The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Aniruth Abdullagasim, 2021-01-31 22:10:47

รูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอน โรงเรียนสุเหร่าเขียว






คำนำ


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผล

สถานศึกษาทุกแห่ง ต้องมีการประเมินตนเอง และปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทของ

สถานศึกษา พร้อมทั้งกำหนดมาตรการเพื่อสร้างความปลอดภัยต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว

โรงเรียนสุเหร่าเขียว จึงได้กำหนดรูปแบบ แนวทาง และมาตรการการบริหารจัดการเรียนการสอนใน
สถานการณ์แพรระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของผู้ที่

เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ทำให้การกำหนดรูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนมีความสำเร็จ

เรียบร้อย และมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทของโรงเรียน และชุมชนอย่างแท้จริง





(ว่าที่ ร้อยตรีอนิรุทธิ์ อับดุลลากาซิม)

ผู้อำนวยการโรงเรียนสุเหร่าเขียว
29 มกราคม 2564





สารบัญ


คำนำ ก


สารบัญ ข

บทที่ 1 บทนำ 1

สภาพบริบทของสถานศึกษา 1

ข้อมูลทั่วไป 1
ประวัติโรงเรียนโดยย่อ 1

ข้อมูลนักเรียน (ขอมูล ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2563) 2

ข้อมูลครูและบุคลากรทางการศึกษา 3

ข้อมูลอาคารสถานที่ 6

ข้อมูลชุมชน 7

บทที่ 2 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงเปิดภาคเรียน 8

การเตรียมความพร้อมของโรงเรียน 8

6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 9
6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) 10

แนวทางปฏิบัติการเตรียมความพร้อมของผู้ปกครองและนักเรียน 11
กำหนดวันมาเรียนของนักเรียน 12


บทที่ 3 การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด 13

มาตรการและแนวทางในการดูแลนักเรียนของผู้ปกครอง 13
มาตรการและแนวทางในการดูแลด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน 14

มาตรการและแนวทางในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของนักเรียน 18

บทที่ 4 แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล 20

การเตรียมความพร้อมของโรงเรียน 7 ขั้นตอน 21


ภาคผนวก 22
หนังสือรับรองผลการประเมินที่ลงนามโดยประธานกรรมการสถานศึกษาฯ 23

คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 25
ภาพข่าวประชาสัมพันธ์การเตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน 29

คณะผู้จัดทำ 32

1


บทที่ 1

บทนำ

1. สภาพบริบทของสถานศึกษา




1.1 ข้อมลทั่วไป

โรงเรียนสุเหร่าเขียว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี โทรศัพท์ 02-925-6151

โทรสาร 02-925-6151 Website : www.sulaokheo.ac.th สังกัดสำนักงานเขตพนที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี
ื้
เขต 2 เปิดการสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ เขตบริการของ

โรงเรียน คือ หมู่ที่ 8 ตำบลละหาร และพื้นที่หมู่ 12 และหมู่ 14 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

ผู้บริหารโรงเรียนคือว่าที่ ร้อยตรี อนิรุทธิ์ อับดุลลากาซิม หมายเลขโทรศัพท์ผู้บริหาร 08-4668-1172


1.2 ประวัติโรงเรียนโดยย่อ



โรงเรียนสุเหร่าเขียวสร้างอยู่ในพนที่ของมัสยิดนูรุ้ลอสลาม (สุเหร่าเขียว) เปิดทำการสอนครั้งแรก
ื้
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2406 โดยอาศัยส่วนที่เป็นระเบียงของมัสยิด ทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 มีนักเรียน 60 คน มีนายบัวทอง ปัญทรนนทกะ เป็นครูใหญ่ ต่อมาปี พ.ศ. 2498 ได้งบประมาณ

จากทางราชการ สร้างอาคารเรียนถาวร แบบ ป1 ข. จำนวน 1 ห้อง และในปี พ.ศ. 2508 ได้ดำเนินการต่อเติมอาคาร

เรียนให้ยาวออกไปอก ขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 44 เมตร มีมุขกลาง และได้จัดสร้างถังน้ำฝนขนาดกว้าง 10 เมตร

ยาว 10 เมตร จำนวน 1 ที่ ใช้เป็นถังน้ำของชุมชน ในปี 2511 ในปี 2516 ได้งบประมาณสร้างโรงเรียน

แบบ สปช. 105/29 จำนวน 1 หลัง 8 ห้องเรียน ปี 2548 ได้มีการรื้อถอนอาคารเรียนแบบ 044 และในปีต่อมาได้
งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 2/28 (พิเศษ) ขนาด 4 ชั้น 28 ห้อง


ปี พ.ศ.2550 โรงเรียนขอเปิดการขยายการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

2



1.3 ข้อมูลนักเรียน (ข้อมูล ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2563)
เพศ

ระดับชั้นเรียน จำนวนห้อง รวม เฉลี่ยต่อหอง
ชาย หญิง
อ.2 2 24 17 41 1:21
อ.3 2 18 31 49 1:25

รวม 4 42 48 90 1:23

ป.1 2 31 19 50 1:25

ป.2 2 36 22 58 1:29
ป.3 2 26 22 48 1:24

ป.4 2 38 24 62 1:31

ป.5 2 25 18 43 1:22
ป.6 2 25 23 48 1:24

รวม 12 182 128 309 1:26

ม.1 2 44 28 72 1:36
ม.2 2 36 29 65 1:33

ม.3 2 44 30 74 1:37

รวม 6 124 87 211 1:35
รวมทั้งหมด 22 348 263 610 1:28




โรงเรียนสุเหร่าเขียว มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 610 คน


นักเรียนในเขตพื้นที่บริการ 338 คน คิดเป็นร้อยละ 55.41


นักเรียนนอกเขตพื้นที่บริการ 272 คน คิดเป็นร้อยละ 44.59

3



1.4 ข้อมลครูและบุคลากรทางการศึกษา

1.4.1 ผู้บริหารโรงเรียน

อายุ วุฒิ
ชื่อ –นามสกุล อายุ ตำแหน่ง วิชาเอก
ที่ ราชการ การศึกษา

1 ว่าที่ ร.ต.อนิรุทธิ์ 34 ปี 9 ปี ผู้อำนวยการ ศษ.บ. พลศึกษา

อับดุลลากาซิม ศษ.ม. บริหารการศึกษา

2 นายสุริยา เด็นลีเมาะ 45 ปี 5 ปี รอง ศษ.บ. อิสลามศึกษา

ผู้อำนวยการ ศษ.ม. บริหารการศึกษา


1.4.2 ครูประจำการ

ที่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง/ วุฒ ิ วิชาเอก ประสบการณ วิชาที่สอน ชั่วโมง

วิทยฐานะ ในการสอน สอน/
(ปี) สัปดาห์

1. นางเย็นจิตร ศรีราม คศ.3 ป.ตรี ภาษาไทย 27.5 ภาษาไทย 16
2. นางกลอยใจ พัฒนคุณเจริญกิจ คศ.3 ป.ตรี คณิตศาสตร์ 27 คณิตศาสตร์ 14

ป.ตรี สังคมศึกษา 10 สังคมศึกษา 17
3. นางดวงจันทร์ เสมสายัณห์ คศ.3
ป.โท การบริหารการศึกษา

ป.ตรี วิทยาการคอมพิวเตอร์ 11.7 การงานฯ 22
4. นางชลลดา เจริญสุข คศ.3 คอมพิวเตอร์
ป.โท บริหารการศึกษา

ป.ตรี ภาษาไทย 9.7 ภาษาไทย 21
5. นางสาวหทัยรัตน์ โปรดปราน คศ.3
ป.โท การบริหารการศึกษา

6. นางบุษบา มีสมสาร คศ.2 ป.ตรี ภาษาอังกฤษ 26 ภาษาอังกฤษ 14
ป.ตรี การประถมศึกษา 10.2 คณิตศาสตร์ 19
7. นางน้ำอ้อย เจริญสุข คศ.2
ป.โท การแนะแนว

8. นายวินัย พันธ์พืช คศ.2 ป.โท วิทยาศาสตร์การกีฬา 8 สุขศึกษา 20
พลศึกษา
9. นายมานพ สุยาละ คศ.2 ป.ตรี วิทยาศาสตร์ทั่วไป 9.3 วิทยาศาสตร์ 19
10. นางสาวธนิกานต์ ทิวากรกุล คศ.1 ป.ตรี ภาษาอังกฤษ 6.8 ภาษาอังกฤษ 17

11. นางชยานันท์ ศรีบุษย์ คศ.1 ป.ตรี เทคโนโลยีสารสนเทศ 4.10 คอมพิวเตอร์ 18
พัฒนาการครอบครัวและ 6 อ.2
12. นางสาวอนุสรา บัวอุไร คศ.1 ป.ตรี
เด็ก-การศึกษาปฐมวัย

4
13. นางสาวสุกัญญา จันทรมาศ คศ.1 ป.ตรี การศึกษาปฐมวัย 4 อ.3

14. นางสาววราภรณ์ ตะวะนะ คศ.1 ป.ตรี วิทยาศาสตร์ทั่วไป 4 วิทยาศาสตร์ 17
การงานฯ
15. นางสาวปริษา คงพูน คศ.1 ป.ตรี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ 4 คอมพิวเตอร์ 20
วิทยาการคำนวณ
16. นางสุมิตรา เจริญสุข คศ.1 ป.ตรี การวัดและประเมินผล 5 ภาษาไทย 18

17. นางนุจิรา เบ็ญกาโต คศ.1 ป.ตรี ภาษาไทย 3 ภาษาไทย 16
นางสาวสุวิมล เต๊ะดอเลาะ คศ.1 ป.ตรี เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 3 คณิตศาสตร์ 18
18. ไทยคดีศึกษา ภาษาไทย
ป.ตรี
19. นางสาวปิยะธิดา พ่อยันต์ ครูผู้ช่วย ป.ตรี การศึกษาปฐมวัย 2 อ.3

20. นางศิริมา พรมบุตร ครูผู้ช่วย ป.ตรี ศิลปศึกษา 2.3 ศิลปะ 18

นางสาวเพ็ญนภา สองสา ครูผู้ช่วย ป.ตรี ภาษาไทย 2.3 ภาษาไทย 25
21.
ป.ตรี อิสลามศึกษาเพื่อการพัฒนา
22. นางสาวนารี จันลา ครูผู้ช่วย ป.ตรี คณิตศาสตร์ 0.10 คณิตศาสตร์ 22

23. นางสาวศุภรัตน์ ไสว ครูผู้ช่วย ป.ตรี คณิตศาสตร์ 1 คณิตศาสตร์ 19

24. นางสาวจารุมล จินตวง ครูผู้ช่วย ป.ตรี ภาษาอังกฤษ 1 ภาษาอังกฤษ 20
25. นางสาวพนิตา นุชอารีย์ ครูผู้ช่วย ป.ตรี ภาษาอังกฤษ 0.10 ภาษาอังกฤษ 18

26. นางสาวอารีดา ยูโซ๊ะ ครูผู้ช่วย ป.ตรี สังคมศึกษา 0.7 สังคมศึกษา 20
ประวัติฯ
27. นายชลิต เขาสถิต ครูผู้ช่วย ป.ตรี ดนตรีไทย 1.4 ดนตรีไทย 20

28. นายอดุลกิตติ์ ลาพร ครูผู้ช่วย ป.ตรี พลศึกษา 1 สุขศึกษา 21
พลศึกษา
นางสาวอัจฉราพร สุขไสใจ ครูผู้ช่วย ป.ตรี บรรณารักษศาสตร์และ 0.4 การงานฯ 23
29.
สารนิเทศศาสตร์


รวม ข้าราชการครู ชาย 6 คน


หญิง 25 คน


รวม 31 คน

5



1.4.2 พนักงานราชการ และครูอัตราจ้าง


จำนวน
ตำแหน่ง/
ที่ ชื่อ – ชื่อสกุล วุฒิ วิชา เอก สอนวิชา/ชั้น ชั่วโมงสอน/
วิทยฐานะ
สัปดาห์

1. นางสาวนัฏฐิกา กองเพิ่มพูน พนักงานราชการ ป.ตรี ดนตรีไทย ดนตรีไทย 13
สุขศึกษา
2. นายวิทูร ประดิษฐบูรณ์ ครูอัตราจ้าง ป.ตรี วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์ 22
วิทยาการคำนวณ
3. นางดวงเดือน สุคนธมาลี ครูอัตราจ้าง ป.ตรี การแนะแนว อ.2

4. นางสาวณัฐนิช สุขแพทย์ ครูอัตราจ้าง ป.ตรี วิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ 14
ประวัติฯ
5. นายเดชบดินทร์ เอี่ยมสะอาด ครูอัตราจ้าง ป.ตรี อุตสาหกรรมศิลป์ การงานอาชีพ 14

6. นางสาวนวรัตน์ พรมแย้ม ครูอัตราจ้าง ป.ตรี คอมพิวเตอร์ธุรกิจ คอมพิวเตอร์ 19
ศิลปะ
7. นางสาวนูรยาณี เจ๊ะแอ ครูอัตราจ้าง ป.ตรี วิทยาศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์ 14
ประวัติฯ
8. นางสาวศิวาณี คงศิริ ครูอัตราจ้าง ป.ตรี สังคมศึกษา สังคมศึกษา 18
ประวัติฯ
9. Mr.Ghelord D. Masigla ครูต่างประเทศ ป.ตรี ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ 20
10. Mr.Micheal Raymond ครูต่างประเทศ ป.ตรี ภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษ 20

11. นางสาวปาริชาติ เจริญสุข ครูพี่เลี้ยง ม.6 - เด็กพิเศษ 22

12. นางสาวอาจารีย์ สุโง๊ะ ครูธุรการ ป.โท บริหารการศึกษา ธุรการ 0




รวมพนักงานราชการและครูอัตราจ้าง ชาย 4 คน


หญิง 8 คน

รวม 12 คน





รวมข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งหมด จำนวน 43 คน เป็นชาย 10 คน หญิง 33 คน จำนวน
ครูผู้สอนที่สอนวิชาตรงเอก 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100

6


1.5 ข้อมลอาคารสถานที่

โรงเรียนสุเหร่าเขียว มีอาคารเรียน 2 หลัง อาคารประกอบ 1 หลัง ส้วม 4 หลัง โดมหลังคาคลุมลานกีฬา

ส่งเสริมสุขภาพและวิชาการ 1 หลัง สนามกีฬาบาสเกตบอล 1 สนาม สนามกีฬาวอลเลย์บอล 1 สนาม


o จำนวนห้องเรียน ทั้งหมด 22 ห้องเรียน แบ่งเป็น

ชั้นอนุบาล 2 จำนวน 2 ห้อง
ชั้นอนุบาล 3 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้อง
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้อง

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 ห้อง

o จำนวนห้องปฏิบัติการ ทั้งหมด 6 ห้อง แบ่งเป็น
ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ห้อง

ห้องวิทยาศาสตร์ จำนวน 1 ห้อง

ห้องศิลปะและดนตรี จำนวน 1 ห้อง

ห้องอาเซียน จำนวน 1 ห้อง

ห้องการงานอาชีพ จำนวน 1 ห้อง

o ห้องประชุม จำนวน 1 ห้อง
o ห้องสมุด จำนวน 1 ห้อง

o ห้องพยาบาล จำนวน 1 ห้อง

o ห้องพกครู จำนวน 3 ห้อง
o ห้องพัสดุ จำนวน 1 ห้อง

o ห้องธุรการ จำนวน 1 ห้อง
o ห้องสหกรณ์ จำนวน 1 ห้อง

7


1.6 ข้อมลชุมชน

1.6.1 สภาพชุมชนโดยรวม


สภาพชุมชนบริเวณรอบโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนท้องถิ่นเดิม มีการอพยพย้ายถิ่นฐานบ้าง อยู่
รวมกัน 2 วัฒนธรรม มีอาชีพเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนใหญ่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอสลาม มีมสยิด 2 แห่งคือ มัสยิด



นูรุ้ลอิสลาม และมสยิดยามาลุดดีน มี ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ วันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา และ

วันตรุษอดิ้ลฟิตรี่ จะมีการร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และจัดงานรื่นเริง แข่งขันกีฬาพนเมือง ชาวบ้านจะแต่งกาย
ื้
แบบมุสลิม ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านาน ทั้งนี้บริเวณชุมชนไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ทั้งประชาชน ผู้ปกครอง และนักเรียน

1.6.2 ผู้ปกครองนักเรียน


- ระดับการศึกษา


➢ ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ -

➢ ประถมศึกษา ร้อยละ 35.51

➢ มัธยมศึกษาตอนต้น/เทียบเท่า ร้อยละ 35.70
➢ มัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า ร้อยละ 23.22

➢ ปริญญาตรี ร้อยละ 5.57

- การประกอบอาชีพ


➢ รับราชการ ร้อยละ 1.08
➢ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.96

➢ เกษตรกรรม ร้อยละ 4.61

➢ รับจ้าง ร้อยละ 71.47

➢ ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.88
- สถานะพ่อ – แม ่


➢ อยู่ด้วยกัน ร้อยละ 69.82

➢ แยกกันอยู่ ร้อยละ 28.47

➢ พ่อเสียชีวิต ร้อยละ 1.13
➢ แม่เสียชีวิต ร้อยละ 0.58

8


บทที่ 2

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในช่วงเปิดภาคเรียน


ื้
โรงเรียนสุเหร่าเขียว เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ที่ตั้งอยู่ในพนที่อำเภอบางบัวทอง ข้อมูล ณ ปัจจุบันไม่มีการแพร่
ระบาดระลอกใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ภายในชุมชน และจากการประเมินตนเองสำหรับ

สถานศึกษาในการเตรียมความพร้อม ก่อนเปิดเรียน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ปรากฏ
ใน “คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19” ของกรมอนามัย กระทรวง

สาธารณสุข โดยผลการประเมินตนเองพบว่า โรงเรียนสุเหร่าเขียว มีผลการประเมินเป็น “สีเขียว” อยู่ในเกณฑ์ที่

สามารถเปิดสอนปกติได้
โดยชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนต่อห้องเรียนไม่เกิน 25 คน จึงได้กำหนด

รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ โดยการเรียนในชั้นเรียน (On-Site) แต่เนื่องจากชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

มีจำนวนนักเรียนต่อห้อง มากกว่าห้องละ 25 คน ดังนั้น ผู้บริหาร คณะครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพนฐาน
ื้
จึงได้กำหนดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 เป็นรูปแบบการสอน “แบบผสมผสาน

(Blended Learning)” โดยใช้รูปแบบที่ 2.5 การสลับกลุ่มนักเรียนในห้องเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักเรียนชายและ

กลุ่มนักเรียนหญิง

การเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเน้นความร่วมมือปฏิบัติตาม 8 แนวทาง

โรงเรียนสุเหร่าเขียว จัดให้มีการเตรียมความพร้อมของโรงเรียนเน้นความร่วมมือปฏิบัติตาม 8 แนวทาง
เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ดังนี้

1) มีมาตรการการคัดกรองวัดไข้และอาการเสี่ยง ก่อนเข้าสถานศึกษา

2) ให้ครู นักเรียน บุคลากร และผู้มาติดต่อราชการสวมหน้ากากผ้า/ หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อ
อยู่ในสถานศึกษา

3) จัดให้มีจุดล้างมือด้วยสบู่เหลวและจุดบริการทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์ในบริเวณต่างๆ

4) จัดให้มีการเว้นระยะห่างในห้องเรียน เน้นจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนตลอดทั้งวัน และจัดให้มี
ระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร ในบริเวณอื่นๆ เช่น ที่นั่งโรงอาหาร เก้าอี้ม้าหิน ห้องละหมาด โดยยึดหลัก

Social Distancing

5) เน้นการทำความสะอาดพนผิวสัมผัสของโต๊ะ เก้าอี้และวัสดุอุปกรณ์ ก่อนเข้าเรียน พักเที่ยงและหลัง
ื้
เลิกเรียน เปิดประตู หน้าต่างให้อาการถ่ายเท


6) ลดความแออดไม่มีการจัดกิจกรรมอนเป็นเหตุให้เกิดการรวมกลุ่มของนักเรียน หรือลดเวลาทำ

กิจกรรมให้สั้นลงเท่าที่จำเป็น หรือเหลื่อมเวลาทำกิจกรรม โดยยึดถือหลักเลี่ยงการติดต่อสัมผัสระหว่างกัน

9


7) จัดอบรมครูให้เกิดความรอบรู้ และตระหนักในเรื่องการดูแลสุขภาพอนามัย เพื่อรองรับสถานการณ์
COVID-19 และการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) โดยบุคลากรสาธารณสุข


8) ขอความร่วมมอจากผู้ปกครอง ชุมชน อสม. รพสต. ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดกรองบุคคลก่อน

เข้าสถานศกษา และการดำเนินงานปรับปรุงอาคารสถานที่ให้ได้มาตรฐานตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด


6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) รองรับการระบาดระลอกใหม่ ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

หมายถึง มาตรการที่เป็นแนวทางการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน เพอไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค
ื่
ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

10


6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) รองรับการระบาดระลอกใหม่ ของโรคโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19)

หมายถึง มาตรการที่ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน ต้องให้ความสำคัญในการ
ดูแลตนเองและรับผิดชอบต่อสังคม

11
การเตรียมความพร้อมก่อนมาโรงเรียนสำหรับผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนสุเหร่าเขียว

12
โรงเรียนกำหนดวันมาเรียนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ดังนี้

13


บทที่ 3

การกำหนดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด



ื่
โรงเรียนสุเหร่าเขียว ได้กำหนดมาตรการเพอให้เกิดความปลอดภัยจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ดังนี้


1. มาตรการและแนวทางในการดูแลนักเรียนของผู้ปกครอง
ื้
1.1 ติดตามข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พนที่เสี่ยง คำแนะนำการ
ป้องกันตนเองและลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายของโรค จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

1.2 สังเกตอาการป่วยของบุตรหลาน หากมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น
ื่
ไม่รู้รส ให้รีบพาไปพบแพทย์ ควรแยกเด็กไม่ให้เล่นกับคนอน ให้พกผ่อนอยู่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ พร้อมทั้ง

จัดเตรียมยาที่เด็กต้องใช้ประจำไว้อย่างเพียงพอ
1.3 จัดหาของใช้ส่วนตัวให้บุตรหลานในแต่ละวัน ทำความสะอาดทุกวัน ได้แก่ หน้ากากผ้า ช้อน ส้อม แก้วน้ำ

แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูละหมาด

1.4 จัดหาสบู่เหลวหรือเจลแอลกอฮอล์ให้นักเรียนพกพา และกำกับดูแลฝึกฝนบุตรหลานให้ล้างมือบ่อยๆ 7
ขั้นตอนด้วยสบู่และน้ำ นาน 20 วินาที ก่อนกินอาหาร หลังใช้ห้องน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก

โดยไม่จำเป็น ฝึกการใส่หน้ากาก การถอดหน้ากาก และการทิ้งหน้ากากที่ถูกวิธี ฝึกการรักษาระยะห่าง 1-2 เมตร

สอนการปฏิเสธการสัมผัสตัว สร้างสุขนิสัยที่ดีหลังเล่นกับเพอน และเมื่อกลับมาถึงบ้าน ควรอาบน้ำ สระผม และเปลี่ยน
ื่
ชุดเสื้อผ้าใหม่ทันที

1.5 ดูแลสุขภาพบุตรหลาน จัดเตรียมอาหารปรุงสุก ใหม่ ส่งเสริมฝึกฝนให้กินอาหารร้อน สะอาด อาหารครบ

5 หมู่ และผัก ผลไม้ 5 สี ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที ทุกวันและนอนหลับอย่างเพียงพอ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน

1.6 หลีกเลี่ยงการพาบุตรหลานไปในสถานที่เสี่ยงการติดโรคโควิด 19 สถานที่แออดที่มีการรวมตัวกัน
ของคนจำนวนมาก หากจำเป็นต้องใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ 7 ขั้นตอนหรือใช้เจลแอลกอฮอล์
1.7 การเตรียมความพร้อมก่อนมาโรงเรียนให้บุตรหลานโดยการสำรวจการจัดตารางเรียน หนังสือเรียน


แบบฝึกหัด การเตรียมอปกรณ์การเรียน การเตรียมอปกรณ์ของใช้ส่วนตัวมาโรงเรียน รวมทั้งตรวจสอบเมื่อกลับถึงบ้าน

ว่าเก็บรักษากลับมาได้ครบถ้วนหรือไม่
1.8 การจัดการเรียนการสอนทางไกลที่บ้าน ผู้ปกครองควรให้ความร่วมมือในการดูแลจัดการเรียนการสอนแก่

นักเรียน เช่น การส่งการบ้าน การทำชิ้นงาน สิ่งประดิษฐ์ เป็นต้น

14


2. มาตรการและแนวทางในการดูแลด้านอนามัยและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
2.1 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ (ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี)

ี้
1) จัดโต๊ะ เก้าอ หรือที่นั่ง ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร และจัดทำสัญลักษณ์
แสดงจุดตำแหน่งชัดเจน
2) ห้องเรียนที่มีนักเรียนมากกว่า 25 คน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ) จัดให้มีการสลับกลุ่มนักเรียนในห้องเรียน

เป็น 2 กลุ่ม สลับวันเรียนแต่ละห้องเรียน โดยยึดหลัก Social distancing และเน้นให้นักเรียนสวมหน้ากากผ้าหรือ

หน้ากากอนามัยขณะเรียนตลอดเวลา
3) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท เช่น เปิดประตู หน้าต่าง และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

ถังขยะในห้องเรียนเป็นแบบใช้เท้าเหยียบเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือ

4) จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือสำหรับนักเรียนและครู ใช้ประจำทุกห้องเรียนอย่างเพียงพอ
5) ให้มีการทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ และจุดสัมผัสเสี่ยง เช่น ลูกบิดประตู เครื่องเล่นของใช้ร่วมทุกวัน

อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าก่อนเรียนและพกเที่ยง หรือกรณีมีการย้ายห้องเรียน ต้องทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ ก่อนและ

หลังใช้งานทุกครั้ง


2.2 ห้องสมุด

1) จัดโต๊ะ เก้าอี้ หรือที่นั่ง ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร และจัดทำสัญลักษณ์
แสดงจุดตำแหน่งชัดเจน

2) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท เช่น เปิดประตู หน้าต่าง และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ


3) จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือสำหรับครูบรรณารักษ นักเรียน และผู้ใช้บริการ บริเวณทางเข้า
ด้านหน้าและภายในห้องสมุดอย่างเพียงพอ

4) ให้มีการทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ และจุดสัมผัสเสี่ยง เช่น ลูกบิดประตู ชั้นวางหนังสือทุกวัน ๆ ละ

2 ครั้ง (เช้าก่อนให้บริการ พักเที่ยง)
5) การจำกัดจำนวนคนจำกัดเวลาในการเข้าใช้บริการห้องสมุด และให้นักเรียนและผู้ใช้บริการทุกคน สวม

หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะใช้บริการห้องสมุดตลอดเวลา


2.3 ห้องประชุม


1) จัดให้มีการคัดกรองตรวจวัดอณหภูมิร่างกายก่อนเข้าห้องประชุม หากพบผู้มีอาการไข้ ไอ มีน้ำ เจ็บคอ
หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส แจ้งงดร่วมประชุมและแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที
ี้
2) จัด โต๊ะ เก้าอ หรือที่นั่งให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1 - 2 เมตร และจัดทำสัญลักษณ์แสดงจุด
ตำแหน่งชัดเจน

15


3) ผู้เข้าประชุมทุกคนสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยขณะประชุมตลอดเวลา
4) จัดให้มีเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือสำหรับผู้เข้าประชุม บริเวณทางเข้าภายในอาคารห้องประชุม

บริเวณทางเข้าด้านหน้าและด้านในของห้องประชุม อย่างเพียงพอและทั่วถึง

5) งดหรือหลีกเลี่ยงการให้บริการอาหารและเครื่องดื่มภายในห้องประชุม
ี้
6) ให้มีการทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอ อุปกรณ์ และจุดสัมผัสเสี่ยงร่วม เช่น ลูกบิดประตู รีโมท อุปกรณ์สื่อก่อน
และหลังใช้ห้องประชุมทุกครั้ง

7) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท เช่น เปิดประตู หน้าต่าง ก่อนและหลังใช้ห้องประชุม ทุกครั้ง
การใช้เครื่องปรับอากาศ กำหนดเวลาเปิด - ปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศ ทุก 1 ชั่วโมง

และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ


2.4 ลานกีฬาอเนกประสงค์

1) จัดพนที่ทำกิจกรรมและเล่นกีฬา ลดความแออด โดยจัดให้เล่นกีฬาเป็นรอบ และให้มีการเว้นระยะห่าง

ื้
ระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตร
2) จัดให้มีจุดล้างมือสำหรับนักกีฬาและผู้มาใช้บริการ บริเวณทางเข้าอย่างเพียงพอและทั่วถึง

3) ทำความสะอาดอุปกรณ์และเครื่องเล่นแต่ละชนิด ก่อนหรือหลังเล่นทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง

4) จำกัดจำนวนคนจำนวนเวลาในการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมภายในใต้ถุนอาคารหรือลานกีฬา
6) งดเล่นกีฬาประเภทแข่งขันเป็นทีมหรือมีการปะทะกันอย่างรุนแรง เช่น วอลเลย์บอล ฟตบอล ฟตซอล


บาสเกตบอล เป็นต้น


2.5 ห้องส้วม


1) จัดเตรียมอปกรณ์ทำความสะอาดอย่างเพยงพอ ได้แก่ น้ำยาทำความสะอาด ถุงขยะ ถังน้ำ ไม้ถูพน ผ้าเช็ด
ื้

ทำความสะอาด และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เช่น ถุงมือ หน้ากากผ้า
2) การทำความสะอาดห้องน้ำ ห้องส้วม อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ด้วยผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อผสมน้ำ ราดน้ำยาฆ่าเชื้อ

ทิ้งไว้อย่างน้อย 10 นาที เน้นเช็ดบริเวณที่รองนั่งโถส้วม ฝาปิดโถส้วม ที่กดชักโครก สายชำระ ราวจับ ลูกบิดหรือกลอน

ประตู ที่แขวนกระดาษชำระ อางล้างมือ ขันน้ำ ก๊อกน้ำ ที่วางสบู่ ผนัง ซอกประตู ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาว หรือใช้

แอลกอฮอล์ 70% หรือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%

3) หลังทำความสะอาด ให้ซักผ้าเช็ดทำความสะอาดและไม้ถพื้น ด้วยน้ำผสมผงซักฟอกหรือน้ำยาฆ่าเชื้อแล้วซัก

ด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง และนำไปผึ่งแดดให้แห้ง

16


2.6 ห้องพกครู

1) จัดโต๊ะ เก้าอ หรือที่นั่ง ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร และจัดทำสัญลักษณ์
ี้
แสดงจุดตำแหน่งชัดเจน โดยถือปฏิบัติตามหลัก Social distancing อย่างเคร่งครัด

2) ให้ครูสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในสถานศึกษา
3) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดี ให้อากาศถ่ายเท เช่น เปิดประตู หน้าต่าง หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องปรับอากาศ

หากจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ กำหนดเวลาเปิด – ปิดเครื่องปรับอากาศ เปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศ

ทุก 1 ชั่วโมง และทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
4) ให้มีการทำความสะอาดโต๊ะ เก้าอ อปกรณ์ และจุดสัมผัสเสี่ยง เช่น ลูกบิดประตู อปกรณ์ คอมพวเตอร์


ี้

โทรศัพท์ เป็นต้น เป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
5) จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือสำหรับครูและผู้มาติดต่อ บริเวณทางเข้าด้านหน้าประตู และ
ภายในห้องอย่างเพียงพอและทั่วถึง



2.7 สถานที่แปรงฟัน
1) จัดพื้นที่ทำกิจกรรมแปรงฟัน ลดความแออัด โดยจัดให้มีการเหลื่อมเวลาแปรงฟัน และให้มีการเว้นระยะห่าง

ระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 - 2 เมตร

2) ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์การแปรงฟันส่วนบุคคลมาจากบ้าน


2.8 ห้องพยาบาล


1) จัดให้ครูดูแลนักเรียน ในกรณีที่มีนักเรียนป่วยมานอนพกรอผู้ปกครองมารับ
ื้
2) จัดให้มีพนที่หรือห้องแยกอย่างชัดเจน ระหว่างนักเรียนป่วยจากอาการไข้หวัดกับนักเรียนป่วยจากสาเหตุ
อื่นๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค

3) ทำความสะอาดเตียงและอปกรณ์ของใช้ทุกวัน

4) จัดเตรียมเจลแอลกอฮอล์ใช้ทำความสะอาดมือ บริเวณทางเข้าหน้าประตูและภายในห้องพยาบาลอย่าง

เพียงพอ


2.9 โรงอาหาร


การจัดบริการภายในโรงอาหาร การนั่งรับประทานอาหาร รวมถึงอาหาร ภาชนะ อปกรณ์ ตู้กดน้ำดื่มระบบ
ื่
กรองน้ำและผู้สัมผัสอาหาร อาจเป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค โรงเรียนจึงมีการดูแล เพอลดและป้องกันการ
แพร่กระจายเชื้อโรค ดังนี้

17


1) ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวัน กำหนดมาตรการการปฏิบัติให้สถานที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ ดังนี้
(1) จัดให้มีอ่างล้างมือ พร้อมสบู่ สำหรับนักเรียน บริเวณก่อนทางเข้าโรงอาหาร

(2) ทุกคนที่จะเข้ามาในโรงอาหาร ต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย

ื้
(3) จัดให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร ในพนที่ต่าง ๆ เช่น ที่นั่งกินอาหาร จุดรับ
อาหาร จุดซื้ออาหาร จุดรอกดน้ำดื่ม จุดปฏิบัติงานร่วมกันของผู้สัมผัสอาหาร

(4) จัดเหลื่อมช่วงเวลารับประทานอาหาร เพื่อลดความแออัดพื้นที่ภายในโรงอาหาร

(5) แม่ครัวและผู้ช่วยแม่ครัวทำความสะอาดสถานที่ปรุง ประกอบอาหาร พื้นที่ตั้งตู้กดน้ำดื่ม และพื้นที่บริเวณท ี่
นั่งกินอาหารให้สะอาด ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดหรือผงซักฟอก

(6) ทำความสะอาดโต๊ะและที่นั่งให้สะอาด สำหรับนั่งกินอาหาร ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดหลังจากใช้

งานทุกครั้ง
(7) ทำความสะอาดภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้ให้สะอาด ด้วยน้ำยาล้างจาน และให้มี การฆ่าเชื้อด้วยการแช่

ในน้ำร้อน 80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 วินาที แล้วล้างน้ำให้สะอาด และอบหรือผึ่งให้แห้ง ก่อนนำไปใช้ใส่อาหาร

(8) ทำความสะอาดตู้กดน้ำดื่ม ภายในตู้ถังน้ำเย็น อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง และเช็ดภายนอกตู้และก๊อกน้ำดื่ม
ให้สะอาดทุกวัน ทำความสะอาดเครื่องกรองน้ำด้วยการล้างย้อน (Backwash) ทุกสัปดาห์ และเปลี่ยนไส้กรองตาม



ระยะเวลากำหนดของผลิตภัณฑ์ และตรวจเช็คความชำรุดเสียหายของระบบไฟฟาที่ใช้ สายดิน ตรวจเช็คไฟฟารั่วตาม

จุดต่าง ๆ โดยเฉพาะบริเวณก๊อกน้ำที่ถือเป็นจุดเสี่ยง เพื่อป้องกันไฟฟาดูดขณะใช้งาน
(9) จัดบริการอาหารปรุงสำเร็จสุกใหม่ทุกครั้ง เน้นป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค จัดให้มีถาดหลุมสำหรับ

การกินอาหารอย่างเพียงพอเป็นรายบุคคล และให้นักเรียนเตรียม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ มาจากบ้าน

(10) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการใช้โรงอาหารและการรับประทานอาหาร



2) แม่ครัวและผู้ชวยแม่ครัว ต้องดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล มีการป้องกันตนเองและป้องกันการแพร่กระจาย
เชื้อโรค ดังนี้
(1) หากมีอาการป่วย ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รส ให้หยุดปฏิบัติงาน

และแนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที

(2) ดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล มีการป้องกันตนเอง แต่งกายให้สะอาด สวมใส่ผ้ากันเปื้อนและอปกรณ์ป้องกัน

การปนเปื้อนสู่อาหาร ในขณะปฏิบัติงาน

(3) รักษาความสะอาดของมือ ด้วยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำ ก่อนปฏิบัติงาน และขณะเตรียมประกอบ

อาหาร อาจใช้เจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาดมือร่วมด้วย หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
(4) สวมใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาขณะปฏิบัติงาน

18


(5) มีพฤติกรรมขณะปฏิบัติงานป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค เช่น ใช้อุปกรณ์ในการปรุงประกอบอาหาร เช่น
เขียง มีด การหยิบจับอาหาร แยกระหว่างอาหารสุก อาหารประเภทเนื้อสัตว์สด ผัก และ ผลไม้ และไม่เตรียม

ปรุง ประกอบอาหารบนพื้นโดยตรง

(6) จัดเมนูอาหารโดยเน้นอาหารปรุงสุกด้วยความร้อน โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ปรุงให้สุกด้วยความร้อนไม่น้อยกว่า
70 องศาเซลเซียส หลีกเลี่ยงอาหารบูดเสียง่าย เช่น อาหารประเภทกะทิ

(7) อาหารปรุงสำเร็จ จัดเก็บในภาชนะสะอาด มีการปกปิดอาหารจัดเก็บสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร

(8) ระหว่างการปฏิบัติงาน ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร

3) ครูและนักเรียน ต้องดำเนินการป้องกันตนเอง และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ดังนี้

(1) ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ทุกครั้งกอนเข้าไปในโรงอาหาร ก่อนกินอาหาร

(2) ทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่ในโรงอาหาร
(3) ให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร ในการรอรับอาหาร นั่งกินอาหาร ขณะรอกดน้ำดื่ม


3. มาตรการและแนวทางในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของนักเรียน

3.1 กิจกรรมหน้าเสาธง ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมที่โต๊ะเรียนภายในห้องเรียนของตนเอง โดยครูประจำชั้น
เป็นผู้ควบคุมดูแล ดังนี้

1) จัดพื้นที่เข้าแถวบริเวณโต๊ะเรียน ให้มีการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร

2) ครูและนักเรียนทุกคนต้องสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลาการเข้าแถวเคารพธงชาติ
3) ลดระยะเวลาการจัดกิจกรรมหน้าเสาธง โดยการสื่อสารประชาสัมพนธ์ให้ใช้ช่องทางเสียงตามสาย ผ่าน

ช่องทางออนไลน์ Line Facebook E-mail การแจ้งในห้องเรียน เป็นต้น


3.2 การพักรับประทานอาหารกลางวัน นักเรียนรับประทานอาหารและพกกลางวันเหลื่อมเวลา ดังนี้

ชั้นอนุบาล รับประทานอาหารและพกกลางวันเวลา 10.30 – 11.00 น.


ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 รับประทานอาหารและพกกลางวันเวลา 11.00 – 11.50 น.

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รับประทานอาหารและพกกลางวันเวลา 11.50 – 12.30 น.

ี่
ชั้นมัธยมศึกษาปีท 1-3 รับประทานอาหารและพกกลางวันเวลา 12.00 – 12.30 น.

3.3 การปฏิบัติศาสนกิจ นักเรียนที่ประกอบศาสนกิจเหลื่อมเวลา ดังนี้

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ปฏิบัติศาสนกิจเวลา 11.50 – 12.10 น.
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปฏิบัติศาสนกิจเวลา 14.40 – 15.00 น.

ชั้นมัธยมศึกษาปีท 1-3 ปฏิบัติศาสนกิจเวลา 12.30 – 13.00 น.
ี่

19


3.4 การใช้ห้องน้ำโรงเรียน
1) ใช้ห้องน้ำอย่างถูกสุขลักษณะ ราดน้ำเมื่อใช้เสร็จ

2) หลังการใช้ห้องน้ำทุกครั้ง ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเสมอ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที

3) ให้รอคิวในจุดที่กำหนด เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร ไม่ยืนรวมกลุ่ม

3.5 การแปรงฟัน

การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์การแปรงฟัน

1) นักเรียนทุกคนมีแปรงสีฟันและยาสีฟันเป็นของตนเอง ห้ามใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันร่วมกัน
2) ทำสัญลักษณ์หรือเขียนชื่อบนแปรงสีฟันของแต่ละคน เพื่อให้รู้ว่าเป็นแปรงสีฟันของใครป้องกันการหยิบของ

ผู้อื่นไปใช้

3) ให้นักเรียนทุกคนเตรียมแก้วน้ำส่วนตัวเป็นของตนเอง
4.) ให้นักเรียนทุกคนผ้าเช็ดหน้าส่วนตัว สำหรับใช้เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหน้า

การจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน

ครูเวรประจำวัน ดูแลและจัดให้มีกิจกรรมการแปรงฟนบริเวณพกกลางวัน ให้นักเรียนทุกคนแปรงฟนหลัง



อาหารกลางวันทุกวันอย่างสม่ำเสมอ โดยหลีกเลี่ยงการรวมกลุ่ม เหลื่อมเวลาการแปรงฟน และเว้นระยะห่างในการ

แปรงฟัน โดย
1) ให้นักเรียนเหลื่อมเวลาในการแปรงฟัน
2) ก่อนการแปรงฟนทุกครั้ง ให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเสมอ เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที หลีกเลี่ยงการ

รวมกลุ่ม และเว้นระยะห่างระหว่าง บุคคล อย่างน้อย 1 - 2 เมตร

3) นักเรียนแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ครอบคลุมทุกซทุกด้าน นานอย่างน้อย 2 นาทีเมื่อแปรงฟันเสร็จ
ี่
แล้ว ให้เช็ดปากให้เรียบร้อย

4) นักเรียนล้างแปรงสีฟันและแก้วน้ำให้สะอาด และนำกลับมาเก็บให้เรียบร้อย หลีกเลี่ยงการรวมกลุ่มและเว้น

ระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1-2 เมตร


3.6 การนอนกลางวันของเด็กปฐมวย

ระดับปฐมวัยเลิกเรียนเวลา 12.00 น. โดยผู้ปกครองมารับนักเรียนและให้นักเรียนนอนกลางวันที่บ้าน ทั้งนี้
โรงเรียนกำหนดอัตราส่วนของครูหรือผู้ดูแลเด็กหรือพี่เลี้ยงต่อเด็กเล็ก 1 : 10-12 ในการดูแลเด็กตลอดทั้งวัน

20


บทที่ 4

แนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล

จากการทดลองจัดการเรียนการสอนทางไกล ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019
(COVID-19) ทำให้ทราบว่ามีนักเรียนส่วนหนึ่งไม่มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ผ่านการสอน DLTV การเรียนออนไลน์ หรือ

การใช้อปกรณ์อเล็กทรอนิกส์ แต่เนื่องจากทางโรงเรียนต้องการให้นักเรียนมีเวลาเรียนครบตามโครงสร้างเวลาเรียนของ


โรงเรียน ดังนั้นโรงเรียนสุเหร่าเขียว จึงกำหนดแนวปฏิบัติในการเรียนทางไกล 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูล ความพร้อมด้านต่างๆของผู้เรียนและแบ่งกลุ่มผู้เรียนเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มประคับประคอง

และกลุ่มส่งเสริมพัฒนา

2. นักเรียนกลุ่มประคับประคอง คือนักเรียนที่มีผลการเรียนรายวิชาเฉลี่ยต่ำกว่า 2.5 หรือไม่มีความพร้อมใน
การเรียนด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ให้จัดการเรียนที่บ้านโดยหนังสือเรียนและแบบฝึกหัด (ON Hand) และครูประจำชั้น

ติดตามการเรียนทางช่องทางออนไลน์ หรือการโทรศัพท์สอบถาม เพื่อนับเวลาเรียนตามหลักสูตร

3. นักเรียนกลุ่มส่งเสริมพฒนา คือนักเรียนที่มีผลการเรียนรายวิชาเฉลี่ยสูงกว่า 2.5 และมีความพร้อมในการ


เรียนด้วยระบบอเล็กทรอนิกส์ ให้เรียนโดย DLTV (ON-AIR) เรียนผ่านอนเตอร์เน็ต (ONLINE) หรือเรียนผ่าน

แอปพลิเคชั่น (ON Demand) โดยครูผู้สอนแต่ละรายวิชาเลือกวิธีการ และครูประจำชั้นหรือครูผู้สอนติดตามการเรียน
ทางช่องทางออนไลน์ หรือการโทรศัพท์สอบถาม เพื่อนับเวลาเรียนตามหลักสูตร

4. จัดทำแบบสำรวจการปฏิบัติตนประจำวัน 3 ส่วน ดังนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำรวจด้านการ

มอบหมายให้นักเรียนช่วยเหลืองานบ้านตามวัย กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำรวจด้านการปฏิบัติ
ศาสนกิจประจำวันของนักเรียนทั้ง 2 ศาสนา และกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา สำรวจข้อมูลการออกกำลังกาย การ

รับประทานอาหาร (ครบ 3 มื้อ หรือไม่) และการนอนหลับพักผ่อน
5. ครูผู้สอนจัดทำกำหนดการสอนรายวัน โดยวิเคราะห์หลักสูตร ตัวชี้วัดและเนื้อหาที่มีความซับซ้อนให้จัดการ

เรียนการสอนที่โรงเรียน เนื้อหาที่ไม่มีความซับซ้อนให้นักเรียนเรียนที่บ้าน และมอบหมายใบงาน ใบความรู้ ภาระงาน

ชิ้นงาน หรือแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำ
6. ครูประจำชั้นติดตามการเรียนทางช่องทางออนไลน์ หรือการโทรศัพท์สอบถาม เพอนับเวลาเรียนตาม
ื่
หลักสูตร

7. การตัดสินผลการเรียนรายวิชา ให้ครูผู้สอนวัดและประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลาย การเก็บคะแนนระหว่าง
เรียนหรือคะแนนกลางภาค สามารถพจารณาจากใบงานที่มอบหมายให้นักเรียนไปปฏิบัติ หรือสังเกตพฤติกรรมขณะ


ื่
เรียนออนไลน์ หรือตอบคำถามจากการพดคุย หรือการนำเสนองานในรูปแบบต่างๆ หรือวิธีการอนๆเพอบรรลุตาม
ื่
มาตรฐานหรือตัวชี้วัดของหลักสูตร กรณีมีการระบาดใหม่และไม่สามารถทำการสอบปลายปี/ปลายภาคได้นั้น อาจ
ื่
พจารณาจาก ผลงาน ชิ้นงาน แฟมสะสมผลงาน การสอบปากเปล่าแบบออนไลน์ หรืออนๆตามความเหมาะสมโดย


คำนึงถึงคุณภาพของนักเรียนเป็นสำคัญ

21


การเตรียมความพร้อมของโรงเรียน 7 ขั้นตอน
โรงเรียนสุเหร่าเขียว จัดให้มีการเตรียมความพร้อมตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนใน

สถานการณ์การแพร่ระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ดังนี้

1) จัดระบบสื่อสาร และสื่อสาร ชี้แจง ทำความเข้าใจ ประสานงานกับผู้ปกครองและนักเรียนผ่านทาง
เพจเฟสบุ๊คของโรงเรียน โดยงานประชาสัมพันธ์ และแอปพลิเคชั่นไลน์กลุ่มชั้นเรียน โดยครูประจำชั้น

ื้
2) กรณีหยุดเรียนเป็นเวลานาน โรงเรียนได้ประสานความร่วมมือกับกรรมการสถานศึกษาขั้นพนฐาน
ผู้ปกครองเครือข่าย มัสยิด ฝ่ายปกครอง กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล องค์การบริหาร
ส่วนตำบล ในการขอความร่วมมือในด้านต่างๆ

3) โรงเรียนมอบหมายครูประจำชั้นในการสำรวจความพร้อมการเข้าถึงการเรียนด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์ และความพร้อมด้านเวลาเรียนในแต่ละวัน โดยแบบสำรวจออนไลน์ (googleform)

4) จัดเตรียมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน กลุ่มที่มีความพร้อมปานกลาง ความพร้อมน้อย หรือไม่มี
ความพร้อม และจัดระบบการเยี่ยมบ้าน(แบบแบ่งโซน) เพื่อช่วยเหลือการเรียนรู้

5) กำกับ ติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ สนับสนุน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียน ให้

สามารถจัดการเรียนการสอนทางไกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6) กำหนดแนวทางหรือมาตรการในการป้องกัน ช่วยเหลือด้านความปลอดภัยสำหรับนักเรียน

7) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2

22


















ภาคผนวก

23



หนังสือรับรองผลการประเมินที่ลงนามโดยประธานกรรมการสถานศึกษาฯ

24

25

26

27

28

29

30

31

คณะผู้จัดทำ





ที่ปรึกษา


1. นายสมบัติ เจริญสุข ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสุเหร่าเขียว

2. นายอนุชา เซ็นเยาะ รองประธานกรรมการสถานศกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสุเหร่าเขียว
3. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนสุเหร่าเขียว
4. นายนริต เจริญสุข ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ตำบลละหาร

5. นางลาวรรณ สุปัญโญ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุเหร่าเขียว


คณะทำงาน

1. ว่าที่ร้อยตรี อนิรุทธิ์ อับดุลลากาซิม ผู้อำนวยการโรงเรียนสุเหร่าเขียว

2. นายสุริยา เด็นลีเมาะ รองผู้อำนวยการโรงเรียนสุเหร่าเขียว

3. นางกลอยใจ พัฒนคุณเจริญกิจ หัวหน้างานบริหารงานบุคคล
4. นางน้ำอ้อย เจริญสุข หัวหน้างานบริหารงานวิชาการ

5. นางชลลดา เจริญสุข หัวหน้างานบริหารงานทั่วไป
6. นางบุษบา มีสมสาร หัวหน้างานบริหารงานงบประมาณ

7. นางสาวปริษา คงพูน ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว
8. นางสาวสุวิมล เต๊ะดอเลาะ ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว

9. นางสาวนูรยาณี เจ๊ะแอ ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว




วิเคราะห์รวบรวมข้อมูล และจดทำรปเล่ม
1. นางชยานันท์ ศรีบุษย์ ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว

2. นางสุมิตรา เจริญสุข ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว
3. นางสาวปาริชาติ เจริญสุข ครูโรงเรียนสุเหร่าเขียว

4. นางสาวอาจารีย์ สุโง๊ะ ครูธุรการ


Click to View FlipBook Version