The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ยาเสพติดประเภทที่5 ให้โทษมาตราอะไรบ้าง

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thanakorn Saeher, 2022-12-27 10:57:28

ยาเสพติดประเภทที่5

ยาเสพติดประเภทที่5 ให้โทษมาตราอะไรบ้าง

ยาเสพติด
ประเภทที่

Drift Hunters

คำนำ

E-book จัดขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจหรืออยากศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องยาเสพติด
ประเภทที่ 5 ได้ทราบถึงการให้โทษเเละมาตราการของการผลิต/นำเข้า/ส่งออกโดย
ไม่ได้รับอนุญาต ชนิดของพืชที่อยู่ในประเภทที่5

หวังว่า E-book นี้จะให้ความรู้เเก่ผู้ที่สนใจหรืออยากศึกษาไม่มากก็น้อย
หากผิดพลาดปะการใด้ก็ขออภัยด้วย

จัดทำโดย
คณะผู็จัดทำ

สารบัญ

เรื่อง หน้า
ยาเสพติดประเภทที่5 1-2
ยาเสพติดให้โทษประเภทที่5 3-4
เสพ 5

ยาเสพติดประเภทที่5 1

9 ก.พ.2565 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ระบุ
ชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 29 วรรคสอง แห่งประมวล
กฎหมายยาเสพติดรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดออก

ประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ให้ยาเสพติดให้โทษที่ระบุชื่อดังต่อไปนี้ เป็นยาเสพติดให้

โทษในประเภท 5 ตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
(1) พืชฝิ่น พืชซึ่งมีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Papaver somniferum L.
และ Papaver bracteatum Lindl. หรือที่มีชื่ออื่นในสกุลเดียวกันที่

ให้ฝิ่นหรือแอลคาลอยด์ของฝิ่น




(2) เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psilocybe cubensis(Earle) Singer หรือที่มีชื่ออื่นใน
สกุลเดียวกันที่ให้สาร psilocybin หรือ psilocin

(3) สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็นพืชในสกุล Cannabis ยกเว้น สารสกัดดังต่อไปนี้
(ก) สารสกัดที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล(tetrahydrocannabinol, THC)ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำ

หนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาหรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ
(ข) สารสกัดจากเมล็ดของพืชกัญชาหรือกัญชง ที่ได้จากการปลูกภายในประเทศ
ข้อ 2 กรณียาเสพติดให้โทษตามข้อ 1 ที่เป็นสารควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพของ
การตรวจสารเสพติดในร่างกาย ซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องมือแพทย์ และต้องใช้ตาม
วัตถุประสงค์ของเครื่องมือแพทย์นั้น ให้ยกเว้นจากการเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5
ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2

ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ทั้งนี้ ประกาศข้างต้นจะส่งผลให้รายชื่อยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 ไม่มีกัญชา กัญชง จะเหลือเพียง
พืชฝิ่น เห็ดขี้ควาย หรือพืชเห็ดขี้ควาย และ “สารสกัด” จากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง ซึ่งเป็น

พืชในสกุล Cannabis ที่มีปริมาณสาร ทีเอชซี (THC) เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก
เท่ากับส่วนต่างๆ ของกัญชา และกัญชง ที่ไม่ใช่ “สารสกัด” จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูก

กฎหมาย.



เขียนที่นี่

ยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 3

ผลิต/นำเข้า/ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต
มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 บาท
หาก กระทำเพื่อจำหน่าย (มีปริมาณตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป
สันนิษฐานว่าเพื่อจำหน่าย) มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี
และปรับตั้งแต่ 100,000 - 1,500,000 บาท

จำหน่าย/มีไว้เพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต (หากครอบครองตั้งแต่ 10 กิโลกรัม
ขึ้นไปให้สันนิษฐานว่า เพื่อจำหน่าย) - โดยทั่วไป หากปริมาณไม่ถึง 10 กิโลกรัม มี
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ - แต่หาก
มีปริมาณตั้งแต่ 10 กิโลกรัมขึ้นไป มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปี และปรับตั้งแต่

100,000- 1,500,000 บาท

ครอบครองโดยได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท
หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

ข้อยกเว้นสามารถผลิต/นำเข้า/ส่งออก ยาเสพติดให้โทษประเภท 5
1. กรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษา หรือการศึกษาวิจัยและ
พัฒนา
2. กรณีกัญชง (Hemp)อันมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุ
เบกษา และได้ นำไปใช้ประโยชน์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ต้องได้รับใบอนุญาต 3.
เป็นการนำติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้
รักษา โรค เฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองแพทย์ แพทย์แผนไทย แพทย์แผน
ไทยประยุกต์ หรือหมอ พื้นบ้าน

4

ข้อยกเว้นสามารถจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท 5
มีกรณีดังนี้

1. ไม่เกินปริมาณที่จำเป็นเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรอง
แพทย์ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน
2. ไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้ประจำในการปฐมพยาบาล หรือเกิดกรณีฉุกเฉินใน
เรือ เครื่องบิน หรือ ยานพาหนะอื่นใด ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่ไม่
ได้จดทะเบียนใน ราชอาณาจักร หรือจด ทะเบียนและได้รับอนุญาตแล้ว

คุณสมบัติผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครอง ยาเสพติดให้โทษประเภท
5

1. หน่วยงานของรัฐ ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอน หรือให้บริการทางการแพทย์เภสัชศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม หรือหน่วยงาน ของรัฐที่มีหน้าที่
ป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด สภากาชาดไทย

2. ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม การสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง การแพทย์แผนไทย/ แผนไทย
ประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน

3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัช
ศาสตร์

4. ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย วิสาหกิจ เพื่อสังคม
หรือสหกรณ์การเกษตรซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับ ดูแลของผู้ขอ
อนุญาตตาม 1 หรือ 3 ซึ่งสามารถร่วมผลิตและพัฒนาสูตรตำรับยา เพื่อประโยชน์ทาง การแพทย์

5. ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
6. ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาเสพติดประเภท 5 ติดตัวเข้ามาในหรือ ออกไปนอก
ราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว
7. ผู้ขออนุญาตอื่นตามที่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการกำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้ในการ นำ
เข้า/ส่งออกยาเสพติดประเภท 5 (และ 3) แต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้งที่ นำเข้าหรือส่งออก

5

หมายเหตุ

1. ผู้ขออนุญาตตาม 2 - 4 และ 7 หากเป็นบุคคลธรรมดาต้องเป็นบุคคลที่มี
สัญชาติไทยและมีถิ่นที่ อยู่ใน ประเทศไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตาม
กฎหมายไทย โดยมีกรรมการ หุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้น อย่างน้อย สองในสาม เป็นผู้
มีสัญชาติไทย และมีสำนักงานในประเทศไทย
2. คุณสมบัติผู้ขออนุญาตกรณีกัญชงให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

เสพ

- กรณีเสพยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน
20,000 บาท หรือทั้งจำทั้ง ปรับ แต่หากเป็นพืชกระท่อม มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท
(เว้นแต่เป็นการเสพเพื่อ รักษาโรคตามคำสั่ง ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม
การแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้าน ที่ได้รับใบอนุญาต
หรือเสพเพื่อการศึกษาวิจัย)
-กรณียุยงส่งเสริมให้ผู้อื่นเสพยาเสพตดิให้โทษประเภท 5 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ
ปรับ ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ

บรรณานุกรม

https://www.thaipost.net/hi-light/82204/
https://www.pinthong-group.com/tab/detail.php?id=27
https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/E/035/T_0008.PDF

ภาคผนวก

สมาชิก

นาย ไชยวัฒน์ เลาว้าง เลขที่1
นาย ณัฐพนธ์ เลาว้าง เลขที่2
นาย นเรศ ปันโนจา เลขที่3
นาย ธนพล เเซ่ห่าง เลขที่7
นาย ธนากรณ์ เเซ่เห่อ เลขที่8
นาย วีรพล เเซ่เห่อ เลขที่12
นาย อภิชาติ เลาเสอ เลขที่13

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6/1


Click to View FlipBook Version