The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

การลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ในสถานที่ทำงาน (ปี 2562)

สำนักงานเลขานุการกรม

Keywords: ด้านทั่วไป

สำนกั งำนเลขำนกุ ำรกรม
กรมที่ดิน

คำนำ

จากสถิติในปี 2 5 6 0 พ บ ว่าป ระเท ศไท ยมี การบ ริโภ ค
ถุงพลาสติกหูห้ิว จานวน 45,000 ล้านใบต่อปี โฟมบรรจุอาหาร
จานวน 6,758 ล้านใบต่อปี แก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง จานวน
9,750 ล้านใบต่อปี ซึ่งพลาสติกและโฟมเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลาย
ยาก ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของชีวิต และเกิดสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเห็นชอบ โครงการ “ทาความดีด้วยหัวใจ ลดภัย
สิ่งแวดล้อม” เม่ือวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 โดยมีมาตรการลด และ
คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ เป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมของ
โครงการดังกล่าว เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกันลด และคัดแยก
ขยะมูลฝอยแสดงการเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภาคเอกชนและประชาชน
ในการมสี ่วนรว่ มเพื่อช่วยแก้ปญั หาขยะมูลฝอยของประเทศ

สานักงานเลขานุการกรม กรมที่ดิน จึงจัดทาคู่มือการลด และ
คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ เล่มนี้ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้
สานัก/กอง ต่าง ๆ และสานักงานที่ดินจังหวัด และสาขา นาไป
ประยุกต์ใช้ในการลด และคัดแยกขยะมูลฝอย ให้เกิดประสิทธิภาพและ
ประสิทธิผลต่อไป

สำรบญั หนา้
1
ขยะมลู ฝอย คือ อะไร 2
ผลกระทบของขยะมลู ฝอย 5
ประเภทของขยะมูลฝอยและสีของถังขยะ 9
ทาไมต้องคัดแยกขยะมลู ฝอย ? 10
นานมากเท่าไหร่ ? กว่าจะย่อยสลาย 12
การจดั การขยะมลู ฝอยตามหลกั 3R 16
การจัดการขยะมลู ฝอยแยกประเภท

1

“มลู ฝอย” หมายความว่า เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร
เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะท่ีใส่อาหาร เถ้า
มูลสัตว์ ซากสัตว์ หรือสง่ิ อ่ืนใดท่เี ก็บกวาด จากถนน ตลาด
ท่ีเล้ียงสัตว์ หรือท่ีอ่ืน (ตามพระราชบัญญัติรักษาความ
สะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ.
2535)

2

ควำมสกปรก ไม่เปน็ ระเบียบ
มูลฝอยที่ตกค้างจะสร้างความราคาญให้แก่ผู้พักอาศยั ในชุมชน

ส่งกลิ่นเหม็น สกปรก ทาให้ชมุ ชน ขาดระเบียบเรียบร้อย

แหลง่ เพำะพันธ์เุ ชื้อโรค
มูลฝอยที่มีเศษอาหารหรือมูล

ฝ อ ย อิ น ท รีย์ ป ะป น แล ะเห ลื อ
ตกค้างไว้เป็นแหล่งเพาะพันธ์ุเชื้อ
โรค อาจมีแมลงสาบ แมลงวันและ
หนู มาคุ้ยเขี่ยและนาไปสู่การเกิด
โรคต่าง ๆ

3

สำรพิษปนเปื้อนส่สู ิง่ แวดล้อม
มูลฝอยอันตรายบางอย่าง เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดไฟ ซึ่งมีสารโลหะ

หนัก บรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์ หากปนเปื้อนสู่ดิน และน้า จะส่งผลเสียต่อ
ระบบนิเวศ และเข้าสู่หว่ งโซ่อาหาร ซึง่ เปน็ อันตรายต่อสขุ ภาพของเรา

4

แหล่งน้ำเน่ำเสีย
หากมูลฝอยอินทรีย์ถูกทิ้ง

หรือปนเปื้อนลงในแหล่งน้าจะถูก
จุลินทรีย์ในน้าย่อยสลายโดยใช้
ออกซิเจน ทาให้ออกซิเจนในน้า
ลดลง และส่งผลใหน้ ้าเน่าเสีย

กำรเปลีย่ นแปลงสภำพภูมิอำกำศ
การฝังกลบมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธีทาให้เกิดก๊าซมีเทน ส่วนการเผามูล

ฝอยทาให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจะถูกปล่อยออกสู่ชั้น
บรรยากาศ ก๊าซเหล่านี้เป็นก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทาให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ

5

หน่วยงานภาครัฐเป็นแหล่งกาเนิดขยะมูลฝอยหลากหลาย
ประเภท จึงได้มีการจัดแบ่งประเภทของขยะมูลฝอยและถังขยะ
เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและการควบคุมดูแลขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้น
ภายในหนว่ ยงาน โดยแบ่งประเภทได้ ดังน้ี
1) ขยะอินทรยี ์

เปน็ ขยะทีเ่ น่าเสียและย่อยสลายได้เรว็ สามารถนามาหมักทาปุ๋ยได้
เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเน้ือสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึง
ซาก หรือเศษของพืช ผัก ผลไม้ หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองใน
หอ้ งปฏิบัติการ เป็นต้น โดยขยะอินทรีย์จะทงิ้ ในถงั ขยะสเี ขียว

6

2) ขยะรไี ซเคิล
เป็นขยะที่สามารถนาไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่นขวด

พลาสติก ขวดแก้ว กระดาษ กระป๋องเคร่ืองดื่มอะลูมิเนียม เศษ
พลาสติก เศษโลหะ กล่องเคร่ืองดื่มแบบยูเอชที เป็นต้น โดยขยะ
รีไซเคิลจะทิง้ ในถงั ขยะสเี หลือง

7

3) ขยะอันตรำย
เป็นขยะที่มีความเป็นอันตรายหรือมีส่วนประกอบเป็นสารที่มี

อันตราย เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่
โทรศัพท์เคลื่อนที่ กระป๋องสเปรย์บรรจุสารเคมี ตลับหมึก หลอดไฟ
น้ายาล้างห้องน้า เป็นต้น ขยะประเภทนี้ต้องมีการแยกทิ้งจากขยะ
ประเภทอื่น ๆ อย่างชัดเจน เนื่องจากต้องนาไปกาจัดหรือบาบัดด้วย
วิธีเฉพาะเพื่อป้องกันความเป็นพิษปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม โดยขยะ
อนั ตรายจะทิง้ ในถงั ขยะสแี ดง

8

4) ขยะทว่ั ไป
เป็นขยะอื่นนอกเหนือจากขยะอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล และขยะ

อันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลายยาก และไม่คุ้มค่าสาหรับการนา
กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ถุงขนมขบเคี้ยว ซองบะหมี่กึ่งสาเร็จรูป
กระดาษห่ออาหาร ถุงพลาสติก กล่องโฟม หลอดกาแฟ ซองกาแฟ
ซองครีมเทียม และซองน้าตาล เป็นต้น ซึ่งเป็นขยะที่ต้องนาไปกาจัด
อย่างถูกต้อง อาทิ การฝังกลบอย่างถกู หลักสุขาภบิ าล การเผาในเตา
โดยขยะท่ัวไปจะทิง้ ในถงั ขยะสนี ้าเงิน

9

เหตผุ ลทีต่ อ้ งแยกขยะมลู ฝอยออกเปน็ 4 ประเภท เพือ่ ใหง้ า่ ยต่อ
การนากลบั มาใช้ประโยชน์และการนาไปกาจดั

1) ขยะรีไซเคิล จาพวก แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ เม่ือคัด
แยกออกมาจะไม่เกิดปัญหาปนเปื้อนกบั ขยะอินทรีย์ ไม่เกิดกลิน่ เหม็น
ทาให้ง่ายต่อการนาไปรีไซเคิล โดยขายใหร้ ้านรบั ซือ้ ของเก่า และเข้าสู่
อุตสาหกรรมรีไซเคิล เพือ่ แปรรูปเป็นวตั ถดุ ิบหรอื ผลติ ภัณฑ์ใชใ้ หม่

2) ขยะอินทรีย์ รวบรวมนาไปทาปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยน้าชีวภาพ ถ้าหาก
นาไปทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น จะทาให้เกิดการเน่าเหม็น เกิดสภาพ
อันเป็นที่น่ารังเกียจ ดังนั้น ขยะประเภทนี้จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคัด
แยกออกมาจัดการให้ถูกต้อง

3) ขยะอันตรำย เม่ือเราทิ้งของเสียอันตรายรวมกับขยะท่ัวไป
สารอันตรายหรือสารพิษ (เช่น สารปรอท สารตะก่ัว) อาจปนเปื้อน
ออกมาสู่ดิน น้า อากาศ ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ สัตว์ และ
พืช ดังนั้น ต้องแยกขยะอันตรายทิ้งตามวันที่ท้องถิ่น (เช่น เทศบาล
องค์การบริหารส่วนตาบล) กาหนดให้เอามาทิ้งหรือทิ้งในภาชนะ
รองรับขยะอันตราย ณ จุด/สถานที่ท้องถิ่นกาหนดเพือ่ รวบรวมเกบ็ ขน
ไปเข้าสู่กระบวนการรไี ซเคิลหรอื นาไปกาจัดอย่างถกู วิธี

4) ขยะท่ัวไป เม่ือแยกขยะมูลฝอยประเภทอื่นออกไปแล้ว ก็ให้
หนว่ ยงานที่รับผดิ ชอบนาไปกาจดั ตอ่ ไป

10

ของกินและของใช้ในชีวิตประจาวันเม่ือแปรสภาพเป็นขยะมูล
ฝอยแลว้ มีระยะเวลาในการย่อยสลายกันนานเท่าไหร่บ้างนะ ?

พืชผัก กระดำษ
5 วนั – 1 เดือน 2 – 5 เดือน

เปลือกผลไม้ ใบไม้
5 วนั – 1 เดือน 3 เดือน

11

กลอ่ งนมเคลือบพลำสติก รองเทำ้ หนัง
5 ปี 25 - 40 ปี

กระป๋องบรรจอุ ำหำร กระปอ๋ งเคร่อื งด่มื
50 – 100 ปี 80 – 100 ปี

ถงุ พลำสติก กล่องโฟม
450 ปี ไม่ย่อยสลาย

12

เราสามารถใช้หลักการ 3 ใช้ หรือ 3R เพื่อจดั การขยะมูลฝอย
ที่เกิดขึน้ ได้ ดงั น้ี

1) ใช้น้อย หรือลดกำรใช้ (Reduce : R แรก) หมายถึง การ
ลดปริมาณการใช้ลงโดยใช้เท่าที่จาเป็น หลีกเลี่ยงการใช้อย่าง
ฟุ่มเฟือยเพื่อลดการสูญเปล่าและลดปริมาณขยะมูลฝอยให้มาก
ที่สดุ เช่น

• ลดการใชถ้ ุงพลาสติกหหู ้ิว โดยการใชถ้ งุ ผ้าแทน

13

• ลดการใช้โฟมบรรจุอาหาร โดยการใช้กล่องข้าวหรอื ปิ่นโตแทน

• ลดการใช้แก้วพลาสติกแบบคร้ังเดียวทงิ้ โดยการใช้แก้วน้า
ส่วนตัวแทน

14

2) ใช้ซ้ำ (Reuse : R ท่ีสอง) หมายถึง การนาของเสียบรรจุ
ภัณฑ์หรือวสั ดเุ หลือใช้กลับมาใช้อีกโดยไม่ผา่ นขบวนการแปรรูปหรือ
แปรสภาพ เชน่

• การใชก้ ระดาษสองหนา้

• การใชถ้ ่านไฟฉายแบบชาร์จใหม่ได้

15

3) ใช้แปรรูป หรือ แปรรูปใช้ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle : R ท่ีสำม)
หมายถึง การนาขยะรีไซเคิล ของเสียบรรจุภัณฑ์หรือวัสดุเหลือใช้มา
แปรรูปเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต หรือเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์
ใหม่ เชน่ การนากล่องเครือ่ งด่มื ยูเอชทีมาแปรรูปเป็นหลังคา

• การนากระป๋องอะลมู ิเนยี มมาหลอมเป็นขาเทียม

• การนากล่องเครื่องดื่มยเู อชทีมาแปรรปู เปน็ หลังคา

16

สถำนกำรณป์ ัจจุบนั
ประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี จากรายงาน

สถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2560 พบว่า
มีปริมาณการเกิดขยะรวมกันท้ังประเทศ 27.37 ล้านตันต่อปี หรือ
ประมาณ 74,998 ตัน ต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมำณขยะ 1.13
กิโลกรัม ตอ่ คนต่อวนั

17

ขยะมลู ฝอยสามารถแบ่งแยกตามประเภทได้ทั้งหมด 4 ประเภท
โดยมีสัดส่วน ดังน้ี (ปี 2559)

1. ขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้ คิดเป็นร้อยละ 64
จากขยะทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิง้

2. ขยะรีไซเคิล เป็นขยะที่สามารถนามาหลอมใช้ใหม่ได้หากมี
การแยกขยะอย่างถูกต้องและทาความสะอาดก่อนทิ้ง คิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 30 ของขยะทั้งหมด

3. ขยะทั่วไป เป็นขยะที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก
หรือนาไปรีไซเคิลแล้วไม่คุ้มทนุ ต้องนาไปกาจัด ได้แก่ซองขนม กล่อง
โฟม ถุงพลาสติก ร้อยละ 3 ของขยะท้ังหมด

4. ขยะอันตราย เป็นขยะที่ต้องนาไปกาจัดหรือบาบัดด้วย
วิธีเฉพาะ เช่น หลอดไฟ ขวดยา ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสี
ขยะจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม คิดเป็นสดั ส่วนร้อยละ 3

18

แนวทำงกำรจดั กำรขยะอินทรยี ์

ขยะอินทรีย์เป็นประเภทขยะทีม่ ีสัดส่วนมากทีส่ ุดของขยะมูลฝอย
ที่เกิดขึ้นท้ังหมด แต่เป็นประเภทขยะที่สามารถนามาใช้ประโยชน์ได้
เช่น เป็นอาหารสัตว์ ทาปุ๋ยหมัก ทาน้าหมักจุลินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งจะ
เป็นการลดขยะที่ส่งกาจัดได้เป็นจานวนมาก โดยมีวิธีการจัดการขยะ
อินทรีย์ดว้ ยขั้นตอนงา่ ย ๆ ดงั น้ี

ขน้ั ตอนท่ี 1 จดั เตรียมภาชนะมีฝาปิดพร้อมเจาะก้นภาชนะ ขนาดของ
ภาชนะขึ้นอยู่กับปริมาณขยะในครัวเรือน หากมีมากก็ใช้ภาชนะที่มี
ขนาดใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม (ภาชนะที่ใช้อาจเป็นถังขยะ
พลาสตกิ หรือภาชนะอื่น ๆ ทีม่ ฝี าปิด)

19

ขน้ั ตอนท่ี 2 ขุดหลุมขนาดความลึก 2 ใน 3 ส่วนของความสูงของ
ภาชนะ นาภาชนะทีเ่ ตรยี มไว้ตามข้อ 1 ไปใส่ในหลุมทีข่ ดุ

ขั้นตอนท่ี 3 นาเศษอาหารที่เปน็ ขยะอินทรีย์หรอื ขยะที่ย่อยสลายได้
ในครัวเรือนมาใส่ในถงั ที่ฝงั ไว้แลว้ ปิดฝาภาชนะ

ขนั้ ตอนท่ี 4 จลุ ินทรีย์ในดิน ไส้เดือนในดิน จะทาการย่อยเศษอาหาร
ในภาชนะกลายเป็นปุ๋ย (ระยะเวลาข้ึนอยู่กับปริมาณขยะเปียกหาก
ต้องการให้ย่อยสลายเร็วขึน้ หรอื ดบั กลิ่นใหเ้ ติมสาร EM)

ข้ันตอนท่ี 5 หากขยะเปียกที่เกิดขึน้ ในครวั เรือน กส็ ามารถนามาเทใส่
ลงในภาชนะได้จนกว่าจะเต็ม หากปริมาณขยะเปียกเตม็ สามารถนา
ภาชนะไปดาเนินการตามข้ันตอนที่กล่าวมาข้างต้นในบริเวณพืน้ ทีใ่ หม่

20

แนวทำงกำรจัดกำรขยะรไี ซเคิล

ขยะรีไซเคิลเป็นกลุ่มประเภทขยะที่สามารถนามาแปรรูปเป็น
วัตถุดิบเพื่อใช้ใหม่อีกคร้ังได้ จึงยังเป็นของที่มีมูลค่าที่ไม่ควรนาไปทิ้ง
ให้สูญเปล่า และนาไปขายได้ ถึงแม้มูลค่าจะไม่ได้มากเท่าใด แต่ก็ช่วย
แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งขยะรีไซเคิลที่พบได้ทั่วไปสามารถแบ่งได้
5 ประเภท คือ แก้ว กระดาษ พลาสตกิ โลหะ และอโลหะ

ขยะรไี ซเคิลขำยได้

ขยะรีไซเคิลนั้นสามารถนาไปขายตามร้านรับซื้อ หรือรถกระบะ
รถซาเล้ง ที่ตระเวนรับซื้อตามบ้านเรือนในชุมชน ซึ่งราคาขยะรีไซเคิล
อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องเช็คราคาอย่างสม่าเสมอก่อนขาย
โด ยส าม ารถ เช็ค ราค าได้ ที่ เว็บ ไซ ต์ ขอ งบ ริษั ท วงษ์ พ าณิ ชย์
www.wongpanit.com หรือเว็บไซต์ของสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์
และรีไซเคิลเพื่อส่งิ แวดล้อม www.tipmse.or.th

21

กระดำษ A4 กระดำษหนังสือพิมพ์
7.7 บาท / กิโลกรัม 6 บาท / กิโลกรมั

เศษแก้วแดง ขวดน้ำอดั ลมใหญ่
1.3 บาท / กิโลกรัม 2 บาท / ใบ

ขวด PET ทองแดง
8.25 บาท / กิโลกรัม 167 บาท / กิโลกรมั

22

แนวทำงกำรจัดกำรขยะท่ัวไป

ขยะทั่วไปเป็นขยะที่รีไซเคิลได้ยากหรือไม่คุ้มค่าที่จะนามา
รีไซเคิล จึงต้องส่งกาจดั เพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันสามารถนาขยะ
ทวั่ ไปบางชนิดกลับมาใช้ประโยชน์ใหมไ่ ด้ เชน่ เศษไม้ ถุงพลาสตกิ ซอง
บะหมี่ ถุงขนม รองเท้า ฟองน้า สามารถนามาใช้เป็นเช้ือเพลิงทดแทน
ได้

นอกจากนี้ขยะท่ัวไปยังสามารถนากลับมาทาเป็นสิ่งประดิษฐ์ 23
ต่าง ๆ แทนทีจ่ ะทิง้ ได้ เช่น ไม้กวาดจากขวดน้าอัดลม กระเป๋าสานจาก 7
พลาสตกิ พรหมเช็ดเท้าจากเศษผา้ เปน็ ต้น

24

แนวทำงกำรจดั กำรขยะอันตรำย

ขยะอันตรายหรือขยะมีพิษ ถึงจะมีปริมาณขยะน้อยที่สุดในขยะ
มูลฝอยท้ังหมด แต่เป็นขยะที่มีอันตราย และสร้างผลกระทบต่อ
สุขภาพอนามัยของประชาชนและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างมาก โดย
สามารถแยกเปน็ ขยะอนั ตรายที่สามารถรีไซเคิลได้ และขยะอันตรายที่
ต้องส่งกาจัด

ขยะอันตรายที่สามารถรีไซเคิลได้ ในประเทศไทยเร่ิมนำขยะ
อันตรำยบำงประเภทกลับเข้ำมำสู่กระบวนกำรรีไซเคิล ได้แก่ กระป๋องยำ
ฆำ่ แมลง กระปอ๋ งสี สีสเปรย์ จอคอมพิวเตอร์ และถังแก๊สเกำ่ เปน็ ตน้

ขยะอันตรายท่ีต้องกาจัด ขยะอันตรำยท่ีไม่สำมำรถรีไซเคิลได้ และ
จะต้องนำไปกำจัดอย่ำงถูกหลักวิชำกำร ได้แก่ หลอดไฟ เข็มฉีดยำ
แบตเตอรม่ี อื ถือ ถำ่ ยไฟฉำย เป็นต้น

หนังสืออ้ำงอิง

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559).คู่มือการสร้างวินัย สู่การ
จดั การขยะมูลฝอยทีย่ ่ังยืน (พิมพ์ครงั้ ที่ 4).
กรงุ เทพมหานคร: กองสง่ เสริมและเผยแพร่

กรมควบคมุ มลพิษ. (2561). คมู่ อื แนวปฏิบัติการลดและคัดแยกขยะ
มลู ฝอยในหน่วยงานภาครฐั . กรงุ เทพมหานคร: บริษัท ฮีซ์
จากดั

กรมควบคุมมลพิษ. (2561). คู่มือปฏิบตั ิการ 3 ใช้ (3R) (พิมพ์ครงั้ ที่
2). กรงุ เทพมหานคร: บริษทั ฮีซ์ จากัด

กรมควบคมุ มลพิษ. (2561). รายงานสถานการณ์สถานทีก่ าจดั ขยะ
มลู ฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2560. สืบค้นออนไลน์
จาก: http://www.pcd.go.th/info_serv/waste.html {14
มิถนุ ายน 2562}


Click to View FlipBook Version