The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

ประวัติหน่วย ร.7 และ นขต.ร.7 110 ปี

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by blackrockkubz, 2022-03-05 21:22:45

ประวัติหน่วย ร.7 และ นขต.ร.7 110 ปี

ประวัติหน่วย ร.7 และ นขต.ร.7 110 ปี

ประวตั หิ นว่ ย กรมทหารราบที่ 7 ครบรอบ 110 ปี
ไม่ว่าในยคุ สมยั ใดก็ตามทหารมีความสำคัญยิง่ ในการปกป้องรกั ษาเอกราชอธปิ ไตยของชาติ
และพื้นทแ่ี ผ่นดิน โดยยอมใชเ้ ลือดเนื้อและชวี ติ เปน็ เดิมพนั ไม่เว้นแมแ้ ตพ่ ้นื ทภี่ ูมิศาสตรท์ ี่เป็นภเู ขา
สูงชัน ทุรกันดาร และ น่ันคอื ที่มาของการตัง้ กรมทหารราบที่ ๗ กรมทหารราบท่ี 7 เป็นหน่วยขนึ้
ตรงกองพลทหารราบที่ 7 มีประวตั ิเก่าแก่ยาวนาน มีท่ตี ั้งอย่ภู ายใน ค่ายกาวิละ ต.วดั เกต อ.เมอื ง
จ.เชียงใหม่

ความเปน็ มากำเนดิ หนว่ ย
เมอื่ พ.ศ. ๒๔๓๖ กรมยทุ ธนาธิการ ได้ส่งหน่วยทหารมา
ประจำท่เี ชียงใหม่ ๑ กองรอ้ ย โดยมี รอ้ ยโท ทองคำ
ภมู ปิ ระภาส เป็นผบู้ ังคับกองรอ้ ยมีชือ่ ว่า กองทหาร
เชียงใหม่ มที ี่ตั้งอยูท่ บ่ี รเิ วณวดั ชยั ศรภี ูมิ (วัดปันตา๋ เก๋ิน)
ต.ศรีภมู ิ อ.เมือง จ.เชยี งใหม่ ในปจั จบุ นั

พ.ศ.๒๔๔๕ กรมทหารราบที่ 8 เดิมอยู่ในอัตราของ
กรมบัญชาการทหารมณฑลนครราชสีมา มีคำสั่งให้ย้ายไป
ตั้งที่มณฑลพายัพเชียงใหม่ มีอัตรา ๒ กองร้อย พ.ต.หลวง
รักรณยุทธ เปน็ ผู้บังคับการ และไดย้ ้ายหน่วยมาต้งั อยู่บริเวณคา่ ยกาวลิ ะ จ.เชียงใหม่ ในปัจจบุ ัน

พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้ขยายอัตราเป็น กรม
บัญชาการทหารบกมณฑลพายัพฝ่าย
ตะวันตกมี พ.อ.พระสุรฤทธิพฤฒิไกร เป็น
ผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อกรมยุทธนาธิการ มี
กรมทหารราบที่ ๘ อยู่ใต้บังคับบัญชา มณฑล
พายัพ และแต่งตั้งให้ ร.อ.หลวงเพชรกำแหง
ดำรงตำแหน่ง ผบ.ร.๘

พ.ศ.๒๔๔๗ กรมทหารราบที่ ๘ ขยายกำลังมี ๔ กองร้อย กับ ๑ หมวด ป. มี พ.ต.หลวงสร
ชิตพลการ เป็น ผบ.ร.๘

พ.ศ.๒๔๔๘ เปลี่ยนแปลงกรมบัญชาการทหารบก มณฑลพายัพตะวันตก เป็นพายัพ (ไม่มี
ฝ่ายตะวันตก และตะวันออก) มี พ.อ.พระยาฤทธิไกรเกรียงหาญ เป็นผู้บังคับบัญชา
พ.ต.หลวงสรชิต-พลการ ดำรงตำแหนง่ ผบ.ร.๘

พ.ศ. 2451 พ.ศ. ๒๔๕๑
กองทัพบกได้ตั้งหน่วยกำลังรบขึ้นเป็น
กองพลท่ี ๘ ขึน้ ตรงตอ่ กรมยุทธนาธิการ
โดยมีที่ตั้งอยู่ ณ ค่ายกาวิละ จังหวัด
เชยี งใหม่

พ.ศ.๒๔๗๕ กรมทหารราบที่
๘ ได้แปรสภาพเป็น กองพันทหารราบ
ที่ ๑๔ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง
ทางการปกครอง และเศรษฐกิจ เพื่อประหยัดงบประมาณขึ้นตรงต่อผู้บังคับบัญชาทหารราบ
(พระนคร) มี พ.ท.หลวงพิชิตโยธา เปน็ ผู้บงั คับกองพนั ทหารราบท่ี ๑๔

พ.ศ.๒๔๗๙ กองพันทหารราบที่ ๑๔ แปรสภาพเป็น กองพันทหารราบที่ ๓๑ มี
พ.ท.หลวงเดช- รณรงค์ (อุ่น โรจนสาโรช) เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๓๑ และดำรงตำแหน่ง
เปน็ ผ้บู งั คบั การ จังหวัดทหารบกเชียงใหม่ด้วย

พ.ศ.๒๔๘๕ อยู่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงคราม และเป็น
พันธมิตรกับฝ่ายญ่ีปุน่ กองพันทหารราบท่ี ๓๑ ได้แปรสภาพเปน็ กรมทหารราบที่ ๑๑ โดยได้รับ
การเพ่ิมเติมกำลงั จาก กรมทหารราบที่ ๑๗

พ.ศ.๒๔๘๙ กรมทหารราบที่ ๑๑ แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๑๔ โดยมี
พ.ท.สงวน อัมพวรรธน์ ดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ร.๑๔

พ.ศ.๒๔๙๓ กรมทหารราบที่ ๑๔ แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๗ โดยมี
พ.อ.ขนุ เขม้ แข็ง เพ่ิมกำลังเมอื ง ดำรงตำแหน่งเปน็ ผบ.ร.๗

พ.ศ.๒๔๙๘ กรมทหารราบที่ ๗ แปรสภาพเป็นกรมผสมที่ ๗ โดยมี พ.อ.ประเสริฐ เสนานิ
กรม ดำรงตำแหน่งเป็น ผบ.ผส.๗

พ.ศ.๒๕๒๒ กรมผสมที่ ๗ ได้แปรสภาพเป็น กรมทหารราบที่ ๗ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑/
๒๕๒๒ ลงเมื่อ ๒๔ พฤษภาคม 25๒๒ เรื่อง การแปรสภาพหน่วย ผส. เป็น กรม ร. โดยมี
พ.อ.อำนวย ชูเกษ ดำรงตำแหนง่ เป็น ผู้บังคบั การกรมทหารราบท่ี ๗

ในวันที่ ๒๒ ส.ค.๔๘ กรมทหารราบที่ ๗ ได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ. ให้พัฒนาหน่วยเป็น
กรมปฏบิ ัติการรบในพืน้ ทีป่ ่า – ภูเขา ตามหนงั สอื ยก.ทบ. ด่วนมาก ลบั ที่ กห ๐๔๐๓/๑๓๑๕ ที่
ลง ๑๗ ส.ค.๔๘ เรื่อง แนวทางการพัฒนา ร.๗ ให้มีขีดความสามารถ ในการปฏิบัติการรบ
ในพน้ื ที่ ป่า – ภูเขา

โดยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีผู้บังคับบัญชาที่ดำรงค์ตำแหน่งผู้บังคับหน่วยมาแล้วทั้งสิ้น
52 ท่าน และ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 7 (ผบ.ร.7) ท่านปัจจุบัน ได้แก่
พนั เอก สุจนิ ต์ ทรัพย์สนิ โดยมกี องพันหนว่ ยขน้ึ ตรงกรมทหารราบท่ี 7 ดงั น้ี

- กองพันทหารราบท่ี ๑ ทีต่ งั้ ค่ายกาวลิ ะ ต.วัดเกต อ.เมือง จ.เชยี งใหม่
มี พนั โท พนั โท ศริ พิ ล ไชยมงคล เปน็ ผบู้ ังคบั กองพนั (ผบ.ร.7 พัน.1)

- กองพันทหารราบที่ ๒ ที่ตั้ง ค่ายพิชิตปรีชกร อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่.
มี พนั โท ต่อพงษ์ ชำนาญอาสา เปน็ ผู้บงั คับกองพนั (ผบ.ร.7 พนั .2)

- กองพันทหารราบที่ ๕ ที่ตั้ง ค่ายโสณบัณฑิตย์ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
มี พันเอก สมนกึ ธปู เทียน เปน็ ผู้บงั คบั กองพัน (ผบ.ร.7 พนั .5)

วันสถาปนาหน่วย
กรมทหารราบที่ ๗ ได้กำหนดวันที่ ๗ มีนาคม

พ.ศ.๒๔๕๕ เป็นวันสถาปนาหน่วย ซึ่งในวันดังกล่าว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖
ทรงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๘
(กรมทหารราบที่ ๗ ในขณะนั้น) ปรากฏหลักฐานตาม
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๒๙ หน้าที่ ๒๗๕๕ ลง ๙ มี.ค.
๒๔๕๕

ผลงานของหนว่ ย
พ.ศ.๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาทสงครามอินโดจีน กองพันทหารราบที่ ๓๑ ได้รับภารกิจให้ทำ

การรบเพอ่ื รกั ษาอธิปไตยดา้ น อ.ทงุ่ ชา้ ง จว.นา่ น ประสบความสำเรจ็ ได้รับชัยชนะโดยเด็ดขาด
พ.ศ.๒๔๘๔ เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยตกอยู่ภาวะสงคราม เป็นพันธมิตรกับ

ฝ่ายญี่ปุ่น ได้ส่งกำลังเข้าปฏิบัติการรบจนเสร็จ
สิ้นยตุ สิ งคราม เม่ือ พ.ศ.๒๔๘๘

พ.ศ.๒๔๙๖ ส่งกำลังปราบจีนฮ่อที่
ลักลอบคา้ ของเถ่อื น จนประสบผลสำเรจ็

พ.ศ.๒๔๙๗ ส่งกำลังเข้าปฏิบัติการ
ร่วมกับเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ทำการปลดอาวุธจีน
คณะชาติท่ี อ.แม่สะเรยี ง จว.แม่ฮอ่ งสอน

พ.ศ.๒๕๐๓ จัดกำลังถวายความปลอดภัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ-
พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ,สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
สยาม-บรมราชกมุ ารี และพระบรมวงศานวุ งศ์ ขณะแปรพระราชฐานมาประทับ ณ พระตำแหนัก
ภูพิงค์ราชนิเวศน์จนถึงปัจจุบัน และหน่วยในบังคับบัญชาได้รับสถาปนาเป็นหน่วยทหารใน
พระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๖ คือ ร.๗ พัน.๑ มีสิทธิประดับพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" ที่อกเส้ือ
เครอื่ งแบบดา้ นขวาได้

พ.ศ.๒๕๑๑ จดั กำลังปฏบิ ตั ริ าชการปราบปรามผกู้ ่อการรา้ ยในเขต อ.เชียงคำ จว.เชยี งราย
(จว.พะเยา ในปัจจุบัน) โดยจัดตั้งเป็น บก.ผส.๗ สน. ตั้งแต่ ก.พ.๑๑ ถึง ต.ค.๑๗ และได้ส่งมอบ
หนา้ ท่ใี ห้กบั ฉก.พล.ร.๔ และยงั คงจัดหนว่ ยกำลงั รบปฏิบตั ิงานร่วมต่อไปจนถงึ พ.ศ.๒๕๒๔

พ.ศ.๒๕๒๕ กรมทหารราบที่ ๗ ได้รับแบ่งมอบเขตพื้นที่รับผิดชอบให้ปฏิบัติราชการ
สนาม เพื่อปราบปราม ผกค. ทางด้าน จว.แม่ฮ่องสอน โดยจัดตั้งเป็น บก.พตท.๓๕ ที่ อ.แม่สะ
เรียง และต่อมาได้ส่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบให้กับ จทบ.ช.ม. เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ แต่ยังคงให้
การสนบั สนนุ กำลงั รบเพือ่ ปฏบิ ัตภิ ารกิจทไี่ ด้รบั มอบ

พ.ศ.๒๕๒๘ จัดกำลังสนับสนุนให้กับ ฉก.๓๒๗ เข้าปฏิบัติงานในพื้นที่รับผิดชอบ
พ.ศ.๒๕๒๙ ได้รับมอบภารกิจให้จัดตั้งโครงการกำจัดการปลูกฝิ่น ร.๗ ซึ่งปัจจุบัน ได้
เปลยี่ นชื่อโครงการเป็น โครงการกำจัดพชื เสพติด ร.๗ และได้ดำเนนิ การอย่จู นถงึ ปัจจุบนั
พ.ศ.๒๕๓๐ ได้รับมอบภารกิจให้จัด ชป.พัฒนาโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำ
ปิง อันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ อ.ฮอด ,อ.จอมทอง จว.เชยี งใหม่ และ อ.บ้านโฮ่ง จว.ลำพูน
พ.ศ.๒๕๓๑ ได้รับภารกิจให้จัดตั้ง กอ.บริหารงานโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขา
แมน่ ำ้ ปิง อันเนอื่ งมาจากพระราชดำริ อ.ฮอด, อ.จอมทอง จว.เชียงใหม่ และ อ.บา้ นโฮง่ จว.ลำพนู
พ.ศ.๒๕๓๑ จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ในการผลักดันกองกำลังต่างชาติ ที่รุกล้ำอธิปไตยเข้ามา
ในชายแดนบรเิ วณ บ.รม่ เกลา้ อ.ชาตติ ระการ
จว.พษิ ณุโลก
พ.ศ.๒๕๓๖ จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ โดยการ
จัดตั้ง บก.ชค.๓๕ รับผิดชอบด้านชายแดนไทย- พม่า
ดา้ น จว.เชียงใหม่ และ จว.แมฮ่ ่องสอน
พ.ศ.๒๕๓๘ - พ.ศ.๒๕๔๕ จัดกำลังปฏิบัติ
หน้าที่ โดยการจัดตั้ง บก.ฉก.ร.๗ รับผิดชอบด้าน
ชายแดนไทย - พม่า ด้าน จว.เชียงใหม่ - จว.
แม่ฮ่องสอน

พ.ศ.๒๕๔๖ จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ โดยการจัดตั้ง บก.ฉก.๓๙๙ รับผิดชอบป้องกันและ

ปราบปรามยาเสพติดในพืน้ ที่ภาคเหนือตอนบน

พ.ศ.๒๕๔๘ จัดกำลังปฏิบัตหิ น้าที่ โดยการจัดตั้ง บก.ฉก.ร.๗ รับผิดชอบด้านชายแดนไทย

- พมา่ พื้นที่ จว.แมฮ่ ่องสอน จนถงึ ต.ค.๕๐

พ.ศ.๒๕๕๐ จดั กำลงั ปฏิบตั หิ นา้ ท่ี จงั หวดั ชายแดนภาคใต้ ฉก.๑๓ จังหวัดยะลา

พ.ศ.๒๕๕๑ - พ.ศ.๒๕๕๓ จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ โดยการจัด กพ. ปฎิบัติภารกิจ จชต.

ณ พนื้ ท่ี อ.กรงปินัง และ อ.บนั นงั สตา จว.ยะลา

พ.ศ.๒๕๕๒ จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ โดยการจัดตั้ง

บก.ฉก.ร.๗ (ปี ๕๓) รับผิดชอบด้านชายแดนไทย - พม่า

พน้ื ท่ี จว.แมฮ่ อ่ งสอน จนถงึ ปจั จบุ นั

พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นตัวแทนกองทัพบก จัดสถานที่

และ กพ.ร่วมฝึกร่วมผสมระหว่างกองทัพบกไทยและ

กองทัพบกสงิ คโปร์ (คชสหี ์ ๒๐๑๐ )

พ.ศ. ๒๕๕๔/๒๕๕๕ หนว่ ยได้

จัดกำลัง ฉก.ยะลา ๑๓ ปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.บันนังสตา

จ.ยะลา และจัด กำลัง ร่วมกับ สหประชาชาติในการ

ปฏิบัติภารกิจรักษา สันติภาพที่ กกล.ฉก.๙๘๐ ไทย/ดาร์

ฟูร์ ผลัดที่ ๑ และ ๒ ปฏิบัติงานในประเทศซดู าน

พ.ศ. 2556 - 2562 จัดกำลังปฏิบัติหน้าที่ ฉก.ร.

7 รับผิดชอบด้านชายแดนไทย - พม่า พื้นที่ จว.แม่ฮ่องสอน และจัดกำลังสนับสนุน สามจังหวัด

ชายแดนภาคใต้ ปฏิบัตภิ ารกจิ ในพนื้ จ.ยะลา

พ.ศ. 2559 - 2563 จัดกำลังสนับสนุน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัด

ลำพนู เพอ่ื รักษาความสงบเรยี บร้อยและช่วยเหลอื ประชาชนในพื้นท่ี จ.ลำพนู

พ.ศ. 2563 – 2564 ได้รับมอบหมายจาก ทบ. ให้เป็นหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็วที่เร็ว

ทภ.3 (RDF)


















































Click to View FlipBook Version