กระบวนวิชา 100315 พหุวัฒนธรรมศึกษากับการจัดการศึกษาบนฐานชุมชน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565
จัดทำโดย นางสาวอรนิช ลำนำไพร รหัสนักศึกษา 630210066
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรม (Culture)
หมายถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม ความเจริญนั้นแสดงออกได้
ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดี
ของประชาชน วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่แสดงความเจริญงอกงามทั้งทางจิตใจ และทางวัตถุ
อ้างอิง บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”. (2564). วัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565. จากhttps://shorturl.asia/5FI28
2. พหุวัฒนธรรมนิ ยม (Multiculturalism)
พหุวัฒนธรรมนิยม คือ ความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมักจะถูกสร้างกรอบ ความคิด
(Conceptualized) ว่าเป็นความร่ำรวยและความสวยงามของความแตกต่างแต่ประเด็น
ในเรื่องความสัมพันธ์เชิงอำนาจ มักจะถูกบิดบังความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์
อ้างอิง (รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายในหลกัสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 4
สถาบันพระปกเกล้า
3. ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (Cultural diversity)
ทัศนะที่ว่าวัฒนธรรม เชื้อชาติ และชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของชนกลุ่มน้อย สมควรได้รับ
การยอมรับเป็นพิเศษถึงความแตกต่างภายในวัฒนธรรมการเมืองที่มีอำนาจเหนือกว่า
อ้างอิง Cultural Diversity – Defined (2565). สืบค้น เมื่อ 5 กรกฎาคม 2565
จาก.https://www.uopeople.edu/blog/what-is-cultural-diversity/
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
4.อนุรักษนิ ยม (Conservatism)
อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง
โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว
อ้างอิง พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน. (2565). อนุรักษ์นิยม, สืบค้นเมื่อ 5
กรกฎาคม 2565 จาก. https://shorturl.asia/keA9y
5.เสรีนิ ยม (Liberalism)
เสรีนิยม (Liberalism) เป็นลัทธิการเมืองที่เป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจ
ทุนนิยม เป็นลัทธินำของโลกปัจจุบัน ประเทศยุโรปตะวันตกกับอเมริกาเหนือซึ่งเป็นแนวหน้าให้
กำเนิดระบอบเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่าประชาธิปไตย)
อ้างอิง เสรีภาพการแสดงออกในระบอบประชาธิปไตย. (2563). เสรีนิยม สืบค้นเมื่อ 5
กรกฎาคม 2565 จาก. https://www.thaipost.net/main/detail/75250
6.หลังสมัยใหม่นิ ยม (Postmodernism)
ลักษณะของวิถีชีวิตในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีการเคลื่อนย้ายถ่ายเทของประชากรโดย
อาศัยการคมนาคม ระบบข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ภาพลักษณ์และความคิดที่
ผ่านสื่อซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
อ้างอิง ฐานข้อมูลคำศัพท์ทางมนุษวิทยา. (2565). Postmodernism. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565 จาก https://www.sac.or.th/databases/anthropology-concepts/glossary/113
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
7.อุดมการณ์ (Ideology)
ลักษณะ เนื้อหาลักษณะการคิดของบุคคล หรือกลุ่มแนวคิดอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้
กับคณะบุคคลที่เป็นสมาชิกของสังคมเดียวกัน
อ้างอิง “Ideology.” Merriam-Webster.com Dictionary, Merriam-Webster, (2565).
สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก https://www.merriam-
webster.com/dictionary/ideology
8.การกลืนกลาย (Assimilation)
คือ การโต้ตอบทางการเมืองต่อสถานการณ์ในด้านที่เกี่ยวกับความแตกต่างของชาติพันธุ์ ที่เป็น
นโยบายในการส่งเสริมการกลืนชนกลุ่มน้อยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของชนหมู่มาก
การผสานทางวัฒนธรรมเป็นปรัชญาที่ตรงกันข้ามกับปรัชญาของการยอมรับความแตกต่าง
(affirmative philosophy)
อ้างอิง จากศัพท์บัญญัติ assimilation = การกลืนกลาย ใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.
พจนานุกรมศัพท์มานุษยวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา,
2561, หน้า 26.
9.วาทกรรม (Discourse)
รูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ที่มีลักษณะเป็นสถาบัน และมี
การสืบทอด แสดงออกผ่านทางการพูดและเขียนอย่างจริงจัง หรือประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ
เพื่อที่จะคงไว้ซึ่งลักษณะของวาทกรรม และการปรับเปลี่ยนลักษณะของวาทกรรมนั้น ๆ
อ้างอิง วาทกรรม คืออะไร?. (2565). วาทกรรม. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 256
จากhttps://www.zcooby.com/discourse-meaning/
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
10.กระบวนทัศน์ (Paradigm)
กรอบความคิดหรือแนวทางทั่วไปที่ใช้ในการมองโลก หรือหมายถึง ระบบคิด วิธีคิด หรือแบบของ
การคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเป็นแนวในการจัดระบบในสังคม
อ้างอิง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 18 เมษายน 2550. กระบวนทัศน์ สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565 จากhttps://shorturl.asia/q8BVd
11.ความเท่าเทียม (Equality)
ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับ ความคุ้มครอง
หรือบุคคลย่อมเสมอกัน ในกฎหมายมีสิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เท่าเทียมกัน
อ้างอิง นางสาวชญาพัฒน์ อัมพะวัต นิติกรปฏิบัติการ สำนักกฎหมาย นม. (มธ.), นบท., LL.M.
UNIVERSITY OF BRISTOL สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565
จากhttps://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/Analysis/63/9
63.pdf
12.ความเสมอภาค (Equity)
การที่ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงโอกาส และได้รับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับอย่างเท่า ๆ กัน
อย่างยุติธรรมความเท่าเทียม และได้รับผลประโยชน์ที่ควรได้รับอย่างเท่าๆ กันซึ่งแตกต่างจาก
ความเท่าเทียมที่ว่า ความเป็นธรรมและความยุติธรรมได้ก็ต่อเมื่อทุกคนเริ่มจากจุดเดียวกัน
อ้างอิง Laksana Kachaban. (2022).equality-equity-คือ-ความเท่าเทียม-ความเสมอ
ภาค.สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/FhZjC
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
13.คนชายขอบ (Marginal people)
คือ กลุ่มคนที่มีชีวิตห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์ และสังคมวัฒนธรรม ในทาง
ภูมิศาสตร์ “คนชายขอบ” มักจะเป็นกลุ่มคนที่ต้องเคลื่อนย้ายจากภูมิลำเนา ด้วยเหตุผลทาง
ธรรมชาติ เศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม
อ้างอิง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.รู้ รัก ภาษาไทย”. ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่ง
ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/Ejlcu
14.ความเป็ นธรรมทางสั งคม (Social justice)
คือ แนวคิดที่ว่าด้วยความเป็นธรรมในทุกมิติของสังคม ไม่ใช่เพียงแค่มิติทางด้านกฎหมายเท่านั้น
ซึ่งความเป็นธรรมทางสังคมในตัวของมันเอง ก็ตีความได้หลายความหมาย อาจหมายถึงการปฏิบัติ
ต่อกันอย่างเป็นธรรม หรือการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม
อ้างอิง Salforest , Social Justice. (2013). ความเป็นธรรมทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 5
กรกฎาคม 2565. จาก http://www.salforest.com/glossary/social-justice
15.อำนาจนำ (Hegemony)
การจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือการสถาปนาโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
และการเมืองอันจะทำให้ประเทศที่มาเข้าร่วมหรือสยบยอมรู้สึกว่าตนเองได้ประโยชน์
อ้างอิง อำนาจนำ (hegemony) - BlogGang.com. (2550).
สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. จาก https://shorturl.asia/yRIHj
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
16.การเหมารวม (Stereotype)
คือ คตินิยม หรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบาง
ประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้ม
ที่เป็นอัตวิสัย
อ้างอิง การเหมารวม. (2565). สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565
จากhttps://artsandculture.google.com/entity/m0jntv?hl=th
17.การสร้างภาพตัวแทน (Representation)
ฮอลล์ (Stuart Hall,1997,4) กล่าวว่าภาษาเป็นสิ่ง หนึ่งที่สามารถบอกได้ถึงความหมายของสิ่ง
ต่าง ๆ สามารถจะเป็นตัวกำหนดและจัดการความ ประพฤติ และการปฏิบัติต่าง ๆ ความหมายของ
ภาษาจะช่วยในการตั้งกฎ บรรทัดฐาน และขนบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่สั่งการและควบคุมชีวิตคน
อ้างอิง ปรีดา นัคเร. (2559). การประกอบภาพความหมายภาพตัวแทนแรงงานข้ามชาติโรฮิงยา
(Rohingya) ผ่านเว็บไซต์ข่าวนานาประเทศ. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก
gscmjournal,+Journal+manager,+5+รวมบทความ-Edit2+(3).pdf
18.ความสั มพันธ์เชิงอำนาจ (Power relations)
เป็นหนึ่งในความสัมพันธ์พื้นฐานที่สุดของการอยู่รวมกันของสิ่งมีชีวิต สำหรับสังคมมนุษย์แล้ว
อำนาจมักจะแสดงออกมาในรูปแบบที่หลากหลาย ยิ่งสังคมมนุษย์พัฒนา และมีความซับซ้อนมาก
ขึ้นเท่าไร รูปแบบของอำนาจก็จะยิ่งมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
อ้างอิง สมคิด พุทธศรี. (2022).อำนาจความชอบธรรม และความฉ้อล้อ สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565 จาก https://thaipublica.org/2014/06/absolute-power-corrupts-
absolutely/
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
19.ความเป็ นอื่น (Otherness)
คือ การมองคนอื่นที่ไม่ใช่พวกของตนว่าเป็นคนด้อยค่าหรือศัตรู ซึ่งเป็นผลมาจากการสร้างระบบ
ความคิดผ่านบทเรียนประวัติศาสตร์ที่มีคนไทยเป็นคนเอก มีกลุ่มคนเมียนมาเป็นตัวร้าย และผล
จากความรุนแรงเชิงโครงสร้างนโยบายการดำเนินการควบคุมแรงงานข้ามชาติ
อ้างอิง จิราภรณ์ ไพรเถื่อน. (2022). “ความเป็นอื่น” และการเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมของ
แรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาที่ถูกกฎหมายในสถานการณ์โควิด-19 สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565 จาก http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/csd/csdful_pdf/c156.pdf
20. อคติ (Bias/prejudice)
คือ ทางที่ไม่ควรดำเนินความลำเอียง ซึ่งอคติมักจะมีพื้นฐานมาจากลักษณะแนวคิดแบบเหมารวม
(Stereotype) มากกว่าการยอมรับในความแตกต่าง หรือบริบทสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะร้ายหรือดี
อคติเป็นทางลัดสู้ความใจร้อนในการตัดสินใจ หรือการขาดการวิเคราะห์ที่เหมาะสม
อ้างอิง กรกวรรณ ทองตะโก. (2022). How to…: จัดการกับอคติในการบริหารและประเมินงานอย่างไร?
สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/qYPsb
21.การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)
การปฏิบัติที่แตกต่าง การกีดกัน การจำกัด หรือความพึงพอใจที่ไม่เท่ากัน ต่อคนในกลุ่มที่
เหมือนกัน และที่ไม่เหมือนกันรวมไปถึงปฏิบัติที่เหมือนกัน แต่ส่งผลให้เกิดความเสียเปรียบต่อ
บางกลุ่มด้วย
อ้างอิง SDG Vocab | 33 – Discrimination – การเลือกปฏิบัติ. (2564). สืบค้นเมื่อ 5
กรกฎาคม 2565 จาก https://www.sdgmove.com/2021/07/15/sdg-vocab-33-
discrimination/
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
22.Gender (เพศสภาวะ หรือเพศสภาพ)
ภาวะแห่งเพศที่ถูกประกอบสร้างทางสังคม เพศภาวะที่เราคุ้นเคยคือความเป็นหญิง และความเป็น
ชาย เพศภาวะจึงเป็นเรื่องของบทบาท ที่สังคมกำหนดให้กับสถานะทางเพศซึ่งดูจากเพศสรีระ
คือหญิง ชาย และหากสังคมเกิดเปลี่ยนการกำหนดสถานะทางเพศ
อ้างอิง เพศสภาพ วิชาญ ทรายอ่อน. (2558). เพศสภาพ สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.ph
p?nid=29826
23.เพศหลากหลาย (LGBTQ- Lesbian, Gay, Bisexual, Transgender and
Queer)
กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือเพศทางเลือก LGBTQ เป็นกลุ่มคนที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ
หรือรสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม
อ้างอิง โรงพยาบาลเพชรเวช. (2563). LGBTQ ความหลากหลายที่ต้องเข้าใจ สภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม
2565 จาก https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/LGBTQ
24.ความสามารถที่แตกต่าง (Differently abled)
ผู้พิการ ที่บอกว่าเขามีความสามารถต่างออกไป เพราะเขาต้องการรณรงค์ให้เรามองว่าผู้พิการไม่
ได้ด้อยความสามารถไปกว่าคนธรรมดา แต่ถนัดในด้านที่เตะต่างออกไป นึกภาพเหมือนกันที่ผู้
หญิงมีรังไข่ แต่ผู้ชายไม่มีก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ชายพิการ แต่มีความสามารถต่างกันออกไป
อ้างอิง Neecey. (2022). 27 COMMON EUPHEMISMS AND THEIR MEANINGS
สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565. จาก https://books.allwomenstalk.com/common-
euphemisms-and-their-meaningsé
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
25.ทวิ/พหุภาษา (Bi/Multilingual education)
คือ หลายภาษา คนที่ได้ชื่อว่ามีความรู้ทางภาษามากกว่าหนึ่งก็คือคนที่ใช้พหุภาษา คนที่ใช้ภาษา
มากกว่าหนึ่งมีทั้งผลบวกและผลลบ กล่าวคือนักเรียนที่ใช้ภาษาถิ่นเป็นภาษาแม่ และใช้ภาษาไทย
มาตรฐาน (ภาษาไทยกลาง) เป็นภาษาที่สองมักมีปัญหาในการเรียนรู้ภาษาไทยมาตรฐาน มักจะมี
ปัญหาในการใช้คำหรือการไม่เข้าใจความหมายของคำศัพท์บางคำ
อ้างอิง คุณครูภัทรวดี ตลอดพงษ์. (2011). พหุภาษา. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก
https://www.mtk.ac.th/ebook/forum_posts.asp?TID=1881
26.หลักสูตรแฝง (Hidden curriculum)
เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้กำหนดแผนการเรียนรู้เอาไว้ล่วงหน้า และเป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่โรงเรียนไม่ได้
ตั้งใจจะจัดให้
อ้างอิง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พิจิตรา ธงพานิช. (2018). หลักสูตรแฝง. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565
จาก http://suwanan21a.blogspot.com/2018/09/blog-post_52.html
27.หลักสู ตรทางการ (Official curriculum)
เป็นหลักสูตรที่เขียนเป็นเอกสาร โดยการนำแนวคิดของหลักสูตรอุดมการณ์มาสังเคราะห์ให้เป็น
แนวทางปฏิบัติรวมถึงการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในรายวิชา กลุ่มวิชา เนื้อหาสาระ รวมทั้งกิจกรรม
ต่างๆ ที่ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน จัดกิจกรรมให้แก่ผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
อ้างอิง กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขัน้ พื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 3.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก
https://shorturl.asia/qFo8W
คำศัพท์สำคัญกับการศึกษาพหุวัฒนธรรม
28.การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของผู้เรียน (Culturally
responsive teaching)
การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางวัฒนธรรมของตนเอง ด้วยการนำเรื่องราวเพื่อเป็นแนวทางการ
สอนที่ เชื่อมโยงวัฒนธรรม ภาษา และประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนกับสิ่งที่พวกเขาเรียนรู้ใน
โรงเรียน
อ้างอิง Educators Team at Understood. Culturally responsive teachingสืบค้นเมื่อ 5
กรกฎาคม 2565 จาก https://www.understood.org/en/articles/what-is-culturally-
responsive-teaching
29.ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ (Critical Theory)
เป็นทฤษฎีที่สนใจปรากฎการณ์ในสังคมเกี่ยวกับการต่อรองและการครอบงำทางอำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ใน
สังคม ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์บางอย่าง เช่น การเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมซึ่งสื่อมวลชน
นั้น ได้เข้ามามีบทบาทในการทำหน้าที่เป็นเครื่องมือและเป็นช่องทางเผยแพร่ ครอบงำหรือต่อรองอำนาจเกี่ยว
กับผลประโยชน์เหล่านั้น
อ้างอิง Bovy Dub'ey. (2018). Critical Theory สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565 จาก
https://minimore.com/b/y0SZ8/11
30.การศึ กษาเชิงวิพากษ์ (Critical pedagogy)
ทฤษฎีและแนวคิดการปฏิบัติ ทางการศึกษาที่เห็นว่า กระบวนการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการก่อรูปทางสังคมของมนุษย์ รวมทั้งก่อรูปให้แก่ปัจเจกบุคคล และสถาบันทางสังคมที่
มนุษย์สังกัดอยู่ ชนชั้นกรรมาชีพจะต้องแสวงหาหนทางให้หลุดพ้นจากพันธนาการแห่งการกดขี่
อ้างอิง ทวีป มหาสิงห์. (2563). การก่อรูป “ทฤษฎีความยุติธรรม” ของจอห์น รอลส สืบค้นเมื่อ
5 กรกฎาคม 2565 จาก polscicmujournal,+{$userGroup},+1-Template+Taweep.pdf
กิจกรรม : ทบทวน ชวนคิด
คำชี้แจง : อ่านและทบทวนเกี่ยวกับคำศัพท์สำคัญของแต่ละคำ แล้วนำมาเติมให้ตรงกับความหมาย
ของคำที่กำหนดไว้
วัฒนธรรม อคติ กระบวนทัศน์ พหุวัฒนธรรมนิยม วาทกรรม
เสรีนิยม คนชายขอบ หลังสมัยใหม่นิยม อนุรักษ์นิยม อุดมการณ์
1.ชีวิตที่มีการเคลื่อนย้าย การคมนาคมขนส่ง ข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยี
และคอมพิวเตอร์ ความคิดที่ผ่านสื่อซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
2. ลักษณะ เนื้อหาลักษณะการคิดของบุคคล
หรือกลุ่มแนวคิดอย่างเป็นระบบ
3. กลุ่มคนที่มีชีวิตห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์
และสังคมวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์
4. ทางที่ไม่ควรดำเนิน หรือความลำเอียง
5. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม ความเจริญนั้นแสดงออกได้ด้วย
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ
6. ความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมักจะถูกสร้างกรอบ ความคิด
(Conceptualized)
7. อุดมคติที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง
โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว
8. ระบบคิด วิธีคิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัย
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเป็นแนวในการจัดระบบในสังคม
9. รูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ที่แสดงออกผ่านการพูด เขียน หรือประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ
10. ลัทธิการเมืองที่เป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจทุนนิยม
เป็นลัทธินำของโลกปัจจุบัน
เฉลยกิจกรรม : ทบทวน ชวนคิด
หลังสมัยใหม่นิยม 1.ชีวิตที่มีการเคลื่อนย้าย การคมนาคมขนส่ง ข้อมูลข่าวสารผ่านเทคโนโลยี
อุดมการณ์ และคอมพิวเตอร์ ความคิดที่ผ่านสื่อซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
คนชายขอบ
อคติ 2.ลักษณะ เนื้อหาลักษณะการคิดของบุคคล
วัฒนธรรม หรือกลุ่มแนวคิดอย่างเป็นระบบ
3.คือ กลุ่มคนที่มีชีวิตห่างไกลจากศูนย์กลางทั้งในทางภูมิศาสตร์
พหุวัฒนธรรมนิยม และสังคมวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์
อนุรักษ์นิยม
4.ทางที่ไม่ควรดำเนิน หรือความลำเอียง
กระบวนทัศน์
5.ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของสังคม ความเจริญนั้น
วาทกรรม แสดงออกได้ด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้า
เสรีนิยม ของชาติ
6.ความหลากหลายทางวัฒนธรรมซึ่งมักจะถูกสร้างกรอบ ความคิด
(Conceptualized)
7.อุดมคติที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง
โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว
8.ระบบคิด วิธีคิด หรือแบบของการคิดที่ใช้เป็นแนวในการศึกษาวิจัย
เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือเป็นแนวในการจัดระบบในสังคม
9.รูปแบบของความคิด หรือกรอบความคิด เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ที่แสดงออกผ่านการพูด เขียน หรือประโยคหรือนิยามที่ใช้บ่อยๆ
10.ลัทธิการเมืองที่เป็นรากฐานระบอบประชาธิปไตยและระบบเศรษฐกิจ
ทุนนิยม เป็นลัทธินำของโลกปัจจุบัน