The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

เนื้อหารายวิชาวิแพ่ง1

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by 29mmthawatchai, 2022-05-21 04:40:45

เขตอำนาจศาล

เนื้อหารายวิชาวิแพ่ง1

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง

เขตอำนาจ
ศาล

นำเสนอโดย เสนอ

นางสาวกัณฐิกา มะลิเผือก อาจารย์มาตา สินดำ
รหัสนิสิต 612081007 อาจารย์ประจำรายวิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง1
คณะนิติศาสตร์
คณะนิติศาสตร์

คำนำ

การเรียบเรียงสรุปคำบรรยายรายวิชาวิธีพิจารณาความแพ่ง1
(0801351) ผู้เขียนได้เรียบเรียงเนื้อหาในหัวข้อที่สนใจ ซึ่งได้ศึกษามาจาก
เอกสารประกอบคำบรรยายของท่านอาจารย์ผู้บรรยาย และจากตำรากฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งของท่านอาจารย์หลายท่านด้วยกัน เพื่อความถูกต้อง
สมบูรณ์และมีเนื้อหาของมาตราที่เกี่ยวข้องเป็นปัจจุบันมากที่สุด

ผู้เขียนกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้
แก่ผู้เขียน และท่านอาจารย์ที่เขียนตำราเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความแพ่ง
ทำให้ผู้เขียนได้อ่านค้นคว้าเพิ่มเติมซึ่งนำมาสู่ความเข้าใจ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดในเนื้อหาของการจัดทำ E-bookเล่มนี้ ผู้เขียนจึง
ขออภัยในความผิดพลาดบกพร่อง มา ณ ที่นี้ด้วย

นางสาวกัณฐิกา มะลิเผือก
รหัสนิสิต 612081007

เขตอำนาจศาล

คำว่า “เขตอำนาจศาล” นั้น นอกจากจะพิจารณาตามกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่งแล้ว จะต้องพิจารณาตามกฎหมายเรื่องพระ
ธรรมนูญศาลยุติธรรมด้วย

ความแตกต่างระหว่าง คำว่า “เขตอำนาจศาล”ของหลักของ
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมก็คือ
- กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือ หลักที่กำหนดว่าจะต้องนำคดี
ขึ้นสู่ศาลใด
- กฎหมายพระธรรมนูญศาลยุติธรรม คือ หลักที่กำหนดอำนาจของ
แต่ละศาล ในการพิจารณาพิพากษาคดี

เขตอำนาจศาล มีเรื่องที่สำคัญ ดังนี้คือ

1. การเสนอคำฟ้อง (ตามคำนิยามใน มารตรา1(3)) ตามต่อศาล (มาตรา 2)

2. การกำหนดเขตอำนาจของศาลแพ่ง และกำหนดภูมิลำเนาพิเศษของจำเลย
(มาตรา 3)

3. การฟ้องคดีทั่วไปโดยถือหลักภูมิลำเนา และมูลคดี (มาตรา4)

4. การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ (มาตรา 4 ทวิ)

5. การฟ้องคดีที่ภูมิลำเนาจำเลยและมูลคดี มิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร (มาตรา
4 ตรี)

6. การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยเฉพาะ
(มาตรา 4 จัตวา)

7. การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคลโดยเฉพาะ (มาตรา 4 เบญจ)

8. การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะต้องจัดการในราชอาณาจักร แต่
มูลคดีมิได้เกิดในราชอาณาจักร และ ผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(มาตรา 4 ฉ)

9. ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นหลายศาล (มาตรา 5)

10. การโอนคดี (มาตรา 6 )

11. การฟ้องคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเดิม (มาตรา 7)

12. กรณีที่ไม่สามารถดำเนินคดีในศาลที่มีเขตอำนาจ (มาตรา 10)

โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ

1. การเสนอคำฟ้อง (ตามคำนิยามใน มารตรา1(3)) ต่อศาล (มาตรา 2)
หลักกฎหมาย มาตรา 2 บัญญัติว่า “ห้ามมิให้เสนอคำฟ้องต่อศาลใด เว้นแต่
(๑) เมื่อได้พิจารณาถึงสภาพแห่งคำฟ้องและชั้นของศาลแล้ว ปรากฎว่า ศาลนั้มี
อำนาจที่จะพิจารณา
พิพากษาคดีนั้นได้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม
และ
(๒) เมื่อได้พิจารณาถึงคำฟ้องแล้ว ปรากฎว่าคดีนั้นอยู่ในเขตศาลนั้นตามบทบัญญัติ
แห่งประมวล
กฎหมายนี้ ว่าด้วยศาลที่จะรับคำฟ้อง และตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่กำหนดเขต
ศาลด้วย ”

ข้อสังเกต
1. การเสนอคำฟ้อง มีข้อพิจารณา อยู่ 4 ประการคือ
1.1 สภาพแห่งคำฟ้อง หมายถึง สภาพของคดีหรือลักษณะของคดีที่โจทก์ประสงค์
จะบังคับ หรือขอให้รับรองว่าเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์ ถ้ามีทุน
ทรัพย์แล้วทุนทรัพย์ที่เรียกร้องมาเป็นจำนวนเท่าใด
1.2 ชั้นของศาล ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
1.3อำนาจศาล จะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติของอำนาจผู้พิพากษา อำนาจของ
ศาลตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและตามบทบัญญัติการจัดตั้งศาลพิเศษต่างๆ
1.4เขตศาล หมายถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ศาลนั้นจะมีอำนาจได้ตามที่กำหนดไว้
ในเรื่องเขตอำนาจศาล ซึ่งมาตรา 15 ได้บัญญัติไว้เป็นหลักว่า ห้ามมิให้ศาลใช้
อำนาจนอกเขตศาล
เมื่อพิจารณา 4 ข้อนี้แล้วจึงพิจารณาถึงศาลที่จะยื่นฟ้องได้ตาม มาตรา 3 – 4 ฉ
เพราะมาตรา 2 นี้เป็นหลักทั่วไป

2. สภาพแห่งคำฟ้อง มีความสำคัญต่อการเสนอคำฟ้องตรงที่ เป็นการพิจารณา
ว่าคดีนั้นจะ
1) อยู่ในอำนาจศาลแขวง หรือ ศาลจังหวัด
2) เสนอต่อชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาได้หรือไม่

3. การเสนอคดีหรือฟ้องคดีครั้งแรกนั้นจะต้องเริ่มที่ศาลชั้นต้นตามมาตรา 170
ว.1

ตัวอย่างฎีกา
ฎ.1320/2517คดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารจะฟ้องที่ศาลพลเรือนไม่ได้ หมายความ
ว่า อำนาจของศาลทหารก็เป็นไปตามพระธรรมนูญศาลทหารหรือวิธีพิจารณาศาล
ทหาร

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

2. การกำหนดเขตอำนาจของศาลแพ่ง และกำหนดภูมิลำเนาพิเศษของจำเลย
(มาตรา 3)
หลักกฎหมาย มาตรา 4 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการเสนอคำฟ้อง
(๑) ในกรณีที่มูลคดีเกิดขึ้นในเรือไทยหรืออากาศยานไทยที่อยู่นอกราช
อาณาจักรให้ศาลแพ่งเป็นศาลที่มีอำนาจ
(๒) ในกรณีที่จำเลยไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
(ก) ถ้าจำเลยเคยมีภูมิลำเนาอยู่ ณ ที่ใดในราชอาณาจักรภายในกำหนดสองปี
ก่อนวันที่มาการเสนอคำ
ฟ้อง ให้ถือว่าที่นั้นเป็นภูมิลำเนาของจำเลย
(ข) ถ้าจำเลยประกอบหรือเคยประกอบกิจการทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในราช
อาณาจักร ไม่ว่าโดยตน
เองหรือตัวแทน หรือโดยมีบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ติดต่อในการประกอบ
กิจการนั้นในราชอาณาจักร ให้ถือว่าสถานที่ที่ใช้หรือเคยใช้ประกอบกิจการหรือ
ติดต่อดังกล่าว หรือสถานที่อันเป็นถิ่นที่อยู่ของตัวแทนหรือของผู้ติดต่อในวันที่มี
การเสนอคำฟ้องหรือภายในกำหนดสองปีก่อนนั้น เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ”

ข้อสังเกต
1. จะนำบทบัญญัติในมาตรา 3 นี้ไปใช้กับกรณีอื่นไม่ได้ หรือนำไปใช้ใน
ความหมายของภูมิลำเนาในกรณีอื่นไม่ได้ เพราะมาตรานี้มุ่งเพื่อจะให้การเสนอ
คำฟ้องสามารถทำได้กว้างขวางมากขึ้นเท่านั้น

2. มาตรา 3 นี้เป็นสิทธิที่เพิ่มเติมสิทธิที่จะฟ้องคดีได้ตามบททั่วไปในมาตรา 4
คือ ถ้ากรณีต้องทั้งมาตรา 3 และ 4 จะใช้มาตรา 3 หรือ 4 ก็ได้

ตัวอย่างฎีกา
ฎ. 6437/2541 จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของ
จำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักร โดยจำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาในเขตศาลแพ่ง จึงถือได้
ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนา
ของจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลแพ่งได้

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

3. การฟ้องคดีทั่วไปโดยถือหลักภูมิลำเนา และมูลคดี (มาตรา 4)
หลักกฎหมาย มาตรา 4 “เว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นอย่างอื่น
(๑) คำฟ้อง ให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล หรือต่อศาลที่มูล
คดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่
(๒) คำร้องขอ ให้เสนอต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาล หรือต่อศาลที่ผู้ร้องมี
ภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ”

ข้อสังเกต
1. คำว่า “ภูมิลำเนา” มีความหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 37-47

2. ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ให้ถือเอาสำนักงาน หรือสำนักงานแห่งใหญ่ซึ่งอยู่
ภายในเขตศาลที่จะยื่นฟ้องคดี หรือคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณา (ป.ว.พ.มาตรา
68)

3. ผู้ที่ถูกจำคุก ให้ถือว่าเรือนจำหรือฑัณฑสถานเป็นภูมิลำเนา แต่ต้องเป็นกรณี
ที่คำพิพากษาถึงที่สุดตาม
ป.ว.พ. มาตรา 146

4. แจ้งย้ายสำมะโนครัว แต่ไม่ได้ย้ายไปจริง สามารถฟ้องที่ภูมิลำเนาเก่าหรือ
ใหม่ก็ได้ (ฎ.181/2521)

5. คำว่า “มูลคดี” หมายถึง เหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้เกิด
อำนาจฟ้อง หรือเหตุแห่งการฟ้อง เช่น ทำสัญญาที่ไหน ผิดสัญญาที่ไหน
ละเมิดที่ไหน เหตุแห่งการฟ้องนี้ บางกรณีอาจจะเกิดขึ้นในแห่งเดียวกัน หรือ
อาจจะเกิดขึ้นได้หลายสถานที่ต่างกันก็ได้ และแต่ละที่นั้นก็ถือเป็นสถานที่มูลคดี
เกิดทั้งสิ้น

6. สัญญาระหว่างบุคคลที่อยู่ห่างโดยระยะทาง สัญญาเกิดขึ้นเมื่อคำสนองไปถึงผู้
เสนอ จึงถือว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่ภูมิลำเนาของผู้เสนอ(ฎ.2586/2523)

7. สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือและต้องลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย แต่คู่สัญญาลง
ลายมือชื่อคนละแห่งกัน ก็ให้ถือว่าสถานที่ทั้งสองแห่งเป็นสถานที่ที่มูลคดี
เกิด(ฏ.2586/2540)

8. ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค ถือว่าสถานที่ที่มูลคดีเกิดได้แก่ สถานที่จ่ายเช็ค,
สถานที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน, และสถานที่ที่สัญญาตามมูลหนี้เช็คเกิดขึ้น
ด้วย (ฎ.3818/2538)

9. สัญญาที่แยกต่างหากจากกัน เช่น สัญญาค้ำประกัน เพื่อค้ำประกันให้สัญญา
เช่าซื้อ หากทำสัญญาต่างสถานที่กัน ถือว่ามูลคดีต่างกันด้วย (ฎ.6933/39)
10. ระวัง คำว่า “มูลหนี้ ”กับ “มูลคดี” ไม่เหมือนกัน เพราะ มูลคดีมีความ
หมายกว้างกว่ามูลหนี้

11. ในกรณีที่เสนอคำฟ้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น ไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยจะมี
ภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่

ตัวอย่างฎีกา
ฎ.881/41 จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่เชียงใหม่และกรุงเทพ ขึ้นล่องไปมาเป็นประจำ
ถือว่าจำเลยมีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง โจทก์จะถือเอาแห่งใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยเพื่อ
ยื่นฟ้องก็ได้
ฎ.2786/2540 ฟ้องคดีละเมิด โดยจำเลยขายรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรส 2 คัน คัน
แรกขายที่เชียงใหม่ อีก 1 ปีต่อมาขายคันที่ 2 ที่ตาก ดังนั้น กรณีคันที่ 2 จะฟ้อง
ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ไม่ได้ เพราะสัญญาทำกันคนละปี มูลคดีอันเป็นต้นเหตุ
แห่งการโต้แย้งสิทธิมิใช่เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลจังหวัดเชียงใหม่

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

4.. การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะ (ข้อยกเว้นมาตรา 4)
(มาตรา 4 ทวิ)
หลักกฎหมาย มาตรา 4 ทวิ บัญญัติว่า “คำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ หรือ
สิทธิหรือประโยชน์อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ ให้เสนอต่อศาลที่
อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ในเขตศาล ไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราช
อาณาจักรหรือไม่ หรือต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ”

ข้อสังเกต
1. มาตรานี้หมายถึงคำฟ้องที่มีลักษณะดังนี้

1.1 คำฟ้องที่โจทก์มุ่งหมายจะบังคับเอากับอสังหาริมทรัพย์ชิ้นใดโดยเฉพาะ
ได้แก่ การฟ้องเรียกตามเอกเทศสัญญาต่างๆ เช่น ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก
เช่น คำฟ้องบังคับให้โอนที่ดิน เป็นต้น

1.2 คำฟ้องที่จะต้องพิเคราะห์ถึงความเป็นอยู่ของอสังหาริมทรัพย์ชิ้นใดโดย
เฉพาะ
เช่น คำฟ้องที่เจ้าหนี้บังคับจำนองที่ดินที่ลูกหนี้นำมาจำนอง(เฉพาะกรณีที่เจ้าหนี้
มีสิทธิบังคับจำนองแล้ว) เพราะศาลต้องพิจารณาถึงสิทธิบังคับจำนอง และเมื่อ
ศาลพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะ ก็จะต้องมีการจัดการเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์(ฎ.380/2532) , คำฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกให้ออกจาก
ที่ดิน(ฎ.1173/2518)
แต่กรณีฟ้องให้ชำระหนี้เงินกู้และขอให้ไถ่ถอนจำนองเพื่อนำเงินมาชำระหนี้
เป็นหนี้เหนือบุคคล ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ เพราะมิใช่เป็นการฟ้อง
บังคับจำนองที่เกี่ยวกับตัวที่ดินโดยตรง (ฎ.2245/2526)

2. สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินนั้น ต้องแยกพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ
2.1 คำฟ้องเกี่ยวกับการขอให้บังคับตามสัญญา คือการให้โอนที่ดินให้ผู้จะซื้อ ถือ
เป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์(ฎ.1115/2523)
2.2 คำฟ้องเกี่ยวกับการเรียกเงินค่าขายที่ดิน ค่าซื้อที่ดิน เงินมัดจำ ค่าเสียหาย ค่า
นายหน้า ถือเป็นคำฟ้องที่ไม่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์เพราะไม่ได้บังคับแก่ตัว
ทรัพย์คือที่ดิน(ฎ.1233/2506,2334/2517,2256/2521,955/2537,คสคร.77/2519)

3. คำ ฟ้องเรียกค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมุ่งบังคับเอาเงินค่าเช่า แต่ค่าเช่า
เป็นประโยชน์ คือ ดอกผล อันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะเจาะจง (อย่า
สับสนกับกรณีสัญญาจะซื้อจะขายข้างต้น) จึงเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์

4. คำฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด(บุกรุกที่ดิน)และห้ามจำเลยกับบริวาร
เกี่ยวข้องและรบกวนสิทธิในที่ดินของโจทก์ต่อไป แม้ค่าเสียหายฐานละเมิดจะ
เป็นหนี้เงิน คำฟ้องนี้ก็ถือเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ (ฎ.1173/2518)

5. ฟ้องเรียกที่ดินคืน ไม่ว่ากรณีใดๆ ถือเป็นคำฟ้องเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ทั้ง
สิ้น

6. ฟ้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดเพราะทำให้โจทก์ต้องเสียที่ดิน เป็นคดี
เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ แม้โจทก์มิได้มีคำขอที่จะบังคับแก่ที่พิพาท แต่การ
พิจารณาว่าที่ดินพิพาทเคยเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นการพิจารณาถึงความเป็น
อยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์

7. หากฟ้องค่าเสียหายฐานละเมิดเพราะบุกรุกที่ดินอย่างเดียว ไม่ถือเป็นคำฟ้อง
เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์

8. คำฟ้องเกี่ยวกับสิทธิยึดหน่วงใบโฉนดที่ดิน ไม่ใช่คำฟ้องเกี่ยวด้วย
อสังหาริมทรัพย์(ฎ.1428-29/2514)

ตัวอย่างฎีกา
ฎ. 1783/2527(ประชุมใหญ่) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุ
ให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องสูญเสียที่ดินของโจทก์ไป จำเลยให้การว่าที่
พิพาทเป็นที่สาธารณะ ไม่ใช่ของโจทก์ และจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์
แม้มิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย และ
คำฟ้องของโจทก์มิได้มีคำขอบังคับแก่ที่ดินพิพาท แต่การที่จะพิจารณาว่าจำเลย
กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ก็จะต้องพิจารณาด้วยว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือ
ไม่ อันเป็นการพิจารณาถึงความเป็นอยู่แห่งอสังหาริมทรัพย์ จึงเป็นคดีเกี่ยวด้วย
อสังหาริมทรัพย์

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

5. การฟ้องคดีที่ภูมิลำเนาจำเลยและมูลคดี มิได้เกิดขึ้นในราช
อาณาจักร(มาตรา 4 ตรี)
หลักกฎหมาย มาตรา 4 ตรี บัญญัติว่า “คำฟ้องอื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ใน
มาตรา ๔ ทวิ ซึ่งจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรและมูลคดีมิได้เกิด
ขึ้นในราชอาณาจักร ถ้าโจทก์เป็นผู้มีสัญชาติไทย หรือมีภูมิลำเนาอยู่ในราช
อาณาจักร ให้เสนอต่อศาลแพ่งหรือต่อศาลที่โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล
คำฟ้องตามวรรคหนึ่ง ถ้าจำเลยมีทรัพย์สินที่อาจถูกบังคับคดีได้อยู่ในราช
อาณาจักร ไม่ว่าจะเป็นการชั่วคราวหรือถาวร โจทก์จะเสนอคำฟ้องต่อศาลที่
ทรัพย์สินนั้นอยู่ในเขตศาลก็ได้ ”

ข้อสังเกต
1. มาตรา 4 ตรี นี้ เป็นบทบัญญัติเกี่ยวด้วยการเสนอคำฟ้อง ที่นอกเหนือจาก
หลักทั่วไป ตามมาตรา 4 เหมือนมาตรา 4 ทวิ แต่ต่างกับมาตรา 4 ทวิ ตรงที่มา
ตรา 4 ตรี เป็นคดีที่ไม่เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

2. มาตรานี้เป็นประโยชน์แก่โจทก์มาก เพราะไม่ต้องนำคดีไปฟ้องที่ศาลต่าง
ประเทศ

3. กรณีที่โจทก์มีสัญชาติไทยแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร
อีก ก็ยื่นฟ้องที่ศาลแพ่งได้

4. สรุป ศาลที่จะยื่นฟ้องได้ตามมาตรานี้คือ 1. ศาลแพ่ง 2.ศาลที่โจทก์มี
ภูมิลำเนาอยู่ 3. ศาลที่ทรัพย์สินจำเลยตั้งอยู่

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

6. การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยเฉพาะ (มาตรา 4
จัตวา)
หลักกฎหมาย มาตรา 4 จัตวา “ คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ให้เสนอต่อศาล
ที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ใน
เขตศาลในขณะถึงแก่ความตาย
ในกรณีที่เจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์
มรดกอยู่ในเขตศาล ”

ข้อสังเกต
1. มาตรานี้ เป็นการเสนอคำร้อง ที่เป็นข้อยกเว้นของมาตรา 4(2) กล่าวคือ เป็น
คำร้องขอแต่งตั้งผู้จัดการมรดกโดยเฉพาะ

2. มาตรานี้เป็นประโยชน์แก่เจ้ามรดก ที่มีทายาทและทรัพย์มรดก
กระจัดกระจายอยู่หลายเขตอำนาจศาล แต่ได้ถึงแก่ความตายในเขตอำนาจศาล
ใดศาลหนึ่ง

3. สรุป ศาลที่จะเสนอคำร้องตามมาตรานี้ได้ มี 2 ศาลคือ
1.ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจศาล ในขณะถึงแก่ความตาย
2. กรณีที่เจ้ามรดกไม่อยู่ในราชอาณาจักร ให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่
ได้พียงศาลเดียว

ตัวอย่างฎีกา
ฎ. 5912/39 แม้ผู้ตายมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและถึงแก่ความตาย ที่จังหวัด
พิจิตรแต่ผู้ตายก็ได้อยู่กินเป็นสามีภริยากับผู้ร้องถึง 20 ปี ที่ จังหวัดสมุทรปราการ
และได้ซื้อที่ดินที่จังหวัดสมุทรปราการด้วย แสดงว่าผู้ตายมีบ้านอยู่ที่จังหวัด
สมุทรปราการเป็นสถานที่อยู่อันเป็น แหล่งสำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย บ้านที่จังหวัด
สมุทรปราการจึงเป็น ภูมิลำเนาของผู้ตาย ผู้ร้องมีสิทธิเสนอคำร้องขอเป็นผู้จัดการ
มรดก ของผู้ตายต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺



7. มาตรา 4 เบญจ การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องขอเกี่ยวกับนิติบุคคลโดยเฉพาะ
หลักกฎหมาย มาตรา 4 เบญจ “คำร้องขอเพิกถอนมติของที่ประชุมหรือที่ประชุม
ใหญ่ของนิติบุคคล คำร้องขอเลิกนิติบุคคล คำร้องขอตั้งหรือถอนผู้ชำระบัญชีของ
นิติบุคคล หรือคำร้องขออื่นใดเกี่ยวกับนิติบุคคล ให้เสนอต่อศาลที่นิติบุคคลนั้น
มีสำนักงานแห่งใหญ่อยู่ในเขตศาล ”

ข้อสังเกต
1. สาเหตุที่มีมาตรานี้คือ เนื่องจากคำร้องขอเหล่านี้อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อ
บุคคลหลายฝ่าย ถ้ามีผู้ร้องหลายคนก็อาจเสนอคำร้องต่อศาลได้หลายศาล

2. มาตรานี้ เป็นข้อยกเว้นของมาตรา 4 (2)

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

8. มาตรา 4 ฉ การฟ้องคดีที่เป็นคำร้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่จะต้องจัดการในราช
อาณาจักร
แต่มูลคดีมิได้เกิดในราชอาณาจักร และ ผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร
หลักกฎหมาย มาตรา 4 ฉ “คำร้องขอเกี่ยวกับทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี
คำร้องขอที่หากศาลมีคำสั่งตามคำร้องขอนั้นจะเป็นผลให้ต้องจัดการหรือเลิก
จัดการทรัพย์สินที่อยู่ในราชอาณาจักรก็ดี ซึ่งมูลคดีมิได้เกิดขึ้นในราชอาณาจักร
และผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรให้เสนอต่อศาลที่ทรัพย์สินดังกล่าว
อยู่ในเขตศาล ”

ข้อสังเกต
มาตรานี้เป็นมาตราที่อำนวยความสะดวกแก่กรณีที่มูลคดีมิได้เกิดในราช
อาณาจักร และ ผู้ร้องไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักร (เป็นทางออกของมาตรา
4(2))

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

9. มาตรา 5 ศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีนั้นหลายศาล
หลักกฎหมาย มาตรา 5 “คำฟ้องหรือคำร้องขอซึ่งอาจเสนอต่อศาลได้สองศาลหรือ
กว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเพราะภูมิลำเนาของบุคคลก็ดี เพราะที่ตั้งของทรัพย์สินก็ดี
เพราะสถานที่ที่เกิดมูลคดีก็ดี หรือเพราะมีข้อหาหลายข้อก็ดี ถ้ามูลความแห่งคดี
เกี่ยวข้องกัน โจทก์หรือผู้ร้องจะเสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอ ต่อศาลใดศาลหนึ่งเช่น
ว่านั้นก็ได้”

ข้อสังเกต
1. “มูลความแห่งคดี” คือ มูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีเกี่ยวข้องกันเท่านั้น
ไม่ต้องถึงขนาด ไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้

2. กรณีจำเลยหลายคนมีภูมิลำเนาต่างกัน โจทก์ฟ้องจำเลยทุกคนต่อศาลที่จำเลย
คนหนึ่งคนใดมีภูมิลำเนาแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะถอนฟ้องจำเลยคนที่มีภูมิลำเนา
อยู่ในเขตศาลนั้น ศาลก็ยังพิจารณาคดีจำเลยอื่นในเขตอำนาจศาลนั้นต่อไปได้
(ฎ.2403/2523)

ตัวอย่างฎีกา
ฎ. 2586/40 สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย มิ
ฉะนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคสอง ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ได้
ลง ลายมือชื่อในฐานะผู้เช่าซื้อที่จังหวัดลพบุรีแล้ว แต่ยังไม่มีการลงลายมือชื่อคู่
สัญญาฝ่าย ผู้ให้เช่าซื้อสัญญาเช่าซื้อจึงยังไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ เมื่อมีการส่งสัญญา
ดังกล่าวไปให้ผู้มี อำนาจกระทำการแทนโจทก์ลงลายมือชื่อในสัญญาในนามผู้ให้
เช่าซื้อที่สำนักงานใหญ่ของ โจทก์เพื่อให้สัญญาครบถ้วนบริบูรณ์ ย่อมถือได้ว่า
สำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่ ทำสัญญาฉบับนี้อันเป็นสถานที่ที่มูลคดี
เกิดขึ้นอีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อสำนักงานใหญ่ของ โจทก์ตั้งอยู่ในท้องที่เขตปทุมวัน
ซึ่งอยู่ในเขตศาลแพ่งกรุงเทพใต้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อและ
จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันซึ่งต้องรับผิดในมูลความแห่งคดี เกี่ยวข้องได้ ตาม ป.วิ.พ.
มาตรา 4 ( 1 ) และมาตรา 5

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

10. มาตรา 6 การโอนคดี
หลักกฎหมาย มาตรา 6 “ก่อนยื่นคำให้การ จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่
โจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ขอให้โอนคดีไปยังศาลอื่นที่มีเขตอำนาจได้ คำร้องนั้น
จำเลยต้องแสดงเหตุที่ยกขึ้นอ้างอิงว่าการพิจารณาคดีต่อไปในศาลนั้นจะไม่สะดวก
หรือจำเลยอาจไม่ได้รับความยุติธรรมเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลจะมีคำสั่งอนุญาต
ตามคำร้องนั้นก็ได้
ห้ามมิให้ศาลออกคำสั่งอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เว้นแต่ศาลที่จะรับโอนคดีไปนั้น
ได้ยินยอมเสียก่อน ถ้าศาลที่จะรับโอนคดีไม่ยินยอม ก็ให้ศาลที่จะโอนคดีนั้นส่ง
เรื่องให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ชี้ขาด คำสั่งของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
ให้เป็นที่สุด”

ข้อสังเกต
1. มาตรานี้เป็นสิทธิของจำเลย

2. ศาลที่ขอโอนไปต้องเป็นศาลที่มีเขตอำนาจด้วย

3. จำเลยต้องขอก่อนยื่นคำให้การ

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

11. มาตรา 7 การฟ้องคดีที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเดิม
หลักกฎหมาย มาตรา 7 “บทบัญญัติในมาตรา ๔ มาตรา ๔ ทวิ มาตรา ๔ ตรี
มาตรา ๔ จัตวา มาตรา ๔ เบญจ มาตรา ๔ ฉ มาตรา ๕ และมาตรา ๖ ต้องอยู่
ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติ ดังต่อไปนี้
(๑) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ใน
ศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น
(๒) คำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือ
คำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้อง
หรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไป
ได้โดยครบถ้วนและถูกต้องนั้น ให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตาม
มาตรา ๓๐๒
(๓) คำร้องตามมาตรา ๑๐๑ ถ้าได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใดแล้ว ให้
เสนอต่อศาลนั้น ในกรณีที่ยังไม่ได้เสนอคำฟ้องหรือคำร้องขอต่อศาลใด ถ้า
พยานหลักฐานซึ่งจะเรียกมาสืบหรือบุคคลหรือทรัพย์หรือสถานที่ที่จะต้องตรวจ
อยู่ในเขตศาลใด ให้เสนอต่อศาลนั้น

(๔) คำร้องที่เสนอให้ศาลถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือการอนุญาตที่ศาล
ได้ให้ไว้ก็ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลถอดถอนบุคคลใดจากฐานะที่ศาลได้แต่งตั้งไว้ก็
ดี คำร้องที่เสนอให้ศาลมีคำสั่งใดที่เกี่ยวกับการถอนคืนหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือ
การอนุญาต หรือที่เกี่ยวกับการแต่งตั้งเช่นว่านั้นก็ดี คำร้องขอหรือคำร้องอื่นใดที่
เสนอเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งไปแล้วก็ดี ให้เสนอต่อศาล
ในคดีที่ได้มีคำสั่งการอนุญาต การแต่งตั้ง หรือคำพิพากษานั้น”

ข้อสังเกต
1. การฟ้องคดีตามมาตรานี้ ไม่ใช่เป็นการเริ่มคดีใหม่ แต่เป็นการเริ่มคดีที่เกี่ยว
เนื่องกับคดีเดิม

2. มาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อไม่ให้คดีเกิดความสับสน เพราะหากเกิดคำฟ้องใหม่
ที่เกี่ยวเนื่องกับคดีเดิม แต่ไม่ฟ้องที่ศาลเดิม ศาลที่รับคดีใหม่ไว้จะไม่รู้เรื่องราว
ของคดีเดิมว่ามีความเป็นมาอย่างไร

3. ข้อสังเกตมาตรา 7 นี้แยกได้ดังนี้
1) กรณีอนุมาตรา (1)
- “เกี่ยวเนื่อง” หมายความว่า เกี่ยวเนื่องเป็นคดีเดี่ยวกัน หรือเป็นเรื่องติดต่อกัน
- ตัวอย่างได้แก่ คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้อง คำร้องสอด คำฟ้องแย้ง ฯลฯ
เป็นต้น
- กรณีฟ้องแย้ง นั้นต้องพิจารณาถึงอำนาจศาลตามหลักกฎหมายพระธรรมนูญศาล
ยุติธรรมด้วย หากคดีที่ฟ้องแย้งเกินอำนาจศาลเดิมแล้ว ก็ฟ้องแย้งในคดีที่ศาลเดิม
ไม่ได้ ต้องฟ้องแบบเริ่มคดีใหม่

2) กรณีอนุมาตรา (2)
- ตัวอย่างได้แก่ การร้องขัดทรัพย์ การขอเฉลี่ยทรัพย์ การร้องขอกันส่วน ฯลฯ
เป็นต้น
- ในทางปฏิบัติเรียกว่า “ สาขาคดี ” ซึ่งเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในชั้นบังคับคดี
- การพิจารณาชั้นร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการพิจารณาในเรื่องเดิมที่ฟ้องจำเลย แม้
คดีร้องขัด
ทรัพย์ จะมีทุนทรัพย์เกินอำนาจศาล ก็มีอำนาจที่จะพิจารณาและมีคำสั่งได้
(ฎ.901/2511) ซึ่ง
แตกต่างกับการฟ้องแย้งตามอนุ (1)
- การยื่นคำร้องเหล่านี้ จะยื่นที่ศาลที่พิพากษาคดีหรือศาลที่บังคับคดีแทนก็ได้
(มาตรา 302)
- อย่าสับสนกับกรณีขอให้เพิกถอนการบังคับคดีหรืองดการบังคับคดี เพราะกรณี
นี้ต้องร้องที่
ศาล ที่ออกหมายบังคับคดีเท่านั้น (ตามหลักเรื่องการของดบังคับคดี)

3) กรณีตามอนุมาตรา (4)
- ตัวอย่าง ได้แก่ คำร้องขอถอดถอนผู้จัดการมรดก ถอดถอนผู้อนุบาล ขออนุญาต
ทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ เป็นต้น
- ในทางปฏิบัติ ต้องดำเนินการตรวจสอบเลขคดีของคดีเดิมก่อน แล้วจึงเลขดัง
กล่าวระบุในคำร้องนั้นด้วย

ตัวอย่างฎีกา กรณีอนุมาตรา (2)
ฎ. 6111/40 คำฟ้องของโจทก์กล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลย
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ และผิดสัญญาในการออกค่าธรรมเนียม เมื่อ
พิจารณาสัญญาที่ทำต่อกันแล้วเห็นได้ ชัดเจนว่า การที่จำเลยสัญญาว่าจะเป็นผู้
ออกค่าธรรมเนียมในการโอนสิทธิการเช่าตึก 7 ชั้น คืนให้แก่โจทก์นั้น มิได้
แยกต่างหากจากสัญญาประนีประนอมยอมความหรือก่อให้เกิดหนี้โดยปราศจาก
เงื่อน ไขใด ๆ หากแต่เป็นการยอมรับภาระในหนี้ค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิ
การเช่า โดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์จะต้องผ่อนชำระหนี้ให้ครบจำนวนหนี้ ตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความ กรณีจึงจำเป็นต้องพิจารณาสัญญาประนีประนอม
ยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วย ว่าโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
แล้วหรือไม่ คำฟ้องของโจทก์จึงนับได้ว่าเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำ
พิพากษาตามยอม และคำฟ้องนี้จำต้องให้ศาลวินิจฉัยเสียก่อนที่การบังคับคดีจะ
ได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ดังนั้น คำฟ้องคดีนี้จึงต้องเสนอต่อศาล
ที่มีอำนาจในการบังคับคดี หรือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 7(2) และ มาตรา 302 วรรคหนึ่ง

ตัวอย่างฎีกา กรณีอนุมาตรา (4)
ฎ.811/2538 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเดียวกันกับศาลที่มีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็น
คนไร้ความสามารถ และอยู่ในความอนุบาลของผู้คัดค้าน ทั้งได้อ้างในคำร้องซึ่ง
เป็นรายละเอียดในคดีดังกล่าวแนบคำร้องและคำสั่งศาลมาพร้อม และมีคำขอให้
เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แม้จะมีการลงเลขคดีดำใหม่ในคำร้องขอ ก็เป็นเพียงทาง
ปฏิบัติทางธุรการของศาล ถือว่าผู้ร้องได้เสนอคำร้องถูกต้องตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 7(4)แล้ว




☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

12. มาตรา 10 กรณีที่ไม่สามารถดำเนินคดีในศาลที่มีเขตอำนาจ
หลักกฎหมาย มาตรา 10 “ ถ้าไม่อาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นที่
มีเขตศาลเหนือคดีนั้นได้โดยเหตุสุดวิสัย คู่ความฝ่ายที่เสียหายหรืออาจเสีย
หายเพราะการนั้นจะยื่นคำขอฝ่ายเดียว โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตน
มีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้นก็ได้ และให้ศาลนั้นมีอำนาจทำคำสั่ง
อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ”

ข้อสังเกต
1. คำว่า “เหตุสุดวิสัย” ในที่นี้มีความหมายกว้างกว่าเหตุสุดวิสัยที่บัญญัติไว้
ใน ป.พ.พ.มาตรา 8 กล่าวคือ มีความหมายว่า เหตุอะไรก็ตามที่ทำให้ไม่
สามารถดำเนินคดีในศาลที่มีเขตอำนาจ แม้ไม่ได้เกิดจากภัยธรรมชาติ ก็นับว่า
เป็นเหตุสุดวิสัย (ฎ.695/2509)

2. กระบวนพิจารณาต่างๆในศาลอุทธรณ์และฎีกา สามารถนำมาตรานี้มาใช้
บังคับได้โดยอนุโลม เช่น การยื่นอุทธรณ์ เป็นต้น (ฎ.967/2494)

3. มาตรา 10 และ มาตรา 23 เป็นกรณีที่ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณา
ได้ทันเหมือนกัน แต่มีข้อแตกต่างกันคือ
• มาตรา 10 เป็นกรณีที่ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาได้ทัน จึงขอ
ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อศาลชั้นต้น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรือ
อยู่ในเขตศาลในขณะนั้น ส่วน มาตรา 23 เป็นกรณีที่ไม่สามารถดำเนิน
กระบวนพิจารณาได้ทันเหมือนกัน แต่เป็นเฉพาะกรณีขอย่นหรือขยายระยะ
เวลาตามที่กำหนดใน ป.ว.พ.เท่านั้น
• มาตรา 10 คู่ความเท่านั้นเป็นผู้ดำเนินการ ส่วน มาตรา 23 ศาลอาจเห็น
สมควรเอง หรือ คู่ความเป็นผู้ร้องขอ ก็ได้

• มาตรา10 ร้องขอที่ศาลอื่น ซึ่งตนมีภูมิลำเนาหรืออยู่ในเขตศาลในขณะนั้น
ได้ ส่วน มาตรา 23 ต้องร้องขอในศาลเดิมเท่านั้น
เช่น กรณีจำเลยการยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลจังหวัด
ตาก ซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนศาลจังหวัดน่าน ปรากฏว่าศาลจังหวัดตากมีคำสั่ง
ยกคำร้องนั้น จำเลยจึงอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดตาก แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
จำเลยจึงขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาโดยยื่นที่ศาลจังหวัดน่าน แต่การขอนี้เป็นการ
ขอขยายระยะเวลาตามมาตรา 23 ไม่ใช่กรณีไม่สามารถดำเนินกระบวน
พิจารณาได้ทันตามมาตรา 10 ดังนั้น จำเลยจะต้องยื่นที่ศาลจังหวัดตากตาม
มาตรา 229,247 แต่กรณีนี้จำเลยได้ยื่นต่อศาลจังหวัดน่านจึงไม่ชอบตามมาตรา
23 ทั้งปรากฎว่าจำเลยมิได้ระบุเหตุขัดข้องแต่อย่างใด จึงไม่เป็นการไม่สามารถ
ดำเนินกระบวนพิจารณาได้ทัน ตามมาตรา 10 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิขอขยาย
ระยะเวลายื่นฎีกาต่อศาลจังหวัดอุดรธานี

4. การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลที่รับคำร้องนั้น มีอำนาจเพียงดำเนินการ
ให้เป็นไปตามความยุติธรรม ไม่มีอำนาจเกินศาลเดิม เช่น หากคู่ความยื่น
คำร้องหรือคำคู่ความใดมา ศาลที่จะสั่งคำร้องหรือคำคู่ความนั้นต้องเป็นศาลเดิม
เท่านั้น ศาลที่รับคำร้องตามมาตรา 10 จะสั่งไม่ได้

5. ผลของการยื่นคำร้องตามมาตรา 10 คือ เมื่อศาลนั้นมีคำสั่งรับดำเนินการอย่าง
ใดให้แล้ว มีผลเท่ากับคู่ความได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีเขตอำนาจ
ทุกประการ

ตัวอย่างฎีกา
ฎ.1644/2519 (ประชุมใหญ่) วันนัดสืบพยานโจทก์ อันเป็นนัดแรก ทนาย
โจทก์ป่วยอยู่ที่จังหวัดอื่น และแพทย์ให้ความเห็นว่าสมควรพักรักษาตัวจริง
ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนต่อศาลชั้นต้นที่ทนายโจทก์ป่วยอยู่เมื่อเวลา 10.00
น. ซึ่งยื่นหลังจากเวลา 9.00 น.ที่นัดไว้ และศาลเดิมรออยู่จน 10.05 น. จึงมีคำ
สั่งว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณาให้จำหน่ายคดี ดังนี้ จะถือว่าโจทก์ขาดนัดพิจารณา
มิได้ เพราะกรณีดังกล่าว ถือว่าโจทก์ได้ขอเลื่อนคดีก่อนลงมือสืบพยานแล้ว
(ตามมาตรา 10)

☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺

หากมีความผิดพลาดประการใด
ในเนื้อหาของ E-bookเล่มนี้
ผู้เขียนต้องขออภัยในความผิด
พลาดและบกพร่องอีกครั้ง


Click to View FlipBook Version