ใบความรู้
เรอ่ื ง ระบบการจัดหมู่หนงั สอื
1. ความหมายของการจดั หมวดหม่หู นังสือ
การจัดหมวดหมู่หนังสือ คือ การจัดกลุ่มหนังสือ โดยพิจารณาจากเน้ือหาสาระของ
หนังสือเป็นสาคัญ หรือลักษณะการประพันธ์อย่างเดียวกันไว้ด้วยกัน โดยมีสัญลักษณ์แสดงเน้ือหา
ของหนงั สอื แตล่ ะประเภทโดยจะเขียนสญั ลักษณ์แทนประเภทของหนงั สือไวท้ ส่ี ันหนังสอื แต่ละเล่ม เพื่อจะเป็น
การบอกตาแหน่งของหนังสือที่อยู่ในห้องสมุด หนังสือท่ีเน้ือหาเหมือนกัน หรือ คล้ายคลึงกันจะจัดวางไว้
ด้วยกันหรอื ใกล้ ๆ กัน
2. ความสาคัญของการจัดหมูห่ นงั สอื
2.1 ผู้ใช้ห้องสมุดและเจ้าหน้าท่ีห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือท่ีต้องการได้ง่าย
และประหยัดเวลา เพราะเมื่อมีการจัดหมู่หนังสืออย่างเป็นระบบท่ีสันหนังสือทุกเล่มจะมีเลขหมู่หนังสือ ผู้ใช้
ห้องสมุดสามารถค้นหนังสือได้โดยเปิดดูเลขจากบัตรรายการ แล้วตรงไปหาหนังสือจากช้ันได้อย่างรวดเร็ว
เจ้าหน้าทีห่ อ้ งสมุดก็สามารถจัดเก็บหนังสอื ข้ึนไดถ้ ูกต้องและรวดเร็ว
2.2 หนังสือท่ีมีเน้ือหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่
เดียวกนั ชว่ ยให้ผูใ้ ช้หอ้ งสมุดมโี อกาสเลอื กหนังสอื เนื้อเรื่องท่ีต้องการจากหนงั สือหลาย ๆ เลม่ ได้อยา่ งรวดเร็ว
2.3 หนังสือท่ีมีเน้ือเร่ืองเกี่ยวเน่ืองกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ซ่ึงจะช่วยให้
ผู้อ่านสามารถหาหนงั สอื ทีม่ เี ร่ืองราวเหมือนกันมาประกอบเนอ้ื หาให้สมบรู ณย์ ่งิ ขึ้น
2.4 ชว่ ยใหท้ ราบวา่ มจี านวนหนังสอื ในแต่ละหมวดมากน้อยเพยี งใด
2.5 เมื่อได้หนังสือใหม่เข้ามาในห้องสมุด ก็สามารถจัดหมวดหมู่ แล้วนาออกขึ้นช้ัน
รวมกับหนังสือทมี่ ีอยู่กอ่ นแลว้ เพ่ือใหบ้ ริการได้อยา่ งรวดเร็ว
3. ประโยชน์ของการจดั หมวดหม่หู นงั สือ
3.1 หนังสือแต่ละเล่มจะมสี ญั ลกั ษณแ์ ทนเน้อื หาของหนงั สอื
3.2 หนังสือท่ีมีเนื้อหาวิชาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันจะรวมอยู่ในหมวดหมู่
เดียวกัน ชว่ ยให้ผู้ใช้มีโอกาสเลอื กหนงั สอื หรือเนื้อเร่อื งตามที่ตอ้ งการจากหนังสือไดห้ ลายเล่ม
3.3 หนังสือที่มีเน้ือเร่ืองเกี่ยวเนื่องกัน หรือสัมพันธ์กันจะอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งจะช่วยให้
ผ้อู า่ นสามารถหาหนงั สือทมี่ ีเรือ่ งราวเหมือนกนั มาใช้ประกอบเน้ือหาไดส้ มบูรณย์ ่ิงขน้ึ
3.4 หนังสือท่ีมีลักษณะคาประพันธ์แบบเดียวกันจะอยู่รวมกันตามภาษาของคา
ประพนั ธ์ นั้น ๆ
3.5 ช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และช่วย
ประหยัดเวลาเพราะท่ีสันหนังสือทุกเล่มจะปรากฏเลขเรียกหนังสือ เจ้าหน้าที่สามารถจัดเก็บเข้าท่ี ได้
ถกู ต้อง รวดเรว็
3.6 ชว่ ยใหท้ ราบจานวนหนังสือแต่ละสาขาวชิ าว่ามีจานวนมากน้อยเท่าใด หากวิชาใด
ยงั มีจานวนน้อยไม่เพียงพอกบั ความต้องการจะไดจ้ ัดหาเพ่ิมเติมให้เหมาะสม
3.7 เพ่ิมประสิทธิภาพในการสืบค้นวัสดุห้องสมุด ลดความผิดพลาดในการสืบค้น
สามารถคน้ ไดอ้ ยา่ งถูกตอ้ ง สมบรู ณ์ รวดเรว็ และประหยัดเวลา
4. ระบบการจดั หมวดหมูห่ นงั สือทค่ี วรทราบ
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือท่ีสาคัญ การจัดหมวดหมู่หนังสือในปัจจุบันมีการจัดใน
ระบบต่างๆ ดังนี้
4.1 ระบบเอก็ ซ์แพนซพี (Expansive Classification) ของ ชาร์ลส์ แอมมิ คัดเตอร์
(Chartes Ammi Cutter)
4.2 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) หรือ DC หรือ
DDC ของ เมลวลิ ดวิ อี้ (Melvil Dewey)
4.3 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification ) หรือ
LC ของ เฮอรเ์ บริ ์ท พุทนัม (Derbert Putnam) และคระบรรณารักษห์ อสมดุ รัฐสภาอเมริกนั
4.4 ระบบทศนิยมสากล (Universal Decimal Classification) หรือ UDC ของ
พอล ออ๊ ตเลต็ (Paul Otlet) และอองรี ลา ฟอนแตน (Henri La Fontaine)
4.5 ระบบซับเจค (Subject Classification) หรือ SC ของ เจมส์ ดัฟฟ์ บราวน์
(James Duff Brown)
4.6 ระบบโคลอน (Colon Classification) หรือ CC ของ เอส. อาร์. แรง
กานาธาน (S.R. Ranganathan)
4.7 ระบบบรรณานกุ รม (Bibliographic Classification) หรอื BC ของ เฮนรี่ เอฟ
เวลิน บลสิ ส์ (Henry Evelyn Bliss)
ระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือทั้ง 7 ระบบ บางระบบมีการนามาใช้น้อยมาก แต่บาง
ระบบมีการนามาใชแ้ พรห่ ลายในประเทศตา่ งๆ รวมท้งั ประเทศไทยด้วย ได้แก่ ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน
และระบบทศนิยมของดิวอ้ี ท้ังสองระบบน้หี ้องสมุดไดน้ ามาใช้แตกต่างกันตามลักษณะและขนาดของห้องสมุด
ซงึ่ นบั ว่าเป็นระบบการจัดหมวดหมูท่ ี่สาคญั และเป็นที่นยิ มใชม้ ากที่สุด
5. การจัดหมู่หนังสือระบบทศนยิ มของดวิ อี้
การจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอ้ี (Dewey Decimal Classification) เรียกย่อ ๆ ว่า
ระบบ D.C. หรือ D.D.C. ระบบนี้ตั้งช่ือตามผู้คิดค้น คือ นายเมลวิล ดิวอ้ี ( Melvil Dewey)
บรรณารักษ์ชาวอเมริกัน ดิวอ้ีมีความสนจานห้องสมุดเป็นพิเศษ ในขณะที่เป็นนักศึกษาช้ันปีที่ 3 ใน
วิทยาลยั แอมเฮิร์สต์ ในรฐั แมสซาซูเสตต์ ได้สมัครเขา้ ทางานห้องสมดุ ของวทิ ยาลัยนนั้ ในตาแหน่ง
ผู้ช่วยบรรณารักษ์ ดิวอ้ีได้ไปดูงานด้านการจัดหนังสือให้สะดวกแก่การใช้ในห้องสมุดต่างๆ ถึง 50 แห่ง
แล้วจึงได้เร่ิมคิดระบบการจัดหมวดหมู่แบบทศนิยมข้ึนในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2416 (ค.ศ. 1873)
ได้นาเสนอตอ่ คณะกรรมการหอ้ งสมดุ ของวทิ ยาลยั น้นั จัดพมิ พเ์ ปน็ รูปเล่มคร้ังแรกเมื่อปี ค.ศ. 1876 และได้
มีการปรับปรุงแก้ไขเพ่ิมเติมเลขหมู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ และจัดพิมพ์ใหม่คร้ังหลังสุดเม่ือปี พ.ศ. 2534 เป็น
การพิมพ์คร้ังที่ 20 ระบบนี้ใช้ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์แทนชนิดของหนังสือ โดยใช้ตัวเลขสามหลัก และยัง
สามารถใช้จุดทศนิยมหลังเลขหลักร้อย ช่วยในการแบ่งย่อยเน้ือหาวิชาได้อีกด้วย ระบบนี้ใช้ง่าย เข้าใจและ
จาไดง้ า่ ย จงึ เป็นระบบการจัดหมู่ ทน่ี ยิ มใชก้ ันแพร่หลายในห้องสมุดโรงเรียน ห้องสมุดประชาชน
ในทุก ๆ ประเทศทั่วโลก รวมท้ัง ประเทศไทยเราด้วย ระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือเป็น
หมวดหมใู่ หญไ่ ปหาหมวดย่อย ๆ ดังน้ี
5.1 หมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งท่ี 1 คือ การแบ่งความรู้ต่าง ๆ ออกเป็น
10 หมวดใหญ่ โดยใชต้ ัวเลขหลักร้อยเปน็ สัญลกั ษณ์ ดังตอ่ ไปน้ี
หมวด 000 เบด็ เตลด็ ความรทู้ ่ัวไป บรรณารักษศาสตร์
หมวด 100 ปรัชญา จติ วทิ ยา
หมวด 200 ศาสนา
หมวด 300 สงั คมศาสตร์
หมวด 400 ภาษาศาสตร์
หมวด 500 วทิ ยาศาสตร์ คณติ ศาสตร์
หมวด 600 เทคโนโลยี หรือวทิ ยาศาสตรป์ ระยุกต์
หมวด 700 ศิลปกรรม และนันทนาการ
หมวด 800 วรรณคดี
หมวด 900 ภูมศิ าสตรแ์ ละประวตั ิศาสตร์
5.2 หมวดยอ่ ย (Division) หรือการแบ่งครงั้ ที่ 2 คือ การแบ่งหมวดใหญ่แต่ละหมวดออกเป็น 10
หมวดย่อย โดยใชต้ ัวเลขหลกั สบิ แทนสาขาวิชาต่างๆ ดงั ต่อไปน้ี
000 เบ็ดเตลด็
010 บรรณานกุ รมและแคต็ ตาล็อกหนังสือ
020 บรรณารกั ษศาสตรแ์ ละสารนิเทศศาสตร์
030 สารานกุ รมท่ัวไป
040 (ยังไม่กาหนด)
050 สิ่งพิมพ์ตอ่ เนอ่ื งและดรรชนี
060 องคก์ รตา่ งๆ และพพิ ธิ ภณั ฑวิทยา
070 วารสารศาสตร์ การพิมพ์ หนงั สือพิมพ์
080 รวมเรอื่ งทว่ั ไป
090 ต้นฉบบั ตัวเขยี นและหนงั สอื หายาก
100 ปรชั ญาและจิตวิทยา
110 อภปิ รัชญา
120 ทฤษฎแี หง่ ความรู้ ความเปน็ มนษุ ย์
130 จติ วิทยาสาขาตา่ งๆ ศาสตรเ์ กยี่ วกบั ความลกึ ลับ
140 ปรชั ญาระบบต่าง ๆ
150 จติ วิทยา
160 ตรรกวทิ ยา
170 จรยิ ศาสตร์ จรยิ ธรรม ศลี ธรรม
180 ปรชั ญาสมัยโบราณ ปรัชญาสมยั กลาง และปรัชญาตะวนั ออก
190 ปรัชญาตะวนั ตกสมัยใหม่
200 ศาสนา
210 ศาสนาธรรมชาติ
220 คมั ภีร์ไบเบิล
230 เทววทิ ยาตามแนวคริสตศาสนา
240 ศีลธรรมของชาวคริสเตยี น
250 ระเบยี บแบบแผนของศาสนาคริสต์
260 สงั คมของชาวคริสเตยี น
270 ประวตั ิครสิ ตศ์ าสนาในประเทศต่าง ๆ
280 คริสตศ์ าสนาและนิกายตา่ ง ๆ
290 ศาสนาเปรยี บเทยี บและศาสนาอน่ื ๆ
300 สังคมศาสตร์
310 สถติ ทิ ่วั ไป
320 รฐั ศาสตร์
330 เศรษฐศาสตร์
340 กฎหมาย
350 รฐั ประศาสนศาสตร์ การบริหารรฐั กจิ การบรหิ ารกองทพั
360 ปญั หาสังคม สวัสดภิ าพสังคม
370 การศึกษา
380 การพาณชิ ย์ การสือ่ สาร การขนส่ง
390 ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี คตชิ นวทิ ยา
400 ภาษาศาสตร์
410 ภาษาศาสตร์เปรียบเทยี บ
420 ภาษาองั กฤษ
430 ภาษาเยอรมนั และภาษาในกลุ่มเยอรมนั
440 ภาษาฝรั่งเศส
450 ภาษาอิตาเลยี น ภาษารูเมเนยี น
460 ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส
470 ภาษาละติน
480 ภาษากรีก
490 ภาษาอนื่ ๆ
500 วิทยาศาสตรแ์ ละคณติ ศาสตร์
510 คณติ ศาสตร์
520 ดาราศาสตร์
530 ฟสิ ิกส์
540 เคมี โลหะวทิ ยา
550 ธรณีวทิ ยา
560 บรรพชีวินวิทยา ชวี ิตโบราณศึกษา
570 วทิ ยาศาสตร์ชีวภาพ
580 พฤกษศาสตร์
590 สตั ววิทยา
600 เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ประยกุ ต์
610 แพทยศาสตร์
620 วิศวกรรมศาสตร์
630 เกษตรศาสตร์
640 คหกรรมศาสตร์
650 ธรุ กิจและการจัดการธรุ กิจ
660 วิศวกรรมเคมี
670 โรงงานอตุ สาหกรรม
680 โรงงานผลติ สนิ ค้าเบด็ เตลด็ อ่นื ๆ
690 การกอ่ สรา้ งและวสั ดุกอ่ สร้าง
700 ศลิ ปะและนนั ทนาการ
710 สลิ ปะการออกแบบบรเิ วณพนื้ ท่ี
720 สถาปัตยกรรม
730 ประติมากรรม และศิลปะพลาสติก
740 มณั ฑนศลิ ปแ์ ละการวาดเขียน
750 จติ รกรรม
760 ศลิ ปะการพิมพ์ ศิลปะกราฟกิ
770 การถา่ ยภาพ และภาพถา่ ย
780 ดนตรี
790 ศิลปะการแสดง นนั ทนาการ การกีฬา
800 วรรณคดี
810 วรรณคดอี เมรกิ นั
820 วรรณคดีอังกฤษ
830 วรรณคดีเยอรมัน
840 วรรณคดีฝร่ังเศส
850 วรรณคดอี ติ าเลยี น
860 วรรณคดีสเปน วรรณคดโี ปรตุเกส
870 วรรณคดลี ะติน
880 วรรณคดกี รีก
890 วรรณคดีภาษาอน่ื ๆ
900 ภูมิศาสตร์ และประวตั ิศาสตร์
910 ภมู ิศาสตร์และการทอ่ งเท่ยี ว
920 ชวี ประวัติและสกลุ วงศ์
930 ประวัติศาสตรโ์ ลกโบราณ
940 ประวตั ิศาสตร์ทวีปยโุ รป
950 ประวัติศาสตร์ทวีปเอเชียตะวันออก ตะวันออกไกล
960 ประวตั ศิ าสตร์ทวปี แอฟริกา
970 ประวัติศาสตรท์ วปี อเมริกาเหนอื
980 ประวัตศิ าสตรท์ วีปอเมรกิ าใต้
990 ประวัตศิ าสตร์ส่วนอืน่ ๆ ของโลก
5.3 หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งท่ี 3 คือ การแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็น 10
หมูย่ ่อย โดยใช้เลขหลกั หนว่ ยแทนสาขาวชิ า ดงั ตัวอยา่ งต่อไปน้ี
หมวดย่อย 640 คหกรรมศาสตร์
641 อาหารและเครอ่ื งดื่ม
642 การจัดเลีย้ ง
643 บ้านพักอาศยั และอุปกรณ์ภายในบ้าน
644 เครื่องอานวยความสะดวกภายในบา้ น
645 เครื่องประดบั บา้ น
646 การตัดเยบ็ เสอ้ื ผ้า การตกแตง่ รา่ งกาย
647 การจัดการบา้ นเรือน
648 การสุขาภิบาลในบ้าน
649 การเลย้ี งดูเด็ก การพยาบาลในบ้าน
5.4 จุดทศนิยม หรือการแบ่งคร้ังท่ี 4 หลังจากการแบ่งเป็นหมู่ย่อยแล้ว ยังสามารถแบ่งย่อย
ละเอียดเพ่ือระบุเน้ือหาวิชาให้เฉพาะเจาะจงลงไปได้อีก โดยการใช้ทศนิยมหนึ่งตาแหน่งไปจนถึงหลาย
ตาแหน่ง ตวั อย่างเชน่
959 ประวตั ิศาสตรป์ ระเทศในเอเชยี อาคเนย์
959.1 ประวัตศิ าสตร์ประเทศพม่า
959.3 ประวตั ิศาสตรป์ ระเทศไทย
959.31 ประวัติศาสตรไ์ ทยสมัยโบราณถึง พ.ศ. 1780
959.32 สมยั กรุงสโุ ขทัย
959.33 สมยั กรุงศรีอยุธยา
959.34 สมัยกรงุ ธนบรุ ี
959.35 สมัยรตั นโกสนิ ทร์ – ปัจจบุ ัน
จะเห็นได้ว่าการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้น้ี จะใช้วิธีแบ่งหนังสือจาก
หมวดหมู่ใหญก่ ว้าง ๆ ไปหาหมวดหมู่ยอ่ ย ๆ ตอ่ ไปได้อกี โดยใช้จดุ ทศนยิ มแบบไมร่ จู้ บ ซึ่งผ้อู า่ นไม่จาเป็น
จาให้ได้ทั้งหมด แต่ควรจาให้ได้เฉพาะหมวดใหญ่ 10 หมวดว่าแต่ละหมวดเก่ียวกับสาขาวิชาอะไร
และจาเลขหมู่ของหนังสือบางเล่มที่ผู้อ่านใช้เป็นประจาก็เพียงพอแล้ว เพราะผู้ใช้ห้องสมุดเป็น ต้องรู้จัก
วิธกี ารใชห้ อ้ งสมุดเพือ่ การศึกษาค้นควา้ อยา่ งมีประสิทธิภาพ
6. การจดั หมูห่ นังสอื ทไ่ี ม่ใชต้ ัวเลขเป็นสญั ลักษณ์
หนังสือบางประเภทผู้อ่านให้ความสนใจด้านการใช้ภาษา ตลอดจนวิธีการดาเนินเร่ืองมากกว่าสาระ
ทางวิชาการ ห้องสมุดจึงใช้อักษรย่อของคาท่ีบอกประเภทหนังสือน้ัน ๆ แทนการให้เลขหมู่แต่ละเล่ม ซ่ึง
หอ้ งสมดุ แต่ละแห่งอาจจะใชต้ วั อักษรย่อแตกต่างกันสาหรับหนังสอื ประเภทเดยี วกนั เชน่
เพ่ือความสะดวกและรวดเร็วในการจัดหมู่หนังสือ ห้องสมุดส่วนมากนิยมใช้ตัวอักษร
เป็นสัญลักษณ์แทนการให้เลขหมู่หนังสือบางประเภท เพราะห้องสมุดพิจารณาเห็นว่าหนังสือประเภทนั้นๆ
ผู้อ่านมิได้ให้ความสนใจสาระทางวิชาการมากเท่ากับการใช้ถ้อยคา ภาษา ตลอดจนวิธีการดาเนินเร่ือง
ห้องสมุดจึงใช้อักษรย่อของคาที่บอกประเภทหนังสือน้ัน ๆ แทนการใช้สัญลักษณ์สาหรับหนังสือเหล่าน้ี แต่
ละหอ้ งสมุดอาจจะใช้ตวั อักษรแตกตา่ งกัน สาหรับหนังสือประเภทเดียวกัน สาหรับห้องสมุดโรงเรียนกบินทร์
วทิ ยาใช้สญั ลกั ษณ์ดังนี้
น แทน นวนยิ าย (นวนิยาภาษาไทย)
Fic แทน Fiction (นวนยิ ายภาษาตา่ งประเทศ)
รส แทน รวมเร่อื งส้ัน
ยว แทน หนงั สือสาหรบั เยาวชน
พ แทน หนังสอื พอ็ คเกต็ บุ๊ค
อ แทน หนงั สืออา้ งองิ
Ref แทน หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ (Reference
Book)
บ แทน แบบเรียน
หนังสือท่ีมีสัญลักษณ์พิเศษที่ใช้ตัวย่อแทนเลขหมู่หรือสัญลักษณ์ของระบบการจัดหมู่
เหล่าน้ี จะเรียงอยู่บนช้ันแยกจากหนังสืออ่ืน ๆ ท่ีให้หมวดหมู่หรือสัญลักษณ์ตามระบบการจัดหมวดหมู่
หนังสือทเ่ี ปน็ สากล