The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

องค์ประกอบความผิด
การรับผิดตามมาตรา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Suriyaporn Waiworasuk, 2022-09-15 21:43:41

อาญา e-book สุริยาพร 641081381

องค์ประกอบความผิด
การรับผิดตามมาตรา

ลักษณะ 2
ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
หมวดที่ 1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน

จัดทำโดย
นางสาวสุริยาพร ไวทย์วรศุข

รหัสนิสิต641081381

เสนอ
อาจารย์วีณา สุวรรณโณ

E-book เล่มหนี้เป็นส่วนหนึ่งของ
รายวิชา0801241

คำนำ

E-book เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
กฏหมายอาญา ภาคความผิด มีเนื้อหาเกี่ยว
กับหมวด1 ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งมีราย
ละเอียดปรถกอบด้วยมาตรา 136 ถึง มาตรา
146 โดยรวบรวมข้อมูลมาเพื่อให้ผู้สนใจได้
ศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติม

หากผิดพลาดประการใด ขอ อภัย มา ณ
ที่นี้ด้วย

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1-2

มาตรา 136ดูหมิ่นเจ้าหนักงาน

มาตรา17 แจ้งข้ออันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน 3-5

มาตรา138 ต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงาน 6-7

มาตรา139 ข่มขืนใจเจ้าพนักงาน 8-9

มาตรา140 กระทำโดยมีอาวุธ หรือใช้อาวุธ 10-11

มาตรา 141 กระทำต่อตราที่เจ้าพนักงานประทับไว้ 12-3

มาตรา 142กระทำต่อสิ่งที่เจ้าพนักงานยึดไว้ 13-14

มาตรา 143 คนกลางเรียนรับบสินบน 15-16

มาตรา 144 ให้สินบนเจ้าพนักงาน 17-18

มาตรา145แสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าเจ้าพนักงาน 19-20

มาตรา146สวมเครื่องและประดับเครื่องหมาย 21-22

ดูหมิ่นเจ้าพนักงาน มาตรา 136

มาตรา 136 ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการ
ตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้ที่ ต้องระวางโทษจำ
คุกหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ การดู
หมิ่นเจ้าพนักงานตามมาตรา 136

หากเป็นการกระทำ”ซึ่งหน้า” ก็เป็นความผิดตาม
มาตรา 393 อีกบทหนึ่งด้วยอย่างแน่นอน แต่น่าจะต้องถือว่า
มาตรา 136 เป็น “บทเฉพาะ” และมาตรา 393 เป็น “บท
ทั่วไป” จึงลงโทษตามมาตรา 136 อันเป็นบทเฉพาะ

ดูหมิ่น คือ ดูถูกเหยียดหยาม ทำให้อับอายเสียหาย
สบประมาท หรือด่า ไม่เพียงแต่คำหยาบคาย ไม่สุภาพ คำ
แดกดัน คำสาปแช่ง หรือคำขู่อาฆาตต่างกับหมิ่นประมาทตาม
มาตรา 326 ซึ่งเป็นการใส่ความทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย
และการดูหมิ่นลดคุณค่าของผู้ถูกดูหมิ่นลงโดยไม่ต้องกล่าวต่อ
บุคคลที่สาม

ส่วนองค์ประกอบความผ
ิด

ตามมาตรา 136 ดูหมิ่นเจ้าพนักงานนั้น มีองค์ประกอบความผิดดังนี้
1. ดูหมิ่น
2. เจ้าพนักงานซ่ึงกระทาตามหน้าท่ีหรือเพราะได้กระทำการตาม
หน้าที่
3. โดยเจตนา

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8422/2558
การที่จำเลยที่ 1 พูดจาให้ร้ายผู้เสียหายขณะปฏิบัติหน้าที่เข้าตรวจค้นร้าน
โดยใช้คำว่า "ปลัดส้นตีน" ซึ่งเป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม เป็นการกระทำความ
ผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ ตาม ป.อ. มาตรา 136
สำเร็จแล้วกระทงหนึ่ง ส่วนการที่จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 ทำให้ผู้เสียหาย
เกิดความกลัวหรือความตกใจโดยการขู่เข็ญขณะที่ผู้เสียหายเข้าตรวจภายใน
ร้าน โดยจำเลยที่ 1 พูดขึ้นว่า ไปเอาปืนมายิงให้ตาย อย่าให้ออกไปได้ แล้ว
จำเลยที่ 2 วิ่งไปหยิบไม้เบสบอลมาตีผู้เสียหาย 1 ที จำเลยที่ 1 เอาไม้กวาดไล่ตี
ผู้เสียหาย เป็นการกระทำต่อเนื่องกันไป โดยมีเจตนาเดียวกันคือทำร้ายผู้เสีย
หาย จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกับการร่วมกันใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึง
กับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8016/2556
จำเลยกล่าวถ้อยคำว่า "ตำรวจแม่ง...ใช้ไม่ได้" เพราะรู้สึกว่าเจ้าพนักงาน
ตำรวจไม่ให้ความสำคัญต่อคำชี้แจงของตน ทำให้จำเลยรู้สึกว่าไม่ได้รับความ
เป็นธรรม จึงกล่าวตำหนิการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ อันเป็นเพียง
คำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น แต่ไม่ถึงขั้นมุ่งหมายที่จะด่า ดูถูก
เหยียบหยามหรือสบประมาทเจ้าพนักงานตำรวจแต่อย่างใด จึงไม่เป็นความ
ผิดตาม ป.อ. มาตรา 136

แจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานมาตรา 137

มาตรา 137 ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้า
พนักงาน ซึ่งอาจทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย ต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนองค์ประกอบความผิด
1.มีการกระทำ(แจ้งความอันเป็นเท็จ)
2.แก่เจ้าพนักงาน
3.ทำให้ผู้อื่นหรือประชาชนเสียหาย
4.ผลของการกระทำสัมพันธ์กับการกระทำตามหลักในเรื่อง
ความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล(โดยเจตนา)

ข้อสังเกตุ
1 ผู้แจ้งความเท็จนั้นอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ได้
2 การแจ้งความเท็จอาจทำโดย
-การบอกกับเจ้าพนักงาน
-การตอบคำถามเจ้าพนักงาน เช่น ให้การเท็จในฐานะเป็นพยาน
-การแจ้งโดยวิธีแสดงหลักฐาน
3 ข้อความที่เเจ้งต้องเป็นข้อเท็จจริงในอดีตหรือในปัจจุบันหาเป็นหากเป็น
เรื่อง‘อนาคต’ ไม่เป็นความเท็จ
4 การแจ้งความเท็จนั้นต้องมีลักษณะเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงมิใช่การแสดงความคิด
เห็นหรือการคาดคะเนถึงเหตุการณ์ในอนาคต
5 การแจ้งความเท็จนั้นผู้แจ้งต้องกระทำโดยเจตนา กล่าวคือ ต้องรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่
แจ้งนั้นเป็นเท็จ ไม่เป็นความจริงตามที่แจ้งเพราะหากแจ้งตามที่เข้าใจเช่นนี้ถือว่าผู้
แจ้งไม่มีเจตนา

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 981/2561

การที่จำเลยรู้ว่ามิได้เกิดเหตุลักทรัพย์รถกระบะ แต่กลับแจ้งแก่พนักงาน
สอบสวนว่ามีคนร้ายลักทรัพย์รถกระบะที่จำเลยเช่าซื้อไป เพื่อจะนำเงินที่ได้รับ
จากบริษัทผู้รับประกันภัยไปชำระค่างวดแก่ธนาคาร ก. ผู้ให้เช่าซื้อ การกระทำ
ของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 173 อันเป็นบทบัญญัติเฉพาะแล้ว
ไม่จำต้องปรับบทตามมาตรา 137 อันเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความ
อันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีก และเมื่อไม่เกิดมีความผิดอาญาฐานลัก
ทรัพย์เกิดขึ้นในคดีนี้ จึงไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2560

ขณะที่จำเลยที่ 1 ไปจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงเพื่อประกัน


หนี้เงินกู้ให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 2556 คดีที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้อง ล. กับ

จำเลยที่ 1 ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ในระหว่างฎีกา
ยังไม่ถึงที่สุด ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามที่ปรากฏในโฉนดที่ดิน
ทั้งสองแปลงต่อเจ้าพนักงานที่ดินผู้จดทะเบียนจำนองในขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1
เป็นเจ้าของที่ดินทั้งสองแปลง ซึ่งก็ตรงตามเอกสารที่แท้จริง จึงเป็นเรื่องที่
จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินผู้จด
ทะเบียนจำนองไม่ได้สอบถามจำเลยที่ 1 ว่ามีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินหรือไม่
และจำเลยที่ 1 มิได้หลอกลวงให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนจำนองที่ดิน
พิพาททั้งสองแปลง การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.
มาตรา 137 และ 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10570/2558
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันแจ้งให้นายทะเบียนหุ้น

ส่วนบริษัทจดข้อความอันเป็นเท็จโดยยื่นแบบนำส่งงบการเงินรอบปีบัญชี
สิ้นสุดจำนวน 1 ฉบับ และสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นฉบับใหม่จำนวน 1
ฉบับ โดยมีข้อความระบุไว้ว่าหุ้นที่ได้จดทะเบียนไว้ของจำเลยที่ 1 จำนวน
100,000,000 บาท จำเลยทั้งสองได้เรียกชำระเงินไปจากผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ด
คนครบถ้วนเต็มจำนวน ซึ่งเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองยัง
มิได้เรียกชำระเงินค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นทั้งเจ็ดคนค้างชำระอยู่อีก 49,500,000
บาท อาจทำให้โจทก์หรือประชาชนได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะโจทก์
ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต้องพบอุปสรรคในการที่จะใช้สิทธิบังคับชำระหนี้หรือบังคับ
คดีเอาแก่สิทธิเรียกร้องในเงินค่าหุ้นค้างชำระของจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.
มาตรา 1096 โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง ย่อมเป็นผู้เสีย
หายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9556/2558
การที่จำเลยมอบอำนาจให้ทนายความไปยื่นคำขอจดทะเบียน

แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และแจ้งย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่
ของบริษัท บ. ต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทโดยอ้างว่าจำเลยได้บอก
กล่าวนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ โดยลงพิมพ์โฆษณาใน
หนังสือพิมพ์และส่งมอบให้ผู้ถือหุ้น และที่ประชุมวิสามัญมีมติพิเศษให้
แก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ และย้ายที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ของ
บริษัทจากเดิมที่ตั้งอยู่กรุงเทพมหานครไปที่จังหวัดราชบุรีโดยไม่เป็น
ความจริง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็น
เท็จแก่เจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จตาม
ป.อ. มาตรา 137 และมาตรา 267

ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน มาตรา138

มาตรา 138 ผู้ใดต่อสู้ หรือขัดขวางเจ้าพนักงานหรือผู้ซึ่งต้อง
ช่วยเจ้าพนักงานตามกฎหมายในการปฏิบัติการตามหน้าที่ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่ เกินหน่ึงปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือ
ท้ังจำทั้งปรับ

วรรคสอง ถ้าการต่อสู้หรือขัดขวางนั้น ได้กระทำโดยใช้กำลัง
ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย ผู้กระทำต้องระวาง
โทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ

องค์ประกอบภายนอก
1 ผู้กระทำ
2 การกระทำ(ต่อสู้)(ขัดขวาง)
3 วัตุแห่งการกระทำ(เจ้าพนักงาน)
(ผู้ซึ่งต้องช่วยเจ้าพนักงาน)
องค์ประกอบภายใน

1 เจตนา (เจตนาธรรมดา)

ข้อสังเกต ม.138
- “การต่อสู้” = การกระทาใดๆอันเป็นการขัดขืน/โต้แย้งการปฏิบัติหน้าท่ี ของ
เจ้าพนักงาน
- “การขัดขวาง” = การทาให้เกิดความยากลาบาก/อุปสรรคในการปฏิบัติหน้าที่
ของเจ้าพนักงาน
- การต่อสู้/การขัดขวาง ต้องมีการใช้กาลังทางกายภาพกระทาต่อการ ปฏิบัติ
หน้าท่ีของเจ้าพนักงาน
--> โดยสภาพส่วนใหญ่จะเข้าเหตุฉกรรจ์ตามวรรคสองเสมอ
การปัดป้อง/ด้ิน/น่ิงเฉย/ไม่ให้ความร่วมมือ จึงไม่ใช่การต่อสู้/ขัดขวาง แต่ การ
ผลัก/ดัน ยังคงเป็นการต่อสู้/ขัดขวาง

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2557
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 มาตรา 30 เป็น

บทบัญญัติให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
เข้าไปในสถานที่ที่มีการขุดดินหรือถมดินเพียงเพื่อตรวจสอบว่ามีการ
ฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้หรือกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือ
ประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่เท่านั้น กรณีหาจำต้องมี
หมายค้นของศาลไม่ เมื่อผู้เสียหายแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานตาม
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 และแจ้งว่ามีความประสงค์จะ
ตรวจสอบที่ดินตามที่มีการแจ้งว่ามีการกระทำความผิดตาม
พ.ร.บ.การขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 แต่จำเลยไม่ยอมให้เข้าไปใน
ที่ดินเพื่อตรวจสอบ การกระทำของจำเลยจึงมีเจตนาขัดขวางผู้เสีย
หายอันเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ตาม
ป.อ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2554
สิบตำรวจเอก ป. แจ้งข้อหาจำเลยว่า เล่นการพนันจับยี่กีโดย

เป็นคนเดินโพยฝ่ายเจ้ามือ จำเลยปฏิเสธ สิบตำรวจเอก ป. กับพวก
รวม 5 คน จะเข้าจับกุม จำเลยไม่ยินยอมโดยสิบตำรวจเอก ป. มีรูป
ร่างใหญ่กว่าจำเลยมาก การที่จำเลยเดินหนีออกนอกร้านก๋วยเตี๋ยว
จนสิบตำรวจเอก ป. กับพวกต้องใช้กำลังล็อกแขน กดหน้าจำเลยกับ
พื้นระเบียงเพื่อใส่กุญแจมือจำเลยในลักษณะไขว้หลัง ขณะจำเลย
ดิ้นรนขัดขืนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัวเพราะเห็นว่าตัวเองไม่ได้
กระทำผิด ซึ่งแม้ในการดิ้นรนของจำเลยจะเป็นเหตุให้มือของจำเลย
ไปโดนหน้าอกของสิบตำรวจ ป. เกิดเป็นรอยถลอกขนาดเล็กก็ตาม
แต่การกระทำดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้า
พนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 138

ข่มขืนใจเจ้าพนักงาน มาตรา139

มาตรา 139 ผู้ใดข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติ
การอันมิชอบด้วยหน้าท่ี หรือให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้า
ท่ีโดยใช้กาลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กาลัง
ประทุษร้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินส่ีปี หรือ ปรับไม่
เกินแปดหม่ืนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

องค์ประกอบภายนอก
1 ผู้กระทำ
2 การกระทำ (ข่มใจ ) (ใช้กำลัง) (ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง)
3 วัตถุแห่งการกระทำ (เจ้าพนักงาน)

องค์ประกอบภายใน
1 เจตนา(เจตนาธรรมดา)

ข้อสังเกต ม.139
- ความผิดสำเร็จเมื่อสามารถบังคับให้จพง.ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ทำ
ให้จพง.ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
- กรณีบังคับให้ให้จพง.ปฏิบัติการอันชอบด้วยหน้าที่
- กรณีบังคับให้เจ้าพนักงานละเว้นการกระทาท่ีไม่ชอบด้วยหน้าที่
-การใช้กาลังฯ/ขู่เข็ญว่าจะใช้กาลังไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็นอันตรายแก่กาย

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1940/2561

ความผิดตามฟ้องโจทก์ คือ ป.อ. มาตรา 139 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใด
ข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือให้ละเว้นการ
ปฏิบัติการตามหน้าที่โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง
ประทุษร้าย..." ซึ่งเป็นที่เห็นได้อย่างแน่ชัดว่า ผู้ที่จะกระทำความผิดตาม
มาตรา 139 ดังกล่าว จะต้องกระทำการต่อเจ้าพนักงาน คือข่มขืนใจต่อเจ้า
พนักงาน แต่ตามคำบรรยายในฟ้องโจทก์เองและตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
กลับฟังได้แน่ชัดว่า จำเลยเพียงขึ้นพูดปราศรัยบนเวทีซึ่งเป็นการพูดต่อผู้
ชุมนุมในกลุ่ม นปช. ด้วยกัน จำเลยไม่ได้พูดหรือกระทำการใดต่อคณะ
กรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานแต่อย่างใด แม้จะฟังว่าการพูดปราศรัย
ดังกล่าวมีการทำข่าวทางสถานีโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนสาธารณะอื่นด้วย
ก็ตาม ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นเรื่องที่จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการทำข่าว แต่ข้อเท็จจริง
เป็นเรื่องของนักข่าวสื่อมวลชนมาทำข่าวกันเองเท่านั้น ขณะเกิดเหตุที่จำเลย
พูดปราศรัยเป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2557 แต่หลังจากนั้นอีก 3 วัน จึงมีการ
ชุมนุมของกลุ่ม นปช. เพื่อปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. ซึ่งขณะนั้นไม่ปรากฏข้อ
เท็จจริงว่าจำเลยได้เข้าร่วมในการเข้าปิดล้อมสำนักงาน ป.ป.ช. ดังกล่าวด้วย
การชุมนุมเพื่อปิดกั้นดังกล่าวเพื่อไม่ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และเจ้าหน้าที่
เข้าทำงานในสำนักงานอาจเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 139 ได้
เพราะเป็นการกระทำเพื่อไม่ให้เจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่ แต่การพูด
ของจำเลยต่อผู้ชุมนุมกลุ่ม นปช. ไม่ได้กระทำต่อเจ้าพนักงาน แต่เป็นการ
กระทำต่อผู้ชุมนุม เป็นการพูดชักชวนปลุกเร้าผู้ชุมนุมให้ไปร่วมกันปิดล้อม
สำนักงาน ป.ป.ช. เท่านั้น ที่สำคัญในคำพูดปราศรัยของจำเลยไม่มีข้อความ
ตอนใดที่จำเลยข่มขืนใจเพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กระทำการอันใดที่
จำเลยต้องการเลย ไม่ว่าจะเป็นการอันมิชอบด้วยหน้าที่ หรือการละเว้นการ
ปฏิบัติการตามหน้าที่ จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2989/2537

การที่จำเลยพูดขู่เข็ญจะฆ่าผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้หากไม่ปล่อยไม้ที่
ยึด เป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยหน้าที่หรือ
ให้ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ เป็นการลงมือกระทำความผิดครบองค์ประกอบ
ความผิดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผล เพราะผู้เสียหายไม่เกรงกลัวไม่ยินยอมปล่อย
ไม้ที่ยึด ผู้เสียหายจึงไม่ได้ปฏิบัติการอันมิชอบด้วยกฎหมายหรือละเว้นการปฏิบัติการ
ตามหน้าที่ที่จำเลยข่มขืนใจ จำเลยจึง มีความผิดขั้นพยายามตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 139ประกอบมาตรา 80

การใช้อาวุธมาตรา 140

มาตรา 140 ถ้าความผิดตามมาตรา ๑๓๘ วรรคสอง หรือ
มาตรา ๑๓๙ ได้กระทำโดยมีหรือใช้อาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความ
ผิดด้วยกันตั้งแต่สามคนขึ้นไป ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน
ห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

วรรคสอง ถ้ากระทำโดยอ้างอำนาจอั้งยี่หรือซ่องโจร ไม่ว่า
อั้งยี่หรือซ่องโจรนั้นจะมีอยู่หรือไม่ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก
ตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท

วรรคสาม ถ้าความผิดตามมาตรานี้ได้กระทำโดยมีหรือใช้
อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าโทษที่
กฎหมายบัญญัติไว้ในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140 วรรคสาม
บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธปืน ต้องได้รับโทษ
หนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติในสองวรรคก่อนกึ่ง
หนึ่ง ก็เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติ
การตามหน้าที่

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง




คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 692/2561

ป.อ. มาตรา 140 วรรคสาม บัญญัติให้ผู้กระทำความผิดฐานต่อสู้
ขัดขวางเจ้าพนักงานโดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยมีอาวุธปืนต้องได้รับ
โทษหนักกว่าโทษตามที่กฎหมายบัญญัติในสองวรรคก่อนกึ่งหนึ่ง ก็เพื่อ
คุ้มครองความปลอดภัยของเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติการตามหน้าที่ แม้
อาวุธปืนที่ยึดได้จากรถคันเกิดเหตุจะถูกซุกซ่อนอยู่ใต้ที่นั่งด้านหน้าข้าง
คนขับ จำเลยที่ 1 ไม่ได้พกติดตัวหรือวางในลักษณะพร้อมหยิบฉวยได้
ทันทีก็ตาม แต่อาวุธปืนมีกระสุนปืนบรรจุอยู่ในรังเพลิงพร้อมใช้งานได้
ทันที นับเป็นอันตรายต่อเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติตามหน้าที่ จำเลยที่ 1 จึงมี
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรค
สาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6597/2555
คดีนี้ในความผิดฐานต่อสู้หรือขัดขวางเจ้าพนักงานในการ

ปฏิบัติตามหน้าที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ปอ.
มาตรา 138 วรรคสอง 140 วรรคแรก และวรรคสาม ศาลอุทธรณ์ภาค
1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ปอ. มาตรา 138 วรรคสอง
โดยไม่ได้ปรับบทลงโทษตามมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม
ด้วย แต่ลักษณะความผิดตาม ปอ. มาตรา 138 วรรคสอง และมาตรา
140 วรรคแรก ไม่แตกต่างกันและไม่มีระวางโทษจำคุกขั้นต่ำเหมือน
กัน ต่างกันเฉพาะระวางโทษขั้นสูงซึ่งมาตรา 138 วรรคสอง ระวาง
โทษขั้นสูงจำคุกไม่เกินสองปี ส่วนมาตรา 140 วรรคแรก ระวางโทษ
ขั้นสูงจำคุกไม่เกินห้าปีและตาม ปอ. มาตรา 140 วรรคสาม เป็น
บทบัญญัติถึงเหตุที่จะทำให้ผู้กระทำความผิดมาตรา 140 วรรคแรก
ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้กึ่งหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดอีกบท
หนึ่งต่างหากไม่ ไม่เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แก้บทลงโทษ ศาล
อุทธรณ์ภาค 1 เพียงแต่แก้จำนวนโทษมิได้แก้บทลงโทษ เป็นกรณีที่
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยไม่
เกินห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

กระทำต่อตราที่เจ้าพนักงานทำไว้

มาตรา 141

มาตรา 141 ผู้ใดถอน ทำให้เสียหาย ทำลายหรือทำให้
ไร้ประโยชน์ซึ่งตราหรือเครื่องหมายอันเจ้าพนักงานได้ประทับ
หรือหมายไว้ที่สิ่งใด ๆ ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ เพื่อเป็น
หลักฐานในการยึด อายัดหรือรักษาสิ่งนั้น ๆ ต้องระวางโทษจำ
คุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

* มาตรา ๑๔๑ แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา ๔ แห่งพระราช
บัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ๒๖)
พ.ศ.๒๕๖๐ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๓๒ ก
หน้า ๕๓ วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๐

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2497/2521
พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชนไม่ทันภายใน
กำหนด30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนจึง
ยื่นคำร้องต่อศาลขอผัดฟ้องไว้ถึง 3 คราวโดยเฉพาะคราวที่ 3 ศาล
อนุญาตให้ผัดฟ้องได้จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2521 แต่พนักงาน
สอบสวนขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2521
อ้างว่าพนักงานสอบสวนสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต่อจากนั้นพนักงาน
สอบสวนหรือพนักงานอัยการไม่ได้ขอผัดฟ้องคดีอีกต่อไปจนวันที่
3 เมษายน 2521 พนักงานอัยการจึงยื่นฟ้องผู้ต้องหาเช่นนี้ ถือว่า
พ้นระยะเวลายื่นฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24ทวิ แล้ว โจทก์
ยื่นฟ้องโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามที่บัญญัติไว้
ในมาตรา 24จัตวา ไม่ได้ไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็น
ควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ต้องอยู่ใน
บังคับของมาตรา 24ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้

หมายเหตุ

ฎีกาที่ 17/2506 ประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา 67 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 141 เป็น
เรื่องซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานได้ปฏิบัติการ
ไปตามหน้าที่ แต่คดีเรื่องนี้พนักงานที่ดินซึ่งไปทำแผนที่
พิพาทเป็นแต่บุคคลที่ศาลขอร้องให้ไปทำแผนที่ในฐาน
ผู้ชำนาญหรือมีความรู้ในทางนี้ มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ดัง
ที่กล่าวไว้ในมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพราะ
พนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วหมายถึงเจ้าพนักงานซึ่ง
เป็นผู้ปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายที่ดิน ฉะนั้น
พนักงานที่ดินผู้ไปทำแผนที่พิพาทมิได้ปฏิบัติในหน้าที่
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน จึงไม่ใช่พนักงานเจ้าหน้าที่
ตามมาตรา 67 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และก็ไม่ใช่เจ้า
พนักงานของศาล หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจปฏิบัติการ
ตามหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการยึดอายัดหรือรักษาสิ่ง
ใด ๆ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 141 การกระทำ
ของจำเลยยังไม่เป็นผิด

กระทำต่อสิ่งที่เจ้าพนักงานยึดไว้

มาตรา 142

มาตรา 142 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย

หรือทำให้สูญหาย หรือไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ

อันเจ้าพนักงานได้ยึด รักษาไว้ หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน

หรือเพื่อบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ว่าเจ้าพนักงานจะรักษา

ทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง หรือสั่งให้ผู้นั้นหรือผู้อื่น ส่งหรือรักษาไว้

ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท

หรือทั้งจำทั้งปรับ

หมายเหตุ

ฎีกาที่ 9567/2544 เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม ป. สั่ งให้
ป. ส่งเมทแอมเฟตามีนที่ ป. ถืออยู่เพื่อเป็นพยานหลักฐาน การที่
จำเลยนำถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนจากมือของ ป. หลบหนีไป
เป็นการเอาไปเสียซึ่งเมทแอมเฟตามีนที่เจ้าพนักงานสั่ งให้ส่งเพื่อ
เป็นพยานหลักฐาน มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142

ฎีกาที่ 3964/2532 การกระทำที่จะเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 184จะต้องเป็นการกระทำเพื่อจะช่วย
ผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง การที่จำเลยซึ่งดำรง
ตำแหน่ งป่ าไม้อำเภอได้ร่วมกับพวกเผาไม้ท่อน 12 ท่อน ที่พนักงาน
สอบสวนได้ยึดและรักษาไว้เพื่อเป็นพยานหลักฐานในการกระ
ทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยป่ าไม้ โดยไม้ดังกล่าวมีดวงตรา
ประจำตัวของจำเลยตีประทับที่หน้าตัดของไม้ทุกท่อน และกำลังอยู่
ในระหว่างตรวจสอบว่าเป็นไม้ซึ่ งได้ถูกตัดมาโดยถูกต้องตามขั้น
ตอนและระเบียบกฎหมายหรือไม่นั้ น จำเลยกระทำไปด้วยเจตนา
เพื่อช่วยตนเองให้พ้นจากความผิดที่ตนอาจได้รับ การกระทำของ
จำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 184 แต่
เป็นความผิดตามมาตรา 142

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7504/2561

ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 เป็นกรณีที่ผู้ใดทำให้เสียหาย
ทำลาย ซ่อนเร้น เอาไปเสีย หรือทำให้สูญหาย หรือไร้
ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สิน หรือเอกสารใด ๆ อันเจ้าพนักงานได้
ยึด รักษาไว้หรือสั่งให้ส่งเพื่อเป็นพยานหลักฐาน... ไม่ว่าเจ้า
พนักงานจะรักษาทรัพย์หรือเอกสารนั้นไว้เอง... ต้องระวาง
โทษจำคุก... เป็นการกระทำความผิดต่อเจ้าพนักงานและรัฐ
เท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย กฎหมายมิได้บัญญัติถึงองค์ประกอบ
ความผิดในส่วนที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่นหรือ
ประชาชนไว้ ดังนั้น บุคคลทั่วไปหรือประชาชนจึงไม่อาจเป็น
ผู้เสียหายในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 142 ได้
สำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 นั้น เมื่อการกระทำที่
โจทก์กล่าวหาว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 142, 151 และ 158 ไม่ได้เป็นการกระทำความ
ผิดต่อโจทก์โดยตรง และโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจ
ดำเนินคดีจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ในความผิดตามมาตรา 142, 151
และ 158 แล้ว การที่จำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 กระทำการเพื่อช่วย
เหลือจำเลยที่ 3 และที่ 4 แม้จะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม
โจทก์ก็ไม่ใช่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของ
จำเลยที่ 7 ถึงที่ 10 โดยตรง แม้โจทก์จะเคยร้องเรียนให้
ดำเนินการสอบสวนลงโทษทางวินัยแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4
ก็ตาม การที่โจทก์เป็นผู้ร้องเรียนให้ลงโทษทางวินัยแก่
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิที่โจทก์ได้รับ
ความเสียหายจากการกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ก็
ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษซึ่งจะทำให้
โจทก์เป็นผู้เสียหายตามมาตรา 157

ความผิดฐานคนกลางเรียกหรือรับสินบน

มาตรา 143

มาตรา 143 ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์
อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่นเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือ ได้
จูงใจพนักงานสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐสมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิก
สภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดย อิทธิพลของตนให้
กระทำการ หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณ หรือเป็นโทษแก่บุคคล
ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ

อธิบาย

เรียกทรัพย์สินเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน (มาตรา 143) องค์ประกอบ
1. เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ เพียงเรียกก็ผิดสำเร็จ
2. สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

- ผู้อื่นจะเป็นใครก็ได้ ขณะเรียกจะตั้งใจเอาไปให้ผู้อื่นจริงหรือไม่ไม่สำคัญ
3. เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภาพนิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล
4. โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนเอง
5. ในกระทำการหรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด
6. เจตนา

-เรียก คือ เรียกร้องให้ผู้อื่นให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์ เพียงเรียกก็ผิดสำเร็จ
- รับ คือ รับเอาที่ผู้อื่นเสนอให้ หรือรับเอาตามที่ตนเองเรียก
- ยอมจะรับ คือ ยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ผู้อื่นเสนอให้แต่ยังไม่ได้รับ
- ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ประโยชน์อื่นใดคือสิ่งที่ไม่ใช่ทรัพย์สินแต่ เป็นคุณแก่ผู้รับ
การจะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน ฯลฯ จะต้องกระทำโดยวิธีที่กำหนด คือ
1. โดยวิธีอันทุจริต
2. โดยวิธีอันผิดกฎหมาย
3. โดยอิทธิพลของตน
-ให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใด คือ ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกไม่
ควรหรือปฏิบัติโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่

- ให้ไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือโทษแก่บุคคลใด คือจะจูงใจ หรือได้จูงใจให้
ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ถูกที่ควร

- ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลในการเรียกรับหรือยอมะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
สำหรับตนเองหรือผู้อื่น

- ต้องรู้ด้วยว่าเขาได้ให้เป็นการตอบแทนการที่ตนจะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2411/2562

ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง
หรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีอันทุจริตหรือ
ผิดกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 143 เป็นความผิดต่อแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจ
สอบสวนในความผิดดังกล่าวได้เอง โดยไม่จำต้องอาศัยคำร้องทุกข์หรือการมอบคดีจาก
ผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยก็ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ในความผิดฐาน
ฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวเท่านั้น หามีผลกระทบต่ออำนาจสอบสวนของพนักงาน
สอบสวน ซึ่งสามารถดำเนินการสอบสวนความผิดตามมาตรา 143 ได้โดยชอบไม่ เมื่อ
พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว ต่อมาพนักงานอัยการเห็นว่าการกระทำของ
จำเลยทั้งสามเป็นความผิดฐานร่วมกันเรียก รับเงิน และมีคำสั่งให้แจ้งข้อหาเพิ่มเติม เมื่อ
ได้มีการแจ้งข้อหาดังกล่าวแก่จำเลยทั้งสามเพิ่มเติม ถือได้ว่าคดีในความผิดตามมาตรา
143 ได้มีการสอบสวนโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.อ.
มาตรา 120
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันเรียกและรับเงิน 9,000,000 บาท ไปจากผู้
เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งอดีตประธานศาลฎีกา
และประธานศาลฎีกาโดยวิธีอันทุจริต ให้กระทำการตามหน้าที่โดยยกเลิกคำพิพากษา
ของศาลฎีกาที่ตัดสินให้ จ. เป็นฝ่ายแพ้คดี และมีคำสั่งใหม่ให้ จ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ที่ดินได้ เป็นการบรรยายฟ้องที่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว ส่วน
จำเลยทั้งสามจะได้ไปจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งอดีตประธานศาลฎีกาและประธาน
ศาลฎีกาให้กระทำการในหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ จ. หรือไม่ หาใช่องค์ประกอบความผิดตาม
ป.อ. มาตรา 143 ไม่ แม้คดีดังกล่าวถึงที่สุดไปก่อนที่จำเลยทั้งสามจะร่วมกันเรียกและรับ
เงินจากผู้เสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งสามไม่สามารถจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งอดีตประธาน
ศาลฎีกาและประธานศาลฎีกาให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นคุณแก่ จ. ได้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้การก
ระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดเพราะขาดองค์ประกอบความผิดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2554

การที่จำเลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะ
จูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำ
การในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่ ร. ถูกดำเนินคดีอาญาแม้
อัยการ ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตามก็ถือว่า ธ.
เป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ร. แล้ว การกระทำ
ของจำเลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา 143 แล้ว

ความผิดฐานเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำการตาม ป.อ.
มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐโดยตรง โจทก์
ร่วมจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้

ความผิดฐานให้สินบนเจ้าพนักงาน

มาตรา 144

มาตรา 144 “ผู้ใดให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือ
ประโยชน์อื่นใดแก่เจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิก
สภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำ
การ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อธิบาย

1. ให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้
2. ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด
3. แก่เจ้าพนักงานสมาชิกสภาพนิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิก
สภาเทศบาล
4. เจตนา

- ประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลที่จะให้
- ต้องรู้ด้วยว่า ผู้ที่ตนจะให้สินบนนั้นเป็นเจ้าพนักงาน
5. เพื่อจูงใจให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วย
หน้าที่
- ให้ คือ ยกกรรมสิทธิ์หรือประโยชน์ใดๆ ให้
- ขอให้ คือ เสนอจะยกกรรมสิทธิ์หรือประโยชน์ใดๆ ให้
- รับว่าจะให้ เป็นคำมั่นว่าจะยกกรรมสิทธิ์หรือประโยชน์ใดๆ ให้ใน
อนาคต
- ทรัพย์สิน คือ วัตถุมีหรือไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้
- ประโยชน์คือ บริการใดนอกจากทรัพย์สินจะเป็นประโยชน์ใดๆ ก็ได้
- จำกัดเฉพาะผู้ที่อยู่ในตำแหน่งเหล่านี้เท่านั้น
- ต้องกระทำผิดในขณะบุคคลเหล่านี้อยู่ในตำแหน่ง
- เป็นเจตนาพิเศษหรือความมุ่งหมายในการกระทำ
- สาระสำคัญของเจตนาพิเศษ คือ การอันมิชอบด้วยหน้าที่
- ต้องเป็นการอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานหรือสมาชิกนั้นๆ ถ้า
มิใช่หน้าที่หรือพ้นหน้าที่แล้ว ก็ไม่ผิด
- ถ้าเจตนาพิเศษเพื่อการอันชอบด้วยหน้าที่ก็ไม่ผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2547

การที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมผู้กระทำผิดมีหน้าที่ต้องเบิก
ความต่อศาลตามความสัจจริงในระหว่างเป็นพยานในคดีที่ผู้กระทำ
ความผิดถูกฟ้อง เป็นหน้าที่อย่างเดียวกับประชาชนทั่วไป หาใช่เป็น
หน้าที่โดยตรงอันสืบเนื่องมาจากที่เป็นเจ้าพนักงานผู้จับกุมผู้กระทำ
ความผิดไม่ หน้าที่ที่ต้องเบิกความตามความสัจจริงจึงไม่เป็นการ
กระทำการในหน้าที่ของเจ้าพนักงานโดยเฉพาะ แม้จำเลยจะให้และรับ
ว่าจะให้เงินแก่ร้อยตำรวจโท ท. กับพวก เพื่อจูงใจเจ้าพนักงานดังกล่าว
เบิกความผิดไปจากความจริง ก็ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 342/2506

ความผิดฐานให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงานตาม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 144 จะต้องเป็นเรื่องให้หรือขอให้
ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานเพื่อจูงใจให้กระทำการหรือไม่กระทำการหรือ
ประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้า
พนักงานผู้นั้นเอง การที่จำเลยให้เงินกำนันเพื่อให้กำนันช่วยเหลือไป
ติดต่อกับเจ้าพนักงานอำเภอหรือพนักงานสอบสวนให้กระทำการให้คดี
ของจำเลยเสร็จไปในชั้นอำเภออย่าให้ต้องถึงฟ้องศาลเนื่องจากกำนัน
รายงานกล่าวโทษจำเลยไปอำเภอและอำเภอเรียกพยานทำการ
สอบสวนไปแล้วดังนี้ เป็นการพ้นอำนาจหน้าที่ของกำนันแล้วจำเลย
ย่อมไม่มีความผิดฐานให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงาน ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 144

ความผิดฐานแสดงตนเป็นเจ้า

พนักงานมาตรา145

มาตรา 145 ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และ
กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มี
อำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
ไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วรรคสอง เจ้าพนักงานผู้ใดได้รับคำสั่งมิให้
ปฏิบัติการตามตำแหน่งหน้าที่ต่อไปแล้ว ยังฝ่าฝืนกระทำการ
ใด ๆ ในตำแหน่งหน้าที่นั้น

1.ผู้ใด องค์ประกอบควา
มผิดของกฎหมาย

2.แสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน

3.กระทำการเป็นเจ้าพนักงาน

4.พฤติการณ์นอกภาย โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มี

อำนาจกระทำการ

****** การที่จะผิดแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงาน นั้น เจ้าหน้าที่ไม่ว่าจะเป็น
เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่สรรพกร เจ้าหน้าที่ที่ดิน เป็นต้น ก็ถือว่า
เป็นเจ้าหน้าที่ตามความหมายของมาตรานี้ทั้งสิ้น แต่การอ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานอย่าง
เดียวไม่ถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายนี้ แต่จะต้องมีการกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน
ด้วย เช่น ขอตรวจค้น ขอให้แสดงบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น เมื่ออ้างว่าเป็นเจ้า
พนักงานและได้กระทำอย่างเจ้าพนักงานแล้ว ผู้กระทำจึงจะถือว่าเป็นกระทำผิดครบองค์
ประกอบของความผิด และความผิดในมาตรานี้ ไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ แต่เป็น
ความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้เสียหายที่ถูกแอบอ้างจะให้อภัยหรือยกโทษไม่ติดใจดำเนิน
คดีแล้ว ย่อมต้องถูกศาลพิจารณาคดีต่อไปจนกว่าคดีจะถึงที่สุด

คำพิพากษาที่ เกี่ ยวข้อง



คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6551/2558

ผู้เสียหายกับจำเลยรู้จักกันมาก่อนและผู้เสียหายรู้ว่าจำเลยมิได้เป็น
เจ้าพนักงาน วันเกิดเหตุจำเลยมิได้แสดงตนเป็นเจ้าพนักงานเพียงแต่
อ้างว่าพวกของจำเลยเป็นเจ้าพนักงาน การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น
ความผิดฐานร่วมกันแสดงตนเป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้า
พนักงานตาม ป.อ. มาตรา 145 วรรคแรก แต่การกระทำของจำเลยเป็น
ความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานร่วมกันแสดงตน
เป็นเจ้าพนักงานและกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน ซึ่งศาลลงโทษจำเลย
ได้เพราะมิได้เป็นการพิพากษาเกินคำขอตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรค
หนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามี
อำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรค
สอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2099/2527

จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตำรวจ แต่แต่งกายดังที่เจ้าพนักงาน
ตำรวจนอกเครื่องแบบแต่งกันตามปกติ โดยนุ่งกางเกงสีกากี สวมเสื้อ
คอกลมขาว คาดเข็มขัดหนังยืนให้สัญญาณรถยนต์บรรทุกที่ผ่านไปมา
ให้หยุดรถเพื่อตรวจตรงจุดที่รถยนต์ตำรวจทางหลวงจอดอยู่เป็นประจำ
อันทำให้บุคคลทั่วไปอาจเข้าใจได้ว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ใน
การเรียกตรวจรถแต่ละครั้งจำเลยแสดงให้เป็นที่เข้าใจได้ว่าได้รับเงิน
จากพวกคนขับรถยนต์บรรทุกพฤติการณ์ของจำเลยฟังได้ว่า จำเลย
แสดงตนและกระทำการเป็นเจ้าพนักงานตำรวจทางหลวงจำเลยจึงมี
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 145

สวมเครื่องและประดับเครื่องหมาย

มาตรา146

มาตรา 146 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือ
ประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาล หรือไม่มีสิทธิใช้ยศ
ตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ ต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้ง
จำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญ
า มาตรา 146 ที่ระบุว่า ผู้ใดที่

ไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบ หรือ ประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน
หรือไม่มีสิทธิใช้ยศตำแหน่ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือสิ่งที่หมายถึง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2,000
บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ที่สำคัญเป็นโทษที่ยอมความกันไม่ได้ โดยจะ
เห็นได้ว่าการจะมีความผิดตามมาตรา 146 จะต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้

- ต้องมีเจตนา (ตั้งใจ) เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ โดยไม่มีสิทธิ
(สวมเครื่องแบบ หรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงาน หรือเครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ หรือสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์) เช่น โพสต์
ภาพ

- ต้อง “สวมเครื่องแบบ” หรือ “ประดับเครื่องหมายของเจ้า
พนักงาน” หรือ แอบอ้างว่ามียศ มีตำแหน่ง ได้รับเครื่องราช
อิสริยาภรณ์

คำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8621/2553
โจทก์บรรยายฟ้องว่า "...จำเลย...ไม่มีสิทธิ

ใช้คำนำหน้านามของตนเองว่าคุณหญิง ได้บังอาจ
แสดงตัวอวดอ้าง... ว่าตนเองเป็นคุณหญิงได้รับ
พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทั้งนี้เพื่อให้
บุคคลอื่นหลงเชื่อ..." เป็นการบรรยายให้เห็นว่า
จำเลยไม่มีสิทธิใช้คำนำหน้าชื่อตนเองว่าคุณหญิง
ซึ่งเป็นสิ่งที่หมายถึงเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และ
กระทำการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นหลงเชื่อว่าตนมี
สิทธิ ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา
146 แล้ว จำเลยแต่งกายประดับเครื่องราช
อิสริยาภรณ์ ซึ่งตนไม่มีสิทธิแล้วถ่ายรูปไว้ถือได้ว่า
จำเลยเป็นผู้ไม่มีสิทธิใช้เครื่องราชอิสริยาภรณ์
กระทำเช่นนั้นแล้ว ส่วนเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมี
สิทธิหรือไม่เป็นเจตนาภายในจิตใจของจำเลย การ
ที่จำเลยถ่ายรูปขนาด 20 นิ้ว คูณ 24 นิ้ว ติดไว้ใน
ห้องรับแขกซึ่งไม่ใช่ที่ลับ แสดงว่าประสงค์ให้ผู้อื่น
มาเห็นและต้องการให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีสิทธิใช้เครื่อง
ราชอิสริยาภรณ์ตามรูปถ่ายดังกล่าวจึงเป็นความ
ผิดตามมาตรา 146

อ้างอิง

ที่มา :google


Click to View FlipBook Version