The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การศึกษาขนาดอาณาเขตหากินและการใช้พื้นที่อาศัยของกวางผาพม่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by snf, 2023-08-09 09:44:25

การศึกษาขนาดอาณาเขตหากินและการใช้พื้นที่อาศัยของกวางผาพม่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

การศึกษาขนาดอาณาเขตหากินและการใช้พื้นที่อาศัยของกวางผาพม่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

Keywords: กวางผา

40 ภาพที่ 12 แสดงลักษณะพื้นที่ที่กวางผาเพศเมีย รหัส 43037 (ผักกาด) มีการเข้าไปอาศัยและหากิน โครงสร้างของสังคมพืชที่กวางผา รหัส 43037 ใช้ตามภาพที่ 12 จะพบว่าโครงสร้างของป่าที่กวางผา ใช้ค่อนข้างโปร่ง ต้นไม้ซึ่งเป็นต้นไม้ในกลุ่มพวกก่อ ขึ้นกระจายห่างๆ มีเปอร์เซ็นต์การปกคลุมเรือนยอด ประมาณ 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ ทำให้แสงตกลงสู่พื้นได้ค่อนข้างสูงทำให้พื้นล่างของชั้นเรือนยอดปกคลุมด้วยไม้ พื้นล่างหนาแน่น โดยเฉพาะพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์ Gramineae ) แต่พุ่มเรือนยอดของต้นไม้มีใบไม้หนาแน่นทำ ให้บริเวณใกล้โคนของต้นทำให้เกิดร่มเงาเหมาะแก่การพักผ่อนของกวางผาในเวลากลางวัน


41 ภาพที่ 13 แสดงโครงสร้างทางด้านตั้งและการปกคลุมเรือนยอด (Profile diagram) บริเวณแปลงศึกษาของ กวางผาเพศเมีย รหัส 43037 (ผักกาด) สังคมพืชในบริเวณทุ่งหญ้าของกวางผา รหัส 42537 ใช้เป็นแหล่งพืชอาหารมีลักษณะที่เป็นทุ่งหญ้าที่ เกิดระหว่างหน้าผา บริเวณทุ่งหญ้ามีความลาดชันประมาณ 45-60 องศา มีชั้นดินลึกประมาณ 60-100 เซนติเมตรแต่มีหินปูนโผล่เป็นหย่อมสลับกับพวกหญ้า เป็นบริเวณที่เปิดโล่งไม่มีต้นก่อแดงปกคลุมหรือบางจุดที่ มีก็มีกระจายห่างๆทำให้แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดินได้เต็มที่ทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่วบริเวณ โดยในแปลง หญ้าที่พบอยู่ที่ระดับความสูง 1,700 - 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นบริเวณใกล้ยอดเขาสูงที่มีอากาศ หนาวเย็นตลอดทั้งปี 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 ต้นก่อแดง 2 ต้นก่อแอบ 3 ต้นก่อแดง 4 ต้นก่อแดง 5 ต้นก่อแดง 6 ต้นก่อแดง ความลาดชัน 45 องศา ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก W E N S


42 การวิเคราะห์สังคมพืชในแปลงพืชอาหาร (หญ้า) องค์ประกอบของชนิดพรรณพืช พบชนิดพืช ทั้งหมด 27 ชนิด 7 วงศ์ ที่สามารถจำแนกชนิดได้ และมีชนิดพันธุ์อีกจำนวน 17 ชนิด ที่ไม่สามารถจำแนกชนิดได้ จากการวางแปลงทั้งหมดจำนวน 5 แปลง พบว่าชนิดพรรณพืชที่พบมากที่สุด คือ หญ้าคมบาง (Carex baccans Nees), หญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf) และสาบหมา (Eupatorium adenophorum Spreng.) ตามภาพที่ 14 ภาพที่14 แสดงลักษณะพื้นที่ทุ่งหญ้าที่กวางผา รหัส 43037 ใช้ประโยชน์ 2.3.2 กวางผาเพศเมีย รหัส 43038 (บุญรอด) ลักษณะภูมิประเทศ ของพื้นที่อาศัยของกวางผา รหัส 43038 เป็นลักษณะพื้นที่หลากหลาย ตั้งแต่ พื้นที่ที่เป็นที่ราบไปจนถึงหน้าผาสูงชัน โดยที่พื้นที่ลาดเอียงระหว่างภูเขาจนถึงพื้นที่ลาดเอียงที่เป็นหน้าผา โดยมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 550 – 1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยส่วนใหญ่พื้นที่ลาดเอียงจะ มีทิศทางลาดเอียงจากทิศเหนือลงไปทางทิศใต้ มีความลาดชันตั้งแต่ 10 - 90 องศา โดยมีชั้นดินลึกปกคลุม พื้นที่เป็นส่วนใหญ่ ทำให้เกิดสังคมพืชตามระดับความสูงของพื้นที่ ตั้งแต่ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา แต่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าปกคลุมพื้นดินระหว่างหน้าผาสลับกับลานหินปูนโล่ง และพื้นที่ป่าที่เป็นป่าดิบเขา ซึ่ง จะมีพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์ Gramineae) ซึ่งจะมีพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์Gramineae) ปกคลุมทั่วพื้นที่สลับกับ ต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่มีบางส่วนที่เป็นภูเขาหินปูนล้วนสลับกับบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า บางจุดภูเขาหินปูนมีความ ลาดชันประมาณ 90 องศา สำหรับชั้นดินบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าจะมีความลึกของชั้นดินประมาณ 5 – 100 เซนติเมตร แต่ก็มีบางพื้นที่ที่เป็นร่องระหว่างหน้าผา จะมีพื้นที่ที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังจะมีชั้นดินลึก ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ สังคมพืชในบริเวณของกวางผาเพศเมียมีการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมไปอาศัยหากิน รหัส 43038 (บุญรอด) มีลักษณะสังคมป่าเป็นป่าดิบเขา (Hill evergreen Forest) โดยในแปลงตัวอย่างอยู่ที่ ระดับความสูง 1,420 เมตรจากระดับน้ำทะเล ลักษณะป่าเป็นป่าที่ขึ้นหนาแน่นตามสันเขามีพื้นที่ว่างที่เป็น ทุ่งหญ้าโล่งมีต้นหญ้าขึ้นหนาแน่น ต้นไม้ขึ้นกระจายหนาแน่นมีเรือนยอดชิดกัน มีเรือนยอดปกคลุมพื้นที่ 50- 70 % ตามภาพที่ 15 และภาพที่ 16


43 องค์ประกอบของชนิดพรรณไม้ จากการวางแปลงศึกษาพบชนิดไม้ทั้งหมด 6 ชนิด 6 วงศ์ มีค่าดัชนี ความหลากชนิด Shannon-Wiener Index (H') เท่ากับ 1.54 ไม้ที่มีดัชนีความสำคัญ Importance Value Index (IVI) โดยมีพืชชนิดที่พบสูงสุด 5 ชนิดแรก ได้แก่ เสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata Linn.), เลียงฝ้าย (Berrya mollis Wall.ex Kurz.), หว้าขี้แพะ (Syzygium claviflorum (Roxb.) Cowan&Cowan.), กระพี้เขา ควาย (Dalbergia cultrata Graham ex Benth.) Nees), และมะผด (Rhus chinensis Mill.) Steenis) มีค่า ดัชนีความสำคัญเท่ากับ 130.32, 56.70,48.53, 33.41, 48.53 และ 15.56% ตามลำดับ พื้นที่บริเวณของกวางผา เพศเมียที่อาศัยหากิน รหัส 42538 (บุญรอด) มีความลาดชันปานกลาง สังคมพืชมีลักษณะเป็นป่าดิบเขา โดยใน บริเวณนี้มีไม้เรือนยอดชั้นบนสุดคือ หว้าขี้แพะ (Syzygium claviflorum (Roxb.) Cowan&Cowan.) ภาพที่ 15 แสดงลักษณะพื้นที่ที่กวางผาเพศเมีย รหัส 43038 (บุญรอด) มีการเข้าไปอาศัยและหากิน


44 ภาพที่ 16 แสดงโครงสร้างทางด้านตั้งและการปกคลุมเรือนยอด (Profile diagram) ของกวางผาเพศเมีย รหัส 43038 (บุญรอด) สังคมพืชในบริเวณทุ่งหญ้าของกวางผา รหัส 42538 ใช้เป็นแหล่งพืชอาหารมีลักษณะที่เป็น ทุ่งหญ้าที่อยู่บนสันเขาพื้นที่ค่อนข้างราบ ตัวทุ่งหญ้าจะอยู่ติดขอบหน้าผา บริเวณทุ่งหญ้ามีความลาดชัน ประมาณ 20-30 องศา มีชั้นดินค่อนข้างลึกแต่มีหินปูนโผล่เป็นหน้าผาต่ำ ๆ เป็นระยะ ๆ บริเวณทุ่งหญ้าเป็น บริเวณที่เปิดโล่งแต่มีต้นไม้ป่าดิบเขาโดยเฉพาะพวกไม้ก่อปกคลุมกระจายห่างๆ ทำให้แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดิน ได้เต็มที่เป็นบางพื้นที่จึงทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่วบริเวณ โดยในแปลงหญ้าที่พบอยู่ที่ระดับความสูง 1,600 - 1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นบริเวณใกล้ยอดเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 5 6 7 8 1 กระพี้เขาควาย 2 กระพี้เขาควาย 3 เลียงฝ้าย 4 เสี้ยวดอกขาว 5 เสี้ยวดอกขาว 6 หว้าขี้แพะ 7 เลียงฝ้าย 8 เสี้ยวดอกขาว 9.หว้าขี้แพะ ความลาดชัน 30 องศา N S ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก W E 9 1 9


45 การวิเคราะห์สังคมพืชในแปลงพืชอาหาร (หญ้า) องค์ประกอบของชนิดพรรณพืช พบชนิดพืช ทั้งหมด 32 ชนิด 15 วงศ์ ที่สามารถจำแนกชนิดได้ และมีชนิดพันธุ์อีกจำนวน 17 ชนิด ที่ไม่สามารถจำแนก ชนิดได้ จากการวางแปลงทั้งหมดจำนวน 5 แปลง พบว่าชนิดพรรณพืชที่พบมากที่สุด คือ หญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf), หญ้าคมบาง(Carex baccans Nees), สาบหมา (Eupatorium adenophorum Spreng.) และเอนอ้า (Osbeckia stellata Buch.-Ham. ex D.Don) ตามลำดับ ตามภาพที่ 17 ภาพที่ 17 แสดงลักษณะพื้นที่ทุ่งหญ้าที่กวางผา รหัส 43038 ใช้ประโยชน์ 2.3.3 กวางผาเพศเมีย รหัส 43040 (ชมพู) ลักษณะภูมิประเทศ ของพื้นที่อาศัยของกวางผา รหัส 43040 เป็นลักษณะพื้นที่ลาดเอียง มีความ สูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,600 – 1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล โดยมีทิศทางลาดเอียงจากทิศเหนือลงไป ทางใต้ มีความลาดชันประมาณ 45 องศา โดยมีชั้นดินปกคลุมพื้นที่ ซึ่งจะมีพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์Gramineae) ปกคลุมทั่วพื้นที่ แต่มีบางส่วนที่เป็นภูเขาหินปูนล้วนสลับกับบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า บางจุดภูเขาหินปูนมีความ ลาดชันประมาณ 90 องศา สำหรับชั้นดินบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าจะมีความลึกของชั้นดินประมาณ 5 –100 เซนติเมตร แต่ก็มีบางพื้นที่ที่เป็นร่องระหว่างหน้าผา จะมีชั้นดินลึกถึง 200 เซนติเมตร ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถ เจริญเติบโตได้ สังคมพืชในบริเวณของกวางผาเพศเมียมีการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมไปอาศัยหากิน รหัส 43040 (ชมพู) ) มีลักษณะเป็นป่าดิบเขาระดับสูง (Upper montane forest) โดยในแปลงตัวอย่างอยู่ที่ระดับ ความสูง 1,215 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นบริเวณยอดเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีเรือนยอด ปกคลุมพื้นที่ 23.6 % ตามภาพที่ 18 และภาพที่ 19 องค์ประกอบของชนิดพรรณไม้ องค์ประกอบของชนิดพรรณไม้ จากการวางแปลงศึกษาพบชนิดไม้ พบชนิดไม้ทั้งหมด 7 ชนิด 7 วงศ์ มีค่าดัชนีความหลากชนิด Shannon-Wiener Index (H') เท่ากับ 1.58 ไม้ที่ มีดัชนีความสำคัญ Importance Value Index (IVI)สูงสุด 5 ชนิดแรก ได้แก่ ก่อแดง (Quercus kingiana Craib), มือสยาม ( Schefflera siamensis W.W. Sm. ex Craib), มะมุ่น (Elaeocarpus stipularisBlume), มะเขือขื่น


46 (Beilschmiedia globulariaKurz) แล ะแคร กฟ้า (Heterophragma sulfureum Kurz) มีค่าดัชนี ความสำคัญเท่ากับ 171.75, 55.50, 16.20, 14.70 และ 14.01% ตามลำดับ พื้นที่บริเวณของกวางผาเพศเมีย ที่อาศัยหากิน รหัส 42540 (ชมพู) มีความลาดชันมาก สังคมพืชมีลักษณะเป็นป่าดิบเขาระดับสูง พบไม้ในวงศ์ ก่อ (Fagaceae) ที่เป็นดัชนีชี้วัดของสังคม ได้แก่ ก่อแดง (Quercus kingiana Craib) พบขึ้นที่ระดับความสูง ตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไป และในบริเวณรอบๆพบพืชล้มลุก ไม้พุ่มต่างๆ และไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่น ค้อเชียงดาว (Trachycarpus oreophilus Gibbons & Spanner) ซึ่งจัดอยู่ในสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ ที่พบได้ที่ดอยหลวงเชียงดาว เพียงแห่งเดียวขึ้นอยู่ใกล้บริเวณที่ทำการวางแปลง ภาพที่ 18 แสดงลักษณะพื้นที่ที่กวางผากวางผาเพศผู้ รหัส 43040 (ชมพู) มีการเข้าไปอาศัยและหากิน


47 ภาพที่ 19 แสดงโครงสร้างทางด้านตั้งและการปกคลุมเรือนยอด (Profile diagram) ของกวางผาเพศเมีย รหัส 43040 (ชมพู) สังคมพืชในบริเวณทุ่งหญ้าของกวางผา รหัส 42540 ใช้เป็นแหล่งพืชอาหารมีลักษณะที่เป็น ทุ่งหญ้าที่อยู่ระหว่างร่องสันเขาทำให้พื้นที่ค่อนข้างราบ ตัวทุ่งหญ้าจะอยู่ตั้งแต่บริเวณกิ่วป่าคาต่อเนื่องจนติด ขอบหน้าผา บริเวณทุ่งหญ้ามีความลาดชันประมาณ 10 - 30 องศา มีชั้นดินค่อนข้างลึกแต่มีหินปูนโผล่เป็น หน้าผาต่ำ ๆ เป็นระยะ ๆ บริเวณทุ่งหญ้าเป็นบริเวณที่เปิดโล่งแต่มีต้นไม้ป่าดิบเขาโดยเฉพาะพวกไม้ก่อปกคลุม กระจายห่างๆและจะขึ้นเป็นหย่อมป่าสลับทุ่งหญ้า บริเวณทุ่งหญ้าเปิดโล่งทำให้แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดินได้ 1 5 9 4 3 2 8 7 6 1 2 3 4 6 5 7 8 9 1 ต้นก่อแดง 2 ต้นขี้หนอนควาย 3 ต้นก่อแดง 4 ต้นก่อแดง 5 ต้นมือสยาม 6 ต้นมือสยาม 7 ต้นมือสยาม 8 ต้นมะกอกเกลื้อน 9 ต้นมือสยาม N S ความลาดชัน 45 องศา ทิศเหนือ ทิศใต้ W E ทิศเหนือ ทิศใต้


48 เต็มที่จึงทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่วบริเวณ โดยในแปลงหญ้าที่พบอยู่ที่ระดับความสูง 1,800 - 1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งเป็นบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี การวิเคราะห์สังคมพืชในแปลงพืชอาหาร (หญ้า) องค์ประกอบของชนิดพรรณพืช พบชนิดพืช ทั้งหมด 19 ชนิด 15 วงศ์ ที่สามารถจำแนกชนิดได้ และมีชนิดพันธุ์อีกจำนวน 17 ชนิด ที่ไม่สามารถจำแนก ชนิดได้ จากการวางแปลงทั้งหมดจำนวน 5 แปลง พบว่าชนิดพรรณพืชที่พบมากที่สุด คือ สาบหมา (Eupatorium adenophorum Spreng.), หญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf) และ หญ้าคมบาง (Carex baccans Nees) ตามลำดับ ตามภาพที่ 20 ภาพที่20 แสดงลักษณะพื้นที่ทุ่งหญ้าที่กวางผา รหัส 43040 ใช้ประโยชน์


49 3. ปัจจัยคุกคามต่อกวางผาในธรรมชาติ 3.1 ปัจจัยคุกคามต่อกวางผาในธรรมชาติ จากการดำเนินการติดตามกวางผาในพื้นที่ดอยเชียงดาว ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากปลอกคอสัญญาณ ดาวเทียมที่ติดกับกวางผา และการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติเพื่อติดตามกวางผา นอกจากข้อมูลเกี่ยวกับ พื้นที่อาศัยของกวางผายังสามารถเก็บข้อมูลปัจจัยคุกคามต่อกวางผาบนดอยเชียงดาว ซึ่งพบว่ามีผลต่อกวางผา โดยตรง ได้แก่ 1.ปัจจัยการล่าจากมนุษย์ จากการเก็บข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพ พบว่ายังมีประชาชนบางกลุ่มยังมี พฤติกรรมการล่าสัตว์ป่าในพื้นที่ แม้ว่าทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาวมีมาตราการการลาดตระเว นเชิง คุณภาพดำเนินการในพื้นที่แต่ด้วยจำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปัจจุบันมีน้อยและพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีพื้นที่ กว้างทำให้ยังมีประชาชนลักลอบเข้ามาล่าสัตว์ป่าอยู่แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ยังคงมีอยู่ ซึ่งคนที่ล่าจะเข้ามาล่า ในช่วงที่เจ้าหน้าที่ไปลาดตระเวนในจุดอื่นและมีการลักลอบเข้ามาล่าด้วยจำนวนคนที่น้อยและค่อนข้างชำนาญ พื้นที่ทำให้เจ้าหน้าที่ป้องกันได้ยาก 2. ปัจจัยคุกคามจากสัตว์ผู้ล่า จากข้อมูลของกล้องดักถ่ายภาพพบสัตว์ผู้ล่าที่อยู่ในพื้นที่ดอยเชียงดาว ที่มีความสามารถล่ากวางผาได้พบทั้งหมด 3 ชนิดได้แก่ เสือดาว (Panthera pardus (Linnaeus, 1758)) เสือไฟ (Pardofelis temminckii (Vigors & Horsfield, 1827)) และหมาใน (Cuon alpinus (Pallas, 1811)) ซึ่ง จากข้อมูลของทางสถานีวิจัยสัตว์ป่าดอยเชียงดาวที่พบซากกวางผาที่ถูกล่าแล้วโดนกินในพื้นที่และรอยเท้าที่ พบรอบซากกวางผาพบว่าเป็นเสือดาว แต่จากกล้องดักถ่ายภาพพบเสือดาวเพียงพื้นที่เดียวคือบริเวณดอยกิ่ว ลมและพื้นที่ยอดดอยเชียงดาว ส่วนเสือไฟพบบริเวณดอยหลวงน้อยและดอยสามพี่น้องซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยของ กวางผา และหมาในพบบริเวณทุ่งหญ้าด้านล่างของดอยเชียงดาวมาถึงบริเวณป่าสนเขาตีนดอยหลวงน้อย ภาพที่21 ภาพของเสือดาว (Panthera pardus (Linnaeus, 1758)) ที่พบบนดอยเชียงดาว


50 ภาพที่22 ภาพของเสือไฟ (Pardofelis temminckii (Vigors & Horsfield, 1827)) ที่พบบนดอยเชียงดาว ภาพที่23 ภาพของหมาใน (Cuon alpinus (Pallas, 1811)) ที่พบบนดอยเชียงดาว


51 3.2 ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการใช้พื้นที่อาศัยของกวางผา การใช้ปัจจัยต่างๆในระบบนิเวศที่มีผลการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาทั้งสามตัว โดยนำปัจจัยได้แก่ แหล่งน้ำ(stream) การล่าโดยมนุษย์(hunting) การล่าโดยเสือดาว(leopard) ความสูงของพื้นที่(dem) ชนิดป่า (forest type) ความลาดชัน(slope) ความลาดเอียง(aspect) และขนาดพื้นที่ป่า(forest area) โดยเอา ตำแหน่งการปรากฏของกวางผามาวิเคราะห์เทียบกับปัจจัยนิเวศ ใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Maxent พบว่าปัจจัยที่มี ผลต่อการเลือกใช้พื้นที่สำหรับการเลือกอาศัยของกวางผา โดยใช้ค่าการมีส่วนร่วมเป็นเปอร์เซ็นต์ (Percent Contribution) ที่แสดงถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้พื้นที่ ปัจจัยที่มากที่สุดได้แก่ ระยะห่างแหล่งน้ำ 43.9% รองมาคือการล่าของมนุษย์ 30.3% และการล่าโดยเสือดาว(leopard) 9.6% ความสูงของพื้นที่(dem) 7.2% แต่ปัจจัยที่ส่งผลน้อยต่อการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาคือ ชนิดป่า(forest type) 4.9% และความลาดชัน (slope) 4.2% แต่ปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาคือ ความลาดเอียง(aspect) และขนาด พื้นที่ป่า(forest area) ตามตารางที่ 4 ตารางที่ 4 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการการใช้พื้นที่อาศัยของกวางผาค่าสัดส่วนความสัมพันธ์และความสำคัญของ การเปลี่ยนแปลง Variable Percent contribution Permutation importance ลำห้วย (stream) 43.9 22.5 การล่า (hunting) 30.3 42.3 ตำแหน่งของเสือดาว (leopard) 9.6 10.6 ความสูง (dem) 7.2 18.7 ชนิดป่า (foresttype) 4.9 0.1 ความลาดชัน (slope) 4.2 5.7 ทิศทางลาด (aspect) 0.1 0 ขนาดพื้นที่ป่า (forestarea) 0 0 จากการวิเคราะห์แบบ Maxent ของการนำปัจจัยต่างๆในระบบนิเวศที่มีผลต่อการเลือกพื้นที่ของ กวางผาทั้งสามตัวสามารถนำมาจัดแผนที่ความเหมาะสมของกวางผา (Habitat suitability) ทั้งสามตัวตาม รูปภาพที่ 24 พบว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับกวางผาทั้งสามตัว คือพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอย่างมาก (Very High) เท่ากับ 2.70% พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก (High) เท่ากับ 2.58% พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderate) เท่ากับ 3.56% พื้นที่ที่มีความเหมาะสมต่ำ (Low) เท่ากับ 7.17% และพื้นที่ที่ไม่มีความ เหมาะสม (Very High) เท่ากับ 83.99%


52 ภาพที่ 24 พื้นที่อาศัยที่เหมาะสมของกวางผา (Habitat suitability) ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว


53 วิจารณ์ผลการศึกษา 1. พื้นที่การกระจายหากินของกวางผาบนดอยเชียงดาว จากผลการศึกษา โดยข้อมูลตำแหน่งการปรากฏของกวางผาที่ส่งจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมที่ติด กับกวางผาในธรรมชาติที่ดักจับบนดอยเชียงดาวพบว่า กวางผาปรากฏตัวกระจายในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 -1,900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล แต่ระดับความสูงที่กวางผาใช้มากทั้งสามตัว คือ 1,700 – 1,800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล การกระจายของกวางผาจะมีลักษณะกระจายเป็นกลุ่มในพื้นที่เดียวกันทุกฤดูกาลซึ่งแสดงถึงการที่ กวางผามีอาณาเขตหากินของแต่ละตัวที่ชัดเจน โดยการเลือกใช้พื้นที่อาศัยจะเลือกพื้นที่ที่มีทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่ง อาหารที่เพียงพอ และมีป่าที่มีต้นไม้ขนาดใหญ่ปกคลุมสร้างร่มเงาในเวลากลางวันจะเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน หลบภัย และนอนหลับ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ที่กวางผาเลือกเป็นพื้นที่อาศัยจะมีส่วนที่เป็นหน้าผาสูงชันหรือมีช่อง หินที่มีลักษณะเป็นถ้ำเล็ก ๆ เพื่อจะใช้เป็นพื้นที่ที่จะใช้หนีผู้ล่าสร้างความปลอดภัยให้กับกวางผามากขึ้น การ กระจายของกวางผาจะมีปัจจัยเรื่องอาหารเป็นตัวกำหนดพื้นที่ในแต่ละช่วงฤดูกาล โดยในช่วงฤดูหนาวกวางผา จะใช้ขนาดพื้นที่กว้างมากที่สุดเพราะกวางผาต้องมีสถานที่สำหรับแสดงพฤติกรรมในการจับคู่ผสมพันธุ์และการ แสดงพฤติกรรมออกมาผิงแดดเพื่อเพิ่มความอบอุ่นของร่างกายซึ่งในพื้นที่อาศัยของกวางผาเป็นพื้นที่เขาสูงทำ ให้มีอุณหภูมิต่ำหนาวเย็นทำให้กวางผาต้องใช้แสงแดดช่วยในการเพิ่มอุณหภูมิให้เหมาะสม ตลอดจนพื้นที่หา กินที่ยังคงมีความสดสำหรับเป็นอาหารของกวางผา สำหรับในฤดูร้อนกวางผามีลักษณะการกระจายของการ ปรากฏลดน้อยลงเนื่องจากพื้นที่หากินที่มีพืชอาหารมีขนาดน้อยลง กวางผาจะเลือกใช้พื้นที่ที่มีพืชอาหารที่ยังมี ความสดเป็นหลัก พื้นที่ที่ยังมีความชื้นสะสมในดินมากจะคงเหลือแต่บริเวณที่เป็นหุบเขาติดกับป่าที่แสงแดด ส่องลงสู่พื้นดินน้อยเป็นผลให้หญ้าที่เจริญเติบโตอยู่ยังคงความสดเขียวอยู่ ซึ่งเป็นพืชอาหารที่กวางผาเลือกใช้ ก่อนพืชอาหารที่แห้งนอกจากนี้พืชอาหารที่ยังมีความเขียวขจีอยู่จะมีน้ำสะสมอยู่ในส่วนของพืชทำให้กวางผา ลดการกระหายน้ำได้ดีกว่าหญ้าแห้ง ส่วนในฤดูฝนนั้นกวางผามีการกระจายหากินได้ปกติ จะมีการใช้พื้นที่มาก น้อยแตกต่างจากฤดูอื่นๆ เนื่องจากปัจจัยจำเป็นที่กวางผาเลือกในการใช้ในการหากินและยึดครองเป็นอาณาเขต หากินของแต่ละตัวมีเพียงพอ โดยเฉพาะความจำเป็นในเรื่องปริมาณพืชอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ ปริมาณน้ำที่ได้จากฝนนั้นเพียงพอ กวางผาจึงไม่มีความจำเป็นต้องเดินหากินเป็นบริเวณกว้างเพื่อให้ได้น้ำ และอาหารเพียงพอในแต่ละวัน ขนาดพื้นที่หากินเป็นผลจากกลักษณะภูมิประเทศเป็นหลัก หากกวางผายึด ครองพื้นที่ที่เป็นหน้าผาหินสูงชันกวางผาต้องใช้พื้นที่กว้างเพื่อเดินไปหาแหล่งอาหาร แหล่งน้ำ และแหล่งโป่งที่ มีแร่ธาตุที่กวางผาต้องการในแต่ละวัน


54 2. ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range) ของกวางผาในธรรมชาติ การวิเคราะห์ขนาดของพื้นที่อาศัย (Home Range) จากข้อมูลตำแหน่งของกวางผาที่ส่งจากปลอกคอ สัญญาณดาวเทียม ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจะแตกต่างกันในแต่ละตัวซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณแบตเตอรี่ของปลอกคอ เมื่อ นำข้อมูลมาวิเคราะห์จะพบว่ามีกวางผาจำนวน 2 ตัวที่สามารถเก็บข้อมูลครบ 1 ปีขึ้นไป สามารถนำมาใช้ใน การวิเคราะห์ฤดูกาลได้ครบทั้งสามฤดูการวิเคราะห์ขนาดพื้นที่ใช้การวิเคราะห์จากโปรแกรม ArcGIS 10.5 โดยใช้เครื่องมือ HRT 2.0 ทำการวิเคราะห์แบบ Minimum Convex Polygon (MCP) และแบบ Fixed Kernel Estimators (FK) โดยวิเคราะห์ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range) คิดที่ 95 % ของ ตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory)คิดที่ 50 % ของ ตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา ในการวิเคราะห์รูปแบบของขนาดพื้นที่อาศัยเทียบกับตำแหน่งการปรากฏของ กวางผาที่ปรากฏ พบว่า การวิเคราะห์แบบ Minimum Convex Polygon (MCP) จะเหมาะกับรูปแบบการ กระจายของกวางผาที่มีสม่ำเสมอทั่วพื้นที่ ไม่มีความแตกต่างของลักษณะพื้นที่มากนัก ซึ่งวิธีวิเคราะห์รูปแบบ ดังกล่าวสร้างพื้นที่อาศัยของกวางผาที่ครอบคลุมพื้นที่ที่กวางผาไม่ได้ใช้ประโยชน์เป็นผลให้ได้พื้นที่ขนาดพื้นที่ อาศัยที่กว้างกว่าความเป็นจริง เช่น บริเวณหน้าผาสูงชันกวางผาไม่สารถเดินทางได้ ทำให้กวางผาต้องเลี่ยงไป ใช้เส้นทางด่านที่ขึ้นลงด้านอื่น หรือใช้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นหลัก แล้วจึงเว้นเดินอ้อมมาใช้พื้นที่ส่วนบนหน้าผา ที่อยู่ด้านบนของพื้นที่นั้น เมื่อนำข้อมูลพิกัดตำแหน่งมาวิเคราะห์จะทำให้ผลการวิเคราะห์ได้พื้นที่ที่กวางผาใช้ ครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่มีการกระจายอยู่จริงในบริเวณดังกล่าวด้วย เป็นผลให้ขนาดพื้นที่ใหญ่เกินความเป็นจริงที่ กวางผาปรากฏ แต่การวิเคราะห์แบบ Fixed Kernel Estimators (FK) จะมุ่งเน้นพื้นที่แกนกลางที่กวางผาใช้ พื้นที่จริงทำให้ขนาดของพื้นที่อาศัยจะดูเหมาะสมกับจุดการกระจายของกวางผามากกว่า แต่ก็จะมีข้อด้อยตรง จุดที่กวางผาไปปรากฏเพียงจุดเดียวหรือจุดที่มีจำนวนน้อยแต่มีความสำคัญ ได้แก่ จุดที่เป็นโป่งที่กวางผาลงมา กินแต่ไกลจากจุดหากินประจำ ผลของการวิเคราะห์จะตัดออกจากการวิเคราะห์ทำให้ไม่มีการปรากฏตำแหน่ง ดังกล่าวในพื้นที่อาศัยซึ่งจะสูญเสียข้อมูลที่สำคัญไป ขนาดของพื้นที่อาศัยของกวางผาทั้งสามตัว มีขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range) แตกต่างตามปัจจัยของพื้นที่โดยพื้นที่ที่กวางผาเลือก หากเป็นพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างและมีบริเวณที่เป็นป่าที่มี ต้นไม้ปกคลุมสำหรับเป็นพื้นที่หลบภัยและพักผ่อน กวางผาจะใช้พื้นที่ขนาดไม่กว้าง ได้แก่ กวางผา 43037 และ 43040 แต่หากพื้นที่ที่กวางผาเลือกมีหน้าผาอยู่ในบริเวณดังกล่าวจะทำให้กวางผามีขนาดพื้นที่อาศัย กว้างมากขึ้นเพื่อให้มีอาหารเพียงพอต่อความต้องการของกวางผา ได้แก่ กวางผา 43038 ที่มีพื้นที่อาศัย ครอบคลุมพื้นที่ที่เป็นหน้าผา ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ขนาดพื้นที่อาณาเขตของกวางผาที่ศึกษาบนดอยเชียงดาว พบว่า กวางผาในธรรมชาติเพศเมียมาติด ปลอกคอดาวเทียมมีขนาดอาณาเขตพื้นที่หากินวิเคราะห์แบบ Fixed Kernel Estimators (FK) โดยใช้กวางผา ตัวที่มีขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากินมากที่สุดเท่ากับ 0.360 ตารางกิโลเมตรหรือเฉลี่ยเท่ากับ และพื้นที่อาณาเขต ครอบครองที่ใช้ประจำเท่ากับ 0.069 ตารางกิโลเมตร เมื่อเทียบกับกวางผาที่เลี้ยงในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าแล้ว นำมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ที่งานศึกษาของนายมงคล สาฟูวงศ์(กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า,2564) ที่ทำการศึกษากวางผา พม่าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงที่ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติซึ่งดำเนินการในพื้นที่ดอยเชียงดาวในปี พ.ศ. 2562 -2563 มี


55 ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน เท่ากับ 0.099 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ เท่ากับ 0.02 ตารางกิโลเมตรและเปรียบเทียบกับของนายนิธิดล บูรณพิมพ์ที่ดำเนินการศึกษาขนาดของอาณาเขต พื้นที่หากินเท่ากับ 0.12 ตารางกิโลเมตรจะพบว่ากวางผาพม่าในธรรมชาติมีขนาดพื้นที่หากินที่ใหญ่กว่ากวางผา ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงแล้วมาปล่อยคืนสู่ธรรมชาติอย่างชัดเจนทั้งขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน ( Home range) และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory) 3. ความสูงของพื้นที่อาศัยที่กวางผาเลือกใช้ประโยชน์ ความสูงของพื้นที่ที่กวางผาใช้ประโยชน์ ข้อมูลจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมจากกวางผาทั้งสามตัว ได้แก่ กวางผารหัส 43037 กวางผารหัส 43038 และกวางผารหัส 43040 พบว่าความสูงที่กวางผาใช้ ประโยชน์จะพบว่ากวางผาจะใช้พื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป โดยมีค่าเฉลี่ย ความสูงของพื้นที่ที่กวางผาทั้งสามตัวใช้ประโยชน์เท่ากับ 1,782 1,387 1,865 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ตามลำดับ ซึ่งเมื่อมาเทียบกับความสูงเฉลี่ยของกวางผาใช้มาเปรียบเทียบพื้นที่บนดอยเชียงดาวจะมีพบว่าส่วน ใหญ่ความสูงระดับนี้จะเป็นพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้าสลับหน้าผา มีอุณหภูมิที่ไม่ร้อนหรือหนาวจนเกินไป มีลมพัดไม่ รุนแรง เป็นพื้นที่ที่มีป่าดิบเขาที่ขึ้นปกคลุมมีต้นไม้ขนาดใหญ่โดยเฉพาะต้นไม้ในกลุ่มไม้ก่อ (วงศ์ Fagaceae) ส่วนในช่วงแต่ละฤดูกาล จากข้อมูลความสูงของพื้นที่เฉลี่ยที่กวางผาใช้ประโยชน์พบว่าไม่มีความ แตกต่างมากนักอาจเนื่องมาจากพื้นที่ที่กวางผาทั้งสามตัวใช้มีความเหมาะสมทั้งทางด้านพืชอาหาร อุณหภูมิ และสภาพภูมิประเทศ ดังนั้นกวางผาจึงใช้พื้นที่ดังกล่าวตลอดทุกฤดู 4. การเคลื่อนที่ของกวางผา (Goral Movement) การเคลื่อนที่ของกวางผาทั้งสามตัวที่ดักจับติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมพบว่า กวางผามีระยะทาง เคลื่อนที่ที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับกิจกรรมในรอบวันและจุดที่กวางผาพักผ่อนและแหล่งอาหาร โดยเฉลี่ยกวางผา ทั้งสามตัวมีระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยรายวันในรอบปีเท่ากับ 0.87 - 1.27 กิโลเมตรต่อวัน โดยมีกวางผารหัส 43040 ที่มีระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยรายวันในรอบปีที่น้อยที่สุดเท่ากับ 0.87 กิโลเมตรต่อวัน และมีกวางผารหัส 43037 มีระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยรายวันในรอบปีที่มากที่สุดเท่ากับ 1.27 กิโลเมตรต่อวัน หากนำระยะทางที่ กวางผาเคลื่อนที่มาเปรียบเทียบกับลักษณะพื้นที่ที่กวางผาอาศัยจะพบว่า กวางผารหัส 43040 มีพื้นที่อาณาเขต หากินที่เป็นหน้าผาและมีป่าดิบเขาปกคลุมเป็นหย่อมๆ สลับกับทุ่งหญ้าระหว่างป่าดิบเขาทั่วทั้งพื้นที่ซึ่ง เหมาะสมสำหรับเป็นพื้นที่หาอาหารและพักผ่อนเป็นอย่างยิ่งเป็นผลให้กวางผาไม่มีความจำเป็นต้องเดินหากิน เป็นบริเวณกว้าง ส่วนพื้นที่ของกวางผารหัส 43037 พื้นที่อาณาเขตการหากินเป็นลักษณะหน้าผาสลับทุ่งหญ้า โล่งมีป่าดิบเขาที่มีต้นไม้อยู่ในหุบระหว่างหน้าผาซึ่งอยู่ไกลจากทุ่งหญ้าพอสมควรทำให้กวางผาต้องเดินจากจุด พักนอนมายังทุ่งหญ้าไกลกว่าตัวอื่น สำหรับระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยรายชั่วโมงของกวางผาในรอบปีทั้งสามตัว เท่ากับ 0.04 - 0.05 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยกวางผารหัส 43037 และ 43038 เท่ากับ 0.05 ส่วนกวางผารหัส 43040 เท่ากับ 0.04 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยรายชั่งโมงมีผลจากลักษณะสภาพพื้นที่ที่ กวางผาอาศัยเช่นกัน


56 การเคลื่อนที่ของกวางผาต่อฤดูกาลมีผลโดยตรงต่อระยะทางเฉลี่ยที่กวางผาใช้โดยตรง คือฤดูร้อนเป็น ช่วงที่กวางผามีระยะเคลื่อนที่เฉลี่ยมากกว่าฤดูอื่น เนื่องมาจากกวางผาต้องการออกหากินอาหารที่เพียงพอและ เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตและความชอบโดยกวางผาจะออกไปหากินหญ้าที่ยังมีความสดอยู่ยังไม่แห้งตาย นอกจากนั้นหญ้าแห้งจะมีแร่ธาตุที่ร่างกายกวางผาต้องการน้อยกว่าหญ้าสดทำให้ต้องกินในปริมาณที่มากขึ้น เป็นผลให้กวางผาอยากน้ำมากขึ้น จากสาเหตุดังกล่าวกวางผาจึงเลือกที่จะเดินหากินเป็นบริเวณกว้างมากขึ้น เพื่อหากินหญ้าสดที่ยังขึ้นอยู่ในป่าหรือทุ่งหญ้า นอกจากนี้เรื่องของอุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ กวางผาต้องเดินไปหาจุดพักนอนที่เหมาะสมและไม่ได้มีแสงแดดมากจนไม่สามารถใช้นอนพักผ่อนได้ ส่วน ในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝนจะมีระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยทั้งรายวันและรายชั่วโมงจะไม่แตกต่างกันมากนักเนื่อง ด้วยแหล่งอาหารมีอยู่ทั่วไปและอุณหภูมิในอากาศที่มีความเย็นตลอดทั้งวันทำให้กวางผาไม่เดินไปไกลจากจุด พักนอนมากเหมือนฤดูร้อน 5. ลักษณะโครงสร้างสังคมพืชบริเวณพื้นที่อาศัยของกวางผาในธรรมชาติ จากผลการศึกษาพบว่ากวางผาในธรรมชาติเลือกใช้พื้นที่ป่าดิบเขาและภูเขาหินปูน จากข้อมูลพบกวางผา จะใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ระดับความสูงที่มากที่สุดทั้งสามตัว คือ ช่วงความสูง 1,700 – 1,800 เมตรเหนือ ระดับน้ำทะเล ที่มีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าต่อเนื่องจากป่าดิบเขาที่ปกคลุมด้วยไม้ก่อเป็นหลักโดยพืชและต้นไม้ เจริญเติบโตด้านบนของหน้าผาที่มีความลาดชันน้อย มีการสะสมของชั้นดินลึก ซึ่งทุ่งหญ้าส่วนใหญ่บนดอย เชียงดาวเดิมในอดีตเป็นไร่ฝิ่นเก่ามีการเปิดพื้นที่เพื่อปลูกฝิ่นและพืชผักทำให้พื้นที่เปิดโล่ง ด้วยมีการสะสมของ ซากพืชทับถมเป็นเวลานานภายหลังการปลูกฝิ่นทำให้ดินเริ่มกลับมามีความอุดมสมบูรณ์และมีแสงแดดส่องได้ เต็มที่จึงเกิดเป็นทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ และบริเวณชายขอบหน้าผาหรือพื้นที่ที่ไม่ได้รับผลการทบจากการทำเป็นไร่ ฝิ่น ต้นไม้ส่วนใหญ่ยังเป็นไม้ดั่งเดิมที่เป็นต้นไม้ในป่าดิบเขาโดยเฉพาะไม้ก่อ ทำให้เกิดร่มเงาในพื้นที่ ส่วนใหญ่ พื้นที่ที่มีต้นไม้ปกคลุมจะมีหินโผล่หรือมีลานหินแทรกในป่านั้น ซึ่งเหมาะจะเป็นที่พักผ่อนนอนในเวลากลางวัน เพราะใต้เรือนยอดจะเป็นร่มเงาป้องกันความร้อนให้กวางผาได้จึงมักพบกวางผานอนหลับบนลานหินโผล่ใต้ร่ม ไม้เป็นประจำ ทุ่งหญ้าที่เป็นแหล่งอาหารของกวางผาจะปกคลุมด้วยพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์Gramineae) และพวก วัชพืช ไม้ล้มลุกตามฤดูกาล จะมีความสดเขียวขจีในช่วงฤดูฝน และจะแห้งตายในฤดูแล้งซึ่งมีความชื้นในดินต่ำ แต่ก็มีบางพื้นที่ที่อยู่ติดป่าหรือหน้าผาที่บังแดด และมีร่มเงาทำให้หญ้าหรือพืชบริเวณดังกล่าวยังมีความสด เขียวขจีจะเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับกวางผาในฤดูร้อน ส่วนน้ำกวางผาจะกินน้ำจากแหล่งน้ำขังในช่วงฤดูฝนที่เกิดจากฝนตกแล้วท่วมขังบนลานหินหรือน้ำที่ หยดตามหน้าผาที่เกิดจากการสะสมน้ำไว้ในดินในช่วงฤดูฝน แต่ในช่วงฤดูแล้งกวางผาจะใช้วิธีการกินน้ำที่ สะสมในชิ้นส่วนของพืชที่เป็นอาหารกวางผา แต่อาจกินพืชบางชนิดเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะพืชที่มีการสะสมน้ำ ไว้ในส่วนต่างๆ เช่น ลำต้น เหง้าในดิน และราก เป็นต้น พืชที่พบกวางผากินได้แก่ เหยื่อจง (Impatiens kerriae Craib) เทียนเชียงดาว (Impatiens chiangdaoensisT. Shimizu) และเหง้าน้ำทิพย์ (Agapetes saxicola Craib)


57 6. ปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการเลิกใช้พื้นที่อาศัยกวางผา การใช้ปัจจัยต่างๆในระบบนิเวศที่มีผลการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาทั้งสามตัว โดยนำปัจจัยนิเวศที่ เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับกวางผาโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Maxent พบว่า ปัจจัยที่ส่งผล ต่อการเลือกใช้พื้นที่มากที่สุดได้แก่ ระยะห่างแหล่งน้ำ และการล่าของมนุษย์ เนื่องจากทั้งสองปัจจัยมีผล โดยตรงต่อตัวกวางผา ทั้งน้ำและความเสี่ยงที่จะถูกล่าเป็นผลให้กวางผาต้องพิจารณาบริเวณที่อยู่อาศัยที่ไม่ไกล จากแหล่งน้ำมากนักแม้ว่ากวางผาจะมีการปรับตัวโดยการกินพืชอาหารที่มีน้ำสะสมอยู่ในลำต้นให้มากขึ้น แต่ก็ มีบางช่วงเวลาที่ลงมาด้านล่างดอยเพื่อมากินน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ เป็นระยะๆ นอกจากนี้กวางผาปรับตัวไปอยู่ อาศัยในพื้นที่ที่มีปัจจัยการถูกล่าน้อยที่สุดจึงมักเห็นกวางผาอาศัยระหว่างขอบหน้าผาที่เป็นป่าและทุ่งหญ้าแล้ว ลงไปพักผ่อนในบริเวณหน้าผาที่สูงชันเพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกล่าหรือเข้าไปหาตัวกวางผา จากการวิเคราะห์พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับกวางผาที่ทำการศึกษาและติดตามพบว่าเมื่อนำเอาปัจจัย ทางนิเวศมาวิเคราะห์ร่วมกับตำแหน่งที่พบกวางผา จัดทำเป็นแผนที่ความเหมาะสมของกวางผา (Habitat suitability) พบว่า พื้นที่อาศัยของกวางผามีความเฉพาะเจาะจงตามพฤติกรรมและลักษณะการอยู่อาศัยของ กวางผาทำให้มีพื้นที่เหมาะสมเพียง 8.84% (จากพื้นที่เหมาะสมอย่างมากถึงพื้นที่เหมาะสมปานกลาง) ของ พื้นที่ศึกษา โดยที่มีพื้นที่ไม่เหมาะสมสำหรับกวางผามากถึง 84% ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความสูงชันและมีปัจจัย คุกคามทั้งจากมนุษย์และสัตว์ผู้ล่าทำให้เป็นอุปสรรคในการอยู่อาศัยของกวางผาทำให้กวางผาไม่เลือกใช้ ประโยชน์พื้นที่ดังกล่าว


58 สรุปผลการศึกษา จากการดำเนินการศึกษาการใช้พื้นที่ของกวางผาเพศเมียในธรรมชาติจำนวน 3 ตัว ในระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 โดยการติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียม สรุปผลการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1. การกระจายและขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range) ของกวางผาในธรรมชาติ 1.กวางผาเพศเมียตัวเต็มวัย รหัส 43037 ดำเนินการดักจับและติดปลอกคอสัญญาณดาวเทียมเมื่อ วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2564 สามารถรับข้อมูลตำแหน่งได้จำนวน 4,898 ตำแหน่ง จากการรับสัญญาณทั้งสิ้น 240 วัน กวางผาจะหากินครอบคลุมพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของดอยหลวงน้อย มีความสูงของอาณาเขต พื้นที่หากินตั้งแต่ 1,247 - 2,050 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ระดับความสูงของอาณาเขตครอบครองที่กวางผา ใช้ประจำตั้งแต่ 1,700 -1,800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล พื้นที่มีความลาดชันประมาณ 50 - 60 องศา มีสภาพ พื้นที่เป็นหน้าผาหินปูนสูงชันสลับกับทุ่งหญ้าระหว่างหน้าผา มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหย่อม ๆ บริเวณที่เป็น ร่องเขาที่มีชั้นดินลึก และตามหน้าผามีโพรงถ้ำตื้น ๆ เหมาะสำหรับเป็นที่หลบภัยและพักผ่อน ขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Minimum Convex Polygon (MCP) คือ ขนาดของอาณาเขต พื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.149 ตาราง กิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.039 ตารางกิโลเมตร และขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Fixed Kernel Estimators (FK) คือ ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มี ขนาดพื้นที่ 0.158 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของ ตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.040 ตารางกิโลเมตร 2. กวางผาเพศเมียตัวเต็มวัย รหัส 43038 ดำเนินการดักจับและติดปลอกคอเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 สามารถรับข้อมูลตำแหน่งได้จำนวน 12,384 ตำแหน่ง จากการรับสัญญาณทั้งสิ้น 604 วัน กวางผา จะหากินครอบคลุมพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของดอยกิ่วลมขวา มีความสูงของอาณาเขตพื้นที่หากินตั้งแต่ 1,000 -1,700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ระดับความสูงของอาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำตั้งแต่ 1,300 -1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีสภาพพื้นที่อาศัยที่หลากหลาย เช่น พื้นที่ราบ หน้าผาหินปูนสูงชัน พื้นที่ราบเอียงระหว่างภูเขา มีสังคมพืชหลากหลาย เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา ทุ่งหญ้าระหว่างหน้าผา ทุ่งหญ้า บนสันเขาที่เป็นที่ราบเล็ก ๆ ขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Minimum Convex Polygon (MCP) คือ ขนาดของอาณาเขต พื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.404 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาด พื้นที่ 0.081 ตารางกิโลเมตร และขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Fixed Kernel Estimators (FK) คือ ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาด


59 พื้นที่ 0.360 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของตำแหน่งที่ ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.069 ตารางกิโลเมตร 3.กวางผาเพศเมียตัวเต็มวัย รหัส 43040 ดำเนินการดักจับและติดปลอกคอเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ.2564 สามารถรับข้อมูลตำแหน่งได้จำนวน 3,678 ตำแหน่ง จากการรับสัญญาณทั้งสิ้น 150 วัน กวางผา จะหากินครอบคลุมพื้นที่ด้านทิศตะวันออกของดอยกิ่วลมขวา มีระดับความสูงของอาณาเขตพื้นที่หากินตั้งแต่ 1,700 -1,900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ความสูงของอาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำตั้งแต่1,800 -1,900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล มีสภาพพื้นที่เป็นหน้าผาและที่ราบขอบหน้าผา พื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยต้นก่อแดง (Quercus kingiana Craib) สลับกับทุ่งหินโผล่ที่ปกคลุมด้วยหญ้าหนาแน่น ประกอบด้วยหญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf) และหญ้าคมบาง (Carex baccans Nees) ขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Minimum Convex Polygon (MCP) คือ ขนาดของอาณาเขต พื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.077 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาด พื้นที่ 0.014 ตารางกิโลเมตร และขนาดพื้นที่อาศัยจากการวิเคราะห์แบบ Fixed Kernel Estimators (FK) คือ ขนาดของอาณาเขตพื้นที่หากิน (Home range คิดที่ 95% ของตำแหน่งที่ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.072 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่อาณาเขตครอบครองที่ใช้ประจำ (Territory คิดที่ 50% ของตำแหน่งที่ ปรากฏของกวางผา) มีขนาดพื้นที่ 0.015 ตารางกิโลเมตร 2. ขนาดพื้นที่อาศัย (Home Range) ของกวางผาตามฤดูกาล จากการนำข้อมูลขนาดพื้นที่อาศัยมาแยกตามฤดูกาลจากจำนวน 2 ตัว ได้แก่ กวางผารหัส 43037 และ 43038 (เนื่องจากเป็นกวางผาที่สามารถเก็บข้อมูลตำแหน่งได้ครบทั้งสามฤดูกาล) พบว่าในช่วงฤดูหนาว กวางผามีขนาดพื้นที่อาศัยกว้างที่สุด ในช่วงฤดูร้อนแนวโน้มขนาดพื้นที่อาศัยของกวางผามีขนาดเล็กลงมา และ สำหรับฤดูฝน ขนาดพื้นที่อาศัยของกวางผาสามารถที่จะผันแปรได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่อาศัยของกวางผาแต่ ละตัว 3. การเคลื่อนที่ของกวางผา (Goral Movement) ข้อมูลจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียม พบว่ากวางผามีระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันรอบปีเท่ากับ 0.87-1.27 กิโลเมตร/วัน โดยมีระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันรอบปีมากที่สุดเท่ากับ 1.94 - 3.55 กิโลเมตร/วัน และมีระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อชั่วโมงในรอบปีเท่ากับ 0.36-0.52 กิโลเมตร/ชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเคลื่อนที่เป็นฤดูกาล พบว่ามีระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันในฤดู ร้อนเท่ากับ 1.12 - 1.36 กิโลเมตร/วัน ระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันในฤดูฝนเท่ากับ 0.90-1.22 กิโลเมตร/ วัน และระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อวันในฤดูหนาวเท่ากับ 0.78-1.27 กิโลเมตร/วัน โดยมีฤดูร้อนเป็นช่วงที่ กวางผามีระยะทางเคลื่อนที่ต่อวันมากที่สุดเท่ากับ 3.55 กิโลเมตร/วัน และฤดูหนาวเป็นช่วงที่กวางผามีระยะ ทางการเคลื่อนที่ต่อวันน้อยสุดเท่ากับ 0.38 กิโลเมตร/วัน ส่วนระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อชั่วโมงในฤดูร้อน เท่ากับ 0.47-0.57 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อชั่วโมงในฤดูฝนเท่ากับ 0.38-0.51


60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และระยะทางการเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อชั่วโมงในฤดูหนาวเท่ากับ 0.32-0.52 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยมีฤดูร้อนเป็นช่วงที่กวางผามีระยะทางเคลื่อนที่เฉลี่ยต่อชั่วโมงมากที่สุดเท่ากับ 0.57 กิโลเมตร/ชั่วโมง และ ระยะทางการเคลื่อนที่ต่อชั่วโมง มากที่สุดในรอบปีเท่ากับ 0.86 กิโลเมตร/ชั่วโมง ส่วนในฤดูร้อนกวางผามี ระยะทางเคลื่อนที่มากที่สุดเท่ากับ 0.86 กิโลเมตร/ชั่วโมง ฤดูฝนกวางผามีระยะทางเคลื่อนที่มากที่สุดเท่ากับ 0.67 กิโลเมตร/ชั่วโมง และฤดูหนาวกวางผามีระยะทางเคลื่อนที่มากที่สุดเท่ากับ 0.51 กิโลเมตร/ชั่วโมง กวางผามีระยะการเคลื่อนที่ที่มีความพิเศษ ในกรณีที่กวางผาต้องการเดินทางไปหาปัจจัยเฉพาะได้แก่ การเดินไปลงกินโป่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เกิดเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ ซึ่งกรณีที่ เกิดกับกวางผารหัส 43038 ที่เดินทางไปกินโป่งธรรมชาติที่อยู่ห่างจากพื้นที่ที่กวางผายึดครองอาณาเขตหากิน ปกติไปยังจุดที่เป็นโป่งธรรมชาติ(โป่งน้ำ) ที่มีระยะห่างประมาณ 2.1 กิโลเมตร ในช่วงวันที่ 9 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยมีระยะการเคลื่อนที่ของกวางผาเท่ากับ 3.51 - 3.62 กิโลเมตร/วัน และ 0.146 - 0.151 กิโลเมตร/ ชั่วโมง 4. ความสูงของพื้นที่อาศัยที่กวางผาเลือกใช้ประโยชน์ จากข้อมูลจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมของกวางผาทั้ง3 ตัว พบว่ากวางผามีการใช้พื้นที่อาณาเขต หากินที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลระหว่าง 1,001 - 2,000 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ที่กวางผา ใช้ประโยชน์เท่ากับ 1,387 – 1,865 เมตร ซึ่งแต่ละตัวจะใช้ความสูงแตกต่างกัน ดังนี้ 1. กวางผารหัส 43037 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,408 – 2,000 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูง ของพื้นที่ 1,782 + 89 เมตร (n=4,797) 2. กวางผารหัส 43038 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,001 – 1,700 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูง ของพื้นที่ 1,387 + 136 เมตร (n=12,176) 3. กวางผารหัส 43040 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,502 – 2,000 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูง ของพื้นที่ 1,865 + 62 เมตร (n=3,442) เมื่อแยกระดับความสูงที่กวางผาใช้ประโยชน์ในแต่ละฤดูกาล ได้ผลดังนี้ 1. ฤดูหนาว กวางผารหัส 43037 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,408 – 1,998 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของ ความสูงของพื้นที่ 1,780 + 94 เมตร กวางผารหัส 43038 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,001 – 1,700 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ 1,413 + 142 เมตร และ กวางผารหัส 43040 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,579 – 1,997 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ 1,875 + 49 เมตร 2. ฤดูร้อน กวางผารหัส 43037 ใช้พื้นที่มีระดับความสูงระหว่าง 1,482 – 1,999 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ย ของความสูงของพื้นที่ 1,781+ 86 เมตร และกวางผารหัส 43038 ใช้พื้นที่มีระดับความสูงระหว่าง 1,013 – 1,696 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ 1,399 + 118 เมตร 3. ฤดูฝน กวางผารหัส 43037 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,419 – 2,000 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของ ความสูงของพื้นที่ 1,784 + 89 เมตร กวางผารหัส 43038 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,008 – 1,700 เมตร


61 โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ 1,355 + 140 เมตร และกวางผารหัส 43040 ใช้พื้นที่มีความสูงระหว่าง 1,502 – 2,000 เมตร โดยมีค่าเฉลี่ยของความสูงของพื้นที่ 1,861 + 66 เมตร 5. ลักษณะสังคมพืชพื้นที่อาศัยของกวางผาในธรรมชาติ จากการศึกษาโครงสร้างของสังคมพืชบริเวณตำแหน่งของกวางผาที่ได้จากปลอกคอส่งสัญญาณ ดาวเทียม โดยการวางแปลงศึกษาขนาดแปลง 20 × 50 เมตร มีลักษณะดังนี้ 5.1 พื้นที่อาศัยของกวางผาเพศเมีย รหัส 43037 สังคมพืชพื้นล่างเป็นพืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์Gramineae) ปกคลุมทั่วพื้นที่ แต่มีบางส่วนที่เป็นภูเขา หินปูนล้วนสลับกับบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า บางจุดภูเขาหินปูนมีความลาดชันประมาณ 90 องศา สำหรับชั้นดิน บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าจะมีความลึกของชั้นดินประมาณ 5 – 100 เซนติเมตร และในพื้นที่ที่เป็นร่องระหว่าง หน้าผา จะมีชั้นดินลึกถึง 200 เซนติเมตร ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ พื้นที่บริเวณที่กวางผาใช้ ประโยชน์มีความลาดชันสูง สังคมพืชเป็นป่าดิบเขาระดับสูง (Upper montane forest) จะพบพืชในวงศ์ ก่อ (Fagaceae) เป็นจำนวนมาก ไม้ในวงศ์ก่อสกุล Quercus มักพบที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไป ในบริเวณรอบ ๆ พบพืชล้มลุก ไม้พุ่มต่าง ๆ และไม้ยืนต้นขนาดกลาง เช่น ชมพูพาน (Wightia speciosissima ซึ่งจัดอยู่ในสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ และในพื้นที่ยังประกอบด้วยหินปูนก้อนแหลมคม บริเวณทุ่งหญ้าจะเป็นทุ่งโล่ง มีพืชในกลุ่มหญ้า - กก (วงศ์Gramineae) ขึ้นหนาแน่น หญ้าที่พบ ได้แก่ หญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf) หญ้าคมบาง (Carex baccans Nees) ปกคลุมพื้นดินเป็นส่วนใหญ่ และมีพืชล้มลุกขึ้นปะปนกับพืชในกลุ่มหญ้า ได้แก่ เหยื่อจง (Impatiens kerriae Craib) ขาวปั้น (Scabiosa siamensis Craib) ฟ้าคราม (Ceratostigma stapfianum Hoss.) ผักอีเปา (Peucedanum siamicum Craib.) และชมพูเชียงดาว (Pedicularis siamensisTsoong) สังคมพืชในบริเวณ ทุ่งหญ้าเป็นทุ่งหญ้าที่เกิดระหว่างหน้าผา บริเวณทุ่งหญ้ามีความลาดชันประมาณ 45-60 องศา มีชั้นดินลึก ประมาณ 60-100 เซนติเมตร แต่มีหินปูนโผล่เป็นหย่อมสลับกับหญ้า เป็นบริเวณที่เปิดโล่งไม่มีต้นก่อแดงปก คลุมหรือบางจุดที่มีก็มีกระจายห่าง ๆ ทำให้แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดินได้เต็มที่ทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่ว บริเวณ จากการวางแปลงทั้งหมดจำนวน 5 แปลง พบว่าชนิดพรรณพืชที่พบมากที่สุด คือ หญ้าคมบาง (Carex baccans Nees) 5.2 พื้นที่อาศัยของกวางผาเพศเมีย รหัส 43038 ใช้พื้นที่ป่า ได้แก่ ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดิบเขา แต่พื้นที่อาศัยของกวางผาส่วนใหญ่เป็น ทุ่งหญ้าปกคลุมพื้นดินระหว่างหน้าผาสลับกับลานหินปูนโล่ง และพื้นที่ป่าที่เป็นป่าดิบเขา ซึ่งจะมีพืชในกลุ่ม หญ้า ในวงศ์Gramineae ปกคลุมทั่วพื้นที่สลับกับต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่มีบางส่วนที่เป็นภูเขาหินปูนล้วนสลับกับ บริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า บางจุดภูเขาหินปูนมีความลาดชันประมาณ 90 องศา สำหรับชั้นดินบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า จะมีความลึกของชั้นดินประมาณ 5 –100 เซนติเมตร แต่ก็มีบางพื้นที่ที่เป็นร่องระหว่างหน้าผา และในพื้นที่ที่เป็น ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังจะมีชั้นดินลึก ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้


62 สังคมพืชในบริเวณทุ่งหญ้ามีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าที่อยู่บนสันเขา ค่อนข้างราบ บริเวณทุ่งหญ้าจะอยู่ ติดขอบหน้าผา มีความลาดชันประมาณ 20-30 องศา มีชั้นดินค่อนข้างลึกแต่มีหินปูนโผล่เป็นหน้าผาต่ำ ๆ เป็น ระยะ ๆ บริเวณทุ่งหญ้าเป็นบริเวณที่เปิดโล่งแต่มีต้นไม้ป่าดิบเขาโดยเฉพาะต้นก่อปกคลุมกระจายห่าง ๆ ทำให้ แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดินได้เต็มที่ในบางพื้นที่จึงทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่วบริเวณ โดยในแปลงหญ้าที่ทำ การสำรวจอยู่ที่ระดับความสูง 1,600 - 1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากการวางแปลงพบว่าจำนวนชนิด พรรณพืชที่พบมากที่สุด ได้แก่ หญ้ายุงดอย (Capillipedium parviflorum (R.Br.) Stapf) 5.3 พื้นที่อาศัยของกวางผาเพศเมีย รหัส 43040 ใช้พื้นที่ที่มีพื้นล่างปกคลุม พืชในกลุ่มหญ้า (วงศ์Gramineae) ปกคลุมทั่วพื้นที่ แต่มีบางส่วนที่เป็น ภูเขาหินปูนล้วนสลับกับบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้า ในบางจุดภูเขาหินปูนมีความลาดชันประมาณ 90 องศา สำหรับ ชั้นดินบริเวณที่เป็นทุ่งหญ้าจะมีความลึกของชั้นดินประมาณ 5 – 100 เซนติเมตร แต่ก็มีบางพื้นที่ที่เป็นร่อง ระหว่างหน้าผา จะมีชั้นดินลึกถึง 200 เซนติเมตร ทำให้ต้นไม้ขนาดใหญ่สามารถเจริญเติบโตได้ พื้นที่บริเวณนี้มีความลาดชันสูง สังคมพืชมีลักษณะเป็นป่าดิบเขาระดับสูง (Upper montane forest) พบต้นไม้ในวงศ์ก่อ (Fagaceae) ที่เป็นดัชนีชี้วัดชนิดป่า ได้แก่ ก่อแดง (Quercus kingiana Craib) พบที่ระดับความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรขึ้นไป และในบริเวณรอบ ๆ พบพืชล้มลุก ไม้พุ่มต่าง ๆ และไม้ยืนต้น ขนาดกลาง เช่น ค้อเชียงดาว (Trachycarpus oreophilus Gibbons & Spanner) ซึ่งจัดอยู่ในสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ สังคมพืชในบริเวณทุ่งหญ้าเป็นทุ่งหญ้าที่อยู่ระหว่างร่องสันเขาทำให้พื้นที่ค่อนข้างราบ บริเวณทุ่งหญ้า จะอยู่ตั้งแต่บริเวณกิ่วป่าคาต่อเนื่องจนติดขอบหน้าผา บริเวณทุ่งหญ้ามีความลาดชันประมาณ 10 - 30 องศา มีชั้นดินค่อนข้างลึกแต่มีหินปูนโผล่เป็นหน้าผาต่ำ ๆ เป็นระยะ ๆ บริเวณทุ่งหญ้าเป็นบริเวณที่เปิดโล่งแต่มี ต้นไม้ป่าดิบเขาโดยเฉพาะพวกต้นก่อปกคลุมกระจายห่าง ๆ และจะขึ้นเป็นหย่อมสลับกับทุ่งหญ้า บริเวณทุ่งหญ้า เปิดโล่งทำให้แสงอาทิตย์ส่งถึงพื้นดินได้เต็มที่จึงทำให้หญ้าเจริญเติบโตปกคลุมทั่วบริเวณ โดยในแปลงหญ้าที่ทำ การสำรวจอยู่ที่ระดับความสูง 1,800 - 1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากการวางแปลงพบว่าจำนวนชนิด พรรณพืชที่พบมากที่สุด คือ สาบหมา 6. ปัจจัยคุกคามต่อกวางผาในธรรมชาติ การติดตามกวางผาในธรรมชาติ นอกจากใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากปลอกคอสัญญาณดาวเทียมแล้ว ยัง มีการใช้กล้องดักถ่ายภาพอัตโนมัติเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเพิ่มเติมของกวางผา ซึ่งการใช้กล้องดักถ่ายภาพ อัตโนมัติทำให้ทราบถึงปัจจัยคุกคามที่มีต่อกวางผาบนดอยเชียงดาว ได้แก่ มนุษย์ จากข้อมูลจากกล้องดัก ถ่ายภาพพบว่ายังมีพฤติกรรมการลักลอบเข้าไปล่าสัตว์ในพื้นที่ และสัตว์ผู้ล่า จากข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพ พบสัตว์ผู้ล่าที่อยู่ในพื้นที่ดอยเชียงดาวที่มีความสามารถในการล่ากวางผาได้พบทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ เสือดาว (Panthera pardus (Linnaeus, 1758)) เสือไฟ (Pardofelis temminckii (Vigors & Horsfield, 1827)) และหมาใน (Cuon alpinus (Pallas, 1811)) อีกทั้ง ซึ่งจากข้อมูลจากการปฏิบัติงานของสถานีวิจัยสัตว์ป่า ดอยเชียงดาว พบซากกวางผาที่ถูกล่าและมีร่องรอยการกินและพบรอยเท้ารอบซากกวางผาจากการตรวจสอบ พบว่าเป็นรอยเท้าของเสือดาว นอกจากนี้ ข้อมูลจากกล้องดักถ่ายภาพพบเสือดาวในบริเวณดอยกิ่วลมและ


63 พื้นที่ยอดดอยเชียงดาว ส่วนเสือไฟพบบริเวณดอยหลวงน้อยและดอยสามพี่น้องซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยของกวางผา และหมาในพบบริเวณทุ่งหญ้าด้านล่างของดอยเชียงดาวและบริเวณป่าสนเขาตีนดอยหลวงน้อยและยังพบกอง มูลหมาในที่มีเส้นขนของกวางผาปะปนอยู่ 7. การวิเคราะห์ปัจจัยทางนิเวศที่มีผลต่อการเลือกใช้พื้นที่อาศัยของกวางผา การใช้ปัจจัยต่างๆในระบบนิเวศที่มีผลการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาทั้งสามตัว โดยนำปัจจัยนิเวศที่ เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับกวางผาโดยใช้วิธีวิเคราะห์แบบ Maxent พบว่า ปัจจัยที่ส่งผล ต่อการเลือกใช้พื้นที่มากที่สุดได้แก่ ระยะห่างแหล่งน้ำ 43.9% และการล่าของมนุษย์ 30.3% ปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเลือกใช้พื้นที่น้อย ได้แก่ การล่าโดยเสือดาว(leopard) 9.6% ความสูงของพื้นที่(dem) 7.2% ชนิดป่า (forest type) 4.9% และความลาดชัน (slope) 4.2% แต่ปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อการเลือกใช้พื้นที่ของกวางผาคือ ความลาดเอียง (aspect) และขนาดพื้นที่ป่า (forest area) จากการทำแผนที่ความเหมาะสมของกวางผา (Habitat suitability) พบว่ามีพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับ กวางผาทั้งสามตัว คือพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอย่างมาก (Very High) เท่ากับ 2.70% พื้นที่ที่มีความเหมาะสม มาก (High) เท่ากับ 2.58% พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Moderate) เท่ากับ 3.56% พื้นที่ที่มีความ เหมาะสมต่ำ (Low) เท่ากับ 7.17% และพื้นที่ที่ไม่มีความเหมาะสม (Very High) เท่ากับ 83.99%


64 เอกสารอ้างอิง กลุ่มพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. 2548. พรรณไม้ดอยเชียงดาว. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพมหานคร. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. 2561. ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจำปี2560-2561. สำนัก อนุรักษ์สัตว์ป่า. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรุงเทพฯ กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. 2564. ผลงานวิจัยและรายงานความก้าวหน้างานวิจัยประจำปี2564. สำนักอนุรักษ์ สัตว์ป่า. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรุงเทพฯ กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. 2553. สถานภาพของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในประเทศไทย.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ,กรุงเทพฯ คณะวนศาสตร์. 2554. วารสารสัตว์ป่าเมืองไทย ปีที่ 18 ฉบับที่ 1. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตจตุจักร. กรุงเทพฯ ไซมอน การ์ดเนอร์ พินดา สิทธิสุนทร และวิไลวรรณ อนุสารสุนทร. 2543. ต้นไม้เมืองเหนือ คู่มือศึกษาพรรณ ไม้ยืนต้น ในภาคเหนือ ประเทศไทย. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ. กรุงเทพมหานคร. เต็ม สมิตินันทน์. 2557. ชื่อพรรณไม้ แห่งประเทศไทย. โรงพิมพ์สำนักงานพุทธศาสนาแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร. ธวัชชัย สันติสุข. 2549. ป่าของประเทศไทย. สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช , กรุงเทพฯ นริศ ภูมิภาคพันธ์. 2539. สถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. 16 น. นริศ ภูมิภาคพันธ์. 2543. การจัดการสัตว์ป่า (Wildlife Management). ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. มงคล สาฟูวงศ์ นายอดิสรณ์ กองเพิ่มพูล นายประกาศิต รวิวรรณ. 2564 .การติดตามกวางผาภายหลังการ ปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตามโครงการ การฟื้นฟูประชากรกวางผาในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า. สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า. กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และ พันธุ์พืช ,กรุงเทพฯ


65 มณฑล นอแสงศรี สราวุธ สังข์แก้ว อานุภาพ จันทร์ลอย และอัจฉรา ตีระวัฒนานนท์.2565. หญ้าในประเทศ ไทย Grasses in Thailand. สำนักวิชากาพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ.ปทุมธานี. รัตนวัฒน์ ไชยรัตน์. 2540. นิเวศวิทยาของกวางผา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สันต์ เกตุปราณี. 2534. นิเวศวิทยาไฟป่า. ภาควิชาวนวัตรวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 2548. บทสรุป ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามของ ประเทศไทย : สัตว์มีกระดูกสันหลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ. สำเริง การบรรจง. 2536. พฤติกรรมของกวางผาในกรงเลี้ยง. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. องค์การสวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ. 2541. สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เล่มที่ 5. โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮาส์ กรุงเทพฯ. 13-27. อุทิศ กุฏอินทร์. 2541. นิเวศวิทยา พื้นฐานเพื่อการป่าไม้. ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพมหานคร. Ashraf, N., Anwar, M., Hussain, I. and Mirza, S.N. 2015. POPULATION PARAMETERS OF GREY GORAL (Naemorhedus goral goral) AT TWO DIFFERENT SITES IN MACHIARA NATIONAL PARK, AZAD JAMMU AND KASHMIR, PAKISTAN. The Journal of Animal & Plant Sciences 25(1) : 88-94. Bekoff, M. and L. D. Mech. 1984. Computer simulation: Simulation analyses of space use: Home range estimates, variability, and sample size. Behavior Research Methods, Instruments,and Computers 16: 32–37. Bhumpakphan, N. 1997. Ecological characteristic and and habitat utilization of Gaur (Bos gaurus) H. Smith, 1827) in different climatic site. Ph.D. Thesis. Kasetsart University. Cagnacci F., Boitani L., Powell R. A., Boyce M. S. (2010). Animal ecology meets GPS basedradio telemetry: A perfect storm of opportunities and challenges. Philosophical Transactions of the Royal Society of London B 365: 2157–2162. doi: 10.1098/rstb.2010.0107.


66 Caro T (1998). The significance of behavioral ecology for conservation biology. In Behavioral Ecology and Conservation Biology (Caro T, ed.), pp 3–26. New York, Oxford University Press. Chaiyarat, R. W. Laohajinda, U. Kutintara and J.Nabhitabhata. 1999. Ecology of the Goral (Naemorhedus goral) in Om Koi Wildlife Sanctuary Thailand. Research Reports on Biodiversity in Thailand p 683-689. Charles M. Francis. 2008. A Field guide to the Mammals of Thailand and South-east Asia. New Holland Publishers (UK) Ltd. Cho, C.U., Gyun, G.H., Yang, J.J., Lim, S.J., Lee, A.N., Park, H.B. and Lee, B.K. 2014. Home Range and Behavioral Characteristics of the Endangered Korea Gorals (Naemorhedus caudatus) With GPS Collar. Korean J. Environ. Ecol. 28(1) : 1-9. Cho, C.U., Kim, K.Y., Kim, K.C., Kim, H.M., An, J.Y., Lee, B.K. and Park, J.G. 2015. Home Range Analysis of a Pair of Gorals (Naemorhedus caudatus) Using GPS Collar According to the Elevation Change, in the North Gyeongbuk Province(Uljin) of Korea. Journal of the Korean Association of Geographic Information Studies 18(1) : 135-146. Chris Veness. (2022). Haversine formula. Download Source: http://www.movable-type.co.uk/scripts/latlong.html, (18 August 2022). Cite as: Rodgers, A.R., Kie, J.G., Wright, D., Beyer, H.L. and Carr, A.P. 2015. HRT: Home Range Tools for ArcGIS. Version 2.0. Ontario Ministry of Natural Resources and Forestry, Centre for Northern Forest Ecosystem Research, Thunder Bay, Ontario, Canada. Corbet, G.B. and Hill, J.E. 1992. The Mammals of The Indomalayan Region : A Systematic Review. Natural History Museum Pubications Oxford University Press, London. Dasmann, R.F. 1964. Wildlife Biology. John Wiley & Sons, Inc., New York. Elith, J., Phillips, S. J., Hastie, T., Dulik, M. Y., Chee, E., & Yates, C., (2011). A statistical explanation of MaxEnt for ecologist. Biodiversity Research 17: 43–57. Francis, C.M. 2008. A Field guide to the Mammals of Thailand and South-east Asia. New Holland Publishers (UK) Ltd.


67 Hrabina, P. 2015. A new insight into the taxonomy and zoogeography of recent species of goral (Nemorhaedus, Bovidae, Ruminantia). Museum of Southeast Moravia in Zlin, Czech Republic, Zli IUCN. 2018. The IUCN Red List of Threatened Species. Version 2017.3. Naemorhedus griseus Available Source: http://dx.doi.org/10.2305/IUCN.UK.2008.RLTS.T14303A4430834.en. Downloaded on 15 June 2018. Jachowski D.S., Singh N.J. (2015). Toward a mechanistic understanding of animal migration: incorporating physiological measurements in the study of animal movement. Conservation Physiology 3: doi:10.1093/conphys/cov035.g Jenks K.E. (2012). Distributions of Large Mammal Assemblages in Thailand with a Focus on Dhole (Cuon alpinus) Conservation. Ph.D. Dissertation University of Massachusetts-Amherst Lekagul, B. and J.A. McNeely. 1977. Mammal of Thailand.Kuruspha Ladprao, Bangkok. 758 p. Nithidol Buranapim. 2013. Ecology of Goral (Naemorhedus griseus) in Reintroduction Process . Doctor of Philosophy (Biodiversity and Ethnobiology) Thesis. Chiang Mai University Press. Petr Hrabina. 2015. A new insight into the taxonomy and zoogeography of recent species of goral (Nemorhaedus, Bovidae, Ruminantia). Museum of Southeast Moravia in Zlin, Czech Republic, Zli Phillips, S. J. & M. Dulik. (2008) . Modeling of species distributions with Maxent: New extensions and a comprehensive evaluation. Ecography, 31, 161–175. Powell, R. A. 1987. Black bear home range overlap in North Calorina and the concept of home range applied to black bears. InternationalConference on Bear Reserch and Management 7: 235-242. Powel. 2000. Animal home ranges and territories and home range estimators. In Research Techniques in Animal Ecology: Controversies and Consequences (Boitani L, Fuller TK, eds.), pp 65–110. New York, Columbia University Press.


68 Silverman, B. W. 1986. Density estimation for statistics and data analysis. London: Chapman & Hall. Singh N. J., Börger L., Dettki H., Bunnefeld N., Ericsson G. (2012). From migration to nomadism: Movement variability in a northern ungulate across its latitudinal range. Ecological Applications 22(7): 2007–2020. doi: http://dx.doi.org/10.1890/12-0245 Trisurat, Y., Bhumpakphan, N., Reed, D.H. & Kanchanasaka, B. (2012). Using species distribution modeling to set management priorities for mammals in northern Thailand. Journal for Nature Conservation, 20, 264–273.. VECTRONIC Aerospace. 2015 . GPS Plus Collar Manual Version: 1.6.4. VECTRONIC Aerospace GmbH. Germany. Veness, C. 2022. Haversine formula. Download Source : http://www.movable-type.co.uk/ scripts/latlong.html, (18 August 2022). White, G. C. and R. A. Garrott. 1990. Analysis of wildlife radio-tracking data. New York: Academic Press.


Click to View FlipBook Version