วิชา แนวทางการศึกษาวรรณคดีไทย 2107101
สารบัญ หน้า
เรื่อง ก-ข
สารบัญ ๑
ความสัมพันธ์วรรณคดีกับสังคมไทย ๑
๑
ผู้ประพันธ์ ๒
ประเภท ๓
แก่นเรื่อง
เนื้อเรื่องย่อ ๓-๔
ตัวละคร
การสะท้อนชีวิตและสังคม ๕
การวิเคราะห์โครงสร้างวรรณคดี ๕
แก่นเรื่อง ๖-๗
โครงเรื่อง ๘-๙
เนื้อเรื่อง ๑๐ - ๑๑
ตัวละคร ๑๒ - ๑๓
ฉาก ๑๔
บทสนทนา
คุณค่าวรรณคดี ๑๕
การวิเคราะห์รสวรรณคดี ๑๖
การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทย ๑๖
เสาวรจนีย์ ๑๗
นารีปราโมทย์
พิโรธวาทัง
สัลปังคพิไสย
ก
สารบัญ หน้า
เรื่อง
๑๘
การวิเคราะห์รสวรรณคดีสันสกฤต ๑๙
ศฤงคารรส ๑๙ - ๒๐
หาสยรส ๒๑
กรุณารส ๒๒
รุทรรส / เราทรรส ๒๓
วีรรส ๒๔
ภยานกรส ๒๔ - ๒๕
พีภัตสรส ๒๕
อัพภูตรส
ศานติรส
๒๖
โวหารภาพพจน์วรรณคดี ๒๗ - ๒๘
อุปมา ๒๘
อัปลักษณ์ ๒๙
ปฏิพากย์ ๓๐
อติพจน์ ๓๑
บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต ๓๒
สัญลักษณ์ ๓๓
นามนัย ๓๔ - ๔๐
สัทพจน์ ๔๑ - ๕๓
อุปมานิทัศน์ ๕๔
ปกิณกะ
สมาชิกในกลุ่ม
ข
ความสั มพันธ์วรรณคดีกับสั งคมไทย
การสะท้อนชีวิตและสังคมของวรรณคดีจากเรื่อง : ลิลิตตะเลงพ่าย
ผู้ประพันธ์
๑.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
๒.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูบาลบริรักษ์
ประเภท
วรรณคดี
แก่นเรื่อง
การยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถด้าน
การทำยุทธหัตถี มีชัยเหนือพระมหาอุปราชา อีกทั้งยังมีพระปรีชาสามารถด้านการ
ปกครองและพระราชจริยวัตรอันกอปรด้วยธรรมของพระราชา
๑
เนื้ อเรื่องย่อ
กล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช สมเด็จพระนเรศวร
ทรงขึ้นครองราชย์โดยมีสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราชพระเจ้าหงสาวดีทราบ
ข่าวไทยผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ก็ปรารถว่าจะมาตีไทยเพื่อหยั่งเชิง จึงมีพระราชบัญชาให้
พระมหาอุปราชายกทัพมาตีไทย เมื่อลานางสนมแล้วก็ยกทัพเจ้ามาทางเมืองกาญจนบุรี
ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรปรารถจะไปตีเมืองเขมร ครั้นรู้ข่าวก็ทรงเตรียมการสู้ศึก
พม่า ทรงตรวจและตระเตรียมกองทัพ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกเข้า
มาปะทะทัพหน้าของไทย ส่วนสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงปรึกษาเพื่อหาทางเอาชนะข้าศึก
เมื่อทัพหลวงเคลื่อนพลช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและช้างของสมเด็จพระเอกา
ทศรถกำลังตกมัน ก็เตลิดเข้าไปในวงล้อมของข้าศึก ณ ตำบลตระพังตรุ สมเด็จพระ-
นเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา สมเด็จพระเอกาทศรถทรงทำยุทธหัตถี
กับมางจาชโรและได้รับชัยชนะทั้งสองพระองค์ เมื่อง้าวของพระนเรศวรฟันไปผ่าอกของ
พระมหาอุปราชาทำให้พระองค์เสด็จสวรรคต กองทัพหงสาวดีก็แตกพ่ายกลับไป
สมเด็จพระนเศวรทรงปูนบำเหน็จทหารและปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่ตามช้าง
ทรงเข้าไปในกองทัพพม่าไม่ทัน สมเด็จพระวันรัตทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทนแม่ทัพ
นายกองทั้งหมด สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดพระราชทานอภัยโทษให้ โดยให้ยกทัพไปตี
ทวายและตะนาวศรีเป็นการแก้ตัว จากนั้นได้ทรงจัดการทำนุ-บำรุงหัวเมืองทางเหนือ
เจ้าเมืองเชียงใหม่มาสวามิภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงรับทูตเชียงใหม่
และจบลงด้วยการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร
๒
ตัวละคร
ฝ่ายไทย ๑.สมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือพระองค์ดำ
๒.สมเด็จพระเอกาทศรถหรือพระองค์ขาว
๓.พระมหาธรรมราชา
ฝ่ายพม่า ๑.พระเจ้าหงสาวดีหรือนันทบุเรง
๒.พระมหาอุปราชา
การสะท้อนชีวิตและสั งคม
๑.ลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนให้เห็นความรักชาติ ความเสียสละ ความกล้า
หาญ ของบรรพบุรุษ ไม่เกรงกลัวต่อการศึกใดๆ
๒.แผ่นดินไทยต้องผ่านการทำศึกสงครามอย่างมากมายกว่าที่จะมารวม
กันเป็นปึกแผ่นอย่างปัจจุบันนี้
๓.พระราชภารกิจของกษัตริย์ไทยในสมัยก่อน คือการปกครองบ้านเมือง
ให้ร่มเย็นเป็นสุขและรบเพื่อปกป้องอธิปไตยของไทย
๔.สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย เช่น ความเชื่อเรื่องความฝัน
บอกเหตุ เชื่อคำทำนายทายทักของโหร เช่น ตอนที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระ
สุบินนิมิต จึงตรัสให้หาพระโหราจารย์เพื่อทำนายนิมิต
๓
๕.สะท้อนเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี ขนบธรรมเนียมในการศึก
เช่น เมื่อพระมหาอุป-ราชาจะออกศึก พระเจ้าหงสาวดีทรงประสาทและให้
โอวาทการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหารและความเด็ดขาดในการรบ การจัดทัพ
การตั้งทัพ ประเพณี และพิธีกรรมเกี่ยวกับสงคราม เช่น พิธีโขลนทวารตัดไม้
ข่มนาม เพื่อการสร้างขวัญกำลังใจแก่ทหาร ซึ่งเป็นพิธีบำรุงขวัญทหารก่อน
ออกศึกเหล่าทหารต่างฮึกเหิมและมีกำลังใจเพราะมีพระสงฆ์สวดพระพุทธ
มนต์และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ให้
๔
การวิเคราะห์โครงสร้างวรรณคดี
แก่นเรื่อง
กล่าวถึงการยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ทรงมีพระปรีชา
สามารถในด้านการทำยุทธหัตถีและด้านการปกครองบ้านเมือง แก่นเรื่องมีความ
น่าสนใจและชัดเจน สะท้อนคุณค่าของเรื่องให้กับผู้อ่านได้ชัดเจนและสร้างสรรค์
อีกทั้งสามารถให้ประโยชน์แก่ผู้อ่านได้อีกด้วย
โครงเรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนำมาจากประวัติศาสตร์
ซึ่งมีขอบเขตกำหนดเนื้อหาไว้เพียงเรื่องการทำสงครามยุทธหัตถี แต่เพื่อมิให้เนื้อ
เรื่องแห้งแล้งขาดชีวิตชีวาจึงทรงเพิ่มเติมเรื่องที่ไม่ใช่การสงครามเข้าไป เนื้อหาที่
สำคัญเป็นหลักของเรื่อง “ตะเลงพ่าย” คือ การดำเนินความตามเค้าเรื่อง
พงศาวดาร ได้แก่ การทำสงคราม การต่อสู้แบบยุทธหัตถี การจัดทัพ และราย
ละเอียดต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามตำราพิชัยสงครามและโบราณราชประเพณีทุกอย่าง
สำหรับเนื้อหาที่เป็นส่วนเพิ่มเติมส่วนเสริมเรื่อง คือ บทประพันธ์ที่เป็นลักษณะ
นิราศ ซึ่งพรรณนาเกี่ยวกับการเดินทางและการคร่ำครวญถึงนางผู้เป็นที่รักโดย
ผ่านบทบาทของพระมหาอุปราชา
๕
เนื้ อเรื่อง
กล่าวถึงการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชสมเด็จพระ
นเรศวรทรงขึ้นครองราชย์โดยมีสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช
พระเจ้าหงสาวดีทราบข่าวไทยผลัดเปลี่ยนแผ่นดินใหม่ก็ปรารถนาว่าจะมาตีไทย
เพื่อหยั่งเชิง จึงมีพระราชบัญชาให้พระมหาอุปราชายกทัพมาตีไทย เมื่อลานาง
สนมแล้วก็ยกทัพเจ้ามาทางเมืองกาญจนบุรี ฝ่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ปรารถนาจะไปตีเมืองเขมร ครั้นรู้ข่าวก็ทรงเตรียมการสู้ศึกพม่า ทรงตรวจและ
ตระเตรียมกองทัพ พระมหาอุปราชาทรงปรึกษาการศึกแล้วยกเข้ามาปะทะทัพ
หน้าของไทย ส่วนสมเด็จพระนเรศวรก็ทรงปรึกษาเพื่อหาทางเอาชนะข้าศึก เมื่อ
ทัพหลวงเคลื่อนพลช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรและช้างของสมเด็จพระ
เอกาทศรถกำลังตกมัน ก็เตลิดเข้าไปในวงล้อมของข้าศึก ณ ตำบลตระพังตรุ
สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา สมเด็จพระเอกา
ทศรถทรงทำยุทธหัตถีกับมางจาชโรและได้รับชัยชนะทั้งสองพระองค์ เมื่อง้าว
ของพระนเรศวรฟันไปผ่าอกของพระมหาอุปราชาทำให้พระมหาอุปราชาเสด็จ
สวรรคต กองทัพหงสาวดีก็แตกพ่ายกลับไปสมเด็จพระนเรศวรทรงปูนบำเหน็จ
ทหารและปรึกษาโทษนายทัพนายกองที่ตามช้างทรงเข้าไปในกองทัพพม่าไม่ทัน
๖
สมเด็จพระวันรัตทูลขอพระราชทานอภัยโทษแทนแม่ทัพนายกองทั้งหมด
สมเด็จพระนเรศวรก็โปรดพระราชทานอภัยโทษให้ โดยให้ยกทัพไปตีทวาย
ตะนาวศรีและ มะริดเป็นการชดเชยความผิดกำหนดให้ เจ้าพระยาคลังไปตี
เมืองทวาย ให้เจ้าพระยาจักรีไปตีเมือง มะริด และ ตะนาวศรี เป็นการไถ่โทษ
จากนั้นได้ทรงจัดการทะนุบำรุงหัวเมืองทางเหนือ เจ้าเมืองเชียงใหม่มาสวามิ
ภักดิ์ขอเป็นเมืองขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงรับทูตเชียงใหม่และจบลงด้วยการ
ยอพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวร
๗
ตัวละคร
ฝ่ายไทย
๑.สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระองค์ดำ)
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เก่งกล้าสามารถ เป็นผู้ประกาศเอกราช
หลังจากที่เสียไปให้กับพม่าถึง ๑๕ ปี รวมทั้งขยายราชอาณาจักรให้กว้างใหญ่
ทำสงครามกับพม่า จนพม่าหวาดกลัวไม่กล้ามารบกับไทยอีกเลยเป็นเวลาร้อย
กว่าปี
๒.สมเด็จพระเอกาทศรถ(พระองค์ขาว)
อนุชาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งอุปราช ครอง
เมืองพิษณุโลก แต่มีเกียรติยศเสมอพระเจ้าแผ่นดิน ตลอดรัชกาลสมเด็จพระ
นเรศวร ทรงออกศึกทำสงครามร่วมกับสมเด็จพระนเรศวรตลอด
๓.พระมหาธรรมราชา
พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษา
พระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้
ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทร
เทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไป
ครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหา
อุปราช
๘
๓.พระมหาธรรมราชา
พระองค์ทรงรับราชการเป็นที่ขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจรักษา
พระองค์ หลังจากที่เหตุการณ์วุ่นวายในราชสำนักยุติลง และพระเฑียรราชาได้
ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๐๙๑ แล้วขุนพิเรนทร
เทพ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาธรรมราชา แล้วได้รับโปรดเกล้าให้ไป
ครองเมืองพิษณุโลก สำเร็จราชการหัวเมืองฝ่ายเหนือ มีศักดิ์เทียบเท่าพระมหา
อุปราช
ฝ่ายพม่า
๑.พระเจ้าหงสาวดี (นันทบุเรง)
กษัตริย์พม่า เดิมชื่อมังชัยสิงห์ราช โอรสของบุเรงนอง ดำรง
ตำแหน่งอุปราชในสมัยบุเรงนอง ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากบุเรงบอง พระราชบิดา
ทรงหวังที่จะสร้างความยิ่งใหญ่เหมือนกับพระราชบิดา แต่ก็ทำไม่สำเร็จ สุดท้าง
ยถูกลอบวางยาพิษสิ้นพระชนม์
๒.พระมหาอุปราชา
โอรสของนันทบุเรง ดำรงดำแหน่งอุปราชาในสมัยของนันทบุเรง
เดิมชื่อมังสามเกียด หรือมังกะยอชวา เป็นเพื่อนเล่นกันกับพระนเรศวรในสมัยที่
พระองค์ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ทรงทำงานสนองพระราชบิดาหลายครั้ง โดย
เฉพาะราชการสงคราม และได้ถวายงานครั้งสุดท้ายในการยกทัพ ๕ แสนมาตี
ไทย และสิ้นพระชนม์ในการทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหารา
๙
ฉาก
ฝ่ายพระนครรามัญ ขัณฑ์เขตด้าวอัสดง หงสาวดีบุเรศ รั่วรู้เหตุบมิหึง
แห่งเอิกอึงกิดาการ ฝ่ายพสุธารออกทิศ ว่าอดิศวรกษัตรา มหาธรรมราชนรินทร์
เจ้าปัฐพินทร์ผ่านทวีป ดีบชนมชีพพิราลัย เอารสไทนฤเบศ นเรศวรเสวยศวรรยา
แจ้งกิจจาตระหนัก จึ่งพระปิ่นปีกธาษตรี บุรีรัตนหงสา ธก็บัญชาพิภาษ ด้วยมวล
มาตยากร ว่านครรามินทร์ ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพื่อ
กษัตริย์สองสู้ บร้างรู้เหตุผล ควรยาตรพลไปเยือน เตือนประยุทธ์เอาเปรียบ
แม้นไป่เรียบเป็นที โจมจู่ยีย่ำภพ เสนีนบนึกชอบ ระบอบเบื้องบรรหาร ธก็เอื้อน
สารเสาวพจน์ แด่เอารสยศเยศ องค์อิศเรศอุปราช ให้ยกยาตราทัพ กับนคร
เชียงใหม่ เป็นพยุหใหญ่ห้าแสน ไปเหยียบแดน ฉากนี้ คือ เหตุการณ์ภายในเมือง
มอญและบรรยากาศระหว่างการเดินทัพของพระมหาอุปราชาจากเมืองมอญสู่
กาญจนบุรี ผู้แต่งได้บรรยายฉากและบรรยากาศได้สมจริงสอดคล้องกับเนื้อ
เรื่อง
เหตุการณ์ภายในเมืองมอญ
๏ เบื้องบรมจักรพรรดิเกล้า กษัตรา
เถลิงพิภพทวารา เกริ่นแกล้ว
สถิตเกยรัตนราชา อาสน์โอ่ องค์เอย
คอยฤกษ์เบิกยุทธ์แผ้ว แผ่นพื้นหาวหน
๑๐
๏ บัดดลวลาหกซื้อ ชระอับ อยู่แฮ
แห่งทิศพายัพยล เยือกฟ้า
มลักแลกระลายกระลับ ลิวล่งไปเฮย
เผยผ่องภาณุเมศจ้า แจ่มแจ้งแสงฉาน
๏ คัคนานต์นฤราสร้าง ราคิน
คือระเบียบรัตนอินทนิล คาดไว้
บริสุทธิ์สร่างมลทิน ถ่องโทษ อยู่นา
นักษัตรสวัสดิเดชได้ โชคชี้ศุภผล ฯลฯ
ฉากนี้ คือ ขณะสมเด็จพระนเรศวรประทับบนเกย เพื่อรอพิชัยฤกษ์
เคลื่อนทัพหลวง ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่เย็นเยือกลอยอยู่ทางทิศพายัพ แล้วก็
กลับสว่าง ดวงอาทิตย์ส่องแสงจ้า อันเป็นนิมิตที่แสดงพระบรมเดชานุภาพและ
ชี้ให้เห็นความมีโชคดี
๑๑
บทสนทนา
“…ฟังสารราชเอารส ธก็ผะชดบัญชา เจ้าอยุธยามีบุตร ล้วนยงยุทธ์
เชี่ยวชาญ หาญหักศึกบมิย่อ ต่อสู้ศึกบมิหยอน ไป่พักวอนว่าใช้ ให้ธหวงธห้าม
แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวมอินทรีย์
สร่างเคราะห์ ธตรัสเยาะเยี่ยงขลาด องค์อุปราชยินสาร แสนอัประมาณมาตย์
มวล นวลพระพักตร์ผ่องเผือด เลือดสลดหมดคล้ำ ช้ำกมลหมองมัว กลัว
พระอาชญายอบ นอบประณตบทมูล ทูลลาไท้ลีลาศ ธก็ประกาศเกณฑ์พล
บอกยุบลบมิหึง…”
พระมหาอุปราชาทูลพระเจ้าหงสาวดีว่าจะมีเคราะห์ไม่ต้องการออกรบ
จึงถูกพระเจ้าหงสาวดีตรัสประชดพระมหาอุปราชาว่า กษัตริย์กรุงศรีอยุธยามี
พระโอรสที่กล้าหาญไม่ครั่นคร้ามจ่อการศึกสงคราม แต่พระโอรสของ
พระองค์เป็นคนขลาด ทำให้พระมหาอุปราชาทรงอับอายและเกรงพระราช
อาญา จึงเกิดขัตติยมานะยอมกระทำตามพระราชประสงค์ของพระราชบิดา
พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญราชร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบกว่าสองเราไสร้ สุดสิ้นฤามี
๑๒
สมเด็จพระนเรศวรเมื่อตกอยู่ในวงล้อมของข้าศึก ได้ใช้วาทศิลป์
กล่าวเชิญพระมหาอุปราชามารบตัวต่อตัว เพื่อเป็นเกียรติยศและศักดิ์ศรี
ของทั้งสองพระองค์ สืบต่อไปภายหน้าจะไม่มีการรบที่กล้าหาญเยี่ยงนี้อีก
พระตรีโลกนาถแล้ว เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง
เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา
เสนอพระยศยินก้อง เกียรติท้าวทุกภาย
ผิวหลายพยุหยุทธ์ร้า โรมรอน
ชนะอมิตรมวลมอญ มั่วมล้าง
พระเดชบ่ดาลขจร เจริญฤทธิ์ พระนา
ไปทั่วธเรศออกอ้าง เอิกฟ้าดินไหว
สมเด็จพระนเรศวรทรงพิโรธแม่ทัพนายกองที่ตามเสร็จเข้าสนามรบ
ไม่ทันจึงตรัสสั่งประหารชีวิต สมเด็จพระวันรัต วัดป่าแก้วขอพระราชทาน
อภัยโทษ โดยยกเหตุผลว่าเป็นเพราะเทพยดาบันดาลให้เป็นไป เพื่อให้
พระองค์แสดงพระบรมเดชานุภาพให้ปรากฏคำกล่าวถูกพระทัยสมเด็จพระ
นเรศวรจึงพระราชทานอภัยโทษ แต่ต้องไปทำการศึกแก้ตัวโดยให้นำทัพไปตี
เมืองเมาะตะมะและตะนาวศรี
๑๓
คุณค่าวรรณคดี
ด้านเนื้ อหา
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นวรรณคดีแนวประวัติศาสตร์และเป็นวรรณคดี
เฉลิมพระเกียรติที่มุ่งสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช การที่ผู้
ประพันธ์ใช้คำประพันธ์ประเภทลิลิตจึงเหมาะสมอย่างยิ่งเพราะคำประพันธ์
ประเภทลิลิตมักนิยมใช้พรรณนาเรื่องราวที่สูงส่ง สมพระเกียรติ
ด้านสั งคม
ลิลิตตะเลงพ่ายเป็นสรรณคดีที่ปลุกกระแสรักชาติให้กับคนในสังคม
ไทย เมื่ออ่านแล้วจึงเกิดความรู้สึกภาคภูมิใจในชาติ และซาบซึ้งถึงการเสีย
สละของบรรพบุรุษไทยที่เสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องชาติ วรรณคดีเรื่องนี้จึงเป็น
แบบอย่างที่ดีให้กับคนในปัจจุบันให้เกิดความหวงแหนในแผ่นดิน และภูมิใจที่ได้
เกิดมาเป็นคนไทย ลิลิตตะเลงพ่ายแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนไทยใน
สมัยก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโหราศาสตร์ หรือลางบอกเหตุต่างๆ เช่น ตอนที่
พระนเรศวรทรงพระสุบินว่า ทรงลุยน้ำไปพบจระเข้ตัวใหญ่ที่หมายจะเข้ามา
ทำร้ายพระองค์ และพระองค์ได้ประหารจระเข้ตัวนั้นตาย จึงนำความฝันนี้ไปให้
โหรทำนาย โหรทำนายว่าจะพระนเรศวรจะชนะศึกหงสาวดี
๑๔
การวิเคราะห์รสวรรณคดี
การวิเคราะห์รสวรรณคดีไทย
๑.เสาวรจนีย์ (บทชมโฉม)
คือ การกล่าวชมความงามของตัวละครในเรื่อง ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัว
ละครที่เป็นอมุนษย์ มนุษย์ หรือสัตว์
ตัวอย่างบทประพันธ์
๏ งามสองสุริยราชลํ้า เลอพิศ น่าพ่อ
พ่างพัชรินทรไพจิตร ศึกกสร้าง
ฤารามเริ่มรณฤทธิ์ รบราพณ์ แลฤา
ทุกเทศทุกทิศอ้าง อื่นไท้ไป่เทียม
ถอดความได้ว่า
สองกษัตริย์สู้กันราวกับพระอินทร์และพญาอสูรเวปจิตติ(ไพจิตรา
สูร)ทำสงครามกันหรือเป็นดังพระรามทำสงครามกับทศกัณฐ์ ไม่มีกษัตริย์
พระองค์ใดในประเทศไหนๆ ในทั่วทิศเสมอเหมือนได้เลย
๑๕
๒.นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยวโอ้โลม)
คือ บทกล่าวแสดงความรัก ทั้งการเกี้ยวพาราสีกันในระยะแรก ๆ หรือ
การพรรณนาบทโอ้โลมปฏิโลม ก่อนจะถึงบทสังวาสด้วย
ตัวอย่างบทประพันธ์
(ไม่มี)
๓.พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)
คือ การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ตั้งแต่น้อยไปจนมาก จึง
เริ่มตั้งแต่ไม่พอใจ โกรธ ประชดประชัน กระทบกระเทียบเปรียบเปรย เสียดสี
และด่าว่าอย่างรุนแรง ชื่อก็บอกอยู่ว่าพิโรธโกรธแล้วนะ แต่ไม่ได้โกรธแบบ
ธรรมดา เพราะกวีเขาโกรธกันแบบนี้
ตัวอย่างบทประพันธ์
…แม้นเจ้าคร้ามเคราะห์กาจ จงอย่ายาตรยุทธนา เอาพัสตราสตรี สวม
อินทรีย์สร่างเคราะห์…
ถอดบทความได้ว่า
ถ้าเจ้าเกรงว่าเคราะห์ร้ายก็อย่าไปรบเลย เอาผ้าสตรีมานุ่งเถอะ จะได้หมด
เคราะห์
๑๖
๔.สั ลลาปังคพิไสย (บทโศก)
คือการโอดครวญ แสดงความเศร้าโศกเนื่องด้วยการพรากจากสิ่งอัน
เป็นที่รัก การกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า อาลัยรัก
ตัวอย่างบทประพันธ์
๏ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย
ช้าคืนสม แม่แล
ถอดบทความได้ว่า
จำใจต้องจากนางอันเป็นที่รัก อยู่ที้อย่าเศร้าโศกเสียใจ ไม่ช้าก็จะกลับมา
ตัวอย่างบทประพันธ์
๏ สระเทินสระทกแท้ ไทถวิล อยู่เฮย
ฤาใคร่คลายใจจินต์ จืดสร้อย
คำนึงนฤบดินทร์ บิตุเรศ พระแฮ
ถอดบทความได้ว่า
ไม่สามารถหวั่นใจ ไม่สามารถคล้ายความทุกข์ในใจได้เลย นึกถึงพระ
ราชบิดาขึ้นมาก็เลยร้องไห้
๑๗
การวิเคราะห์รสวรรณคดีสั นสกฤต
๑.ศฤงคารรส (บทแห่งความรัก)
คือ การพรรณวามรักระหว่างหนุ่มสาวระหว่างสามี ภรรยา ระหว่าง
ผู้ใหญ่กับผู้น้อย บิดามารดากับบุตร ญาติกับญาติ ฯลฯ สามารถทำให้ผู้อ่าน
พอใจรัก เห็นคุณค่าของความรักนึกอยากรักกับเขาบ้างเช่น รักฉันชู้สาว รัก
หมู่คณะ รักประเทศชาติ เป็นต้น อย่างเช่น เรื่องลิลิตพระลอ เต็มไปด้วยรส
รัก จะกล่าวว่าในรสนี้ อาจเทียบได้กับนารีปราโมทย์ก็ว่าได้(บาลี เรียกรสนี้ว่า
รติรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์
๏ สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวายวางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
ถอดความได้ว่า
ดอกสายหยุดเมื่อสายก็หมดกลิ่นแต่ใจพี่แม้ยามสายก็ไม่คลายรักน้อง
กี่วันกี่คืนที่จากน้องพี่มีแต่ความคิดถึงน้องทุกคํ่าเช้า ไม่รู้ว่าจะหยุดได้อย่างไร
๑๘
๒.หาสยรส (รสแห่งความขบ)
คือ การพรรณนาที่ทำให้เกิดความร่าเริง สดชื่น เสนาะ ขบขัน อาจทำให้
ผู้อ่าน ผู้ดูยิ้มกับหนังสือ ยิ้มกับภาพที่เห็น ถึงกับลืมทุกข์ดับกลุ้มไปชั่วขณะ
เช่น เรื่องระเด่นลันได เป็นต้น (บาลีเรียกรสนี้ว่า หาสะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์
(ไม่มี)
๓.กรุณารส (รสแห่งความเมตตากรุณาที่เกิดภายหลังความโศกเศร้า)
คือ เป็นบทพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่านหดหู่เหี่ยวแห้ง เกิดความเห็นใจถึงกับ
น้ำตาไหล พลอยเป็นทุกข์ เอาใจช่วยตัวละคร เช่น เห็นใจนางสีดา เห็นใจจรกา
และเห็นใจนางวันทอง เป็นต้น (บาลีเรียกรสนี้ว่า โสกะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์ เพ็ญยศ
๏ อ้าจอมจักรพรรดิผู้ แก่เสี้ยน
แม้พระเสียเอารส ทุกข์ใหญ่ หลวงนา
จักเจ็บอุระระทด หั่นกลิ้งไกลองค์
ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน
๑๙
๏ ณรงค์นเรศวร์ด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ พลันมอด ม้วยแฮ
เหตุบ่มีมือผู้- อื่นต้านทานเข็ญ
๏ เอ็นดูภูธเรศเจ้า จอมถวัลย์
เปลี่ยวอุระราชรัน- ทดแท้
พระชนม์ชราครัน ครองภพ พระเอย
เกรงบพิตรจักแพ้ เพลี่ยงพล้ำศึกสยาม
๏ สงครามครานี้หนัก ใจเจ็บ ใจนา
เรียมเร่งแหนงหนาวเหน็บ อกโอ้
ลูกตายฤใครเก็บ ผีฝาก พระเอย
ผีจักเท้งที่โพล้ ที่เพล้ใครเผา
ถอดความได้ว่า
เสียดายแผ่นดินมอญจะต้องพินาศเพราะไม่มีใครอาจจะต่อสู้ต้านทาน
สงสารพระราชบิดา ที่จะต้องสูญเสียพระโอรสพระราชบิดาทรงชราภาพมาก
เกรงจะพ่ายแพ้ศึกสยาม หากพระมหาอุปราชาสิ้นพระชนม์ไม่มีใครเก็บ
ผี(ศพ)ไปให้พระบิดา ไม่มีใครเผา
๒๐
๔.รุทรรส /เราทรรส (รสแห่งความโกรธเคือง)
คือ บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้ดูผู้อ่านขัดใจฉุนเฉียว ขัดเคือง
บุคคลบางคนในเรื่อง บางทีถึงกับขว้างหนังสือทิ้ง หรือฉีกตอนนั้นก็มี เช่น
โกรธขุนช้าง โกรธชูชก รสนี้ เทียบได้กับรสวรรณคดีไทยคือ พิโรธวาทัง
(บาลีเรียกรสนี้ว่า โกธะ)
ตัวอย่างบทประพันธ์
…ตรัสแสดงโดยดับ ว่านายทัพทั้งผอง เกณฑ์เข้ากองพยูห์ โยมสองตู
ต่อเข็ญ มันเห็นเศิกสระทก ตระดกดาระรัว ยิ่งกว่ากลัวสวามิศ บเต้าติดตู
ต้อย มละแต่ข้อยสองคน เข้าโรมรณราวิศ ในอมิตรหมู่กลาง แสนเสนางค์
เนืองบร จนราญรอนไอยเรศ ลุชเยศมฤตยู จึ่งได้ดูหน้ามัน…
ถอดความได้ว่า
สมเด็จพระนเรศวรจึงตรัสต่อไปว่า แม่ทัพนายกองทั้งปวงซึ่งได้รับ
เกณฑ์เข้าในกองทัพ เมื่อเห็นข้าศึกก็ตกใจกลัว ยิ่งกว่ากลัวพระองค์ซึ่งเป็น
เจ้านาย ไม่ตามเสด็จให้ทัน ปล่อยให้พระองค์สองพี่น้องเข้าสู้รบท่ามกลาง
ข้าศึกจำนวนมากจนมีชัยชนะรอดพ้นความตายจึงได้มาดูหน้าพวกทหารเหล่า
นั้น
๒๑
๕.วีรรส (รสแห่งความกล้าหาญ)
คือ บทบรรยายหรือพรรณาที่ทำให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟังพอใจผลงานและ
หน้าที่ ไม่ดูหมิ่นงาน อยากเป็นใหญ่ อยากร่ำรวย อยากมีชื่อเสียง เลียนแบบ
สมเด็จพระนเรศวร ชอบความมีขัตติมานะของพระมหาอุปราชา จากเรื่องลิลิต
ตะเลงพ่าย (บาลีเรียกรสนี้ว่า อุตสาหะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์ บำรู
๏ สองโจมสองจู่จ้วง เชิดด้ำ
สองขัตติยสองขอชู ไวว่อง นักนา
กระลึงกระลอกดู เข่นเขี้ยวในสนาม
ควาญขับคชแข่งค้ำ
ถอดความได้ว่า
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ ทรงต่อสู้กันอย่างเต็มกำลังความสามารถ
สองกษัตริย์กับสองของ้าวที่ยกชูขึ้นสู้กัน ขยับพระแสงของ้าวกลับไปกลับมา
กวัดไกวอาวุธอย่างคล่องแคล่วรุกรับอย่างว่องไว เร็วและแรงยิ่งนัก ควาญก็
ไสช้างสู้กันในสนาม
๒๒
๖.พยานกรส (รสแห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ)
คือ บทบรรยายหรือพรรณาที่ทำให้ผู้อ่านผู้ฟัง ผู้ดู มองเห็นทุกข์ เห็น
โทษ เห็นภัยในบาปกรรมทุจริต เกิดความสะดุ้ง กลัวโรคภัยสัตว์ร้าย ภูตผี
ปีศาจ บางครั้งต้องหยุดอ่าน รู้สึกขนลุกซู่ อ่านเรื่อง ผีต่างๆ (บาลีเรียกรสนี้
ว่า อุตสาหะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์ เสียวดวง แดเอย
๏ พระพลันเห็นเหตุไซร้ ตกต้อง
ถนัดดั่งภูผาหลวง สั่นซีด พักตร์นา
กระหม่ากระเหม่นทรวง เรียกให้โหรทาย
หนักฤทัยท่านร้อง
ถอดความได้ว่า
พลันที่พระมหาอุปราชาทรงเห็นเหตุการณ์นั้นแล้วก็ทรงตกพระทัย รู้สึก
หนักพระทัย ราวกับถูกภูเขาใหญ่ตกมาทับ ทรงหวาดหวั่นพระทัยพระพักตร์ซัด
เซียว รีบตรัสเรียกให้โหรมาทำนาย
๒๓
๗.พีภัตสรส (รสแห่งความชัง ความรังเกียจ)
คือ บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟังชังน้ำหน้าตัวละคร
บางตัว เพราะจิต(ของตัวละคร) บ้าง เพราะความโหดร้ายของตัวละครบ้าง
เช่น เกลียดนางผีเสื้อสมุทร ในเรื่องพระอภัยมณีที่ฆ่าพ่อเงือก เป็นต้น (บาลี
เรียกรสนี้ว่า ชิคุจฉะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์
(ไม่มี)
๘.อัพภูตรส (รสแห่งความพิศวงประหลาดใจ)
คือ บทบรรยายหรือพรรณนาที่ทำให้นึกแปลกใจ เอะใจอย่างหนัก
ตื่นเต้น นึกไม่ถึงว่าเป็นไปได้เช่นนั้น หรืออัศจรรย์ใจคาดไม่ถึงในความ
สามารถ (บาลีเรียกรสนี้ว่า วิมหะยะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์
บัดเดี๋ยวไททฤษฎี พระศรีสารีริกบรมธาตุ ไขโอภาสโศภิต ช่วงชวลิต
พ่างยล ส้มเกลี้ยงกลลุก่อง ฟ่องฟ้าฝ่ายทักษิณ ผินแวดวงตรงทัพ นับ คำรบ
สามครา เป็นทักษิณาวรรตเวียน ว่ายฉวัดเฉวียนอัมพร ผ่านไปอุดรโดยด้าว
พลางบพิตรโทท้าว ท่านตั้งสดุดี อยู่นา
๒๔
ถอดความได้ว่า
ทันใดนั้นพระองค์ทอดพระเนตรพระบรมสารีริกธาตุส่องแสงเรือง งาม
ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยง ลอยมาในท้องฟ้าทางทิศใต้หมุนเวียนรอบกองทัพเป็น
ทักษิณาวรรค 3 รอบ แล้วลอยวนไปทางทิศเหนือ สมเด็จพระพี่น้องทั้ง
สองพระองค์ทรงปิติยินดีตื้นตันพระทัย ทรงสรรเสริญและนมัสการ
๙.ศานติรส (รสแห่งความสงบ)
คือ การแสดงอุดมคติของเรื่อง เป็นผลให้ผู้อ่าน ผู้ดู ผู้ฟัง เกิดความ
สุขสงบในขณะได้เห็น ได้ฟัง (บาลีเรียกรสนี้ว่า สมะรส)
ตัวอย่างบทประพันธ์ ชระอับ อยู่แฮ
บัดดลวลาหกซื้อ เยือกฟ้า
ลิวล่งไปเฮย
แห่งทิศพายัพยล แจ่มแจ้งแสงฉาน
มลักแลกระลายกระลับ
เผยผ่องภาณุเมศจ้า
ถอดความได้ว่า
ได้บังเกิดเมฆก้อนใหญ่ขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ลอยเย็นยะ
เยือกอยู่บนฟ้า แต่แล้วท้องฟ้ากลับดูแจ่มกระจ่าง สว่างด้วยแสง
พระอาทิตย์ส่องแสงจ้าเป็นนิมิตหมายที่แสดงถึงพระบรมเดชานุภาพ
๒๕
โวหารภาพพจน์วรรณคดี
๑.อุปมา
คือ การเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่งที่โดยธรรมชาติแล้วมีสภาพที่
แตกต่างกัน แต่มีลักษณะเด่น ร่วมกันและใช้คำที่มีความหมายว่า เหมือนหรือ
คล้ายเป็นคำแสดงการเปรียบเทียบเพื่อเน้นให้เห็นจริงว่า เหมือนอย่างไร ใน
ลักษณะใดนั่นเอง
บทประพันธ์
อ้าจอมจักรพรรดิผู้ เพ็ญยศ
แม้พระเสียเอารส แก่เสี้ยน
จักเจ็บอุระระทด ทุกข์ ใหญ่หลวงนา
ถนัดดั่งพาหาเหี้ยน หั่นกลิ้งไกลองค์
จากบทประพันธ์ใช้คำว่า ดั่ง หมายถึงเปรียบเสมือน เป็นตอนที่พระมหา
อุปราชาทรงนึกถึงพระบิดาว่าหากต้องทรงเสียโอรส เปรียบเสมือนพระองค์
ถูกตัดแขนบั่นทิ้งออกจากร่าง
๒๖
๒.อุปลักษณ์
คือ การเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง โดยการนำของ
สองสิ่งที่ต่างจำพวกกันแต่มีลักษณะเด่นเหมือนกันมาเปรียบเทียบกัน และใช้
คำที่แสดงความเปรียบว่า เป็น,คือ หรืออาจละคำว่า เป็น,คือ ก็ได้ แต่เป็นที่
เข้าใจกันว่าเป็นการเปรียบเทียบ
บทประพันธ์ นองพนา สณฑ์เฮย
นุสนธิ์ซึ่งน่านน้ำ ท่วมไซร้
มัญหมู่ นี้นา
หนปัจฉิมทิศา
คือทัพอริรา- ธเรศนั้นอย่าแหนง
สมดั่งลักษณ์ฝันไท้
จากบทประพันธ์ใช้โวหารอุปลักษณ์คำว่า คือ เป็นคำเชื่อม โดย
เปรียบน่านน้ำ เป็น กองทัพพม่า
๒๗
บทประพันธ์
“บุรีรัตนหงสา ธ ก็บัญชาพิภาษ ด้วยมวลมาตยากรว่านครรามิ
นทร์ ผลัดเปลี่ยนแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร”
จากบทประพันธ์ใช้โวหารอุปลักษณ์ดังนี้ เปรียบนครรามินทร์
(ราม+อินทร์) เมืองของพระรามในที่นี้หมายถึงกรุงศรีอยุธยา และ เปรียบ
เทียบฉัตร เป็นตัวแทน เป็นสัญลักษณ์ของกษัตริย์ ชิงฉัตร จึงมีความ
หมายว่าชิงราชบัลลังก์
๓.ปฏิพากย์ หรือ ปรพากย์
คือ การใช้ถ้อยคำที่มีความหมายตรงกันข้ามหรือขัดแย้งกันมากล่าว
อย่างกลมกลืนกันเพื่อเพิ่มความหมายให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น
บทประพันธ์
(ไม่มีบทประพันธ์)
๒๘
๔.อติพจน์
เป็นโวหารภาพพจน์อย่างหนึ่งที่มีลักษณะในการกล่าวเกินจริงเพื่อสร้าง
อารมณ์และความรู้สึกที่รุนแรงเกินจริง มักพบบ่อยในงานวรรณกรรมและงาน
ศิลป์หลากหลายรูปแบบ ทว่าผู้เขียนไม่ได้จงใจที่จะหลอกผู้อ่านและผู้อ่าน
ควรจะเข้าใจว่าผู้เขียนกำลังใช้ลักษณะภาพพจน์นี้อยู่
บทประพันธ์
พระคุณตวงเพียบพื้น ภูวดล
เต็มตรลอดแหล่งบน บ่อนใต้
พระเกิดพระก่อชนม์ ชุมชีพ มานา
กรง บ่ ทันลูกได้ กลับเต้าตอบสนอง
จากบทประพันธ์นี้มีบทรำพึงของพระมหาอุปราชต่อพระราชบิดา
(นันทบุเรง) ว่าด้วยการเทียบพระคุณของบิดาว่ามีมากกว่าแผ่นดิน ยิ่งใหญ่
กว่าสวรรค์ชั้นฟ้า หรือ บาดาลพระองค์ทรงให้ชีวิต ให้การชุบเลี้ยงจนเติบ
ใหญ่มา เกรงว่าลูกจะไม่ได้กลับมาตอบแทนพระคุณ
๒๙
๕.บุคลาธิษฐาน
คือ การสมมุติให้สิ่งที่ไม่มีชีวิต ไม่มีความคิด สิ่งที่เป็นนามธรรม หรือ
สัตว์ให้มีสติปัญญา อารมณ์หรือกิริยาอาการ เหมือนมนุษย์เพื่อให้สิ่งเหล่านั้น
เกิดปรากฏการณ์เสมือนเป็น สิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก นึกคิดขึ้นมา แล้วสื่อ
ความรู้สึกออกมาให้ผู้รับสารได้รับรู้เป็นการเปรียบเทียบโดยนำเอาสิ่งไม่มีชีวิต
หรือมีชีวิต แต่ไม่ใช่คนมากล่าวถึงราว กับเป็นคน หรือทำกิริยาอาการอย่างคน
“ภาพพจน์ประเภทนี้จะทำให้สิ่งที่กล่าวถึง มีชีวิตชีวา ผู้รับสารจะมองเห็นภาพ
สิ่งนั้นเคลื่อนไหวทำกิริยาอาการเหมือนคนมีอารมณ์ มีความรู้สึก และ
สามารถสื่อความรู้สึกนั้นมาสู่ผู้รับสารได้”
บทประพันธ์
(ไม่มีบทประพันธ์)
๓๐
๖.สั ญลักษณ์
เป็นการเรียกชื่อสิ่งๆหนึ่งโดยใช้คำอื่นมาแทน ไม่เรียกตรงๆ ส่วนใหญ่
คำที่นำมาแทนจะเป็นคำที่เกิดจากการเปรียบเทียบและตีความซึ่งใช้กันมานาน
จนเป็นที่เข้าใจและรู้จักกันโดยทั่วไป
บทประพันธ์
สลัดไดใดสลัดน้อง แหนงนอน ไพรฤา
เพราะเพื่อมาราญรอน เศิกไซร้
สละสละสมร เสมอชื่อ ไม้นา
นึกระกำนามไม้ แม่นแม้นทรวงเรียม
จากบทประพันธ์ข้างต้นใช้คำว่า ระกำ เป็นสัญลักษณ์แทนความทุกข์
ความตรมใจ ที่บ่งบอกถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร(พระมหาอุป
ราชา)ที่รู้สึกเป็นทุกข์ยิ่งนักที่ต้องจากนางสนมมา
๓๑
๗.นามนัย
คือ การใช้คำหรือวลีซึ่งบ่งบอกลักษณะหรือคุณสมบัติของสิ่งใดสิ่ง
หนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่ง คล้ายๆสัญลักษณ์แต่ต่างกันตรงที่ นามนัยนั้นจะดึงเอา
ลักษณะบางส่วนของสิ่งหนึ่งมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
บทประพันธ์
“ว่านครรามินทร์ผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราช เยียววิวาทชิงฉัตร เพื่อ
กษัตริย์สองสู้ บ่ร้างรู้เหตุผล ควรยาตรพลไปเยือน”
จากบทประพันธ์ใช้คำว่า“ฉัตร” หมายถึง ราชบัลลังก์หรือความเป็น
กษัตริย์
๓๒
๘.สั ทพจน์
คือ ภาพพจน์ที่เลียนเสียงธรรมชาติ เช่น เสียงดนตรี เสียงสัตว์
เสียงคลื่น เสียงลม เสียงฝนตก เสียงน้ำไหล ฯลฯ การใช้ภาพพจน์ประเภท
นี้จะทำให้เหมือนได้ยินเสียงนั้นจริงๆ
บทประพันธ์
"...เจ้าพระยาไชยานุภาพ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ตรับตระหนักสำเนียง
เสียงฆ้อง กลองปืนศึก อึกเอิกก้องกาหล เร่งคำรนเรียกมัน ชันหู ชูหางเล่น
แปร้นแปร๋แลคะไขว่..."
จากบทประพันธ์โวหารสัทพจน์คือคำว่า แปร้นแปร๋ เป็นคำเลียนแบบเสียง
ร้องของช้าง
๓๓
๙.อุปมานิทัศน์
คือ การเปรียบเทียบโดยยกเรื่องราวหรือนิทานมาประกอบ ขยาย หรือ
แนะโดยนัยให้ผู้อ่านผู้ฟังเข้าใจ แนวความคิด หลักธรรม หรือความประพฤติที่
สมควรได้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
จากวรรณคดีเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายสะท้อนความเข้าใจเรื่องดังต่อไปนี้
๑.ความรอบคอบไม่ประมาท ในเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายนี้เราจะเห็น
คุณธรรมของพระนเรศวรได้อย่างเด่นชัดและสิ่งที่ทำให้เราเห็นว่าพระองค์ทรง
เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถมากที่สุดคือ ความรอบคอบ ไม่
ประมาท ดั่งโคลงสี่สุภาพตอนหนึ่งกล่าวว่า
พระห่วงแต่ศึกเสี้ยน อัสดง
เกรงกระลับก่อรงค์ รั่วหล้า
คือใครจักคุมคง ควรคู่ เข็ญแฮ
อาจประกันกรุงถ้า ทัพข้อยคืนถึง
หลังจากที่พม่ายกกองทัพเข้ามาพระองค์ก็ทรงสั่งให้พ่ายพลทหารไป
ทำลายสะพานเพื่อว่าเมื่อฝ่ายไทยชนะศึกสงคราม พ่ายพลทหารของฝ่ายพม่าก็
จะตกเป็นเชลยของไทยทั้งหมด นั่นแสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่
มีทัศนคติที่กว้างไกล ซึ่งมีผลมาจากความรอบคอบไม่ประมาท
๓๔
๒.การเป็นคนรู้จักการวางแผน จากการที่เราได้รับการศึกษาเรื่อง
ลิลิตตะเลงพ่ายเราจะเห็นได้ชัดเจนว่าในช่วงตอนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงเปลี่ยนแผนการรบเป็นรับศึกพม่าแทนไปตีเขมร พระองค์ได้ทรงจัดการ
วางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนอย่างไม่รอช้า ทรงแต่งตั้งให้พระยาศรีไสยณรงค์
เป็นแม่ทัพหน้าและพระราชฤทธานนท์เป็นปลัดทัพหน้าตามด้วยแผนการอื่นๆอีก
มากมายเพื่อทำการรับมือ และพร้อมที่จะต่อสู้กับข้าศึกศัตรูทางฝ่ายพม่า ยก
ตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่แสดงให้เราเห็นถึงการรู้จักการวางแผนของสมเด็จพระ
นเรศวรมหาราช
พระพึงพิเคราะห์ผู้ภักดี ท่านนา
คือพระยาจักรี กาจแกล้ว
พระตรัสแด่มนตรี มอบมิ่งเมืองเฮย
กูจักไกลกรุงแก้ว เกลือกช้าคลาคืน
เมื่อเราเห็นถึงคุณธรรมทางด้านการวางแผนแล้วเราก็ควรเอาเยี่ยง
อย่างเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีระเบียบ มีแบบแผน ซึ่งจาก
คุณธรรมข้อนี้ก็อาจช่วยเปลี่ยนแปลงให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ให้กลายเป็นบุคคล
ที่มีคุณภาพชีวิตทางด้านการวางแผนในการดำเนินชีวิตก็เป็นได้ถ้าเรารู้จักการ
วางแผนให้กับตัวเราเอง
๓๕
๓.การเป็นคนรู้จกความกตัญญูกตเวที จากบทการรำพึงของพระมหา
อุปราชาถึงพระราชบิดานั้น แสดงให้เราเห็นอย่างเด่นชัดเลยทีเดียวว่าพระมหา
อุปราชาทรงมีความห่วงใย อาทร ถึงพระราชบิดาในระหว่างที่ทรงออกรบ ซึ่ง
แสดงให้เราเห็นถึงความรักของพระองค์ที่มีต่อพระราชบิดา โดยพระองค์ได้
ทรงถ่ายทออดความนึกคิด และรำพึงกับตัวเอง ดั่งโคลงสี่สุภาพที่กล่าวไว้ว่า
ณรงค์นเรศด้าว ดัสกร
ใครจักอาจออกรอน รบสู้
เสียดายแผ่นดินมอญ พลันมอด ม้วยแฮ
เหตูบ่มีมือผู้ อื่นต้านทานเข็ญ
ซึ่งเมื่อแปลจะมีความหมายว่า เมื่อยามที่สงครามขึ้นใครเล่าจะออกไป
รบแทนท่านพ่อ จากโคลงนี้ไม่ได้แสดงให้เราเห็นถึงความกตัญญูที่มีต่อพระราช
บิดาของพระมหาอุปราชาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความกตัญญู ความจงรัก
ภักดี ต่อชาติบ้านเมืองอีก
๓๖
4.การเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถทางด้านการมีความสติปัญญา
และมีไหวพริบเป็นเลิศ ดังนั้นจึงไม่แปลกเลยที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะ
ทรงมีคุณธรรมทางด้านการเป็นคนช่างสังเกตและมีไหวพริบ ด้วยเหตุนี้ทำให้
พระองค์ทรงสามารถแก้ไขสถานการณ์อันคับขันในช่วงที่ตกอยู่ในวงล้อมของ
พม่าได้ ซึ่งฉากที่แสดงให้เราเห็นว่าพระองค์ทรงมีคุณธรรมทางด้านนี้คือ
โดยแขวงขวาทิศท้าว ทฤษฎี แลนา
บัด ธ เห็นขุนกรี หนึ่งไสร้
เถลิงฉัตรจัตุรพิรีย์ เรียงคั่ง ขูเฮย
หนแห่งฉายาไม้ ข่อยชี้เฌอนาม
ปิ่นสยามยลแท้ท่าน คะเนนึก อยู่นา
ถวิลว่าขุนศึกสำ- นักโน้น
ทวยทับเทียบพันลึก แลหลาก หลายแฮ
ครบเครื่องอุปโภคโพ้น เพ่งเพี้ยงพิศวง
๓๗
สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วิธีการสังเกตหาฉัตร5ชั้นของพระมหาอุป
ราชา ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าใครเป็นพระมหาอุปราชาทั้งๆที่มีทหารฝ่าย
ข้าศึกร่ายล้อมพระองค์จนรอบ แต่ด้วยความมีไหวพริบพระองค์จึงตรัสท้า
รบเสียก่อนเพราะถ้าพระองค์ไม่ทรงตรัสท้ารบเสียก่อนพระองค์อาจทรงถูก
ฝ่ายข้าศึกรุมโจมตีก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อเราเห็นคุณธรรมของพระองค์ด้านนี้แล้ว
ก็ควรยึดถือและนำไปปฏิบัติตามเพราะสิ่งดีๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดผลดีต่อ
ตนเอง และต่อประเทศชาติได้
๕.ความซื่อสัตย์ จากเนื้อเรื่องนี้เราจะเห็นได้ว่าบรรดาขุนกรีและทหาร
มากมายทั้งฝ่ายพม่าและฝ่ายไทยมีความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ต่อ
ประเทศชาติของตนมากเพราะจากการที่ศึกษาเรื่องลิลิตตะเลงพ่ายเรายังไม่
เห็นเลยว่าบรรดาทหารฝ่ายใดจะทรยศต่อชาติบ้านเมืองของตน ซึ่งก็แสดงให้
เราเห็นว่าความซื่อสัตย์ในเราองเล็กๆน้อยๆก็ทำให้เราสามารถซื่อสัตย์ใน
เรื่องใหญ่ๆได้ซึ่งจากเรื่องนี้ความซื่อสัตย์เล็กๆน้อยๆของบรรดาทหารส่งผล
ให้ชาติบ้านเมืองเกิดความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้
เราก็เช่นเดียวกัน....ถ้าเรารู้จักมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองดั่งเช่นบรรดา
ขุนกรี ทหารก็อาจนำมาซึ่งความเจริญและความมั่นคงในชีวิตก็เป็นได้ซึ่งสิ่งนี้
อาจส่งผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและชาติบ้านเมือง
๓๘
๖.การมีวาทศิลป์ในการพูด จากเรื่องนี้มีบุคคลถึงสองท่านด้วยกันที่
แสดงให้เราเห็นถึงพระปรีชาสามารถทางด้านการมีวาทศิลป์ในการพูด
ท่านแรกคือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
พระพี่พระผู้ผ่าน ภพอุต-ดมเอย
ไป่ชอบเชษฐ์ยืนหยุด ร่มไม้
เชิญการร่วมคชยุทธ์ เผยอเกียรติ ไว้แฮ
สืบกว่าสองเราไซร้ สุดสิ้นฤามี
เราจะเห็นว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงใช้วาจาที่ไพเราะมีความสุภาพน่า
ฟังต่อพระมหาอุปราชาซึ่งเป็นพี่เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับอยู่
ทางฝ่ายพม่า
๓๙
ท่านที่สองคือ สมเด็จพระวันรัต เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงมาขอ
พระราชทานอภัยโทษจากพระนเรศวร ให้กับบรรดาทหารที่ตามเสด็จพระ
นเรศวรในการรบไม่ทัน ซึ่งอยู่ในโคลงสี่สุภาพที่ว่า
พระตรีโลกนาถแผ้ว เผด็จมาร
เฉกพระราชสมภาร พี่น้อง
เสด็จไร้พิริยะราญ อรินาศ ลงนา
เสนอพระยศยินก้อง เกียรติท้าวทุกภาย
การมีวาทศิลป์ในการพูดของสมเด็จพระวันรัตครั้งนี้ทำให้บรรดาขุนกรี
ทหารได้รับการพ้นโทษดังนั้นจากคุณธรรมข้อนี้ทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า การพูด
ดีเป็นศรีแก่ตัวเมื่อเราทราบเช่นนี้แล้วเราทุกคนก่อนที่จะพูดอะไรต้องคิดและ
ไตร่ตรองให้ดีก่อนที่จะพูด
๔๐
ปกิณกะ
ตอนที่ 1 เริ่มบทกวี
คำศัพท์ ความหมาย
ไพรินทร์ กษัตริย์ผู้เป็นข้าศึก
เกริก เลื่องลือ
เพียงพก พลิก
เชวง รุ่งเรือง, เลื่องลือ
บัวบาท พระบาทของพระเจ้าแผ่นดิน
เกษมสุข ความสุขสบาย, ความรื่นเริง,
ความปลอดภัย
ไอยศูรย์ พระบารมี
ตอนที่ 2 เหตุการณ์ที่เมืองมอญ
คำศัพท์ ความหมาย
ธเรศ พระเจ้าแผ่นดิน
อดิศวร ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่
เที้ยร
ย่อม, ล้วนแล้วไปด้วย
เดียรดาษ เกลื่อนกลาด, เกลื่อน, มีทั่วไป
พยุห กองทัพ
ระคน ไว้ใจ
เศิกไสร้ ศัตรู, ข้าศึก
๔๑
ตอนที่ 3 พระมหาอุปราชายกทัพเข้าเมืองกาญจนบุรี
คำศัพท์ ความหมาย
ขวัญเกี่ยงกินเผือนเผือด กลัวจนขวัญหนีดีฝ่อ
เศิก ศัตรูข้าศึก
เวฬุ ไม้ไผ่
ตริ คิดตรึกตรอง
บัวบาทมหิบาล พระบาทของพระเจ้าแผ่นดิน
ตอนที่ 4 สมเด็จพระนเรศวรปรารภเรื่องตีเมืองเขมร
ความหมาย
คำศัพท์
ภูธร พระราชาภูเขา
ชลา น้ำ
ออกอเรนทร์รั่วรู้ ราชศัตรูทางตะวันออกของไทย
โรงธาร ท้องพระโรง
บรรหาร ตรัสสั่ง
๔๒
ตอนที่ 5 สมเด็จพระนเรศวรเตรียมการสู้ศึกมอญ
คำศัพท์ ความหมาย
บรรหาร ทหาร
จตุรงค์ ทหาร 4 เหล่า
ชิงควัน
มหุสสวมหันต์ ตัดหน้า
ระเห็จ การฉลองที่ยิ่งใหญ่มาก
เรือก
ไปแบบเร่งรีบ
เชือก เชือก
ม้าลาด
เร่งชื่น พระนเรศวรมหาราช
ขาม
ม้าลาดตะเวน
ชื่นใจ
ไม่กลัว
๔๓
คำศัพท์ ความหมาย
กมล ใจ
ชนะ
หายคม ขุนนาง
ภิมุ ขุนนาง
มานยา เห็นพ้อง
มาตย์ซ้อง แสดง
ค้า ถูกใจ
ถูกหฤทัย หัวหน้าทัพ
คู่รบ
จอมพยุหยง ทุรกันดาร
เปลี่ยวข้าง
แดนทุราธวา
๔๔
ตอนที่ 6 พระนเรศวรทรงตรวจเตรียมทัพ
คำศัพท์ ความหมาย
มหุติฤกษ์ คำนวณฤกษ์งามยามดี
จตุรงคโชค โชค 4 อย่าง
พระอาทิตย์
รวิ วัน
วาร วันอาทิตย์
รวิวาร นาที
สังขยา เดือน
มาส
บุษยมาส เดือนยี่/เดือนมกราคม
เดือนยี่/เดือนมกราคม ทางน้ำ
เสาวรภย์ หอม
วิภูษา ผ้านุ่ง
รัตพัสตรา ผ้าสีแดง
ตรูเนตร งามตา
แสงนพรัตน์ อัญมณี 9 อย่าง
มีลังเมลือง สวยงามมาก
๔๕
คำศัพท์ ความหมาย
แก้วเกยูร กำไลแก้ว
สะอิ้งรัตร สายรัดเอว
พรรเหา
อัษฎางค์ มาก
8นิ้ว
อลง ประดับ
มกุฎมาศ มงกุฎทอง
รอนราพณ์ ฆ่ายักษ์
ทางเดินขึ้นเรือพระที่นั่ง
ฉนวนน้ำ
พิชัยฤกษ์ ฤกษ์แห่งชัยชนะ
พฤฒิพราหมณ์ ร่ายมนต์ตามคัมภีร์ไสยศาสตร์
ธุช ธง
นาวา เรือ
สถล ทางบก
สังขยา นาที
ราษตรี กลางคืน
๔๕
คำศัพท์ ความหมาย
ไสยาสน์ นอน
เทวัญ เทวดา
กุมภีล์ จระเข้
ศึกธาร จระเข้
สุวสุมาร จระเข้
พนานต์ ป่า
ภัยชลา จระเข้
เครื่องต้น ใส่เสื้อพร้อมรบ
นฤขัตร ฤกษ์ดีมีชัย
ทฤษฎี เห็น
โอภาส แสงสว่าง
๔๖