เล้าขา้ วอสี าน : ความเช่อื พิธกี รรม ภมู ปิ ญั ญา สถาปัตยกรรม ทีก่ าลงั จะสญู หาย
เฉลิมพล แสงแก้ว
“อีสาน” หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นสังคมเกษตรกรรม มีอาชีพทานาเป็นหลักมา
ตั้งแต่คร้ังบรรพชนจนถึงปัจจุบัน เป็นสังคมท่ีต้องพ่ึงตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านการทามาหากิน เครื่องมือ เคร่ืองใช้
และเทคโนโลยีต่างๆ จึงเกิดการเรียนรู้เพ่ือแก้ปัญหาต่างๆในการดาเนินชีวิตตามสภาพที่พึ่งมี เท่าที่ธรรมชาติใน
ท้องถิ่นของตนจะเอื้ออานวย ภาคอีสานถึงแม้จะมีพ้ืนท่ีทานาจานวนมากแต่การผลิตข้าวยังทาได้น้อยเนื่องจาก
ปัจจัยหลายๆด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงภัยท่ีเกิดจากธรรมชาติท่ีไม่สามารถควบคุมได้ จึงทาให้วิถีชีวิตของคนอีสาน
อย่กู บั การทานาเพอ่ื ให้ได้ข้าวมาเพ่ือเล้ียงชีวิต เกือบครึ่งปี ข้าวจึงเป็นสมบัติอันล้าค่าแห่งชีวิตของคนอีสาน การเก็บ
รักษาข้าวพร้อมท่ีจะนามาปรุงอาหารและแลกเปล่ียนซื้อขาย จึงมีความสาคัญและจาเป็น จึงต้องสร้างท่ีเก็บรักษา
ขา้ วเปลือกไวป้ ระจาบา้ นของตน ซง่ึ ชาวอีสานเรยี กว่า “เล้าข้าว” (สมชาย นิลอาธิ, 2526)
จารุวัฒน์ นนทชัย (2556) ได้อธิบาย
วา่ เล้าข้าว มีชอ่ื เรียกหลายอย่างด้วยภาษาและ
วัฒนธรรมท่ีแตกต่างกันไปของแต่ละท้องถ่ิน
ในกลุม่ ชาวนาภาคเหนือในเขตจังหวัดเชียงใหม่
เรียกว่า เล้าข้าว หลองข้าว ภาคอีสาน
จะนิยมเรียกว่า เล้าข้าว ภาคกลางส่วนใหญ่
นิยมเรียกว่า ยุ้งข้าว แต่มีบางจังหวัดเรียกว่า
ฉางข้าว ส่วนภาคใต้เรียกว่า เรือนข้าว หรือ
เริ้นข้าว ดังน้ัน เล้าข้าว หรือ ยุ้งข้าว จึงเป็นที่
สาหรบั ใชป้ ระโยชนใ์ นการเกบ็ รกั ษาข้าวเปลือก ภาพที่ 1 เลา้ ข้าวชาวไทดา บา้ นนาป่าหนาด อาเภอเมือง จงั หวัดเลย
ของชาวนา มีรูปแบบและโครงสร้างที่แข็งแรง มักเป็นเรือนหลังเด่ียว ต้ังอยู่ในบริเวณท่ีลมสามารถ พัดผ่านได้
สะดวกเพ่ือป้องกันไม่ใช้ข้าวเปลือกชื้นและข้ึนรา ซ่ึง วิโรฒ ศรีสุโร (2540) ได้กล่าวถึงยุ้งข้าวในความหมายเชิง
สัญลักษณ์ว่า ยุ้งข้าวเปรียบประดุจท้องพระคลังมหาสมบัติของชุมชน เสมือนเป็นขุมอาหาร ซึ่งหากขาดแคลนแล้ว
ไม่มผี ใู้ ดมชี วี ติ อยไู่ ด้ จึงก่อใหเ้ กิดความเช่ือเก่ยี วกับยุ้งข้าวอันถือเป็นเร่ืองใหญ่
ความเชอ่ื ในการสรา้ งเลา้ ขา้ ว
นายสุ่ม สุวรรณวงศ์ (สัมภาษณ์, 26 พฤศจิกายน 2557) อายุ 75 ปี ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านสาวะถี
อาเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าและอธิบายข้อห้ามต่างๆที่เป็นความเชื่อเก่ียวกับเล้าข้าวว่า ข้าวเป็นปัจจัยที่
สาคัญต่อการดารงชีวิตของคนอีสาน หลายสิ่งหลายอย่างที่เก่ียวข้องกับข้าวจึงต้องมีความสาคัญตามไปด้วย หรือ
แม้แต่ความเช่ือต่างๆก็เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเล่ียงไม่ได้ และเป็นวิถีทางสังคมท่ียึดถือปฏิบัติกันเร่ือยมา เป็น
มรดกทางสังคมและวัฒนธรรมของอีสาน ด้านความเชื่อในลักษณะข้อห้ามต่างๆ เช่น ห้ามหันประตูเล้าข้าว(หัน
ด้านหน้า) ไปทางทิศดาวช้าง (ดาวจระเข้) เพราะเช่ือกันว่าเป็นการหันประตูไปทางปากช้าง แล้วช้างจะกินข้าว
อันเป็นเหตุให้เก็บรักษาข้าวไม่อยู่หรือมีเหตุให้สูญเสียข้าวอยู่เร่ือยๆ ห้ามหันประตูเล้าข้าวเข้าหาเรือน ด้วยความ
เช่ือและเหตุผลเวลาขนข้าวเข้า-ออก จะได้ สะดวกสบาย ไม่นิยมสร้างเล้าข้าวไว้ในตาแหน่งทิศหัวนอนของเรือน
พักอาศัย เพราะเช่ือว่าเป็นการนอนหนุนข้าว จะเป็นเหตุให้คนในครอบครัวเจ็บป่วย ไม่สบายและมีภัยพิบัติ
เล้าข้าวท่ีถูกรื้อแล้วห้ามนาไม้ไปสร้างเรือนพักอาศัย เพราะเช่ือว่าจะทามาค้าขายไม่เจริญและมีภัยพิบัติใหญ่เกิด
ขึ้นกับครอบครวั บริเวณที่สร้างเล้าข้าวเม่ือรื้อออกหรือย้ายออกจะไม่สามารถสร้างบ้านบริเวณน้ันได้ เพราะเชื่อ
ว่าบริเวณน้ันเป็นที่อยู่ของแม่โพสพ ท่ีเคารพ
นับถือ มีพระคุณ และการสร้างเล้าข้าวจะไม่
สร้างในลักษณะขวางตะวัน เพราะเช่ือว่าถ้า
สรา้ งแล้วจะมแี ต่สิง่ ทขี่ ัดขวาง ไม่อยู่เย็นเป็นสุข
ซึ่งในปัจจุบันความเช่ือเหล่าน้ีถูกลดบทบาทลง
ยงั หลงเหลืออยูบ่ า้ งในบางข้อ เน่ืองด้วยกระแส
การเปลย่ี นแปลงของสงั คมและวถิ ชี วี ติ สมัยใหม่
ภาพที่ 2 ลักษณะการปลกู บ้านและตาแหนง่ ของเล้าข้าว บ้านวังตอ ที่เอาความง่ายและสะดวกสบายเป็นหลักซึ่งไม่
ตาบลบ้านค้อ อาเภอเมือง จงั หวดั ขอนแกน่ ถกู ต้องตามพธิ กี รรมและประเพณีดัง้ เดิม
พธิ กี รรมท่เี ก่ยี วกบั เล้าขา้ ว
ชาวอีสานแต่โบราณเชอื่ ว่า “วันขึ้น 3 ค่า เดือน 3 เป็นวันฟ้าไข(เปิด)ประตูฝน เพ่ือให้ฝนตกลงมาสู่โลก
มนุษย์ และเชื่อว่าวันข้ึน 3 ค่า เดือน 3 เป็นวันที่โลกมีความอ่ิมและอุดมสมบูรณ์ท่ีสุด ถึงขนาดมีคากล่าวว่า
“กบบ่มีปาก นาคบ่มีฮูข่ี (ฮูขี่ แปลว่า รูทวารหนัก) หมากขามป้อมก็ต่าวหวาน” จึงถือโอกาสเปิดประตูเล้าข้าว
(ประตยู งุ้ ข้าว) ของตน ซง่ึ ปิดไว้ห้ามเปิดมาต้ังแต่วันเอาข้าวขึ้นเล้าหลังนวดข้าวเสร็จ ในประมาณกลางเดือนสิบสอง
หรือต้นเดือนอ้ายเป็นอย่างช้า ซึ่งจะมี “พิธีเอาข้าวข้ึนเล้า” “พิธีสู่ขวัญข้าว” และ “พิธีตุ้มปากเล้า” ก่อนท่ีจะ
เปิดประตูเล้า และจะนาข้าวเปลือกท่ีอยู่ในเล้าไปถวายวัดก่อนจะตักข้าวในเล้าลงมาตากินในครัวเรือน(ซ่ึงสมัย
โบราณใช้วิธีการตาข้าว) เพ่ือให้เป็นไปตาม “คองสิบส่ีสาหรับประชาชน ข้อท่ี 1” ที่บัญญัติไว้ว่า “เมื่อได้เข่า
ใหม่หลือหมากไม้เป็นหมากใหม่ ตนอย่าฟ้าวกินก่อนให้เอาทาบุญ ทาทานแก่ผู้มีสีนกินก่อน แล้วตนจึงกินเม่ือ
พายลนุ และใหแ้ บ่งแกย่ าดตพิ น่ี อ้ งนา”
พิธเี อาข้าวขึน้ เลา้
พิธีเอาข้าวข้ึนเล้า คือ เมื่อเก็บเก่ียวข้าวเสร็จแล้วก็จะนามาใส่ไว้ในเล้า นิยมทาวันจันทร์ พฤหัสบดี ศุกร์ เวลาบ่าย
3 โมง ถึงบ่าย 5 โมง มีขั้นตอน คือ เอาเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ใส่ขัน พร้อมกระบุงเปล่า 1 ใบ และหาขันหรือ
กระบอกใสข่ า้ ว(ขวญั ข้าว) 1 อัน หัวหน้าครอบครวั เอาผ้าขาวมา้ พาดเฉวียงบ่า ถอื กระบงุ และขันดอกไม้พร้อมทั้งขัน
หรือกระบอกสาหรับใส่ขวัญข้าวไปยังลานข้าว ยกขัน 5 ข้ึน ว่านโม 3 จบ แล้วให้ว่าคาถาเรียกขวัญข้าว “อุกาสะ
อุกาสะ ผู้ข้าขอโอกาสราธนาแม่โพสพให้เมืออยู่เล้า คุณข้าวให้เมืออยู่ฉาง ภะสะพะโภชะนัง มะหาลาภัง สุขัง
โหตุ” แล้วเอาขันท่ีเตรียมไปตักขวัญข้าวนั้น ใส่กระบุง อุ้มเดินกลับบ้าน เอาข้ึนไปวางไว้บนขื่อด้านหลังสุดตรงข้าม
ประตเู ขา้ เล้า ซึ่งขวัญขา้ วทเ่ี ก็บไว้นั้นจะนามาผสมกับข้าวปลูกเพือ่ ทาพนั ธ์ุในปีต่อไป
พิธสี ูข่ วัญข้าว
เป็นประเพณีทชี่ าวอีสานแต่ละครอบครัวจะทากนั ในวันข้นึ 3 ค่า เดอื น 3 ถ้าครัวเรือนไหนจะส่ขู วญั ขา้ วก็จะจัด
“พาขวัญน้อย” หน่ึงพา แล้วใหห้ มอสูดมาเป็นผู้ “สดู ขวัญ” ใหเ้ ล้าขา้ ว โดยโยงด้ายสายสิญนจ์ ากเล้าขา้ วมาหาพา
ขวัญกบั หมอสดู ที่อยูข่ า้ งๆ ซงึ่ ในประเพณีอสี านในการสดู ขวญั ขา้ วกจ็ ะมีคาสดู ขวญั โดยเฉพาะ
พธิ ีตมุ้ ปากเล้า
ชาวอีสานหลังจาก “เอาเข่าข้ึนเล่า” แล้วชาวนาอีสานจะปิดประตูเล้าสนิท จะไม่ตักข้าวในเล้ามากินหรือมาขาย
เป็นอันขาด ข้าวเปลือกที่จะนามาตาหรือมาสีกินในระหว่างที่ปิดประตูเล้าข้าวนั้น จะแบ่งไว้หรือกันไว้นอกเล้าข้าว
ต่างหาก เพราะชาวอีสานเช่ือว่า เม่ือนาข้าวข้ึนเล้าแล้วต้องปิดประตูเล้า รอถึงวันขึ้น 3 ค่า เดือน 3 ซ่ึงเช่ือว่า
“เป็นวันมงคล” จึงจะเปิดประตูเล้าข้าวได้ เพราะเชื่อว่าถ้าเปิดก่อนจะไม่เป็นมงคลแก่เล้าข้าว และข้าวในเล้าจะ
บก(ลด) จะพ่องไปอย่างรวดเร็ว พิธีกรรมการเปิดเล้าข้าวคร้ังแรกเรียกว่า “ตุ้มปากเล้า” (ตุ้ม-คุ้มครอง, ปากเล่า-
ประตูเล้า) การตุ้มปากเล้า แต่ละครัวเรือนก็จะต่างคนต่างทาที่เล้าข้าวของตนเพ่ือปลอบขวัญข้าว หรือปลอบขวัญ
แมโ่ พสพ ผู้เป็นแม่เรือนจะจัดขัน 5 (ดอกไม้ 5 คู่ เทียนเล็ก 5 คู่) ใส่จานวางไว้ท่ีประตูเล้าแล้วบอกกล่าวกับเล้าข้าว
ว่า “วันนี้เป็นวนั ดี จะมกี ารเปดิ เล่าเขา่ ขอใหก้ ินอยา่ บก จกอย่าลง” หรือบางคนอาจจะกล่าวยาวๆ ซึ่งมีคากล่าว
ในพธิ ีการตุ้มปากเล้าโดยเฉพาะของอีสานอยู่ก็แล้วแต่แม่เรือน ผู้ทาพิธี พอพูดจบก็ไข(เปิด) ปักตู(ประตู) แล้วก็เสร็จ
พิธี (บุญเกิด พิมพ์วรเมธากุล และคณะ, 2544) ซึ่งในวิถีอีสานปัจจุบันการทาพิธีสู่ขวัญข้าว การเอาข้าวข้ึนเล้า
จะไม่ค่อยมีแล้ว จะนิยมเอาใส่กระสอบไว้
ในบ้านหรือขายต้ังแต่เกี่ยวข้าวเสร็จ เน่ือง
ดว้ ยยึดความสะดวกสบาย ตามสภาพสังคม
และวิถีชีวิตท่ีเปลี่ยนไป เพราะการทานาใน
ปจั จุบนั มีการลงทุน มีการใช้เคร่ืองจักรและ
กา รจ าห น่า ยผ ลผ ลิต เพื่ อใ ห้ไ ด้ก าไ ร
พิธีกรรมที่เคยปฏิบัติจึงเปล่ียนแปลงไปด้วย
นอกเหนือจากพิธีกรรมแล้วเล้าข้าวยังแฝง
ไว้ซึ่ง ภูมิปัญญาแห่งบรรพช น ในการ
ออกแบบการก่อสร้าง การใช้ประโยชน์และ
การเก็บรักษาผลผลติ ทไี่ ดส้ งั่ สมมาอีกด้วย ภาพที่ 3 การแตง่ พธิ สี ู่ขวญั ขา้ วและพิธีต้มุ ปากเล้า วันขน้ึ 3 ค่า เดือน 3
ภมู ปิ ัญญาในการก่อสร้างเล้าข้าว ภาพจาก www.anantasook.com
ยง บุญอารีย์ (2554) ได้ศึกษาเล้าข้าวในวัฒนธรรมไท-อีสาน ซ่ึงกล่าวถึงภูมิปัญญาในการก่อสร้าง
ยงุ้ ขา้ ว(เลา้ ข้าว) ไว้วา่ ยุ้งขา้ วเป็นภูมปิ ญั ญาโบราณทรี่ ับใชช้ าวนา ทุกชนชาติมาอย่างยาวนาน และยังสืบทอดพัฒนา
จนเปน็ สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบทั้งประโยชน์ใช้สอยและรูปแบบ ถึงแม้จะเป็นสถาปัตยกรรมพ้ืนถ่ิน ที่เกิดจาก
การส่ังสมศึกษาลองผิดลองถูกจนเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพ้ืนที่ แต่หลักในการออกแบบเล้าข้าว(ยุ้งข้าว)มี
ลักษณะร่วมกันอยู่อย่างมีนัยสาคัญ เพราะประโยชน์ใช้สอยหลักของเล้าข้าว(ยุ้งข้าว)ไม่ว่าของพื้นที่ใดก็คือการ
ป้องกันเมล็ดข้าวจากความร้อน ความช้ืน สัตว์ และแมลงที่มาทาลายข้าวให้เกิดความเสียหายแนวคิดในการ
ออกแบบเล้าข้าว(ยุ้งข้าว) ถึงจะต่างพ้ืนท่ี ต่างสังคมวัฒนธรรมและศาสนา แต่สถาปัตยกรรมของเล้าข้าว(ยุ้งข้าว)
กลับมีลกั ษณะทค่ี ลา้ ยคลึง จนเป็นลักษณะเฉพาะท่สี าคัญ คือ 1) ยกพ้ืนสูง เพ่ือป้องกันความช้ืน ป้องกันการรบกวน
ของสัตว์ใหญ่ เช่น แรดและช้าง 2) การก่อสร้างผนังอยู่ริมในของเสาเพื่อทาให้ภายในยุ้งข้าวไม่มีซอกมุมท่ีเกิดจาก
เหล่ียมเสาเพื่อลดการสะสมของเมล็ดข้าวอยู่ตามซอก ไม่มีบันไดและหน้าต่างเพ่ือป้องกันแสง ความร้อนและ
ความชื้น ในขณะเดียวกันก็สามารถระบายอากาศได้ดี 3) โครงสร้างอยู่ภายนอกผนังเพื่อรับน้าหนัก ระบบ
โครงสร้างกบั ระบบผนังมกั จะแยกเป็นอิสระจากกัน พ้ืนจะทาหน้าที่รับน้าหนักของข้าว ถ่ายเทน้าหนักลงบนตงและ
คาน ผนังจะรับแรงถีบจากด้านข้าง เสาจะรับท้ังน้าหนักและแรงถีบจากผนัง ในเล้าข้าวขนาดใหญ่มักจะมีเคร่าตี
เสริมระหวา่ งเสาเพ่อื ช่วยรับแรงถีบของข้าว และมกั เอียงเสาเขา้ เพ่ือรับแรงอีกทางหน่ึง ในภาคอีสานเรียกรูปแบบน้ี
วา่ ทรงช้างข้ี (วโิ รฒ ศรสี ุโร,2540) 4) มีหลังคาลาดชันระบายน้าได้ดี หลังคาจะค่อนข้างชันเพ่ือป้องกันฝนรั่วทาลาย
ข้าวภายในเล้าข้าว 5) มีรายละเอียดในการก่อสร้าง เพ่ือป้องกัน นกหนู แมลง ท่ีกินเมล็ดธัญพืชเป็นอาหารซึ่งเป็น
ศัตรูสาคัญซึ่งทาให้ผลผลิตท่ีเก็บไว้ยุ้งข้าวเสียหาย ชาวอีสานโบราณได้สั่งสมความรู้และพัฒนานวัตกรรมต่างๆเพ่ือ
ป้องกันผลผลิตจากแมลงและหนูโดยจะไม่วางเล้าไว้ใกล้บ้าน ร้ัว หรือต้นไม้เพ่ือกันหนูกระโจน เข้ามาในเล้าและที่
โคนเสาก็จะใช้วัสดุผิวมันกรุเอาไว้เพ่ือป้องกันหนูไต่ 6) มีจารีต และประเพณีท่ีเกี่ยวข้องกับความเคารพต่อ
ธรรมชาติ ทุกวัฒนธรรมท่ีปลูกข้าวจะมีผีและ
เทวดาท่ีเกี่ยวข้องกับข้าว แผ่นดิน ต้นไม้ ฝน น้า ท่ี
สาคัญต่อการเพาะปลูก เช่น พระแม่โพสพ พญา
แถน พญาคันคาก นาค งู เงือก ฯลฯ โดยผีและ
เทวดาเหล่าเป็นตัวแทนของธรรมชาติสามารถให้
คุณและโทษแก่ผลผลิตขา้ วของเกษตรกรได้ จึงต้อง
มี จ า รี ต ป ร ะ เ พ ณี เ พ่ื อ แ ส ด ง ค ว า ม เ ค า ร พ
ขอขมา บอกกล่าวต่อธรรมชาติอยู่มากมาย
ตลอดท้ังปี
ภาพที่ 4 การก่อสร้างเลา้ ข้าวในสมัยปัจจุบัน
บ้านเมืองแคน อาเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
สถาปัตยกรรมเลา้ ขา้ วอีสาน
เล้าขา้ วออกเป็น 3 ขนาด คอื 1)เลา้ ข้าวขนาดเลก็ มขี นาดยาว 1-3 ชว่ งเสากว้าง 1-2 ช่วงเสา แต่ละช่วงเสา
อยู่หา่ งกัน 1.00 -2.00เมตร เก็บข้าวได้ไม่เกนิ 500 กระบุง 2) เลา้ ขา้ วขนาดกลาง สารวจพบว่ามีมากทีสุดประมาณ
ร้อยละ 90 ขนาดยาว 3-4 ช่วงเสา กว้าง 2-3 ช่วงเสา ใช้วัสดุท่ีคงทนถาวรเช่นไม้เนื้อแข็ง ส่วนหลังคามักมุง
กระเบื้องดินเผา หรือกระเบ้ืองคอนกรีต แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นสังกะสีเป็นส่วนใหญ่ เล้าข้าวขนาดกลางเก็บข้าว
ได้ 500-1,000 กระบุง 3) เล้าข้าวขนาดใหญ่ ยาวมากกว่า 4 ช่วงเสากว้างมากกว่า 3 ช่วงเสา ใช้วัสดุท่ีคงทนถาวร
เช่นเดยี วกับเลา้ ข้าวขนาดกลาง เลา้ ข้าวขนาดใหญ่เก็บขา้ วไดม้ ากกวา่ 1,000 กระบงุ (ยง บญุ อารยี ์, 2554)
วสั ดุทใ่ี ช้และส่วนประกอบของเล้าขา้ ว
สมชาย นลิ อาธิ (2526) ได้อธบิ ายวา่ โครงสรา้ งทัง้ หมดของเลา้ ขา้ วนยิ มใชไ้ ม้เนื้อแขง็ ในการกอ่ สร้าง ไมว่ ่า
จะเปน็ เสา ขาง(คาน) ตง คร่าว ขื่อ สะยวั (จนั ทัน) ด้ัง ตลอดจนกะทอด(พลงึ ) แป กลอน และวงกบประตู
เพอื่ ความคงทนแข็งแรงในการรับนา้ หนัก ซ่งึ เปน็ หนา้ ท่หี ลักของเลา้ ขา้ ว ซง่ึ ส่วนประกอบทส่ี าคัญ มีดงั น้ีคอื
ตง คือไม้เนื้อแข็งขนาด ประมาณ 3 – 4 นิ้ว ขนาดยาว ทใ่ี ชว้ างบนคาน(ขาง) ซ่ึงบางคร้ังจะมีหรอื ไม่มกี ็ได้
ท้ังน้ีขึ้นอยู่กับวสั ดคุ ือไม้ และความต้องการในเรื่องความคงทน แข็งแรง เพราะถา้ ใช้ตงวางบนคานกจ็ ะชว่ ยทาให้การ
รับนา้ หนักของพื้นเลา้ มมี ากย่ิงขึ้น แต่ถา้ จะมีแตค่ านโดยไม่มตี งก็สามารถจะรับน้าหนกั ได้อยู่แล้ว
หลงั คา จะมีรปู ทรงเปน็ หนา้ จ่ัว ยคุ แรกๆจะนยิ มใชห้ ญา้ แฝก, หญา้ คามุงกันมาก ต่อมามีการใชแ้ ผน่ ไม้มงุ
(แป้นมงุ -แผน่ ไมแ้ ขง็ ท่เี อามาตัดและถางให้เป็นรูปคล้ายกระเบอ้ื งดินขอ) และในสมัยปจั จุบนั นยิ มใช้สงั กะสี
หนา้ จ่วั จะใชห้ ญา้ แฝก,หญา้ คา หรือไม้ไผ่สาน เพื่อกันฝนสาดเข้าไปถกู ขา้ วเลอื กทเี่ กบ็ ไว้ในเลา้
พ้นื จะใช้ไมแ้ ผน่ เนื้อแข็งอสี านเรียกแปน้ เพราะเปน็ สว่ นที่ต้องรับน้าหนัก เม่ือปูพนื้ ด้วยไมแ้ ผ่นเนือ้ แข็งแลว้
จะเกดิ ร่องระหวา่ งแผน่ ที่เกิดจากการไมช่ ิดกนั ของแผ่นไม้ ชาวอีสานจะใชไ้ ม้ไผ่ผ่าเปน็ ชิน้ กวา้ งประมาณ 2 ซม.
เศษๆ หรือบางครัง้ ก็ใช้ไม้แผ่นตีทับตามแนวร่องปิดไว้ ไมแ้ ผ่นทีต่ ปี ิดร่องน้ีเรยี กวา่ “ลึก” หรือ “ลกึ ไม้” เพ่ือป้องกัน
ไม่ใหข้ ้าวเปลอื กรว่ั ออกจากพ้ืนเลา้
ฝา เป็นสว่ นประกอบเล้าที่สาคัญมาก ในแง่ประโยชน์ใช้สอย ซ่ึงเปน็ หนา้ ท่ีหลกั ของเลา้ ข้าว ในอดตี จะนิยม
ใชไ้ ม้แซง(ลาแซง), ไมแ้ ขม(ลาแขม), และไม้ไผจ่ ักเปน็ เส้นขนาดประมาณ 1 ซม. มาสานเป็นลายขัดแล้วทาอุดดว้ ยขี้
ววั ขค้ี วายผสมน้าและดินโคลนตามความเหมาะสม เพอ่ื อุดรอยร่วั ของลายขัด ซง่ึ นิยมใช้ไม้แซงมากกวา่ ไมแ่ ขม
เพราะมคี วามคงทนกว่า แต่ต้องไปตดั ไกลๆจากหมู่บา้ น คนทช่ี อบสะดวกและงา่ ยๆ กม็ ักจะใช้ไม้แขม เพราะขึน้ อยู่
ตามบริเวณหนองน้าใกลๆ้ หมู่บ้าน พอไมแ้ ซงและไม้แขมหายาก จึงใช้ไม้ไผจ่ ักเป็นเส้นมาสานทาเป็นฝาแทน ตอ่ มา
จงึ มีการใช้ไม้แผ่น(ไมแ้ ป้น)มาทาเป็นฝากนั มากขึ้นเพราะคงทนถาวรมากกว่า เมอ่ื ไมแ้ ผน่ หายากและมรี าคาสูง ใน
ปจั จุบนั สว่ นมากจึงนิยมใช้สงั กะสีมาทาเปน็ ฝาเล้าขา้ วเพราะสะดวก หาง่าย และราคาไม่แพง
ประตู จะนยิ มใช้ไมเ้ นื้อแข็งเป็นแผน่ ๆ ใสจ่ ากดา้ นบนของวงกบทีละแผน่ โดยทาวงกบเป็นร่องตามแนวต้งั ท้งั
สองข้างเพ่ือใส่แผน่ ไม้ที่ทาเป็นประตู แต่ที่ใชเ้ ป็นบานเปิด-ปิดแบบเรือนพกั อาศัยก็มี แต่จะเก็บขา้ วเปลือกไดน้ ้อย
กว่าแบบแรก ใช้สอยเก็บข้าวไมส่ ะดวก และทาให้ขา้ วไหลออกจนเสียหายไดง้ า่ ย การทาประตเู ลา้ ข้าวจงึ ยึด
ประโยชน์ใช้สอยเป็นตวั กาหนด
กะทอด(พลึง) คือแผน่ ไม้แผ่นหนาแข็ง ทาหนา้ ทีเ่ ปน็ เสมือนเข็มขดั รัดตรงส่วนกลาง ปดิ รอบตามแนวฝาที่
จดกับพื้น หน้าทีเ่ พ่ือตีรัดฝาเล้าข้าวไว้
บนั ได ปกตเิ ลา้ ข้าวจะไมม่ บี ันไดขึน้ -ลง แตถ่ า้ จาเปน็ ต้องใช้จรงิ ก็จะใช้ไม้กระดานวางให้มคี วามลาดชัน
มากๆ เพ่ือขนขา้ วข้ึน-ลง ถ้ากระดานมีความล่นื ก็จะใช้ไมช้ ้นิ เล็กๆตีเป็นข้นั ๆไว้ ซง่ึ จะไม่ใช้บนั ไดเปน็ แบบข้นั ๆแบบ
ของเรือนพักอาศยั ในอดตี จะนยิ มใชไ้ ม้ไผ่ลาใหญ่ๆตัดให้เหลอื แขนง วางพาดขา้ งเสาด้านหน้า สาหรบั ปนี ขึ้น-ลง
ซ่งึ ชาวอีสานเรยี กว่า “เกิน”
ภาพที่ 5 ภาพวาดโครงสร้างและส่วนประกอบ ภาพที่ 6 การสร้างบา้ นเรือนของคนอีสานปจั จบุ นั ท่เี ป็น
ของเลา้ ข้าวอีสาน สถาปัตยกรรมแบบใหม่ บรเิ วณบ้านก็จะไมม่ เี ล้าข้าว
ซ่งึ ในสังคมคนอีสานในอดตี นัน้ เม่ือสรา้ งเรือนพักอาศัยตอ้ งมีการสร้างเล้าข้าวด้วย เพราะอาชีพหลักคือการ
ทานา ข้าวเป็นส่ิงที่สาคัญและจาเป็นท่ีสุดในการดารงชีวิตของชาวอีสาน ถึงกับมีผญาภาษิตอีสานกล่าวไว้ว่า
“ทุกขบ์ ม่ เี ส้อื ผ้า ฝาเฮอื นดพี อลอี้ ยู่ ทุกขบ์ ม่ เี ข่าอยู่เล้า สนิ อนลอี้ ยจู่ ่ังได๋” เมือ่ สร้างเรือนกต็ อ้ งสร้างเล้าข้าวเพื่อเก็บ
ข้าวไว้บรโิ ภคตลอดท้งั ปจี นกว่าจะถงึ ฤดูการทานาในปีถัดไป ดังจะสังเกตได้จากบ้านเรือนคนอีสาน จะมีเล้าข้าวอยู่
ในบรเิ วณบา้ นด้วย
ปัจจุบันกระบวนการทานาปลูกข้าวของชาวอีสานได้เปล่ียนแปลงไป ใช้เทคโนโลยีในการผลิตแทน
แรงงานคน การทานาเพื่อบริโภคในครัวเรือนก็เปล่ียนเป็นการทานาเพื่อการค้า เม่ือเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จก็ขายทันที
เพ่ือนาเงินไปชาระหนี้ค่าปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ค่ารถเก่ียวและค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว ความสาคัญของเล้าข้าวจึงถูกลดบทบาท
จากชวี ติ ชาวนา และสงั คมชาวนาก็เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคสมัยใหม่ การสร้างบ้านเรือนก็นิยมสร้าง เป็นสถาปัตยกรรม
แบบสมัยใหม่ จึงไม่มีการสร้างเล้าข้าวในบริเวณบ้านเหมือนในอดีต เม่ือไม่มีการสร้างเล้าข้าว ภูมิปัญญาท่ีแผงอยู่
และสถาปัตยกรรมแบบชาวบ้านน้ีก็ค่อยๆลบเลือนไป แม้แต่บ้านเรือนชาวอีสานที่ยังคงมีเล้าข้าวอยู่ ความเช่ือและ
พิธีกรรมที่ต้องปฏิบัติต่อเล้าข้าวก็ค่อยๆถูกละเลยการปฏิบัติ ขาดการสืบต่อการปฏิบัติจากคนรุ่นใหม่ เนื่องจาก
สภาพสังคม เศรษฐกิจ ค่านิยมและการดาเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากอดีต ความเช่ือ พิธีกรรม ภูมิปัญญาและ
สถาปตั ยกรรมเลา้ ขา้ วอีสาน จะสามารถตา้ นทานกระแสสังคมแห่งการเปล่ียนแปลง หยัดยืนอยู่คู่สังคมชาวนาอีสาน
ไม่สูญหายไปได้จรงิ หรอื ?
เอกสารอา้ งอิง
จารวุ ฒั น์ นนทชัย. ยงุ้ ข้าว: รูปแบบ และส่อื สัญลักษณ์ของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ตาบลนกออก อาเภอปักธงชัย
จงั หวัดนครราชสีมา. [วทิ ยานพิ นธ์ปรญิ ญาศลิ ปกรรมศาสตรมหาบณั ฑิต] ขอนแก่น :
บัณฑติ วทิ ยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.
บุญเกิด พมิ พว์ รเมธากลุ , บรรณาธกิ าร. มรดกไทอสี าน. ขอนแกน่ : หจก. โรงพมิ พค์ ลังนานาวทิ ยา; 2544.
ยง บญุ อารีย.์ เล้าข้าวในวัฒนธรรมไท-อสี าน. วารสารวชิ าการ คณะสถาปตั ยกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2554; 10: 24–35.
วิโรฒ ศรีสโุ ร. เล้าข้าว ยงุ้ ฉางแห่งภูมปิ ญั ญาอีสาน. สารคดี ม.ค. 2540; 12(143): 167-172.
สมชาย นลิ อาธ.ิ เล้าข้าว. เมอื งโบราณ ส.ค. – พ.ย. 2526; 9(3): 123–129.