The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by dekman.ak007, 2022-03-03 02:05:43

คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น

คู่มือ

คมู่ อื
การปฏิบตั ศิ าสนพิธเี บ้อื งต้น

กรมการศาสนา
กระทรวงวัฒนธรรม
www.dra.go.th

คู่มอื

การปฏิบัติศาสนพิธีเบอื้ งตน้


กรมการศาสนา

กระทรวงวัฒนธรรม

คมู่ อื การปฏิบัติศาสนพธิ เี บ้อื งตน้



ผู้จัดพมิ พ์ กรมการศาสนา กระทรวงวฒั นธรรม

ปีทีพ่ ิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๖

ISBN 978-616-543-197-2

จำนวนพิมพ์ ๑๕,๐๐๐ เล่ม

ทป่ี รึกษา

นายปรีชา กันธิยะ อธบิ ดีกรมการศาสนา

พลตรี ไชยนาจ ญาตฉิ ิมพล ี ที่ปรึกษากรมการศาสนา

นายปญั ญา สละทองตรง ทป่ี รกึ ษากรมการศาสนา

นายพสิ ฐิ เจรญิ สุข ท่ีปรึกษากรมการศาสนา

ผู้ดำเนินการ

นายจรญู นราคร รองอธิบดกี รมการศาสนา

นางสาวภัคสจุ ภิ์ รณ์ จิปิภพ ผู้อำนวยการกองศาสนูปถัมภ

นายจำลอง ธงไชย เจ้าพนกั งานการศาสนาอาวุโส

นายแถลงการณ์ วงษ์สวสั ดิ์ เจ้าพนกั งานการศาสนาชำนาญงาน

นายศุภสิทธ์ิ วิเศษสิงห์ นกั วิชาการศาสนาชำนาญการ

นายสมควร บญุ ม ี นักวิชาการศาสนาชำนาญการ

นายสุพรหม สวสั ดเิ์ มอื ง เจ้าพนกั งานการศาสนาชำนาญงาน

นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ นกั วชิ าการศาสนาชำนาญการ

นายบรบิ รู ณ์ ศรัทธา นกั วิชาการศาสนาชำนาญการ

นายปยิ วฒั น์ วงษ์เจรญิ นักวิชาการศาสนาชำนาญการ

นายวชั รวิทย์ ศริ วิ ัฒน์ นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ

นางสาวเรณู รัตนชัยเดชา นักวชิ าการศาสนาชำนาญการ

นางสาวสมุ าลี ปราชญ์นภารตั น ์ เจา้ พนกั งานการศาสนาชำนาญงาน

นายพสั ไสว ไชยทอง เจา้ หน้าทป่ี ฏิบัติงานดา้ นศาสนา

รวบรวมเรยี บเรยี ง

นายชวลิต ศิริภริ มย ์ นักวิชาการศาสนาชำนาญการพิเศษ

นายโอสธี ราษฎรเ์ รอื ง นักวิชาการศาสนาชำนาญการ




พิมพ์ที ่ โรงพิมพช์ มุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแหง่ ประเทศไทย จำกัด

๗๙ ถนนงามวงศว์ าน แขวงลาดยาว เขตจตจุ กั ร กรงุ เทพมหานคร ๑๐๙๐๐

โทร. ๐-๒๕๖๑-๔๕๖๗ โทรสาร ๐-๒๕๗๙-๕๑๐๑ นายโชคดี ออสุวรรณ ผพู้ ิมพผ์ โู้ ฆษณา

คำนำ


ศาสนพธิ ี เปน็ พิธีกรรมทางศาสนาในการนำหลักธรรมคำสอนของศาสนาลงส่กู ารปฏบิ ัต

ของศาสนิกชน การปฏิบัติศาสนพิธีที่มีความเรียบร้อย สวยงาม และเป็นไปในแนวทางเดียวกัน


จะก่อให้เกิดความเล่ือมใสศรัทธาในการบำเพ็ญกุศลต่าง ๆ ของผู้ที่ได้ร่วมกิจกรรมในพิธีนั้น ๆ

ดังคำท่ีว่า “พธิ ีดี เกจิดัง ความขลังยอ่ มปรากฏ” เกิดการสรา้ งคณุ คา่ ทางดา้ นจิตใจ เพ่อื เป็นการ
ธำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติและศาสนา การท่ีพุทธศาสนิกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ท่ีทำหน้าที่
เปน็ ศาสนพธิ กี รจำเป็นตอ้ งมีแนวปฏิบตั ิเกยี่ วกับศาสนพิธีใหเ้ ป็นไปในแนวทางเดยี วกนั

กรมการศาสนาเห็นว่า ศาสนพิธีเป็นส่ิงจำเป็นท่ีจะต้องมีการสืบทอดให้ผู้ปฏิบัติหน้าท
่ี

ได้มีความรู้ความเข้าใจท่ีถูกต้องตามหลักของพิธีและประเพณีนิยม เพื่อสร้างมาตรฐานการปฏิบัติ
ศาสนพิธีให้ถูกต้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเผยแพร่ความร
ู้

ด้านการปฏบิ ตั ิงานศาสนพิธีให้มคี วามแพร่หลาย ในฐานะเปน็ หนว่ ยงานภาครฐั ทำหนา้ ทีส่ นองงาน
สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้านการปฏิบัติงานศาสนพิธีร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น
สำนักพระราชวัง เป็นต้น จึงได้นำความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานพิธีไปถ่ายทอด


ให้คนในชุมชนไดใ้ ชเ้ ปน็ แนวทางในการปฏิบัตใิ หถ้ กู ตอ้ งตามโบราณประเพณี และมคี วามเป็นระเบยี บ
เรียบร้อยเหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมเจ้าหน้าที่ผู้เป็นศาสนพิธีกรให้มีความรู้


ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมด้านศาสนพิธีให้มีความชำนาญจนสามารถนำไปปฏิบัต


และให้คำแนะนำแก่ผู้อ่ืนได้ รวมท้ังส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐมีบุคลากรปฏิบัติกิจกรรม ศาสนพิธี
เพิ่มมากขึ้น และเพ่ือร่วมกันอนุรักษ์สืบสานศิลปวัฒนธรรมประเพณีของชาติ ให้มีการสืบทอด


เปน็ มรดกทางวฒั นธรรมอนั เปน็ สิง่ ที่นา่ ภาคภูมใิ จของประชาชนชาวไทยตลอดไป

กรมการศาสนา หวังว่า “คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น” เล่มน้ี จักเป็นประโยชน์
แก่ศาสนพิธกี ร นักเรียน นักศึกษา และประชาชนท่ัวไป ไดศ้ กึ ษาและใช้เป็นแนวทางในการปฏบิ ัตงิ าน
ศาสนพิธที ถ่ี ูกต้องตามโบราณราชประเพณสี ืบไป







(นายปรชี า กนั ธยิ ะ)

อธิบดีกรมการศาสนา



สารบัญ
หนา้



คำนำ
๑๓

บทนำ ๑๔

บทท่ี ๑ ความรู้เกยี่ วกบั ศาสนพิธี ๑๖

ประเภทของศาสนพิธที างพระพทุ ธศาสนา ๑๙

การเตรียมสถานที่ ๒๖

การเตรยี มอปุ กรณ ์ ๒๙

การเตรยี มบุคลากร ๔๕

การเตรยี มกำหนดการ ๔๕

บทท่ี ๒ การเตรียมการและการปฏิบตั งิ านศาสนพธิ ี ๖๒

การเตรยี มการกอ่ นการปฏิบตั ิงานศาสนพิธ ี ๗๑

การปฏิบัตงิ านศาสนพธิ ี ๗๒

บทท่ี ๓ แนวทางการจดั งานศาสนพิธกี ับสถาบนั พระมหากษัตรยิ ์ ๗๗

วันจกั รี ๘๑

วันปิยมหาราช ๙๐

วันเฉลมิ พระชนมพรรษา
การถวายผ้าพระกฐนิ พระราชทาน ๑๐๕

บทท่ี ๔ แนวทางการจัดงานมงคลพิธ ี ๑๐๕

งานกุศลพธิ ี ๑๐๕

พธิ ีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ ๑๐๗

งานบุญพธิ ี ๑๐๗

พิธีทำบุญงานมงคลทัว่ ไป ๑๐๙

พธิ ีทำบุญงานมงคลเฉพาะงาน ๑๐๙

พธิ ีหลอ่ พระพุทธรปู ๑๑๑

พิธพี ุทธาภเิ ษก หรอื มงั คลาภเิ ษก ๑๑๕

พิธวี างศลิ าฤกษ ์ ๑๒๑

พธิ ที ำบุญข้นึ บ้านใหม่ ๑๒๒

พธิ ีมงคลสมรส ๑๒๓

พิธียกขนั หมาก ๑๒๔

พธิ ไี หว้บรรพบรุ ุษ

สารบญั (ต่อ)
หนา้

๑๒๕

พิธีสงฆเ์ นอื่ งในพิธมี งคลสมรส ๑๒๖

พิธหี ลัง่ น้ำพระพทุ ธมนตแ์ ละประสาทพร ๑๒๘

พิธีทำบุญวนั เกดิ ๑๒๙

พธิ ีทำบุญอายคุ รบ ๖๐ ปี ๑๓๒

พิธที ำบญุ ครบรอบวนั เกิดของผูว้ ายชนม์ ๑๓๔

การจดั งานมงคลและอวมงคลในโอกาสเดยี วกนั ๑๓๗

บทที่ ๕ แนวทางการจดั งานอวมงคล ๑๓๗

การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ๑๔๐

การขอพระราชทานเพลิงศพ ๑๕๔

การขอพระราชทานดนิ ฝงั ศพ ๑๕๖

การเตรียมการและการปฏบิ ตั ิพิธีงานศพท่วั ไป ๑๖๘

การจัดพิธบี ำเพ็ญกุศลเน่อื งในโอกาสครบรอบวนั ตายของผู้วายชนม ์ ๑๗๑

บทที่ ๖ การจดั ทานพธิ ี ๑๗๒

การถวายสงั ฆทาน ๑๗๔

การถวายผา้ กฐนิ หรอื การทอดกฐนิ ๑๗๗

การถวายผา้ ป่า (สามัคคี) ๑๗๙

การถวายทานตา่ ง ๆ ๑๘๑

ภาคผนวก ๑๘๒

คำบชู าพระและคำอาราธนา ๑๘๙

ลำดับพัดยศสมณศักด์ิ ฐานานุกรม เปรียญ ในงานพระราชพิธ-ี รฐั พิธ ี ๑๙๓

การใช้พัดยศ การถวายอติเรก และการถวายพระพร ๒๐๕

บรรณานุกรม

บทนำ


รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับพุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้บัญญัติให้ภาครัฐ

ทำหน้าที่อุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ส่งเสริมการเข้าใจอันดีและความ
สมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมท้ังสนับสนุนการนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้
เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตในภาคประชาชนให้บุคคลมีเสรีภาพในการนับถือ
ศาสนา ปฏิบัติตามศาสนธรรม ศาสนบัญญัติ พิธีกรรมตามความเช่ือถือของตน ซ่ึงสอดคล้อง


กับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๑ ท่ีมุ่งเน้นพัฒนาคุณภาพคนไทย


ให้สามารถเผชิญความเสื่อมถอยด้านคุณธรรมและจริยธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
ที่หลากหลายภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ซ่ึงส่งผลให้สังคมไทยมีความเป็นวัตถุนิยมให้ความสำคัญ
กับศีลธรรมและวัฒนธรรมที่ดีงามลดลง ดังน้ันรัฐบาลจึงมีนโยบายในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
และพัฒนาบทบาทของสถาบันหลักทางสังคมใหเ้ อ้ือตอ่ การพฒั นาคน สรา้ งค่านิยมใหค้ นไทยภูมใิ จ
ในวัฒนธรรมไทยและยอมรับความแตกต่างของความหลากหลายทางวัฒนธรรมท่ีลดปัญหา

ความขัดแย้งทางความคิด และสร้างความเป็นเอกภาพในสังคม สร้างเครือข่ายความร่วมมือ

ทางวัฒนธรรมร่วมกับประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียนให้เกิดการไหลเวียนทางวัฒนธรรม
และการแลกเปล่ียนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร

เพื่อให้การอุปถัมภ์คุ้มครองศาสนาและรวมพลังขับเคลื่อนนำหลักธรรมทางศาสนา


ไปพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยให้บรรลุผลสัมฤทธ์ิ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

จึงน้อมนำกระแสพระราชดำรัส “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มาเป็นแนวทางจัดทำแผนการดำเนินงาน “ส่งเสริมคุณธรรมท่ีมีประสิทธิภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ์”
เพ่ือให้ประชาชน กลุ่มองคก์ รต่าง ๆ ในทกุ ระดบั มคี ุณธรรมจริยธรรม และประชาชน โดยกำหนด
วสิ ัยทัศน์ พันธกจิ ยทุ ธศาสตร์ เป้าประสงค์ เปา้ หมาย และปจั จัยแห่งความสำเรจ็ ในการขับเคลื่อน
แผนพัฒนาคุณธรรมฯ ไปส่ปู ระชาชน ดงั น
้ี

คมู่ อื การปฏิบัตศิ าสนพิธีเบอ้ื งตน้

๑. วิสยั ทศั น์

นำหลักธรรม เสรมิ ภูมคิ ุ้มกัน สานสมั พันธศ์ าสนา สร้างคนดสี สู่ ังคม

๒. พนั ธกิจ

๑) ปลกู ฝังและเสรมิ สร้างคุณธรรมจริยธรรม

๒) สง่ เสริมและสานสัมพนั ธก์ ิจกรรมทางศาสนา

๓) ส่งเสริมศาสนกิ ชนทกุ ศาสนาให้อยรู่ ว่ มกันอย่างสนั ตสิ ขุ

๔) สนองงานพระราชพธิ ี พระราชกุศล รฐั พธิ ี และศาสนพิธี

๓. ยทุ ธศาสตร์

๑) ส่งเสริมการเรียนรู้และสืบทอดพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธี


ทถี่ กู ต้องไว้เป็นมรดกทางภูมปิ ญั ญาและมรดกทางวฒั นธรรมดำรงอยูค่ ู่สงั คมไทย

๒) สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาสามารถ
นำไปปรับใชใ้ นชีวติ ประจำวันเพือ่ พัฒนาคณุ ภาพชวี ิต

๓) ส่งเสริมศาสนกิ ชนทุกศาสนาให้อย่รู ว่ มกันอยา่ งสันตสิ ขุ

๔) พฒั นาสร้างศกั ยภาพการบริหารจดั การด้านศาสนา

๔. เป้าประสงค์การดำเนนิ งานของยทุ ธศาสตร

๑) เสรมิ สร้างแนวทางและเพิม่ ศกั ยภาพการบรหิ ารจดั การศาสนา นำแผน “การส่งเสริม


คุณธรรม” ไปสปู่ ระชาชน

๒) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอนของศาสนาที่ตน
เคารพนับถืออย่างถูกต้อง พร้อมทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
อย่างต่อเนอื่ ง

๓) สร้างภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็ง ในการนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนา

และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของศาสนิกชนทุกศาสนา


เพอื่ ความสมานฉนั ทแ์ ละสันตสิ ุขของสงั คม

๕. เปา้ หมายของการดำเนนิ การ

๑) ประชาชนมีความเข้าใจและนำหลักคำสอนทางศาสนาไปปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
ในการดำรงชีวติ

๒) งานพระราชพิธี พระราชกุศล รฐั พธิ ี และศาสนพธิ ี ถูกต้องตามพระราชประเพณี
และสมพระเกียรติ

๓) ศาสนสถานได้รับการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา และส่งเสริมคุณธรรม
ของชมุ ชน


คมู่ ือการปฏิบัตศิ าสนพิธเี บื้องต้น

๔) กรมการศาสนา องค์การศาสนาและเครือข่าย มีศักยภาพในการนำหลักคำสอน
ทางศาสนาไปสู่ประชาชนอยา่ งมีประสิทธภิ าพ

๕) ศาสนิกชนทกุ ศาสนาอยู่รว่ มกันดว้ ยความสงบสุขและความสมานฉันท

๖) ระบบการบริหารจัดการศาสนาภายในองค์กรและเครือข่าย ได้รับการพัฒนา
อย่างมปี ระสิทธภิ าพ

๖. กลยทุ ธแ์ ละแผนการดำเนนิ งาน

ยุทธศาสตร์ท่ี ๑ ส่งเสริมการเรียนรู้และสืบทอดพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี
และศาสนพิธที ีถ่ ูกต้องไว้เปน็ มรดกทางภมู ปิ ัญญาและมรดกทางวฒั นธรรมดำรงอยคู่ สู่ งั คมไทย

เปา้ ประสงค์การดำเนนิ งานของยทุ ธศาสตร

เป้าประสงคห์ ลกั

งานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธี ได้รับการอนุรักษ์สืบทอด

เปน็ มรดกทางภมู ปิ ญั ญาและมรดกทางวฒั นธรรมที่สำคญั ของชาติ และเกิดการศึกษาเรยี นรู้อย่างถูกตอ้ ง

เป้าประสงคร์ อง

๑) การปฏิบัติงานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธี ถูกต้อง


ตามโบราณราชประเพณีและสมพระเกยี รต

๒) มเี ครอื ข่ายการปฏิบัตศิ าสนพิธที ่ีถกู ต้องตามประเพณีโบราณเพิม่ ขึน้ ทั่วประเทศ

๓) งานดา้ นศาสนาไดร้ ับการบรหิ ารจัดการอย่างมีประสทิ ธิภาพ

กลยุทธ

๑) การสนองงานพระราชพิธี การบำเพ็ญพระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธ

ให้สมพระเกยี รติตามโบราณราชประเพณ

๒) ส่งเสริมการเรียนรู้ศาสนพิธีและการสืบทอดพิธีกรรมให้ถูกต้องตามหลัก

ทางพระพุทธศาสนา

๓) พฒั นาสมรรถนะผู้ปฏิบตั ิงานศาสนพิธใี ห้ปฏิบตั ิงานได้อยา่ งมปี ระสิทธิภาพ

วตั ถุประสงค์

๑) เพื่อการปฏิบัติรับสนองงานพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และศาสนพิธี


ถกู ตอ้ งตามโบราณราชประเพณแี ละสมพระเกยี รต

๒) เพื่อให้การปฏิบัติศาสนพิธีของเจ้าหน้าท่ีผู้ปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องและ


มมี าตรฐานเดียวกนั

๓) เพื่อสร้างเครือข่ายศาสนพิธีสนับสนุนการปฏิบัติงานกรมการศาสนาในพื้นท่ี
จังหวัดต่าง ๆ ไดถ้ ูกตอ้ งและเหมาะสม


คู่มอื การปฏบิ ตั ิศาสนพิธีเบอ้ื งต้น

๔) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศาสนาและเพิ่มสรรถนะการปฏิบัติศาสนพิธ


แก่ผ้ทู ำหนา้ ท่ปี ฏบิ ตั ิงานศาสนพิธ

แนวทางการดำเนนิ งาน

๑) ปฏิบตั ริ บั สนองงานพระราชพธิ ี พระราชกุศล รัฐพธิ ี และศาสนพิธีให้มคี วามถูกต้อง
ตามโบราณราชประเพณแี ละสมพระเกยี รต

๒) จัดอบรมเชิงปฏิบัติข้าราชการกรมการศาสนา ผู้ปฏิบัติหน้าท่ีศาสนพิธีกร


ปลี ะ ๒ ครง้ั เพอ่ื เพ่มิ สมรรถนะในการปฏบิ ัติงานและเตรยี มความพรอ้ มในการปฏบิ ตั ิงาน

๓) ถอดบทเรียนผู้ทรงคุณวุฒิ/รวบรวมองค์ความรู้การปฏิบัติงานด้านศาสนพิธ


และจดั ทำเปน็ ฐานขอ้ มลู /ค่มู อื หลกั สตู ร การปฏบิ ัตงิ านด้านศาสนพธิ ีกร

๔) รวบรวมองค์ความรู้ด้านศาสนพิธีทางศาสนาพุทธและศาสนาอื่น พร้อมท้ัง

จดั พิมพ์เป็นหนงั สือเผยแพรแ่ กอ่ งค์กร เครือข่ายและประชาชนที่สนใจ

๕) พัฒนาระบบเผยแพร่องค์ความรู้ด้านพระราชพิธี พระราชกุศล รัฐพิธี และ
ศาสนพธิ ผี า่ นระบบ e-learning แก่เจ้าหนา้ ทก่ี รมการศาสนา เครือขา่ ยและประชาชนท่สี นใจ เช่น
โครงการจดั ทำระบบการเรยี นรงู้ านศาสนพธิ ีผ่านระบบสารสนเทศกรมการศาสนา

๖) จัดทำคู่มือและหลักเกณฑ์การคัดเลือกเครือข่าย/บุคคลแกนนำท่ีเผยแพร่
องค์ความรู้ด้านศาสนพิธีแก่ชุมชน/สังคมระดับดีเด่นตั้งแต่ระดับชุมชน ระดับจังหวัด ระดับภาค
ระดบั ประเทศ เผยแพรไ่ ปยังจังหวดั เพ่ือเปน็ แนวทางในการคดั เลอื ก

๗) จัดอบรมเผยแพร่องค์ความรู้เร่ือง “ศาสนพิธี” แก่เจ้าหน้าท่ีสำนักงาน
วฒั นธรรมจงั หวดั เจ้าหนา้ ทเี่ ขตพ้นื ที่การศกึ ษา ผแู้ ทนหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนและองคก์ รเครอื ขา่ ย
ในพ้ืนที่ให้มีความรู้เพ่ือนำไปเผยแพร่ปรับใช้ในการปฏิบัติงานศาสนพิธีประกอบด้วยโครงการ


ส่งเสริมการเรียนรู้งานศาสนพิธี โครงการอุดหนุนการฝึกหัดนักสวดพระมหาชาติคำหลวง และ
โครงการส่งเสริมผสู้ บื ทอดเพื่อทำหนา้ ทป่ี ฏิบัตงิ านพิธ

๘) ส่งเสริมสนับสนุนให้เครือข่ายแกนนำที่ผ่านการอบรมศาสนพิธีกรในจังหวัด
จัดอบรมศาสนพิธีกรขยายผลสู่ประชาชน เช่น การให้ความรู้การปฏิบัติศาสนพิธีกรแก่บุคคล


ในครอบครัว/การจัดอบรมศาสนพิธีกรแก่ผู้ร่วมงานในองค์กร/การอบรมศาสนพิธีแก่บุคคลหรือ
องค์กรในชุมชน

๙) ประกวดเครือข่าย/บุคคลแกนนำท่ีเผยแพร่องค์ความรู้ด้านศาสนพิธีแก่
ชุมชน/สงั คมระดับดีเดน่ ระดับชมุ ชน ระดับจงั หวดั ระดบั ภาค ระดบั ประเทศ

ยุทธศาสตร์ท่ี ๒ สนับสนุนส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจหลักธรรม

ทางศาสนาสามารถนำไปปรบั ใชใ้ นชีวติ ประจำวัน เพอ่ื พัฒนาคณุ ภาพชีวติ


ค่มู ือการปฏบิ ัตศิ าสนพธิ เี บ้ืองตน้

เป้าประสงค์การดำเนินงานของยทุ ธศาสตร

เป้าประสงค์หลัก

ประชาชนปฏิบตั ิตนตามหลกั ธรรมทางศาสนาได้อยา่ งเหมาะสมในการดำรงชีวิต

เปา้ ประสงค์รอง

๑) ส่งเสริมการนำหลักธรรมทางศาสนาไปสู่ประชาชน ทั้งระดับบุคคลและ
ระดบั องคก์ ร

๒) สนับสนุนซ่อมแซมศาสนสถานให้มีความมั่นคงแข็งแรง ปลอดภัย ท่ีจะใช้
เป็นสถานทปี่ ฏบิ ัตศิ าสนกจิ /แหล่งเรยี นรู้ ส่งเสริมคณุ ธรรมจรยิ ธรรมแก่ศาสนกิ ชน

๓) พัฒนาวัตกรรม ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหา
สงั คม เช่น โครงการจดั ทำสือ่ ธรรมเชิงสร้างสรรค

๔) ประสานความร่วมมือกับองค์กรภาคีเครือข่ายทางศาสนาขับเคล่ือนนำหลักธรรม
ไปสปู่ ระชาชนอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ เชน่ โครงการองคก์ ารและหนว่ ยเผยแพรท่ างพระพทุ ธศาสนา

๕) รวมพลังเครือข่ายส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ภาครัฐ ภาคเอกชน


ภาคประชาชน ให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบงานอนุรักษ์ สืบทอด ศาสนาและดำเนินงานกิจกรรม


ส่งเสรมิ คณุ ธรรมจรยิ ธรรม

เป้าหมาย

๑) ศาสนสถานได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศาสนาและศูนย์กลาง


การสง่ เสริมคณุ ธรรมของชุมชน

๒) ประชาชนปฏบิ ตั ติ ามหลักธรรมคำสอนทางศาสนาไดอ้ ย่างถูกต้อง เหมาะสม


และมีความสขุ ในการดำรงชีวติ

๓) เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานนำหลักธรรมคำสอน


ทางศาสนา ระหว่างกรมการศาสนา องค์การศาสนาและองค์กรเครือข่ายอย่างเป็นระบบ

และมปี ระสิทธภิ าพ

กลยทุ ธ์ท่ี ๑

ส่งเสริมให้วัด/ศาสนสถานเป็นแหล่งการเรียนรู้ทางด้านศาสนาและส่งเสริมคุณธรรม
แก่คนในชมุ ชน

วตั ถปุ ระสงค

๑) เพ่ือพัฒนาศาสนสถานให้ม่ันคงแข็งแรงสามารถเป็นศูนย์กลางพัฒนาจิตใจ

และศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนท้ังทางด้านงบประมาณ
การบริหารจัดการ และเขา้ ร่วมทำกจิ กรรม

๒) เพ่ือพัฒนาศาสนสถานเป็นแกนกลางของความร่วมมือกับครอบครัว ชุมชน
สังคมในการศกึ ษาหลกั ธรรม อบรมคณุ ธรรมจริยธรรม และนำหลกั ธรรมไปส่วู ิถชี วี ติ


คูม่ อื การปฏิบัตศิ าสนพธิ เี บือ้ งต้น

๓) เพ่ือพัฒนาศาสนสถานให้สะอาด ร่มเย็นเป็นแบบอย่างที่ดีในการอนุรักษ


ส่ิงแวดล้อมและเป็นแหล่งทอ่ งเที่ยวของชมุ ชน

แนวทางการดำเนินงาน

๑) กรมการศาสนาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการบูรณศาสนสถานพร้อมท้ังมีนโยบาย
ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถ่ินเข้ามามีส่วนร่วมสืบทอดศาสนาและ
อนรุ ักษ์ศาสนสถานเพ่ือดำรงไวซ้ ่ึงอัตลกั ษณ์ของชุมชน เชน่ โครงการบรู ณศาสนสถานทางศาสนาอ่ืน

๒) กรมการศาสนาได้จัดโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน
ของศาสนสถาน เชน่ โครงการศูนย์ศกึ ษาพระพุทธศาสนาวนั อาทติ ย์ เปน็ ต้น

กลยทุ ธท์ ี่ ๒

นำหลักศาสนธรรมเทิดทูนสถาบันชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์รวม
สรา้ งความเข้มแข็งของสังคมไทย

วตั ถุประสงค

เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย ์


ซึ่งเป็นศูนยร์ วมทางจติ ใจของคนไทย

แนวทางการดำเนนิ งาน

๑) การน้อมนำกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ


พระนางเจ้าฯ พระบรมราชนิ ีนาถ และพระบรมวงศานวุ งศ์ มาเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรม
ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น โครงการบรรพชาอุปสมบทพระภิกษุสามเณรและบวชศีลจาริณี
โครงการจัดงานเฉลมิ พระเกยี รตแิ ดพ่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ ัวและพระบรมวงศานวุ งศฯ์ ลฯ

๒) ส่งเสริมสนับสนุนหรือดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา

วนั สำคญั ของชาติ และวันสำคัญทางสถาบนั พระมหากษัตริย์ อาทิ เชน่ วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา
วันมาฆบชู า วนั รัฐธรรมนูญ วันเฉลมิ พระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ วั เปน็ ตน้

กลยทุ ธท์ ่ี ๓

ส่งเสริมสนับสนุนกระบวนการนำหลักธรรมทางศาสนามาพัฒนาศีลธรรม

คุณธรรมแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน

วัตถุประสงค์

๑) เพ่ือพัฒนากระบวนการเผยแพร่/ถ่ายทอดหลักธรรมคำสอนทางศาสนา


ทมี่ ีประสทิ ธิภาพที่งา่ ยตอ่ การเรียนรแู้ ละเข้าใจในรปู แบบทีห่ ลากหลาย

๒) เพ่ือประสานความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในการเผยแพร่หลักธรรม


ทางศาสนาส่ปู ระชาชนทกุ ระดบั


คมู่ อื การปฏบิ ัตศิ าสนพธิ เี บอ้ื งต้น

แนวทางการดำเนนิ งาน

๑) กรมการศาสนาได้ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
โดยแบ่งประชาชน กลุ่มเปา้ หมายออกเป็น ๓ กล่มุ ได้แก

(๑) กลมุ่ เด็ก เยาวชน ไดแ้ ก่ โครงการศนู ยศ์ ึกษาพระพทุ ธศาสนาวนั อาทิตย์
โครงการอบรมเยาวชนภาคฤดรู อ้ น โครงการประกวดบรรยายธรรมฯลฯ

(๒) กลุ่มข้าราชการของรัฐ เชน่ โครงการเมืองไทยเมอื งคนดี เป็นต้น

(๓) กลุ่มประชาชน ได้แก่ โครงการยกย่องผู้ทำคุณประโยชนต์ ่อพระพทุ ธศาสนา
โครงการสนับสนุนกิจการฮัจย์ โครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนาเน่ืองในเทศกาลวันสำคัญ


ทางศาสนา เชน่ วนั วิสาขบชู า วนั มาฆบูชา วนั อาสาฬหบชู า และวนั เข้าพรรษา

๒) สนับสนนุ การผลิตหนังสอื ตำราทางวิชาการ และประกวดส่อื สง่ เสริมคุณธรรม
ในรูปแบบท่ีหลากหลาย โดยประชาสมั พันธใ์ หส้ ถาบนั การศกึ ษา ภาคเอกชนส่งผลงานเข้าประกวด
เพื่อพัฒนารูปแบบ/เทคนิคการเผยแพร่สื่อให้มีความหลากหลายและเป็นที่สนใจแก่กลุ่มเป้าหมาย
เช่น การจดั ทำคมู่ อื การปฏบิ ตั ิงานเนื่องในเทศกาลวันวิสาหบชู า เป็นต้น

กลยุทธท์ ี่ ๔

ส่งเสริมความเขม้ แข็งแก่องค์กรเครอื ข่าย

วตั ถุประสงค์

๑) เพ่ือประสานความร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายในการเผยแผ่หลักธรรม

ทางศาสนาสู่ประชาชนทุกระดบั แนวทางการดำเนินงาน

๒) การสนับสนุนงบประมาณให้องค์กรเครือข่ายทางศาสนาขับเคลื่อนโครงการ/
กิจกรรมนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาไปสู่ประชาชนทุกระดับ เช่น โครงการอุดหนุนองค์การ
และหน่วยเผยแพร่พุทธศาสนา โครงการอุดหนุนองค์การและจัดกิจกรรมทางศาสนาอื่น

โครงการลานบญุ ลานปัญญา ฯลฯ

กลยทุ ธ์ที่ ๕

การปฏิบัตงิ านภายใตพ้ ระราชบญั ญัติและกฎหมายทก่ี ำหนดไว

วตั ถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติและ

สง่ เสริมการดำเนินงานกิจการฮัจย

แนวทางการดำเนนิ งาน

๑) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ
อาทิ เช่น การจัดประชุมคณะกรรมการสง่ เสริมคณุ ธรรม ประชุมคณะอนุกรรมการสง่ เสริมคุณธรรม,
จัดประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเก่ียวกับกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมกลุ่มเป้าหมาย
ระดบั ตา่ ง ๆ เป็นตน้


คู่มอื การปฏิบัตศิ าสนพิธเี บือ้ งตน้

๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานกิจการฮัจย์ อาทิ เช่น ประชุม

คณะกรรมการส่งเสริมกิจการฮัจย์แห่งประเทศไทย, ประชุมอนุกรรมการ, อบรมเจ้าหน้าที่อำนวย
ความสะดวกและเจ้าหน้าที่หน่วยพยาบาลไทยนำคณะผู้แทนฮัจย์ไทยเดินทางไปประชุม

ทางซาอดุ ีอาระเบยี และอบรมผู้นำกลมุ่ ประกอบพิธีฮจั ย์ เปน็ ต้น

กลยุทธท์ ่ี ๖

รณรงค์ส่งเสริมการเผยแพร่หลักธรรมทางศาสนาผ่านสื่อเทคโนโลยีท่ีทันสมัย
และวธิ กี ารทีห่ ลากหลาย

วัตถุประสงค์

เพ่ือพัฒนากลไกการขับเคลื่อนหลักธรรมทางศาสนาสู่ประชาชนให้มีประสิทธิภาพ
สอดคล้องกับความตอ้ งการของประชาชนอย่างแท้จรงิ

แนวทางการดำเนนิ งาน

สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานเผยแผ่หลักธรรมทางศาสนาผ่านส่ือสร้างสรรค์
อาทิ เช่น โครงการผลติ ภาพยนตร์ธรรมะเรอ่ื งส้ัน โครงการผลติ ส่ือธรรมะเชงิ สรา้ งสรรค์ โครงการ
เมอื งไทยเมอื งคนด

ยทุ ธศาสตรท์ ี่ ๓ สง่ เสรมิ ศาสนกิ ชนทกุ ศาสนาให้อยรู่ ว่ มกันอย่างสันตสิ ุข

เปา้ ประสงค์การดำเนินงานของยทุ ธศาสตร

เสริมสร้างพันธมิตรและขยายเครือข่ายนำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาไปสู่
ประชาชนให้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาและเสริมสร้าง

ความสมานฉันท์ของศาสนิกชน

เปา้ ประสงคห์ ลกั

ประชาชนกลุ่มเปา้ หมายมคี วามสมานฉนั ท์และเออ้ื อาทรต่อกนั

เป้าประสงค์รอง

๑) มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่าง
องคก์ ารศาสนาและศาสนิกชน

๒) มกี ารขยายเครือขา่ ยศาสนิกสัมพนั ธ์ระดบั ตา่ ง ๆ สูช่ มุ ชน

๓) เช่ือมโยงภาคีเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมกัน


จดั กจิ กรรมสง่ ความเขา้ ใจอนั ดรี ะหว่างศาสนาไปสู่ประชาชน

๔) มกี ารพัฒนานวัตกรรมการสง่ เสรมิ ความสมานฉนั ทแ์ กค่ นในสังคม

กลยทุ ธ์

๑) ส่งเสริมความเข้าใจอันดรี ะหวา่ งศาสนาและสมานฉันท์ระหวา่ งศาสนิกชน


คมู่ อื การปฏิบัตศิ าสนพิธีเบือ้ งต้น

๒) ประสานเชอื่ มโยงสถาบนั ศาสนา สถาบนั ทางสังคมและเครือขา่ ยทางศาสนา
ร่วมสรา้ งสังคมคุณธรรมและสมานฉนั ท์

วตั ถุประสงค์

๑) เพือ่ ใหผ้ นู้ ำศาสนา องคก์ ารศาสนาและเครือขา่ ยตา่ ง ๆ ไดม้ ีสว่ นรว่ มดำเนิน
นำหลักธรรมคำสอนทางศาสนาไปบูรณาการในโครงการ/กิจกรรมทางศาสนาและงานศาสนิก
สัมพนั ธ์ไปสูป่ ระชาชนทุกระดับ

๒) เพอื่ สร้างความเขา้ ใจอนั ดีระหว่างศาสนา และศาสนิกชน

แนวทางการดำเนินงาน

๑) ส่งเสริมงานศาสนิกสัมพนั ธ์เพือ่ สานสมั พันธท์ างศาสนา

๒) จัดงานเฉลมิ พระเกียรตเิ สรมิ สร้างความสมานฉันท์แก่คนในชาติ

๓) ส่งเสริมขยายเครือข่ายการจัดอบรมค่ายเยาวชนสมานฉันท์ในทุกระดับ

ตัง้ แตจ่ ังหวัด ตำบล อำเภอ หมู่บ้านและชมุ ชน

๔) พัฒนาระบบฐานข้อมูลทางศาสนาให้ทันสมัยเป็นแหล่งเรียนรู้เผยแพร

หลักธรรมคำสอนทางศาสนา/เผยแพร่กิจกรรมสานสัมพันธ์ทางศาสนาผ่านส่ือที่หลากหลาย

เชน่ ประชาสมั พันธอ์ งคค์ วามร้ทู างศาสนาผ่านระบบสารสนเทศ (e-library)

๕) ขยายเครอื ขา่ ยการดำเนนิ งานศาสนิกสัมพนั ธ์ไปส่รู ะดับอำเภอ ตำบล หมูบ่ า้ น
ชุมชนโดยมอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดและคณะกรรมการศาสนิกสัมพันธ์จังหวัด


แบ่งหน้าที่หรือร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ศาสนิกสัมพันธ์ระดับพ้ืนที่หน่วยย่อย


รวมทั้งติดตามผลการดำเนนิ งาน

๖) ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดต้ังคณะกรรมการศาสนิกสัมพันธ์ระดับชาติ


เพ่ือเชื่อมโยงการดำเนนิ งานรว่ มกับคณะกรรมการศาสนิกสัมพันธ์ระดบั ตา่ ง ๆ

๗) เช่ือมโยงเครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนทุกระดับร่วมกัน
ดำเนินกิจกรรมส่งความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนาไปสู่ประชาชน เช่น โครงการจัดกิจกรรม


ทางศาสนาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบปญั หาทางศาสนาแกเ่ ยาวชน/นกั จดั รายการเยาวชนอาสา
สบื สานศาสนา ศิลปะและวฒั นธรรม) โครงการศาสนกิ สัมพนั ธจ์ ังหวดั ชายแดนใต้ โครงการพฒั นา
บุคลากรทางศาสนาชายแดนภาคใต้ และโครงการค่ายเยาวชนสมานฉนั ท์ในจงั หวัดชายแดนภาคใต

ยทุ ธศาสตรท์ ่ี ๔ พฒั นาสรา้ งศกั ยภาพการบริหารจัดการด้านศาสนา

เปา้ ประสงคก์ ารดำเนนิ งานของยทุ ธศาสตร์

เปา้ ประสงค์หลัก

สร้างทิศทางและเพ่ิมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศาสนาเพ่ือนำแผน


“การส่งเสรมิ คณุ ธรรมจริยธรรมท่มี ีประสิทธิภาพและมุ่งผลสัมฤทธิ”์ ไปสปู่ ระชาชน


คมู่ อื การปฏิบัตศิ าสนพิธีเบ้ืองตน้

10
เป้าประสงค์รอง

๑) ระบบบริหารจัดการศาสนาภายในองค์กรและเครือข่ายได้รับการพัฒนา


ใหม้ ีประสทิ ธภิ าพ

๒) เกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินงานนำหลักธรรมคำสอน


ทางศาสนา ระหว่างกรมการศาสนา องค์การศาสนาและองค์กรเครือข่ายอย่างเป็นระบบ

และมีประสิทธภิ าพประสิทธผิ ล

กลยุทธ์ ท่ี ๑

พัฒนาระบบการบรหิ ารจดั งานด้านศาสนาของกรมการศาสนาและเครือข่ายให้มี
ประสิทธภิ าพ

วัตถปุ ระสงค

๑) เพ่ือให้หน่วยงาน/องค์กรเครือข่ายและบุคลากรทางศาสนามีการบริหาร
จดั การงานศาสนาทปี่ ระสทิ ธิภาพและมุง่ ผลสมั ฤทธขิ์ องงานอยา่ งมคี ุณภาพ

๒) เพ่ือส่งเสริมการพัฒนาระบบบริหารจัดการศาสนาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ


ที่ทันสมัย

๓) เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยทางด้านศาสนาและสามารถนำผลการวิจัย

มาปรบั ใช้ในการพัฒนางานศาสนาและพฒั นาการบริหารจัดการขององค์กร

๔) เพ่ือพัฒนาระบบการติดตามประเมินโครงการ/กิจกรรมของกรมการศาสนา
ให้มปี ระสทิ ธิภาพ

กลยุทธ

๑) เพมิ่ สมรรถนะการบริหารจดั การองค์กร

(๑) การปรับปรุงรูปแบบ เทคนคิ วิธกี ารพัฒนาบคุ ลากรใหม้ ปี ระสิทธภิ าพ

(๒) การปรับกระบวนทศั น์วฒั นธรรมและค่านยิ มในการปฏบิ ัตริ าชการ

๒) สร้างระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีความเป็นธรรม โปร่งใส และ
เสรมิ สรา้ งคุณภาพชีวติ

๓) ปรบั ปรุงระเบียบขอ้ กฎหมายที่ส่งเสรมิ การปฏิบัตใิ หม้ ปี ระสทิ ธภิ าพ

๔) ส่งเสริมการศึกษาวจิ ัยงานดา้ นศาสนา

๕) พัฒนาระบบสารสนเทศทม่ี ปี ระสทิ ธภิ าพและทนั สมัย

๑) พัฒนาระบบการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ/
กจิ กรรมแบบมีส่วนรว่ มและมงุ่ ผลสมั ฤทธิ์

(๒) สร้างระบบฐานขอ้ มูลด้านศาสนา


คู่มือการปฏบิ ตั ศิ าสนพิธีเบอื้ งตน้

11
แนวทางการดำเนนิ งาน

๑) เพ่ิมสมรรถนะการบริหารจัดการองคก์ ร

(๑) กำหนด วฒั นธรรมองคก์ ร พร้อมทง้ั สร้างความรู้ความรู้ความเข้าใจทถ่ี ูกต้อง
เกีย่ วกับวฒั นธรรมองคก์ รแกบ่ คุ ลากรกรมการศาสนา เพอื่ นำไปปรบั ใชใ้ นการปฏิบตั งิ าน

(๒) พัฒนาวธิ ีการประเมนิ ผลการปฏิบตั ิงานท่ีมปี ระสทิ ธิภาพ

(๓) ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการบริหารงานผู้บริหารภายในองค์กรเพ่ือพัฒนาศักยภาพ
เพมิ่ ทักษะการบรหิ ารจดั การงานด้านศาสนาแก่ผ้บู ริหารและยงั เป็นการส่งเสรมิ การพฒั นาองค์กร

(๔) พฒั นาระบบตดิ ตามประเมินผลลดความเส่ยี งการบริหารจดั การโครงการ
เพือ่ เพมิ่ ผลสมั ฤทธผิ์ ลการดำเนินงาน เชน่ การจดั ทำแบบประเมินรายโครงการของกรมการศาสนา
ทุกโครงการ การตั้งคณะทำงานติดตามประเมินผลประกอบด้วยเจ้าหน้าท่ีกรมการศาสนา

และบุคคลภายนอกเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมติดตาม ตรวจสอบผลปฏิบัติงาน
ของกรมการศาสนา การออกตรวจติดตามประเมินผลโครงการ/กิจกรรมของกรมการศาสนา

ปีละ ๑ คร้งั และจัดทำรายงานประจำปเี ผยแพร่ผลการดำเนนิ งานไปยังเครอื ข่ายต่าง ๆ

(๕) ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนางานศาสนา โดยนำผลการ
ศึกษาวิจัยมาพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานด้านศาสนาของกรมการศาสนา/นำผลงานวิจัย

มาประกอบในการวางแผนการดำเนินงานของกรมการศาสนา และนำผลการวิจัยมาแก้ไขปัญหา
หรือตอบปญั หาให้แกส่ ังคม

(๖) ปรบั ปรงุ ระบบขอ้ กฎหมายทส่ี ่งเสริมการปฏบิ ัตใิ หม้ ีประสทิ ธภิ าพ

๒) พฒั นาคุณภาพชวี ติ บคุ ลากรกรมการศาสนา

(๑) จัดทำแผนพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างเป็นระบบทั้งแผนระยะส้ัน


และระยะยาว

(๒) ส่งเสริมพัฒนาทักษะการถอดบทเรียนในการปฏบิ ัติงานให้แก่บคุ ลากร

(๓) พัฒนาคุณภาพชีพวิตบุคลากรกรมการศาสนาเพ่ือเพ่ิมประสิทธิภาพ

การปฏบิ ัติงาน

๓) พฒั นาเทคโนโลยสี ารสนเทศของกรมการศาสนา

(๑) พัฒนาระบบเผยแพร่ผลการดำเนินงานของกรมการศาสนา และเพ่ิม
ช่องทางการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
พัฒนาระบบฐานข้อมูลวิชาการทางศาสนาที่ได้มาตรฐานสนองความต้องการของประชาชนที่เข้า
มารบั บริการ ผ่านระบบสารสนเทศท่ีทนั สมยั


คูม่ อื การปฏิบตั ศิ าสนพิธีเบือ้ งต้น

12
(๒) พัฒนาระบบการรายงานผล/การติดตามประเมินผลการดำเนินการดำเนินงาน
กรมการศาสนาผ่านระบบสารสนเทศเพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพความคุ้มค่าในการปฏิบัติงาน


และเพิม่ ประสิทธิภาพการติดตามผลการดำเนินงานกับเครอื ขา่ ยใหเ้ กดิ ผลสมั ฤทธิเ์ พิม่ มากยง่ิ ขน้ึ

ปัจจยั แห่งความสำเร็จ

๑) ความร่วมมือร่วมใจระหว่างผู้บริหารกรมการศาสนาและเจ้าหน้าท่ีของ


กรมการศาสนา

๒) การไดร้ บั การสนับสนนุ จากองคก์ รของรฐั ภาคเอกชน และองค์กรเครอื ข่าย

๓) อปุ กรณเ์ คร่อื งมอื สนับสนุนการดำเนนิ งานพรอ้ มเพรียงและทนั สมัย

๔) การสือ่ สารและการประสานงานทช่ี ัดเจนและรวดเร็ว

๕) กรมการศาสนา องค์กรเครือข่ายมีบุลากรท่ีมีประสิทธิภาพและมีการบริหาร
จดั การท่ดี

๖) การดำเนินงานขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการมีอุดมการณและเป้าหมาย


ในการดำเนนิ งานทแ่ี นน่ อน

๗) ผ้ปู ฏบิ ตั งิ าน (เจ้าหนา้ ทกี่ รมการศาสนา หรือเจ้าหนา้ ที่ขององค์กรเครอื ขา่ ย)


มีความศรัทธาและมุ่งม่นั ในการปฏบิ ตั ิงานสงู พรอ้ มทง้ั มขี วัญกำลังใจในการดำเนินงาน

๘) การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการของกรมการศาสนามีความสอดคล้องกับ
นโยบายรัฐบาล

๙) ความร่วมมอื ในการดำเนินงานได้รบั ความยอมรบั จากสงั คม และประชาชน






คมู่ ือการปฏบิ ัตศิ าสนพิธีเบือ้ งตน้

13

บทท่


ความรเู้ ก่ียวกบั ศาสนพิธ


สังคมไทยถือว่าศาสนามีความสำคัญต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในสังคม จนกลายเป็น
วัฒนธรรมประเพณีที่มีผลต่อความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ ความศรัทธาของประชาชน ดังนั้น


ศาสนาจึงเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจในการประพฤติปฏิบัติ เพ่ือให้ประชาชนพลเมืองได้ใช

หลักธรรมทางศาสนาท่ีตนนับถือ มาเป็นเคร่ืองมือในการประพฤติปฏิบัติตน ให้เกิดประโยชน


ในการพัฒนาจิตใจของตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ให้มีความมั่นคง


และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เกิดความสมานฉันท์ แต่การท่ีประชาชนพลเมืองจะเข้าถึง


หลักธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนานั้น เป็นสิ่งที่กระทำได้ยาก เน่ืองจากผลของการกระทำ

มีลักษณะเป็นนามธรรมเช่นเดียวกับเรื่องการศึกษาที่จะทำให้ผู้ท่ีรับการศึกษาได้เกิดปัญญาจริง ๆ
ย่อมเห็นผลช้าไม่เหมือนการสร้างวัตถุต่าง ๆ ที่สามารถเห็นผลได้รวดเร็วทันใจ ดังนั้น ศาสนา


ทุกศาสนาจึงจำเป็นต้องมีพิธีกรรมทางศาสนาเป็นเครื่องมือในการให้ศาสนิกชนของตนใช้เป็น
แนวทางในการปฏบิ ัตกิ จิ กรรมทางศาสนาทม่ี ีลักษณะเปน็ รปู ธรรมรว่ มกัน ปราชญท์ ง้ั หลายจงึ ได้ให้
ความสำคัญของศาสนพิธีไว้ว่า “เป็นดังเปลือกของต้นไม้ ซ่ึงทำหน้าท่ีห่อหุ้มแก่นของต้นไม้ คือ
เนื้อแท้อันเป็นสาระสำคัญของศาสนาไว้” ซึ่งเมื่อกล่าวให้ถูกต้อง ก็สามารถกล่าวได้ว่า ศาสนพิธี
และศาสนธรรมของศาสนาทั้งสองส่วนนี้ ย่อมมีความสำคัญเสมอกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน
เพราะหากไม่มีศาสนธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา ศาสนพิธีก็คงจะอยู่ได้ไม่นาน หรือหากมี
เฉพาะศาสนธรรมอันเป็นแก่นแท้ของศาสนา แต่ไม่มีศาสนพิธี แก่นแท้ของศาสนาก็ย่อมอยู่ได


ไมน่ านเชน่ กนั เพราะศาสนกิ ชนขาดแนวทางในการปฏิบัตกิ ิจกรรมทางศาสนารว่ มกนั ไมม่ สี ง่ิ ใดส่งิ หนึ่ง
เป็นศูนยก์ ลางอนั เปน็ เครอ่ื งยดึ เหนี่ยวจิตใจในการท่ีจะปฏบิ ตั กิ จิ กรรมรว่ มกัน


คูม่ ือการปฏบิ ัตศิ าสนพิธีเบอ้ื งตน้

14
ศาสนพิธีหรือพิธีกรรมของพระพุทธศาสนาเป็นส่ิงที่ช่วยหล่อเลี้ยงศาสนธรรม

อันเป็นแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาไว้ ดังนั้น การกระทำศาสนพิธีหรือพิธีกรรมต่าง ๆ ในทาง
พระพุทธศาสนา ควรที่จะต้องมีการแนะนำและให้ผู้ร่วมพิธีได้ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ

พิธตี ่าง ๆ ให้ถ่องแท้ตามหลักการทางพิธีกรรมของพระพทุ ธศาสนา เพ่อื ผู้ปฏิบตั จิ ะไดน้ ำไปปฏบิ ัติ
ได้อย่างถูกต้องตามจุดมุ่งหมายในศาสนพิธีนั้น ๆ เนื่องจากศาสนพิธีจัดเป็นวัฒนธรรมและ

จารีตประเพณีของชาติท่ีมีการสืบสานกันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ซ่ึงการปฏิบัติศาสนพิธ


จะต้องทำให้มคี วามเป็นระเบยี บเรียบร้อย สวยงาม เป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพ่อื กอ่ ให้เกดิ ความ
เล่ือมใสศรัทธาในการดำเนินกิจกรรมด้านพิธีของศาสนา ซ่ึงถือเป็นส่ิงสำคัญของพุทธศาสนิกชน
เพราะการดำเนินกิจกรรมของพิธีกรรมต่าง ๆ ถือเป็นก้าวแรกท่ีมีความเป็นรูปธรรมของการ


ก้าวเข้าสู่หลักการของพระพุทธศาสนาที่เป็นการเสริมสร้างคุณค่าทางด้านจิตใจ รวมทั้งการธำรงรักษา
เอกลักษณ์ของชาติและพระพุทธศาสนา ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติงานศาสนพิธีจึงควรมีความรู้
ความสามารถและความเข้าใจอย่างถูกต้อง เนื่องจากศาสนพิธีเป็นการสร้างระเบียบแบบแผน

แบบอย่างท่ีพึงปฏิบัติในศาสนาน้ัน ๆ ตามหลักการความเชื่อในศาสนาที่ตนนับถือ เม่ือนำมาใช้ใน
ทางพระพทุ ธศาสนาย่อมหมายถึง ระเบียบ แบบแผน และแบบอยา่ งท่ีพงึ ปฏิบัติในพระพทุ ธศาสนา
ซงึ่ บางทา่ นเรียกวา่ “พทุ ธศาสนพิธี”

ประโยชน์ของศาสนพิธี การปฏิบัติศาสนพิธีท่ีถูกต้องเรียบร้อย งดงาม ย่อมเพ่ิมพูน
ความศรัทธาปสาทะแก่ผู้ท่ีได้พบเห็น เป็นเครื่องแสดงเกียรติยศของเจ้าภาพและผู้เข้าร่วมพิธี

ทง้ั ยงั เป็นการรกั ษาวัฒนธรรมประเพณีท่ดี ีงามของชาตไิ ว




ประเภทของศาสนพธิ ที างพระพุทธศาสนา


๑) กุศลพิธี คือ พิธีกรรมท่ีเน่ืองด้วยการอบรมเพื่อความดีงามทางพระพุทธศาสนา
เฉพาะตวั บุคคล เชน่ การแสดงตนเปน็ พทุ ธมามกะ การเวียนเทยี นในวันสำคญั ทางพระพทุ ธศาสนา
การรกั ษาศลี ต่าง ๆ

๒) บุญพิธี คือ การทำบญุ อนั เปน็ ประเพณีในครอบครัว ในสังคม เกยี่ วเนอ่ื งกบั วิถีชีวิต
ของสังคม เชน่ พิธีทำบญุ งานมงคล พธิ ีทำบุญงานอวมงคล

๓) ทานพธิ ี คอื พิธถี วายทานต่าง ๆ เช่น ปาฏบิ ุคลิกทาน การถวายสงั ฆทาน การถวาย
กฐิน ผ้าป่า ผ้าอาบนำ้ ฝน และอน่ื ๆ

๔) ปกิณกพธิ ี คือ พธิ ีเบด็ เตล็ด เกยี่ วกบั มารยาทและวิธีปฏิบตั ิศาสนพธิ ี เช่น วธิ ตี ั้งโต๊ะ
หมบู่ ูชา จัดอาสนะสงฆ์ วธิ ีวงดา้ ยสายสญิ จน์ วิธีจดุ ธปู เทียน วธิ ีแสดงความเคารพ วิธปี ระเคนของ
พระสงฆ์ วิธีทอดผ้าบังสุกุล วิธีทำหนังสืออาราธนาและใบปวารณา วิธีอาราธนาศีล อาราธนา

พระปรติ ร อาราธนาธรรม วิธีกรวดนำ้ ฯลฯ


คู่มือการปฏิบัตศิ าสนพิธเี บ้ืองต้น

15

ประเภทของงานศาสนพิธ


งานพระราชพธิ

เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้ึนเป็นประจำปี เช่น


พระราชพิธีฉัตรมงคล พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา หรืองานที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ใหจ้ ัดขึน้ เปน็ กรณีพิเศษ เช่น พระราชพธิ อี ภเิ ษกสมรส พระราชพิธสี มโภชเดือนและขนึ้ พระอู

งานพระราชกศุ ล

เป็นงานที่พระมหากษัตริย์ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล งานพระราชกุศลบางงานต่อเนื่อง
กบั งานพระราชพธิ ี เช่น พระราชกุศลมาฆบูชา พระราชกศุ ลทกั ษิณานปุ ระทานพระบรมอัฐสิ มเด็จ
พระบรมราชบุพการี พระราชกุศลทรงบาตร

งานรัฐพิธี

เป็นงานพิธีที่รัฐบาลหรือทางราชการจัดขึ้นเป็นประจำปี โดยกราบทูลเชิญพระบาท
สมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั เสด็จพระราชดำเนนิ ทรงเป็นประธานประกอบพิธี เช่น รฐั พิธที ีร่ ะลึกวนั จกั รี
รัฐพธิ ฉี ลองวนั พระราชทานรฐั ธรรมนญู ซงึ่ ปจั จุบันทรงรับเขา้ เปน็ งานพระราชพิธี

งานราษฎร์พิธ

เป็นงานทำบุญตามประเพณีนิยมที่ราษฎรจัดข้ึนเพ่ือความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง


และชุมชน หรือเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศผลให้แก่ผู้ท่ีล่วงลับไปแล้วในโอกาสต่าง ๆ ซ่ึงเป็นการจัด
ตามความศรทั ธาและความเชื่อท่ถี ือปฏิบตั ิสืบทอดกนั มาตามทอ้ งถ่นิ หรอื ชมุ ชนนน้ั ๆ




องคป์ ระกอบของพธิ ี


๑) พิธีกรรม คือ การกระทำท่ีเป็นวิธีการเพ่ือให้ได้รับผลสำเร็จและนำไปสู่ผลที่ต้องการ
อันเป็นเคร่ืองน้อมนำศรัทธาท่ีจะพาเข้าสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ที่จัดกิจกรรมน้ัน ๆ


และสามารถน้อมนำให้ผู้ศรัทธาเข้าถึงธรรมท่ีสงู ขน้ึ

๒) พิธีการ คือ ขั้นตอนของพิธีท่ีกำหนดไว้ตามลำดับต้ังแต่เร่ิมต้นพิธีจนจบพิธ ี


เพ่ือให้การจัดกิจกรรมในพิธีนั้น ๆ เป็นไปด้วยความถูกต้อง เรียบร้อย และสวยงาม อันนำมาซึ่ง
ความศรัทธาและความเช่ือในการจัดกจิ กรรมร่วมกนั ทงั้ ในส่วนผ้ทู เี่ ข้ารว่ มพิธีและผู้ท่ีพบเห็น

๓) พิธีกร คือ ผู้ดำเนินรายการประกอบพิธีกรรมนั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้ันตอนท่ีได้
กำหนดไว้ โดยทำหน้าที่รับผิดชอบในด้านพิธีการ ประสาน ควบคุม และกำกับพิธีการต่าง ๆ


ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามกำหนดการ ในกรณีที่เป็นพิธีกรทางศาสนา จะเรียกว่า


“ศาสนพิธีกร” ซงึ่ หมายถึงผู้ทำหน้าทีค่ วบคมุ และปฏิบัติศาสนพิธี ให้ถูกต้องตามพิธีกรรมทางศาสนา
ตลอดจนประสานงานเพื่อให้การดำเนนิ กิจกรรมในพธิ นี ้นั ๆ เป็นไปด้วยความเรยี บรอ้ ย


คูม่ ือการปฏิบตั ิศาสนพธิ เี บอ้ื งตน้

16
คณุ สมบัตขิ องศาสนพิธีกร

๑) ความรู้ ความสามารถ ในการปฏบิ ัตศิ าสนพิธี

๒) มไี หวพริบ ปฏิภาณ ตดั สนิ ใจ และแก้ไขข้อขัดขอ้ งไดร้ วดเรว็ และเรียบรอ้ ย

๓) มีความแม่นยำ ละเอยี ด รอบคอบ

๔) แตง่ กายและปฏิบัติตนใหเ้ หมาะสมตามกาลเทศะ มมี ารยาทเรยี บรอ้ ย

๕) สามารถประสานงาน ควบคุม กำกับพิธีการได้ด




ลำดับของศาสนพธิ ี


การเตรียมการ


เม่ือมีการปรึกษาหารือและมีข้อตกลงกันเป็นท่ีเรียบร้อยแล้ว ในการจัดพิธีเนื่องใน


โอกาสต่าง ๆ น้ัน ผู้ท่ีได้รับมอบหมายให้ทำหน้าท่ีในการเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมจะต้องมีการเตรียมการ

ดังน้

๑) การเตรยี มสถานท่

๒) การเตรยี มอุปกรณ

๓) การเตรียมบคุ ลากร

๔) การเตรียมกำหนดการ




การเตรยี มสถานท
่ี

กิจกรรมแรกที่ผู้ดำเนินกิจกรรมควรคำนึงถึง คือ การเตรียมสถานที่ ควรคำนึงถึง


ความเหมาะสมของสถานที่ งานท่ีจะจัดเป็นงานพิธีใด งานมงคล หรืองานอวมงคล สถานที่น้ัน


มีความเหมาะสมกับการจัดพิธีหรือไม่เพียงใด ซึ่งจะได้มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมให้เหมาะสม
กับสถานท่ี โดยมีหลกั การพจิ ารณา ดงั นี

๑) ความเหมาะสมของสถานท่ใี นการจัดพิธี

๒) มีความกว้างขวาง เพยี งพอกับการรองรับผูร้ ่วมพิธ

๓) สะอาด สะดวก ปลอดภยั

๔) ไมม่ ีเสยี งรบกวน




คู่มอื การปฏบิ ตั ิศาสนพธิ เี บือ้ งตน้

17

ผังการจัดสถานท
่ี

แบบอยา่ งการจัดเตรียมสถานท
่ี

การจดั ท่ีน่งั ผ้มู ารว่ มงาน การจัดอาสน์สงฆ

คู่มอื การปฏบิ ัตศิ าสนพธิ เี บ้อื งต้น

18


การจัดอาสน์สงฆ์ในงานสวดพระอภิธรรม


การจดั เตรียมเครื่องไทยธรรมไวท้ ้ายอาสนส์ งฆ

ค่มู ือการปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ ีเบ้อื งตน้

19

การจดั สถานท่ีจัดเลี้ยงอาหารผู้มารว่ มงาน


การเตรียมอปุ กรณ


การเตรียมอุปกรณ์ เป็นส่ิงจำเป็นของพิธีต่าง ๆ ซึ่งผู้ทำหน้าที่ศาสนพิธีกรควรมีความรู้
ความเข้าใจเก่ียวกับพิธีการหรือพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์ของการจัดศาสนพิธ ี

เป็นงานมงคล งานอวมงคล หรือการจัดงานมงคลและงานอวมงคลพรอ้ มกนั ซึ่งแต่ละงานจะต้องใช้
อปุ กรณ์ในการประกอบพธิ ที แี่ ตกต่างกนั เชน่ งานมงคลสมรส งานวางศิลาฤกษ์ เป็นตน้

อุปกรณห์ ลักท่ใี ช้ในงานศาสนพิธี

๑) โต๊ะหมู่บูชา พระพทุ ธรูป แท่นกราบ

๒) แจกันดอกไม้ หรอื พานพุ่ม

๓) กระถางธปู เชงิ เทียน

๔) ธปู เทียน บชู าพระ

๕) เทยี นชนวน

๖) ท่กี รวดน้ำ

๗) สำลี กรรไกร เชอ้ื ชนวน (นำ้ มนั เบนซินผสมกับเทยี นข้ผี ้งึ แท)้

๘) ใบปวารณา และจตปุ จั จยั ไทยธรรม

๙) เคร่ืองขยายเสยี งพรอ้ มอุปกรณ


คู่มือการปฏิบตั ศิ าสนพธิ ีเบ้อื งตน้

20
๑๐) เครื่องรับรองพระสงฆ์ เช่น น้ำร้อน น้ำเย็น อาสน์สงฆ์หรือพรมน่ัง เส่ือ หมอนพิง
กระดาษเช็ดมือ กระโถน เป็นตน้


การจดั โตะ๊ หม่บู ชู ากรณีพระราชวงศเ์ สดจ็ ฯ การจัดโต๊ะหมู่บูชาลกั ษณะเตม็ รูปแบบ

เป็นองค์ประธาน
ที่กรวดน้ำ





























การจดั โต๊ะหมู่บชู าแบบประยกุ ต์





คูม่ อื การปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ ีเบ้อื งตน้

21

พดั ยศสมณศกั ด์ ิ พดั รองหรือตาลปตั ร




เครื่องสกั การะ


คมู่ อื การปฏิบตั ิศาสนพิธเี บือ้ งต้น































พานพุ่ม

22

ครอบนำ้ มนต์และทปี่ ระน้ำพระพุทธมนต ์ สายสิญจน


เทียนชนวน





































กระบะมุก
ค่มู ือการปฏบิ ตั ิศาสนพิธเี บื้องตน้

23
อุปกรณ์เฉพาะพธิ ี (เพม่ิ จากอปุ กรณ์หลกั )

พธิ ีงานมงคล

๑) ภาชนะ น้ำพระพทุ ธมนต์ เชน่ ครอบน้ำมนต์/บาตร/ขนั ที่ประพรมน้ำพระพุทธมนต์
(มดั หญา้ คา ใบมะยม ดอกไมเ้ งนิ ทอง)

๒) สายสิญจน ์

๓) เทียนน้ำมนต์ (เทียนขีผ้ ง้ึ แท้ นิยมขนาดน้ำหนกั ๑ บาท)

๔) พานรองสายสิญจน์ จำนวน ๒ พาน



พิธีมงคลสมรส

๑) มงคลแฝด

๒) โถปริกแปง้ กระแจะสำหรับเจมิ

๓) สงั ข์

๔. หมอนกราบ ๒ ใบ



พธิ วี างศลิ าฤกษ์

๑) แผ่นศลิ าฤกษ์

๒) ไม้มงคล ๙ ชนิด คือ ไม้ชัยพฤกษ์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้สักทอง ไม้ไผ่สีสุก ไม้พะยูง


ไม้ทองหลาง ไมก้ นั เกรา ไมท้ รงบาดาล และไมข้ นุน

๓) ค้อนตอกไมม้ งคล

๔) แผ่นอฐิ ทอง-นาก-เงนิ อย่างละ ๓ แผน่ (รวม ๙ แผ่น)

๕) โถปรกิ กระแจะเจมิ

๖) ทองคำเปลวปดิ ศิลาฤกษ์ ๓ แผ่น พร้อมขี้ผงึ้ หรอื สิ่งที่ทาแผ่นศิลาฤกษ์เพอื่ ปดิ แผ่นทอง

๗) ปูนซเี มนตผ์ สมเสรจ็ พร้อมเกรยี งปาดปนู

๘) ตลบั นพรัตน์

๙) พวงมาลยั

๑๐) ขา้ วตอกดอกไม้ เหรียญเงิน และเหรยี ญทอง

๑๑) กระดาษ/ผา้ เช็ดมือของประธาน


คมู่ อื การปฏบิ ัตศิ าสนพิธเี บอ้ื งตน้

24
พธิ เี ปิดป้ายอาคาร

๑) โถปรกิ แปง้ กระแจะเจิม

๒) ทองคำเปลว ๓ แผน่ พรอ้ มขผ้ี ้ึงหรอื สงิ่ ทที่ าสำหรับปดิ แผ่นทอง

๓) ผา้ คลมุ ปา้ ย พร้อมสายชักผา้ คลมุ ปา้ ย

๔) กระดาษ/ผ้าเช็ดมือของประธาน



พธิ งี านอวมงคล

พธิ ีสวดพระอภิธรรม

๑) ภูษาโยง (ถ้าศพมีฐานันดรศักดิ์ตั้งแต่ช้ันหม่อมเจ้าข้ึนไป ต้องเตรียมผ้าขาว

กวา้ งประมาณ ๑๐ หรือ ๑๒ นิว้ ยาวเสมอกับแถวพระสงฆ์ จำนวน ๑ ผนื เรียกวา่ “ผา้ รองโยง”)
แถบทอง หรอื สายโยง สำหรับโยงมาจากหีบหรอื โกศศพ

๒) เครอ่ื งทองน้อย ๑-๒ ท่ี (ตัง้ หน้าหบี ศพ)

๓) ตู้พระอภิธรรม พรอ้ มโต๊ะต้ังตู้พระอภธิ รรม

๔) ผา้ ไตร หรือผ้าสำหรับทอดบังสกุ ลุ

๕) เคร่ืองกระบะบูชาพระอภิธรรม (ในกรณีไม่มีเคร่ืองกระบะบูชา ให้ใช้เชิงเทียน ๑ คู่
แจกันดอกไม้ ๑ คู่ และกระถางธปู ๑ กระถาง ตงั้ หนา้ ตู้พระอภธิ รรมแทนเพอื่ จุดบชู าพระธรรม)



พิธีพระราชทานเพลิงศพ หรอื ฌาปนกจิ ศพ (อุปกรณ์เพ่ิมจากการสวดพระอภิธรรม)

๑) ธรรมาสน์เทศน์ คมั ภรี เ์ ทศน์ พดั รอง ตะลุม่ พาน

๒) เครอ่ื งทองน้อย จำนวน ๑ ที่ (เพิ่มอีก ๑ ทส่ี ำหรับประธานจดุ บูชาพระธรรม)

๓) เทยี นสอ่ งธรรม

๔) ผา้ ไตร หรือผ้าสำหรับทอดบังสุกลุ

๕) เครื่องไทยธรรมบชู ากณั ฑ์เทศน



พธิ ีทำบญุ ครบรอบวนั ตาย

๑) อัฐิ/รปู ผูต้ าย/ปา้ ยชอื่ ของบรรพบรุ ษุ

๒) โตะ๊ หมู่อกี ๑ ชดุ ใชเ้ ปน็ ที่บชู าอฐั ิ

๓) เคร่อื งทองนอ้ ย

๔) ภษู าโยง แถบทอง

๕) ผา้ ไตรหรอื ผ้าสำหรบั ทอดบงั สุกลุ




คมู่ อื การปฏบิ ัติศาสนพธิ เี บื้องตน้

25

ตวั อยา่ งอุปกรณส์ ำหรบั พิธีงานอวมงคล






เครอื่ งทองน้อยแกว้ (นิยมใช้กบั พระสงฆ์) เครอ่ื งทองนอ้ ยทองเหลอื ง





































การตง้ั อฐั ิเพ่อื บำเพ็ญกุศลวนั มรณภาพอดีตเจา้ อาวาส










คู่มอื การปฏบิ ตั ิศาสนพิธีเบื้องต้น

26

เทยี นสอ่ งธรรม ภูษาโยง


การเตรยี มบคุ ลากร


การเตรียมบุคลากร เป็นการแสดงถึงความพร้อมของผู้จัดงานพิธีต่าง ๆ เพื่อ


ความสะดวกในการประสานงาน อันเป็นการแบ่งหน้าท่ีรับผิดชอบในแต่ละส่วนของผู้ปฏิบัติงาน

และสามารถตรวจสอบได้ว่านิมนต์พระสงฆ์หรือยัง นิมนต์จำนวนเท่าใด ใครเป็นประธาน


ใครรบั ภารกจิ สว่ นใด ใครเป็นพิธกี ร ใครทำหนา้ ที่ศาสนพิธีกร เป็นต้น

พระสงฆ์ การนิมนต์พระสงฆ์ ควรเขียนเป็นหนังสือ หรือภาษาทางราชการ เรียกว่า
“การวางฎีกานิมนต์พระสงฆ์” เพื่อถวายพระสงฆ์ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งประกอบด้วยข้อความสำคัญ
เป็นการนมัสการให้พระสงฆ์ทราบว่า นิมนต์งานพิธีใด วัน เวลา และสถานที่ในการประกอบพิธี
อยู่ที่ไหนควรแจ้งให้ชัดเจน สำหรับจำนวนพระสงฆ์ในแต่ละพิธี ไม่ได้กำหนดจำนวนมากไว้เท่าใด
แตม่ กี ำหนดจำนวนขา้ งน้อยไว้ คอื ไม่ต่ำกวา่ ๕ รปู ๗ รูป ๙ รปู และ ๑๐ รูป เพือ่ จะได้ครบองค์
คณะสงฆ์ สว่ นงานพระราชพธิ ี หรอื พธิ ขี องทางราชการนิยมนมิ นตพ์ ระสงฆ์ ๑๐ รูป ท้งั งานมงคล
และงานอวมงคล แต่ถ้าหากเปน็ พิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมศพประจำคนื นั้น นิมนตพ์ ระสงฆ์
สวดพระอภิธรรม จำนวน ๔ รปู




คมู่ ือการปฏิบัติศาสนพธิ เี บอื้ งต้น

27

ตวั อย่างฎกี านิมนต์พระสงฆ์ของทางราชการ

ค่มู อื การปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ เี บื้องตน้

28

ตัวอยา่ งหนงั สือนิมนต์พระสงฆท์ วั่ ไป


ประธานพิธี คือ บุคคลท่ีเจ้าภาพเชิญมาเป็นเกียรติแก่งานพิธีเพื่อทำหน้าที่เป็น

ประธานในพิธีซึ่งมีท้ังแบบเป็นทางการ คือ มีการเชิญโดยแจ้งให้ผู้ท่ีเป็นประธานทราบล่วงหน้า
อย่างเป็นทางการ และแบบไม่เป็นทางการ คือ การเชิญผู้ท่ีมาร่วมงานทำหน้าที่เป็นประธาน

โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ซ่ึงถ้าไม่เป็นทางการก็ไม่สู้กระไรนัก แต่หากเป็นทางการควรมี
การจัดเตรียมสถานท่ีให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ที่เชิญมาเป็นประธานในพิธี เช่น การจัดที่นั่ง

การตอ้ นรบั การจัดเตรียมเคร่ืองรบั รอง เปน็ ต้น อนั เปน็ การแสดงออกถงึ การใหเ้ กียรติแกผ่ ทู้ รี่ ับเชิญ
มาทำหนา้ ทีเ่ ป็นประธานในพธิ ีน้นั ๆ ดว้ ย และควรแจ้งกำหนดการของพธิ ีให้ผ้ทู ำหนา้ ท่ีเป็นประธาน
ได้ทราบ


คู่มือการปฏิบตั ิศาสนพิธเี บอ้ื งตน้

29
ศาสนพิธีกร คือ ผู้ทำหน้าท่ีเป็นผู้ดำเนินการพิธีทางศาสนา ซ่ึงมีความรอบรู้ในด้าน
พิธีการต่าง ๆ ทำหน้าท่ีควบคุม ปฏิบัติการ จัดการ และประสานงานระหว่างผู้ร่วมปฏิบัติงานพิธี
ตลอดจนถึงการให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมพิธีทางพระพุทธศาสนาได้อย่าง
ชัดเจนและถูกต้องตามโบราณประเพณีท่ีไดม้ กี ารสืบทอดกันมา

ผู้ร่วมงาน คือ ผู้ท่ีเจ้าภาพเชิญมาร่วมเป็นเกียรติแก่พิธี ดำเนินกิจกรรมในพิธีร่วมกัน
เช่น ร่วมฟังพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนา เจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพควรประมาณจำนวน

ผทู้ ี่รบั เชญิ มาร่วมกจิ กรรมใหเ้ หมาะสมกบั สถานที่ ควรกำหนดผทู้ ค่ี อยตอ้ นรับผูม้ าร่วมงาน กำหนด
สถานที่นั่งสำหรับผู้เป็นประธาน ของที่ระลึก เป็นต้น ถ้าบุคคลที่เชิญเป็นผู้ใหญ่ เจ้าภาพ

ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ใครน่ังตรงไหน อย่างไร เน่ืองจากเม่ือผู้รับเชิญน่ังเรียบร้อยแล้ว ถ้าม


การเคลื่อนยา้ ยท่ีนงั่ ในภายหลงั ผ้รู บั เชญิ จะเสียความรู้สกึ ทด่ี ีในการเข้าร่วมกิจกรรม




การเตรยี มกำหนดการ


กำหนดการ คือ เอกสารที่จัดทำขึ้นเพ่ือบอกลักษณะของงาน เป็นต้นว่า งานอะไร


ใครเป็นประธาน สถานท่ี วัน เวลาในการจัดงาน ลำดับขั้นตอนของงาน การแต่งกาย เพ่ือให้ผู้ที่
ร่วมในพิธี ๆ มคี วามเข้าใจตรงกันและทราบขน้ั ตอนของพิธี

กำหนดการมี ๔ ประเภท คือ

๑. หมายกำหนดการ

๒. หมายรับสง่ั

๓. พระราชกิจ

๔. กำหนดการ



หมายกำหนดการ เป็นเอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานพระราชพิธีโดยเฉพาะ
ลักษณะของเอกสารจะต้องอ้างพระบรมราชโองการ คือ ข้ึนต้นด้วยข้อความว่า “นายกรัฐมนตรี
หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการเหนือเกล้าฯ ส่ังว่า...” เสมอไป และในทาง
ปฏิบัติเจ้าหน้าท่ีจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวน้ี เสนอนายกรัฐมนตรีหรือเลขาธิการ
พระราชวังลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ




คมู่ ือการปฏบิ ัตศิ าสนพิธเี บอ้ื งต้น

30
แบบอยา่ งหมายกำหนดการ


ค่มู ือการปฏิบตั ศิ าสนพธิ เี บื้องตน้

31

แบบอย่างหมายกำหนดการ


คู่มือการปฏิบัตศิ าสนพิธีเบื้องตน้

32

ค่มู อื การปฏบิ ตั ิศาสนพธิ เี บ้อื งตน้

33

หมายรับส่ัง คือ เอกสารที่มีผู้รับรับสั่งอัญเชิญมาสั่งให้เจ้าหน้าท่ีไปปฏิบัติตามหน้าที่
ราชการ



แบบอย่างหมายรบั สง่ั





(แบบ ก.)

หมายรบั สง่ั ที่ ๒๗๘๐๕ สำนักพระราชวงั



๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓



วันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๔๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังจัดที่
สำหรับลงพระนามและลงนามถวายพระพรไว้ทใ่ี นพระบรมมหาราชวงั

วนั อาทิตย์ ท่ี ๑ มกราคม ๒๕๔๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. ถึงเวลา ๑๗.๐๐ น.

การแต่งกาย เครอื่ งแบบปกติขาว



วัน หน้าท่ี ส
ำนักเลขาธิการนายกรฐั มนตรี

นำหมายกราบเรียน นายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งผบู้ งั คับบญั ชา

สำนักพระราชวงั เพ่ือทราบ





ท้ังนี้ ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยก็ให้ถาม
ผู้รบั รับส่งั โดยหนา้ ทรี่ าชการ



ผรู้ ับรับสงั่


คมู่ ือการปฏิบตั ิศาสนพิธีเบ้อื งต้น

34
แบบอยา่ งหมายรับส่งั


ค่มู ือการปฏิบตั ศิ าสนพธิ เี บื้องตน้

35
พระราชกิจ คือ เอกสารกำหนดข้ันตอนการปฏิบัติพระราชพิธี หรือพิธีการของ


องค์ประธานในพธิ ีทข่ี ้าราชการผปู้ ฏบิ ัตจิ ะตอ้ งสนองงานตามลำดับขัน้ ตอน




แบบอยา่ งพระราชกิจ

พระราชกิจ


พระราชกศุ ลทักษิณานุปทาน



วันอังคารที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๔๘

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ

พระราชดำเนินโดยรถยนตพ์ ระท่ีนง่ั จากพระตำหนักจติ รลดารโหฐาน พระราชวงั ดสุ ิต
ไปยังพระบรมมหาราชวัง เขา้ ทางประตูวิเศษไชยศรี ประตพู มิ านไชยศร

๒. เวลา ๑๗.๐๐ น. รถยนตพ์ ระทน่ี ั่งเทยี บท่ีพระทวารเทเวศรรกั ษา เสร็จฯ เข้าสพู่ ระทีน่ งั่
อมรินทรวินจิ ฉยั สมเดจ็ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ ทรงยืนหนา้ พระราชอาสน

๓. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ผ่านพระบรมวงศ์ไปหลังพระแท่นนพปฎล
มหาเศวตฉัตร ทรงจุดธูปเทยี นเครื่องนมสั การบูชาพระพุทธรูปที่หน้าพระที่นงั่ บุษบก
มาลา ทรงกราบ แลว้ เสด็จฯ ไปที่หน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร

๔. พระบาทสมเด็จพระเจา้ อยู่หัว และสมเดจ็ พระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ นี าถ ทรงจดุ
ธูปเทียน เครื่องทองน้อยแล้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ทรงกราบ


ถวายบงั คมพระบรมอฐั ิ

๕. ทรงรบั การถวายความเคารพของผูม้ าเฝา้ ฯ ประทบั พระราชอาสน์ (พระสงฆ์ ๒๕ รูป
สวดพระพุทธมนต์)

๖. เมื่อพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ จบ (พระเทพปริยัติมุนี วัดทองนพคุณ ขึ้นนั่งยัง
ธรรมาสนเ์ ทศน์)

๗. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนดูหนังสือเทศน์พระราชทานให้เจ้า


พนักงานพระราชพธิ ีเชญิ ไปปกั ท่ีจงกลธรรมาสนเ์ ทศน

๘. พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจา้ ฯ พระบรมราชนิ ีนาถ ทรงจดุ
ธูปเทียนเครื่องทรงธรรม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเทียน
เครื่องทองน้อยท่ีหน้าพระแท่นนพปฎลมหาเศวตฉัตร สำหรับพระบรมอัฐิทรงธรรม
ประทับพระราชอาสนท์ เ่ี ดมิ ทรงศลี


คู่มือการปฏบิ ัติศาสนพิธีเบ้ืองต้น

36 (พระเทพปริยัติมุนี ถวายศีลและถวายพระธรรมเทศนา จบ ลงมานั่งยังอาสนสงฆ์)


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงประเคนเครื่องไทยธรรมกัณฑ์เทศน์
ประทับพระราชอาสน์ที่เดิม (เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์ท่ีสวดพระพุทธมนต์ ไปน่ัง

ยงั อาสนสงฆ์ สำหรับสดับปกรณแ์ ละลาดพระภษู าโยง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยหู่ ัว
เสด็จฯ ไปทรงทอดผ้าไตร ๒๖ ไตร ประทับพระราชอาสน์ที่เดิม (พระสงฆ์ท่ีสวด
พระพุทธมนต์และเทศน์ สดับปกรณ์พระบรมอัฐิ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงหลั่งทักษิโณทก (พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา



ออกจากพระที่นั่ง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปทรงกราบพระพุทธรูป


ท่ีหน้าพระท่ีนั่งบุษบกมาลาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ

พระบรมราชินีนาถ ทรงกราบถวายบังคมพระบรมอัฐิท่ีหน้าพระแท่นนพปฎล



มหาเศวตฉัตร ทรงรับการถวายความเคารพของผู้มาเฝ้าฯ เสด็จฯ ออกจาก



พระท่ีน่ังอมรินทรวินิจฉัย ประทับรถยนต์พระท่ีน่ังท่ีพระทวารเทเวศรรักษา



เสดจ็ พระราชดำเนนิ กลับ




ควรมิควรแล้วแตจ่ ะทรงพระกรณุ าโปรดเกลา้ ฯ ขอเดชะ


ขา้ พระพุทธเจา้


๓๐ เมษายน ๒๕๔๘






ค่มู ือการปฏบิ ตั ศิ าสนพธิ เี บอื้ งต้น

37
กำหนดการ คือ เอกสารแจ้งกำหนดขั้นตอนของงานโดยท่ัวไป เป็นของส่วนราชการ
หรอื ส่วนเอกชนจดั ทำขึ้น แม้ว่างานน้ันจะเปน็ งานท่เี กยี่ วขอ้ งถึงเบื้องพระยคุ ลบาท เชน่ งานเสดจ็
พระราชดำเนนิ ถ้าหากงานนั้นมิไดเ้ ป็นงานพระราชพธิ ี ซ่ึงกำหนดข้ึนโดยพระบรมราชโองการแล้ว
เรียกว่า กำหนดการท้ังสิ้น เช่น ข้ันตอนของงานสวนสนามสำแดงความสวามิภักด์ิของทหารรักษา
พระองค์ ก็ใช้คำว่า กำหนดการ เพราะงานน้ีมิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรมราชโองการให้จัดขึ้น


หากแตเ่ ป็นทางราชการทหารจดั ขึน้ เพื่อสำแดงความสวามภิ กั ด์ติ อ่ เบ้อื งพระยุคลบาท




แบบอยา่ งกำหนดการของสำนักพระราชวงั




กำหนดการ

ทรงพระกรุณาโปรดเกลา้ ฯ ให

สมเด็จพระเทพรัตนราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมาร

เสด็จพระราชดำเนนิ แทนพระองคพ์ ระราชทานปรญิ ญาบตั ร

แกผ่ ูส้ ำเรจ็ การศึกษาจากมหาวิทยาลัยบรู พา ประจำปกี ารศึกษา ๒๕๕๐

ณ อาคารหอประชมุ ธำรง บัวศรี มหาวิทยาลยั บรู พา

ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จงั หวัดชลบรุ

วนั อังคารท่ี ๒๕ พฤศจิกายน ๕๕๑


...............................

เวลา ๑๓,๓๐ น. - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน


โดยรถยนต์พระท่ีน่ังจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ไปยัง
มหาวทิ ยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมอื ง จังหวดั ชลบุร

เวลา ๑๔.๓๐ น. - รถยนต์พระท่ีน่ังถึงมหาวิทยาลัยบูรพา ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัด
ชลบุรี (วงดุริยางคบ์ รรเลงเพลงสรรเสริญพระบารม)ี

- ผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี อธิบดีผู้พิพากษาภาค ๒ ผู้บัญชาการมณฑลทหาร
บทที่ ๑๔ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค ๒ นายกสภามหาวิทยาลัยบูรพา
กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้แทน
คณาจารย์ และผู้แทนนิสิต เฝา้ ฯ รับเสดจ็ ฯ

- นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชลบุรี ผู้แทนข้าราชการมหาวิทยาลัยบูรพาและ


ผแู้ ทนนิสติ มหาวทิ ยาลัยบรู พา ทลู เกลา้ ฯ ถวายพวงมาลยั

- เสด็จฯ เขา้ ภายในอาคารหอประชุมธำรง บัวศรี ช้ัน ๒ (โดยลิฟต์)

- เสดจ็ ฯ ไปยังห้องรับรอ


ค่มู อื การปฏบิ ตั ิศาสนพิธีเบอ้ื งต้น

38
- ทรงฉลองพระองค์ครยุ

- ทรงลงพระนามาภิไธยในสมดุ เยีย่ ม

- เสด็จฯ ออกจากห้องรับรองเข้าภายในหอประชุม (ดนตรีบรรเลงเพลง
สรรเสรญิ พระบารม)ี

- ทรงจุดธูปเทียนเครอื่ งนมสั การบชู าพระพุทธนวราชบพติ ร

- ทรงกราบ

- ประทบั พระราชอาสน์

- อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายสูจิบัตรและหนังสือ


ที่ระลึกอธิการบดี กราบบังคมทูลเบิกพระภิกษุที่สำเร็จการศึกษา เข้ารับ
พระราชทานปริญญาบัตร (จำนวน ๔ รูป) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปริญญาบัตรแด่พระภิกษุที่สำเร็จการศึกษา
ตามลำดับ อธิการบดี กราบบังคมทูลเบิกผู้ทรงคุณวุฒิ เข้ารับพระราชทาน
ปริญญากิตติมศักด์ิ (จำนวน ๗ ราย) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม
บรมราชกุมารี พระราชทานปรญิ ญากติ ติมศักด์ิ แกผ่ ู้ทรงคุณวุฒิ (ตามลำดับ)

ขณะน้ี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา) รองอธิการบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา
อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ หัวหน้าภาควิชาจิตวิทยาประยุกต ์

คณะศึกษาศาสตร์ คณบดีวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ อาจารย์ประจำวิทยาลัย
การบริหารรัฐกิจ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณบดีคณะโลจิสติกส์
คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ คณบดีคณะเทคโนโลยีทางทะเล รองคณบด

ฝ่ายบริหารและวิจัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อาจารย์ประจำ
คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ คณบดีคณะการจัดการและการท่องเท่ียว คณบดีคณะ
วิทยาศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา คณบดีคณะศึกษาศาสตร์
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ กราบบังคมทูล
เบิกผู้สำเร็จการศึกษา เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร (จำนวน ๖,๖๕๔ ราย)
สมเด็จพระเทพรตั นราชสดุ าฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานปรญิ ญาบตั ร
แก่ผู้สำเร็จการศึกษา ตามลำดับ (ขณะน้ี พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา)


ผู้ได้รับพระราชทานปริญญาบัตร กล่าวคำปฏิญาณ สมเด็จพระเทพรัตน

ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราโชวาท (จบพระราโชวาท/
ดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสรญิ พระบารม)ี


ค่มู ือการปฏิบัติศาสนพิธีเบือ้ งตน้

39

- เสด็จฯ ไปทรงกราบทหี่ น้าเครอ่ื งนมสั การ

- เสด็จฯ ออกจากหอประชมุ ไปยงั ห้องรับรอง

- ทรงเปลอื้ งฉลองพระองค์ครยุ

เวลา ๑๙.๐๐ น. - เสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับพระตำหนัก


จิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ถงึ เวลาประมารณ ๒๐.๐๐ น.

(วงดรุ ิยางคบ์ รรเลงเพลงสรรเสริญพระบารม)ี

การแต่งกาย

- ข้าราชการในพ้นื ท่ี แตง่ เคร่ืองแบบปกติขาว

- ขา้ ราชการในพระองค์ แต่งเครอ่ื งแบบปกตกิ ากีคอตั้ง

...............................







๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑






ค่มู ือการปฏิบตั ิศาสนพิธเี บือ้ งตน้

40

หลักการเขยี นกำหนดการ


หลักการเขียนกำหนดการ กำหนดเป็น ๓ สว่ น คอื ส่วนตน้ ส่วนกลาง และส่วนทา้ ย

ส่วนตน้ เป็นสว่ นท่บี อกชือ่ งาน สถานท่ี วัน เวลา ที่จะจดั งาน




ตัวอย่างสว่ นต้น

กำหน
ดการ


พธิ ี...........................................................................................(ทำอะไร)

ณ..........................................................................................(สถานท่ที ่ีไหน)


วนั ที่............เดือน.......................ปี.............. เวลา.............น. (เม่อื ไร)




กำหนดการ

บำเพ็ญกุศลเพือ่ ความเป็นสิรมิ งคลทท่ี ำการกระทรวงวฒั นธรรมแห่งใหม

ณ ห้องประชมุ กระทรวงวัฒนธรรม ช้นั ๑๙ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์


วนั ท่ี ๒๘ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๔๘ เวลา ๑๐.๐๐ น.


ค่มู ือการปฏิบัติศาสนพิธเี บอ้ื งต้น

41
ส่วนกลาง เขียนลำดับขั้นตอนของกิจกรรมในงานพิธีนั้น ๆ ตั้งแต่เร่ิมต้นจนถึงลำดับ

ข้ันตอนสดุ ท้ายของงานพิธ




ตัวอย่างสว่ นกลาง

เวลา ๐๙.๔๕ น. - ขา้ ราชการและผ้มู ีเกยี รตพิ ร้อมกัน ณ สถานท่ีประกอบพิธี

เวลา ๑๐.๐๐ น. - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีเข้าสู่สถานที่

ประกอบพิธ

- จุดธูปเทียน บูชาพระรตั นตรยั

- เจา้ หน้าที่อาราธนาศลี

- ประธานสงฆ์ใหศ้ ีล

- เจา้ หนา้ ท่ีอาราธนาพระปริตร

- พระสงฆเ์ จรญิ พระพุทธมนต์

- ถวายภตั ตาหารเพล

- ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม

- พระสงฆ์อนุโมทนา

- ประธานกรวดน้ำ รบั พร

- พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต์

- เปน็ เสร็จพิธี

เวลา ๑๒.๐๐ น. - รับประทานอาหารรว่ มกนั


คมู่ ือการปฏบิ ัติศาสนพธิ เี บอ้ื งตน้

42
สว่ นท้าย ด้านซ้ายของกำหนดการจะเขยี นบอกในเรอ่ื งการแตง่ กาย หรอื หมายเหตอุ ่ืน ๆ

ส่วนด้านขวาเขียนบอก ช่ือ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ท่ีสามารถติดต่อประสานงานได้ ของหน่วยงาน
หรือผู้จัดทำกำหนดการ เนื่องจากเม่ือมีปัญหาในกำหนดการสามารถประสานงานกันได้ทันเวลา
ก่อนถงึ พธิ กี าร



ตัวอยา่ งส่วนท้าย


หมายเหตุ แต่งกายชุดสากล หรือชดุ สุภาพ ฝา่ ยพธิ ี กองศาสนปู ถมั ภ์

กรมการศาสนา

โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๒-๘

โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖


คมู่ ือการปฏบิ ัตศิ าสนพธิ เี บอ้ื งต้น

43


ตวั อยา่ งกำหนดการเตม็ รูปแบบ


กำหนดการ

บำเพญ็ กุศลเพือ่ ความเปน็ สริ มิ งคลทที่ ำการกระทรวงวัฒนธรรมแห่งใหม

ณ หอ้ งประชุมกระทรวงวัฒนธรรม ชั้น ๑๙ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์

วันท่ี ๒๘ กุมภาพนั ธ์ ๒๕๔๘ เวลา ๑๐.๐๐ น.



เวลา ๐๙.๔๕ น. - ขา้ ราชการและผมู้ เี กียรตพิ รอ้ มกัน ณ สถานท่ปี ระกอบพิธ

เวลา ๑๐.๐๐ น. - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีเข้าสู่สถานทป่ี ระกอบพธิ ี

- จดุ ธูปเทียน บชู าพระรตั นตรยั

- เจ้าหน้าทอ่ี าราธนาศีล

- ประธานสงฆ์ใหศ้ ลี

- เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปรติ ร

- พระสงฆ์เจรญิ พระพทุ ธมนต

- ถวายภัตตาหารเพล

- ถวายจตุปัจจยั ไทยธรรม

- พระสงฆอ์ นโุ มทนา

- ประธานกรวดน้ำ รบั พร

- พระสงฆ์พรมน้ำพระพุทธมนต

- เป็นเสรจ็ พธิ

เวลา ๑๒.๐๐ น. - รบั ประทานอาหารรว่ มกัน



หมายเหตุ แตง่ กายชุดสากล หรือชุดสภุ าพ ฝ่ายพิธี กองศาสนูปถัมภ์

กรมการศาสนา

โทร. ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๒-๘

โทรสาร ๐ ๒๔๒๒ ๘๘๐๖


คู่มอื การปฏบิ ัตศิ าสนพธิ เี บ้อื งต้น


Click to View FlipBook Version