นให้ นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา 3.2 ขั้นสำรวจและค้นหา 3.2.1 โดยให้นักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษา 3.2.2 การวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจและค้นหาข้อมูลในเรื่องที่จะศึกษา 3.2.3 ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ในแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ 3.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป 3.3.1 นำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผล เช่น การบรรยายสรุป สร้างแบบจำลอง สร้างตารางสรุปผล
จ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.4 ขั้นขยายความรู้ 3.4.1 การนำความรู้ที่สร้างขึ้น หรือความรู้ที่ใหม่ที่จะศึกษามาเชื่อมโยง และเพิ่มเติม จากความรู้เดิม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น เช่น การศึกษาจาก ใบความรู้ หรือเอกสารประกอบต่างๆ เพิ่มเติม 3.5 ขั้นประเมิน 3.5.1 การประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เช่น การสังเกตจากการอภิปรายภายในกลุ่ม การอภิปรายสรุปผลหน้าชั้นเรียน 3.5.2 ประเมินจากการปฏิบัติจากการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เช่น การปฏิบัติ กิจกรรมการทดลอง 3.5.3 ตรวจจากทำบัตรกิจกรรมของนักเรียน และประเมินผลโดยใช้แบบประเมินผล การทำบัตรกิจกรรม 4. เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ครบทั้ง 6 ชุดแล้ว ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชุดเดิม จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการ ทดสอบเป็นคะแนนหลังเรียน และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการเรียนรู้ 5. นักเรียนตอบแบบวัดจิตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีตอการเรียนรูด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 30 ขอ
ฉ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ ส่วนประกอบคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1. การเตรียมตัวล่วงหน้า 2. บทบาทและหน้าที่ของครู / บทบาทนักเรียน 3. การจัดชั้นเรียน 4. การประเมินผลการเรียนรู้ 5. เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู 6. แผนการจัดการเรียนรู้ 7. สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง 8. เกมเธอเป็นใคร 9. สื่อวีดิทัศน์เรื่องโซ่อาหาร 10. อุปกรณ์การทดลองของแต่ละกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง 11. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลาย ทางชีวภาพ ชุดที่ 2 องค์ประกอบของระบบนิเวศ 12.1 บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 12.2 บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 12.3 บัตรความรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดพลังงาน 12.4 บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2.1 การกินอาหารของสัตว์ 12.5 บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 12.6 บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม 12.7 เฉลยแนวคำตอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ
ช ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ การเตรียมล่วงหน้า บทบาทและหน้าที่ของครู 1. ครูจัดเตรียมคอมพิวเตอร์และโปรเจกเตอร์สำหรับฉายสื่อวีดีทัศน์ เรื่องห่วงโซ่อาหาร 2. จัดเตรียมกระดาษแข็งขนาด 5 x 12 นิ้ว จำนวน 20 แผ่น 3. สีเมจิก จำนวน 10 ด้าม 4. เพลงนกกระยาง ครูมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1. ก่อนทำกิจกรรม 1.1 ศึกษาคู่มือครูเกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจก่อนทำ กิจกรรม 1.2 ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ เข้าใจก่อนทำการสอน 1.3 ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจก่อนทำการสอน 1.4 ตรวจนับ ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อ จำนวนนักเรียน และพร้อมต่อการใช้งาน 1.5 จัดและแบ่งกลุ่มนักเรียน 2.ระหว่างทำกิจกรรม 2.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน 2.2 แนะนำให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด 2.3 ให้ความช่วยเหลือแนะนำและชี้แนะนักเรียนในระหว่างทำกิจกรรม 3. หลังทำกิจรรม 3.1 ประเมินผลการทำกิจกรรม 3.2 ตรวจ นับ ซ่อมแซมชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและเก็บให้เรียบร้อย
ซ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บทบาทนักเรียน การจัดชั้นเรียน 1. ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน อ่านคำชี้แจงจากบัตรคำสั่ง เพื่อจะได้ทราบว่าจะปฏิบัติ กิจกรรมอะไรและอย่างไร 2. พยายามทำแบบทดสอบ ตอบคำถาม อภิปรายกับเพื่อน ๆ ภายในกลุ่มเดียวกันเกี่ยวกับ เนื้อหาที่เรียนอย่างเต็มความสามารถ 3. มีวินัย มีความตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ 4. เมื่อพบปัญหา หรือเกิดความสงสัยในเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่ง สามารถขอรับคำปรึกษา หรือคำแนะนำจากครูได้ 5. ใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ทำความสะอาด และเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยทุกครั้ง 6. ประเมินและปรับปรุงตนเองจากการทำกิจกรรมและแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ในการจัดชั้นเรียนขณะที่ใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นักเรียนจะทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน จำนวนกลุ่มขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน เมื่อทำการสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน วัด ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้องแยกออกจากกันและจัดห้องสอบเป็นรายบุคค แผนผังการจัดชั้นเรียน โต๊ะครู กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่ อ่างน้ำ กระดานดำ ตู้ เก็บ สาร เคมี ตู้หนังสือ/เอกสารอ้างอิง เก็บ คอมพิวเตอร์ กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่
ฌ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ การประเมินผลการเรียนรู้ เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู 1. ประเมินจากผลงานนักเรียน 2. ประเมินผลจากทักษะกระบวนการ 3. ประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. ประเมินทักษะนักเรียนศตวรรษที่ 21 โซ่อาหารเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยการกินต่อกันเป็นทอด ๆ และ มีการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งตามลำดับขั้นของการกิน โดยใช้ ลูกศรแสดงถึงการถ่ายทอดพลังงาน หัวลูกศรจะชี้ไปยังสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดพลังงานต่อมา โซ่อาหารแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1. โซ่อาหารแบบผู้ล่า เริ่มต้นจากผู้ผลิตคือพืช ผู้บริโภคที่เป็นผู้ล่าและเหยื่อ 2. โซ่อาหารแบบปรสิต เริ่มจากผู้ถูกอาศัย ถ่ายทอดพลังงานไปยังปรสิตในลำดับต่าง ๆ 3. โซ่อาหารแบบซากอินทรีย์ เริ่มจากพลังงานที่สะสมในซากอินทรีย์ ถูกถ่ายทอดไปยัง สิ่งมีชีวิตที่กินซาก เช่น แร้ง และเมื่อสิ่งมีชีวิตกินซากถูกสัตว์อื่นกิน พลังงานก็จะถูกถ่ายทอดไป ตามลำดับ หรืออาจเริ่มจากซากพืชซากสัตว์ถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายอินทรียสาร เช่น รา แบคทีเรีย และผู้ย่อยสลายอินทรียสารถูกผู้บริโภคกินเป็นอาหารพลังงานก็จะถูกถ่ายทอดไป 4. โซ่อาหารแบบผสม เป็นโซ่อาหารที่ประกอบด้วยโซ่อาหารหลาย ๆ แบบผสมกันอยู่ใน สายเดียวกัน
1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. แบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มประมาณ 4-5 คน 2. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ และอุปกรณ์ จากครูผู้สอน 3. ศึกษาบัตรเนื้อหาที่ 1 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 4. ศึกษาบัตรกิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง การกินอาหารของสัตว์ ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้ 4.1 พิจารณาอาหารของสัตว์ที่กำหนดให้ 4.2 บันทึกชื่ออาหารสัตว์ลงในตาราง 4.3 จำแนกว่าอาหารสัตว์แต่ละชนิดมาจากพืชหรือสัตว์ แล้วบันทึกข้อมูล 4.4 จัดกลุ่มสัตว์ตามชนิดของอาหารที่กิน 5. บันทึกรายงานผลการสำรวจ ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลการปฏิบัติกิจกรรมหน้าชั้นเรียน 6. นำผลการปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันว่าผลเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แล้วอภิปรายผล ร่วมกัน 7. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำบัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ 8. แต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์และชุดกิจกรรมที่อยู่ในสภาพเรียบร้อยส่งครูผู้สอน
2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 1 ระบบนิเวศแต่ละประเภทมักจะพบเห็นความสัมพันธ์ระหว่าง ดิน หิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ แสงแดด มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นๆ ถึงแม้ว่าระบบนิเวศบนโลกจะมีความ หลากหลาย แต่มีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกันประกอบไปด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ 1. องค์ประกอบทางกายภาพ หมายถึง องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ สิ่งมีชีวิต ถ้าองค์ประกอบประเภทนี้เปลี่ยนแปลงไปจะมีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดใน ระบบนิเวศนั้น แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.1 อนินทรีย์สาร ได้แก่ เกลือแร่ คาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) น้ำ (H2O) ออกซิเจน (O2 ) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) ฟอสเฟต (PO4 3- ) ไนเตรต (NO3 - ) เป็นต้น 1.2 อินทรียสาร ซึ่งเป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ซากพืช ซากสัตว์ ฮิวมัส โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น 1.3 สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วทั้ง สารอนินทรีย์ และสารอินทรีย์รวมทั้งปัจจัยทางสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ แสง อุณหภูมิ ความเป็น กรด - ด่าง ความเค็มและความชื้น เป็นต้น 2. องค์ประกอบทางชีวภาพ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศนั้น สิ่งมีชีวิต แต่ละชนิดมีบทบาทหน้าที่ของตนเอง มีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต ด้วย สามารถจัดโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศตามลำดับขั้นการกินอาหาร (trophic level) ได้ดังนี้ เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ ในระบบนิเวศมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ส่วน ได้แก่อะไรบ้าง คำถาม องค์ประกอบทางกายภาพ และ องค์ประกอบทางชีวภาพ คำตอบ
3 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 1 2.1 ผู้ผลิต (producer) คือ พวกที่สามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์ อาหารขึ้นได้เอง จากแร่ธาตุและสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงก์ตอนพืช และ แบคทีเรียบางชนิด พวกผู้ผลิตนี้มีความสำคัญมากเพราะเป็นส่วนเริ่มต้นและเชื่อมต่อระหว่าง ส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิตกับส่วนที่มีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศ ซึ่งส่วนมากได้แก่ พืชสีเขียว พืชจะเปลี่ยน พลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นอาหาร เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) เก็บสะสมอาหารไว้ในรูปของเนื้อเยื่อในร่างกาย แล้วถ่ายทอดพลังงานไปยังผู้บริโภค ดังนั้นผู้ผลิตจึง มีบทบาทเสมือนโรงงานผลิตพลังงานให้แก่ระบบนิเวศ ภาพประกอบ ผู้ผลิต ที่มา : https://www.scimath.org/lesson-biology/item/10517-2019-07-18-01-41-56 สืบค้น เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 2.2 ผู้บริโภค (consumer) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ บางพวกบริโภค พืช บางพวกบริโภคสัตว์ และบางพวกบริโภคทั้งพืชและสัตว์ ต้องกินผู้ผลิตหรือพวกที่ได้รับอาหารจาก การกินสิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง การแบ่งชนิดของผู้บริโภค สามารถแบ่งได้ดังนี้ องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตแบ่งได้กี่ประเภท อะไรบ้าง คำถาม เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ
4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 1 ผู้บริโภคปฐมภูมิ (primary consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น กระต่าย วัว ควาย กวาง ม้า ช้าง และปลาที่กินพืชเล็กๆ ฯลฯ ผู้บริโภคทุติยภูมิ (secondary consumer) เป็นสัตว์ที่ได้รับอาหารจากการกิน สัตว์ที่กินพืชเป็นอาหาร เช่น เสือ สุนัขจิ้งจอก ปลากินเนื้อ สิงโต ฯลฯ ผู้บริโภคตติยภูมิ (tertiary consumer) เป็นพวกที่กินทั้งสัตว์กินพืช และสัตว์กินสัตว์ นอกจากนี้ยังได้แก่สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระดับขั้นการกินสูงสุดซึ่งหมายถึง สัตว์ที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่นๆ ต่อไป เป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ ภาพประกอบ ผู้บริโภค ที่มา : http://www.toptenthailand.com/display.php?id=108 วันเข้าถึงข้อมูล 17 พฤษภาคม 2563 นอกจากนี้ยังสามารถจำแนกผู้บริโภคออกเป็นประเภทต่างๆ ตามชนิดของอาหารที่กิน ได้แก่ 3 ประเภท ได้แก่ อินทรียสาร อนินทรียสาร และสภาพแวดล้อมทาง กายภาพ คำตอบ เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศแบ่งตามลำดับขั้นการกินอาหารมี 3 ระดับ ได้แก่อะไรบ้าง คำถาม
5 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 1 กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคพืชเป็นอาหาร ( herbivores) เช่น ม้า กระต่าย วัว ควาย ช้างเต่า เป็นต้น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคเนื้อสัตว์เป็นอาหาร (carnivores) เช่น เสือ สิงโต นกกิน แมลง เป็นต้น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร (omnivores) เช่น คน ไก่ กิ้งก่า เป็นต้น กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคซากสิ่งมีชีวิตเป็นอาหาร (scavengers) เช่น แร้ง เป็นต้น 2.3 ผู้ย่อยสลาย (decomposer) จัดเป็นผู้บริโภคชนิดหนึ่ง แต่บริโภคเฉพาะซากพืช ซากสัตว์ที่ตายแล้ว สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ได้แก่ มด ปลวก หอยทาก แมลงสาบ กิ้งกือ ตะขาบ จะย่อยสลายซากพืชซากสัตว์ในเบื้องต้น หลังจากนั้นพวกแบคทีเรีย เห็ด รา จะย่อยสลายซาก เหล่านั้นได้เป็นสารอนินทรีย์ (แร่ธาตุ) กลับคืนสู่ระบบนิเวศ เป็นอาหารของพืชหรือผู้ผลิต ภาพประกอบ ผู้ย่อยสลาย ที่มา : http://www.se-ed.com/Technology/ViewContent.aspx?IDtopic=464 วันเข้าถึงข้อมูล 17 พฤษภาคม 2563 ผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลายกายภาพ คำตอบ ผู้บริโภคเฉพาะซากพืช ซากสัตว์ที่ตายแล้วเรียกว่าอะไร คำถาม เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ
6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 1 ภาพประกอบ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย ที่มา : สวรรยา ผิวบุญเรือง 2563 ผู้ย่อยสลาย คำตอบ เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ
7 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดพลังงาน ในระบบนิเวศจะมีการถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตหนึ่ง เริ่มต้นจาก ผู้ผลิตได้รับจากแสงอาทิตย์ มีน้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ ซึ่งจากกระบวนการ สังเคราะห์ด้วยแสง พลังงานจากดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของสารอาหารและถ่ายทอดไป ยังผู้บริโภคซึ่งมี2 ลักษณะดังนี้ โซ่อาหาร (food chain) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่มีการถ่ายทอด พลังงานจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคระดับต่างๆ โดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ การเขียนโซ่อาหารทำได้โดย ให้สิ่งมีชีวิตที่ถูกกินอยู่ทางซ้าย ส่วนผู้บริโภคอยู่ทางขวา และหัวลูกศรชี้ไปทางผู้บริโภค ดังแผนภาพ ตัวอย่างโซ่อาหารในระบบนิเวศบนบก ตัวอย่างโซ่อาหารในระบบแหล่งน้ำจืด ภาพประกอบ โซ่อาหาร ที่มา : สวรรยา ผิวบุญเรือง 2563 ห่วงโซ่อาหาร คือ คำถาม ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่มีการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิต ถึงผู้บริโภคระดับต่าง ๆ โดยการกินต่อกันเป็นทอด ๆ คำตอบ
8 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดพลังงาน ในโซ่อาหารประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตที่ทำหน้าที่ต่างกันโดยเริ่มจากพืชที่ทำหน้าที่สร้าง อาหาร พืชจึงถูกจัดเป็นผู้ผลิต พืชจะถูกกินโดยผู้บริโภคพืชหรือสัตว์กินพืช และผู้บริโภคพืชจะถูก กินโดยผู้บริโภคสัตว์ สัตว์บางชนิดสามารถบริโภคได้ทั้งพืชและสัตว์ นอกจากนี้กลุ่มผู้บริโภคสัตว์ที่ ล่าสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร เรียกว่า ผู้ล่า ส่วนสัตว์ที่เป็นอาหารคือ เหยื่อ และยังจัดผู้บริโภคแยก ออกเป็น ผู้บริโภคลำดับแรกหรือลำดับที่ 1 คือ ผู้บริโภคพืช สัตว์ที่อยู่ปลายสุดของโซ่อาหาร ซึ่งไม่ มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดมากินต่อคือ ผู้บริโภคลำดับสุดท้ายหรือลำดับสูงสุด สายใยอาหาร (food web) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารหลายๆ ห่วงโซ่ ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่ซับซ้อน ซึ่งในระบบนิเวศหนึ่งๆ นั้นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัย อยู่ร่วมกัน อาหารของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นอาจจะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน ทำให้เกิดโซ่อาหารเกิดขึ้น หลายสาย แต่ละโซ่อาหารอาจเกี่ยวพันกัน เนื่องจากการกินอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความ สลับซับซ้อน สิ่งมีชีวิตที่เป็นส่วนหนึ่งของโซ่อาหารหนึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งของโซ่อาหารอื่นๆ ได้อีก ดัง แผนภาพ ภาพประกอบ สายใยอาหารในระบบนิเวศนาข้าว ที่มา : สวรรยา ผิวบุญเรือง 2563 จากแผนภาพสายใยอาหารข้างบน มีโซ่อาหารกี่โซ่อาหาร คำถาม
9 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรความรู้ที่ 2 เรื่อง การถ่ายทอดพลังงาน คว โซ่อาหารเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศโดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ และมี การถ่ายทอดพลังงานจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปยังสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งตามลำดับขั้นของการกิน โดยใช้ ลูกศรแสดงถึงการถ่ายทอดพลังงาน หัวลูกศรจะชี้ไปยังสิ่งมีชีวิตที่ได้รับการถ่ายทอดพลังงานต่อมา โซ่อาหารแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้ 1. โซ่อาหารแบบผู้ล่า เริ่มต้นจากผู้ผลิตคือพืช ผู้บริโภคที่เป็นผู้ล่าและเหยื่อ เช่น ข้าว ตั๊กแตน กบ งูเหลือม 2. โซ่อาหารแบบปรสิต เริ่มจากผู้ถูกอาศัย ถ่ายทอดพลังงานไปยังปรสิตในลำดับต่างๆ เช่น สุนัข เห็บ แบคทีเรีย 3. โซ่อาหารแบบซากอินทรีย์ เริ่มจากพลังงานที่สะสมในซากอินทรีย์ ถูกถ่ายทอดไปยัง สิ่งมีชีวิตที่กินซาก เช่นแร้ง และเมื่อสิ่งมีชีวิตกินซากถูกสัตว์อื่นกิน พลังงานก็จะถูกถ่ายทอดไป ตามลำดับ หรืออาจเริ่มจากซากพืชซากสัตว์ถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายอินทรียสาร เช่น รา แบคทีเรียและผู้ย่อยสลายอินทรียสารถูกผู้บริโภคกินเป็นอาหาร พลังงานก็จะถูกถ่ายทอดไป เช่น ซากสุนัข แร้ง เสือ 4. โซ่อาหารแบบผสม เป็นโซ่อาหารที่ประกอบด้วยโซ่อาหารหลายๆ แบบผสมอยู่ ในสายเดียวกัน เช่น หญ้า ควาย เหลือบ นกเอี้ยง ความรู้เพิ่มเติม จากแผนภาพประกอบด้วย 7 โซ่อาหาร ดังนี้ ต้นข้าว ตั๊กแตน นก สุนัข ต้นข้าว ตั๊กแตน นก เหยี่ยว ต้นข้าว หนอน นก สุนัข ต้นข้าว หนอน นก เหยี่ยว ต้นข้าว หอยทาก นก สุนัข ต้นข้าว หอยทาก นก เหยี่ยว ต้นข้าว หนูนา เหยี่ยว คำตอบ
10 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2.1 การกินอาหารของสัตว์ สาระสำคัญ ผู้ผลิต ผู้บริโภคพืช และผู้บริโภคสัตว์ในแต่ละระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันในลักษณะการ กินกันเป็นทอดๆ ความสัมพันธ์เช่นนี้ในระบบนิเวศ เรียกว่า โซ่อาหาร และในระบบนิเวศมีโซ่อาหาร มากมาย สิ่งมีชีวิตที่เป็นส่วนของโซ่อาหารหนึ่ง อาจเป็นส่วนประกอบของอีกหลายๆ โซ่อาหารได้ ด้วย ทำให้ให้โซ่อาหารเชื่อมโยงสัมพันธ์กันเป็น สายใยอาหาร จุดประสงค์กิจกรรม 1. ทำกิจกรรมและสรุปผลการทำกิจกรรมเรื่อง การกินอาหารของสัตว์ 2. ระบุแหล่งที่มาของอาหารสัตว์ได้ว่ามาจากพืชหรือสัตว์ 3. จำแนกกลุ่มของผู้บริโภคโดยใช้ที่มาของอาหารที่กินเป็นเกณฑ์ วิธีทำกิจกรรม 1. พิจารณาอาหรของสัตว์ต่อไปนี้ ม้า ผีเสื้อ นก ปลา กระต่าย กบ สุนัขจิ้งจอก งู เหยี่ยว เสือ คน 2. บันทึกชื่ออาหารสัตว์ลงในตาราง 3. จำแนกว่าอาหารสัตว์แต่ละชนิดมาจากพืชหรือสัตว์ แล้วบันทึกข้อมูล 4. จัดกลุ่มสัตว์ตามชนิดของอาหารที่กิน 5. สรุปและนำเสนอข้อมูล
11 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ แบบรายงานผลการทำกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง การกินอาหารของสัตว์ สมาชิกในกลุ่มที่ ............ 1) .....................................................เลขที่.......... 2) ....................................................เลขที่.......... 3) .....................................................เลขที่.......... 4) ....................................................เลขที่.......... 5) .....................................................เลขที่.......... 6) ....................................................เลขที่.......... บันทึกผลการศึกษา อาหารและที่มาของอาหารสัตว์บางชนิด ชนิดของสัตว์ อาหาร ที่มาของอาหาร พืช สัตว์ ม้า ผีเสื้อ นก ปลา กระต่าย กบ สุนัขจิ้งจอก งู เหยี่ยว เสือ คน สรุปผลการสำรวจ ……………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………. ………………………………………………………………………………………………………………………………
12 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ คำถามท้ายกิจกรรม 1. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินพืชอย่างเดียว ..................................................................................................................................................... 2. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินสัตว์อย่างเดียว ....................................................................................................................................................... 3. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินทั้งพืชและสัตว์ ..................................................................................................................................................... 4. ถ้าใช้ชนิดอาหารเป็นเกณฑ์ นักเรียนสามารถจำแนกสัตว์ได้เป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 5. จากกิจกรรม สัตว์ใดเป็นทั้งผู้ล่าและเป็นเหยื่อ ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 6. จากกิจกรรม สัตว์ใดเป็นผู้ล่า สัตว์ใดเป็นเหยื่อ ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 7. ถ้าปลาเป็นอาหารของนก ปลากินอะไรเป็นอาหาร ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 8. จากกิจกรรมนกกินอะไรเป็นอาหาร นักเรียนคิดว่านกจัดเป็นผู้ล่าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 9. จากกิจกรรม สัตว์ที่จัดเป็นผู้บริโภคลำดับแรก ได้แก่อะไรบ้าง ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... 10.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดพลังงานอย่างไร ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... .....................................................................................................................................................
13 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ แผนภาพโซ่อาหาร แผนภาพสายใยอาหาร จากกิจกรรมที่ 2.1 ถ้ากำหนดให้พืชเป็นผู้ผลิต ให้นักเรียนนำข้อมูลในตารางผลการศึกษา มาเขียนแผนภาพโซ่อาหารให้ได้อย่างน้อย 4 โซ่อาหาร จากแผนภาพโซ่อาหาร ให้นักเรียนนำโซ่อาหารจำนวน 4 โซ่อาหารมาเขียนเป็นแผนภาพสายใย อาหาร
14 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อ-สกุล....................................................................กลุ่มที่.................ชั้น/ห้อง.................... 1. การถ่ายทอดพลังงาน หมายถึง…………………………………………………………………………………………... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 2. ผู้ผลิต หมายถึง………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 3. ผู้บริโภค หมายถึง……………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 4. ผู้ย่อยสลาย หมายถึง....................................................................................................................... ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 5. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายมา 3 ชนิด……………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 6. จงยกตัวอย่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร มา 3 ชนิด ................................................................................................................................................................ 7. สายใยอาหาร หมายถึง…………………………………………………….………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 8. ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง หมายถึง……………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 9. ผู้บริโภคลำดับที่สอง หมายถึง…………………………………………………………………………………………….. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… 10. ผู้บริโภคลำดับสูงสุด หมายถึง……………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………
15 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 11. ศึกษาสายใยอาหารในภาพต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม 11.1 แผนผังข้างบนเรียกว่า............................................................................................................ ....................................................................................................................................................... 11.2 สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้บริโภคอันดับสุดท้าย............................................................................ ....................................................................................................................................................... 11.3 สิ่งมีชีวิตใด กินได้ทั้งพืชและสัตว์.......................................................................................... ....................................................................................................................................................... 11.4 สิ่งมีชีวิตใด กินเฉพาะพืชอย่างเดียว..................................................................................... ....................................................................................................................................................... 12. จากภาพสิ่งมีชีวิตต่างๆ จงเขียนลูกศรแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหาร ก ข ค ง จ ฉ
16 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ชุดที่ 2 องค์ประกอบของระบบนิเวศ คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในช่องตัวเลือกในกระดาษคำตอบ 1. ข้อใดแสดงถึงองค์ประกอบของระบบนิเวศ ก. ผู้ผลิต และผู้บริโภค ข. โซ่อาหาร และสายใยอาหาร ค. กลุ่มสิ่งมีชีวิต และแหล่งที่อยู่ ง. ผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลาย 2. กลุ่มสิ่งมีชีวิตในข้อใดที่มีทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ก. สาหร่าย แบคทีเรีย ปลานิล ปลาบู่ ดิน ข. สาหร่าย ข้าว ข้าวโพด หนู นกแสก ค. หนอน ไส้เดือน เสือ คน เห็ด ง. ถั่วเหลือง วัว นกเอี้ยง ตั๊กแตน กล้วย 3. ข้อใดต่อไปนี้เป็นห่วงโซ่อาหารที่ไม่ถูกต้อง ก. หญ้า กวาง เสือ ข. เหยี่ยว หนูนา ข้าว ค. ลูกแมลงปอ ปลา คน ง. แมลงปอ กบ คน 4. ข้าว นกกระจอก ตั๊กแตน หนอนผีเสื้อ ที่อยู่ในระบบนิเวศนาข้าว สิ่งมีชีวิตใดกินอาหารได้ มากกว่า 1 อย่าง ก. ข้าว ข. ตั๊กแตน ค. นกกระจอก ง. หนอนผีเสื้อ 5. ข้อใดไม่จัดอยู่ในอนินทรียสาร ก. น้ำ ข. โปรตีน ค. คาร์บอนไดออกไซด์ ง. ไนโตรเจน ส่ง Key code : 2509knqih9v
17 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ชุดที่ 2 องค์ประกอบของระบบนิเวศ 6. สิ่งมีชีวิตใดไม่ใช่ผู้ย่อยสลาย ก.เห็ด ข. รา ค. เฟิร์น ง. จุลินทรีย์ 7. การกินต่อกันเป็นทอดๆ ที่มีความซับซ้อนไม่เป็นระเบียบหรือประกอบด้วยโซ่อาหารหลายๆ ห่วงรวมกัน เรียกว่าอะไร ก. สายใยอาหาร ข. เส้นใยอาหาร ค. วัฏจักรอาหาร ง. โซ่อาหาร 8. ข้าว หนอน นก งู เหยี่ยว จากแผนภาพห่วงโซ่อาหาร นักเรียนคิดว่าสิ่งมีชีวิตชนิดใด เป็นผู้บริโภคอันดับที่ 2 ก. เหยี่ยว ข. หนอน ค. งู ง. นก 9. โซ่อาหารเกี่ยวข้องกับเรื่องใดมากที่สุด ก. การมีระดับของสิ่งมีชีวิต ข. ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ค. การถ่ายทอดพลังงานต่อกันไป ง. ความเกี่ยวข้องของระดับชีวิต 10. ข้อใดแสดงตัวอย่างของผู้บริโภคลำดับแรกอย่างชัดเจนที่สุด ก. นกกินปลา ข. กระต่ายกินผัก ค. กบกินแมลง ง. เห็ดบนขอนไม้ผุ
18 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ แบบรายงานผลการทำกิจกรรมกลุ่ม ตัวอย่างบันทึกผลการศึกษา อาหารและที่มาของอาหารสัตว์บางชนิด ชนิดของสัตว์ อาหาร (อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน) ที่มาของอาหาร พืช สัตว์ ม้า หญ้า / ผีเสื้อ น้ำหวานจากดอกไม้ / นก แมลง ,เมล็ดพืช / / ปลา สาหร่าย , ไรน้ำ / / กระต่าย ผัก ผลไม้ / กบ แมลง / สุนัขจิ้งจอก ไก่ กระต่าย หมู / งู กบ แมลง / เหยี่ยว นก หนู งู / เสือ กวาง ม้า / คน พืชผัก หมู วัว แมลง ฯลฯ / / สรุปผลการสำรวจ อาหารของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปและสามารถจำแนกกลุ่มของสัตว์ได้เป็น 3 กุล่มโดย ใช้ที่มาของอาหารที่กินเป็นเกณฑ์ ได้แก่ สัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ เรียกสัตว์ที่กินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหารว่าผู้บริโภค บัตรเฉลยกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 2.1 การกินอาหารของสัตว์ แนวคำตอบ แนวคำตอบ
19 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม 1. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินพืชอย่างเดียว ม้า ผีเสื้อ กระต่าย 2. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินสัตว์อย่างเดียว กบ สุนัขจิ้งจอก งู แร้ง เสือ 3. จากกิจกรรม สัตว์ชนิดใดกินทั้งพืชและสัตว์ นก ปลา คน 4. ถ้าใช้ชนิดอาหารเป็นเกณฑ์ นักเรียนสามารถจำแนกสัตว์ได้เป็นกี่กลุ่ม อะไรบ้าง 3 กลุ่ม ได้แก่ สัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ และสัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ 5. จากกิจกรรม สัตว์ใดเป็นทั้งผู้ล่าและเป็นเหยื่อ นก ปลา กบ สุนัขจิ้งจอก งู 6. จากกิจกรรม สัตว์ใดเป็นผู้ล่าอย่างเดียว และสัตว์ใดเป็นเหยื่ออย่างเดียว ผู้ล่า คน เสือ เหยี่ยว เหยื่อ ผีเสื้อ กระต่าย ม้า 7. ถ้าปลาเป็นอาหารของนก ปลากินอะไรเป็นอาหาร สาหร่าย ไรน้ำ 8. จากกิจกรรม นกกินอะไรเป็นอาหาร นักเรียนคิดว่านกจัดเป็นผู้ล่าได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ผีเสื้อ เมล็ดพืช จัดเป็นผู้ล่าได้เพราะล่าสัตว์อื่นเป็นอาหาร 9. จากกิจกรรม สัตว์ที่จัดเป็นผู้บริโภคลำดับแรก ได้แก่อะไรบ้าง ผีเสื้อ กระต่าย ม้า แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ
20 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 10. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดพลังงานอย่างไร ผู้บริโภคที่กินผู้ผลิตเป็นอาหารจะได้รับพลังงานถ่ายทอดมาจากผู้ผลิต เพราะผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงจากดวงอาทิตย์เป็นพลังงานเคมีสะสมไว้ในโมเลกุลของ สารอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เพื่อใช้ในการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโต ส่วนผู้บริโภคลำดับต่อๆ ไป จะได้รับพลังงานโดยการกินต่อกันเป็นทอดๆ โดยพลังงานที่ ผู้บริโภคลำดับถัดไปได้รับจะน้อยลงตามลำดับ แผนภาพโซ่อาหาร (อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน) พืช คน พืช ม้า เสือ พืช ปลา คน พืช นก เหยี่ยว พืช กระต่าย สุนัขจิ้งจอก เสือ พืช ปลา นก เหยี่ยว พืช ผีเสื้อ กบ งู เหยี่ยว แผนภาพสายใยอาหาร (อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน) พืช คน ม้า เสือ กระต่าย สุนัข จิ้งจอก ปลา นก เหยี่ยว แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ
21 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 1. การถ่ายทอดพลังงาน หมายถึง การถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิต จากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคแล้ว หมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศ 2. ผู้ผลิต หมายถึง พวกที่สามารถนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสังเคราะห์อาหารขึ้นได้เอง จากแร่ธาตุและสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นสิ่งมีชีวิตอันดับแรกในการ ถ่ายทอดพลังงานแบบโซ่อาหาร 3. ผู้บริโภค หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ บางพวกบริโภคพืช บางพวก บริโภคสัตว์ และบางพวกบริโภคทั้งพืชและสัตว์ ต้องกินผู้ผลิตหรือ สิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร 4. ผู้ย่อยสลาย หมายถึง ผู้บริโภคเฉพาะซากพืช ซากสัตว์ที่ตายแล้ว 5. จงยกตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ย่อยสลายมา 3 ชนิด มด ปลวก หอยทาก แมลงสาบ กิ้งกือ ตะขาบ 6. จงยกตัวอย่างกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่บริโภคทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มา 3 ชนิด คน ไก่ กิ้งก่า นก 7. สายใยอาหาร หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างโซ่อาหารหลายๆ โซ่อาหาร ทำให้เกิดการถ่ายทอด พลังงานที่ซับซ้อน โซ่อาหารที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่าง สลับซับซ้อน บัตรเฉลยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ
22 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 8. ผู้บริโภคลำดับที่หนึ่ง หมายถึง สัตว์ที่กินผู้ผลิต 9. ผู้บริโภคลำดับที่สอง หมายถึง สัตว์ที่กินผู้บริโภค 10. ผู้บริโภคลำดับสูงสุด หมายถึง สัตว์ที่อยู่ปลายสุดของโซ่อาหาร ซึ่งไม่มีสิ่งมีชีวิตชนิดใดมากินต่อ 11. ศึกษาสายใยอาหารในภาพต่อไปนี้ แล้วตอบคำถาม 11.1 แผนผังข้างบนเรียกว่า สายใยอาหาร 11.2 สิ่งมีชีวิตชนิดใดเป็นผู้บริโภคอันดับสุดท้าย ฉ 11.3 สิ่งมีชีวิตใด กินได้ทั้งพืชและสัตว์ ง 11.4 สิ่งมีชีวิตใด กินเฉพาะพืชอย่างเดียว ข , ค และ จ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ
23 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ 12. จากภาพสิ่งมีชีวิตต่างๆ จงเขียนลูกศรแสดงความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในสายใยอาหาร 1. ง 2. ก 3. ข 4. ค 5. ข 6. ค 7. ก 8. ง 9. ค 10. ข บัตรเฉลยแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ชุดที่ 2 องค์ประกอบของระบบนิเวศ แนวคำตอบ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บรรณานุกรม ถนัด ศรีบุญเรือง และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.๓. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2553. . สัมฤทธิ์มาตรฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 1กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2553. บัญชา แสนทวี และคณะ. ว 411 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547. ประดับ นาคแก้ว และคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม.3 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : แม็ค, 2548. ปรีชา สุวรรณพินิจ และคณะ. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ม.3. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต, มปป. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ ม.3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด, 2548. ราชบัณฑิตสถาน. ศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษ -ไทย ไทย – อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546. วิชาญ เลิศลพ และคณะ. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ครบทุกสาระ. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ. สื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม.3 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิยมวิทยา, 2548. . วิทยาศาสตร์ พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชิวิตช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3). กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา, 2547 ศึกษาธิการ, กระทรวง, กรมวิชาการ. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2546. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2563.
25 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ บรรณานุกรม (ต่อ) ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน.คู่มือครูหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2563. . บทเรียนออนไลน์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.ค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563. จาก https://proj14.ipst.ac.th/ สสวท. พจนานุกรม วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563. จาก http://escivocab.ipst.ac.th/index.php?
26 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ