The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ ทักษะพื้นฐาน และการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by prim_jirajet, 2022-03-05 01:03:39

สื่อการสอนนาฏยศัพท์

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ ทักษะพื้นฐาน และการฝึกหัดการแสดงนาฏศิลป์

HE L L O

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘




ทักษะพื้นฐานและการฝึกหัด
การแสดงนาฏศิลป์




ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

นาฏยศัพท์

นาฏย หมายถึง เกี่ยวกับการฟ้อนรำ เกี่ยวกับการแสดงละคร
ศัพท์ หมายถึง เสียง คำ คำยากที่ต้องแปล เรื่อง

เมื่อนำคำสองคำมารวมกัน ทำให้ได้ความหมายขึ้นมา ซึ่งมีผู้กล่าวไว้ดังนี้
นาฏยศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับลักษณะท่ารำที่ใช้ในการฝึกหัด
เพื่อใช้ในการแสดงโขน ละคร เป็นคำที่ใช้ในวงการนาฏศิลป์ไทย สามารถสื่อ
ความหมายกันได้ทุกฝ่ายในการแสดงต่างๆ

ประเภทของนาฏยศัพท์ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. นามศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่เรียกชื่อท่ารำ หรือชื่อท่าที่บอกอาการกระทำของผู้นั้น
เช่น วง จีบ สลัดมือ ฉายมือ กระทบ กระดก ยกเท้า ก้าวเท้า ประเท้า ตบเท้า กระทุ้งเท้า

2. กิริยาศัพท์ หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกในการปฏิบัติบอกอาการกิริยา ซึ่งแบ่งออกเป็น
ศัพท์เสริม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกเพื่อปรับปรุงท่าทีให้ถูกต้องสวยงาม
เช่น กันวง ลดวง ส่งมือ ดึงมือ หลบศอก เปิดคาง กดคางหลบเข่า กันเข่า

ศัพท์เสื่อม หมายถึง ศัพท์ที่ใช้เรียกชื่อท่ารำหรือท่วงทีของผู้รำที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐาน
เพื่อให้ผู้รำรู้ตัว และแก้ไขท่าทีของตนให้ดีขึ้น

เช่น วงเหยียด วงหัก วงล้น คอดื่ม คอหัก

3. นาฏยศัพท์เบ็ดเตล็ด หมายถึงศัพท์ต่างๆที่ใช้เรียกในภาษานาฏศิลป์ นอกเหนือ
ไปจากนามศัพท์ และกิริยาศัพท์ เช่น จีบยาว จีบสั้น ลักคอ เอียงทางวง

นาฏยศัพท์สำหรับการฝึกหัด
นาฏศิลป์ไทยมาตรฐาน

ดัดมือ การยืน
ตั้งวง
- วงบน การเหลื่อมเท้า
- วงกลาง
- วงล่าง การประเท้า
จีบ การยกเท้า
- จีบหงาย
- จีบคว่ำ การก้าวเท้า

การดัดมือ

การฝึกหัดเพื่อดัดนิ้วมือ และข้อมือ นั่งพับเพียบหรือนั่งชันเข่า จากนั้นใช้มือข้างหนึ่ง
รวบนิ้วชี้นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อยให้ตั้งขึ้น แล้วหักปลายนิ้วทั้ง ๔ มาที่ลำแขน
หักข้อมือเข้าหาลำแขน แล้วเริ่มนับตามจำนวนครั้งที่กำหนด ทำเช่นนี้สลับมืออีก
ข้างหนึ่ง

การตั้งวง

(แบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ)

1.ระดับวงบน

2.ระดับวงกลาง 3.ระดับวงล่าง

การจีบ 2.จีบคว่ำ

(แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ) ลักษณะการจีบจะปฏิบัติคล้ายกับ
จีบหงาย เพียงแต่จีบควํ่าให้ควํ่าตัว
1.จีบหงาย จีบลงลำแขนจะงอ หรือตึงขึ้นอยู่
กับท่ารำ หักข้อมือเข้าหาลำแขน
ปฏิบัติได้โดยให้นิ้วหัวแม่มือหักเข้า
จรดข้อแรกของนิ้วชี้ จากนั้นกรีดนิ้ว
ทั้ง ๓ ให้ตึงออกเป็นรูปพัด หงายข้อ
มือขึ้นแล้วหักข้อมือเข้าหาลำแขนให้
ปลายจีบชี้ขึ้นข้างบน

การยืน

(แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ)

1.การยืนแบบพระ
2.การยืนแบบนาง
3.การยืนเหลื่อมเท้า

การประเท้า

การประเท้าแบบพระ
การประเท้าแบบนาง

การยกเท้า

การยกเท้าแบบพระ

การยกเท้าแบบยนาง

การก้าวเท้า

การก้าวหน้าแบบพระ
การก้าวหน้าแบบนาง


Click to View FlipBook Version