สำนวน คำพังเพย สุภาษิตไทย เรียบเรียงโดย มะลิวัลย์ นันตริ สาขาวิชาภาษาไทย 64040101219 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-BOOK) เรื่อง สำ นวน คำ พังเพย สุภาษิตไทยเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษา และการเรียนรู้ จัดทำ ขึ้นเพื่อเป็นการนำ เสนอ การเรียนการสอน และเสริมสร้างความคิด ความเข้าใจ ให้ กับผู้ศึกษาที่มีความ สนใจในด้านสำ นวน สุภาษิต และคำ พังเพยของไทย โดยเนื้อหา เกี่ยวข้องกับหลักภาษา มาตรฐาน ตัวชี้วัด ในระดับชั้นประถม ศึกษาศึกษา เช่น ความหมายของสำ นวน มูลเหตุการณ์ เกิด สำ นวนเป็นต้น ซึ่งมีเนื้อหาที่กระชับ เข้าใจง่าย เหมาะกับผู้ศึกษา ทุกเพศ ทุกวัย ท้ายนี้ผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พวงทอง เพชรโทน อาจารย์ที่ปรึกษา ในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษา และการเรียนรู้ ที่อนุเคราะห์ให้คำ แนะนำ ตลอดจนกระทรวง ศึกษาธิการ เจ้าของเอกสาร ตำ รา หนังสือ และงานวิจัย ที่ได้ กรุณาเผยแพร่งานวิจัยในสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ จนทำ ให้ผู้จัด ทำ ได้นำ มาสู่กระบวนการนำ เสนอได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และ เป็นประโยชน์ต่อผู้ให้ความสนใจศึกษา ตามสมควรต่อไป หาก ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ก นางสาวมะลิวัลย์ นันตริ ผู้จัดทำ
สารบัญ เรื่อง หน้า ข คำ พังเพย สุภาษิต แบบฝึกหัด เฉลยแบบฝึกหัด บรรณานุกรม สำ นวน สารบัญ คำ นำ 1 ประวัติผู้จัดทำ 7 13 19 21 23 24 ก ข
สำ น ว น 1
เนื่องในวันมาฆบูชา ปี 2566 สำ นวนคืออะไร สํานวน หมายถึง ถ้อยคําที่มีความ หมายไม่ตรงความหมาย มีความ หมายไปในเชิงเปรียบเทียบ เช่น ปอกกล้วยเข้าปาก มาเหนือเมฆ ดาบสองคม ก้างขวางคอ กลัวจนตัวสั่น กาฝาก 2
“ปอกกล้วยเข้าปาก” มีความหมายว่า เรื่องง่าย ๆ ที่สามารถ สะสางให้สำ เร็จได้อย่างรวดเร็ว ที่มาของ “ปอกกล้วยเข้าปาก” มาจาก กล้วย ซึ่งเป็นผลไม้ที่ ปอกเปลือก ได้ง่ายกว่าผลไม้ชนิดอื่น ๆ ดังนั้น การกินกล้วย ก็สามารถทำ ได้อย่าง ง่ายดายเช่นกัน ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “เดี๋ยวนี้ต่อให้คนที่ไม่เคยทำ อาหาร ก็สามารถ ทำ อาหารได้ง่าย ๆ เหมือนปอกกล้วยเข้า ปาก เพราะมีเครื่องปรุงอาหาร สำ เร็จรูปขายกันมากขึ้น” 3
“มาเหนือเมฆ” มีความหมายว่า คิดหรือทำ การสิ่งใดด้วย ชั้นเชิงที่ เหนือกว่าผู้อื่น ที่มาของ “มาเหนือเมฆ” มาจาก สำ นวนที่มาจากความ เชื่อโบราณว่า ผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถเหาะเหินเดิน อากาศเหนือเมฆได้เป็นผู้มีสรรพ วิชาความรู้เหนือกว่าผู้ อื่น ดังนั้น จึงใช้เปรียบเทียบกับคนที่มีสติ ปัญญาความ คิด หรือแผนการที่มีชั้นเชิงเหนือความคาดหมาย ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “โจรสมัยนี้มักจะมาเหนือเมฆ สรรหาวิธีการ ใหม่ ๆ ที่คาดไม่ถึงมาได้ตลอดเราจึงต้องคอยระวังตัวเองให้มากขึ้น เพื่อลดช่องโหว่ที่อาจเป็น โอกาสให้โจรเข้ามาปล้นได้” 4
“ดาบสองคม” มีความหมายว่าสิ่งที่มีทั้งคุณและโทษในตัวเอง ที่มาของ“ดาบสองคม” มาจาก ดาบที่มีคมทั้งสองด้าน แม้จะเป็น อาวุธที่ร้ายกาจสามารถใช้ฟันแทงได้ดีแต่หากเกิดพลาดพลั้ง หรือผู้ใช้ไม่มีความชำ นาญเพียงพอ ก็อาจสร้างความบาดเจ็บให้ กับผู้ใช้ได้เช่นกัน ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “การสอนเรื่องเพศศึกษาให้กับเด็ก ก็ เหมือนดาบสองคมที่ทำ ให้เด็กเข้าใจและรู้จักป้องกันตัวเองแต่ อีกด้านหนึ่งก็ทำ ให้เด็กเห็นช่องทางในการทำ เรื่องที่ไม่สมควรได้ มากขึ้น” 5
“กาฝาก” มีความหมายว่า กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำ ประโยชน์อะไรให้ ที่มาของ “กาฝาก” กาฝากเป็นต้นไม้เล็กๆ เกิดเกาะอยู่กับต้นไม้ ใหญ่ และอาศัยอาหาร ในต้นไม้ใหญ่เลี้ยงตัวเอง ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน ต้นไม้ที่มีกาฝากอยู่ ก็ต้องลดอาหารที่ ได้ สำ หรับเลี้ยงตนไปเลี้ยงกาฝาก ประเทศก็เหมือนกัน มีภาวะ การหา ประโยชน์ได้มาก ก็ต้องเสียกำ ลังและทรัพย์ไปในทางนั้น มากมาจาก คนที่แอบแฝงเกาะกินผู้อื่นอยู่โดนไม่ได้ทำ ประโยชน์ อะไรให้เขา จึง เรียกว่ากาฝาก 6
คำ พัง เพย 7
เนื่องในวันมาฆบูชา ปี 2566 คำ พังเพยคืออะไร คําพังเพย หมายถึง ถ้อยคําที่กล่าว ขึ้นมาเพื่อให้เข้ากับเรื่องราว เพื่อสื่อ ความหมายให้ชัดเจน เช่น ขี่ช้างจับตั๊กแตน คางคกขึ้นวอ โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ จระเข้ขวางคลอง เกลือเป็นหนอน กิ้งก่าได้ทอง 8
“ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มีความหมายว่าลงทุนลงแรงมาก แต่ได้รับ ผลตอบแทนเพียงน้อยนิด ที่มาของ“ขี่ช้างจับตั๊กแตน” มาจาก ตั๊กแตนเป็นแมลงตัวเล็ก ๆ ที่ กระโดดได้ไกลและรวดเร็วมาก การขี่ช้างเพื่อไปจับตั๊กแตน จึง เป็นการลงทุนลงแรงอย่างมหาศาล ทำ ใหญ่โตเกินความจำ เป็น แต่ผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนลงแรงนั้น ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “เธอลงทุนเหมาร้านอาหารจัดงานวัน เกิดเพียงเพราะอยากเจอเพื่อน ๆ แค่นี้ ฉันว่าเธอกำ ลังขี่ช้างจับ ตั๊กแตนอยู่นะ” 9
“คางคกขึ้นวอ” มีความหมายว่า ผู้ที่มีฐานะต่ำ ต้อย พอได้ดิบได้ดีแล้วมัก แสดงกิริยาอวดดีลืมตัว ที่มาของ“คางคกขึ้นวอ” มาจาก “วอ”คือ พาหนะลักษณะ รูปเรือนมี หลังคาทรงจั่ว มีคานอยู่ข้างใต้เพื่อให้คนหามใช้สำ หรับเจ้าขุนมูลนาย หรือข้าราชการฝ่ายใน ถึงแม้คางคก จะขึ้นนั่งบนวอที่ทรงเกียรติแต่ก็ไม่ สามารถลบล้างความ อัปลักษณ์น่าเกลียดน่ากลัวของตัวมันได้ ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “ดาราคนนี้ถูกมองว่าเป็นคางคก ขึ้นวอเมื่อ ก่อนเคยอยู่ในสลัม พอได้มาเป็นดาราดัง ได้ดีแล้วท่าทีก็เปลี่ยนไป ทำ ตัว เรื่องมาก ดูถูกคนอื่นเสมอ ๆ ” 10
“โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ” มีความหมายว่า ทำ ลายล้างสิ่งไม่ดี หรือสิ่ง ชั่วร้ายให้หมดสิ้น ที่มาของ “โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ” มาจากธรรมชาติของต้น กล้วยที่ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ถึงจะตัดลำ ต้นทิ้ง ไป แต่หน่อ ของมันก็สามารถเจริญเติบโตขึ้นใหม่ได้ ถ้าหากจะ โค่นต้นกล้วยก็ ควรขุดรากถอนโคน อย่าเหลือหน่อทิ้งไว้ ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “พวกค้ายาเสพติดมักจะทำ กันเป็น ขบวนการขนาดใหญ่ หากคิดจะกวาดล้างก็ต้องทำ ให้สิ้นซาก ถึง ต้นตอผู้บงการและพรรคพวกทั้งหมดเหมือนโค่นกล้วยอย่าไว้ หน่อ” 11
“จระเข้ขวางคลอง” มีความหมายว่า ผู้ที่คอยกันท่าหรือขัดขวางไม่ ให้ผู้อื่นทำ สิ่งที่ปรารถนาได้โดยสะดวกราบรื่น ที่มาของ “จระเข้ขวางคลอง” มาจาก ในสมัยก่อนคนไทย นิยม เดินทางไปมาหาสู่กันโดยล่องเรือไปตามแม่น้ำ ลำ คลอง หาก ระหว่างทางเกิดพบเห็นจระเข้ที่เป็นสัตว์ร้ายปรากฏตัวขึ้น ก็กลัว เกรง ไม่กล้าที่จะเดินทางต่อไปให้ถึงจุดหมาย ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “คนใช้รถสมัยนี้ทำ อะไรเอาแต่ความ สะดวกของตัวเองอยากจอดรถตรงไหนก็จอด ทำ ตัวเป็น จระเข้ ขวางคลอง โดยไม่คิดว่ามันทำ ให้การจราจรติดขัด” 12
สุ ภา ษิต 13
เนื่องในวันมาฆบูชา ปี 2566 สุภาษิตคืออะไร สุภาษิตคือ ถ้อยคํา ที่เป็นคติสอน ใจมีความ หมายสั่งสอนให้ประพฤติ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีเช่น เข็นครกขึ้นภูเขา น้ำ ขึ้นให้รีบตัก ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน รักวัวให้รักลูกให้ตี รำ ไม่ดีโทษปี่ โทษกลอง 14
“เข็นครกขึ้นภูเขา” มีความหมายว่า ทำ งานที่ยากลำ บากอย่างยิ่งต้องใช้ ความเพียรพยายามและอดทนอย่างมาก ซึ่งบางทีอาจเกิน กำ ลังความ สามารถหรือสติปัญญาของตน ที่มาของ “เข็นครกขึ้นภูเขา” มาจาก ครกที่ใช้ตำ ข้าวในสมัยก่อน มี ขนาด ใหญ่และหนัก ทำ จากไม้ทั้งต้น ขุดเอาเนื้อในออกให้เป็นหลุม อาจเรียกว่า ครกกระเดื่องหรือครกซ้อมมือ ขึ้นอยู่กับการนำ ไป ใช้ การเข็นครกขึ้นภูเขาที่ มีความลาดชัน จึงเป็นสิ่งที่ยากลำ บากเป็นอย่างมาก ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “ก่อนคุณจะรับงานก็ควรดูให้ดีก่อน ไม่ใช่รับมาแล้ว กลายเป็นว่า เข็นครกขึ้นภูเขา สุดท้ายโดนครกกลิ้งทับตัวตาย มันจะแย่เอา” 15
“น้ำ ขึ้นให้รีบตัก” มีความหมายว่า ให้รีบไขว่คว้าโอกาสที่กำ ลังมาถึง ที่มาของ “น้ำ ขึ้นให้รีบตัก” มาจาก วิถีชีวิตของคนไทยที่ผูกพันอยู่ กับ สายน้ำ เนื่องจากสมัยก่อน เราจะใช้น้ำ จากแม่น้ำ ลำ คลองในการดำ เนิน ชีวิต ทั้งหุงหาอาหารดื่มกิน เวลาน้ำ ขึ้นเปี่ ยมฝั่ งก็จะใสสะอาด ผู้คนจึง มักฉวยโอกาสตักน้ำ ไปเก็บไว้ใช้สอยแต่เมื่อน้ำ ลงก็ จะขุ่นและตักได้ยาก ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “ตอนนี้สินค้าของบริษัทเรากำ ลังเป็นที่ นิยม เป็นที่ต้องการของตลาดมาก โอกาสมาถึงแล้วน้ำ ขึ้นให้รีบตัก เพราะ ฉะนั้น เราต้องฉวยโอกาสนี้ไว้ด้วยการเพิ่มกำ ลังการผลิตสินค้าให้ได้ ตามความต้องการของลูกค้า” 16
“เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มีความหมายว่า พยายามเก็บหอมรอมริบ เก็บเล็ก ผสมน้อยจนสำ เร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ที่มาของ “เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน” มาจาก “เบี้ย” ในที่นี้หมายถึง เบี้ยจั่น ซึ่ง เป็นเงินตราในสมัยโบราณ เวลาซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า กันตามตลาดอาจ มีคนทำ เบี้ยตกไว้แต่ไม่มีใครสนใจเพราะมีราคาต่ำ ในทางกลับกันหากเก็บ สะสมเบี้ยไว้จำ นวนมาก ๆ ก็อาจกลายเป็นสิ่งมีค่าขึ้นมาได้ ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน “ใครจะรู้ว่าธุรกิจเก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน แบบ เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่ให้บริการรับชำ ระค่าสินค้าและบริการ ที่ เก็บค่าบริการ ทีละ 10-15 บาท สุดท้ายจะมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ ขนาดนี้” 17
“ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” มีความหมายว่า จะทำ การใด ๆ พยายามทำ ด้วยตัวเองอย่างสุดความสามารถ ที่มาของ “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” มาจากพุทธสุภาษิตที่ว่าอัตตาหิ อัตตโน นาโถ มีความหมายว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตน สอนให้เรารู้จัก พึ่งพาตนเองรู้จักที่จะใช้ความรู้ความสามารถ ของตนเองออกมา ช่วยเหลือตนเองและนำ พาตนเองไปสู่สิ่ง ที่ดีสิ่งที่ถูกต้อง ตัวอย่างการนำ ไปใช้งาน สุนีย์บอกสุชาติว่า “อย่ามัวแต่ขอความ ช่วยเหลือจากฉัน นายควรทำ ตัวตนเป็นที่พึ่งแห่งตน เสียบ้าง” 18
ได้หวี แบบฝึกหัด คำ ชี้แจง. ให้นักเรียนเลือกคำ ที่กำ หนดให้นำ ไปเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง ชื่อ......................................................ชั้น....................เลขที่............. ๑.กิ้งก่า ๒.เกลือเป็น ๓.หัวล้าน ๔.เกลือจิ้ม ๕.ยื่นหมู ๖.วานรได้ ๗.กบเลือก ๘.จับปลา ๙.กบใน ๑๐.จับปู ได้ทอง หนอน ยื่นแมว ใส่กระด้ง กะลา เกลือ นาย สองมือ แก้ว 19
๑.ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ม้าดีดกะโหลก ๓.แกว่งเท้าหาเสี้ยน ๔.วัวหายล้อมคอก ๕.กบในกะลา ๖.รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ๗.ปิดทองหลังพระ ๘.ตำ น้ำพริกละลายแม่น้ำ ๙.งมเง็มในมหาสมุทร ๑๐.ขวานผ่าซาก แบบฝึกหัด ชื่อ......................................................ชั้น....................เลขที่............. คำ ชี้แจง. จงบอกว่าประโยคต่อไปนี้เป็นสำ นวน สุภาษิต หรือคำ พังเพย 20
ได้หวี เฉลย แบบฝึกหัด คำ ชี้แจง. ให้นักเรียนเลือกคำ ที่กำ หนดให้นำ ไปเติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง ชื่อ......................................................ชั้น....................เลขที่............. ๑.กิ้งก่า ๒.เกลือเป็น ๓.หัวล้าน ๔.เกลือจิ้ม ๕.ยื่นหมู ๖.วานรได้ ๗.กบเลือก ๘.จับปลา ๙.กบใน ๑๐.จับปู ได้ทอง หนอน ยื่นแมว ใส่กระด้ง กะลา เกลือ นาย สองมือ แก้ว ได้ทอง หนอน ได้หวี เกลือ ยื่นแมว แก้ว นาย สองมือ กะลา ใส่กระด้ง 21
๑.ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ๒.ม้าดีดกะโหลก ๓.แกว่งเท้าหาเสี้ยน ๔.วัวหายล้อมคอก ๕.กบในกะลา ๖.รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม ๗.ปิดทองหลังพระ ๘.ตำ น้ำพริกละลายแม่น้ำ ๙.งมเง็มในมหาสมุทร ๑๐.ขวานผ่าซาก เฉลย แบบฝึกหัด ชื่อ......................................................ชั้น....................เลขที่............. คำ ชี้แจง. จงบอกว่าประโยคต่อไปนี้เป็นสำ นวน สุภาษิต หรือคำ พังเพย 22 สำ นวน สุภาษิต คำ พังเพย คำ พังเพย สำ นวน สุภาษิต สุภาษิต คำ พังเพย คำ พังเพย สำ นวน
บรรณานุกรม ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ. (2553). ๕๕๐ สำ นวน สุภาษิต คำ พังเพยไทยสอนใจเด็กดี. กรุงเทพฯ : สำ นักพิมพ์เอ็ม สำ นวน สุภาษิตไทย.สืบค้นเมื่อ1 กุมภาพันธ์ 2566,จาก https://online.pubhtml5.com 23
นางสาวมะลิวัลย์ นันตริ รหัสนักศึกษา 64040101219 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 24
สำ นวน คำ พังเพย สุภาษิตไทย