The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

05-ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by paew.2905, 2023-01-31 09:14:33

05-ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5

05-ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร


ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร คำนำ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว23102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการจัดการเรียนรู้ของครู หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นไป ตามลำดับขั้นตอน และบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดทั้งสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพราะว่าชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการสอนอีก อย่างหนึ่งในปัจจุบัน ที่มีส่วนช่วยให้กิจกรรมการเรียนรู้บรรลุเป้าหมาย ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร เล่มนี้สำเร็จลงด้วยดี โดยได้รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา นายกนกพล ศรีพั้ว ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 2 “เชิงชุมอนุชนวิทยา” นางวารุณี บุรีมาตร ครู วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญ โรงเรียนมัธยมศึกษาเทศบาล3 “ยุติธรรมวิทยา” ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อนวัตกรรม นางนภาพร ศรีมรกต ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ นายกำแพง ไชยมาตย์ ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน นายนนทชัย เวยสาร ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ โรงเรียนธาตุทองอำนวยวิทย์ และขอขอบคุณ นายสุทัศน์ สุวรรณโน ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณะครูในโรงเรียนเดื่อศรีไพร วัลย์ที่คอยให้การสนับสนุนทุกท่าน จึงขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ สวรรยา ผิวบุญเรือง


ข ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร สารบัญ คำนำ .............................................................................................................................. ก สารบัญ ........................................................................................................................... ข คำชี้แจง .......................................................................................................................... ค การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ............................................................................. ง ส่วนประกอบ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์............................................................................. ฉ บทบาทและหน้าที่ของครู ............................................................................................... ช บทบาทนักเรียน ............................................................................................................. ซ การจัดชั้นเรียน ............................................................................................................... ซ การประเมินผลการเรียนรู้................................................................................................. ฌ เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู ........................................................................................ ฌ แผนการจัดการเรียนรู้ .................................................................................................... 1 สื่อสำหรับชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร ................................................................................. 13 บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง ประชากร .............................................................................. 14 บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร ............................................................................... 15 บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 5.1 ประชากร ............................................................. 22 บัตรแบบฝึกเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 .................................................................. 26 บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม .................................................................................. 28 เฉลยแนวคำตอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร................................... 30 บรรณานุกรม ............................................................................................................... 38


ค ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร คำชี้แจง ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ชุดนี้ ใช้เวลาเรียนทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง ประกอบด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์จำนวน 6 ชุด ดังนี้ ชุดที่ 1 เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 2 เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 3 เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 4 เรื่อง วัฏจักรของสารในระบบนิเวศ จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร จำนวน 3 ชั่วโมง ชุดที่ 6 เรื่อง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและปัญหาสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ชั่วโมง กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทั้ง 6 ชุด ล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรม การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งสิ้น โดยกิจกรรมในแตละชั่วโมง จะใหนักเรียนสามารถเรียนรู ดวยตนเอง นักเรียนมีสวนรวมในกิจกรรมโดยการฝกปฏิบัติและทํากิจกรรม ฝกทักษะการคิดและ การอภิปรายแสดงความคิดเห็น ฝกทักษะกระบวนการในการทํางานกลุม ฝกกระบวนการสืบคนขอมูล การคนควา เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห สังเคราะหขอมูลที่ไดโดยนํามาเขียนสรุปความรู้ และสงเสริม ปฏิสัมพันธอันดีระหวางครูกับนักเรียน นักเรียนกับนักเรียน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและ กัน มีการชวยเหลือกันระหวางนักเรียนเกงและนักเรียนที่ออน ตลอดจน การฝกตนเองใหมีวินัย และมี ความรับผิดชอบรวมกันในการทํางาน ครูแป๋วเองค่ะ


ง ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ 1. ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบเป็น คะแนน ก่อนเรียน 2. ทดสอบก่อนเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบเป็นคะแนน ก่อนเรียน 3. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด จำนวน 18 ชั่วโมง ตามลำดับโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตาม ขั้นตอนที่ระบุไว้ในแผนการจัดการเรียนรู้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ 3.1.ขั้นสร้างความสนใจ 3.1.1 เป็นการนำเข้าสู่บทเรียน หรือเรื่องที่สนใจ โดยการที่ครูและนักเรียนจะร่วมกัน อภิปราย และสนทนาถึงเรื่องที่จะศึกษา 3.1.2 โดยครูอาจจะทบทวนเนื้อหาที่เรียนแล้ว โดยการตั้งคำถามหรือกระตุ้นให้ นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา 3.2 ขั้นสำรวจและค้นหา 3.2.1 โดยให้นักเรียนทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษา 3.2.2 การวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจและค้นหาข้อมูลในเรื่องที่จะศึกษา 3.2.3 ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ในแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ 3.3 ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป 3.3.1 นำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ แปลผล และสรุปผล เช่น การบรรยายสรุป สร้างแบบจำลอง สร้างตารางสรุปผล


จ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3.4 ขั้นขยายความรู้ 3.4.1 การนำความรู้ที่สร้างขึ้น หรือความรู้ที่ใหม่ที่จะศึกษามาเชื่อมโยง และเพิ่มเติม จากความรู้เดิม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น เช่น การศึกษาจาก ใบความรู้ หรือเอกสารประกอบต่าง ๆ เพิ่มเติม 3.5 ขั้นประเมิน 3.5.1 การประเมินผลการเรียนการสอน เพื่อให้ทราบว่าผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ เช่น การสังเกตจากการอภิปรายภายในกลุ่ม การอภิปรายสรุปผลหน้าชั้นเรียน 3.5.2 ประเมินจากการปฏิบัติจากการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน เช่น การปฏิบัติ กิจกรรมการทดลอง 3.5.3 ตรวจผลงานจากทำบัตรกิจกรรมของนักเรียน 4. เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครบทั้ง 6 ชุดแล้ว ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนชุดเดิม จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง แล้วบันทึกคะแนนที่ได้จากการทดสอบเป็นคะแนนหลัง เรียน และแบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ชุดเดิม จำนวน 40 ข้อ ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 5. นักเรียนตอบแบบวัดจิตอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีตอการเรียนรูด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 30 ขอ


ฉ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร ส่วนประกอบคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร จำนวน 3 ชั่วโมง ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ 1. การเตรียมตัวล่วงหน้า 2. บทบาทและหน้าที่ของครู / บทบาทนักเรียน 3. การจัดชั้นเรียน 4. การประเมินผลการเรียนรู้ 5. เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู 6. แผนการจัดการเรียนรู้ 7. สื่อสิ่งพิมพ์ และเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวข้อง 8. อุปกรณ์การทดลองของแต่ละกิจกรรมในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง 9. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ ระบบนิเวศและความหลากหลายทาง ชีวภาพงแวดล้อม ชุดที่ 5 ประชากร 9.1 บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง ประชากร 9.2 บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร 9.3 บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 5.1 ประชากร 9.4 บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 9.5 บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม 9.6 เฉลยแนวคำตอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร


ช ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บทบาทและหน้าที่ของครู ครูมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ 1.ก่อนทำกิจกรรม 1.1 ศึกษาคู่มือครูเกี่ยวกับการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจก่อนทำ กิจกรรม 1.2 ศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้และขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ เข้าใจก่อนทำการสอน 1.3 ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจก่อนทำการสอน 1.4 ตรวจนับ ซ่อมแซมวัสดุอุปกรณ์ในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอต่อ จำนวนนักเรียน และพร้อมต่อการใช้งาน 1.5 จัดและแบ่งกลุ่มนักเรียน 2.ระหว่างทำกิจกรรม 2.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน 2.2 แนะนำให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมากที่สุด 2.3 ให้ความช่วยเหลือแนะนำและชี้แนะนักเรียนในระหว่างทำกิจกรรม 3. หลังทำกิจรรม 3.1 ประเมินผลการทำกิจกรรม 3.2 ตรวจ นับ ซ่อมแซมชุดกิจกรรมการเรียนการสอนและเก็บให้เรียบร้อย คุณครูเตรียมความ พร้อมนะคะ


ซ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บทบาทนักเรียน การจัดชั้นเรียน 1. ปฏิบัติกิจกรรมตามลำดับขั้นตอน อ่านคำชี้แจงจากบัตรคำสั่ง เพื่อจะได้ทราบว่าจะปฏิบัติ กิจกรรมอะไรและอย่างไร 2. พยายามทำแบบทดสอบ ตอบคำถาม อภิปรายกับเพื่อน ๆ ภายในกลุ่มเดียวกันเกี่ยวกับ เนื้อหาที่เรียนอย่างเต็มความสามารถ 3. มีวินัย มีความตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบ 4. เมื่อพบปัญหา หรือเกิดความสงสัยในเนื้อหาส่วนใดส่วนหนึ่ง สามารถขอรับคำปรึกษา หรือคำแนะนำจากครูได้ 5. ใช้อุปกรณ์อย่างระมัดระวัง ทำความสะอาด และเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยทุกครั้ง 6. ประเมินและปรับปรุงตนเองจากการทำกิจกรรมและแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ในการจัดชั้นเรียนขณะที่ใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์นักเรียนจะทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน จำนวนกลุ่มขึ้นอยู่กับจำนวนนักเรียนในชั้นเรียน เมื่อทำการสอบวัดผล สัมฤทธิ์หลังเรียน วัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ นักเรียนจะต้องแยกออกจากกันและ จัดห้องสอบเป็นรายบุคคล แผนผังการจัดชั้นเรียน โต๊ะครู กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่ อ่างน้ำ กระดานดำ +โทรทัศน์ ตู้ เก็บ เอก สาร ตู้สารเคมี กลุ่มที่ กลุ่มที่ กลุ่มที่ อ่าง ล้าง อุปกรณ์


ฌ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร การประเมินผลการเรียนรู้ เอกสารเสริมความรู้สำหรับครู 1. ประเมินจากผลงานนักเรียน 2. ประเมินผลจากทักษะกระบวนการ 3. ประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 4. ประเมินทักษะนักเรียนศตวรรษที่ 21 การอพยพ หมายถึง การอพยพของสัตว์ออกจากถิ่นเดิมชั่วคราว อันเนื่องมาจาก สภาพแวดล้อมทางกายภาพไม่เหมาะสม เช่น อากาศหนาวเย็น แหล่งที่อยู่เดิมมีหิมะหรือน้ำแข็งปก คลุมทำให้ขาดแคลนอาหาร ถึงย้ายถิ่นไปยังบริเวณที่อบอุ่นกว่า และจะอพยพกลับคืนถิ่นเดิมเมื่อ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น ในฤดูใบไม้ผลิ หรือฤดูร้อน โครงสร้างของกลุ่มอายุของประชากร ถ้ากำหนดให้ 1 = วัยก่อนสืบพันธุ์ 2 = วัยสืบพันธุ์ 3 = วัยหลังสืบพันธุ์ กรณีที่ 1 ถ้า 1 > 2 > 3 เป็นสัดส่วนต่างกันมาก ๆ แสดงว่าในอนาคตประชากรจะเพิ่มขั้น กรณีที่ 2 ถ้า 1 > 2 > 3 ต่างกันไม่มาก หรือ 1 = 2 > 3 แสดงว่าในอนาคตประชากรจะคงที่ กรณีที่ 3 ถ้า 1 < 2 > 3 แสดงว่าในอนาคตประชากรจะลดลง อยากให้คุณครู อ่านนะคะ


1 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรคำสั่งที่ 1 เรื่อง ประชากร คำชี้แจง : ให้นักเรียนศึกษาและปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้ 1. แบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มประมาณ 4-5 คน 2. ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมารับชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ระบบนิเวศและ ความหลากหลายทางชีวภาพ ชุดที่ 5 เรื่อง ประชากร และอุปกรณ์ จากครูผู้สอน 3. ศึกษาบัตรเนื้อหาที่ 1 เรื่อง ประชากร 4. ศึกษาบัตรกิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง ประชากร ปฏิบัติกิจกรรมดังนี้ 4.1 กำหนดบริเวณที่จะศึกษาประชากรสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น บัวบก หญ้าแห้ว หมูผักโขม หญ้าตีนกา เป็นต้น 4.2 ปักไม้และใช้เชือกขึงบริเวณดังกล่าว ให้ได้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร 4.3 วางกรอบนับประชากรขนาด 50 เซนติเมตร x 50 เซนติเมตร โดยสุ่มลงในพื้นที่ ที่ขึงเชือกไว้ นับจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตชนิดที่ต้องการศึกษาที่อยู่ในกรอบ ทำเช่นนี้ 5 บริเวณใน พื้นที่ที่กำหนดไว้ บันทึกผล 4.4 คำนวณหาจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่เลือกศึกษาในพื้นที่ 5 ตารางเมตร 4.5 คำนวณหาความหนาแน่นของประชากรที่เลือกศึกษาในพื้นที่ 5 ตารางเมตร 5. นำผลการปฏิบัติกิจกรรมของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบกันว่าผลเหมือนหรือแตกต่างกัน อย่างไร แล้วอภิปรายผล ร่วมกัน 6. นักเรียนแต่ละกลุ่มทำบัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ 7. แต่ละกลุ่มนำอุปกรณ์และชุดกิจกรรมที่อยู่ในสภาพเรียบร้อยส่งครูผู้สอน


2 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร 1. ประชากร (Population) ในบริเวณหนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิด เดียวกัน อยู่ในที่เดียวกัน ในช่วงเวลาหนึ่งเราเรียกว่า ประชากร (Population) มดในรัง ปลาทูในทะเล ไก่ในเล้า ดอกดาวเรืองในทุ่ง ภาพประกอบ ประชากรสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่ต่างๆ ที่มา : http://ryugu.exteen.com/20100125/photo http://www.bsnnews.com/news/index.php?NewsID=2354 วันเข้าถึงข้อมูล 28 พฤษภาคม 2563 ประชากร = สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน + สถานที่ + เวลา ประชากร คือ คำถาม กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยและแพร่พันธุ์อยู่ในสถานที่เดียวกัน ในช่วยเวลาหนึ่ง คำตอบ


3 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร การคำนวณหาจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง สามารถคำนวณได้จากสูตร ดังต่อไปนี้ จำนวนประชากรทั้งหมด = = ตัวอย่าง ในการหาจำนวนประชากรมดในพื้นที่ 5 ตารางเมตร โดยใช้กรอบขนาด 50 x50 เซนติเมตร วางสำรวจ 5 แห่ง ได้ข้อมูลดังนี้ 3 , 4 , 2 , 1 และ 3 ตัว ตามลำดับ จงหาจำนวนประชากรทั้งหมดของมดในพื้นที่ 5 ตารางเมตร วิธีทำ จำนวนประชากรมด = = = = 52 ตัว ตอบ ดั้งนั้นจำนวนประชากรของมด เท่ากับ 52 ตัว พื้นที่ทั้งหมด x จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่นับได้ทั้งหมด พื้นที่ที่นับจำนวนประชากร 5 x (3 + 4 + 2 + 1 + 3) 0.5 x 0.5 x 5 5 x 13 0.5 x 0.5 x 5 65 1.25 ความหนาแน่นของประชากร คือ คำถาม สัดส่วนของจำนวนประชากรทั้งหมดที่อาศัยอยู่บริเวณหนึ่งกับพื้นที่หรือ ปริมาตรที่ประชากรเหล่านั้นอาศัยอยู่ คำตอบ


4 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร 2. ความหนาแน่นของประชากร ในธรรมชาติ จำนวนประชากรคือขนาดของประชากรที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ ในแต่ละ ช่วงเวลา จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากมีการเพิ่มและลดจำนวนซึ่งเป็นผลจากการเกิดและการ ตาย สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรอาจเป็นผลของการอพยพเข้า และอพยพออกด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้สัดส่วนระหว่างจำนวนประชากรกับพื้นที่ที่ประชากร อาศัยอยู่ ซึ่งเรียกว่า ความหนาแน่นของประชากร เปลี่ยนแปลงไป การคำนวณหาความหนาแน่นของประชากร สามารถคำนวณได้จากสูตรดังต่อไปนี้ ความหนาแน่นของประชากร = หน่วยของความหนาแน่น ใช้หน่วยจำนวน / หน่วยพื้นที่หรือปริมาตร 1. ใช้หน่วยพื้นที่ ถ้าประชากรอยู่บนพื้นดิน หรือผิวน้ำ เช่น ประชากรหญ้า ต้นเต็ง วัว ควาย เสือ หอย ฯลฯ (อยู่บนพื้นดิน) หรือประชากรผักตบชวา จอก แหน ฯลฯ (อยู่ผิวน้ำ) 2. ใช้หน่วยปริมาตร ถ้าประชากรอยู่ในน้ำ เช่น กุ้ง ปลา แบคทีเรีย ฯลฯที่อยู่ในน้ำ จำนวนประชากร พื้นที่หรือปริมาตร การหาความหนาแน่นของประชากร กระทำได้กี่ลักษณะอะไรบ้าง คำถาม


5 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร ตัวอย่าง ในพื้นที่สวนแห่งหนึ่งมีพื้นที่ 400 ตารางเมตร ปลูกต้นกล้วยไว้ 200 ต้น ใน สวนแห่งนี้มีความหนาแน่นของประชากรเป็นเท่าใด วิธีทำ ความหนาแน่ของประชากร = = 0.5 ต้น/ตารางเมตร ตอบ ดั้งนั้นความหนาแน่นของประชากรต้นกล้วย เท่ากับ 0.5 ต้น/ตารางเมตร การหาความหนาแน่นของประชากร กระทำได้ 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ 1. การหาความหนาแน่นที่แท้จริง คือ การหาความหนาแน่นโดยสามารถนับจำนวน ประชากรได้ทั้งหมด 2. การหาความหนาแน่นสัมพัทธ์ คือ การหาความหนาแน่นโดยไม่สามารถนับจำนวน ประชากรได้ทั้งหมดจริงๆ การหาความหนาแน่นที่แท้จริงของประชากร เช่น 1. การนับจำนวนประชากรทั้งหมด เป็นวิธีหาค่าความหนาแน่นของประชากรที่มีอยู่ทั้งหมด ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง 2. การสุ่มตัวอย่าง เป็นวิธีหาความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่หนึ่งๆ โดยเก็บตัวอย่าง แบบสุ่ม แล้วนับตัวอย่างทั้งหมดซึ่งจะมีจำนวนเพียงเล็กน้อยจากประชากรทั้งหมด จากตัวอย่างที่สุ่ม มาสามารถใช้คำนวณหาความหนาแน่นของประชากรทั้งหมดได้ที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ 2.1 การใช้ควอแดรท คือพื้นที่ที่จะทำการเก็บตัวอย่าง นิยมทำเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสเก็บ ตัวอย่างมาจากหลายๆ ควอแดรทแล้วนับจำนวนทั้งหมด ค่าความหนาแน่นที่ได้จะถูกต้องเพียงใด ขึ้นอยู่กับ - ทราบพื้นที่แน่นอนของควอแดรท - นับจำนวนทั้งหมดในแต่ละควอแดรทได้ถูกต้อง - ตัวอย่างที่เก็บมาต้องเป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชากรในพื้นที่นั้นทั้งหมด ซึ่ง กระทำได้โดยการเก็บตัวอย่างแบบสุ่ม 200 400 2 ลักษณะ ได้แก่หารหาความหนาแน่นที่แท้จริง และความหนาแน่น สัมพัทธ์ คำตอบ


6 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร 2.2 การทำเครื่องหมายติดปล่อยไปแล้วจับมาใหม่ วิธีนี้นิยมใช้กับสัตว์โดยสุ่มตัวอย่างสัตว์มาแล้ว นำมาติดเครื่องหมายทั้งหมดจึงปล่อยไปยังแหล่งที่อยู่ หลังจากนั้นทำการจับสัตว์กลับมาใหม่อีกครั้ง หนึ่ง ซึ่งจะมีทั้งสัตว์ที่ติดเครื่องหมาย และไม่ได้ติดเครื่องหมายมาคำนวณหาจำนวนประชากรจากสูตร จำนวนประชากรทั้งหมด = วิธีนี้มีข้อกำหนดว่า - สัตว์ที่ติดเครื่องหมายและไม่ติดเครื่องหมายต้องมีโอกาสถูกจับได้เท่าๆ กัน - เครื่องหมายที่ติดไว้จะต้องไม่หลุด หรือมองเห็นได้ยาก - ถ้าหากประชากรมีการตายเกิดขึ้น สัตว์ที่ติดเครื่องหมายและไม่มีติดเครื่องหมายต้อง มีโอกาสตายเท่ากัน จำนวนประชากรตัวอย่างที่จับได้ x จำนวนประชากรที่ติดเครื่องหมายทั้งหมด จำนวนประชากรติดเครื่องหมายที่จับได้ การสุ่มตัวอย่างประชากรที่นิยมใช้มี 2 วิธีได้แก่ คำถาม


7 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร 3. ขนาดของประชากร ขนาดของประชากร หมายถึง จำนวนของประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่กำหนด การหา ขนาดของประชากรมักใช้การสุ่มตัวอย่างถ้าประชากรมีมากเกินไป การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร จะเกิดขึ้นอยู่เสมอ ตัวกำหนดความหนาแน่นของ ประชากรที่มีผลทำให้ขนาดของประชากรเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1. การเกิด คือความสามารถในการเพิ่มจำนวนประชากรให้มีมากขึ้น โดยวิธีการต่างๆ เช่น การแบ่งเซลล์ การงอกใหม่ การคลอด การงอก ฯลฯ จำนวนประชากรที่เกิดใหม่เมื่อเทียบกับ จำนวนที่มีอยู่เดิมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เรียกว่าอัตราการเกิด อัตราการเกิด = 2. การตาย คือ ปรากฏการณ์ที่สิ่งมีชีวิตสิ้นสุดสุดการดำรงชีพ อันมีผลทำให้จำนวน ประชากรลดลง จำนวนประชากรที่ตายไปนี้ เมื่อเทียบกับจำนวนที่มีอยู่เดิมในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ เรียกว่าอัตราการตาย อัตราการตาย = 3. การอพยพเข้า เป็นการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้ามาอยู่ในแหล่งที่อยู่ใหม่ในที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ย้ายออกไป มีผลทำให้ขนาดประชากรเพิ่มขึ้น 4. การอพยพออก เป็นการเคลื่อนย้ายของประชากรออกจากแหล่งที่อยู่เดิม โดยไม่ กลับมาอีก ซึ่งมีผลทำให้ขนาดของประชากร ณ ที่เดิมลดลง อัตราการเติบโต = อัตราการเกิด – อัตราการตาย + อัตราการอพยพเข้า – อัตราการอพยพออก จำนวนประชากรที่เกิดใหม่ x 100 จำนวนประชากรเดิม จำนวนประชากรที่ตาย x 100 จำนวนประชากรเดิม 7 การใช้ควอแดรท และการทำเครื่องหมายติดปล่อยแล้วจับมาใหม่ คำตอบ อัตราการเกิด คือ คำถาม


8 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร ดังนั้นความหนาแน่นของประชากรจะเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับ ตัวกำหนดความหนาแน่น 1 ประการดังกล่าว ดังแสดงในแผนภาพ ทางกายภาพโดยอาศัยพลังงานจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น โครงสร้างของกลุ่มอายุของประชากร โครงสร้างของกลุ่มอายุของประชากร หมายถึง จำนวนประชากรในช่วงอายุต่างๆ กันเป็น คุณลักษณะสำคัญที่มีอิทธิพลต่ออัตราการเกิดและการตาย หรือการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร แบ่งเป็น 3 ระยะ 1. ระยะก่อนสืบพันธุ์ คือกลุ่มประชากรที่อยู่ในระยะที่ไม่สืบพันธุ์ และให้กำเนิดประชากร ไม่ได้ มีอายุอยู่ในช่วง 1-14 ปี 2. ระยะสืบพันธุ์ คือกลุ่มประชากรที่อยู่ในระยะสืบพันธุ์ และให้กำเนิดประชากรหน่วยใหม่ ได้ มีอายุในช่วย 15-44 ปี 3. ระยะหลังสืบพันธุ์ คือกลุ่มประชากรที่ผ่านระยะสืบพันธุ์มาแล้ว มีอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไป จนสิ้นอายุขัย โครงสร้างของประชากรทั้ง 3 ดังกล่าวสามารถแสดงออกมาเป็นพีระมิด (Age pyramid) ได้ 3 แบบ และจะเป็นเครื่องช่วยทำนายแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประชากรในอนาคตว่าจะ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ดังนี้ จำนวนประชากรที่เกิดใหม่เมื่อเทียบกับจำนวนที่มีอยู่เดิมในช่วง ระยะเวลาหนึ่ง คำตอบ การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากรระยะสืบพันธุ์หมายถึง คำถาม


9 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรความรู้ที่ 1 เรื่อง ประชากร ก. ประชากรอยู่ในระยะก่อนสืบพันธ์มากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับระยะอื่นๆ เมื่อแสดงเป็นรูป พีระมิด จะมีฐานกว้าง ทำนายได้ว่าต่อไปในอนาคต ประชากรจะขยายตัวเพิ่มขึ้น เพราะมี อัตราการเกิดสูงกว่าอัตราการตาย เช่น พบในประเทศไทย ข. ถ้าประชากรอยู่ในระยะก่อนสืบพันธุ์มากพอๆ กับในระยะสืบพันธุ์ หรือมากกว่าเล็กน้อย เมื่อแสดงเป็นรูปพีระมิดจะมีฐานไม่กว้างมาก ทำนายได้ว่าต่อไปในอนาคต ประชากรจะคงที่เพราะ อัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำเท่าๆ กับอัตราการตาย ซึ่งการคุมกำเนินได้ผลดี ค. ถ้าประชากรอยู่ในระยะก่อนสืบพันธุ์มีจำนวนน้อยกว่าระยะสืบพันธุ์ เมื่อแสดงรูปพีระมิดจะ มีฐานแคบ ทำนายได้ว่าต่อไปในอนาคต ประชากรจะลดลง เนื่องจากอัตราการเกิดต่ำกว่าอัตรา การตาย ซึ่งแสดงภาวะที่ประชากรมีการคุมกำเนินอย่างได้ผลยิ่ง กลุ่มประชากรที่อยู่ในระยะสืบพันธุ์ และให้กำเนิดประชากรหน่วยใหม่ได้ มีอายุในช่วย 15 - 44 ปี คำตอบ


10 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 4.1 การประมาณจำนวนประชากร สาระสำคัญ ในบริเวณหนึ่งๆ สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิด เดียวกัน อยู่ในที่เดียวกัน ในช่วงเวลาหนึ่งเราเรียกว่า ประชากร (Population) ในธรรมชาติ จำนวนประชากรคือขนาดของประชากรที่อาศัยอยู่ในแต่ละบริเวณ ในแต่ละ ช่วงเวลา จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เนื่องจากมีการเพิ่มและลดจำนวนซึ่งเป็นผลจากการเกิดและการ ตาย สำหรับสิ่งมีชีวิตที่เคลื่อนที่ได้ การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรอาจเป็นผลของการอพยพเข้า และอพยพออกด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้สัดส่วนระหว่างจำนวนประชากรกับพื้นที่ที่ประชากร อาศัยอยู่ ซึ่งเรียกว่า ความหนาแน่นของประชากร เปลี่ยนแปลงไป จุดประสงค์กิจกรรม 1. เพื่อสำรวจประชากรโดยใช้กรอบนับประชากร 2. เพื่อคำนวณหาจำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากร อุปกรณ์ 1. กรอบนับประชากรขนาด 0.5x0.5 เมตร ข้อแนะนำก่อนทำกิจกรรม 1. ให้นักเรียนร่วมกันวางแผนการสำรวจโดยเลือกบริเวณภายในโรงเรียนหรือบริเวณใกล้เคียง เช่น สนามหลังโรงเรียน ใต้ต้นไม้ โดยภายในบริเวณที่สำรวจไม่ควรมีพืชขึ้นอยู่มากเกินไป เพื่อสะดวกในการนับจำนวน 2. ตัวอย่างพืชที่ศึกษาควรเป็นพืชที่มีขนาดเล็ก เช่น ใบบัวบก ผักโขม หญ้าแห้วหมู หญ้าตีนกา โดยแต่กลุ่มเลือกศึกษากลุ่มละ 1 ชนิด


11 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 4.1 การประมาณจำนวนประชากร 3. ในการสุ่มตัวอย่างเพื่อไม่ให้เกิดความลำเอียง แต่ละกลุ่มควรมีโอกาสได้รับการเลือกเท่าๆ กัน ซึ่งอาจสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการดังนี้ 3.1 เขียนแผนผังของที่ดินบริเวณศึกษาลงในกระดาษ 3.2 แบ่งพื้นที่ที่ต้องการศึกษาออกเป็นตารางเล็กๆ โดยหนึ่งตารางแทนพื้นที่ 4 1 ตารางเมตร ซึ่งเท่ากับขนาดจองกรอบนับประชากร 3.3 เขียนหมายเลขลงไปในแต่ละตาราง 3.4 ให้นักเรียนหลับตาและใช้ดินสอหรือปากกาชี้ลงไปในแผนผัง 5 ครั้ง โดยไม่ให้ ช่องซ้ำกัน ถ้าซ้ำกันต้องทำใหม่ให้ได้ 5 หมายเลข จากนั้นให้ใช้พื้นที่ตามหมายเลขที่ สุ่มได้ในการวางกรอบนับประชากรเพื่อนับจำนวนต้นพืช วิธีทำกิจกรรม 1. กำหนดบริเวณที่จะศึกษาประชากรสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่นบัวบก หญ้าแห้วหมู ผักโขม หญ้าตีนกา เป็นต้น 2. ปักไม้และใช้เชือกขึงบริเวณดังกล่าว ให้ได้พื้นที่ประมาณ 5 ตารางเมตร 3. วางกรอบนับประชากรขนาด 50 เซนติเมตร x 50 เซนติเมตร โดยสุ่มลงในพื้นที่ที่ขึง เชือกไว้ นับจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตชนิดที่ต้องการศึกษาที่อยู่ในกรอบ ทำเช่นนี้ 5 บริเวณในพื้นที่ที่กำหนดไว้ บันทึกผล 4. คำนวณหาจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่เลือกศึกษาในพื้นที่ 5 ตารางเมตร 5. คำนวณหาความหนาแน่นของประชากรที่เลือกศึกษาในพื้นที่ 5 ตารางเมตร


12 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร แบบรายงานผลการทำกิจกรรมกลุ่ม กลุ่ม กิจกรรมที่ 5.1 เรื่อง ประชากร สมาชิกในกลุ่มที่ ............ 1) .....................................................เลขที่.......... 2) ....................................................เลขที่.......... 3) .....................................................เลขที่.......... 4) ....................................................เลขที่.......... 5) .....................................................เลขที่.......... 6) ....................................................เลขที่.......... บันทึกผลการทดลอง วันที่สำรวจ บริเวณที่สำรวจ ประชากรพืชที่ สำรวจ จำนวนพืชที่สุ่มแต่ละครั้ง (ต้น) 1 2 3 4 5 สรุปผลการทดลอง ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………..…………………………………………………………………………………………………………………………. .…………………………………………………………………………………………………………………………………………..… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………..…………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………


13 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร คำถามท้ายกิจกรรม 1. ประชากรที่นักเรียนศึกษาคือสิ่งมีชีวิตใด ……………………………………………………………………………………………………….………………………………. 2. จำนวนของประชากรที่นักเรียนศึกษามีจำนวนเท่าใด (ให้แสดงวิธีการคำนวณหาจำนวนประชากร โดยละเอียด) …………………..………………………………………………………………………………………………………………….. ………..…………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………..……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………..……………………………………………………………………………….. ………………………………………….…………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………. .........................................................………………………………………………………………………………….. 3. ความหนาแน่นของประชากรที่นักเรียนศึกษาเป็นเท่าใดเท่าใด (ให้แสดงวิธีการคำนวณหาความ หนาแน่นของจำนวนประชากร) …………………..………………………………………………………………………………………………………………….. ………..…………………………………………………………………………………………………………………………….. ……………..……………………………………………………………………………………………………………………….. ………………………………………………………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………..……………………………………………………………………………….. ………………………………………….…………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. เมื่อเวลาเปลี่ยนไป นักเรียนคาดว่าจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่นักเรียนศึกษา จะมีการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เกิดจากปัจจัยใดบ้าง ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... ..................................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................


14 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 ชื่อ-สกุล....................................................................กลุ่มที่.................ชั้น/ห้อง.................... 1. ประชากร หมายถึง ………………………………............................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 2. จงยกตัวอย่างประชากร กลุ่มสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศลง 2 ตัวอย่าง ประชากร…………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………… กลุ่มสิ่งมีชีวิต……………………………………………………………………………………………………………… ระบบนิเวศ……………………………………………………………………………………………………………….. 3. สาเหตุใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดประชากร ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 4. นักเรียนคิดว่าจะควบคุมการเพิ่มขนาดของประชากรได้อย่างไร ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 5. นับไก่ในเล้าได้24 ตัว ซึ่งเล้าที่เลี้ยงไก่มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ความหนาแน่นของ ประชากรไก่ในเล้า เท่ากับเท่าใด ……………………………………………………................................................................................................... ……………………………………………………................................................................................................... ................................................................................................................................................................ ……………………………………………………...................................................................................................


15 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 6. ตำบลหนึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 6,820 คน ในปีที่ผ่านมา มีผู้ย้ายเข้า 27 คน มีผู้เสียชีวิต 21 คน และมีเด็กเกิดใหม่38 คน ในปีที่ผ่านมามีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ……………………………………………………................................................................................................... ……………………………………………………................................................................................................... ................................................................................................................................................................ ……………………………………………………................................................................................................... 7. บ้านหลังหนึ่งมีสัตว์เลี้ยงดังนี้ สุนัข 7 ตัว แมว 5 ตัว นก 10 ตัว ต่อมา แมวออกลูก ทั้งหมด 9 ตัว มีคนมาขอสัตว์ไปเลี้ยง 10 ตัว รถเหยียบตาย 2 ตัว อยากทราบว่าประชากรสัตว์ ในบ้านหลังนี้เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ ……………………………………………………................................................................................................... ................................................................................................................................................................ ................................................................................................................................................................ 8. จากพีระมิด ให้นักเรียนคาดคะเนแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประชากรในอนาคตว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไร …………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………. ……………………………………………………………………………………………. 9. จาการสำรวจต้นกล้วยที่ไร่แห่งหนึ่ง พบว่า มีต้นที่กำลังตกปลี 320 ต้น ต้นที่ตัดเครือแล้ว 740 ต้น และหน่อที่กำลังแทงพื้นดิน 850 ต้น แผนภูมิอายุรูปพีระมิดของต้นกล้วย 10. ฟาร์มโคนมแห่งหนึ่งมีวัวกำลังให้นม 645 ตัว แม่วัวแก่ 263 ตัว ลูกวัว 380 ตัว แผนภูมิอายุรูปพีระมิดของโคนมจะเป็นอย่างไร


16 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่เห็นว่าถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วเขียนเครื่องหมาย ลงในช่องตัวเลือกในกระดาษคำตอบ 1. ข้อมูลในข้อใดที่ให้ความหมายของประชากรถูกต้องที่สุด ก. ในปี พ.ศ. 2553 มีนักเรียนชายในโรงเรียน ก. 1,500 คน ข. มะม่วงในสวนของนายแดง มี 350 ต้น ค. เมื่ออาทิตย์ที่แล้วมีรถจอดหน้าโรงเรียน ก. 250 คัน ง. ในเดือนกันยายน ในบ้านของเด็กหญิงสา มีหนูและแมลงสาบอย่างละ 20 ตัว 2. ข้อใดต่อไปนี้สามารถหาความหนาแน่นของประชากรได้ โดยการนับโดยตรง ก. เอาเนื้อปลาใส่ขวด ทิ้งไว้จนเน่ามีหนอนจำนวนมาก ข. ในจอมปลวกขนาดใหญ่มีปลวกจำนวนมาก ค. ในสนามหญ้าหน้าบ้านมีต้นชมพู่ 2 ต้น ต้นลำไย 3 ต้น ง. ตู้เลี้ยงปลาขนาด 5 ลิตร มีปลาหางนกยูง 15 คู่ 3. ข้อใดถูกต้องที่สุด ตามหลักการของประชากร ก. ประชากรจะเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมไร้ชีพ ข. ประชากรจะเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อมมีชีพ ค. ประชากรจะเปลี่ยนแปลงตามโครงสร้างอายุของประชากร ง. ประชากรจะเปลี่ยนแปลงตามเวลา 4. สิ่งมีชีวิตกลุ่มใด สามารถใช้หน่วยประชากรในรูปของจำนวน/ปริมาตร ก. นก ไส้เดือนดิน ข. ไรแดง ไรทะเล ค. ปูนา แมงดาทะเล ค. หอยขม งูดิน 5. ในสวนเงาะแห่งหนึ่งมีพื้นที่ 20 ไร่ มีเงาะ 300 ต้น มีความหนาแน่นของประชากรต้นเงาะเท่าใด ก. 20 ต้น / ไร่ ข. 15 ต้น / ไร่ ค. 10 ต้น / ไร่ ง. 5 ต้น / ไร่ Key code: 2509knqih9v ชุดที่ 5 ประชากร


17 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรแบบทดสอบท้ายกิจกรรม 6. ในการสำรวจปลาในสระน้ำแห่งหนึ่ง พบว่าครั้งแรกจับปลามาติดเครื่องหมาย 50 ตัว แล้ว ปล่อยไป เมื่อจับปลาขึ้นมาใหม่หลังจากจับปลาครั้งแรก 1 เดือน พบว่า จับมา 50 ตัว มีปลาที่ มีเครื่องหมาย 4 ตัว ทั้งสระน้ำจะมีปลาประมาณกี่ตัว ก. 125 ข. 225 ค. 425 ง. 625 7. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นของประชากร ก. อัตราการเกิด ข. อัตราการตาย ค. อัตราการแก่ ง. อัตราการอพยพ 8. ประชากรไทยปัจจุบันมีโครงสร้างของประชากรที่กำลังเพิ่มตามหลักพีระมิดอายุ จะพบว่า ช่วงอายุของประชากรจะเป็นอย่างไร ก. ระยะสืบพันธุ์มีน้อยที่สุด ข. ระยะหลังสืบพันธุ์มากกว่าระยะสืบพันธุ์ ค. ระยะสืบพันธุ์มากกว่าระยะก่อนสืบพันธุ์ ง. ระยะก่อนสืบพันธุ์มากกว่าระยะสืบพันธุ์ 9. ในการสำรวจประชากรวัวป่าแห่งหนึ่ง บริเวณที่ราบทุ่งหญ้าที่กว้างใหญ่ จำเป็นที่จะต้องใช้ เครื่องบินถ่ายภาพ การวิเคราะห์ภาพถ่ายดังกล่าว จะให้รายละเอียดของข้อมูลใดได้น้อยที่สุด ก. การเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร ข. ความหนาแน่นของประชากร ค. โครงสร้างของฝูง ง. รูปแบบการรวมฝูงและการกระจายของแต่ละฝูง 10. ประชากรของประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะมีขนาดเพิ่มขึ้น เมื่อทำพีระมิดอายุแล้ว จะพบว่าเป็น อย่างไร ก. มีประชากรอยู่ในวัยที่เป็นภาระของประเทศน้อยที่สุด ข. มีประชากรอยู่ในวัยที่เป็นภาระของประเทศมากที่สุด ค. มีประชากรอยู่ในวัยที่รับภาระของประเทศมากที่สุด ง. มีประชากรอยู่ในวัยที่รับภาระของประเทศน้อยที่สุด ชุดที่ 5 ประชากร


18 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรเฉลยกิจกรรมกลุ่ม กิจกรรมที่ 5.1 ประชากร แบบรายงานผลการทำกิจกรรมกลุ่ม ตัวอย่างบันทึกผลการสำรวจ (อยู่ในดุลยพินิจของครูผู้สอน ) บันทึกผลการทดลอง วันที่สำรวจ บริเวณที่สำรวจ ประชากรพืชที่ สำรวจ จำนวนพืชที่สุ่มแต่ละครั้ง (ต้น) 1 2 3 4 5 (ให้ระบุวันเดือนปี ที่สำรวจจริง) สนามหลังโรงเรียน หญ้าแห้วหมู 10 5 20 15 2 สรุปผลการทำกิจกรรม การประมาณจำนวนประชากรสามารถทำได้โดยการสุ่มตัวอย่างในพื้นที่บางส่วน แล้วนำมา คำนวณจำนวนประชากรที่มีอยู่ในพื้นที่ทั้งหมด แนวคำตอบ แนวคำตอบ


19 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม กลุ่ม 1. ประชากรที่นักเรียนศึกษาคือสิ่งมีชีวิตใด หญ้าแห้วหมู , มด , แมลง , ใบบัวบก (ขึ้นอยู่กับบริเวณที่นักเรียนสำรวจ) 2. จำนวนของประชากรที่นักเรียนศึกษามีจำนวนเท่าใด (ให้แสดงวิธีการคำนวณหาจำนวนประชากร โดยละเอียด) จากผลการสำรวจประชากรบริเวณสวนหลังโรงเรียนสมารถ คำนวณหาจำนวนประชากรได้ดังนี้ จำนวนประชากรทั้งหมด = = วิธีทำ จำนวนประชากรมด = = = = 208 ต้น ตอบ ดั้งนั้นจำนวนประชากรของหญ้าแห้วหมู เท่ากับ 208 ต้น พื้นที่ทั้งหมด x จำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่นับได้ทั้งหมด พื้นที่ที่นับจำนวนประชากร 5 x (10 + 5 + 20 + 15 + 2) 0.5 x 0.5 x 5 5 x 52 0.5 x 0.5 x 5 260 1.25 แนวคำตอบ แนวคำตอบ


20 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร เฉลยคำถามท้ายกิจกรรม กลุ่ม 3. ความหนาแน่นของประชากรที่นักเรียนศึกษาเป็นเท่าใดเท่าใด (ให้แสดงวิธีการคำนวณหา ความหนาแน่นของจำนวนประชากร) จากผลการสำรวจประชากรบริเวณสวนหลังโรงเรียนสมารถ คำนวณหาความหนาแน่นของประชากรในพื้นที่ 5 ตารางเมตร ได้ดังนี้ ความหนาแน่นของประชากร = วิธีทำ ความหนาแน่ของประชากร = = 41.6 ต้น/ตารางเมตร ตอบ ดั้งนั้นความหนาแน่นของประชากรหญ้าแห้วหมู เท่ากับ 41.6 ต้น/ตารางเมตร 4. เมื่อเวลาเปลี่ยนไป นักเรียนคาดว่าจำนวนประชากรสิ่งมีชีวิตที่นักเรียนศึกษา จะมีการ เปลี่ยนแปลงหรือไม่ เกิดจากปัจจัยใดบ้าง เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนประชากรอาจมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าเกิดน้ำท่วม ฝนแล้ง อาจทำให้ประชากรของพืชมีจำนวน น้อยลงหรือตายหมด ถ้าพืชได้รับความชื้นและธาตุอาหารที่ เหมาะสม พืชจะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้น เป็นต้น จำนวนประชากร พื้นที่หรือปริมาตร 208 5 แนวคำตอบ แนวคำตอบ


21 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรเฉลยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 1. ประชากร หมายถึง กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดเดียวกัน อยู่ในที่เดียวกัน ในช่วงเวลาหนึ่ง 2. จงยกตัวอย่างประชากร กลุ่มสิ่งมีชีวิต และระบบนิเวศลง 2 ตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ - ประชากรของคนกรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2552 - ประชากรต้นกุหลาบที่สวนนาย ก เมื่อเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553 กลุ่มสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปูและหอยริมหนองน้ำ , นกเอี้ยงกับควายในทุ่งนา ระบบนิเวศ ได้แก่ แนวปะการัง ป่าชายเลน 3. สาเหตุใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของขนาดประชากร การเกิด การตาย การอพยพเข้า การอพยพออก 4. นักเรียนคิดว่าจะควบคุมการเพิ่มขนาดของประชากรได้อย่างไร ควบคุมการเกิดและการอพยพเข้า 5. นับไก่ในเล้าได้24 ตัว ซึ่งเล้าที่เลี้ยงไก่มีขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ความหนาแน่นของ ประชากรไก่ในเล้า เท่ากับเท่าใด ความหนาแน่นของประชากร = วิธีทำ ความหนาแน่ของประชากร = = 3 ตัว/ตารางเมตร ตอบ ดั้งนั้นความหนาแน่นของประชากรไก่ในเล้า เท่ากับ 3 ตัว/ตารางเมตร จำนวนประชากร พื้นที่หรือปริมาตร 24 2 x 4 แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ


22 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรเฉลยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 6. ตำบลหนึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ 6,820 คน ในปีที่ผ่านมา มีผู้ย้ายเข้า 27 คน มีผู้เสียชีวิต 21 คน และมีเด็กเกิดใหม่38 คน ในปีที่ผ่านมามีจานวนประชากรเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด ประชากรเพิ่ม อัตราการเกิด + อัตราการอพยพเข้า = 38 + 27 = 65 ประชากรลด อัตราการตาย + อัตราการอพยพออก = 21 + 0 = 21 ดังนั้นในปีที่ผ่านมาจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอัตราการเกิดและอัตราการ อพยพเข้ามีจำนวนมากกว่าอัตราการตายและอัตราการอพยพออก 7. บ้านหลังหนึ่งมีสัตว์เลี้ยงดังนี้ สุนัข 7 ตัว แมว 5 ตัว นก 10 ตัว ต่อมา แมวออกลูก ทั้งหมด 9 ตัว มีคนมาขอสัตว์ไปเลี้ยง 10 ตัว รถเหยียบตาย 2 ตัว อยากทราบว่าประชากรสัตว์ ในบ้านหลังนี้เพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ ประชากรเพิ่ม อัตราการเกิด + อัตราการอพยพเข้า = 9 + 0 = 9 ประชากรลด อัตราการตาย + อัตราการอพยพออก = 2 + 10 = 12 ดังนั้นประชากรสัตว์ในบ้านหลังนี้ลดลงเนื่องจากอัตราการเกิดและอัตราการอพยพเข้า น้อยกว่าอัตราการตายและอพยพออก 8. จากพีระมิด ให้นักเรียนคาดคะเนแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบประชากรในอนาคตว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไร ประชากรอยู่ในระยะก่อนสืบพันธุ์มากพอๆ กับในระยะ สืบพันธุ์ หรือมากกว่าเล็กน้อย เมื่อแสดงเป็นรูปพีระมิด จะมีฐานไม่กว้างมาก ทำนายได้ว่าต่อไปในอนาคต ประชากรจะคงที่เพราะอัตราการเกิดอยู่ในระดับต่ำเท่าๆ กับอัตราการตาย แนวคำตอบ แนวคำตอบ แนวคำตอบ


23 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรเฉลยแบบฝึกเสริมการเรียนรู้ที่ 1 9. จาการสำรวจต้นกล้วยที่ไร่แห่งหนึ่ง พบว่า มีต้นที่กำลังตกปลี 320 ต้น ต้นที่ตัดเครือแล้ว 740 ต้น และหน่อที่กำลังแทงพื้นดิน 850 ต้น แผนภูมิอายุรูปพีระมิดของต้นกล้วย 10. ฟาร์มโคนมแห่งหนึ่งมีวัวกำลังให้นม 645 ตัว แม่วัวแก่ 263 ตัว ลูกวัว 380 ตัว แผนภูมิอายุรูปพีระมิดของโคนมจะเป็นอย่างไร


24 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บัตรเฉลยแบบทดสอบท้ายกิจกรรม 1. ก 2. ง 3. ค 4. ข 5. ข 6. ง 7. ค 8. ง 9. ก 10. ข บัตรเฉลยแบบทดสอบท้ายกิจกรรม ชุดที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม


ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บรรณานุกรม ถนัด ศรีบุญเรือง และคณะ. หนังสือเรียน สาระการเรียนรู้พื้นฐาน วิทยาศาสตร์ ม.๓. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2553. . สัมฤทธิ์มาตรฐานวิทยาศาสตร์ ม.3 เล่ม 1กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2553. บัญชา แสนทวี และคณะ. ว 411 วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช, 2547. ประดับ นาคแก้ว และคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม.3 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : แม็ค, 2548. ปรีชา สุวรรณพินิจ และคณะ. ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ม.3. กรุงเทพฯ : ฐานบัณฑิต, มปป. พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์ ม.3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) จำกัด, 2548. ราชบัณฑิตสถาน. ศัพท์วิทยาศาสตร์ อังกฤษ -ไทย ไทย – อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 5 (แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546. วิชาญ เลิศลพ และคณะ. กิจกรรมวิทยาศาสตร์ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) ครบทุกสาระ. กรุงเทพฯ : ประสานมิตร, 2545. ศรีลักษณ์ ผลวัฒนะ และคณะ. สื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างทักษะตามมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม.3 ช่วงชั้นที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิยมวิทยา, 2548. . วิทยาศาสตร์ พันธุกรรมและความหลากหลายของสิ่งมีชิวิตช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3). กรุงเทพฯ : นิยมวิทยา, 2547 ศึกษาธิการ, กระทรวง, กรมวิชาการ. การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว, 2546. ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2563.


26 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร บรรณานุกรม (ต่อ) ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, สถาบัน.คู่มือครูหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เล่ม 2 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2563. . บทเรียนออนไลน์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี ตามมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.ค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2563. จาก https://proj14.ipst.ac.th/ สสวท. พจนานุกรม วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2563. จาก http://escivocab.ipst.ac.th/index.php?


27 ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 5 ประชากร


Click to View FlipBook Version