The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กัณฑ์มัทรี(นฤนุช ๔๒)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by naruenut2004, 2021-09-19 03:40:05

กัณฑ์มัทรี(นฤนุช ๔๒)

กัณฑ์มัทรี(นฤนุช ๔๒)

มหาเวสสันดรชาดก

ตอน กัณฑ์มัทรี

นางสาว นฤนุช อีศพงศ์

ม.๕/๕ เลขที่ ๔๒

อาจารย์ อัจฉรา แดงอินทวัฒน์

คำนำ

หนังสือเล่มเล็กเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาภาษา
ไทย ท๓๒๑๐๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่๕ โดยมีจุดประสงค์เพื่อ
ศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ และรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี จากแหล่งการเรียนต่างๆ
เช่น ตำราเรียน แหล่งความรู้จากเว็บไซต์ ตลอดจนนำ
ความคิดที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ข้าพเจ้าหวังว่า หนังสือเล่มเล็กเรื่อง มหาเวสสันดร
ชาดก กัณฑ์มัทรีเล่มนี้ ที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงจะเป็น
ประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี
ที่ ๕

จัดทำโดย
นางสาวนฤนุช อีศพงศ์



สารบัญ

คำนำ หน้า
สารบัญ ๑
ประวัติผู้แต่ง ๒
-ลักษณะคำประพันธ์ ๓
ที่มา ๔
ตัวละคร ๕
เนื้อเรื่องย่อ ๖
วิเคราะห์คุณค่า ๘
- คุณค่าด้านเนื้อหา ๑๐
- คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑๑
- คุณค่าด้านสังคม ๑๒
การนำข้อคิดจากเรื่องไปใช้ ๑๕
ร่ายยาว ๑๖
บรรณานุกรม ๑๗
๑๘



ประวัติผู้แต่ง

เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในช่วงปลายสมัย ๓
อยุธยา รับราชการในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน โดยมี
บรรดาศักดิ์ เป็นหลวงสรวิชิต ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จ-
พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้รับการแต่งตั้งเป็น
พระยาพิพิฒนโกษา ก่อนจะเลื่อนมาเป็นเจ้าพระยาพระ-
คลังเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ
พ.ศ.๒๓๔๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ ซึ่งนอกจากผลงานด้าน
ราชการแล้ว เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ยังมีผลงานด้าน
การประพันธ์จำนวนมาก เช่น สามก๊ก (ฉบับแปล)
ราชาธิราช บทมโหรีเรื่องกากี อิเหนาคำฉันท์ ร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมาร และกัณฑ์มัทรี ฯลฯ

ตัวอย่างงานด้านการประพันธ์

ลักษณะคำประพันธ์

มีลักษณะคำประพันธ์เป็นแบบร่ายยาว โดยหนึ่งบทจะมีกี่
วรรคก็ได้
ฉันทลักษณ์ของร่ายยาว จะมีการบังคับเฉพาะคำสุดท้าย
ของวรรคก่อนหน้าจะสัมผัสกับวรรคถัดไป
จุดเด่นของร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก คือ “การมีคาถา
บาลีขึ้นต้น”






ที่มา

มาจากร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งเป็นชาดกที่
กล่าวถึงเรื่องราวของพระโพธิสัตว์ที่เสวยพระชาติเป็น
พระเวสสันดร เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี ต่อมามีการแปล
เป็นภาษาไทยในสมัยกรุงสุโขทัย ต่อมาในสมัยสมเด็จ-
พระบรมไตรโลกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้ปราชญ์ราชบัณฑิต
แต่งมหาชาติคำหลวง ซึ่งเป็นมหาชาติสำนวนแรก โดยมี
จุดประสงค์เพื่อใช้สวด ในสมัยพระเจ้าทรงธรรม โปรดเกล้า
ให้แต่งกาพย์มหาชาติ เพื่อใช้สำหรับเทศน์ แต่เนื้อความ
ค่อนข้างยาว ไม่สามารถเทศน์ให้จบภายใน ๑ วัน จึงเกิด
มหาชาติขึ้นใหม่อีกหลายสำนวน เพื่อให้เทศน์จบภายใน
๑ วัน ซึ่งเรียกว่า มหาชาติกลอนเทศน์ หรือ ร่ายยาว
มหาเวสสันดรชาดก

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ
โปรดเกล้าฯให้มีการชำระและรวบรวมมหาชาติกลอนเทศ
สำนวนต่าง ๆ แล้วคัดเลือกสำนวนที่ดีที่สุดของแต่ละกัณฑ์
นำมาจัดพิมพ์เป็นฉบับของหลวง ๒ ฉบับ คือ ฉบับ
หอพระสมุดวชิรญาณ และ ฉบับกระทรวงศึกษาธิการ



ตัวละคร

๑. พระเวสสันดร

พระเวสสันดรเป็นพระโอรสของ
พระเจ้ากรุงสัญชัยและพระนางผุสดี
แห่งเมืองสีพี พระเวสสันดรมักจะ
บริจาคทานด้วยวิธีต่าง ๆ มาตั้งแต่
เด็ก ต่อมาเมื่อมีพระชนมายุ ๑๖พรรษา
ได้อภิเษกกับพระนางมัทรี และมีลูกชื่อ
พระกัณหา และพระชาลี

พระองค์ได้ตั้งโรงทานจำนวนมาก และบริจาคช้าง
ปัจจัยนาเคนทร์ ซึ่งเป็นช้างเผือกคู่บ้านคู่เมืองให้กับทูต
ของเมืองกลิงคราษฎร์ที่มาขอช้างเชือกนี้ ทำให้ชาวเมืองไม่
พอใจจึงเรียกร้องให้พระเจ้ากรุงสัญชัยเนรเทศพระ-
เวสสันดรออกจากเมือง ก่อนไปก็ทรงได้บริจาคสัตตสดก-
มหาทาน แล้วจึงออกไปอยู่ในป่า ซึ่งพระเวสสันดรได้
บำเพ็ญเพียรภาวนาประพฤติพรหมจรรย์อยู่ในอาศรม

พระเวสสันดรเป็นผู้มีจิตใจดีงาม มีความเมตตากรุณา ๖
อดทนอดกลั้นอารมณ์โกรธได้ แต่ถึงอย่างไรพระองค์ก็ยัง
คงมีความปรารถนาเหมือนกับบุคคลทั่วไปเช่นกัน

ตัวละคร

๒. พระนางมัทรี

พระนางมัทรีเป็นพระราชธิดา

ของกษัตริย์มัทราช อภิเษกสมรส

กับพระเวสสันดร มีพระโอรสชื่อ

พระชาลี และมีพระธิดาชื่อ พระ-

กัณฑ์หา ด้วยความภักดีต่อพระ-

สวามี นางจึงพาลูก ๆ ตามเสด็จ

พระเวสสันดรออกมาอยู่ในป่าด้วย

พระนางมัทรีเป็
นแบบฉบับของนางในวรรณคดีที่เพียบ

พร้อมไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ ทั้งการเป็นภรรยาที่ดีของ

สามี คือ มีความอ่อนน้อม อดทน เป็นภรรยาแม่แบบผู้มี

ลักษณะเป็นกัลยาณมิตรของสามี สนับสนุนเป้าหมายชีวิต

อันประเสริฐที่พระสวามีได้ตั้งไว้ และมีคุณธรรมสำคัญคือ

ซื่อตรง จงรัก และหนักแน่นต่อสามี พระนางมัทรียังเป็นแม่

ที่ประเสริฐของลูก โดยการรักและเลี้ยงดูลูก ด้วยความ

ทะนุถนอม ดูแลเอาใจใส่ และให้ความอบอุ่นแก่ลูก เมื่อพระ-

นางมัทรีพลัดพรากจากสองกุมารก็เที่ยวค้นหาพระลูกรัก

แต่ไม่พานพบ ได้แสดงถึงความรักของแม่ที่มีต่อลูก



เนื้อเรื่องย่อ

พระนางมัทรีฝันร้าย ทำให้หวั่นวิตกทุกข์ใจเรื่องลูก จึง
ขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบาย
พระทัย ก่อนที่จะเข้าป่าไป พระนางฝากลูกไว้กับพระ-
เวสสันดร ให้ช่วยดูแล หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่า
ไป เพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร
ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่
เคยพบเห็น ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยความหวั่นใจเรื่องลูก
พระนางจึงรีบเก็บผลไม้เพื่อกลับไปหาลูกที่อาศรม บรรดา
เทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า หากพระนางมัทรีกลับ
ออกจากป่าเร็ว และทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาค
พระโอรสธิดาเป็นทาน ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสอง
คืนจากชูชกพระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร ๓ องค์ ให้แปลงกาย
เป็นราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวางทางไม่ให้พระนาง
เสด็จกลับอาศรมได้ พระนางมัทรีจึงยกมือไหว้อ้อนวอน
ขอให้สัตว์หิมพานต์ทั้งสามเปิดทางให้ตน แล้วจะแบ่งผลไม้ให้
สัตว์หิมพานต์ทั้งสามจึงยอมเปิดทางให้ พระนางมัทรีก็รีบวิ่ง
กลับไปที่อาศรม เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสอง
กุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย ร้องไห้คร่ำครวญและเที่ยว
ตามหา



เนื้อเรื่องย่อ

พระเวสสันดรจึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกของนาง ด้วยการ
แกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับ
มาถึงอาศรมในเวลาดึก เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความ
จริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า
พระนางจะเป็นอันตรายได้ แต่พระนางมัทรีทรงแสดงความ
ซื่อสัตย์และความภักดีต่อพระเวสสันดร จนในที่สุด
พระนางจึงถวายบังคมลาออกไปตามหาลูก ทั้งสองในป่า
หิมพานต์ เมื่อออกตามหาจนทั่วแล้วไม่พบ จึงกลับมาที่
อาศรม พระนางสะอื้นไห้จนหมดสติล้มลงพระเวสสันดร
ตระหนกตกใจ จึงเข้าไปตรวจชีพจรดูแลนางจนได้สติตื่น
ฟื้นขึ้นมา พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า พระองค์ได้
ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรง
บำเพ็ญทานบารมี พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้า
และทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของ
พระเวสสันดรด้วย



วิเคราะห์คุณค่า

๑. คุณค่าด้านเนื้อหา

๑.๑) มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี มีรูปแบบการ
แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว และนำด้วยคำ
ภาษาบาลี เป็นการใช้รูปแบบคำประพันธ์ได้เหมาะสม
กับสาระสำคัญ ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านมีความซาบซึ้งในความ
รักของผู้เป็นแม่ได้อย่างดี

๑.๒) เห็นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ของแม่ที่มีต่อลูก และแม่
ย่อมมีความทุกข์โศกเมื่อต้องพลัดพรากจากลูก

๑.๓) ผู้แต่งมีการบรรยายบรรยากาศ และธรรมชาติ
ได้เสมือนจริง สอดคล้องกับเนื้อเรื่ิอง และมีการเปรียบ
ธรรมชาติกับความรู้สึกเศร้าโศก หรือ เปรียบความผิด
ปกติของธรรมชาติคล้ายกับว่าจะเกิดเหตุร้าย

๑๐

วิเคราะห์คุณค่า

๒. คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๒.๑) ลีลาวรรณคดี

อัพภูตรส

“ พลางพิศดูผลาผลในกลางไพรที่นางเคยได้อาศัยทรง
สอยอยู่เป็นนิตย์ผิดสังเกต เหตุไฉนไม้ที่เป็นผลเป็น
พุ่มพวงก็กลายกลับเป็นดอกดวงเดียรดาษอนาถเนตร


ศานติรส

“ พระนางจึ่งตรัสว่า พระพุทธเจ้าข้าอันสองกุมารนี้
เกล้ากระหม่อมฉานได้อุตสาหะถนอมย่อมพยาบาล
บำรุงมาขออนุโมทนาด้วยปินบุตรทานบารมี ขอให้น้ำ
พระหฤทัยพระองค์จงผ่องแผ่วอย่ามีมัจฉริยธรรม
อกุศล อย่ามาปะปนในน้ำพระทัยของพระองค์เลย ”

๑๑

๒.๒) รสวรรณคดี

“จึ่งตรัสว่าควรจะสงสารเอ่ยด้วยต้นหว้าใหญ่ใกล้
อาราม งามด้วยกิ่งก้านประกวดกัน ใบชอุ่มประชุมช่อเป็น
ฉัตรชั้นดั่งฉัตรทอง แสงพระจันทร์ดั้นส่องต้องน้ำค้างที่ขัง
ให้ไหลลงหยดย้อย เหมือนหนึ่งน้ำพลอยพร้อยๆอยู่พรายๆ
ต้องกับแสงกรวดทรายที่ใต้ต้นอร่ามวามวาวดูเป็นวนวง
แวว ดั่งกับบุคคลเอาแก้วมาระแนงแกล้งมาโปรยปรายรอบ
ปริมณฑลก็เหมือนกัน”

จากข้างต้น พระนางมัทรีได้กล่าวชมธรรมชาติ
ระหว่างการตามหาลูกจึงเป็นรส “เสาวรจนีย์”

“เออนี่เจ้ามิหมายว่าใครๆไม่รู้กระนั้นกระมัง หรือเจ้า
เห็นว่าพี่นี้เป็นชีอดจิตคิดอนิจจังทิ้งพยศ อดอารมณ์เสีย
เจ้าเป็นแต่เพียงเมียควรหรือควรมาหมิ่นได้ ถ้าแม้นพี่อยู่ใน
เมืองเกรียงไกรเหมือนแต่ก่อนเก่า หากว่าเจ้าทำเช่นนี้ กาย
ของมัทรีก็จะขาดสะบั้นลงทันตาด้วยพระกรเบื้องขวาของ
อัตมานี้แล้วแล”

จากข้างต้น พระเวสสันดรทรงอุบายให้พระนางมัทรี
ลืมเรื่องลูกจึงแสดงท่าทีหึง โกรธ และว่าอย่างรุนแรงทำให้
ทราบว่าเป็นรส “พิโรธวาทัง”

๑๒

“ดูกรสงฆ์ผู้ทรงพรหมจารี เมื่อสมเด็จพระมัทรีกำสรด
แสนกัมปนาท เพียงพระสันดานจะขาดจะดับสูญ นาง
เสวยพระอาดูรพูนเทวษในพระอุรา น้ำพระอัสสุชลนาเธอ
ไหลนองคลองพระเนตร ทรงพระกันแสงแสนเทวษพิไรร่ำ
ตั้งแต่ค่ำประถมยามค่ำไม่หย่อยหยุดแต่สักโมงยาม”

จากข้างต้น พระนางมัทรีอศกเศร้าและตามหาลูก
ไม่มีหยุดหย่อน จึงทำให้ทราบว่าเป็นรส “สัลลาปังคพิสัย”

๒.๓) โวหารภาพพจน์

อุปมา:

“อันอริยสัตบุรุษเห็นปานดั่งตัวพี่ฉะนี้”
“งามดั่งไม้ปริชาตในเมืองสวรรค์มาปลูกไว้”

สัทพจน์:

“สมเด็จอรไทเธอเที่ยวตะโกนกู่กู๋ก้อง”
“เสียงเนื้อนกนี่ร่ำร้องสำราญรังเรียงคู่คูขยับ

ขัน”

๑๓

บุคคลวัตร:

“ทั้งอาศรมก็หมองศรีเสมือนหนึ่งว่าจะเศร้าโศก”
“โอ้แลเห็นแต่สระแก้วอยู่อ้างว้างวังเวงใจ”

ปฏิปุจฉา:
“อกเอ๋ยจะทำไฉนดีจึ่งจะได้วิถีทางที่จะครรไล”
“ควรละหรือมาสลัดแม่นี้ไว้”

นามนัย:

“มณฑาทองทั้งคู่ของแม่เอ๋ย”
“สุริยันจันทรทั้งคู่ของแม่เอ๋ย”

๑๔

๓. คุณค่าด้านสังคม

๑. มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี สะท้อนแนวคิด
เกี่ยวกับความรักของแม่ที่มีต่อลูก และการเป็นภรรยาที่
ดี

๒. สะท้อนเกี่ยวกับความเชื่อ พระนางมัทรีทรงเห็นป่า
ที่ผิดปกติจากที่เคยเป็น ก็ทรงคิดว่าอาจเกิดเหตุร้ายได้

๓. ให้แง่คิดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้หญิงใน
สมัยนั้นในฐานะที่เป็นแม่และเป็นภรรยาที่ดี ซึ่งเป็นสิ่ง
สำคัญเหนือสิ่งอื่นใด แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนเเปลง
มากขึ้น ทั้งผู้หญิงและผู้ชายมีความเท่าเทียมกัน

๑๕

การนำข้อคิด
จากเรื่องไปใช้

ทนทุกข์ให้ลูกสุข

หากคิดย้อนเวลากลับไปเมื่อยังเด็ก ฉันจะเห็นว่ามีผู้หญิงคน
หนึ่ง ซึ่งเรียกว่าแม่ เป็นผู้ดูแลฉันมาตั้งแต่อยู่ในท้อง จนเติบโต
มาถึงทุกวันนี้ ยามที่ฉันป่วย แม่จะคอยดูแล ป้อนยา อดหลับอด
นอน เมื่อฉันตัวร้อนในเวลาดึก อยากได้อะไร หรือต้องการสิ่งใด
แม่ก็จะหามาให้เสมอ ยอมลำบาก ยอมทำงานหนัก เพื่อเก็บออม
เงินมาให้ฉัน พี่และน้อง ได้เรียน ได้อยู่อย่างสุขสบาย แม่จะคอย
หาแต่สิ่งที่ดีๆมาให้ คอยห้ามปรามจากสิ่งที่ไม่ดี ถึงจะต้องตี หรือ
ดุว่า เพื่อไม่ให้ไปยุ่งกับสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัวเราอีกแม่ก็ยอม ฉันเห็นว่า
ตั้งแต่เกิดมา แม่ทุ่มเทแรงกาย แรงใจ ให้ฉัน พี่และน้อง มามาก
แค่ไหน จนฉันเติบโตมาอายุ ๑๖ ปีแล้ว ในฐานะลูก ได้รู้ว่าแม่รัก
และเหนื่อยในการเลี้ยงลูก ๔ คนมามาก ซึ่งฉันรักแม่มากและ
อยากตอบแทนพระคุณท่าน แบ่งเบาภาระของแม่เท่าที่จะทำได้
ในตอนนี้ ถึงแม้ว่าในตอนนี้จะเรียนอยู่ก็ตาม แต่ถ้าเรียนจบและ
มีงานทำแล้ว ฉันจะดูแลแม่ให้เต็มที่ จะทำให้แม่สบาย และมี
ความสุขที่สุด

๑๖

ร่ายยาว

รู้คุณคนเป็ นสิ่งดี

“สิ่งใดเล่าที่คนเรานั้นควรจะมี รู้กตัญญูผู้ที่มีบุญคุณ ที่
ท่านได้เกื้อหนุนให้เราเติบใหญ่เติบโตไปเป็นคนดี แม้ท่านนี้จะ
เหนื่อยจะลำบาก แต่ต้องปกป้องเราจากสิ่งเลวร้าย ดังนั้น
จงอย่ารีรอจนสายที่จะตอบแทนท่าน และจงรักษาให้เนิ่น
นานจนสุดสิ้นสุดชีวิต แล้วอย่าหยุดคิดที่จะรู้บุญคุณคน
เพราะสิ่งที่ตนทำนี้ จะหวนคืนกลับมาให้มีสุขศรีในชีวิตนี้แล”

๑๗

แหล่งที่มา

Thanyarat khotwanta. (๒๕๖๓). มหาเวสสันดร
ชาดก กัณฑ์มัทรี. สืบค้น ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๔,
จาก https://blog.startdee.com/
มหาเวสสันดรชาดก-กัณฑ์มัทรี-ม-5-ภาษา
ไทย

คณิภา ธุระธรรม. (๒๕๕๕). คุณค่าของเรื่องมหาเวสสันดร
ชาดก กัณฑ์มัทรี. สืบค้น ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก
https://sites.google.com/site/kanipa031/
khunkha-thi-di-cak-reuxng

บุญกว้าง ศรีสุทโธ. (๒๕๕๙). คุณค่าด้านสังคม.
สืบค้น ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๔, จาก
https://sites.google.com/a/htp.ac.th/
mha-wessandr-chadk-kanth-math-ri/
8-3-khunkha-dan-sangkhm

๑๘


Click to View FlipBook Version