The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตป่าไม้ (ปี 2562)

สำนักมาตรฐานการออกหนังสือสำคัญ (KM ปี 2562)

Keywords: ด้านบริหารงานที่ดิน

การออกหนังสือแสดงสทิ ธใิ นท่ดี ิน
ในเขตป่าไม้

ส�ำ นกั มาตรฐานการออกหนังสือสำ�คญั
กองฝึกอบรม

กรมที่ดนิ กระทรวงมหาดไทย



คำนำ

หนังสือ เรื่อง “ค่มู ือการออกหนงั สือแสดงสิทธใิ นท่ีดิน” เล่มน้ี เป็นองค์ความรู้ท่ีได้จากการจัดการ
ความรู้ (Knowledge Management : KM) อันเป็นองค์ความรู้ “คู่มือการออกหนังสือแสดงสิทธิในท่ีดิน
ในเขตป่าไม้” ที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการจัดการความรู้ของกรมที่ดิน ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๒

ความรู้ที่ได้นามารวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และ
เป็นความรู้ท่ีฝังลึกในตัวคน (Tacit Knowledge) เพราะเป็นการรวบรวมจากประสบการณ์การทางานจริงของ
ผู้ปฏิบัติ ซ่ึงเป็นข้าราชการกรมท่ีดินทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อันนับเป็นความรู้ที่ทรงคุณค่าและเป็น
ประโยชน์ต่อองค์กรกรมที่ดิน ซึ่งข้าราชการกรมที่ดินสามารถนาแนวทางปฏิบัติไปใช้ในการแก้ปัญหาและ
ถ่ายโอนความรู้ให้แก่กัน เพ่ือเป็นการต่อยอดความรู้ให้กระจายไปทั่วท้ังองค์กร ซึ่งจะช่วยให้คนในองค์กร
สามารถเข้าถึงความรู้และพฒั นาตนเองใหเ้ ป็นผ้รู รู้ วมทงั้ ปฏบิ ตั งิ านได้อยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ

กรมท่ีดินหวังเป็นอย่างย่ิงว่า องค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าในหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อข้าราชการ
กรมทีด่ ินและผูส้ นใจ สามารถนาไปสกู่ ารปฏิบัติได้อย่างถกู ต้องและขยายผลต่อยอดความรู้ตอ่ ไปไดอ้ ีก

สานกั มาตรฐานการออกหนังสือสาคัญ
กองฝึกอบรม
กรมท่ีดนิ กระทรวงมหาดไทย



สารบัญ

เร่ือง หนา

การออกหนังสอื แสดงสทิ ธิในทีด่ ินในเขตปา ไม ๑
 ท่ดี ินที่สงวนหวงหา มตามกฎหมายปาไม ๒1
 การออกหนงั สอื แสดงสทิ ธิในทด่ี นิ ในเขตปาไม
๒7
 กระบวนการขน้ั ตอนและวธิ กี ารท่ีกําหนดในกฎกระทรวง

เก่ยี วกับการออกหนงั สือแสดงสิทธใิ นทดี่ นิ ในเขตปาไม

แนวทางปฏิบตั ขิ องกรมท่ีดิน 31
 ออกโฉนดทดี่ นิ ในเขตปาไม ตอบขอหารอื จังหวดั ระนอง 32
 หารือกรณีออกหนังสือแสดงสทิ ธใิ นที่ดนิ ตามมาตรา ๕๙ ทวิ แหง ประมวล
กฎหมายท่ดี นิ ในเขตปา ไม ตอบขอหารือจงั หวดั สงขลา ๓4
 หารือแนวทางปฏบิ ัติในการออกหนงั สือแสดงสิทธิในทด่ี นิ ในเขตปาไม
ตอบขอหารืออธบิ ดีกรมอุทยานแหงชาตสิ ัตวปา และพนั ธุพชื ๓6
 การขอออกโฉนดท่ีดิน ตอบปลดั สาํ นักนายกรฐั มนตรี 38
 หารือเดินสาํ รวจออกหนงั สือรับรองการทําประโยชนใ นเขตปาไมถาวร
ตอบขอ หารอื จงั หวดั เชยี งใหม ๓9
 หารอื แนวทางปฏิบตั กิ ารออกหนังสอื แสดงสทิ ธใิ นท่ดี นิ บรเิ วณพื้นท่ปี าชายเลน
ตอบขอ หารือจังหวดั จันทบุรี 41
 หารือการออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นท่ดี ินในปา ชายเลน
ตอบขอหารือจงั หวัดนครศรธี รรมราช ๔3
 หารือการแจง ผมู ีสิทธใิ นท่ดี ินขางเคยี งใหมาลงช่อื รับรองแนวเขตทดี่ นิ หรือคัดคา นการรงั วดั
และการดาํ เนินการตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ตอบขอหารือจงั หวัดลาํ พูน ๔6
 การรงั วดั ออกโฉนดท่ีดินในเขตปาสงวนแหงชาติ “ปาเลนยะหร่ิง แปลงท่ี ๒”
ตอบขอ หารอื จังหวดั ปต ตานี ๔7
 หารือกรณกี ารตรวจพิสจู นทีด่ นิ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)ฯ
และการออกหนงั สอื แสดงสิทธิในที่ดินในเขตปาชายเลน ตอบขอหารอื จังหวดั จันทบรุ ี 50
 หารือการออกโฉนดที่ดิน ในเขตปาชายเลนตามมตคิ ณะรัฐมนตรี
ตอบขอ หารือจงั หวดั ระยอง

เร่อื ง หนา

 การทบทวนระเบยี บของคณะกรรมการจัดที่ดนิ แหง ชาติ ฉบบั ท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ๕2
ตอบขอหารืออธบิ ดีกรมอทุ ยานแหง ชาติ สัตวปา และพนั ธุพชื
 หารอื กรณอี อกโฉนดทีด่ ินจากหลักฐานใบจอง (น.ส. ๒ ก.) ตอบขอ หารือจังหวัดสมุทรสาคร ๕4
 ขอหารอื แนวทางปฏบิ ตั ิ ตอบขอ หารอื จงั หวัดเชียงใหม 55
 หารอื การออกหนงั สอื แสดงสิทธิในที่ดินในเขตปา ตอบขอหารือจังหวัดพังงา ๕6
 หารือการเดินสาํ รวจออกโฉนดท่ีดินในพื้นที่ท่ีคณะรัฐมนตรีใหจาํ แนกใชเปนท่ีจัดสรร ๕8
เพ่ือการเกษตรกรรม ตอบขอหารือจงั หวดั สงขลา
 ขอขอ มลู และความเห็น ตอบขอหารือประธานอนุกรรมการดานสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร 60
 การเสนอขาวของหนงั สือพิมพมตชิ น กรรกี ารบกุ รกุ พน้ื ที่อุทยานแหง ชาตสิ ิรนิ าถ ๖2
ตอบขอหารือบรรณาธิการขา วหนังสอื พิมพมติชน
 หารอื คําขอรังวดั ออกหนังสอื รบั รองการทําประโยชน (น.ส.๓ ก.) ในเขตปา ไมถาวร ๖4
ตอบขอ หารือจงั หวดั ยะลา
 การแกไขปญหางานคางออกโฉนดทดี่ นิ ตอบขอหารือจงั หวดั นครศรีธรรมราช ๖5
 หารอื เกย่ี วกับการออกโฉนดทด่ี ิน ๖7
 ขอหารือการตรวจพิสจู นที่ดนิ ตามกฎกระทรวง ฉบบั ท่ี 43 (พ.ศ. 2537)ฯ ๖9
 ขอหารือการรงั วดั ออกโฉนดทดี่ ินเฉพาะรายในเขตปาสงวนแหง ชาตบิ างสวน 71
 หารอื กรณรี าษฎรครอบครองทาํ ประโยชนใ นท่ีดนิ ตามหลักฐาน น.ส. 3 ข. ๗3
ไปขอออกโฉนดที่ดินในพน้ื ท่ปี า ไมสวนกลาง 20 เปอรเ ซ็นต
 การออกโฉนดที่ดินในเขตปา ชายเลน ๗5
 หารือปญหาการรงั วัดออกโฉนดท่ดี ินบริเวณ “ปาเทือกเขาแกว, ปาควนยาง และปา เขาวงั ” ๗7
 หารอื การออกโฉนดท่ีดินในเขตปาไมใหแกสํานักงานการปฏิรูปที่ดนิ เพื่อเกษตรกรรม 80
 หารอื เก่ียวกบั การออกโฉนดทด่ี ิน (ในเขตปา ไมถ าวร) 81
 หารอื ขอกฎหมายทหี่ า มมใิ หมีการออกหนังสอื แสดงสิทธิในท่ีดินเพมิ่ เตมิ ในเขตปาไม ๘2
 ขอความอนุเคราะหก ารขอออกหนังสือแสดงสทิ ธใิ นทีด่ ิน (ปาเชียงดาว) ๘4
 ขอหารอื แนวทางการขอออกโฉนดทดี่ นิ เฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ ในเขตพื้นทป่ี าชายเลน ๘6
 หารือแนวทางปฏิบตั เิ กีย่ วกับการออกโฉนดทดี่ ิน (ปา เมอื งไผ) ๘8

เร่อื ง หนา

ประเด็นปญหา

 การออกโฉนดท่ดี ินในเขตปา ไมต ามมติคณะรัฐมนตรเี ม่ือวันที่ ๑๔ พฤศจกิ ายน ๒๕๐๔ 93

จะตอ งตง้ั คณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ฯ หรือไม

 การแตงตัง้ คณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ 43ฯ มีเจาหนา ท่ฝี ายรงั วดั หรอื ไม ๙5

 การใหความเหน็ ของคณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี 43ฯ ๙6

 การออกโฉนดที่ดนิ ในเขตปาไมไมไดมีการปฏบิ ัติตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ฯ ๙8

 การชีแ้ นวเขตปาไมในแผนที่ของสวนราชการไมเ ปน ไปในแนวทางเดียวกนั 100

 น.ส. ๓ ก. ออกโดยการเดนิ สํารวจตามมาตรา ๕๘ และ ๕๘ ทวิ แหงประมวลกฎหมายที่ดิน 101

ในเขตปาสงวนแหง ชาติ โดยไมม หี ลกั ฐาน

 ปา ไมตามมตคิ ณะรฐั มนตรี เมอื่ วันท่ี ๑๙ เมษายน ๒๕๐๓ อยูในความหมายของปาไมถาวร 103

ตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ฯ หรอื ไม

 การออกโฉนดทีด่ นิ โดยอาศัยหลกั ฐาน ส.ค. ๑ ในเขตพ้ืนที่ดาํ เนินการปฏิรปู ทีด่ นิ ๑๐5

 การขอออกโฉนดท่ดี ินในเขตปา ไม คณะกรรมการตรวจพิสูจนต ามกฎกระทรวง ฉบบั ท่ี 43ฯ ๑๐7

จะอาศัยผลการอาน แปล ตีความภาพถา ยทางอากาศใหก ารออกโฉนดเฉพาะท่ีมีรองรอย

การทําประโยชนบางสวนเทาน้นั ไดหรือไม

 เปล่ียนแปลงเขตการปกครอง จะตง้ั คณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ 43ฯ อยา งไร ๑๐8

 น.ส. ๓ ก. ออกโดยไมมีหลักฐานแจงการครอบครองทีด่ ิน (ส.ค. ๑) ซ่ึงเปนทตี่ ั้งโรงเรียนและ ๑๐9

อยใู นเขตปา สงวนแหง ชาติ น.ส. ๓ ก. ดงั กลาวจะออกไปโดยชอบดว ยกฎหมายหรอื ไม

 ขอออกโฉนดท่ีดินในเขตปา ไมถ าวร โดยอาศยั หลกั ฐาน ส.ค. 1 ไมม ดี า นใดดานหนงึ่ จดปา ๑11

หรอื ที่รกรา งวางเปลา

 ครอบครองที่เกาะโดยไมมีหลกั ฐาน ตอ มามีกฎกระทรวงกําหนดใหเ ปน ปาสงวนแหงชาติ ๑12

จะนํามาขอออกโฉนดท่ดี นิ ไดหรือไม

 นํา น.ส. ๓ ก. มาออกโฉนดในเขตปาสงวนแหง ชาติ ตอมามีพระราชกฤษฎกี า ๑14

ประกาศเปนเขตปฏิรูปเพือ่ เกษตรกรรมและ ส.ป.ก.

 ใบจอง (น.ส. ๒) ออกในเขตปาไมถ าวร (ปาเขาชองเกวยี น) ๑16

 น.ส. ๓ (ไมม เี ลขท่ี) อยใู นเขตปา สงวนแหง ชาติ ปจจบุ นั อยูในเขตดาํ เนนิ การ ส.ป.ก. ๑18

(ปา ดงนางชีข้ีเลน)

 น.ส. ๓ ก. กอ นขายอยูในเขตปา ไม ตอมาตรวจสอบแลวไมอ ยใู นเขตปา ๑20

การออก น.ส. ๓ ก. ดงั กลาวชอบดว ยกฎหมายหรือไม

เร่อื ง หนา

 นํา ส.ค. ๑ ในเขตปาสงวนแหงชาติมาขอออกโฉนดเฉพาะราย ส.ป.ก. แจง วาอยูในเขตปฏิรปู ๑21

แตไ มไดเขาดําเนนิ การ ทดี่ ิน ส.ค. ๑ ดงั กลาวยังคงเปน ปา สงวนแหง ชาติอยหู รอื ไม

 พระราชกฤษฎีกาจัดต้ังนิคมสรางตนเองหรือนิคมสหกรณ มีผลเปนการเพิกถอน ๑22

ปาสงวนแหง ชาตแิ ละปา ไมถาวรหรอื ไม

 เดมิ ทดี่ ินไมอยใู นเขตปา สงวนแหงชาติ ตอมามกี ารเปลย่ี นแปลงเขตการปกครอง ๑23

บางสวนอยใู นเขตปาสงวนแหงชาติ ตองดําเนนิ การตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี 43ฯ หรอื ไม

 ความเหน็ ของคณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ฯ ตางกัน จะดาํ เนนิ การอยา งไร ๑๒4

 คณะกรรมการตรวจตามกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ฯ ไมไปตามกาํ หนดนดั หมาย ๑๒5

คณะกรรมการสว นทีเ่ หลอื สามารถดาํ เนนิ การตอ ไปไดห รือไม

 ทดี่ นิ ทนี่ ํารังวัดออกโฉนดที่ดินมอี าณาเขตติดตอคาบเกีย่ วหรืออยใู นเขตปา ไม ๑๒6

จะตองสงเรือ่ งใหก รมท่ีดินดาํ เนนิ การอาน แปล ตีความภาพถายทางอากาศหรอื ไม

 ทด่ี ินทีน่ ํารังวดั ออกโฉนดทด่ี นิ เฉพาะรายมอี าณาเขตอยูในเขตปาไมบางสว น ๑๒8

อยใู นเขตปฏริ ปู ทดี่ นิ บางสว น พนักงานเจา หนา ทจ่ี ะตองถอื ปฏบิ ัติอยา งไร

 หลักเกณฑในการตรวจสอบวา ไดม กี ารทาํ ประโยชนมากอนการประกาศเปนเขตปา ๑30

และเปน ทีด่ ินท่ีสามารถออกโฉนดท่ดี นิ ไดหรอื ไม

 ระยะเวลาดําเนินการของคณะกรรมการตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43ฯ 132

 วันที่กาํ หนดเปนเขตปาสงวน หรือเขตปาไมถาวร เริ่มนับแตเ มอ่ื ใด ๑33

 กําหนดระยะเวลาสอบถามท่ดี ินทอ่ี ยูในเขตปฏริ ปู ท่ีดนิ ๑๓5

 พน้ื ทปี่ า ไมถาวรที่ถกู กําหนดใหเปนปาสงวนแหงชาติ ตอ มามพี ระราชกฤษฎีกากําหนดให ๑๓6

เปน เขตปฏริ ูปทด่ี ิน ผลของการถอนสภาพปา สงวนแหงชาติ ทาํ ใหส ถานะพน้ื ที่ปาไมถาวร

หมดไปหรอื ไม

ภาคผนวก

ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา 141
 เรอื่ งเสร็จที่ ๔๐๗/๒๕๓๕ 144
 เรือ่ งเสร็จที่ ๖๘๑/๒๕๓๕ 149
 เรื่องเสรจ็ ที่ 214/2535 153
 เรื่องเสรจ็ ที่ 690/2538 160
 เรื่องเสรจ็ ที่ 717/2538 164
 เรอ่ื งเสรจ็ ที่ ๒๘๑/๒๕๔๐

เร่อื ง หนา

 เรือ่ งเสรจ็ ที่ 157/2544 166
 เรอ่ื งเสร็จที่ ๓๐๗/๒๕๔๙ 170
 เร่ืองเสร็จที่ 535/2549 175
 เรอื่ งเสร็จที่ ๒๕๑/๒๕๕๐ 180
 เรื่องเสร็จที่ ๕๙๐/๒๕๕๑ 185
 เรอ่ื งเสร็จที่ ๒๖๘/๒๕๕๒ 188
 เรอ่ื งเสรจ็ ที่ 2045/2558 191
 เรื่องเสรจ็ ที่ 806/2559 198
 เร่ืองเสร็จที่ 775/2561 202

ระเบียบคําสงั่ /หนังสอื เวียนทีเ่ กยี่ วของ ๒๐7

คําพพิ ากษาฎกี าท่เี กยี่ วของ ๔49

กฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิ ๔65
ใหใชประมวลกฎหมายทีด่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗

บนั ทกึ ขอตกลงระหวางกรมท่ีดินและกรมปา ไม วาดว ยการตรวจพสิ ูจน ๔75
เพื่อออกโฉนดทด่ี นิ หรอื หนงั สอื รบั รองการทาํ ประโยชนซงึ่ เก่ยี วกบั เขตปาไม พ.ศ. ๒๕๓๔

มาตรการเพื่อปอ งกนั การทุจรติ ในการออกเอกสารสิทธิ ๔83
 การแตงตั้งคณะกรรมการตรวจพิสูจนทด่ี ินตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบญั ญัติใหใชป ระมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ๔84
 มาตรการปองกันการออกเอกสารสิทธิในทด่ี ินโดยไมช อบดวยกฎหมาย (ป พ.ศ. ๒๕๕๙) ๔88
 มาตรการปอ งกันการเดนิ สาํ รวจออกโฉนดทีด่ ินโดยไมช อบดวยกฎหมาย (ป พ.ศ. ๒๕๕๙) ๔93
 มาตรการปองกนั การออกเอกสารสิทธใิ นที่ดนิ โดยไมช อบดวยกฎหมาย (ป พ.ศ. ๒๕๖๐)



บทท่ี 1
ทีด่ ินท่สี งวนหวงหา้ มตามกฎหมายป่าไม้

ท่ดี ินที่ทางราชการได้สงวนหวงห้ามไวใ้ ห้เป็นเขตป่าไม้เป็นที่ดินตอ้ งห้ามมิให้ออกโฉนดท่ีดิน
หรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ข้อ 14 (4) และ (5) คือได้แก่ เขตป่าสงวน
แห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า และเขตป่าไม้ถาวรตามมติณะรัฐมนตรี
การออกหนงั สือแสดงสิทธิในทด่ี นิ ในคมู่ ือน้ีจึงจะขอกล่าวเฉพาะทดี่ ินประเภทน้ีเทา่ นน้ั

1. เขตปา่ สงวนแห่งชาติ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแหง่ ชาติ พ.ศ. 2507 ได้ให้นิยามความหมายเกี่ยวกับป่าสงวน

แห่งชาติและหลักเกณฑแ์ ละวิธีการกาหนดเขตปา่ สงวนแห่งชาตติ ลอดจนการเพกิ ถอนเปลยี่ นแปลงเขตป่าไว้
ดงั น้ี

มาตรา 4 “ป่า” หมายความวา่ ทด่ี ินรวมตลอดถึง ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง บาง ลาน้า
ทะเลสาบ เกาะและท่ชี ายทะเล ทีย่ ังมิได้มีบุคคลไดม้ าตามกฎหมาย

“ปา่ สงวนแหง่ ชาติ” หมายความวา่ ปา่ ทีไ่ ด้กาหนดให้เป็นป่าสงวนแหง่ ชาติตามพระราชบญั ญัตินี้
มาตรา 6 “บรรดาป่าท่ีเป็นป่าสงวนอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่า
ก่อนวันท่ีพระราชบญั ญตั ิน้ใี ชบ้ งั คบั ให้เป็นป่าสงวนตามพระราชบญั ญัติน้ี
เมื่อรฐั มนตรเี ห็นสมควรกาหนดป่าอ่ืนใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติเพื่อรักษาสภาพป่าไม้ ของป่า
หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่นให้กระทาโดยการออกกฎกระทรวง ซึ่งมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าท่ีกาหนดเป็น
ป่าสงวนแหง่ ชาติ แนบทา้ ยกฎกระทรวงด้วย”
มาตรา 36 บรรดาป่าท่ีเป็นป่าคุ้มครองอยู่แล้วตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองและสงวนป่า
ก่อนวันท่ีพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ถือว่าเป็นป่าสงวนตามพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง
ออกตามมาตรา 6 หรอื มาตรา 7 ซ่ึงตอ้ งออกภายใน 5 ปี นับแตว่ ันทพี่ ระราชบัญญตั ิน้ใี ชบ้ ังคบั
จากบทบัญญัติมาตรา 4, 6 และ 36 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว สามารถจาแนกป่า
ออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. ปา่ สงวน ตามกฎหมายคุม้ ครอง
2. ปา่ ค้มุ ครอง และสงวนปา่
3. ปา่ อื่นใด ที่มใิ ช่ปา่ สงวนและปา่ คุม้ ครองตาม 1 หรอื 2

2๒

ประเภททีห่ น่ึง ปา่ คมุ้ ครอง
ป่าคุ้มครอง เป็นป่าท่ีเกิดขึ้นโดยอาศัยอานาจตามมาตรา 5 และ 7 แห่งพระราชบัญญัติ

คุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. ๒๔๘๑ ในกรณีที่รัฐบาลเห็นสมควรให้ท้องท่ีใดเป็นป่าคุ้มครอง จะตั้งคณะกรรมการ
ขึ้นมาสารวจ และออกเป็นพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตป่าคุ้มครอง โดยมีแผนที่แนบท้ายพระราช
กฤษฎีกา หรือออกเปน็ กฎกระทรวงตามพระราชบญั ญัตคิ ุ้มครองและสงวนป่า พุทธศกั ราช 2481 และแก้ไข
เพ่ิมเติม (ฉบับที่ 3) โดยมีแผนที่แนบท้ายกฎกระทรวง แล้วแต่กรณี ทั้งน้ี แนวเขตของป่าคุ้มครองจะถือเอา
ส่งิ ทม่ี ีอยู่ตามธรรมชาตหิ รือท่จี ัดขน้ึ เองก็ได้

ประเภททีส่ อง ปา่ สงวน
ป่าสงวน เป็นป่าที่เกิดขึ้นโดยอาศัยอานาจตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง

และสงวนป่า พ.ศ. 2481 ทานองเดียวกันกับป่าคุ้มครองประเภทที่หน่ึง แตกต่างกันแต่เพียงแนวเขต
ป่าสงวนมีความชดั เจน มหี ลกั เขต มีปา้ ย หรอื เครือ่ งหมายแสดงไวโ้ ดยรอบป่า

ต่อมาเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ใช้บังคับ ความใน
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พุทธศักราช 2481 พระราชบัญญัติคุ้มครอง
และสงวนป่า (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2496 และ (ฉบบั ท่ี 3) พ.ศ. 2497 โดยบทบัญญัติมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ
ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 กาหนดให้ป่าสงวน (ประเภทท่ีหน่ึง) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า
พ.ศ. 2481 มีสถานะเป็นป่าสงวนแหง่ ชาติตามพระราชบัญญัตินี้ สว่ นป่าคุม้ ครอง (ประเภทท่ีสอง) มาตรา 36
ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลกาหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติเช่นเดียวกัน แต่ต้องออกกฎกระทรวงภายใน 5 ปี
นับแต่พระราชบญั ญัตปิ ่าสงวนแหง่ ชาติ พ.ศ. 2507 ใช้บงั คบั

จากบทบัญญัติมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มีประเด็น
ปัญหาที่จะต้องพิจารณาว่า ถ้าภายใน 5 ปี นับแต่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ใช้บังคับแล้ว
แต่ไม่ได้มีการดาเนินการออกกฎกระทรวงให้เป็นไปตามที่กฎหมายกาหนด สภาพของป่าคุ้มครองดังกล่าว
(ประเภทท่สี อง) จะยังคงเป็นปา่ สงวนแหง่ ชาตหิ รือไม่ อย่างไร

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะท่ี 7) 1 วินิจฉัยว่า การไม่ได้ออกกฎกระทรวงกาหนดป่าสงวน
แห่งชาติหรือออกกฎกระทรวงภายหลัง 5 ปี ตามบทเฉพาะกาลมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวน
แห่งชาติ พ.ศ. 2507 พ้ืนท่ีป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองเขตป่า พ.ศ. 2481 ก็ยังคง
เป็นป่าสงวนแห่งชาติอยู่ เพราะบทเฉพาะกาลมาตราดังกล่าว มิได้บัญญัติให้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวน
แห่งชาติ หากมิได้มีการออกกฎกระทรวงภายใน 5 ปี ระยะเวลาดังกล่าวจึงเป็นเพียงกาหนดระยะเวลา
เร่งรัดให้มีการดาเนินการสารวจและกาหนดเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติใหม่เท่าน้ัน แต่ถ้ามีการออก
กฎกระทรวงกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติแล้ว ไม่ครอบคลุมพื้นท่ีป่าคุ้มครองเดิมท้ังหมด ส่วนท่ีเหลือย่อม

1 ความเหน็ คณะกรรมการกฤษฎีกา เรอื่ งเสรจ็ ท่ี 402/2542

๓3

พ้นจากการเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ แต่จะมีสถานภาพทางกฎหมายอย่างไร ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริง
เป็นกรณีไป ในกรณีทั่วไปถ้าไม่มีการกาหนดให้เป็นที่สงวนหรือเป็นที่คุ้มครองประเภทอื่นก็จะเป็นท่ีรกร้าง
ว่างเปล่า ตามมาตรา 1304 (1) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ถ้ามีการสงวนหวงห้ามหรือ
คมุ้ ครองตามกฎหมายอ่ืน สงวนการคมุ้ ครองกจ็ ะเป็นไปตามกฎหมายน้ัน

ประเภทท่สี าม ป่าอนื่ ใด
ป่าอ่ืนใด เป็นป่าสงวนที่กาหนดข้ึนใหม่ ซึ่งเป็นกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ

สหกรณ์ออกกฎกระทรวงกาหนดให้เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยพิจารณาจากความจาเป็นเพ่ือการรักษา
สภาพป่าหรือทรัพยากรอ่ืน ซึ่งอาจเป็นพ้ืนที่ป่าท่ีคณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวรแห่งชาติ
หรือไม่ก็ได้ แต่ในหลักการหรือแนวทางปฏิบัติในการกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติจะกาหนดป่า
ท่ีคณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นเขตป่าไม้ถาวรเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่หากพนักงานเจ้าหน้าท่ีสารวจ
พบว่ามีพ้ืนที่ป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. ๒๔๘๔ ที่มีเหมาะสมก็อาจจะนาไปกาหนดให้เป็นป่าสงวน
แห่งชาติก็ได้ ซึ่งการกาหนดให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติจะต้องออกเป็นกฎกระทรวง และจะต้องมีแผนท่ี
แนบท้ายแสดงเขตของป่าสงวนไว้ด้วย2 ถ้ายังไม่มีการออกกฎกระทรวง พ้ืนท่ีน้ันก็ยังไม่ใช่ป่าสงวนแห่งชาติ3
ทั้งยังจะต้องปิดประกาศสาเนากฎกระทรวงไว้ ณ ที่ว่าการอาเภอ ท่ีทาการกานัน และในหมู่บ้านท่ีเก่ียวข้อง
เพ่อื ให้ประชาชนทราบตามความในมาตรา ๙

การพจิ ารณาสถานะปา่ สงวนแห่งชาติ
เมื่อได้มีการออกกฎกระทรวงกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 6 วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 แล้ว แต่ต่อมาปรากกฎข้อเท็จจริงว่าท้องที่ที่ระบุ
ในกฎกระทรวงกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติกับท้องท่ีท่ีระบุในแผนที่ท้ายกฎกระทรวงแตกต่างกัน หรือมีการ
เปล่ียนแปลงเขตท้องที่การปกครองใหม่ หรือมีการมอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติให้สานักงานการปฏิรูป
ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นาไปดาเนินการปฏิรูปที่ดิน หรือเกิดท่ีงอกริมตลิ่งจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ
กรณเี ช่นนี้ผลในทางกฎหมายจะเปน็ ประการใด สามารถพจิ ารณาได้ดงั น้ี
1. กรณีท้องท่ีตามท่ีระบุไว้ในกฎกระทรวงกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติแตกต่างกับ
ทอ้ งท่ีท่ีปรากฏตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง

โดยที่พระราชบญั ญัตปิ ่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 6 วรรคสอง บัญญัติว่า การกาหนด
ปา่ อื่นใดเป็นป่าสงวนแห่งชาติให้กระทาโดยกฎกระทรวงซึง่ มีแผนที่แสดงแนวเขตป่าแนบท้ายกฎกระทรวงด้วย
กรณีจึงมีประเด็นปัญหาหากตามแผนท่ีแนบท้ายกฎกระทรวงมีแนวเขตครอบคลุมท้องท่ีมากกว่ าที่ระบุไว้
ในกฎกระทรวง จะถือว่าท้องที่ส่วนที่เกินกว่าระบุไว้ในกฎกระทรวงเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่

2 คาพพิ ากษาฎีกาที่ ๑๓๒๔/๒๕๒๐
3 คาพพิ ากษาฎีกาที่ ๑๑๐๑/๒๕๑๖

4๔

ซึ่งประเด็นตามปัญหาคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) 4 ได้วินิจฉัยว่า การพิจารณาว่าบริเวณใดเป็นเขต
ป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่ จะพิจารณาแต่เพียงท้องท่ีตามท่ีระบุไว้ในกฎกระทรวงอย่างเดียวไม่ได้ ต้องพิจารณา
ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงดังกล่าวด้วย เพราะการที่จะรู้ว่าป่าสงวนแห่งชาตินั้นมีอาณาเขตกว้างยาว
แค่ไหน เพียงใด ต้องดูจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ซ่ึงสอดคล้องกับคาพิพากษาศาลฎีกาท่ี 324/2520
ท่ี 3022/2536 และท่ี 5223/2548

2. กรณมี กี ารเปล่ยี นแปลงเขตท้องทีก่ ารปกครองในภายหลัง
ในกรณีที่ได้กาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติมีผลใช้บังคับแล้ว แต่ต่อมาได้มีการ

เปลี่ยนแปลงเขตท้องที่การปกครองใหม่ เช่น มีการตั้งตาบล กิ่งอาเภอหรืออาเภอ เพ่ิมข้ึนใหม่โดยยังไม่ได้มี
การแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ซึ่งประเด็นปัญหาดังกล่าวคณะกรรมการ
กฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้วินิจฉัยว่า การเปล่ียนแปลงท้องท่ีการปกครองในภายหลังเป็นเพียงการบริหารงาน
ในด้านการปกครองเท่านั้น หาทาให้ป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวที่ได้ผ่านการดาเนินการกาหนดให้เป็นป่าสงวน
แห่งชาติตามข้ันตอนท่ีกาหนดในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยครบถ้วนมาแล้วแต่ต้น
จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเขตการปกครองท้องท่ีท่ีกาหนดข้ึนใหม่แต่อย่างใดไม่ ดังน้ัน พื้นที่ดังกล่าว
จงึ ยังคงเป็นเขตป่าสงวนแหง่ ชาติอยเู่ ชน่ เดิม

3. กรณีมีการมอบพ้ืนท่ีป่าสงวนแห่งชาติให้สานักงานการปฏิรูปที่ดินเพ่ือเกษตรกรรม
(ส.ป.ก.) นาไปดาเนินการปฏริ ปู ท่ดี ิน

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 แก้ไขเพ่ิมเติม
(ฉบับท่ี 3) พ.ศ. 2532 มาตรา 26 บัญญัติว่า เม่ือได้มีพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตปฏิรูปท่ีดินใช้บังคับใน
ท้องที่ใดแล้ว ความใน (4) บัญญัติว่า ถ้าเป็นท่ีดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติ
ให้ดาเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เม่ือ ส.ป.ก. จะนาท่ีดิน
แปลงใดในส่วนนั้นไปดาเนินการปฏิรูปท่ีดินเพ่ือเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากาหนดเขตปฏิรูปท่ีดิน
มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในท่ีดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอานาจนาที่ดินมาใช้ในการปฏิรูปท่ีดิน
เพื่อเกษตรกรรม โดยไม่ตอ้ งดาเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแหง่ ชาติ

ตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว การตราพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตปฏิรูปท่ีดิน
ยังไม่มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที แต่จะก่อให้เกิดอานาจแก่รัฐที่จะนาที่ดินของรัฐมาจัด
จะมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติก็ต่อเม่ือมีองค์ประกอบสามประการคือ คณะรัฐมนตรีมีมติให้
ดาเนินการปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรมในเขตป่าสงวนแห่งชาติน้ัน และ ส.ป.ก. จะนาที่ดินแปลงนั้นไป
ดาเนินการปฏิรูปที่ดินด้วยโดยมีแผนงานพร้อมทั้งงบประมาณเพียงพอที่จะดาเนินการได้ทันที ดังนั้น

4 บนั ทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรอ่ื ง การออกหนังสอื แสดงสิทธใิ นท่ดี ินในพน้ื ที่ป่าสงวนแหง่ ชาติ “ป่าแควระบม
และป่าสียดั ” (เร่อื งเสร็จท่ี ๒๕๑/๒๕๕๐)

๕5

หาก ส.ป.ก. ยังไม่ได้เข้าไปดาเนินการในพ้ืนที่ป่าสงวนแห่งชาติบริเวณใด พ้ืนท่ีน้ันก็ยังมีสถานะเป็นพื้นที่
ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม ทั้งนี้ ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 214/2534
และเร่ืองเสรจ็ ท่ี 307/2549

4. กรณเี กดิ ทง่ี อกรมิ ตลง่ิ จากเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ที่ดินป่าสงวนแห่งชาติเกิดท่ีงอกริมตลิ่ง จะถือว่าท่ีงอกริมตลิ่งดังกล่าวเป็นป่าสงวน

แห่งชาติดว้ ยหรือไม่น้ัน จาเป็นจะต้องพิจารณาจากหลักเกณฑ์และวธิ ีการในการกาหนดเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ซึ่งตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 6 บัญญัติว่า การกาหนดให้พ้ืนท่ีใดเป็นป่าสงวน
แห่งชาติให้กระทาโดยออกกฎกระทรวงและจะต้องมีแผนที่แสดงแนวเขตป่าที่กาหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
แนบท้ายกฎกระทรวงด้วย รวมท้ังมาตรา 8 และมาตรา 9 กาหนดให้พนักงานเจ้าหน้าท่ีจัดให้มีหลักเขต
และป้ายหรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตให้ประชาชนได้เห็นและปิดประกาศสาเนากฎกระทรวงและแผนท่ี
ทา้ ยกฎกระทรวงไว้ ณ ที่ทาการอาเภอ หรือกิ่งอาเภอท้องท่ี ที่ทาการกานันท้องที่ และท่ีเปิดเผยในหมู่บ้าน
ท้องที่นั้น นอกจากนี้ มาตรา 7 ได้บัญญัติการเปลี่ยนแปลงแนวเขตซ่ึงเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ป่าใดไม่ว่า
ทั้งหมดหรือบางส่วนให้กระทาโดยออกกฎกระทรวงและให้มีแผนที่แนวเขตที่เปล่ียนแปลงหรือเพิกถอนนั้น
แนบท้ายกฎกระทรวงด้วย ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) 5 มีความเห็นว่าท่ีงอก
รมิ ตล่ิงซึ่งเกิดจากท่ีดินป่าสงวนแห่งชาติมีสภาพเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่า
ตามมาตรา 1304 (๑) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
จนกว่าจะได้ดาเนินการออกกฎกระทรวงและปฏิบัติการอย่างอ่ืนตามที่พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ
พ.ศ. 2507 กาหนดไว้

๒. เขตอทุ ยานแหง่ ชาติ
พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ ได้นิยามความหมายเกี่ยวกับอุทยาน

แหง่ ชาติและหลกั เกณฑ์วธิ กี ารกาหนดเขตอทุ ยานแหง่ ชาติตลอดจนการเพกิ ถอนเปลี่ยนแปลงเขตป่าไว้ ดงั นี้
มาตรา 4 “ที่ดิน” หมายความว่า พื้นท่ีดินท่ัวไป และให้หมายความรวมถึง ภูเขา ห้วย

หนอง คลอง บึง บาง ลานา้ ทะเลสาบ เกาะ และทชี่ ายทะเลดว้ ย
“อุทยานแห่งชาติ” หมายความว่า ที่ดินที่ได้กาหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติ

ตามพระราชบัญญตั นิ ้ี
มาตรา 6 เมื่อรฐั บาลเห็นสมควรกาหนดบรเิ วณทด่ี นิ ใดทีม่ ีสภาพธรรมชาตเิ ป็นที่น่าสนใจ

ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม เพ่ือสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและร่ืนรมย์ของประชาชน ก็ให้มี

5 บนั ทกึ สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรอ่ื ง ปญั หาเก่ียวกับท่ีดนิ ป่าสงวนแห่งชาติเกดิ ทีง่ อกริมตลง่ิ (เรอ่ื งเสรจ็ ที่ ๙๙/๒๕๒๖)

6๖

อานาจกระทาได้โดยประกาศพระราชกฤษฎีกาและให้มีแผนท่ีแสดงแนวเขตแห่งบริเวณท่ีกาหนดนั้นแนบท้าย
พระราชกฤษฎกี าด้วย บรเิ วณทก่ี าหนดนีเ้ รยี กวา่ “อทุ ยานแห่งชาติ”

ท่ีดินที่จะกาหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาตินั้น ต้องเป็นท่ีดินท่ีมิได้อยู่ใน
กรรมสิทธ์ิหรอื ครอบครองโดยชอบดว้ ยกฎหมายของบุคคลใด ซง่ึ มใิ ชท่ บวงการเมือง

มาตรา 7 การขยายหรือการเพิกถอนอุทยานแห่งชาติไม่ว่าท้ังหมดหรือบางส่วนให้
กระทาโดยพระราชกฤษฎีกา และในกรณีที่มิใช่การเพิกถอนอุทยานแห่งชาติทั้งหมด ให้มีแผนท่ีแสดงเขต
ทเ่ี ปล่ยี นแปลงแนบทา้ ยพระราชกฤษฎกี าด้วย

จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าว อุทยานแห่งชาติจึงหมายถึง ที่ดินบริเวณใดบริเวณหน่ึง
ทั้งท่ีอยู่บนพื้นดินและทะเลรวมทั้งท่ีดินท่ีอยู่ใต้ทะเลภายใต้อธิปไตยของประเทศไทย ที่ได้สงวนรักษาไว้
ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติ เพ่ือให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน ส่วนการ
กาหนดเขตอุทยานแห่งชาติให้กระทาโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาพร้อมแผนท่ีแสดงแนวเขตแนบท้าย
พระราชกฤษฎีกาน้ัน และที่ดินที่จะกาหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติจะต้องเป็นที่ดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์
หรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง ท้ังนี้ ภายในเขตอุทยานแห่งชาติ
กฎหมายห้ามมิให้บุคคลใดยึดถอื ครอบครองรวมตลอดทง้ั ก่นสร้าง แผว้ ถาง หรอื เผาป่า

ท่ีดินที่ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง หมายถึงท่ีดิน
ท่ีบคุ คลนนั้ มสี ทิ ธิครอบครองท่ชี อบด้วยกฎหมายยกขึ้นกลา่ วยนั ต่อรัฐได้ เชน่

(๑) มีหลักฐาน ส.ค. ๑, ใบจอง, น.ส. ๓ ท่ีรัฐออกให้เพ่ือรับรองการครอบครองในที่ดิน
หรือ

(๒) ครอบครองที่ดินท่เี กดิ จากสิทธิท่รี ัฐอนุญาต เชน่ เปน็ ผทู้ ี่ได้รับอนุญาตตามประทานบัตร
ทาเหมอื งแร่ ตามกฎหมายวา่ ดว้ ยแร่ หรือสมั ปทานบตั ร6

(๓) ในกรณีท่ีคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยไว้ในเร่ืองเสร็จท่ี ๑๑๗/๒๕๓๔ ว่า ถ้าราษฎร
ครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินมาก่อนใช้พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙
แม้จะไม่ดาเนินการขึ้นทะเบียนที่ดินก็ยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินตามมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ
ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ ๖)ฯ รวมทั้งอาจดาเนินการออกหนังสือสาคัญสาหรับที่ดินได้ตามมาตรา ๑๕
แห่งพระราชบัญญัติออกโฉนดท่ีดิน (ฉบับท่ี ๗) พ.ศ. ๒๔๘๖ ท่ีดินดังกล่าวจึงมิใช่ที่รกร้างว่างเปล่าที่รัฐอาจ
กาหนดและหวงห้ามเพ่ือใช้ประโยชน์ในราชการ การออกพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตหวงห้ามที่ดิน
เพื่อการราชทัณฑ์ เม่ือ พ.ศ. ๒๔๘๖ ไม่มีผลทาให้ท่ีดินน้ันกลายเป็นที่หวงห้าม ซ่ึงข้อวินิจฉัยในทานองน้ี

6 พยงค์ ฉัตรวิรุฬ์ , กฎหมายว่าด้วยป่าไม,้ พมิ พท์ ่ี บริษัท อนิเมท พร้นิ แอนด์ ดไี ซด์ จากดั , หน้า ๑๔๗

๗7

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๗) 7 ได้นาไปประกอบการวินิจฉัยสถานะของท่ีดินราษฎร กรณีการประกาศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี ทับท่ีดินของประชาชนว่า หากมีหลักฐานพิสูจน์ได้ชัดเจนก่อนวันท่ี
พระราชกฤษฎีกากาหนดเขตอุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี มีผลใช้บังคับ ประชาชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ตามมาตรา ๓ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน หรือมีการครอบครองและทาประโยชนในที่ดินอยู่โดยชอบด้วย
กฎหมายก่อนวันท่ีประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ ที่ดินแปลงดังกล่าวย่อมไม่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และ
ไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ประชาชนจึงสามารถตัดต้นยางพาราได้ โดยไม่ต้อง
ดาเนินการเพกิ ถอนเขตอทุ ยานแหง่ ชาตบิ โู ด – สไุ หงปาดี

ส่วนประเด็นปัญหาการออกพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตอุทยานแห่งชาติตามมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว หากปรากฏข้อเท็จจริงต่อมาว่าแนวเขตตามแผนที่
ท้ายพระราชกฤษฎีกา ครอบคลุมท้องท่ีมากกว่าที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา จะถือเอาท้องที่ตามที่ระบุใน
พระราชกฤษฎีกาหรือตามแผนที่แนบท้าย ซึ่งกรณีนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6) 8 ได้วินิจฉัยว่า
พื้นท่ีใดจะเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาตามพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตอุทยาน
แห่งชาติ ทั้งนี้ เพราะจะต้องถือเอาท้องที่ตามท่ีระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาเป็นสาคัญ แม้ว่าตามแผนท่ีท้าย
พระราชกฤษฎีกาจะมีเขตครอบคลุมท้องท่ีมากกว่าที่ระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา ก็ไม่ถือว่าท้องที่ส่วนท่ีเกิน
กว่าท่ีระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกาเป็นเขตอุทยานแห่งชาติด้วย เม่ือพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตอุทยาน
แห่งชาติ มิได้มีชื่อตาบลบางตาบลโดยเหตุท่ีมีการตกหล่นชื่อตาบลนั้นไป ก็ต้องถือว่าพ้ืนที่ของ ตาบล
ที่ตก ห ล่น ไป นั้น ไม่ได้อยู่ใน เข ตอุท ยาน แ ห่งช าติต าม พ ระราช กฤ ษ ฎีก าฉบับ นั้น ด้ว ย ทั้งน้ี
ดังปรากฏตามคาพิพากษาฎีกาที่ 790/2498 ซึ่งได้วินิจฉัยไว้ในทานองดังกล่าวแล้ว ดังน้ัน เม่ือกรมป่าไม้
ต้องการเพ่ิมเติมช่ือตาบลที่ตกหล่นไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าวด้วย จึงเป็นกรณีขยายพ้ืนที่
เขตอุทยานแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมออกไปอีก โดยเพ่ิมเติมพ้ืนท่ีของตาบลท่ีตกหล่นนั้น
เม่ือเป็นการขยายพื้นท่ีอุทยานแห่งชาติ จึงตอ้ งดาเนินการตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอทุ ยานแห่งชาติ
พ.ศ. 2504 ซึ่งกระทาโดยประกาศพระราชกฤษฎีกาขยายเขตอุทยานแห่งชาติ และผนวกพื้นที่ตาบล
ที่ต้องการจะเพิ่มเติมในเขตอุทยานแห่งชาติลงในพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และด้วยการดาเนินการแก้ไขวิธี
ดังกล่าวจะทาให้พระราชกฤษฎีกาท้ังสองฉบับต่อเนื่องไม่ขาดตอนเป็นสองระยะดังเช่นการยกเลิก
พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมแล้วประกาศพระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่ สาหรับกรณีการผนวกพื้นที่เพ่ิมเติมเข้าไป

7 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การใช้อานาจตามมาตรา ๙(๔) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการ
จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. ๒๕๕๓ เพื่อดาเนินการให้ราษฎรตัดต้นยางพาราในพ้ืนที่อุทยานแห่งชาติบูโด – สุไหงปาดี
(เรื่องเสร็จท่ี ๑๙๐/๒๕๕๘)
8 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่อื ง หารือแนวทางปฏบิ ัติเกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกาเพ่ิมเติมช่ือตาบล
ทีต่ กหลน่ และการผนวกพ้ืนทเ่ี พ่มิ เติมเพ่มิ เตมิ เข้าไปในเขตอุยานแหง่ ชาตเิ ขาใหญ่ (เรอ่ื งเสรจ็ ที่ ๗๒/๒๕๒๓)

8๘

ในอุทยานแห่งชาติก็คงปฏิบัติเช่นเดียวกับกรณีชื่อตาบลตกหล่นเช่นกัน โดยการประกาศพระราชกฤษฎีกา
ขยายเขตอทุ ยานแหง่ ชาติออกไป

แต่อย่างไรก็ตามประเด็นเก่ียวกบั แผนท่ีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกา
(คณะท่ี 7) 9ได้เคยวินจิ ฉัยว่า “บริเวณที่ดินใดจะเป็นเขตอุทยานแห่งชาตหิ รือไม่ มาตรา 6 กาหนดให้กระทา
โดยการออกพระราชกฤษฎีกากาหนดบริเวณที่ดินให้เป็นเขตอุทยานแห่งชาติโดยมีแผนท่ีแนบท้าย
พระราชกฤษฎีกาเขตอุทยานแห่งชาติไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน มาตรา 7 กาหนดให้กระทาโดยการออก
พระราชกฤษฎีกาเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติ และกรณีที่มิใช่เป็นการเพิกถอนเขตอุทยานแห่งชาติทั้งหมด
ให้มีแผนที่แสดงเขตท่ีเปล่ียนแปลงด้วย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า แผนท่ีท้ายพระราชกฤษฎีกาเพิกถอน
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ บางส่วน ในท้องท่ี ตาบลหินต้ัง อาเภอเมืองนครนายก จังหวัดนายก พ.ศ. 2521
และพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอทุ ยานแห่งชาติ ป่าเขาใหญ่ บางส่วน ในท้องที่ ตาบลนาหินลาด อาเภอปากพลี
และตาบลหินตั้ง อาเภอเมืองนครนายก พ.ศ. 2542 ออกโดยอาศัยอานาจตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ
อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ซ่ึงพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับได้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่
บางส่วนเท่าน้ัน ดังนั้น พื้นท่ีเขตอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่ส่วนที่มิได้ถูกเพิกถอนโดยพระราชกฤษฎีกาฯ
ฉบับ พ.ศ. 2521 และฉบับ พ.ศ. 2542 จึงต้องเป็นไปตามแผนท่ีท้ายพระราชกฤษฎีกากาหนดบริเวณที่ดิน
ป่าเขาใหญ่ฯ ฉบับ พ.ศ. 2505” ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องนี้ สรุปได้ว่า เขตอุทยาน
แห่งชาติต้องเป็นไปตามแผนท่ีแนบท้ายในมาตรา 6 เท่านั้น ส่วนแผนที่ท้ายตามความในมาตรา 7 เป็นเรื่อง
การเพกิ ถอนเขตอุทยานแห่งชาติ

๓. เขตรักษาพันธสุ์ ตั ว์ป่า
เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่ามีพระราชบัญญัติที่ให้อานาจเจ้าหน้าที่ดาเนินการอยู่ ๒ ฉบับ

คือพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ ซ่ึงต่อมาได้ถูกเลิกโดยพระราชบัญญัติสงวนและ
คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๓ ซึ่งการบัญญัติเกี่ยวกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจะแตกต่างอย่างไร
หรอื ไม่ จะขอกล่าวไปทง้ั สองพะราชบญั ญัตเิ พอ่ื เปรยี บเทียบไปพร้อมกัน

๓.๑ พระราชบัญญัตสิ งวนและคุ้มครองสัตวป์ ่า พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๑๙ บัญญัติว่า เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกาหนดบริเวณที่ดินแห่งใดให้เป็นที่

อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยปลอดภัยเพ่ือรักษาไว้ซ่ึงพันธ์ุสัตว์ป่าให้กระทาโดยพระราชกฤษฎีกาและมีแผนท่ี
แนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณท่กี าหนดน้ีเรยี กวา่ เขตรักษาพันธ์สุ ตั ว์ปา่

9 บันทึกสานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง หารอื เกย่ี วกับแนวเขตอทุ ยานแหง่ ชาติตามพระราชกฤษฎีกา (เรอื่ งเสร็จท่ี
๖๕/๒๕๔๙)

๙9

ที่ดินที่จะกาหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่านั้น ต้องเป็นท่ีดินท่ีมิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์
หรือครอบครองโดยชอบดว้ ยกฎหมายของบุคคลใดซึ่งมิใชท่ บวงการเมือง

มาตรา ๒๐ บัญญัติว่า การขยาย หรือการเพิกถอนเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าไม่ว่าทั้งหมด
หรือบางส่วนให้กระทาโดยพระราชกฤษฎีกาและกรณีท่ีมิใช่เป็นการเพิกถอนเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าท้ังหมด
ให้มแี ผนท่ีแสดงแนวเขตทีเ่ ปล่ียนแปลงไปแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย

มาตรา ๒๑ บัญญัติว่า เขตรักษาพันธุ์สตั ว์ปา่ ใหม้ ีหลักเขต ป้าย หรือเคร่อื งหมายแสดง
แนวเขตรักษาพันธส์ุ ัตว์ปา่ ไว้ตามสมควรเพ่ือให้ประชาชนเห็นไดว้ า่ เปน็ แนวเขตรักษาพนั ธุ์สัตวป์ ่า

มาตรา ๒๔ บัญญัติว่า ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ห้ามมิให้ผู้ใดเข้าไปยึดถือครอบครอง
ท่ีดิน หรือตัดโค่น แผ้วถาง เผา ทาลาย ต้นไม้ หรือพฤกษชาติอื่น หรือขุดหาแร่ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์
หรือเปลย่ี นแปลงทางนา้ หรือทาใหล้ าน้า ลาห้วย หนองบึง ทว่ มท้นหรอื เหือดแหง้ หรือเปน็ พิษต่อสัตว์ปา่

มาตรา ๓๒ บญั ญัตวิ ่า คณะกรรมการมหี น้าท่ีให้คาปรกึ ษาต่อรัฐมนตรีในเรือ่ งต่อไปน้ี
(๑) กาหนดระยะเวลาและท้องที่ห้ามล่าสตั ว์ป่าคมุ้ ครองประเภทที่ ๒ ตามมาตรา ๙
(๒) กาหนดเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าตามมาตรา ๑๙ และเขตห้ามล่าสตั ว์ป่า ตามมาตรา ๒๖
รวมถึงการกาหนดชนิด หรือประเภทของสัตว์ป่าทจ่ี ะห้ามล่าในเขตน้นั ดว้ ย
(๓) กิจการอันพึงกระทาเพ่ือประโยชน์ในการบารุงรักษาเขตรกั ษาพันธุ์สตั ว์ป่าและเขต
ห้ามลา่ สตั ว์ป่า
(๔) หลักเกณฑแ์ ละเงือ่ นไขเกยี่ วกับการอนุญาตใหล้ ่าสตั ว์ปา่ และค้าสตั ว์ปา่
(๕) เรือ่ งทีร่ ัฐมนตรปี รึกษา
จากบทบัญญัติจะเห็นได้ว่า หากรัฐบาลเห็นสมควรโดยอาจขอปรึกษาหารือจาก
คณะกรรมการตามมาตรา ๓๒ แล้ว จะกาหนดให้ที่ดินบริเวณแห่งใดที่บุคคลมิได้มีกรรมสิทธ์ิหรือ
ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลใดซ่ึงมิใช่ทบวงการเมือง ให้เป็นท่ีอยู่อาศัยของสัตว์ป่า
โดยปลอดภัยแล้ว รฐั สามารถนาท่ีดินนั้นมากาหนดให้เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
และมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ส่วนท่ีดินอันข้อยกเว้นมิให้นามากาหนดเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า
มีลักษณะทานองเดียวกับการกาหนดให้เปน็ พ้ืนท่ีอทุ ยานแห่งชาติตามที่กลา่ วมาแล้ว และมคี าอธิบายเพ่ิมเติม
คาว่า “ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย” จากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะท่ี ๘) 10ว่า “ครอบครอง”
มีความหมายกว้างกว่า “สิทธิครอบครอง” กล่าวคือ บุคคลใดอาจครอบครองทรัพยส์ ินของบุคคลอ่ืนไว้โดยท่ีตน
ไม่มีสิทธิครอบครองเหนือทรัพย์สินนั้นก็ได้ การที่บุคคลสามารถเข้าไปทาไม้ เก็บหาของป่า ทาประโยชน์
อยู่อาศัยในเขตป่าเปน็ การช่วั คราว การเข้าไปทาเหมืองแร่ หรอื ระเบิดหิน ย่อยหินได้ตามสัมปทาน ก็เพราะว่า

10 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง ปัญหาการกาหนดพื้นที่ท่ีอยู่ในความครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
ของบุคคลท่ีมใิ ชท่ บวงการเมอื งเปน็ เขตรักษาพันธ์ุสตั วป์ ่า ตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่งพระราชบญั ญัติสงวนและคุม้ ครอง
สตั ว์ป่า (เรอ่ื งเสรจ็ ท่ี ๒๐๙/๒๕๒๙)

10 ๑๐

บุคคลน้ันได้รับอนุญาตโดยถูกต้องตามกฎหมายกรณีจึงเท่ากับว่าบุคคลนั้นครอบครองพ้ืนท่ีท่ีได้รับอนุญาต
โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่าท่ีดินดังกล่าวเป็นท่ีดินที่อยู่ใน “ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย”
พ้ื น ท่ี ท่ี ได้ รั บ อ นุ ญ าต นั้ น เป็ น ก ารช่ั ว ค ราว ภ าย ใน ก าห น ด เวล า ท่ี ได้ รั บ อ นุ ญ าต มิ ได้ มี ผ ล ถึ งข น า ด เป็ น
“สทิ ธิครอบครอง”11

เม่ือมีการตราพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว ผลของการตรา
พระราชกฤษฎีกาจะมีผลห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินในเขตรักษาพันธ์ุสัตว์น้ันตามมาตรา ๒๔
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ ที่ดินจึงมีสถานะเป็นที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
ข้อ ๑๔(๔) แห่งกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายทดี่ นิ พ.ศ. ๒๔๙๗

๓.๒ พระราชบัญญตั สิ งวนและคุ้มครองสตั ว์ปา่ พ.ศ. ๒๕๓๕
ตามมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕

บัญญัติให้คณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ มีอานาจหน้าที่
ตามมาตรา ๑๕ `ดังนี้

(๑) ให้ความเห็นชอบในการกาหนดเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่าตามมาตรา ๓๓
การกาหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า และการกาหนดชนิด หรือประเภทของสัตว์ป่าที่จะห้ามล่าในเขตน้ันตาม
มาตรา ๔๒

ฯลฯ
(๔) ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการออกพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และ
ระเบยี บเพ่อื ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๓ บัญญัติว่า “เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรกาหนดบริเวณท่ีดินแห่งใด
ใหเ้ ปน็ ทอ่ี ยู่อาศัยของสตั วป์ ่าโดยปลอดภัย เพื่อรักษาไว้ซงึ่ พนั ธสุ์ ัตว์ปา่ ให้กระทาได้ โดยการตราพระราชกฤษฎีกา
และให้มีแผนท่ีแสดงแนวเขตแห่งบริเวณท่ีดินที่กาหนดนั้นแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย บริเวณที่กาหนดนี้
เรยี กว่า เขตรักษาพนั ธสุ์ ัตวป์ า่
ที่ดินท่ีกาหนดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต้องเป็นท่ีดินที่มิได้อยู่ในกรรมสิทธิ์
หรอื สทิ ธคิ รอบครองตามประมวลกฎหมายทด่ี ินของบคุ คลใดซึ่งมิใช่ทบวงการเมือง”

11 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การกาหนดท่ีดินท่ีอยู่ในความครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายของ
บคุ คลทม่ี ิใช่ทบวงการเมืองให้เป็นเขตรกั ษาพันธ์ุสัตว์ป่า ตามมาตรา ๑๙ วรรคสอง แห่งพระราชบญั ญัตสิ งวนและค้มุ ครอง
สตั วป์ ่า (เร่อื งเสรจ็ ท่ี ๔๐๐/๒๕๓๐)

๑1๑1

สาหรับการขยายเขต การเพิกถอนเขตมีบัญญัติไว้ในมาตรา ๓๔ แห่งพระราชบัญญัติ
สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ในทานองเดียวกับมาตรา ๒๐ เดิมตามพระราชบัญญัติสงวนและ
คมุ้ ครองสตั ว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓

จากบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติมีข้อที่ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง
สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ดงั น้ี

(๑) การกาหนดพื้นที่บริเวณที่ที่จะให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เดิมรัฐบาล
ขอคาปรึกษาคณะกรรมการ แต่ที่แก้ไขใหม่เป็นอานาจของคณะรัฐมนตรี และการจะกาหนดพื้นท่ีเขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่า รวมท้ังการออกพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้จะต้องได้รับความเห็นชอบ
จากคณะกรรมการตามมาตรา ๙ แหง่ พระราชบญั ญตั ิสงวนและคุ้มครองสัตวป์ า่ พ.ศ. ๒๕๓๕12 ดว้ ย

(๒) สาหรับพ้ืนที่ท่ีห้ามมิให้นาไปกาหนดเป็นเขตรักษาพันธ์ุสัตว์ป่า จากเดิมมิให้
นาท่ีดินที่บุคคลครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ปรับแก้เป็น ห้ามมิให้นาที่ดินที่บุคคลมีสิทธิครอบครอง
ตามประมวลกฎหมายทดี่ นิ

ซ่ึงคาว่า “สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายท่ีดิน” คณะกรรมการกฤษฎีกา
(คณะท่ี ๗) 13ได้อธิบายว่า “สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายท่ดี ิน นน้ั เม่อื พิจารณามาตรา ๒ มาตรา ๔
มาตรา ๙ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน ประกอบมาตรา ๑๓๖๗ และมาตรา ๑๓๖๘ แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์แล้ว เห็นว่า บุคคลย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายท่ีดินก็ต่อเมื่อยึดถือ
ท่ีดินนั้นโดยเจตนาจะยึดถือเพ่ือตนมาต้ังแต่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ” หรืออาจกล่าวได้ว่า
สิทธิครอบครองที่บุคคลน้ันจะมีสิทธิเหนือท่ีดินของรัฐน้ันได้จะต้องดาเนินการตามประมวลกฎหมายท่ีดิน
หรือกฎหมายที่เก่ียวข้อง เช่น ได้แจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๑) ได้รับอนุญาตให้จับจองท่ีดินโดยได้รับ
ใบจอง (น.ส. ๒) เป็นตน้

12 มาตรา ๙ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ" ประกอบด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดี
กรมศุลกากร อธิบดีกรมการค้าตา่ งประเทศ เป็นกรรมการโดยตาแหน่ง และกรรมการผทู้ รงคุณวุฒอิ ่ืนอีกไม่นอ้ ยกว่าห้าคน
แตไ่ มเ่ กนิ สบิ เอ็ดคน ซึง่ คณะรฐั มนตรีแตง่ ต้ัง และใหอ้ ธิบดกี รมปา่ ไม้เป็น กรรมการและเลขานุการ

กรรมการผทู้ รงคณุ วฒุ ติ ามวรรคหนงึ่ ใหแ้ ตง่ ต้ังจากผแู้ ทนของสมาคม หรือมลู นิธิที่เกยี่ วข้องกับสตั ว์ป่าไมน่ อ้ ยกว่า
กง่ึ หนงึ่ ของกรรมการผ้ทู รงคุณวุฒิที่ได้รับแตง่ ตง้ั
13 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การกาหนดเขตประทานบัตรเหมืองแร่เป็นเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าและ
การกาหนดวนั ใชบ้ งั คับของกฎหมาย (เรอื่ งเสร็จท่ี ๒๖๓/๒๕๕๐)

12 ๑๒

ดังนั้น หลังจากที่พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ ยกเลิกและ
ใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ แล้ว จึงสามารถผนวกพ้ืนที่ที่ได้รับสัมปทานท่ีอยู่ใน
เขตป่าไมท้ งั้ หลายเข้าเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ปา่ ได้

๔. เขตห้ามล่าสตั ว์ป่า
๔.๑ พระราชบญั ญัตสิ งวนและคุ้มครองสตั วป์ า่ พ.ศ. ๒๕๐๓
มาตรา ๒๕ บญั ญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดล่าสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสัตวป์ ่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง

หรือมิใช่ หรือเก็บหรือทาอันตรายแก่ไข่หรือรังของสัตว์ป่าซ่ึงห้ามมิให้ล่านั้น ในบริเวณวัดหรือในบริเวณ
สถานทซี่ ง่ึ จดั ไว้เพ่ือให้ประชาชนใช้ประกอบพธิ ีกรรมทางศาสนา

มาตรา ๒๖ บัญญัติว่า บริเวณสถานที่ซึ่งใช้ในราชการ หรือใช้เพ่ือสาธารณประโยชน์
หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันแห่งใด รัฐมนตรีจะกาหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดประเภทใดก็ได้
โดยประกาศกาหนดในราชกจิ จานุเบกษา

จากบทบัญญัติในมาตรา ๒๕ และมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง
สตั ว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ มีประเดน็ ท่เี กีย่ วข้องกบั การนาท่ีดินไปกาหนดเป็นเขตหา้ มล่าสตั วป์ ่า ดังนี้

(๑) พน้ื ทท่ี จี่ ะนาไปกาหนดให้เปน็ เขตหา้ มล่าสตั ว์ปา่
“เขตห้ามล่าสัตว์ป่า” ตามมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

พ.ศ. ๒๕๐๓ ให้คณะกรรมการมีหน้าท่ีให้คาปรึกษาในการกาหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่า แต่ตามมาตรา 26
แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ให้กาหนดได้ในพื้นที่บริเวณสถานท่ีซ่ึงใช้ใน
ราชการหรือใช้เพ่ือสาธารณประโยชน์ หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน เท่านั้น14 และต่อมา
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) ได้วินิจฉัยในทานองเดียวกันอีกว่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าจะกาหนดได้
เฉพาะบริเวณสถานท่ีซึ่งใช้ในราชการ หรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน
เท่านั้น ไม่อาจกาหนดในบริเวณพื้นที่นอกจากน้ีได้อีก15 ดังน้ัน พื้นท่ีที่จะนามากาหนดให้เป็นเขตห้ามล่า
สัตว์ป่าได้ จึงมีลักษณะเป็นที่พื้นที่ในลักษณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันตามประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๒) หรือบริเวณสถานท่ีที่ใช้ในราชการตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔ (๓) ซึ่งในการกาหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่ารัฐมนตรีต้องขอคาปรึกษาจากคณะกรรมการ
ตามมาตรา 32 ก็ได้ สาหรับพ้ืนที่อ่ืนท่ีมีลักษณะเดียวกันจะนามากาหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้นั้น

14 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง การออกโฉนดท่ีดินในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยสงวนและ
คมุ้ ครองสัตว์ป่า (เร่ืองเสรจ็ ที่ ๕๓๕/๒๕๔๙)
15 บนั ทกึ สานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง การบรหิ ารจัดการทีด่ นิ ทะเลน้อยสาธารณประโยชน์ท่ที ับซ้อนกบั เขตห้าม
ลา่ สัตว์ปา่ (เรื่องเสร็จที่ ๒๐๔๕/๒๕๕๘)

๑1๓3

คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ ๖) เคยวินิจฉัยไว้ว่า บริเวณวัด หรือบริเวณสถานที่
ซึ่งจัดไว้เพื่อประชาชนใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมในทางพระพุทธศาสนาสาหรับที่แห่งนั้น ซึ่งก็คือพื้นที่
ท่ีต้ังวัด รวมตลอดถงึ แนวเขตของวัดซงึ่ เป็นเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสกับพื้นที่ของวดั ท่ีใช้ในกิจการเก่ียวกับ
การประกอบกิจการในทางศาสนาด้วย แต่ไม่หมายรวมถึงที่ดินของวัดที่นาไปจัดหาผลประโยชน์ เช่น
ใหบ้ คุ คลเช่า หรอื อาศัยหรอื ทาการค้าขาย16 รัฐมนตรีสามารถประกาศกาหนดให้เปน็ เขตหา้ มลา่ สัตวป์ ่าได้

ดังนั้น ประเด็นปัญหาข้อถกเถียงการกาหนดพื้นท่ีอ่ืนใดนอกจากลักษณะตามที่กล่าวจะ
กาหนดใหเ้ ปน็ เขตหา้ มลา่ สตั ว์ป่าได้หรือไม่ จงึ เป็นทีย่ ตุ ิไมม่ ขี อ้ โต้แยง้ กันอีกต่อไป

(๒) ผลของการกาหนดพ้ืนทเ่ี ขตห้ามลา่ สตั ว์ปา่
มีข้อน่าสังเกตว่า เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากาหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแล้ว

จะไม่มีบทห้ามมิให้เข้าไปยึดถือครอบครองท่ีดินซึ่งต่างจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ ซ่ึงบัญญัติห้ามไว้ ตาม
มาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ สาเหตุก็น่าจะมาจากโดยลักษณะ
ของพื้นที่จะกาหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้จะต้องอยู่ในลักษณะที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๔(๒), (๓) และเม่ือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๐๕, ๑๓๐6 และ ๑๓๐๗ ก็มีบทบัญญัติห้ามมิให้การโอน
การยกอายุความข้ึนต่อสู้กับแผ่นดินและการยึด ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓
จงึ ไม่มีการกาหนดไว้

๔.2 พระราชบญั ญตั ิสงวนและคุ้มครองสัตว์ปา่ พ.ศ. ๒๕๓๕
มาตรา ๔๒ บญั ญัตวิ า่ บรเิ วณสถานที่ท่ีใชใ้ นราชการหรือใช้เพ่ือสาธารณประโยชนห์ รือ

ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันแห่งใด รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการจะกาหนดให้เป็นเขต
ห้ามล่าสัตวป์ า่ ชนิดหรอื ประเภทใดก็ได้ โดยประกาศในราชกิจจานเุ บกษา

เม่ือได้ประกาศของรัฐมนตรีกาหนดเขตห้ามล่าสัตว์ป่าชนิดหรือประเภทใดแล้ว
หา้ มมใิ ห้ผใู้ ดกระทาการดังต่อไปน้ี

(๑) ล่าสตั วป์ า่ ชนดิ หรือประเภทน้ัน
(๒) เกบ็ หรือทาอนั ตรายแกร่ งั ของสตั วป์ ่าซึ่งห้ามมิใหล้ ่านัน้
(๓) ยึดถือครอบครองที่ดิน หรือตัด โค่น แผ้วถาง เผา ทาลายต้นไม้หรือพฤกษชาติอ่ืน
หรือขุดหาแร่ ดิน หิน หรือเลี้ยงสัตว์ หรือเปล่ียนแปลงทางน้า หรือทาให้น้าใน ลาน้า ลาห้วย หนอง บึง
ท่วมท้น เหือดแห้ง เป็นพิษหรือเป็นอันตรายต่อสัตว์ป่า เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดี.หรือ
เมอื่ อธิบดีได้ประกาศอนญุ าตไวเ้ ป็นคราวๆ ในเขตหา้ มลา่ แหง่ หนง่ึ แหง่ ใดโดยเฉพาะ

16 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง ปัญหาเก่ียวกับพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓
(เร่ืองเสรจ็ ท่ี ๑๙/๒๕๑๔)

14 ๑๔

ในกรณีท่ีพนักงานเจ้าหน้าท่ีหรือเจ้าพนักงานอ่ืนใดมีความจาเป็นต้องปฏิบัติการตาม
กฎหมายหรือปฏิบัติการเพ่ือประโยชน์ในการศึกษาหรือวิจัยทางวิชาการในเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พนักงาน
เจ้าหนา้ ท่หี รอื เจ้าพนกั งานนัน้ ต้องปฏบิ ตั ติ ามระเบียบท่ีอธิบดีกาหนด โดยความเหน็ ชอบของคณะกรรมการ

ข้อควรพิจารณาเมื่อได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓
ปรับปรุงแก้ใหมเ่ ปน็ พระราชบญั ญัติสงวนและค้มุ ครองสตั ว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ เก่ียวกบั เขตหา้ มลา่ สตั ว์ป่า ดังนี้

(๑) การกาหนดพน้ื ท่ีเขตห้ามล่าสตั ว์ป่า
ลักษณะของพื้นท่ีที่จะประกาศกาหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้ (ออกประกาศของ

รัฐมนตรีมิใช่ออกพระราชกฤษฎีกา) ยังคงยึดหลักการเดิม คือ เฉพาะบริเวณสถานท่ีที่ใช้ในราชการหรือ
ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเท่านั้น เช่นเดียวกับมาตรา ๒๖ แห่งพระราชบัญญัติ
สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓ เพียงแต่มีเง่ือนไขเพิ่มเติมว่า รัฐมนตรีจะประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าได้
จะตอ้ งไดร้ บั ความเหน็ ชอบจากคณะกรรมการตามมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญตั สิ งวนและคมุ้ ครองสัตว์ป่า
พ.ศ. ๒๕๓๕ ทั้งนี้ อาจเนื่องจากสภาพปัญหาท่ีผ่านมาได้มีการประกาศเขตห้ามล่าสัตว์ป่าที่ครอบคลุมพ้ืนที่
มากกว่าที่ข้อกาหนดของกฎหมายกาหนดไว้จึงก่อให้เกิดปัญหากับราษฎรและหน่วยอื่นของรัฐที่อาจต้องมาถกเถียง
ในประเดน็ เกี่ยวกบั สถานะของท่ีดนิ จึงตอ้ งไดร้ บั การเห็นชอบโดยการกลน่ั กรองจากคณะกรรมการก่อน

(๒) เดิมเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๐๓
ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ แต่เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขใหม่เพื่อให้เกิดความชัดเจนจึงบัญญัติห้ามไว้ใน (๓)
ของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ปิดช่องว่างมิให้มาตีความหรือ
ถกเถียงกันอกี ต่อไป

๕. เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรฐั มนตรี

ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีจากการตรวจสอบข้อหารือของกรมป่าไม้และกรมพัฒนาที่ดิน
ที่ ห า รื อ ใน ปั ญ ห า ข้ อ ก ฎ ห ม า ย ไป ยั งส า นั ก ค ณ ะ ก ร ร ม ก าร ก ฤ ษ ฎี ก า เป็ น ปั ญ ห า เก่ี ย ว กั บ ป่ า ไม้ ต า ม
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๔ มีการหารือไปจานวน ๔ ครั้ง สรุปความเป็นมาพอสังเขป
ได้ดงั นี้

๕.๑ โครงการสารวจจาแนกประเภทที่ดินเริ่มต้ังแต่ พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยกระทรวงมหาดไทย
ได้รับอนุมัติจากนายกรัฐมนตรีให้ดาเนินการตามแผนเตรียมการเพื่อดาเนินงานตามโครงการสารวจจาแนก
ประเภทท่ีดินกับได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้แต่งต้ังคณะกรรมการสารวจและจาแนกประเภทที่ดิน
เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๐๓ ซงึ่ ได้มีการแต่งตงั้ คณะกรรมการและคณะอนุกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดิน
ตามคาสั่งท่ี ๘๐๐/๒๕๐๓ ลงวันท่ี ๗ มิถุนายน ๒๕๐๓ เพ่ือดาเนินการตามแผนเตรียมการข้างต้นกับได้มี
หนงั สือแจ้งทางปฏิบัติและส่งโครงการฯ สาเนาบันทึกการประชุม เรือ่ ง การสารวจจาแนกประเภทท่ีดิน ไปยัง
จังหวัดทุกจังหวัดให้เจ้าหน้าท่ีทางจังหวัดที่จะมีการสารวจจาแนกประเภทท่ีดิน รวม ๖๑ จังหวัด ได้ศึกษา

๑1๕5

พิจารณาวิธีการ นอกจากนี้ ต่อมานายกรัฐมนตรีได้กาหนดนโยบายให้กระทรวงมหาดไทยดาเนินการ
แต่งตั้งอนุกรรมการประจาจังหวัดเพื่อพิจารณาพื้นที่ป่าในเขตจังหวัดให้ตรงกับสภาพที่แท้จริง โดยให้ถือ
เป็นเร่ืองด่วนท่ีจะต้องดาเนินการให้เสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๐๓ กบั ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดาเนนิ การ
ให้กรมป่าไม้จัดทาแผนที่แสดงเขตป่าทุกประเภทแยกเป็นรายจังหวัดและหมายเขตป่าที่จะสงวนคุ้มครอง
ต่อไปลงในแผนทใี่ ห้แล้วเสรจ็ โดยด่วน

๕.๒ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ระหว่างระยะเวลา พ.ศ. ๒๕๐๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๖
และ พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้กาหนดจุดหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจในส่วนการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
ตามข้อ ๑.๓ (๘) และนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจด้านเกษตรกรรมตามข้อ ๒.๑ (๓) ไว้ว่า จะสงวนและ
บารุงป่าไม้เพ่ือให้มีป่าไม้ที่สมบูรณ์ในเนื้อที่ประมาณร้อยละ ๕๐ ของเนื้อท่ีประเทศไทย นอกจากนี้ ก็ได้กาหนด
แนวทางในเรื่องดังกล่าวไว้ตามข้อ ๔.๑ (๔) การป่าไม้และการจัดสรรที่ดินว่าจะจาแนกประเภทท่ีดิน
ออกเป็นท่ีทามาหากินและป่าสงวนทั่วประเทศ กับการจัดสรรท่ีดินให้ประชาชนซึ่งไม่มีท่ีดินเป็นกรรมสิทธิ์ของ
ตนเอง โดยมอบให้กรมป่าไม้ กรมท่ีดิน และหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องดาเนินการจาแนกท่ีดินท่ัวประเทศเพ่ือให้
มีเขตป่าสงวนเบ้ืองต้น ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือ ๑๕๖ ล้านไร่ ให้แล้วเสร็จภายใน ๖ ปี
ในการน้ีแนวทางพัฒนาการเศรษฐกิจด้านการมหาดไทยตามข้อ ๖ (๒) โครงการสารวจและจาแนกที่ดิน
ได้กาหนดให้มีการสารวจและจาแนกที่ดินทั่วประเทศเพื่อสงวนคุ้มครองป่า จัดสรรที่ดินเกษตรกรรม
และใช้ประโยชน์อื่นไว้ด้วย โดยให้มีการศึกษาและตรวจแผนท่ีทางอากาศที่มีอยู่เพื่อพิจารณาแนวป่าไม้
และทาการสารวจบนพื้นดินเพื่อตรวจสภาพและเขตของป่าว่าตรงกับแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศหรือไม่
และใหก้ ระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงกลาโหม รว่ มกันดาเนนิ งาน

๕.๓ จากจุดประสงค์ นโยบายแนวทางในการพัฒนาการเศรษฐกิจดังท่ีกล่าวไว้ตาม ๕.๒
ได้มีการดาเนินการเกี่ยวกับการสงวนและบารุงป่าไม้ต่อเนื่องกันมาโดยตลอดโดยมีมติของคณะรัฐมนตรี
ทเี่ ก่ียวข้อง ดงั นี้

๕.๓.๑ มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ คณะรัฐมนตรี
ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการดาเนินการสารวจจาแนกประเภทที่ดิน
การประมวลผลและการจาแนกประเภทท่ดี นิ ดงั น้ี

๕.๓.๑.๑ อนุมัติให้จังหวัดประกาศเขตป่าท่ีจะสงวนคุ้มครองและป่าที่จะเปิด
จัดสรรเพ่ือเกษตรกรรมและเพ่ือการใช้ประโยชน์อย่างอื่นท่ีคณะอนุกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดิน
ประจาจังหวัดดาเนินการกาหนดเขตเสร็จในท้องที่ ๖๐ จังหวัด โดยประมาณตามแผนที่ ให้ราษฎรและ
หน่วยราชการทีเ่ กยี่ วข้องทราบ

๕.๓.๑.๒ รับหลักการวา่ บริเวณป่าที่เห็นสมควรกาหนดเป็นป่าสงวนคุ้มครอง
ตาม ๕.๓.๑.๑ เป็นป่าที่จะรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ หากทบวงการเมืองใดประสงค์จะเข้าใช้ประโยชน์ต้อง
ทาความตกลงกบั กระทรวงเกษตร และได้รับอนมุ ัติจากคณะรฐั มนตรีเป็นรายๆ ไป

16 ๑๖

๕.๓.๑.๓ สาหรับป่าท่ีเห็นสมควรเปิดจัดสรรเพื่อเกษตรกรรมและเพ่ือการใช้
ประโยชน์อย่างอื่นตามที่กล่าวใน ๕.๓.๑.๑ นั้น ให้จังหวัดและอาเภอท้องท่ีดาเนินการจัดสรรให้ประชาชน
ตามโครงการและระเบียบว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อประชาชนของคณะกรรมการจัดท่ีดินแห่งชาติ โดยไม่ต้อง
ขอรบั ความเหน็ ชอบจากกระทรวงเกษตร

๕.๓.๑.๔ ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ จัดลาดับความสาคัญของ
โครงการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินท่ัวประเทศโดยละเอียด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดทา Survey for Land
Classification ให้เป็นไปตามหลักวิชาการเป็นพิเศษ เพราะโครงการดังกล่าวมีความสาคัญอย่างยิ่ง
จะเป็นประโยชนแ์ ก่การวางโครงการพัฒนาการเศรษฐกิจของชาติให้เป็นผลดยี ่ิงๆ ขนึ้ ไปในภายหน้า

สาหรับป่าท่ีจะสงวนคุ้มครองตาม ๕.๓.๑.๒ นั้น จะมีวิธีปฏิบัติตามท่ี
คณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดินเสนอความเห็นไว้ กล่าวคือ จะมกี ารจัดคณะสารวจและสายสารวจ
ออกทาการสารวจหมายเขตป่าท่ีจะสงวนคุ้มครองให้เป็นการแน่นอน และจะได้สารวจการครอบครองที่ดิน
ของราษฎรได้ครอบครองอยู่น้ัน จะควรสงวนคุ้มครองไว้ หรือควรกันเขตออกให้ราษฎรประกอบการทามา
หาเลี้ยงชีพต่อไป และจะได้ทาการสารวจป่าที่เปิดจัดสรรเพื่อการเกษตรให้ทราบความอุดมสมบูรณ์ของพ้ืนท่ี
เพื่อความเหมาะสมในการดาเนินงานตามโครงการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินที่กาหนดไว้ในแผนพัฒนา
เศรษฐกิจแห่งชาติ

๕.๓.๒ มตคิ ณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี ๑๒ พฤศิจกายน พ.ศ. ๒๕๐๖ คณะรัฐมนตรีไดม้ มี ติ
เห็นชอบตามข้อเสนอกระทรวงมหาดไทยจาแนกประเภทท่ีดินอั นเป็นการดาเนินการต่อเนื่องจาก มติของ
คณะรัฐมนตรีตามข้อ ๕.๓.๑ ว่า เม่ือคณะกรรมการฯ ได้ทาการประมวลผลและจาแนกประเภทท่ีดินโดย
กาหนดพื้นท่ีป่าไม้ที่สมควรสงวนคุ้มครองโดยแน่นอนเสร็จในจังหวัดใดแล้ว ให้เขตพ้ืนท่ีป่าไม้ตามมติ
คณะรัฐมนตรีเม่ือวันท่ี ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ สาหรับท้องที่จังหวัดนั้นเป็นอันยกเลิก และให้ถือเขต
พ้ืนที่ป่าไม้ตามท่ีคณะกรรมการฯ ได้จาแนกไว้ ส่วนที่ดินนอกเขตพ้ืนที่ป่าไม้ดังกล่าวถือเป็นเขตท่ีดินจัดสรร
เพ่ือการเกษตรกรรมและเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างอื่น ซึ่งเป็นหน้าท่ีของกระทรวงมหาดไทยจะได้ดาเนินการ
ตามกฎหมายต่อไป

๕.๓.๓ มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๒ คณะรัฐมนตรีได้มีมติ
เห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากรณีที่ชาวไร่ชาวนาต้อง
เสียดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราสูง เพราะที่ดินที่ทาไร่นาเป็นที่บุกเบิกโดยพลการ ไม่ใช่ที่ดินอันเป็นกรรมสิทธ์ิ
โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะนาไปใช้เป็นหลักทรัพย์ค้าประกันเงินกู้ได้ และทางราชการจะช่วยเหลือ
โดยการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติบางส่วนมาพิจารณาจัดสรรให้ราษฎรจับจองประกอบอาชีพได้ ว่าพื้นท่ี
ในเขตป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ ในเรื่องการจาแนกประเภทท่ีดิน
ซึ่งเป็นป่าเตรียมการสงวนและเจ้าหน้าที่ได้รังวัดกันออกจากเขตป่าท่ีจะสงวนแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้
ตรวจสอบ ถ้าปรากฏว่าอยู่ในเขตซึ่งกันออกแล้วให้พิจารณาออก น.ส. ๓ ได้ ตามระเบียบและกฎหมาย

๑1๗7

ถ้าอยู่ในเขตที่เจ้าหน้าที่รังวัดไว้ เพื่อจะสงวนต่อไปจะต้องรอให้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติเสียก่อน
และใหค้ ณะกรรมการตามพระราชบญั ญัติปา่ สงวนแห่งชาติฯ เป็นผ้พู ิจารณาตอ่ ไป

๕.๓.๔ มติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะรัฐมนตรีได้มี
มติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาชนบทแห่งชาติเกี่ยวกับนโยบายการใช้และกรรมสิทธทิ์ ี่ดิน
ว่าในพ้ืนที่ป่าไม้ถาวร ๑๖๐.๓๕ ล้านไร่ ซ่ึงกรมป่าไม้ได้ประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตวนอุทยานแห่งชาติ
เขตรักษาพันธสุ์ ัตว์ปา่ และอื่นๆ ไปแล้วประมาณ ๑๒๓ ล้านไร่ ยังเหลือพื้นท่ีป่าไม้ถาวรทีย่ ังไม่ได้ประกาศเป็น
ป่าสงวนอีกประมาณ ๓๐ ล้านไร่ ซ่ึงเรียกว่าป่าเตรียมการสงวนน้ัน ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ
กรมที่ดิน กรมแผนที่ทหารและหน่วยงานท่ีเก่ียวข้องทาการสารวจและจาแนกประเภทท่ีดินอย่างละเอียดให้
เสรจ็ ภายใน พ.ศ. ๒๕๓๐ ภายใต้การกากับดูแลของคณะกรรมการพัฒนาที่ดิน เมื่อได้ดาเนนิ การจาแนกเสร็จ
เรียบร้อยแล้วพ้ืนที่ใดถูกจาแนกเป็นป่าไม้ให้กรมป่าไม้ดาเนินการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ พ้ืนท่ีท่ี
เหมาะสมกับการเกษตรแต่ยังคงสภาพเป็นป่าไม้อยู่ใหร้ ักษาเปน็ ป่าไม้ต่อไปไม่ควรจาแนกออกเปน็ พนื้ ท่ีทากนิ 17

๕.๔ จากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๒ ตามข้อ ๕.๓.๓ คณะกรรมการ
กฤษฎีกาเห็นว่าเป็นเรื่องเก่ียวกับการนาพื้นท่ีเฉพาะท่ีกันออกจากแนวเขตที่จะกาหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
มาพิจารณาออก น.ส. ๓ ให้แกร่ าษฎรตามระเบียบและกฎหมาย หากจากการสอบสวนปรากฏว่าราษฎรผู้น้ัน
ได้ทาประโยชน์ในพื้นที่ท่ีกันออกอยู่ก่อนแลว้ ซึ่งกรณีมีความหมายเฉพาะพื้นท่ีที่จะดาเนินการกันออกเท่านั้น
ทจี่ ะพ้นจากการเป็นป่าไม้ถาวร ส่วนพ้ืนท่ีที่เหลือไม่ได้ดาเนินการออก น.ส. ๓ (ในพ้ืนท่ีที่กันออกจากแนวเขต
ป่าสงวนแห่งชาติ) ยังคงมีสภาพเป็นป่าไม้ถาวรอยู่เช่นเดิม ถ้ามีการพิจารณาออก น.ส. ๓ เต็มพ้ืนที่ที่กันออก
พ้ืนท่ีท่ีกันออกท้ังหมดเพื่อพิจารณาออก น.ส. ๓ ก็ย่อมส้ินสภาพเป็นพื้นท่ีป่าไม้ถาวรต่อไปตามมติ
คณะรัฐมนตรเี มอ่ื วันท่ี ๘ มกราคม ๒๕๑๒

สว่ นมตคิ ณะรฐั มนตรีเมอื่ วันที่ ๒๒ มิถนุ ายน ๒๕๒๕ เป็นการยืนยันในหลกั การวา่ หากพ้ืนทใี่ ด
มสี ภาพเป็นปา่ ไม้ หรือถูกจาแนกเป็นป่าไม้ ก็ใหท้ าการสงวนรักษาไว้เป็นสมบัตขิ องชาตโิ ดยประกาศเป็นป่าสงวน
แห่งชาตติ ่อไป ซง่ึ เปน็ การยนื ยนั เจตนารมณ์ของมติคณะรฐั มนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๔

จากมติคณะรัฐมนตรีทั้งสามครั้งคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีเก่ียวกับ
ป่าไม้เป็นเรื่องของการกาหนดหลักการและแนวทางการดาเนินงานของเจ้าหน้าที่ ยากจะเข้าใจในเรื่องพื้นท่ี
ป่าไมแ้ ละทาให้ต้องตีความมตคิ ณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นเรื่องของนโยบายรฐั บาล สมควรทก่ี รมป่าไม้และกระทรวง

17 บันทึกสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง พื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๐๔
(เรือ่ งเสรจ็ ที่ ๔๓๔ – ๔๓๕/๒๕๓๖)

18 ๑๘

เกษตรและสหกรณ์จะได้ประมวลเสนอคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ในเรื่องพ้ืนท่ีป่าไม้ทั้งหมดในมติคณะรัฐมนตรี
เดยี วกนั 18

๕.๕ สุดท้ายในที่ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีก็ได้รับการวินิจฉัย
จากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) 19 ว่า “ป่าไม้ถาวร” ไม่ใช่คาที่ปรากฏในมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่
14 พฤศจกิ ายน 2504 เรอื่ ง การจาแนกประเภทที่ดิน และในข้อเสนอการดาเนินการสารวจจาแนกประเภท
ท่ดี ินและการประมวลผลการจาแนกประเภทท่ีดินของคณะกรรมการสารวจจาแนกประเภททีด่ ิน อันเป็นท่ีมา
ของมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว แต่ปรากฏการใช้คาว่า “ป่าไม้ถาวร” ในการเสนอผลการจาแนกประเภทท่ีดิน
ภายหลังจากที่มาตรา 58 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของ
คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับ อย่างไรก็ดีประมวลกฎหมายท่ีดินก็มิได้
บัญญัติความหมายของเขตป่าไม้ถาวรในอันที่จะใช้ในการพิจารณาการเริ่มต้นสถานะของการเป็นป่าไม้ถาวรไว้
จึงต้องพิจารณาจากมติคณะรัฐมนตรีท่ีเก่ียวข้องกับการจาแนกประเภทที่ดิน ประกอบกับข้อเสนอการ
ดาเนินการสารวจจาแนกประเภทที่ดินและการประมวลผลการจาแนกที่ดินของคณะกรรมการสารวจจาแนก
ประเภทท่ีดนิ หรอื คณะกรรมการพัฒนาทด่ี นิ ตามกฎหมายวา่ ด้วยการพัฒนาทด่ี ิน

เมื่อพิจารณาข้อเสนอการดาเนินการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินและการประมวลผลการ
จาแนกประเภทที่ดินของคณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดิน อันเป็นที่มาของมติคณะรัฐมนตรี
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 เรื่อง การสารวจจาแนกประเภทที่ดิน น้ัน แม้ว่ากระทรวงมหาดไทย
โดยคณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดินได้เสนอให้คณะรฐั มนตรีให้ความเห็นชอบกับเขตป่าที่สมควร
กาหนดเป็นป่าสงวนคุ้มครองและป่าท่ีจะเปิดจัดสรรเพ่ือเกษตรกรรมตามที่คณะอนุกรรมการสารวจจาแนก
ประเภทท่ีดินประจาจังหวัดได้หมายเขตป่าไว้ และคณะรัฐมนตรีรับหลักการว่าบริเวณป่าท่ีสมควรกาหนด
เป็นป่าคุ้มครองเป็นป่าท่ีจะรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติโดยถาวรก็ตาม แต่เม่ือพิจารณาข้ันตอนที่จะต้อง
ดาเนินการต่อไป อันได้แก่ การจัดตั้งคณะสารวจและสายสารวจเพื่อทาการหมายเขตป่าที่สมควรสงวน
คุ้มครองและสมควรจัดสรรให้เป็นการแน่นอน ซึ่งจะต้องเสนอผลการสารวจพื้นท่ีและจาแนกประเภทท่ีดิน
ต่อคณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกคร้ัง ดังเช่นกรณีจังหวัดชลบุรี
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับการสารวจและประมวลผลการจาแนกประเภทที่ดินในฐานะโครงการนาร่อง
โดยคณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินและได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกคร้ัง

18 บนั ทกึ สานกั งานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การพิจารณาทบทวนปัญหาเกีย่ วกบั พ้ืนท่ปี ่าไมถ้ าวรตามมตคิ ณะรัฐมนตรี
(เรื่องเสร็จที่ ๒๙๑/๒๕๓๒)
19 บนั ทกึ สานกั งานคณะกรรมการกฤษฎกี า เร่ือง การเปน็ ป่าไมถ้ าวรตามมตคิ ณะรฐั มนตรี เม่ือวันท่ี 14 พฤศจิกายน 2504
(เร่ืองเสรจ็ ท่ี 775/2561)

๑1๙9

ประกอบกบั การดาเนนิ การสารวจและจาแนกประเภทท่ีดินในพื้นท่ีจังหวัดอ่นื ๆ ภายหลังจากทคี่ ณะรัฐมนตรี
มีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 คณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินได้เสนอผลการสารวจ
และประมวลผลการจาแนกประเภทท่ีดินต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ซ่ึงปรากฏหลายกรณีที่
คณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทท่ีดินได้เสนอให้เปล่ียนบริเวณป่าท่ีสมควรสงวนคุ้มครองตามท่ีได้รับ
ความเห็นชอบ เมื่อครั้งมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี 14 พฤศจิกายน 2504 ไปเป็นบริเวณป่าท่ีสมควร
จัดสรรเพ่ือเกษตรกรรมและเพื่อประโยชน์อย่างอ่ืน และเปล่ียนบริเวณป่าท่ีได้รับการหมายเขตป่าให้เป็น
พ้ืนท่ีท่ีสมควรจัดสรรไปเป็นป่าไม้ถาวร รวมถึงกาหนดให้เป็นป่าชุมชนด้วยเหตุผลของความเหมาะสมของ
ลักษณะของพ้ืนดิน การถือครองของประชาชน หรือขนาดของพื้นที่ที่คงอยู่ เป็นต้น ด้วยเหตุน้ี เขตป่า
ท่ีสมควรสงวนคุ้มครองตามที่ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันท่ี 14 พฤศจิกายน 2504
จึงยังไม่ใช่เขตป่าอันเป็นที่ยุติว่าเป็นเขตป่าไม้ถาวร เพียงแต่กระทรวง ทบวง หรือกรม มีความผูกพันในการ
เข้าใช้ประโยชน์ในบริเวณเขตป่านั้น โดยจะต้องทาความตกลงกับกระทรวงเกษตรและได้รับอนุมัติจาก
คณะรัฐมนตรีและหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้องต้องนาแนวเขตป่าท่ีสมควรสงวนคุ้มครองนั้นไปกาหนดให้เป็นป่า
ตามกฎหมายต่อไป

ดังน้ัน พ้ืนที่ป่าไม้ถาวรต้องเป็นพื้นที่ท่ีได้รับการประมวลผลการจาแนกประเภทที่ดินให้
สงวนคุ้มครองรักษาป่าท่ีจาแนกไว้เป็นพ้ืนท่ีป่าไม้ต่อไป ซึ่งดาเนินการโดยหน่วยงานท่ีมีหน้าที่รับผิดชอบ
เช่น คณะกรรมการสารวจจาแนกประเภทที่ดินหรือคณะกรรมการพัฒนาที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการ
พัฒนาท่ีดิน และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยกับผลการจาแนกประเภทที่ดินน้ันแล้วเท่านั้น ซึ่งสอดคล้อง
กับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ 3) ในเรื่องเสร็จที่ 488/2531
สรุปความได้ว่า พ้ืนท่ีป่าไม้ถาวรได้แก่เขตพื้นท่ีซึ่งได้มีการสารวจจาแนกแล้วว่ามีลักษณะเป็นป่า และ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยว่าให้กาหนดเขตพ้ืนท่ีดังกล่าวเป็นเขตป่าไม้ถาวรหรือดารงสภาพ
ความเป็นป่าไม้ไว้ต่อไป อีกท้ังศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยถึงสถานะของมติคณะรัฐมนตรีเม่ือวันที่ 14
พฤศจิกายน 2504 ในคดหี มายเลขแดงที่ อ. 367/2553 สรุปความได้ว่า กรณีบริเวณปา่ สายควน - เกาะอ้ายกลิ้ง
ในท้องท่ีจังหวัดตรัง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2504 กาหนดไว้เป็นป่าไม้ของชาติ
เป็นเพียงการกาหนดเขตป่าคร่าวๆ เพื่อที่ทางราชการจะได้ดาเนินการสารวจและจาแนกต่อไป ว่าพื้นที่
บริเวณใดให้เป็นป่าไม้ถาวรหรือพ้ืนท่ีใดไม่เหมาะสมกาหนดให้เป็นป่าไม้ถาวรต่อไปเท่าน้ัน มิใช่เป็นการ
กาหนดพื้นที่ป่าท้ังหมดเป็นป่าไม้ถาวร จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติเม่ือวันท่ี 15 กรกฎาคม 2540 อนุมัติ
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอผลการจาแนกพื้นท่ีในบริเวณป่าสายควน - เกาะอ้ายกล้ิง ในท้องที่
จังหวัดตรัง โดยส่วนหน่ึงกาหนดให้รักษาไว้เป็นป่าไม้ถาวร และอีกส่วนหน่ึงจาแนกออกจากป่าไม้ของชาติ
ซึ่งอยู่นอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยมอบให้คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติดาเนินการจัดสรรเป็นท่ีทากิน
ของราษฎรและจัดเปน็ ป่าชุมชน



๒2๐1

บทที่ 2

การออกหนงั สอื แสดงสทิ ธิในท่ดี ินในเขตป่าไม้

1. หลักเกณฑ์และวธิ ีการออกหนังสือแสดงสิทธใิ นท่ดี นิ
การออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน หมวดที่ 2 มาตรา 56-64

กาหนดวธิ กี ารออกโฉนดท่ดี ิน หรือหนงั สอื รบั รองการทาประโยชน์ไวส้ ามารถแบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 วิธีการเดินสารวจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ ตามมาตรา 58

และ 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เป็นกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกาหนด
พ้ืนที่จังหวัดท่ีจะทาการรังวัดและทาแผนท่ีในแต่ละปีงบประมาณและผู้ว่าราชการในพ้ืนที่กาหนดประกาศ
กาหนดพื้นท่ีออกเป็นอาเภอ ตาบล และหมู่บ้าน หลังจากน้ันกรมท่ีดินก็จะส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้าไป
เดินสารวจในพ้ืนท่ีออกโฉนดที่ดนิ หรือหนงั สือรับรองการทาประโยชน์ใหก้ ับราษฎร

1.2 วิธีการออกโฉนดที่ดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 และมาตรา 59 ทวิ
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยการยื่นคาขอทสี่ านักงานท่ดี นิ ทีท่ ่ดี นิ น้นั ตั้งอยู่

1.2.1 การออกโฉนดท่ีดินเป็นการเฉพาะรายตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
เปน็ การออกใหก้ ับบุคคลท่ีมีสทิ ธคิ รอบครองในที่ดนิ อยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย

1.2.2 การออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน
เป็นการออกให้บุคคลผู้ซ่ึงครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินมาก่อนวันท่ีประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ
โดยไม่มีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่ได้แจ้งการครอบ ครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ตามมาตรา 5
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ แต่ไม่รวมถึงบุคคลผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติตาม
มาตรา 27 ตรี กล่าวคือ เมื่อมีการเดินสารวจออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ในท้องที่นั้น
ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินต่อนายอาเภอหรือเจ้าพนักงานที่ดิน ภายใน 30 วัน ซึ่งหากมีความจาเป็น
จะขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ได้ จะต้องขออนุมัติต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ทั้งน้ี
ตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับท่ี ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๑๒) ว่าดว้ ยเงือ่ นไขการออกโฉนดที่ดิน
หรอื หนงั สือรับรองการทาประโยชน์ ขอ้ ๗

1.3 ออกโดยวิธีการเปล่ียน น.ส. ๓ ก. เป็นโฉนดท่ีดินตามมาตรา 58 ตรี แห่งประมวล
กฎหมายที่ดิน เป็นการดาเนินการกบั ท่ีดินที่มีหลักฐาน น.ส. 3 ก. โดยนาหลักฐานท่ีเกี่ยวกับระวาง รูปถ่าย
ทางอากาศท่ีใช้ในการออก น.ส. 3 ก. ไปปรับแก้ตามหลักวิชาการแผนท่ีรูปถ่ายทางอากาศด้วยการย้าย
รูปแปลงท่ีดิน น.ส. 3 ก. จากระวางรูปถ่ายทางอากาศ มาตราส่วน 1 : 5000 มาลงท่ีหมายในระวางแผนที่
รูปถ่ายทางอากาศ ระบบพิกัดฉาก ยู ที เอ็ม มาตราส่วน 1 : 4000 โดยอาศัยลวดลายในระวางแล้วเปล่ียน
น.ส. 3 ก. เปน็ โฉนดที่ดิน โดยไมต่ อ้ งใหเ้ จา้ ของท่ีดนิ นาทาการรังวัดหรือพิสูจน์สอบสวนสทิ ธิในทด่ี ิน

22 ๒๑

แต่สาหรับการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ในเขตป่าไม้ จะต้องมีการ
ตรวจพิสูจน์ที่ดินจากคณะกรรมการตามข้อ ๑๐ (๓) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๕๓๗ ในคู่มือเล่มนี้จึงจะกล่าวเฉพาะการออกโฉนดท่ีดิน
ตามมาตรา 59 แหง่ ประมวลกฎหมายท่ีดนิ เทา่ น้ัน

2. การออกโฉนดทด่ี ินตามมาตรา 59 แหง่ ประมวลกฎหมายทดี่ นิ
มาตรา 59 บัญญัติว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิครอบครองท่ีดินมาขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือ

รับรองการทาประโยชน์เป็นการเฉพาะรายไม่ว่าจะได้มีประกาศของรัฐมนตรีตามมาตรา 58 แล้วหรือไม่ก็ตาม
เมื่อพนักงานเจ้าหน้าท่ีพิจารณาเห็นสมควร ให้ดาเนินการออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์
แลว้ แตก่ รณี ไดต้ ามหลกั เกณฑ์และวิธีการทป่ี ระมวลกฎหมายนก้ี าหนด

ดังนั้น การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ตามมาตราน้ี จึงเป็นการ
ออกให้กับบุคคลท่ีมีสิทธิครอบครองในที่ดิน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีหลักฐานสาหรับที่ดิน เช่น ส.ค. 1,
ใบเหยียบย่า, ใบจอง, แบบหมายเลข 3, ก.ส.น.5, น.ค.3 แต่ในคาอธิบายประมวลกฎหมายท่ีดินและการ
ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของนายมานัส ฉั่วสวัสด์ิ อดีตท่ีปรึกษาด้านประสิทธิภาพ เนื่องในโอกาส
เกษียณอายุราชการ20 อธิบายไว้ว่า การมีสิทธิครอบครองตามมาตรา 59 มิได้เฉพาะเจาะจงว่าจะต้องมี
หลักฐานในท่ีดินเท่าน้ัน เช่น ที่ดินของวัดซึ่งได้ครอบครองมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ แม้ไม่ได้
แจ้งครอบครองที่ดนิ (ส.ค. 1) ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
ก็สามารถขอออกโฉนดที่ดินได้เนื่องจากตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพ่ิมเติม
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บัญญัติว่า ท่ีวัด ที่ธรณีสงฆ์ และศาสนสมบัติกลาง จะโอนกันได้แต่โดย
พระราชบัญญัติ ฉะน้ัน ในทางกลับกันแม้วัดจะไม่ได้แจ้งการครอบครอง (ส.ค. 1) รัฐก็ไม่สามารถนาท่ีดิน
ของวัดไปดาเนินการจัดตามประมวลกฎหมายทดี่ ินได้ หรอื ท่ีดนิ ที่เกดิ ที่งอกริมตล่งิ ซง่ึ ประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ มาตรา 1308 บัญญัติว่า ที่ดินแปลงใดเกิดท่ีงอกริมตลิ่ง ที่งอกน้ันย่อมเป็นทรัพย์สินของ
เจ้าของที่ดินแปลงน้ัน อันถือเปน็ การได้มาซึ่งกรรมสิทธหิ์ รือสิทธิครอบครองตามหลักส่วนควบ และประมวล
กฎหมายทด่ี ิน มาตรา 2 บัญญัตริ บั รองไวว้ ่า เปน็ การได้มาซงึ่ กรรมสิทธ์ิตามประมวลกฎหมายอื่น หรอื ทบวง
การเมืองนาท่ีดินรกร้างว่างเปล่ามาจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา ๑๐ มาตรา ๑๑ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน
ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดท่ีดินแห่งชาติ ซึ่งเป็นที่ดินที่ไม่มีหลักฐาน แต่โดยท่ีทบวงการเมือง
เป็นการครอบครองโดยชอบตามท่ีได้รับมอบหมายจึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง หรือแม้แต่สานักงานการ
ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมขอออกโฉนดที่ดินในที่ดินที่ สปก. ได้กรรมสิทธิ์มาเพื่อดาเนินการปฏิรูปที่ดิน
ตามมาตรา ๓๖ ทวิ แห่งะราชบัญญัติการปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ แก้ไขเพิ่มเติมโดย

20 มานสั ฉ่วั สวัสด์ิ, ประมวลกฎหมายทีด่ นิ และการออกหนงั สือแสดงสิทธิในทีด่ นิ , หนา้ ๓๖๖ – ๓๖๗

๒2๒3

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ พนักงานเจา้ หน้าที่ก็สามารถออก
โฉนดทด่ี นิ ใหไ้ ดต้ ามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดนิ ได้เชน่ เดียวกัน

3. ผูม้ ีสิทธคิ รอบครองทดี่ นิ โดยชอบดว้ ยกฎหมาย

กา รพิ จ าร ณ าว่ า บุ คค ล ใด มีสิ ท ธิ คร อ บ คร อง ใน ท่ี ดิ น โด ย ช อบ ด้ ว ย ก ฎ ห ม า ย อั น เป็ น
หลักเกณฑ์สาระสาคัญในการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินในเขตป่าไม้ ซ่ึงจาเป็นที่จะต้องพิจารณาจาก
ประวัตคิ วามเปน็ มาในการถอื ครองที่ดินในแตล่ ะยุคสมยั ซง่ึ สามารถแบง่ ได้ 3 ช่วงระยะเวลา ดังนี้

3.1 ช่วงที่หนึ่ง การครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดิน ตามพระราชบัญญัติ
ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ. 127 (ก่อนวันที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดินใช้บังคับ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙
ในวันที่ 8 เมษายน 2479) ซึ่งเป็นกฎหมายท่ีใช้บังคับอยู่ในขณะน้ัน หมวด 11 กาหนดให้ต้องขอจับจอง
ท่ีดิน เม่ือกรมการอาเภอพิจารณาเห็นเป็นการถูกต้องก็จะออกใบเหยียบย่าให้กับผู้ขอ หลังจากนั้นผู้ได้รับ
ใบเหยียบยา่ จะต้องดาเนินการขอออกโฉนดท่ีดิน หรือโฉนดแผนที่ต่อไป แม้ต่อมาพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน
(ฉบับท่ี 6) พ.ศ. 2479 จะบัญญัติให้ยกเลิกความในหมวด 11 ดังกล่าว แต่การได้มาซึ่งท่ีดินโดยชอบด้วย
กฎหมายก็ยังต้องดาเนินการตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479
ซึ่งเป็นไปตามหลักการเดิม สาหรับที่ดินท่ีผู้ครอบครองและทาประโยชน์อยู่ก่อนวันท่ีใช้พระราชบัญญัติ
ออกโฉนดที่ดิน (ฉบบั ที่ 6) พ.ศ. 2479 โดยมิได้รับอนุญาตให้จบั จองท่ีดินหรอื มีหนังสือสาคัญสาหรับท่ีดินนั้น
มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้ผู้ที่ครอบครองต้องดาเนินการขึ้นทะเบียนที่ดิน
ภายในเวลาท่ีกาหนด ซ่ึงแสดงว่ากฎหมายได้รับรองให้ผู้ท่ีครอบครองและทาประโยชน์ในท่ีดินโดยมิได้รับ
อนุญาตให้จับจองท่ีดินหรือหนังสือสาคัญสาหรับที่ดินอยู่ก่อนน้ันสามารถครอบครองและทาประโยชน์ในท่ีดิน
ดังกล่าวได้ต่อไป หากท่ีดินเช่นว่านั้นมิใช่ท่ีสงวนหวงห้ามเพื่อประโยชน์ของทางราชการ ที่สาธารณะท่ีประชาชน
ใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือมีผู้อื่นจับจองอยู่ก่อนแล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยการออกโฉนดที่ดินและต่อมา
เม่ือพระราชบัญญัติออกโฉนดท่ีดิน (ฉบับท่ี 7) พ.ศ. 2486 ซ่ึงแก้ไขเพ่ิมเติมมาตรา 13 ดังกล่าว ก็ยังรับรอง
สิทธขิ องผู้ท่ีครอบครองและทาประโยชน์ในท่ีดินโดยมิได้รับอนุญาตไว้ด้วย กล่าวคือ ได้บัญญัติให้ผู้ครอบครอง
และทาประโยชน์ในที่ดินซึ่งยังไม่มีหนังสือสาคัญแสดงกรรมสิทธิ์ดาเนินการข้ึนทะเบียนท่ีดินของตนตามวิธี
ท่ีกาหนดในกฎกระทรวง หากมิได้ดาเนินการภายในเวลาท่ีกาหนดไว้จะมีเพียงโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
โดยมิไดถ้ ูกตัดสทิ ธกิ ารครอบครองท่ีดนิ เหมือนกรณีการครอบครองภายหลังพระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน
(ฉบับที่ 6) ใช้บังคับตามที่มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติไว้แต่อย่างใด ท้ังมาตรา 15
ยังบัญญัติให้อานาจเจ้าพนักงานที่ดินสามารถออกหนังสือสาคัญสาหรับท่ีดินเหล่านี้ได้ และเมื่อประมวล
กฎหมายที่ดินใช้บังคับ มาตรา 4 บัญญัติให้ผู้มีสิทธิครอบครองท่ีดินที่มีอยู่ก่อนวันท่ีประมวลกฎหมายท่ีดิน
ใช้บังคับยังคงมีสิทธิครอบครองสืบไปและคุ้มครองถึงผู้รับโอนด้วย สิทธิครอบครองของบุคคลเหล่าน้ีจึงมี
การรับรองโดยกฎหมายที่ดินตลอดมา ส่วนการจะได้รับหนังสือสาคัญสาหรับที่ดินจะต้องปฏิบัติตาม

24 ๒๓

มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดนิ พ.ศ. 2479 ดังน้นั ถ้าผู้ครอบครองท่ีดินได้แจ้ง
การครอบครองที่ดิน (ส.ค. 1) ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ครอบครอง
ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งอาจออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ตามประมวล
กฎหมายท่ดี ินได2้ 1

3.2 ช่วงที่สอง การครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติ
ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 ใช้บังคับจนถึงวันท่ีประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยมาตรา 4
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกาหนดให้ผู้ครอบครองที่ดินจะต้องขออนุญาตจับจองต่อพนักงานเจ้าหน้าท่ี
ซง่ึ ใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ออกให้ มี 2 แบบ คือ

1) ใบเหยียบย่า เป็นใบอนุญาตที่นายอาเภอเป็นผู้ออก ผู้ได้รับอนุญาตจะต้องทา
ประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี เม่ือทาประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดแล้ว นายอาเภอก็จะ
ออกแบบหมายเลข 3 ใหบ้ ุคคลนนั้ ยดึ ถอื

2) ตราจอง เป็นใบอนุญาตท่ีเจ้าพนักงานที่ดินเป็นผู้ออก ผู้ได้รับอนุญาตจะต้อง
ทาประโยชน์ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี เม่ือทาประโยชน์ครบตามหลักเกณฑ์ที่กาหนดแล้ว เจ้าพนักงานที่ดิน
จะบันทึกรับรองในตราจองนั้น “ได้ทาประโยชน์แล้ว” สถานะที่ดินถือเป็นหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ิ
ตามกฎหมาย

เมื่อประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. 2497 มาตรา 5 กาหนดให้ผู้ที่ครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันท่ีประมวลกฎหมายท่ีดิน
ใช้บังคับ โดยไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในท่ีดินแจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. 1) ต่อนายอาเภอภายใน
180 วัน ซึ่งหลักฐาน ใบเหยียบย่า แบบหมายเลข 3 และตราจอง ไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ดงั น้ัน หากผู้ครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินตามหลักฐานดังกลา่ วได้แจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. 1)
ผู้น้ันย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองท่ีดินโดยชอบด้วยกฎหมาย สาหรับบุคคลท่ีครอบครองตั้งแต่วันท่ี
พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2479 ใช้บังคับ แต่ไม่ได้ดาเนินการให้ชอบด้วยกฎหมาย
ท่ีใช้บังคับอยู่ในขณะน้ัน กล่าวคือ ไม่ได้ยื่นคาขออนุญาตจับจองหรือได้ย่ืนคาขอจับจองแลว้ แต่ไม่ได้รับอนุญาต
การออกโฉนดทดี่ ินใหเ้ ป็นไปตามหลักเกณฑแ์ ละวิธีการที่กาหนดในกฎกระทรวง คือ กฎกระทรวง (พ.ศ. 2497)
ออกตามความในพระราชบัญญัตใิ หใ้ ช้ประมวลกฎหมายท่ดี ิน พ.ศ. 2497 ขอ้ 122 ซึ่งต้องแจ้งการครอบครองท่ดี ิน
(ส.ค.1) ตามมาตรา 5 แหง่ พระราชบัญญัติให้ใชป้ ระมวลกฎหมายท่ดี นิ พ.ศ. 2497 เชน่ เดยี วกนั

21 บันทึกสานักคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง ขอทบทวนปัญหาข้อกฎหมายเก่ียวกับการออกหนังสือรับรองการทา
ประโยชน์ (น.ส. ๓) การแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑) ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล (เร่ืองเสรจ็ มีนาคม
๒๕๓๕)

22 ข้อ ๑ ในท้องที่ที่ได้มีการออกโฉนดที่ดินแล้ว บุคคลท่ีครอบครองต้ังแต่วันที่พระราชบัญญัติออกโฉนดที่ดิน (ฉบับท่ี ๖)
พ.ศ. ๒๔๗๙ ใชบ้ ังคบั เปน็ ต้นมาและกอ่ นวนั ทปี่ ระมวลกฎหมายท่ีดนิ ใช้บงั คับ โดยไม่ได้ดาเนนิ การใหช้ อบด้วยกฎหมายใน

๒2๔5

๓.๓ ช่วงที่ ๓ ผคู้ รอบครองและทาประโยชน์ในท่ีดนิ นับแตป่ ระมวลกฎหมายที่ดนิ ใช้บังคับ
๓.๓.๑ พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ มาตรา ๕

กาหนดให้บุคคลที่ครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินก่อนวันท่ีประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ (วันท่ี ๑
ธนั วาคม ๒๔๙๗) โดยไม่มหี นังสือแสดงกรรมสิทธ์ิในที่ดิน แจ้งการครอบครองที่ดนิ (ส.ค. ๑) ต่อนายอาเภอ
ท้องที่ภายใน ๑๘๐ วัน ดังน้ัน บุคคลที่ครอบครองท่ีดินตามหลักฐานใบเหยียบย่า แบบหมายเลข ๓ ตราจอง
และไม่มีหลักฐานสาหรับที่ดินจะต้องแจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๑) ส่วนบุคคลที่มีโฉนดแผนที่
โฉนดตราจอง หรือตราจองที่ตราว่า “ได้ทาประโยชน์แล้ว” ถือว่าเป็นผู้มีหนังสือแสดงกรรมสิทธ์ิในที่ดิน
จึงไม่อยใู่ นหลักเกณฑ์ทีจ่ ะต้องแจง้ การครอบครองท่ีดนิ แต่อย่างใด

สาหรับบุคคลที่อยใู่ นข่ายจะต้องแจง้ การครอบครองท่ีดิน แต่ไม่แจ้งภายในระยะเวลา
ท่ีกฎหมายกาหนด ตามความในวรรคสองของมาตราดังกล่าวให้ถือว่าบุคคลนั้นเจตนาสละสิทธิครอบครอง
ทด่ี นิ รฐั มอี านาจจัดที่ดินดงั กล่าวตามประมวลกฎหมายท่ีดิน เว้นแตผ่ ู้ว่าราชการจงั หวัดจะไดม้ คี าสั่งผ่อนผัน
เป็นการเฉพาะราย และคาว่า “ให้ถือว่า” เป็นบทสันนิษฐานเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตามหากราษฎรยังคง
ครอบครองท่ีดินดังกล่าวต่อมาซึ่งอยู่ในฐานะเป็นผู้ท่ีครอบครองที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จนกระทั่ง
ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้มีคาส่ังคณะปฏิวัติ ฉบับท่ี ๗๖ ลงวันท่ี ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๕ ให้ยกเลิกความใน
วรรคสองของมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้เพ่ิมเติมความใน
มาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายท่ีดินว่า ผู้ที่ครอบครองและทาประโยชน์ในที่ดินมาก่อนประมวล
กฎหมายท่ีดินใช้บังคับ แต่ไม่ได้แจ้งการครอบครองที่ดินตามมาตรา ๕ แห่งประราชบัญญัติให้ใช้ประมวล
กฎหมายท่ีดนิ พ.ศ. ๒๔๙๗ หรือผู้ซง่ึ รอคาสั่งผอ่ นผันจากผวู้ า่ ราชการจงั หวัด รวมทง้ั บุคคลผคู้ รอบครองและ
ทาประโยชน์ในที่ดินต่อเนื่องจากบุคคลดังกล่าว เม่ือผู้ว่าราชการจังหวัดปิดประกาศกาหนดท้องที่และวัน
เริ่มต้นของการเดินสารวจ ให้แจ้งการครอบครองท่ีดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินหรือนายอาเภอภายใน ๓๐ วัน
นับต้ังแต่วันปิดประกาศ ถ้ามิได้แจ้งการครอบครองแต่ได้มานาหรือส่งตัวแทนมานาพนักงานเจ้าหน้าที่ทา
การสารวจรังวดั ให้ถือวา่ ยังประสงค์จะไดส้ ทิ ธิในทด่ี นิ

ทั้งนี้ การแจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในท่ีดินตามมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวล
กฎหมายทด่ี นิ (ส.ค. ๒) กม็ ไิ ด้ทาใหผ้ ู้แจง้ มีสิทธิครอบครองโดยชอบดว้ ยกฎหมายตามประมวลกฎหมายทดี่ ิน
ในทันที การแจ้งดังกล่าวเป็นเพียงข้ันตอนหนึ่งในการดาเนินการเพ่ือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดิน

(ต่อจากหนา้ 23)

ขณะนั้นและได้แจ้งการครอบครองท่ีดินไว้แล้ว หากประสงค์จะขอรับโฉนดท่ีดินให้ย่ืนคาขอต่อเจ้าพนักงานท่ีดินในเขต
สานกั งานท่ดี ิน หรอื นายอาเภอในเขตที่ไมม่ สี านกั งานทีด่ ิน

26 ๒๕

หรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ให้แก่ผู้แจ้งการครอบครองต่อไปเท่าน้ัน23 ดังน้ัน การท่ีรัฐนาที่ดิน
บริเวณที่ครอบครองไปจัดตามประมวลกฎหมายที่ดิน หรือประกาศหวงห้ามเป็นป่าสงวนแห่งชาติ
เขตอุทยานแห่งชาติ เขตป่าไม้ถาวร ฯลฯ ก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรอง
การทาประโยชน์แล้ว บริเวณที่ดินดังกลา่ วจึงต้องห้ามมใิ หอ้ อกโฉนดท่ีดนิ หรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์
ตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗ ขอ้ ๑๔ (๔)

สาหรับบุคคลที่ครอบครองที่ดินตามหลักฐานใบเหยียบย่า ท่ีถือว่าเป็นผู้มีสิทธิ
ครอบครอง โดยชอบด้วยกฎหมายในท่ีน้ีหมายถึงใบเหยียบย่าท่ีออกตามมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติ
ให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ กล่าวคือ เป็นผู้ที่ได้ยื่นคาขอจับจองที่ดินตามพระราชบัญญัติ
ออกโฉนดท่ีดิน (ฉบับท่ี ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ แต่พนักงานเจ้าหน้าท่ียังไม่ได้ดาเนินการออกใบอนุญาตให้ ต่อมา
ประมวลกฎหมายที่ดิน ใช้บังคับ กรณีนี้กฎหมายกาหนดให้นายอาเภอสามารถดาเนินการต่อไปได้จนถงึ ท่ีสุด
รวมท้ัง แบบหมายเลข ๓ ก็เช่นเดียวกัน ซ่ึงในท่ีน้ีหมายถึงแบบหมายเลข ๓ ที่ออกให้ตามมาตรา ๗
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ กล่าวคือได้รับอนุญาตให้จับจองที่ดินไว้แล้ว
แต่ยังไม่ได้รับคารับรองจากนายอาเภอว่าได้ทาประโยชน์แล้วก่อนประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับ กรณี น้ี
จึงสามารถมาขอรับคารับรองต่อนายอาเภอได้จนกว่าจะครบกาหนด ๑๘๐ วัน นับจากวันสิ้นสุดระยะเวลา
จบั จองหรอื ภายในกาหนด ๑๘๐ วัน นับแตว่ ันทปี่ ระมวลกฎหมายที่ดินใชบ้ ังคบั แลว้ แตก่ รณี

๓.๓.๒ ประมวลกฎหมายที่ดิน
๑) การจัดที่ดินผืนใหญ่ตามมาตรา ๒๗ ประกอบมาตรา ๓๐ แห่งประมวล

กฎหมายท่ีดิน เป็นการนาที่ดินของรัฐที่มีเนื้อท่ีติดต่อกันต้ังแต่ ๑,๐๐๐ ไร่ ข้ึนไป และในการดาเนินการ
ทางราชการจะให้ความช่วยเหลือในดา้ นสาธารณูปโภคและอน่ื ๆ

๒) การจัดท่ีดินแปลงเล็กเป็นการดาเนินการตามมาตรา ๓๓ แห่งประมวล
กฎหมายท่ีดนิ โดยแบ่งเป็นทด่ี ินหัวไรป่ ลายนาและท่ีดินแปลงเล็กแปลงน้อยซ่งึ มีพื้นท่ีติดตอ่ กนั ต่ากวา่ ๑,๐๐๐ ไร่
มาวัดแบ่งใหร้ าษฎรจบั จองตามหลกั เกณฑ์ที่กาหนดไวใ้ นระเบียบของคณะกรรมการจดั ท่ีดินแหง่ ชาติ พ.ศ. 2498

เม่ือได้จัดให้บุคคลท่ีได้รับการคัดเลือกเข้าอยู่อาศัยหรือประกอบการทา
มาหาเลี้ยงชีพ (มาตรา ๓๐ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน) หรือเจ้าหน้าท่ีได้ทาการรังวัดชันสูตรสอบสวนใน
ที่ดินที่อนุญาตให้จับจองได้ (มาตรา ๓๓ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน) แล้ว พนักงานเจ้าหน้าท่ีก็จะออกใบจอง
ให้แกผ่ ไู้ ดร้ บั การจัดทีด่ ิน และสามารถนาใบจองมาขอออกโฉนดทดี่ นิ หรือหนังสอื รับรองการทาประโยชน์ได้

23 บันทึกสานักคณะกรรมการกฤษฎีกา เร่ือง การออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์ บริเวณเกาะกระทะตาบลเชิงทะเล
อาเภอถลาง จังหวัดภเู ก็ต (เรื่องเสร็จที่ ๙๗/๒๕๓๘), บนั ทกึ สานักคณะกรรมการกฤษฎีกา เรอื่ ง การออกหนงั สอื แสดงสทิ ธิ
ในท่ีดินให้แก่ผู้แจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๒) ตามมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน เมื่อมีพะราชกฤษฎีกา
กาหนดเขตปฏริ ูปที่ดินหรือมพี ระราชกฤษฎีกากาหนดทด่ี ินให้เป็นอุทยานแหง่ ชาติ (เร่อื งเสรจ็ ท่ี ๗๑๗/๒๕๓๘)

๒2๖7

บทที่ ๓
กระบวนการขั้นตอนและวธิ ีการท่ีกาหนดในกฎกระทรวง
เกยี่ วกบั การออกหนังสอื แสดงสทิ ธใิ นที่ดนิ ในเขตป่าไม้

การออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรบั รองการทาประโยชน์ในเขตป่าไม้ กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓
(พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ข้อ ๑๐ (๓)
กาหนดว่า ถ้าปรากฏว่าที่ดนิ นั้นต้งั อยูใ่ นตาบลทีม่ ปี ่าสงวนแห่งชาติ อทุ ยานแห่งชาติ พื้นที่รักษาพันธ์ุสตั วป์ ่า
พ้ืนที่ห้ามล่าสัตว์ป่า หรือพ้ืนที่ท่ีได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และกรมป่าไม้หรือ
กรมพัฒนาที่ดินยังไม่ได้ขีดเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้าม
ล่าสัตว์ป่า หรือเขตที่ได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีลงในระวางรูปถ่ายทางอากาศ
เพ่ือการออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์ หรือกรณีที่ขีดเขตแล้วแต่ที่ดินท่ีขอออกหนังสือรับรองการทา
ประโยชน์มีอาณาเขตติดต่อคาบเก่ียวหรืออยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตเขตรักษา
พันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเขตที่ได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมกันออกไปตรวจพิสูจน์ที่ดิน ประกอบด้วยป่าไม้อาเภอหรือ
ผู้ท่ีป่าไม้จังหวัดมอบหมายสาหรับท้องที่ที่ไม่มีป่าไม้อาเภอ เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอาเภอ ปลัดอาเภอ
(เจ้าพนกั งานปกครอง) และกรรมการอื่นตามท่ีเห็นสมควร เมือ่ คณะกรรมการดังกล่าวได้ทาการตรวจพิสูจน์
เสร็จแล้วใหเ้ สนอความเห็นตอ่ ผู้ว่าราชการจงั หวัดว่าสมควรออกหนงั สือรบั รองการทาประโยชน์ให้ได้หรือไม่
เพียงใด สาหรับท่ีดินที่ได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ยังไม่ได้ขีดเขตหรือขีดเขต
แล้วแต่ที่ดินดังกล่าวมีอาณาเขตคาบเกี่ยวกับเขตที่ได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวร ให้แต่งตั้งผู้แทน
กรมพฒั นาทดี่ นิ เปน็ กรรมการด้วย

จากกฎกระทรวงดังกล่าวสามารถแยกหลักเกณฑ์ในการต้ังคณะกรรมการร่วมกัน
ออกไปตรวจพิสูจน์ท่ีดินไดเ้ ปน็ สองกรณี ดังน้ี

กรณีที่ ๑ กรณีท่ีท่ีดินที่ขอออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ต้ังอยู่ใน
ตาบลทีม่ เี ขตปา่ ไม้และยังไมไ่ ดข้ ีดเขตป่าลงในระวางรปู ถา่ ยทางอากาศ

กรณีที่ ๒ กรณีท่ีที่ดินที่ขอออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ตั้งอยู่ใน
ตาบลที่มีเขตป่าไม้และมีการขีดเขตป่าไม้ลงในระวางรูปถา่ ยทางอากาศแล้ว แต่ตาแหน่งที่ดินติดต่อคาบเกี่ยว
หรืออยใู่ นเขตปา่ ไม้

๑. องค์ประกอบของคณะกรรมการ
ในส่วนขององค์ประกอบของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ท่ีดิน หากการออกโฉนดท่ีดิน

อยู่ในเง่ือนไขที่ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ตามข้อ ๑๐(๓) แห่งกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)

28 ๒๗

ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ จะต้องแต่งต้ังให้ครบตาม
องค์ประกอบทก่ี ฎหมายบัญญัติไว้ สว่ นกรรมการอื่นตามท่ีเหน็ สมควรน้ันมิใชอ่ ยใู่ นองค์ประกอบหลัก การไม่
แต่งต้ังกรรมการอ่ืนตามที่เห็นสมควรไม่มผี ลทาใหก้ ารพิจารณาทางปกครองนน้ั เสียไปแต่อยา่ งใด แต่ในส่วน
ทเ่ี ป็นองค์ประกอบหลักหากไม่แต่งต้ังแล้วย่อมจะเป็นผลการพิจารณาทางปกครองคาส่ังทางปกครองท่ีผ่าน
ยอ่ มไม่ชอบดว้ ยกฎหมาย

สาหรับท้องที่ที่ปัจจุบันไม่มีตาแหน่งป่าไม้จังหวัดหรือป่าไม้อาเภอ อันเน่ืองมาจากการ
ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม ในการปฏิรูปราชการ อีกท้ังในบางท้องที่ได้มีการยุบตาแหน่งเจ้าหน้าท่ี
บริหารงานที่ดินอาเภอแล้วเช่นกัน การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่แต่งตั้งกรรมการให้เป็นไปตามกฎกระทรวง
เนื่องจากไม่มีตาแหน่งของบุคคลที่จะให้แต่งตั้งเป็นกรรมการ ไม่ถือว่าเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่อย่างใด24 ท้ังนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจท่ีจะแต่งตั้งกรรมการอ่ืนตามที่เห็นสมควรเพ่ือเป็นกรรมการ
ได้อยู่แล้ว นอกจากนี้ เพ่ือให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ เก่ียวกับมาตรการป้องกันการทุจริตและการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ซึ่งได้รับความเห็นชอบตามมติ
คณะรัฐมนตรี เม่ือวันที่ 7 เมษายน 2558 ท่ีให้มีผู้แทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบ
กรมที่ดินจึงได้วางแนวทางปฏิบัติให้แต่งต้ังตัวแทนคณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และ/หรือ
ผู้แทนหน่วยงานทหารที่ใช้ประโยชน์ในทีด่ ินในเขตป่าไม้ซ่ึงท่ีดนิ นั้นตงั้ อยู่ รว่ มเปน็ กรรมการตรวจพสิ จู น์ท่ีดิน
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน
พ.ศ. 249725

๒. การรายงานผลการสอบสวน
กรมที่ดินได้วางแนวทางปฏิบัติการดาเนินการของคณะกรรมการตรวจพิสูจน์ที่ดิน

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน
พ.ศ. ๒๔๙๗ ท้ังขั้นตอน ระยะเวลา และรูปแบบการรายงานให้ผู้ว่าราชจังหวัดพิจารณาส่ังการซึ่งได้แจ้งเวียน
ใหจ้ ังหวัดทุกจังหวัดทราบตามหนังสอื กรมทด่ี ิน ที่ มท ๐๕๑๖.๕/ว ๑๖๓๙๘ ลงวันที่ ๑๓ มถิ ุนายน ๒๕๕๕,
หนังสือกรมท่ีดิน ท่ี มท ๐๕๑๖.๕/ว ๒๒๓๔๐ ลงวันท่ี ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ รวมทั้งยังมีหนังสือกรมท่ีดิน
ท่ี มท ๐๕๑๖.๕/ว ๑๑๑๖๐ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๗ กาชับให้ถือปฏิบัติในเรื่องการรายงานผลการ
ตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงของคณะกรรมการที่จะต้องเสนอความเห็นไปด้วยว่า สมควรออกหนังสือแสดงสิทธิ
ในที่ดินให้หรือไม่ และข้อเท็จจริงที่เก่ียวข้องให้ครบถ้วนเพียงพอแก่การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจะใช้ดุลพินิจ
สง่ั การได้

24 หนังสือกรมทดี่ นิ ท่ี มท ๐๗๑๙.๓/๒๙๐๔๔ ลงวันที่ ๒๑ กนั ยายน ๒๕๔๓ ตอบขอ้ หารือจังหวัดอุดรธานี
25 หนงั สอื กรมที่ดิน ดว่ นทสี่ ุด ท่ี มท ๐๕๑๖.๕/ว ๓๑๒๑๓ ลงวันท่ี ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๘

แนวทางปฏบิ ตั ิของกรมท่ดี นิ



3๒๙1

๑. หนังสอื กรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๖.๒/๙๓๔๓ ลงวันท่ี ๑๐ เมษายน ๒๕๔๖ เรอ่ื ง ออกโฉนดท่ีดินในเขตป่าไม้
ตอบข้อหารือจังหวัดระนอง

จังหวัดหารือกรณี นาย ส. ขอออกโฉนดที่ดินตามหลักฐาน ส.ค.๑ ซ่ึงผู้แจ้งการครอบครอง
ได้แจ้งว่า ได้มาโดยการจับจองเม่ือวันท่ี ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๓ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า บริเวณที่ขอออก
โฉนดที่ดินได้มีพระราชกฤษฎีกากาหนดให้ป่าเขาม่วงหละในท้องท่ีตาบลเขานิเวศน์ ตาบลบางร้ิน และตาบล
ปากน้า อาเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นป่าคุ้มครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ แต่ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวไม่ได้
อยู่ในเขตป่าคุ้มครองและป่าสงวนแห่งชาติแล้ว จังหวัดเห็นว่าผู้แจ้ง ส.ค.๑ ได้นาท่ีป่ามาแจ้งการครอบครอง
จงึ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิข้ึนใหม่แกผ่ ู้แจ้ง แม้ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเขตป่าคุ้มครองและป่าสงวนแห่งชาติ
แลว้ ก็ตาม ที่ดินของผูข้ อจึงไม่อยูใ่ นหลกั เกณฑท์ ี่จะออกโฉนดที่ดนิ ความเหน็ ของจงั หวัดถกู ต้องหรอื ไม่

กรมท่ีดินพิจารณาแล้วเห็นว่า บริเวณทม่ี ีการขอออกโฉนดท่ีดินได้มีพระราชกฤษฎีกากาหนดให้
เป็นป่าคุ้มครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๑ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ส.ค. ๑ ได้แจ้งการครอบครองในเขตป่าคุ้มครอง
ดังกล่าวโดยการจับจองเม่ือวันท่ี ๒๙ มิถุนายน ๒๔๙๓ เป็นการแจ้งการครอบครองที่ดินในเขตป่าคุ้มครอง
การแจ้งการครอบครองจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้แจ้งแต่อย่างใด แม้ต่อมาจะได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๖๔
(พ.ศ. ๒๕๐๙) ออกตามความในพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ ประกาศกาหนดให้ป่าคุ้มครอง
ดงั กล่าวเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และบริเวณที่ดินท่ีขอออกโฉนดที่ดนิ ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติอันเป็นเหตุให้
พ้ืนท่ีดังกล่าวพ้นจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามนัยความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามหนังสือ
คณะกรรมการกฤษฎีกา ท่ี นร ๐๖๐๑/๕๙๑ ลงวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๒ ตอบข้อหารือกรมป่าไม้แล้วก็ตาม
ส.ค. ๑ ดังกลา่ วกไ็ ม่อาจนามาใช้เป็นหลักฐานในการขอออกโฉนดท่ีดินตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้

32 ๓๐

๒. หนังสือกรมท่ีดิน ด่วนมาก ท่ี มท ๐๕๑๖.๒/๑๗๙๔๘ ลงวันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๔๗ เร่ือง หารือกรณี
ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน ในเขตป่าไม้ ตอบข้อหารือ
จังหวัดสงขลา

จังหวัดหารือ กรณี นาง ป. ขอออกหนังสือแสดงสิทธใิ นที่ดิน ตามมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวล
กฎหมายที่ดินในเขตป่าไม้ ที่ดินของผู้ขอเป็นที่ดินที่เจ้าของที่ดินเดิมและผู้ครอบครองต่อเนื่องได้จับจอง
เป็นเจ้าของและครอบครองทาประโยชน์มาก่อนประมวลกฎหมายท่ีดินใช้บังคับและได้ปฏิบัติตามมาตรา ๒๗ ตรี
แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน แต่ทางราชการเดินสารวจไปไม่ถึง การประกาศให้บริเวณที่ดินดังกล่าวเป็นป่าไม้
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๘ ไม่เป็นเหตุให้สิทธิครอบครองที่มีอยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายที่ดินเสียไป ผู้ขอขอออก
โฉนดที่ดินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินได้ รวมท้ังที่ดินของบุคคลอื่น
ที่ไม่ได้แจ้ง ส.ค.๓ ไว้ แต่มีหลักฐานยืนยันว่า ได้สิทธิครอบครองมาก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ
และการกาหนดให้บริเวณท่ดี ินนั้นเปน็ เขตที่ดินของรฐั แตไ่ ม่อาจรวมถึงท่ีดินที่มิได้ครอบครองและทาประโยชน์
มาก่อนพระราชบัญญัติออกโฉนดท่ีดิน (ฉบับท่ี ๖) พ.ศ. ๒๔๗๙ ใช้บังคับ และมิได้แจ้งความประสงค์จะได้สิทธิ
ในท่ีดินตามมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แม้จะเป็นผู้ท่ีได้ครอบครองและทาประโยชน์ก่อน
ประมวลกฎหมายท่ีดนิ ใชบ้ งั คับและก่อนการประกาศกาหนดเขตป่าไม้ก็ตาม ความเห็นของจังหวัดถูกต้องหรือไม่

กรมที่ดินพิจารณาแล้วขอเรียนว่า บุคคลผซู้ ึ่งมีใบรับแจง้ การครอบครองท่ดี ิน (ส.ค. ๓) เปน็ ผู้ท่ี
ได้แจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในที่ดิน ตามมาตรา ๒๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งการแจ้งดังกล่าวมิได้
ทาให้ผู้แจ้งมีสิทธิครอบครองโดยชอบตามประมวลกฎหมายที่ดินในทันที แต่เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในการ
ด าเนิ น ก าร เพ่ื อ ให้ พ นั ก งาน เจ้ าห น้ าที่ อ อ ก ห นั งสื อ รั บ ร อ งก าร ท าป ร ะ โย ช น์ ห รื อ โฉ น ด ที่ ดิ น ให้ แ ก่ ผู้ แ จ้ ง
การครอบครองรับไปเท่านั้น ดังนั้น หากผู้ได้รับแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๓) ประสงค์จะดาเนินการออก
หนังสือรับรองการทาประโยชน์หรือโฉนดที่ดิน ก็ต้องนาใบรับแจ้งฯ ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าหน้าที่ ซ่ึงสามารถ
ดาเนินการได้ ๒ กรณี กล่าวคือ โดยการเดินสารวจตามมาตรา ๕๘ ทวิ (๒) หรอื เป็นการเฉพาะรายตามมาตรา
๕๙ ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่ถ้าที่ดินน้ันถูกกาหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษา
พันธ์ุสัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือมีมติคณะรัฐมนตรีให้สงวนไว้เป็นป่าไม้ของชาติไปก่อนแล้วก็ต้องห้ามมิให้
ออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์หรือโฉนดท่ีดิน เม่ือข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินของผู้ร้องเป็นท่ีดินที่ได้
ครอบครองต่อเนื่องมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ โดยมิได้แจ้งการครอบครองตามมาตรา ๕
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน แต่เป็นผู้ได้แจ้งความประสงค์จะได้สิทธิในท่ีดิน ตามมาตรา ๒๗ ตรี
แห่งประมวลกฎหมายท่ีดิน และยังมิได้นาทาการรังวัด เน่ืองจากการเดินสารวจยังดาเนินการไปไม่ถึงท่ีดินของ
ผู้ร้อง เมื่อท่ีดินของผรู้ ้องถูกประกาศกาหนดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยไปก่อนทผ่ี ้ขู อจะดาเนินการขอออก
หนังสือรับรองการทาประโยชน์หรอื โฉนดท่ีดนิ พนกั งานเจ้าหน้าท่ีจึงไม่อาจออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์
หรือโฉนดที่ดินในกรณีน้ีให้ได้ แม้จะเป็นผู้ท่ีได้ครอบครองมาก่อนประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับ และก่อน
การประกาศกาหนดให้บริเวณท่ีดินนั้นเป็นที่ป่าไม้ก็ตาม ตามนัยหนังสือสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

3๓3๑

ด่วนมาก ท่ี นร ๐๖๐๑/๗๘ ลงวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๘ เร่ือง การออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์
ที่เกาะกะทะ จังหวัดภูเก็ต และหนังสือสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ด่วนมาก ที่ นร ๐๖๐๑/๑๑๔๖
ลงวนั ที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๓๕ เรื่อง หารือเก่ียวกบั การออกโฉนดที่ดินหรอื หนงั สือรับรองการทาประโยชน์ในเขต
ป่าไม้ ตามมาตรา ๕๙ ทวิ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายทีด่ ิน

34 ๓๒

๓. หนังสือกรมท่ดี ิน ที่ มท ๐๕๑๖.๒/๑๔๙๖๘ ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๘ เร่อื ง หารอื แนวทางปฏิบัติ
ในการออกหนังสือแสดงสิทธิในทด่ี ินในเขตปา่ ไม้ ตอบข้อหารืออธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธ์ุพืช

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช.ขอทราบผลดาเนินการ กรณีฝ่ายเลขานุการ
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกท่ีดินของรัฐ ได้ประสานขอให้กรมท่ีดินพิจารณาดาเนินการส่งเร่ือง
การตรวจพิสูจน์ที่ดินท่ีขอออกหนังสือรับรองการทาประโยชน์หรือโฉนดที่ดินในเขตป่าไม้ ให้คณะกรรมการ
ตรวจพิสูจน์เรื่องท่ีขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค.๑) ตามคาส่ัง
กรมที่ดิน ท่ี ๑๔๗๔/๒๕๔๗ ลงวันท่ี ๑ มิถุนายน ๒๕๔๗ ดาเนินการอ่าน แปล ตีความภาพถ่ายทางอากาศ
เพ่ือหาตาแหน่งและร่องรอยการทาประโยชน์ในท่ีดินทุกกรณี หรือมอบให้คณะอนุกรรมการอ่านภาพถ่าย
ทางอากาศของ กบร. ทาหน้าที่อ่าน แปล ตคี วามภาพถ่ายทางอากาศในกรณีดังกลา่ วก็ได้

กรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์
ถ้าท่ีดินนั้นตั้งอยู่ในตาบลท่ีมีเขตป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ พนื้ ที่รกั ษาพนั ธ์ุสัตว์ปา่ พื้นท่ีหา้ มล่าสัตว์ป่า
หรือพื้นท่ีท่ีได้จาแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และกรมป่าไม้หรือกรมพัฒนาท่ีดินยังไม่ได้
ขีดเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหรือเขตท่ีได้จาแนกให้เป็น
เขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีลงในระวาง หรือขีดเขตแล้วแต่ที่ดินทีข่ อออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรบั รอง
การทาประโยชน์มีอาณาเขตติดต่อคาบเก่ียวหรืออยู่ในเขตดังกล่าว กฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)ฯ
ข้อ ๑๐ (๓) ประกอบกับข้อ ๑๖ กาหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งต้ังคณะกรรมการร่วมกันออกไปตรวจพิสูจน์
ที่ดินเพื่อเสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าสมควรออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ให้
ได้หรือไม่ เพียงใด กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวไม่ได้กาหนดว่าจะต้องมีการอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศ
แต่อย่างใด หากการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ในเขตป่าไม้จะต้องมีการอ่านแปล
ภาพถ่ายทางอากาศทุกรายอาจเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ขอและจะเป็นการดาเนินการเกินไปจากท่ีกฎหมาย
กาหนด ฉะน้ัน หากจะดาเนินการตามท่ีฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐแจ้งมา
ก็จะตอ้ งแก้ไขกฎหมายเสยี กอ่ น จงึ จะดาเนินการตามนยั ดังกลา่ วได้

อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเร่ืองการออกโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ปรากฏว่า
กรมที่ดินได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพ่ิมเตมิ ประมวลกฎหมายท่ีดนิ (ฉบับที.่ ..) พ.ศ. .... ตามมติคณะรัฐมนตรี
เม่ือวันท่ี ๑๐ กมุ ภาพนั ธ์ ๒๕๔๗ ซึ่งขณะนีไ้ ด้ผา่ นการตรวจพจิ ารณาคณะกรรมการกฤษฎีกาแลว้ โดยปรากฏตาม
มาตรา ๔ ซ่ึงให้เพิ่มเติมความต่อไปน้ีเป็นมาตรา ๕๖/๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ว่า “การออกโฉนดท่ีดินหรือ
หนังสือรับรองการทาประโยชน์ ถ้าเป็นที่ดินท่ีอยู่ในท้องท่ีที่มีระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่าย
ทางอากาศ พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกให้ได้ต่อเม่ือตรวจสอบกับระวางแผนท่ีรูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูป
ถ่ายทางอากาศฉบับท่ที าข้ึนก่อนสุดเท่าท่ที างราชการมอี ย่แู ลว้ ว่าเป็นที่ดนิ ทสี่ ามารถออกโฉนดที่ดนิ หรือหนังสือ
รับรองการทาประโยชน์ได้ หรือตรวจสอบด้วยวิธีอ่นื ทั้งน้ี ตามระเบยี บท่ีอธิบดีกาหนด” ฉะนั้น หากร่างพระราชบญั ญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การออกหนังสือแสดงสิทธิในท่ีดินก็จะต้องมีการ

3๓5๓

ตรวจสอบกับระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศหรือระวางรูปถ่ายทางอากาศตามท่ีกล่าวมาแล้วว่าเป็นที่ดิน
ที่สามารถออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินได้หรือไม่ ซ่ึงต้องรวมถึงการตรวจสอบถึงตาแหน่งและร่องรอย
การทาประโยชน์ในทด่ี ินหรือไม่ด้วย”

36 ๓๔

๔. หนังสือกรมที่ดิน ท่ี มท ๐๕๑๖.๒/๓๒๒๑๗ ลงวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ เรื่อง การขอออกโฉนดที่ดิน
ตอบปลัดสานกั นายกรัฐมนตรี

สานักนายกรัฐมนตรีให้กรมท่ีดินพิจารณาดาเนินการ กรณี นาง จ. ได้ร้องเรียนขอความ
เป็นธรรมเกี่ยวกับการยื่นคาขอออกเอกสารสิทธิ ตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนของรฐั บาล ในบรเิ วณ
ป่าชายเลนริมถนนสุขุมวิท หมู่ที่ ๑ ตาบลสองคลอง อาเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ซ่ึงบิดาของผู้ร้อง
ได้ครอบครองและอยู่อาศัยมานาน แต่ติดขัดที่ส่วนบริหารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนท่ี ๑ ได้มีหนังสือแจ้งว่า
ไม่สามารถออกไปดาเนินการตรวจสอบท่ีดินได้ เน่ืองจากพนักงานเจ้าหน้าท่ีของกรมทรัพยากรทางทะเลและ
ชายฝั่งไม่มีอานาจหน้าที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม และได้ส่งเร่ืองทั้งหมดคืน
สานักงานท่ีดินจังหวัดฉะเชิงเทรา สาขาบางปะกง แต่เมื่อไปติดต่อเจ้าหน้าท่ีป่าไม้แล้ว ได้รับแจ้งว่า กรมป่าไม้
ไดม้ อบอานาจดังกล่าวให้แก่กรมทรพั ยากรทางทะเลและชายฝงั่ ไปหมดแลว้ ผูร้ อ้ งไม่ทราบจะแก้ไขให้ได้อย่างไร
จึงขอความเปน็ ธรรม

กรมท่ีดินพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ดินที่ได้ครอบครองและทาประโยชน์มาก่อนวันท่ีประมวล
กฎหมายที่ดินใช้บังคับ (ครอบครองก่อนวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๔๙๗) โดยไม่มีหนังสือสาคัญแสดงกรรมสิทธ์ิ
ผู้ครอบครองดังกล่าวต้องแจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๑) ตามมาตรา ๕ วรรคหน่ึง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ หากไม่แจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค. ๑) ถือว่า บุคคลนั้นสละสิทธิ
ครอบครองท่ีดิน รัฐมีอานาจจัดท่ีดินดังกล่าวตามบทแห่งประมวลกฎหมายท่ีดินได้ตามนัยมาตรา ๕ วรรคสอง
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว อย่างไรก็ตามท่ีดินที่ไม่ได้แจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๑) สามารถขอออกโฉนดที่ดิน
ได้ ๒ วิธี คือ โดยการเดินสารวจตามมาตรา ๕๘ ทวิ วรรคสอง (๒) และเป็นการเฉพาะราย ตามมาตรา ๕๙ ทวิ
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าปรากฏว่า ที่ดินนั้นไม่เป็นที่ดินต้องห้ามมิให้ออกโฉนดท่ีดินตามนัยข้อ ๑๔
แห่งกฎกระทรวง ฉบบั ที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความในพระราชบญั ญตั ิใหใ้ ช้ประมวลกฎหมายท่ีดิน พ.ศ. ๒๔๙๗
กล่าวคือ ถ้าที่ดินดังกล่าวข้างต้นเป็นป่าชายเลนที่คณะรัฐมนตรีมีมติสงวนไว้จะต้องห้ามไม่ให้ออกโฉนดที่ดิน
ตามนัยข้อ ๑๔ (๕) แห่งกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)ฯ สาหรับกรณี นาง จ. ผู้ร้องได้ย่ืนคาขอรังวัด
ออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครองท่ีดิน (ส.ค. ๑) โดยอ้างว่า ได้ท่ีดินมาโดยการครอบครองและ
ทาประโยชน์ต่อเนื่องจากเจ้าของเดิม ซ่ึงได้ก่นสร้างครอบครองและทาประโยชน์ในท่ีดินแปลงน้ีมาประมาณ
เม่ือปี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยทาประโยชน์เป็นที่ทาฟืนขายและเล้ียงกุ้ง ปัจจุบัน นาง จ. ได้ครอบครองทาประโยชน์
โดยให้บุคคลอื่นเช่าเพื่อเป็นท่ีพักน้าเค็มไว้ขาย ช่างรังวัดได้ทาการรังวดั และลงท่ีหมายในระวางแผนท่ีแล้วปรากฏว่า
มพี ื้นทีค่ าบเกีย่ วกับพ้ืนที่ป่าชายเลน ส่วนบรหิ ารจัดการทรัพยากรป่าชายเลนท่ี ๑ (ภาคตะวันออกและภาคกลาง)
ตรวจสอบแล้วปรากฏว่าที่ดินของนาง จ. อยู่ในป่าชายเลน เขตเศรษฐกิจ ข. ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕
ธนั วาคม ๒๕๓๐ และอยใู่ นเขตป่าอนุรักษ์ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๓ และ ๑๗ ตุลาคม
๒๕๔๓ ทงั้ แปลง ท่ีดินท่ีผู้ร้องขอออกโฉนดที่ดินจึงเป็นที่ดินท่ีคณะรฐั มนตรสี งวนไว้เพ่ือรกั ษาทรพั ยากรธรรมชาติ
ต้องห้ามมิให้ออกโฉนดที่ดินตามนัยข้อ ๑๔ (๕) แห่งกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ออกตามความใน
พระราชบญั ญตั ใิ หใ้ ช้ประมวลกฎหมายทดี่ ิน พ.ศ. ๒๔๙๗

3๓7๕

สาหรับกรณีที่ผู้ร้องอ้างวา่ ที่ดินแปลงข้างเคียงสามารถออกโฉนดที่ดินได้น้ัน จังหวัดตรวจสอบแล้ว
ปรากฏว่า ด้านทิศเหนือเป็นโฉนดท่ีดินเลขท่ี ๔๐๐๙ ออกเม่ือวันท่ี ๒๗ มิถุนายน ๒๔๙๕ และโฉนดที่ดิน
เลขท่ี ๑๑๐๓๑ แบ่งแยกออกมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ ๔๐๐๙ เม่ือวนั ท่ี ๒๔ ตุลาคม ๒๕๓๓ ด้านทิศใต้เป็นท่ีดิน
มีการครอบครองของ นาง จ. ทิศตะวันออกเป็นลารางสาธารณประโยชน์และท่ีมีการครอบครองซึ่งมีหลักฐาน
เป็น ส.ค. ๑ เลขท่ี ๑๘๕ ถัดจากลารางสาธารณประโยชน์เป็นท่ีดินเลขที่ดิน ๔๓ เลขท่ีดิน ๔๕ และเลขท่ีดิน ๔๖
ตรวจสอบแล้ว เลขท่ีดิน ๔๓ ขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน (ตกค้าง) ตามหลักฐาน ส.ค. ๑ เลขท่ี ๕ ออกโฉนดท่ีดิน
เลขที่ ๕๕๒๘ เม่ือวันท่ี ๑ ธันวาคม ๒๕๑๒ ส่วนเลขที่ดิน ๔๕ ขอรังวัดออกโฉนดที่ดิน (ตกค้าง) ตามหลักฐาน
น.ส. ๓ เลขที่ ๑๘๖ ออกโฉนดทีด่ ินเลขท่ี ๕๕๕๖ เม่ือวันท่ี ๒๗ มกราคม ๒๕๑๓ และเลขที่ดิน ๔๖ ได้ขอรังวัด
ออกโฉนดท่ีดินท่ีงอกริมตลิ่ง (ชายทะเล) จากแปลงเลขที่ดิน ๔๕ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๒๒๓ เมื่อวันที่ ๗
ตุลาคม ๒๕๒๘ ทิศตะวันตกเป็นคลอง ถัดจากคลองเป็นที่ดินเลขที่ดิน ๓๕ และเลขที่ดิน ๔๐ ตรวจสอบแล้ว
เลขที่ดิน ๓๕ ออกโฉนดที่ดินเลขที่ ๘๖๖๖ เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๖ ส่วนเลขที่ดิน ๔๐ ขอรังวัดออก
โฉนดท่ีดิน (ตกค้าง) ตามหลักฐาน น.ส. ๓ เลขท่ี ๕๗ ออกโฉนดที่ดินเลขท่ี ๘๖๖๗ เม่ือวันท่ี ๑๐ พฤศจิกายน
๒๕๒๕ ซ่ึงโฉนดท่ีดินดังกล่าวข้างต้นทุกแปลงได้ออกมาก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติเรื่องป่าชายเลน เมื่อวันท่ี ๑๕
ธนั วาคม ๒๕๓๐ จงึ เป็นการออกโฉนดที่ดินทไี่ ดป้ ฏิบตั ิตามกฎหมายและระเบียบวิธกี ารในขณะนัน้ แลว้

38 ๓๖

๕. หนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๕๑๖.๒/๐๐๖๗๙ ลงวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๔๙ เรื่อง หารือเดินสารวจ
ออกหนังสอื รบั รองการทาประโยชนใ์ นเขตป่าไม้ถาวร ตอบข้อหารือจงั หวดั เชยี งใหม่

จังหวัดหารือกรณีสานักงานที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ สาขาจอมทอง ได้รับคาขอแบ่งแยก
ในนามเดิมโฉนดท่ีดนิ และ น.ส. ๓ ก. ซ่ึงออกโดยมิชอบดว้ ยกฎหมาย เน่ืองจากนาเดินสารวจในเขตป่าไม้ถาวร
แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้จาแนกพ้ืนที่ดังกล่าวออกจากเขตป่าไม้ถาวร ทาให้โฉนดท่ีดินและ น.ส. ๓ ก.
ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเขตป่าไม้ถาวรอีกต่อไป อันเป็นเหตุให้ไม่ต้องถูกเพิกถอนตามนัยหนังสือกรมที่ดิน
ที่ มท ๐๗๑๙/ว ๓๔๑๑๖ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๔๒ ซ่ึงจังหวัดเห็นว่า การไม่เพิกถอนเป็นการรับรองสิทธิ
ในท่ีดิน จึงหารือว่าความเห็นของจังหวัดถกู ต้องหรือไม่

กรมท่ีดินพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โฉนดท่ีดินท่ีได้ออกสืบเน่ืองมาจาก น.ส. ๓ ก.
และ น.ส. ๓ ก. เป็นหนังสือรับรองการทาประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากได้ออก
โดยการเดินสารวจในเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เม่ือวันท่ี ๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๙ แต่ต่อมาคณะรัฐมนตรี
มีมติเม่ือวันท่ี ๒๕ เมษายน ๒๕๓๖ จาแนกพ้ืนท่ีดังกล่าวออกจากเขตป่าไม้ถาวร ให้เป็นที่ดินทากินของราษฎร
หรือใช้ประโยชน์อย่างอื่น และภายหลังคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันท่ี ๒๔ มกราคม ๒๕๔๗ มอบพ้ืนที่นี้ให้
คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติดาเนินการแล้ว จึงถือว่าพ้ืนท่ีดังกล่าวไม่อยู่ในเขตป่าไม้ถาวร ตามมาตรา ๕๘
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน อันเป็นกรณที ี่ข้อเทจ็ จริงได้เปลี่ยนแปลงไปในสาระสาคัญในทางทเ่ี ปน็ ประโยชน์แก่
เจ้าของท่ีดิน และเป็นเหตุให้ไม่ต้องถูกเพิกถอนตามนัยหนังสือกรมท่ีดิน ท่ี มท ๐๗๑๙/ว ๓๔๑๖๖ ลงวันที่ ๖
ตุลาคม ๒๕๔๒ และโดยที่การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์เป็นคาสั่งทางปกครอง
ตามนัยมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ตราบใดท่ียังไม่มีคาส่ังให้
เพิกถอนโฉนดท่ีดินและ น.ส.๓ ก. แปลงดังกล่าวจึงยังคงมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายใช้ยันต่อบุคคลท่ัวไปได้
ดังน้ัน ผู้ซ่ึงมีช่ือในโฉนดท่ีดินหรือหนังสือรับรองการทาประโยชน์ จึงย่อมสามารถจะกระทาการใด ๆ หรือจดทะเบียน
สทิ ธิและนติ กิ รรมเกยี่ วกับที่ดินดงั กล่าวได้

3๓๗9

๖. หนังสือกรมที่ดิน ท่ี มท ๐๕๑๖.๒/๑๓๗๐๑ ลงวันท่ี ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๔๙ เร่ือง หารือแนวทาง
ปฏบิ ัตกิ ารออกหนงั สอื แสดงสทิ ธใิ นท่ดี นิ บรเิ วณพนื้ ทป่ี ่าชายเลน ตอบข้อหารอื จงั หวัดจันทบุรี

จังหวัดหารือกรณีจังหวัดมีพื้นท่ีบางส่วนเป็นพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ การออกหนังสอื แสดงสิทธิในทดี่ ินบริเวณพ้ืนที่ดังกลา่ ว เดิมเม่ือพนักงานเจา้ หน้าทน่ี าเรอ่ื ง
เสนอคณะกรรมการป้องกันและหยุดยั้งการบุกรุกท่ีดินในเขตป่าชายเลนพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว
ก็ดาเนินการออกโฉนดท่ีดินให้กับผู้ขอได้ ต่อมากรมท่ีดินมีหนังสือ ท่ี มท ๐๕๑๑.๒/ว ๘๐๔๐ ลงวันที่ ๒๔
มีนาคม ๒๕๔๖ ให้เจ้าหน้าท่ีถือปฏิบัติว่า ท่ีป่าชายเลนเป็นที่ดินของรัฐ ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๕ และตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนมาก
ท่ี มท ๐๕๑๑.๔/ว ๒๔๓๔ ลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ได้กาชับกรณีมีราษฎรขอออกหนังสือแสดงสิทธิ
ในท่ีดินของรัฐ ให้จังหวัดนาเรื่องเสนอ กบร. จังหวัดพิจารณาก่อนทุกราย จังหวัดพิจารณาแล้วเห็นว่า การขอออก
หนังสือแสดงสิทธิในท่ีดินบริเวณพื้นที่ป่าชายเลน เม่ือได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
ป้องกันและหยุดยั้งการบุกรุกที่ดินในเขตป่าชายเลนแล้ว น่าจะถือได้ว่า เป็นการพิสูจน์สิทธิว่า ผู้ขอครอบครอง
ทาประโยชน์มาก่อนการเป็นที่ดินของรัฐแล้ว จึงไม่ควรจะต้องนาเรื่องเสนอ กบร. จังหวัดพิจารณาอีก แต่หาก
จะต้องนาเสนอ กบร. จังหวัดพิจารณา จังหวัดเห็นว่าควรจะนาเร่ืองเสนอเฉพาะพ้ืนที่ป่าชายเลนซ่ึงเป็นเขตป่าไม้
ตามที่กาหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) หากเป็นเพียงพ้ืนที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี
เม่ือวันท่ี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐ แต่ไม่เป็นพ้ืนท่ีเขตป่าไม้ตามกฎกระทรวง ฉบับท่ี ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗) ก็ไม่ควร
จะตอ้ งนาเรือ่ งเสนอ กบร. จังหวัดพจิ ารณาอกี แตอ่ ย่างใด

กรมที่ดินพิจารณาการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและหยุดย้ังการบุกรุกท่ีดินในเขตป่าชายเลน
ตามหนงั สือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๖๑๙/ว ๓๖๐ ลงวันที่ ๑๒ กมุ ภาพันธ์ ๒๕๓๕ สบื เนื่องจากคณะรัฐมนตรี
มีมติเมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๓๔ ให้กระทรวงมหาดไทยกาหนดนโยบายและมาตรการเพ่ือหยุดย้ังการบุกรุก
ท่ีดินในเขตป่าชายเลนและระงับการพิจารณาขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งเป็นนโยบายของ
รฐั บาลท่ีทุกหน่วยงานพึงถือปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินในพ้ืนท่ีป่าชายเลน ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหา
การบุกรุกท่ีดินของรัฐตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกท่ีดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๕
ก็เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันการบุกรุกท่ีดินของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม กับเพื่อให้การประสานนโยบายและการ
ปฏิบัติระหว่างหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าท่ีดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกันที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ ให้เป็นไป
ตามกฎหมาย กฎ คาสั่ง ระเบียบใชบ้ งั คับ และมติคณะรัฐมนตรีท่ีเกีย่ วข้อง ซึ่งตามระเบยี บสานักนายกรัฐมนตรี
ดังกล่าว ที่ดินของรัฐ หมายความว่า ท่ีดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินทุกประเภท เช่น ท่ีป่าสงวนแห่งชาติ
ท่ีสงวนหวงห้ามของรัฐ ที่สาธารณประโยชน์ และที่ราชพัสดุ เป็นต้น ดังน้ัน ป่าชายเลนจึงไม่ใช่ท่ีดินตามความหมาย
ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกท่ีดินของรัฐ พ.ศ. ๒๕๔๕ เม่ือปรากฏว่าที่ดิน
ที่ขอออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินอยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันท่ี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
และได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการป้องกันและหยุดยั้งการบุกรกุ ท่ีดินในเขตป่าชายเลนแล้ว


Click to View FlipBook Version