1
1 1. พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 นับเป็น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อ เนื่องจากการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น การทําสัญญา กฎหมายกําหนดว่าต้องมีการลงลายมือ ชื่อ คู่สัญญาจึงจะมีผลสมบูรณ์และใช้บังคับได้ตามกฎหมาย กฎหมายทั้งสองส่วนจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ความเป็นมาของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 รับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการทําธุรกรรมหรือสัญญา 1) รับรองตราประทับอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถระบุถึงตัวผู้ทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ 2) สามารถนําเอกสารซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้แทนต้นฉบับหรือให้เป็นพยานหลักฐาน ในศาลได้ 3) ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้า ระหว่างประเทศ
2 เจตนารมณ์ในการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 โดยที่การทําธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการ เทคโนโลยี ทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการทําธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว มีความแตกต่างจากวิธีการทําธุรกรรมซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก อัน ส่งผลให้ต้องมีการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับการทําเป็นหนังสือ หรือ หลักฐานเป็นหนังสือการรับรอง อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นการส่งเสริมการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้น่าเชื่อถือ และมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับ วิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูล การทําธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม อันจะเป็นการ ส่งเสริมความเชื่อมั่นในการทําธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์และเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในเวทีการค้าระหว่าง ประเทศ สาระสําคัญ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีทั้งหมด 46 มาตรา ซึ่งในหน่วยเรียนนี้จะ กล่าวถึง หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหมวด 6 บทกําหนดโทษใน บางมาตราเท่านั้น บทนิยามศัพท์ มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทําขึ้น โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือ โทรสาร ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่สร้างขึ้นให้อยู่ใน รูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนํามาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้น และเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น เจ้าของลายมือชื่อ หมายความว่า ผู้ซึ่งถือข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์และสร้างลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์นั้นในนามตนเองหรือแทนบุคคลอื่น
3 หมวด 1 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ การรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 7 “ห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” มาตรานี้นับเป็นมาตราสําคัญที่สุดของพระราชบัญญัตินี้โดยเป็นการกําหนดหลักการพื้นฐานมิให้เลือกปฏิบัติ ระหว่างสิ่งที่ทําขึ้นเป็นหนังสือกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แต่มาตรานี้เป็นเพียงมาตราที่ห้ามมิให้ปฏิเสธผลทาง กฎหมาย ของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น มิได้เป็นการรับรองว่าข้อมูลนั้นถูกต้องสมบูรณ์ การทําเป็นหนังสือ มาตรา 8 “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การใดต้องทําเป็นหนังสือ มี หลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทําข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึง และนํากลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว" มาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อขยายหลักการทั่วไปตามมาตรา 7 ซึ่งให้ถือว่าข้อความอิเล็กทรอนิกส์ที่ทําขึ้นนั้น เป็น ข้อความที่ได้ทําเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดงตามที่กฎหมายกําหนดแล้ว ลายมือชื่อ มาตรา 9 “ในกรณีที่บุคคลพึ่งลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น มีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความ ใน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน และ (2) วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์โดยคํานึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี วิธีการที่เชื่อถือได้ตาม (2) ให้คํานึงถึง ก. ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคล สภาพพร้อมใช้งานของทางเลือก ในการระบุตัวบุคคลกฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กําหนดไว้ในกฎหมายระดับความมั่นคงปลอดภัยของการใช้ ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับ
4 หรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทําธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทํา ธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร ข.ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทํา จํานวนครั้งหรือความสม่ําเสมอในการทําธุรกรรม ประเพณี ทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสําคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทํา หรือ ค. ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับการประทับตราของนิติ บุคคล ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโดยอนุโลม” มาตรานี้บัญญัติขึ้นเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อระบุหรือยืนยัน ตัวบุคคล เป็นอีกมาตราหนึ่งที่ขยายเงื่อนไขเพิ่มเติมมาตรา 7 มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติที่กําหนดขึ้นบนพื้นฐาน หลักความเท่าเทียมกันระหว่าง “ลายเซ็นหรือลายมือชื่อที่อยู่บนกระดาษ” กับลายมือชื่อที่อยู่ในรูปข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลายมือชื่อขึ้นอยู่กับคู่กรณีว่าจะประสงค์ใช้แบบใด การรับฟังพยานหลักฐานและชั่งน้ําหนักพยานหลักฐาน มาตรา 11 “ห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณาตาม กฎหมายทั้งในคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีอื่นใด เพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ในการชั่งน้ําหนักพยานหลักฐานว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จะเชื่อถือได้หรือไม่เพียงใดนั้น ให้พิเคราะห์ถึงความ น่าเชื่อถือ ของลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ลักษณะหรือวิธีการเก็บ รักษา ความครบถ้วน และไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความลักษณะ หรือวิธีการที่ใช้ในการระบุหรือแสดงตัวผู้ส่ง ข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง ให้นําความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับกับสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ด้วย มาตรานี้ได้กําหนดห้ามมิให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการพิจารณา คดีเพียงเพราะข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สัญญาและเจตนาในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มาตรา 13 “คําเสนอหรือคําสนองในการทําสัญญาอาจทําเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และห้ามมิให้ปฏิเสธ การมีผลทางกฎหมายของสัญญาเพียงเพราะเหตุที่สัญญานั้นได้ทําคําเสนอหรือคําสนองเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์” มาตรา 14 “ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล การแสดงเจตนาหรือคําบอกกล่าวอาจทําเป็นข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้”
5 การแสดงเจตนาและการทําสัญญาจะไม่ถูกปฏิเสธโดยผลของกฎหมายแม้กระทําขึ้นในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์โดยบทบัญญัติดังกล่าวจะคํานึงถึงหลักความศักดิ์สิทธิ์แห่งการแสดงเจตนา อย่างไรก็ตาม มาตรา 13 ยังใช้ได้กับ คําเสนอ หรือคําสนองอย่างใดอย่างหนึ่งทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ หมวด 2 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ มาตรา 26 “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ (1) ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อ โดยไม่เชื่อมโยงไปยัง บุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นํามาใช้ (2) ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสําหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การ ควบคุม ของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น (3) การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถตรวจพบได้ และ (4) ในกรณีที่กฎหมายกําหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มี การ เปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ลงลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติในวรรคหนึ่ง ไม่เป็นการจํากัดว่าไม่มีวิธีการอื่นใดที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือ ได้หรือการแสดงพยานหลักฐานใดเกี่ยวกับความไม่น่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์” หมวด 6 บทกําหนดโทษ มาตรา 44 “ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียนต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง หรือโดยฝ่าฝืนคําสั่งห้ามการ ประกอบธุรกิจ ของคณะกรรมการตามมาตรา 33 วรรคหก ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่ง แสนบาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ” มาตรา 45 “ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 34 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”
6 มาตรา 46 “บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่กระทําโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือผู้แทนนิติบุคคล หรือ ผู้ ซึ่งมีส่วนร่วมในการดําเนินงานของนิติบุคคล ต้องรับผิดในความผิดนั้นด้วยเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้เห็น หรือ มี ส่วนร่วมในการกระทําความผิดนั้น” พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 มีสาระสําคัญ เช่น มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม ทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 “วิธีการที่เชื่อถือได้ตาม (2) ให้คํานึงถึง (ก) ความมั่นคงและรัดกุมของการใช้วิธีการหรืออุปกรณ์ในการระบุตัวบุคคล สภาพพร้อมใช้งานของทางเลือก ในการระบุตัวบุคคล กฎเกณฑ์เกี่ยวกับลายมือชื่อที่กําหนดไว้ในกฎหมายระดับความมั่นคงปลอดภัยของการใช้ ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ การปฏิบัติตามกระบวนการในการระบุตัวบุคคลผู้เป็นสื่อกลาง ระดับของการยอมรับ หรือไม่ยอมรับ วิธีการที่ใช้ในการระบุตัวบุคคลในการทําธุรกรรม วิธีการระบุตัวบุคคล ณ ช่วงเวลาที่มีการทํา ธุรกรรมและติดต่อสื่อสาร (ข) ลักษณะ ประเภท หรือขนาดของธุรกรรมที่ทํา จํานวนครั้งหรือความสม่ําเสมอในการทําธุรกรรม ประเพณี ทางการค้าหรือทางปฏิบัติ ความสําคัญ มูลค่าของธุรกรรมที่ทํา หรือ (ค) ความรัดกุมของระบบการติดต่อสื่อสาร มาตรา 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 “ในกรณีที่มีการทําสิ่งพิมพ์ออกของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามวรรคหนึ่งสําหรับใช้อ้างอิงข้อความของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ หากสิ่งพิมพ์ออกนั้นมีข้อความถูกต้องครบถ้วนตรงกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และมีการรับรองสิ่งพิมพ์ ออกโดยหน่วยงานที่มีอํานาจตามที่คณะกรรมการประกาศกําหนดแล้ว ให้ถือว่าสิ่งพิมพ์ออกดังกล่าวใช้แทน ต้นฉบับได้”
7 พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 มีสาระสําคัญ เช่น มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ระบบข้อมูล” และคําว่า “การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์” ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 “ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ” หมายความว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอัตโนมัติอื่นที่ใช้เพื่อที่จะทําให้เกิดการกระทําหรือการตอบสนองต่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ การปฏิบัติการใด ๆ ต่อระบบข้อมูล ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วนโดยปราศจากการตรวจสอบหรือการ แทรกแซงโดยบุคคลธรรมดาในแต่ละครั้งที่มีการดําเนินการหรือแต่ละครั้งที่ระบบได้สร้างการตอบสนอง” มาตรา 10 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 17/1 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 “มาตรา 17/1 ในกรณีที่มีการลงข้อมูลผิดพลาดโดยบุคคลธรรมดาและส่งผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติของผู้อื่น และระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัตินั้นไม่มีช่องทางให้บุคคล ดังกล่าว แก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น บุคคลดังกล่าวหรือผู้แทนมีสิทธิที่จะถอนการแสดงเจตนาในส่วนที่เกิดจากการ ลงข้อมูลผิดพลาดได้ หาก (1) บุคคลดังกล่าวหรือผู้แทนได้แจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบถึงข้อผิดพลาดโดยพลันหลังจากที่ตนได้รู้ถึง ข้อผิดพลาดนั้นและแสดงให้เห็นว่าได้ส่งข้อมูลผิดพลาดผ่านระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ อัตโนมัติ และ (2) บุคคลดังกล่าวหรือผู้แทนไม่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ใด ๆ จากสินค้า บริการ หรือสิ่งอื่นใดอย่างมี นัยสําคัญจากอีกฝ่ายหนึ่ง มาตรา 14 ให้ยกเลิกความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และ ให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 34 ในกรณีที่พระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ใด เป็นกิจการที่ต้องได้รับอนุญาต ให้ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวยื่นคําขอรับใบอนุญาตต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา
8 ในการประกอบธุรกิจ ผู้ได้รับอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดในพระราชกฤษฎีกา ประกาศที่ คณะกรรมการกําหนด หรือเงื่อนไขในใบอนุญาต หลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวให้กำหนดเรื่องการชดใช้ หรือเยียวยา ผู้ได้รับความเสียหายจากการประกอบธุรกิจไว้ด้วย ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามวรรคสาม ให้ คณะกรรมการ พิจารณามีคําสั่งปรับผู้นั้นไม่เกินสองล้านบาท และให้นําความในมาตรา 33/1 วรรคหก และวรรค เจ็ด มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ในกรณีที่ผู้กระทําผิดตามวรรคสี่ไม่ดําเนินการแก้ไขตามคําสั่งของคณะกรรมการหรือ ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจตามวรรคสามซ้ําอีกภายในระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ คณะกรรมการมีคําสั่งปรับครั้งแรก คณะกรรมการอาจมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ได้รับใบอนุญาตนั้น ให้ พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งคําสั่งดังกล่าว ให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว” พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีสาระสําคัญ เช่น มาตรา 3 ให้เพิ่มบทนิยามคําว่า “การพิสูจน์และยืนยันตัวตน” และคําว่า “ระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตน ทาง ดิจิทัล” ระหว่างบทนิยามคําว่า “ระบบข้อมูล” และคําว่า “ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ อัตโนมัติ ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 “การพิสูจน์และยืนยันตัวตน” หมายความว่า กระบวนการพิสูจน์และยืนยันความถูกต้องของตัวบุคคล “ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล” หมายความว่า เครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างบุคคลใด ๆ หรือหน่วยงานของรัฐเพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน และการทําธุรกรรมอื่น ๆ ที่ เกี่ยวเนื่องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน” มาตรา 34/3 การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของบุคคลอาจกระทําผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทาง ดิจิทัลได้ ผู้ใดประสงค์จะอาศัยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของบุคคลอื่นผ่านระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล อาจแจ้งเงื่อนไขเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องใช้ให้บุคคลอื่นนั้นทราบเป็น การล่วงหน้าและเมื่อได้มีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ให้สันนิษฐานว่าบุคคลที่ ได้รับการพิสูจน์และ ยืนยันตัวตนเป็นบุคคลนั้นจริง เงื่อนไขเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
9 ทางดิจิทัลตามวรรคสอง ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการตามมาตรา 34/4 วรรคสอง แล้วแต่กรณีประกาศกําหนด โดยมีหลักประกันการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ของประชาชนโดยสะดวกและไม่ เลือกปฏิบัติ มาตรา 34/4 ในกรณีที่จําเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการ เสริมสร้าง ความน่าเชื่อถือและยอมรับในระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล หรือเพื่อป้องกันความ เสียหายต่อสาธารณชนให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากําหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์ และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลใด เป็นการประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องได้รับ ใบอนุญาตก่อน และให้นําบทบัญญัติ ในหมวด 3 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้บังคับโดย อนุโลม พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งอาจกําหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทําหน้าที่ ประกาศ กําหนดหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลจะต้อง ปฏิบัติ และให้ มีอํานาจพิจารณามีคําสั่งและดําเนินการอื่นใดตามมาตรา 34 ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนหรือ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจก็ได้ มาตรา 6 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 45/1 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 “มาตรา 45/1 ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล โดยไม่ได้รับ ใบอนุญาต ตามมาตรา 34/4 หรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลใน ระหว่างที่มีคําสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือภายหลังจากมีคําสั่งเพิกถอนใบอนุญาตของคณะกรรมการหรือคณะกรรมการ ตามมาตรา 34/4 วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ” มาตรา 7 ผู้ประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ใน วัน ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ดําเนินกิจการต่อไปได้ และเมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 34/4 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ กําหนดให้ เป็นธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องได้รับใบอนุญาตให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการ เกี่ยวกับระบบ การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลนั้น ยื่นคําขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระ ราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ และเมื่อได้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตแล้ว ให้ดําเนินกิจการต่อไปจนกว่าจะมีคําสั่งไม่ อนุญาต
10 2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสําคัญของการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์ หากมี ผู้กระทํา ด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางาน ผิดพลาดไปจาก คําสั่งที่กําหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่นใน ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จมีลักษณะอัน ลามกอนาจาร ย่อมให้เกิด ความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความ สงบสุขและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน สมควรกําหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550และโดยที่ พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550ใน ปัจจุบันบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับคอมพิว ใ นการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยของ รวดเร็วและโดยที่มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีภารกิจในการกําหนดมาตรฐานและ มาตรการ การปรับปรุงกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการระงับการทําให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกําหนด กําหนดฐานความผิดขึ้นใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดเดิม รวมทั้งบทกําหนดโทษของ ความผิดดังกล่าว เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ สมควรปรับปรุงบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ รักษาการตามกฎหมาย คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบซึ่งมีอํานาจเปรียบเทียบความผิดตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ ได้ผ่านการลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อ วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความ เดือดร้อน รําคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิก หรือ แจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง รวมทั้งลักษณะและปริมาณของข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับและลักษณะอันเป็นการบอกเลิก หรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย”
11 มาตรา 5 ให้ยกเลิกความในมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 12 ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 หรือมาตรา 11 เป็นการ กระทํา ต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความ ปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ คอมพิวเตอร์ ดังกล่าว ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10 เป็นการกระทําต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบ คอมพิวเตอร์ ตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสน บาท ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสามโดยมิได้มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความ ตายต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสี่แสนบาท” มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง วรรคสาม วรรคสี่ และวรรคห้าของมาตรา 13 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 “ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดตาม มาตรา วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดตาม มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 หรือมาตรา 11 หากผู้นําไปใช้ได้กระทําความผิดตาม มาตรา 1 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือต้องรับผิดตามมาตรา 12 วรรคสองหรือวรรคสี่ หรือมาตรา 12/1 ผู้ จําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งดังกล่าวจะต้องรับผิดทางอาญาตามความผิดที่มีกําหนดโทษสูงขึ้นด้วย ก็เฉพาะเมื่อ ตนได้รู้หรืออาจเล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลเช่นที่เกิดขึ้นนั้น ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด มาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หากผู้นําไปใช้ได้กระทําความผิดตามมาตรา 12 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม หรือ
12 ต้องรับผิดตาม วรรคสองหรือวรรคสี่ หรือมาตรา 12/1 ผู้จําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งดังกล่าวต้องรับผิดทาง อาญาตามความผิดที่มีกําหนดโทษสูงขึ้นนั้นด้วย ในกรณีที่ผู้จําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งผู้ใดต้องรับผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง และตามวรรคสามหรือ วรรคสีด้วยให้ผู้นั้นต้องรับโทษที่มีอัตราโทษสูงที่สุดแต่กระทงเดียว” มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสน บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ (1) โดยสุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่า ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อัน มิใช่ การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ โครงสร้าง พื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่ง ราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ประชาชน ทั่วไปอาจเข้าถึงได้ (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหก หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้ มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
13 “มาตรา 15 ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทําความผิดตามมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดตามมาตรา 14 ให้รัฐมนตรีออกประกาศกําหนดขั้นตอนการแจ้งเตือน การระงับการทําให้แพร่หลายของข้อมูลคอมพิวเตอร์ และ การนําข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าผู้ให้บริการพิสูจน์ได้ว่าตนได้ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามวรรคสอง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ” มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็น ภาพ ของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ วิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําต่อภาพของผู้ตาย และการกระทํานั้นน่าจะทําให้บิดามารดา คู่ สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ผู้กระทําต้องระวางโทษ ดังที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง เป็นการนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยสุจริตอันเป็นการติชม ด้วย ความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา ผู้กระทําไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ของ ผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย มาตรา 11 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 16/1 และมาตรา 16/2 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทํา ความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 16/1 ในคดีความผิดตามมาตรา 14 หรือมาตรา 16 ซึ่งมีคําพิพากษาว่าจําเลยมีความผิด ศาลอาจสั่ง (1) ให้ทําลายข้อมูลตามมาตราดังกล่าว
14 (2) ให้โฆษณาหรือเผยแพร่คําพิพากษาทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หรือสื่ออื่นใด ตามที่ศาลเห็นสมควร โดยให้จําเลยเป็นผู้ชําระค่าโฆษณาหรือเผยแพร่ (3) ให้ดําเนินการอื่นตามที่ศาลเห็นสมควรเพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทําความผิดนั้น มาตรา 13 ให้ยกเลิกความในมาตรา 18 และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ ว่า มีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือในกรณีที่มีการร้องขอตามวรรคสองให้พนักงานเจ้าหน้าที่มี อํานาจ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จําเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทํา ความผิดและ หาตัวผู้กระทําความผิด (1)มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดมาเพื่อให้ถ้อยคําส่งคําชี้แจงเป็น หนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ (2)เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือ จากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง (3) สั่งให้ผู้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บมาตรา 26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือ ควบคุม ของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือให้เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ก่อน (4) ทําสําเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า มีการกระทําความผิด ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่ (5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ส่งมอบ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ (6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ ใช้เก็บ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิด หรือ เพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทําความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่ เกี่ยวข้องเท่าที่จําเป็นให้ด้วยก็ได้
15 (7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูล คอมพิวเตอร์ ทําการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว (8)ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จําเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิด และผู้กระทําความผิด มาตรา 23 พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานสอบสวนในกรณีตามมาตรา 18 วรรคสอง ผู้ใดกระทําโดย ประมาท 75 เป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ ได้มาตรา 18 ต้อง ระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 24 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือพนักงานสอบสวนได้มาตามมาตรา 18 และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจําคุกไม่ เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ 3. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้ ได้กําหนดคําศัพท์ต่าง ๆ ไว้ดังนี้ “ธุรกิจ” หมายความว่า กิจการในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การบริการ หรือกิจการอื่นที่มี ลักษณะคล้ายคลึงกัน “สินค้า” หมายความว่า สิ่งของที่อาจใช้ในการอุปโภคหรือบริโภค รวมทั้งเอกสารแสดงสิทธิในสิ่งของ “บริการ” หมายความว่า การรับจัดทําการงาน การให้สิทธิใด ๆ การให้ใช้หรือให้ประโยชน์ในทรัพย์สินหรือ กิจการ ใด ๆ โดยเรียกค่าตอบแทนเป็นเงิน หรือผลประโยชน์อื่น “จําหน่าย” หมายความว่า ขาย แลกเปลี่ยน ให้ จ่ายแจก โอนสิทธิการครอบครองสินค้าให้แก่บุคคลอื่น หรือ ให้บริการ “ผลิต” หมายความว่า ทํา ผสม ปรุง ประกอบ ประดิษฐ์ แปรสภาพ เปลี่ยนรูป ดัดแปลง คัดเลือก แบ่งบรรจุ รวมบรรจุ หรือทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด รวมทั้งการทําให้มีขึ้นซึ่งชื่อทางการค้าหรือ เครื่องหมายการค้าสําหรับสินค้านั้นไม่ว่าจะทําเองหรือให้ผู้อื่นทําให้ก็ตาม “ราคา” หมายความว่า ค่าตอบแทนสําหรับการจําหน่ายด้วย
16 มาตรา 24 เพื่อป้องกันการกําหนดราคาซื้อ ราคาจําหน่ายหรือการกําหนดเงื่อนไขและวิธีปฏิบัติทางการค้า อันไม่เป็นธรรม กกร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี มีอํานาจประกาศกําหนดให้สินค้าหรือบริการใดเป็น สินค้า หรือบริการควบคุมได้ มาตรา 25 เมื่อได้มีการประกาศกําหนดสินค้าหรือบริการควบคุมตามมาตรา 24 แล้ว ให้คณะกรรมการมี อํานาจ ดังต่อไปนี้ (1) กําหนดราคาซื้อหรือราคาจําหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุม ให้ผู้ซื้อซื้อในราคาไม่ต่ำกว่าราคาที่กําหนด หรือ ให้ผู้จําหน่ายจําหน่ายในราคาไม่สูงกว่าราคาที่กําหนด หรือตรึงราคาไว้ในราคาใดราคาหนึ่ง (2) กําหนดอัตรากําไรสูงสุดต่อหน่วยของสินค้าหรือบริการควบคุมที่ผู้จําหน่ายจะได้รับจากการจําหน่ายสินค้า หรือ บริการควบคุม หรือกําหนดอัตราส่วนแตกต่างระหว่างราคาซื้อกับราคาขายสินค้า หรือบริการควบคุมในแต่ละ ช่วงการค้า (3) กําหนดหลักเกณฑ์ มาตรการ และเงื่อนไขให้ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิต การนําเข้ามาในราชอาณาจักร การส่งออกไปนอกราชอาณาจักร การซื้อ การจําหน่าย หรือการเก็บรักษาสินค้าหรือบริการควบคุม (4) กําหนดท้องที่หรือระยะเวลาในการใช้บังคับประกาศของคณะกรรมการ (5) กําหนดให้แจ้งปริมาณ สถานที่เก็บ ต้นทุน ค่าใช้จ่าย แผนการผลิต แผนการนําเข้ามาในราชอาณาจักร แผนการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร แผนการซื้อ แผนการจําหน่าย แผนการเปลี่ยนแปลงราคาหรือรายการอื่นใด หรือ ส่วนลดในการจําหน่าย กระบวนการผลิต และวิธีการจําหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุมต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (6) กําหนดให้มีการเก็บหรือเพิ่มปริมาณการเก็บสํารองสินค้าควบคุมและกําหนดท้องที่และสถานที่ให้เก็บ สํารอง สินค้าควบคุม (7) ห้ามหรืออนุญาตให้มีการส่งออกไปนอกหรือนําเข้ามาในท้องที่หนึ่งซึ่งสินค้าควบคุม (8) สั่งให้ผู้ประกอบการธุรกิจปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต การนําเข้ามาในราชอาณาจักร การซื้อ การ จําหน่าย (9) จัดให้มีการปันส่วนในการซื้อและการจําหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุม รวมทั้งกําหนดหลักเกณฑ์และ เงื่อนไขในการปันส่วนดังกล่าว หรือกําหนดเงื่อนไขในการซื้อ และการจําหน่ายสินค้าหรือบริการควบคุม ฯลฯ
17 4. จรรยาบรรณในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จรรยาบรรณในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักเกณฑ์ที่ประชาชนหรือคนส่วนใหญ่ที่ใช้ งานคอมพิวเตอร์ได้ตกลงร่วมกันหรือมีความคิดเห็นในแนวทางเดียวกัน โดยความคิดเห็นหรือข้อตกลงร่วมนี้ถูกใช้ เพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน สําหรับตัวอย่างของการยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณ เช่น การให้ คอมพิวเตอร์ทําร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหายหรือก่อความรําคาญ หรือการใช้คอมพิวเตอร์ในการขโมย ข้อมูล หรือการเข้าถึง ข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เป็นต้น โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงจรรยาบรรณในการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว นิยมกล่าวถึงหลัก พิจารณา ใน 4 ประเด็น ดังนี้ 4.1 ความเป็นส่วนตัว (Privacy) หมายถึง ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั่วไป หมายถึง สิทธิ์ที่จะอยู่ตามลําพัง และเป็นสิทธิ์ที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับผู้อื่น สิทธิ์นี้ ใช้ได้ ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็น ข้อน่าสังเกต 4.1.1การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง การบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร 4.1.2 การใช้เทคโนโลยีในการติดตามเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ ใน การตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทํางานเพื่อ การ พัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทําเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม 4.1.3 การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด 4.1.4 การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ เพื่อ นําไป สร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนําไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิด สิทธิ ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเทอร์เน็ตที่มี การใช้โพรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล
18 4.2 ความถูกต้อง (Accuracy) หมายถึง ความถูกต้องของข้อมูลที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการ รวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น โดยความถูกต้องของข้อมูลจะส่งผลถึงความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย 4.3 ความเป็นเจ้าของ (Intellectual Property) หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินซึ่งอาจเป็น ทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ ซีดี ดีวีดี เป็น ต้น 4.4 การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) หมายถึง สิทธิ์ในการเข้าใช้งานโปรแกรมหรือระบบ คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะมีการกําหนดสิทธิ์ตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดําเนินการต่าง ๆ กับข้อมูลของ ผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิ์ในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไขปรับปรุง และการลบ เป็นต้น สภาพการณ์การใช้งานคอมพิวเตอร์และการทําธุรกรรมดิจิทัลในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น สืบเนื่อง จาก "ซึ่งส่งผลให้กรอบจริยธรรมที่เคยเป็นข้อตกลงร่วมหรือแนวคิดร่วมของกลุ่มคนในสังคมที่ใช้เป็นหลักพิจารณา ในการใช้เทคโนโลยีเริ่มไม่เพียงพอ เพราะในบางครั้งเทคโนโลยีได้ ความซับซ้อนของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ การสื่อสาร ถูกออกแบบมาให้ละเมิดกรอบจริยธรรมเหล่านี้โดยธรรมชาติ เช่น การใช้เฟซบุ๊ก (Facebook) โดย หลักการแล้ว โปรแกรมประยุกต์นี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่ง เป็นหลักการที่ดี แต่ในขณะเดียวกันโปรแกรมนี้ส่งเสริมให้เกิดมีการละเมิดความเป็นส่วนตัวไปพร้อม ๆ กัน หรือ เปิดช่องทางให้มิจฉาชีพ นําข้อมูลส่วนตัวเหล่านี้ไปใช้ในทางเสียหาย เรียกปัญหาในลักษณะนี้ว่าเป็นปัญหาการใช้ เทคโนโลยีกับสังคม ดังนั้น กรอบจริยธรรมหรือหลักยึดถือทางด้านจริยธรรมด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี สารสนเทศเพียงอย่างเดียวจะไม่เพียงพอ ต่อการควบคุมกลุ่มผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากกลไกการ พัฒนาทางเทคโนโลยีมีทิศทางที่ละเมิดกรอบ จริยธรรมที่เคยยึดถือปฏิบัติ ดังนั้น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศจึง เกิดขึ้นเนื่องจากความจําเป็นของสังคม (Social Necessity) และเพื่อให้สังคมมีความเป็นปึกแผ่น (Solidarity)
19 5. จรรยาบรรณในการทําธุรกิจดิจิทัล การทําธุรกิจดิจิทัล ควรมีจรรยาบรรณดังนี้ 5.1 ขายสินค้าบริการในราคายุติธรรมและตรงตามคุณภาพที่ระบุไว้ 5.2 ละเว้นการกลั่นแกล้ง ให้ร้ายป้ายสี ข่มขู่หรือกีดกัน ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม 5.3 ควรตรงไปตรงมา ชัดเจน แน่วแน่น 5.4 ไม่ละเมิดสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่น 5.5 ไม่ส่งสแปมเมลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ขยะ เพื่อสร้างความรําคาญให้แก่ผู้รับ 5.6 ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขดูแฟ้มของผู้อื่น 5.7 ไม่เปิดเผยหรือนําข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต 5.8 ต้องลงทะเบียนการค้าพาณิชย์และเสียภาษีร้านค้าให้ถูกต้อง 5.9 ต้องตรวจสอบสินค้าที่นําเสนอ ว่าต้องเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย ส่วนผสมในตัวผลิตภัณฑ์ต้องไม่ เกิด อันตรายกับผู้ใช้โดยมีเครื่องหมาย อย. (สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา) กํากับสินค้า และมีการนําเข้า สินค้า อย่างถูกต้อง ไม่ปลอมแปลงหรือคัดลอกสินค้าจากผู้อื่น 5.10 ต้องระบุรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน พร้อมระบุด้วยว่าสินค้านี้พร้อมขายหรือไม่ ต้องนําเสนอตาม คุณภาพ และสรรพคุณตามสินค้าที่แท้จริง ไม่มีการตกแต่งหรือรีวิวผลลัพธ์ของสินค้าเกินจริง 5.11 จะต้องมีระบบการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการถูกลักลอบนําข้อมูลของลูกค้าไปใช้ ซึ่งถือ ว่า เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล 5.12 ต้องตรวจสอบและพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดความแน่ใจในตัวสินค้าก่อนส่งมอบ 5.13 ไม่หลอกลวงลูกค้าด้วยการส่งสินค้าที่ผิดแปลกไปจากที่ตกลงกันไว้ และไม่ส่งสินค้าของปลอมแล้ว หลอกลวง ว่าเป็นของแท้ให้กับลูกค้า
20 6. จรรยาบรรณของนักคอมพิวเตอร์ การทําธุรกรรมดิจิทัลเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด จึงต้องมีจรรยาบรรณคอมพิวเตอร์ จรรยาบรรณคอมพิวเตอร์ หมายถึง หลักความประพฤติปฏิบัติอันเหมาะสมแสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมที่ พึงปฏิบัติ ในการประกอบวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ได้ประมวลขึ้นเป็นหลักเพื่อให้สมาชิกในสาขาต่าง ๆ ของวิชาชีพ คอมพิวเตอร์ ยึดถือปฏิบัติ โดยมุ่งเน้นถึงจริยธรรม ปลูกฝัง และเสริมสร้างให้สมาชิกมีจิตสํานึกเกิดขึ้นในตนเอง เกี่ยวกับ การประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกต้องและมุ่งหวังให้สมาชิกได้ยึดถือเพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณ ของสมาชิกและสาขาวิชาชีพของตน สามารถจําแนกหลักจรรยาบรรณได้ดังนี้ 6.1 จรรยาบรรณต่อตนเอง หมายถึง การยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ปฏิบัติหน้าที่และดํารงชีวิตเหมาะ 6.1.1 ประกอบวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีความยุติธรรม ใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ 6.1.2 ผู้ประกอบวิชาชีพคอมพิวเตอร์จะมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุความสําเร็จ 6.2 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน หมายถึง การตั้งมั่นอยู่ในความถูกต้อง มีเหตุผล และรู้รักสามัคคี ซึ่งมีหลัก เป็นการพัฒนาตนและงานที่รับผิดชอบอันจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ตนเองและหน่วยงานที่สังกัดงานสูงสุดปฏิบัติ ดังนี้ 6.2.1 ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธิ์เดิมอย่างเป็นลาย ลักษณ์อักษร 6.2.2ให้ความยกย่องและนับถือผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพทุกระดับที่มีความรู้ความสามารถและความ ประพฤติดี 6.2.3 รักษาและแสวงหามิตรภาพระหว่างผู้ร่วมงานและผู้ร่วมอาชีพ 6.3 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ หมายถึง การไม่ประพฤติหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติ ใน วิชาชีพแห่งตน ซึ่งมีหลักปฏิบัติดังนี้ 6.3.1 ใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทําลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย 6.3.2 ไม่แอบอ้าง อวดอ้าง ดูหมิ่นต่อบุคคลอื่น ๆ หรือกลุ่มวิชาชีพอื่น 6.3.3 ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อส่งเสริมเกียรติคุณของวิชาชีพ ผู้ร่วมอาชีพและเพื่อพัฒนา
21 6.4 จรรยาบรรณต่อสังคม หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตนในวิชาชีพนักคอมพิวเตอร์ที่ดีเป็นแบบอย่าง ที่ดีของสังคม ซึ่งมีหลักปฏิบัติดังนี้ 6.4.1ไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสําหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ ด้วยกฎระเบียบและหลักคุณธรรมจริยธรรม 6.4.2 ไม่ใช้อํานาจหน้าที่โดยไม่ชอบธรรมในการเอื้อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ 6.4.3 ไม่ใช้ความรู้ความสามารถไปในทางล่อลวง หลอกลวง จนเป็นเหตุให้เกิดผลเสียต่อผู้อื่น 6.5 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ หมายถึง ความเคารพในสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของผู้อื่น ปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม ซึ่งมีหลักปฏิบัติดังนี้ 6.5.1 รับฟังความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างบุคคล เครือข่าย และองค์กรที่เกี่ยวข้อง 6.5.2 เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและสามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้ลักษณะการใช้งาน คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าผิดต่อหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น บริษัทผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลูกค้าเป็น ดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงแล้วพนักงานในบริษัทใช้คอมพิวเตอร์ หรือในการตรวจค้นดูข้อมูลส่วนตัวของ ดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งอาจเกิดจากความนิยมในตัวดาราหรือบุคคลที่มีชื่อเสียงนั้นเป็นการส่วนตัว โดยมิได้ เผยแพร่ ข้อมูลที่ตนเองพบกับบุคคลอื่น ถือว่าผิดหลักจรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ แต่ถ้าพนักงานผู้นั้นนําข้อมูล ส่วนตัวของดาร ไปเผยแพร่หรือบอกกล่าวกับบุคคลอื่น โดยอาจจะเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือการ เล่าสู่กันฟังกับคนรู้จัก ความผิดที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่เพียงความผิดต่อหลักจรรยาบรรณ แต่จะกลายเป็นความผิดต่อ กฎหมายด้วย โดยถ้าเผยแพร่ข้อมูลทางระบบคอมพิวเตอร์จะเป็นความผิดตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่ถ้าเป็นการเผยแพร่แบบเล่าสู่กันฟังจะเป็นการกระทําความผิดตาม กฎหมายแพ่งและอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาท ด้วยการประชาสัมพันธ์ หรือการที่นายจ้างในบริษัทจับหรือเฝ้าดู การปฏิบัติงาน การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่า จะเป็นการติดตามการทํางานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้ บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานจะถูกเฝ้าดูด้วย
22 ส่งผลให้พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทําลักษณะนี้ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณต่อเพื่อนร่วมงาน หรือ 79 การที่เจ้าหน้าที่ซ่อมบํารุงคอมพิวเตอร์ทําการสับเปลี่ยนอะไหล่คอมพิวเตอร์บางชิ้นที่มีราคาสูงของลูกค้า ที่มารับบริการออกไป แล้วเปลี่ยนแทนที่ด้วยชิ้นส่วนที่พอใช้งานได้แทน โดยมุ่งหวังที่จะนําชิ้นส่วนที่สับเปลี่ยนนั้น มาจําหน่ายต่อไป สําหรับ การกระทําในลักษณะเช่นนี้จะมีความผิดต่อหลักจรรยาบรรณในเรื่องจรรยาบรรณต่อ ตนเองและผู้รับบริการ ซึ่งมีความผิดตามกฎหมายแพ่งและอาญาว่าด้วยการลักทรัพย์ด้วย โดยสรุป หลักจรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์เป็นเพียงแนวทางที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางด้านคอมพิวเตอร์จึงยึดถือ ปฏิบัติเพื่อให้เกิดจิตสํานึกในตนเองเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร และมุ่งหวังให้สมาชิกได้ยึดถือ เพื่อรักษาชื่อเสียงและส่งเสริมเกียรติคุณของสมาชิกและสาขาวิชาชีพของตนทั้งต่อตนเอง ต่อผู้ร่วมงาน ต่อวิชาชีพ ต่อสังคมและต่อผู้รับบริการ เกร็ดความรู้ เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการใช้ชีวิต รวมไปถึงความเจริญก้าวหน้าที่นําพาให้คนในสังคมต้องตื่นตัวและ ตระหนัก ในการใช้งานสิ่งต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะในเรื่องของการทําธุรกิจ ธุรกิจออนไลน์ เมื่ออินเทอร์เน็ตทําให้ ทุกอย่างง่ายขึ้น ส่งผลให้การแสวงหาผลประโยชน์ทําได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งทุกคนควร ตระหนักถึงจรรยาบรรณ ในหน้าที่ของตน เช่น ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความโปร่งใส (Transparency) ความลับและความเป็นส่วนตัว (Confidentiality and Privacy) และสิ่งสําคัญ คือ มาตรการในการเก็บรักษา ข้อมูล และการคุ้มครองสิทธิ ในทรัพย์สินทางปัญญา Web Guide https://mgronline.com/smes/detail/9580000117038 https://www.smeonline.rmutt.ac.th/61/?p=3011 https://bit.ly/3wlXtF5 QR-Code หน่วยที่ 4 กฎหมายและจรรยาบรรณการประกอบกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
23 สรุปประเด็นสําคัญ พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2545 นับเป็น กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรกที่ใช้บังคับกับการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท ในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสําคัญของการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย์ หากมี ผู้กระทํา ด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไว้หรือทําให้การทํางาน ผิดพลาดไปจาก คําสั่งที่กําหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทําลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดย มิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จมีลักษณะ อันลามกอนาจาร ย่อม ก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรม อันดีของประชาชน สมควรกําหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทําดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการตรา พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2550 และโดยที่พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ใน ปัจจุบัน ซึ่งมีรูปแบบการกระทําความผิดที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามพัฒนาการทางเทคโนโลยี ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและโดยที่มีการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งมีภารกิจ ในการกําหนด มาตรฐานและมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ รวมทั้งการเฝ้าระวังและติดตาม สถานการณ์ด้าน ความมั่นคงปลอดภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ สมควรปรับปรุง บทบัญญัติในส่วนที่ เกี่ยวกับผู้รักษาการตามกฎหมาย กําหนดฐานความผิดขึ้นใหม่ และแก้ไขเพิ่มเติม ฐานความผิดเดิม รวมทั้งบทกําหนด โทษของความผิดดังกล่าว การปรับปรุงกระบวนการและหลักเกณฑ์ในการระงับ การทําให้แพร่หลายหรือลบ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตลอดจนกําหนดให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบ ซึ่งมีอํานาจ เปรียบเทียบความผิดตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ แก้ไขเพิ่มเติมอํานาจหน้าที่ของ พนักงานเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัติว่าด้วย การกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดยพระราชบัญญัตินี้ได้ผ่านการลง พระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราช กิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2560
24 กิจกรรมเสนอแนะ 1. ผู้สอนสุ่มตัวอย่างจากผู้เรียนทีละคน ให้บอกจริยธรรมในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือธุรกิจออนไลน์ คนละ 1 ข้อ โดยนําเสนอหน้าชั้นเรียน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 คนละ 1 มาตรา โดยนําเสนอหน้าชั้นเรียน 2. ผู้สอนสุ่มตัวอย่างจากผู้เรียนทีละคน ให้อธิบายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์
25 ใบงานที่ 4 ใบงานที่ 4.1 เรื่อง ข่าวการกระทําความผิดในการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คําชี้แจง ให้ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับข่าวการหลอกลวงในการทําธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พร้อมทั้งบทลงโทษที่ผู้กระทําผิด ได้รับ แล้วสรุปนําเสนอหน้าชั้นเรียน ใบงานที่ 4.2 เรื่อง การกระทําความผิดในกรณีส่งสินค้าไม่ตรงกับสินค้าจริง คําชี้แจง ให้ผู้เรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการกระทําความผิดในกรณีส่งสินค้าไม่ตรงกับสินค้าจริง โดยให้อธิบายเกี่ยวกับ วิธี ป้องกันหรือแก้ไขในกรณีที่เกิดขึ้น แล้วนําเสนอหน้าชั้นเรียน การประเมินผล การประเมินและรายการประเมิน 5=ดีเยี่ยม 4 = ดีมาก 3 = ดี2 = พอใช้1=ไม่ผ่าน ลำดับ รายการประเมิน เกณฑ์การประเมิน 5 4 3 2 1 1 พฤติกรรมการทํางาน 2 การตรงต่อเวลา 3 ความคิดสร้างสรรค์ 4 ความถูกต้องและน่าสนใจ 5 เทคนิคการนําเสนอ/ตอบข้อซักถาม รวม ข้อเสนอแนะ
26 ONLINE TEST แบบทดสอบหลังเรียน ตอนที่ 1 จงทําเครื่องหมายกากบาท (X) ลงหน้าข้อที่ถูกต้องที่สุด 1. มาตราใดของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ที่เป็น บทนิยามศัพท์ ก. มาตรา 1 ข. มาตรา 2 ค. มาตรา 3 ง. มาตรา 4 จ. มาตรา 5 2. มาตราใดที่สําคัญที่สุดของพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ก. มาตรา 5 ค. มาตรา 7 จ. มาตรา 9 ข. มาตรา 6 ง. มาตรา 8 3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับแรก คือปี พ.ศ. ใด ก. พ.ศ. 2520 ค. พ.ศ. 2559 จ. พ.ศ. 2562 ข. พ.ศ. 2550 ง. พ.ศ. 2560
27 4. ผู้ใดจําหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้น ดยเฉพาะเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการกระทําความผิดตามมาตรา 12 วรรค หนึ่ง หรือวรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินกี่บาท ก. หนึ่งหมื่นบาท ข. สองหมื่นบาท ค. สามหมื่นบาท ง. สี่หมื่นบาท จ. ห้าหมื่นบาท 5. มาตรา 16 ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพ ที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการ ที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินกี่ปี ก. 3 ปี ข. 4 ปี ค. 5 ปี ง. 6 ปี จ. 10 ปี 6. ค่าตอบแทนสําหรับการจําหน่ายเรียกว่าอะไร ก. รายได้ ค. ราคา จ. กําไร ข. รายจ่าย ง. ผลประโยชน์
28 7. คณะกรรมการที่รับผิดชอบการกําหนดราคาซื้อราคานําหน่าย ก. กกร. ค. กบค. จ. กตร. ข. กกต. ง. กรช. 8. การไม่เรียกรับหรือยอมรับทรัพย์สินหรือ ผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งสําหรับตนเอง หรือผู้อื่น เป็นการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณข้อใด ก. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ข. จรรยาบรรณต่อสังคม ค. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน ง. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จ. จรรยาบรรณต่อตนเอง 9. การใช้ความรู้ความสามารถในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช้ในทางทําลายหรือกลั่นแกล้งให้ผู้อื่นได้รับ ความเสียหาย เป็นการปฏิบัติตาม จรรยาบรรณข้อใด ก. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ ข. จรรยาบรรณต่อสังคม ค. จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมงาน ง. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จ. จรรยาบรรณต่อตนเอง 10. ข้อใดหมายถึงสิทธิในการเข้าใช้งาน ก. Privacy ข. Accuracy ค. Intellectual Property ง. Data Accessibility จ. User Access
29 ตอนที่ 2 จงเติมคําหรือข้อความลงในช่องว่างต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1. ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 2. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 3. เจ้าของลายมือชื่อ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 4. ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์อัตโนมัติ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 5. ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
30 6. ธุรกิจ คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 7. สินค้า คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 8. ความเป็นส่วนตัว (Privacy) คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 9. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) คือ…………………………………………………………………………………………………………………………………………….. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. …………………………………………………………………………………………………………………………………………………. 10. การทําธุรกิจดิจิทัล ควรมีจรรยาบรรณ ดังนี้…………………………………………………………………………………………………………………………………………… ..……………………………………………………………………………………………………………………………………………….. ….………………………………………………………………………………………………………………………………………………
31 ตอนที่ 3 จงจับคู่ข้อความต่อไปนี้ให้สัมพันธ์กัน 1. ............ความเป็นส่วนตัว A. Data Accessibility 2. ..……….ความถูกต้อง B. Solidarity 3. ………….ความเป็นเจ้าของ C. Law 4. .............การเข้าถึงข้อมูล D. Social Network 5. ..............ความจำเป็นของสังคม E. Intellectual Property 6. ..............ความเป็นปึกแผ่น F. Information Privacy 7. …………..ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ G. มาตรา 26 8. …………..กฎหมาย H. Information Technology 9. …………..ระบบแลกเปลี่ยน I.ค่าตอบแทนสําหรับการจําหน่าย 10. ..............ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ราคา J. Information Accuracy K. สิ่งของที่อาจใช้ในการอุปโภคหรือบริโภค L. มาตรา 3 M. Social Necessity