The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

จัดทำโดย สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือการสํารวจความหลากหลายของพรรณไม้

จัดทำโดย สํานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

พรรณไม
้คู่มือการสำรวจความหลากหลาย


สำนักวจิ ยั การอนุรักษป์ ่าไม้และพนั ธุ์พืช

คณะท่ปี รกึ ษา

นายดำรงค์ พเิ ดช อธิบดีกรมอทุ ยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพชื
นายเริงชัย ประยูรเวช รองอธบิ ดีกรมอุทยานแห่งชาติ สตั ว์ป่า และพันธพ์ุ ชื
นายมโนพัศ หวั เมืองแก้ว รองอธิบดกี รมอุทยานแหง่ ชาติ สตั วป์ า่ และพันธุ์พชื
นายธีรภทั ร ประยูรสทิ ธ ิ รองอธิบดีกรมอทุ ยานแห่งชาติ สตั ว์ป่า และพนั ธพ์ุ ชื
นางเตอื นใจ นุชดำรงค ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจยั การอนุรักษ์ปา่ ไม้และพนั ธพุ์ ืช

ผ้ปู ระสานงาน

นางเมธินี ตาฬุมาศสวสั ดิ ์ สำนกั วจิ ยั การอนรุ กั ษป์ า่ ไมแ้ ละพนั ธพ์ุ ชื
นางกนั ตนิ นั ท์ ผวิ สอาด สำนกั วจิ ยั การอนรุ กั ษป์ า่ ไมแ้ ละพนั ธพ์ุ ชื
นางกติ ตมิ า ดว้ งแค สำนกั วจิ ยั การอนรุ กั ษป์ า่ ไมแ้ ละพนั ธพ์ุ ชื
นายบารมี สกลรกั ษ ์ สำนกั วจิ ยั การอนรุ กั ษป์ า่ ไมแ้ ละพนั ธพ์ุ ชื

คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้


หนงั สอื ชดุ คู่มอื การสำรวจความหลากหลายทางชวี ภาพในพนื้ ทป่ี า่ อนุรักษ

ISBN 978-974-286-905-2

พิมพ์ครงั้ ท่ี 1 พฤศจิกายน 2554

จำนวน 1,000 เลม่

เรียบเรยี ง นายวรดลต์ แจ่มจำรูญ

นางสาวนันทวรรณ สุปนั ตี

นางสาวโสมนัสสา แสงฤทธ์ ิ

จัดพมิ พ์ สำนักวจิ ัยการอนรุ กั ษป์ า่ ไมแ้ ละพันธ์ุพืช

กรมอุทยานแหง่ ชาติ สัตวป์ ่า และพนั ธ์ุพืช

เลขท่ี 61 ถ.พหลโยธนิ เขตจตุจักร กรงุ เทพฯ 10900

โทร. 0-2561-0777 ตอ่ 1460

โทรสาร 0-2579-9576

ข้อมูลทางบรรณานุกรม

สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช. 2554. คู่มือการสำรวจความหลากหลาย

ของพรรณไม้. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตวป์ า่ และพันธุ์พืช. กรงุ เทพฯ. 173 หน้า


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
A



คำนำ


กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์ุพืช โดยสำนักวิจัยการอนุรักษ์
ปา่ ไม้และพนั ธุ์พืช ได้ดำเนินการโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพใน
พื้นท่ีป่าอนุรักษ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลของพืช สัตว์ป่า
แมลง และเห็ด ในพ้ืนท่ีป่าอนุรักษ์ และจัดทำเป็นฐานข้อมูลความหลากหลาย
ทางชีวภาพเพ่ือใช้เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการความ
หลากหลายทางชีวภาพ ดังน้ัน สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช จึงได้
จัดทำชุดคู่มือการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพ้ืนที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่ง
ประกอบด้วย คู่มือการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพ 4 ด้าน ได้แก่
พรรณไม้ สตั วป์ า่ แมลง และเห็ด ซึง่ กำหนดแนวทางปฏบิ ตั ิ วิธีการสำรวจ และ
วิธีการเก็บข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชนิดพันธุ์ รวมท้ังความรู ้
พ้ืนฐานท่ัวไปเก่ียวกับทรัพยากรชีวภาพดังกล่าว ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถนำไป
ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยข้อมูลท่ีได ้
จากการสำรวจจะอยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ คู่มือฉบับนี้ยังใช้
ในการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และจำแนกชนิดพันธุ์ของตัวอย่างพืช สัตว์ แมลง
และเห็ดในข้ันพ้ืนฐาน ตลอดจนจัดเก็บและรักษาตัวอย่างให้ถูกต้องตามหลัก
วิชาการ ซึ่งจะช่วยให้นักอนุกรมวิธานสามารถจำแนกตัวอย่างชนิดพันธ์ุได้อย่าง
ถกู ต้องแม่นยำต่อไป


สำนกั วิจัยการอนรุ กั ษ์ปา่ ไมแ้ ละพนั ธ์ุพืช

พฤศจกิ ายน 2554


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ C

สารบัญ
หนา้
1
พฤกษศาสตร์ป่าไม้เบือ้ งตน้ 32
ขั้นตอนและวธิ ีการสำรวจความหลากหลายของพืช 37
การเกบ็ ตวั อยา่ งพรรณไม ้ 64
การบันทึกขอ้ มูล 66
การเก็บรกั ษา 79
การวิเคราะหต์ วั อยา่ งพรรณไม ้ 81
ลกั ษณะประจำวงศพ์ รรณไม้ 81
พืชใบเลยี้ งคู่ 95
พชื ใบเลี้ยงเดีย่ ว 98
บรรณานุกรม
ภาคผนวก 100

D คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

พฤกษศาสตร์ปา่ ไมเ้ บอ้ื งตน้


พฤกษศาสตร์ (Botany) เป็นสาขาวิชาหน่ึงของวิชาชีววิทยา ที่ศึกษา

เก่ียวกับรูปร่าง ส่วนประกอบ และหน้าท่ีของเซลล์ การแบ่งเซลล์ของพืช

และการเจริญเติบโต ตลอดจนความสัมพันธ์ของราก ลำต้น ใบ ดอก ผล
เมล็ด และต้นอ่อน ศึกษาถึงกระบวนการต่าง ๆ ของพืช เช่น การหายใจ

การคายน้ำ การสังเคราะห์ด้วยแสง การลำเลียง เมแทบอลิซึมของพืช

พันธุกรรม ววิ ฒั นาการ รวมไปถึงการจัดหมวดหมูพ่ ืช

ปจั จบุ นั วชิ าดา้ นพฤกษศาสตรไ์ ดร้ บั ความสนใจเปน็ อยา่ งมาก มกี ารศกึ ษา
กนั อยา่ งกว้างขวาง สามารถแยกสาขาออกไดห้ ลายสาขา ได้แก่

1. สัณฐานวิทยาของพืช (Plant Morphology) ศึกษาถึงรูปร่างและ
วงจรชีวติ ของพืช

2. อนุกรมวิธานของพืช (Plant Taxonomy) ศึกษาเก่ียวกับการจัด
จำแนกพชื

3. กายวภิ าคศาสตรข์ องพชื (Plant Anatomy) ศกึ ษาลกั ษณะโครงสรา้ ง
ภายในของพชื

4. เซลลว์ ทิ ยาของพชื (Plant Cytology) ศกึ ษารายละเอยี ดของเซลลพ์ ชื

5. สรรี วทิ ยาของพชื (Plant Physiology) ศกึ ษาถงึ การดำรงชพี กจิ กรรม
และการเปลย่ี นแปลงทางชวี เคมีของพชื

6. นเิ วศวทิ ยาของพชื (Plant Ecology) ศกึ ษาถงึ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งพชื
และสิง่ แวดลอ้ ม

7. พันธุศาสตร์ของพืช (Plant Genetics) การศึกษาถึงการถ่ายทอด
ลกั ษณะของพชื

8. โรคพืช (Plant Pathology) การศึกษาถึงโรคต่าง ๆ ท่ีเกิดกับพืช
และการป้องกนั

พฤกษศาสตร์ป่าไม้ เป็นส่วนหน่ึงของพฤกษศาสตร์ ที่เน้นศึกษาวิจัย
เฉพาะพรรณไม้ป่า เพ่ือนำความรู้ที่ได้มาประยุกติ์ใช้ในการจัดการป่าไม

ใหไ้ ด้รบั ประโยชนอ์ ย่างยงั่ ยืน


คมู่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
1

สัณฐานวิทยาของพืช (
Plant Morphology)


ความสำคัญ

การศึกษาสัณฐานวิทยาหรือโครงสร้างภายนอกของพืชมีความจำเป็น
อย่างย่ิงต่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธานพืช เนื่องจากพืชเป็นกลุ่มของส่ิงมีชีวิต
ที่มีจำนวนมากและมีความหลากหลายสูง การจำแนกพืชตามลำดับอนุกรม
วิธานรวมไปถึงการระบุชื่อพืชที่ถูกต้องน้ัน มีความจำเป็นต้องอาศัยข้อมูล

ทงั้ ในดา้ นถนิ่ ทอ่ี ยู่ ลกั ษณะวสิ ยั และสณั ฐานวทิ ยาตา่ ง ๆ อนั ไดแ้ ก่ ราก ลำตน้
ตา ใบ ดอก และผล ดังนั้นหากผู้ทำการศึกษามีความรู้ด้านสัณฐานวิทยาพืช
และมีข้อมูลพืชท่ีศึกษามากเท่าใด ความถูกต้องในการระบุชื่อพืชก็จะมากข้ึน
ไปตามลำดบั

สณั ฐานวทิ ยาของพืชประกอบดว้ ยส่วนตา่ ง ๆ ได้แก่ ราก ลำตน้ ใบ ดอก
และผล ดงั รายละเอียดตอ่ ไปน
้ี
ราก (Roots)

ราก เป็นส่วนของพืชท่ีไม่มีข้อ (node) ปล้อง (internode) ตา (bud)
และใบ (leaf) มีหน้าที่ในการดูดซึมน้ำและธาตุอาหารภายในดิน และยึดให้
ส่วนอ่ืน ๆ ของพืชท่ีอยู่เหนือดินทรงตัวอยู่ได้ หากพิจารณาถึงต้นกำเนิด
สามารถแบ่งรากออกได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ รากแกว้ (primary root) รากแขนง
(secondary root) และรากพเิ ศษ (adventitious root)

1. รากแกว้ หมายถงึ รากทเ่ี จรญิ และพฒั นามาจากรากแรกเกดิ (radicle)
ของเอ็มบริโอ โดยปกติแล้วในพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) และพืช

ใบเล้ียงคู่ (dicotyledon) รากแกว้ จะสามารถเจรญิ เติบโตไปได้เรื่อย ๆ และ

เป็นรากหลักของพืช

2. รากแขนง หมายถงึ รากทม่ี ตี น้ กำเนดิ มาจากชนั้ เพรไิ ซเคลิ (pericycle)
ของรากแก้ว เจริญแผ่ออกไปตามแนวระดับ พบในพืชเมล็ดเปลือยและ

พืชใบเล้ยี งค ู่




2 คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

3. รากพิเศษ หมายถึง รากท่ีมีต้นกำเนิดมาจากข้อของลำต้นหรือส่วน
ผิดปกติอ่ืน ๆ พบท่ีส่วนต่าง ๆ ของพืช ได้แก่ ลำต้นเหนือดิน ลำต้นใต้ดิน

ตาข้าง สว่ นทผ่ี ดิ ปกติ เชน่ ใบและเนอ้ื เยือ่ แคลลสั สามารถจำแนกรากพเิ ศษ
ได้ดงั น้ี

3.1 รากฝอย (fibrous root) พบในพืชใบเลย้ี งเดี่ยว เน่ืองจากรากท่ี
เจริญมาจากรากแรกเกิดจะไม่พัฒนาเป็นรากแก้ว คือ เมื่อเจริญมาระยะหนึ่ง
แลว้ จะหยุดการเจริญเติบโตไป พชื ใบเลี้ยงเดยี่ ว (monocotyledon) จึงสร้าง
รากพิเศษจำนวนมากท่ีบริเวณลำต้น เพ่ือทำหน้าท่ีดูดน้ำและธาตุอาหาร

รวมทั้งชว่ ยในการทรงตัวของพืช

3.2 รากค้ำจุน (prop root) เป็นรากท่ีเกิดจากส่วนข้อของลำต้น
แล้วหย่ังลงดินเพื่อช่วยค้ำจุนหรือพยุงลำต้น พืชที่มีรากค้ำจุนมักเป็นพืชท
่ี
ขาดรากแก้วหรือมีรากฝอยแต่ไม่แข็งแรงพอที่จะพยุงลำต้นได้ หรือพืชที่ม ี
รากแก้วแต่มีการแตกกิ่งก้านสาขาทำให้มีเรือนยอดขนาดใหญ่ เช่น ไทร

ยางอนิ เดยี โกงกาง เปน็ ตน้

3.3 รากยดึ เกาะ (climbing root) เปน็ รากทเี่ กดิ จากสว่ นขอ้ ของลำตน้
เพ่ือช่วยในการยึดเกาะและชูส่วนของลำต้นให้สูงข้ึนเพ่ือรับแสง เช่น พล ู

พรกิ ไทย กลว้ ยไม้ เป็นตน้

3.4 รากสงั เคราะหด์ ว้ ยแสง (photosynthetic root) เปน็ รากทห่ี อ้ ย
อยู่ในอากาศมีสีเขียวเน่ืองจากมีคลอโรพลาสต์ ซ่ึงประกอบด้วยรงควัตถุ

คลอโรฟิลล์ พบมากทร่ี ากอากาศของกล้วยไม้

3.5 รากหายใจ (pneumatophore) เปน็ รากทแี่ ทงตงั้ ฉากขนึ้ มาจาก
ผิวดิน โครงสร้างภายในของรากประเภทนป้ี ระกอบดว้ ยเซลล์เรยี งตวั หลวม ๆ
ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก จึงมีส่วนช่วยในการหายใจหรือการ

แลกเปลี่ยนก๊าซของพืช พบในพรรณไม้ท่ีขึ้นบริเวณท่ีมีน้ำท่วม ได้แก่ ป่าพรุ
และปา่ ชายเลน เชน่ ลำพู ลำแพน ประสัก

3.6 รากกาฝาก (parasitic root) เป็นรากท่เี กาะไปตามตน้ พชื อาศัย
(host) แลว้ มสี ว่ นทเ่ี ปน็ รากเลก็ ๆ แทงเขา้ ไปในพชื ทอี่ าศยั เรยี กวา่ ฮอสทอเรยี ม
(houstorium) ไดแ้ ก่ กาฝาก ฝอยทอง บัวผดุ


ค่มู ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
3

3.7 รากสะสมอาหาร (storage root) เปน็ รากเปลยี่ นแปลงมาจาก
รากแก้ว รากแขนง หรอื รากฝอยเพอื่ สะสมอาหารจำพวกแป้ง ไขมนั โปรตนี
เชน่ หัวแครอท มันเทศ มนั สำปะหลงั กระชาย

ลำต้น (Stems)

ลำตน้ เปน็ สว่ นของพชื ทเ่ี ปน็ ทเี่ กดิ ของตา ใบ ดอก และผล ลำตน้ ของพชื
ใบเล้ียงเด่ียวจะเห็นส่วนข้อและปล้องชัดเจน ในพืชใบเล้ียงคู่เห็นส่วนข้อและ
ปลอ้ งไดไ้ มช่ ดั เจนแตส่ งั เกตไดจ้ ากตำแหนง่ ของใบ สามารถแบง่ ลำตน้ ออกเปน็
2 กลุ่ม ตามตำแหน่งท่ีอยู่ ได้แก่ ลำต้นเหนือดิน (aerial stem) และลำต้น
ใต้ดิน (underground stem)


1. ลำต้นเหนือดิน จำแนกตามลักษณะวิสัยหรือลักษณะของพืชเมื่อ
เจริญเติบโตเต็มท่ี โดยพิจารณาถึงการแตกก่ิงก้านและทรงรูปอาจแบ่งพืช

ไดเ้ ปน็ กลมุ่ ใหญ่ ๆ 4 กลมุ่ ไดแ้ ก่ ไมต้ น้ (tree) ไมพ้ มุ่ (shrub) ไมเ้ ถา (climber)
และไม้ล้มลกุ (herb)

1.1 ไมต้ น้ หมายถงึ พชื ทม่ี เี นอ้ื ไม้ ลำตน้ ขนาดใหญ่ มลี ำตน้ หลกั ชดั เจน
มกั แตกกงิ่ กา้ นสาขาในระดบั สงู จากพนื้ ดนิ มาก เชน่ นนทรี กลั ปพฤกษ์ จามจรุ ี

1.2 ไม้พุ่ม หมายถึง พืชท่มี ีเนือ้ ไม ้ ลำตน้ มขี นาดเลก็ หรอื ขนาดกลาง
ลำต้นหลักส้ันและมีการแตกก่ิงใกล้ระดับผิวดิน ทำให้มีลักษณะเป็นกอหรือ
เปน็ พุ่ม เชน่ พลิ ังกาสา ราชาวดี ทรงบาดาล

1.3 ไม้เถา หมายถึง พืชที่ไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้ด้วยตัวเอง ต้อง
อาศยั วตั ถหุ รอื พืชอน่ื เป็นหลกั ให้ยึดเกาะ เชน่ การเวก อัญชัน พลู เป็นตน้

1.4 ไมล้ ม้ ลกุ หมายถงึ พชื ทม่ี ลี ำตน้ ออ่ นนมุ่ ลำตน้ จะตายไปเมอ่ื หมด
ฤดูกาลเจรญิ เตบิ โต แบง่ ย่อยได้เปน็

1.4.1 ไมล้ ม้ ลกุ ปเี ดยี ว (annual herb) พชื มวี งจรชวี ติ ทสี่ มบรู ณ์
ภายใน 1 ปี หรือ 1 ฤดกู าล แลว้ ตายไป

1.4.2 ไมล้ ม้ ลกุ สองปี (biennial herb) พชื มอี ายุ 2 ปี ในปแี รกจะ
มีการเจริญเตบิ โตท่ีไมเ่ ก่ียวกับการสบื พนั ธแ์ุ ละออกดอก ติดผลในปที ่สี อง


4 คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


1.4.3 ไมล้ ม้ ลกุ หลายปี (perennial herb) พชื มอี ายหุ ลายปแี ละ
มกั จะออกดอก ติดผลทุกป

นอกจากน้ัน ลำต้นเหนือดินของพืชหลายชนิดยังอาจเปล่ียนแปลง
รูปรา่ ง ไปทำหน้าที่พเิ ศษ ซง่ึ จำแนกได้ดังตอ่ ไปนี

1. ไหล (stolon, runner) คอื ลำตน้ ทที่ อดราบไปตามพนื้ ดนิ หรอื พน้ื นำ้
มปี ลอ้ งยาว ราก ใบ ดอก เกดิ ที่ขอ้ เช่น สตรอเบอร่ี บัวบก ผักตบชวา

2. ลำตน้ ไต่ (climbing stem) เปน็ ลำตน้ ทไี่ ตข่ น้ึ ทส่ี งู โดยอาศยั ลำตน้
พนั เลอ้ื ย (twiner) เชน่ อญั ชนั บอระเพด็ มมี อื เกาะ (tendril) ทบี่ รเิ วณซอกใบ
หรอื ส่วนขอ้ เช่น องนุ่ บวบ ฟักทอง หรือมีรากยึดเกาะ (climbing root) ที่
สว่ นข้อ เช่น พลู พริกไทย

3. ลำตน้ คลา้ ยใบ (cladophyll, cladode, phylloclade) คอื ลำตน้
หรอื กง่ิ ของพชื ทเ่ี ปลยี่ นแปลงรปู รา่ งไปคลา้ ยใบและทำหนา้ ทใี่ นการสงั เคราะห์
ด้วยแสง เช่น กระบองเพชร เสมา ปรกิ

4. ลำต้นที่มีโครงสร้างเปน็ หนาม ไดแ้ ก ่

4.1 thorn หนามท่เี กดิ จากกงิ่ เปลยี่ นแปลงไป ลักษณะแข็งแรง
หักได้ยาก พบในต้นส้ม คดั เคา้

4.2 prickle หนามท่ีเกิดจากเน้ือเยอื่ ผิวร่วมกับเนอ้ื เย่ือบางกลมุ่
ที่อยใู่ ตช้ น้ั เน้ือเย่อื ผิว สามารถหักออกได้ง่าย เช่น หนามกหุ ลาบ

2. ลำต้นใต้ดิน แบง่ ออกได้เป็น

2.1 เหงา้ (rhizome) คือ ลำตน้ ท่ที อดขนานไปกบั ผิวดนิ มปี ล้องส้ัน
เหน็ ไดช้ ัดเจน ส่วนขอ้ มีตาและมีใบเกล็ด (scale leaf) สีนำ้ ตาลปกคลุม เชน่
เหง้าของขงิ ข่า ขมิน้

2.2 หวั แบบมนั ฝรง่ั (tuber) คอื ลำตน้ สะสมอาหาร มรี ปู รา่ งไมแ่ นน่ อน
สว่ นข้อและปลอ้ งไมช่ ดั เจน ส่วนตาบ๋มุ ลงไป ไมม่ ีใบเกลด็ ปกคลมุ

2.3 หวั แบบเผอื ก (corm) คอื ลำตน้ สะสมอาหารลกั ษณะตง้ั ตรง มขี อ้
และปลอ้ งส้ัน ชัดเจน ส่วนขอ้ มีใบเกล็ดปกคลมุ เชน่ แหว้ แกลดิโอลัส


คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 5

2.4 หวั แบบหอม (bulb) คอื ลำตน้ ใตด้ นิ ทม่ี กี ลมุ่ ของใบเกลด็ หมุ้ ปกคลมุ
ลำต้นท่ีแท้จริงซ่ึงมีขนาดเล็กเอาไว้ ใบเกล็ดชั้นในมีลักษณะอวบเนื่องจากมี
การสะสมอาหาร ใบเกล็ดชั้นนอกจะบาง ใบใหม่ที่ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์
ด้วยแสงเจริญมาจากตาข้างและเปล่ียนแปลงไปทำหน้าท่ีในการสะสมอาหาร
เมื่อมีอายมุ ากข้นึ เชน่ กระเทียม หอมแดง

ใบ (Leaves)

ใบ เปน็ อวยั วะทที่ ำหนา้ ทใ่ี นการสงั เคราะหแ์ สง หายใจ และคายนำ้ ของพชื
เกิดทางดา้ นขา้ งของก่งิ และลำตน้ ที่บริเวณข้อ ประกอบดว้ ย แผ่นใบ (lamina
หรอื leaf blade) กา้ นใบ (petiole) และอาจมหี รอื ไมม่ หี ใู บ (stipule)

1. แผน่ ใบ ของพชื สว่ นใหญม่ ลี กั ษณะเปน็ แผน่ แบนและมสี เี ขยี ว เนอื่ งจาก
มีคลอโรพลาสต์ (chloroplast) อยู่เป็นจำนวนมากจึงมีหน้าท่ีหลักในการ
สังเคราะห์แสง บรเิ วณเนอ้ื ใบมีเนือ้ เยอ่ื ลำเลียงอยูท่ วั่ ไป


2. ก้านใบ ของพืชเป็นส่วนที่ยึดแผ่นใบกับลำต้นหรือก่ิง ส่วนใหญ่มี
ลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอก พืชบางชนิดมีก้านใบที่มีลักษณะเปล่ียนไป

เช่น กา้ นใบทีแ่ ผ่ออกเปน็ แผน่ คล้ายปีก (wing petiole) ของมะกรดู กา้ นใบ
พองออกเป็นกระเปาะ (bulbous petiole) ทำหน้าท่ีเป็นทุ่นลอย ของ

ผักตบชวา ก้านใบกลายเป็นใบหรือก้านใบแผ่ออกเป็นแผ่นเพ่ือทำหน้าท่ี
สังเคราะห์แสงแทนแผ่นใบ (phyllode, phyllodium) ของกระถินณรงค ์

ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ โคนก้านใบหรือท้ังหมดของก้านใบแผ่ออกเป็น
กาบหุม้ ข้อ เรียกว่ากาบใบ (leaf sheaht) เชน่ พืชในวงศห์ ญ้า


3. หูใบ เปน็ โครงสร้างท่มี ลี กั ษณะคลา้ ยใบขนาดเล็กตดิ อยูท่ ่ีโคนก้านใบ
มักมีสีเขียวและพบได้บ่อยในพืชใบเลี้ยงคู่ พืชบางชนิดหูใบหลุดร่วงไปเมื่อ
อายมุ าก หูใบของพชื ตา่ งชนดิ อาจมีรปู ร่าง ขนาด และตำแหนง่ แตกต่างกันไป
สามารถแบง่ ใบได้เปน็ 2 ประเภท ไดแ้ ก่ ใบเดีย่ ว (simple leaf) และใบ
ประกอบ (compound leaf)


1. ใบเด่ียว

1.1 ประกอบด้วยแผ่นใบเพยี งแผน่ เดียวบนกา้ นใบ

1.2 ไม่มีรอยตอ่ ระหวา่ งโคนของแผน่ ใบกับก้านใบ


6 คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


2. ใบประกอบ

2.1 ประกอบดว้ ยแผ่นใบมากกว่าหนง่ึ ใบบนกา้ นใบ

2.2 มีรอยต่อระหวา่ งโคนของแผน่ ใบกบั ก้านใบ

แบ่งใบประกอบออกได้ 2 แบบ ตามการติดของใบย่อย ได้แก่

ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaf) และใบประกอบแบบ
นิว้ มือ (palmately compound leaf)

1. ใบประกอบแบบขนนก คือ ใบประกอบท่ีมีใบย่อย (leaflet)
เรียงตัวเปน็ สองแถวจากแกนกลาง (rachis) หรอื แกนกลางใบย่อย (rachilla)
หากส่วนปลายสุดมีใบย่อยติดหนึ่งใบ เรียก ใบประกอบแบบขนนกปลายค่ี
(odd pinnate, imparipinnate) หรอื มีใบย่อยตดิ สองใบ เรยี ก ใบประกอบ
แบบขนนกปลายคู่ (even pinnate, paripinnate) สามารถแบ่งใบประกอบ
แบบขนนกตามจำนวนครงั้ ของการแตกไดเ้ ปน็ ใบประกอบแบบขนนกชนั้ เดยี ว
(unipinnate) ใบประกอบแบบขนนกสองช้ัน (bipinnate) และใบประกอบ
แบบขนนกสามช้นั (tripinnate)

1.1 ใบประกอบแบบขนนกชน้ั เดยี ว คอื ใบประกอบทม่ี แี กนกลาง
อนั เดียว ใบยอ่ ยเรียงตวั อยบู่ นแกนกลางนี

1.2 ใบประกอบแบบขนนกสองช้นั คือ ใบประกอบทแ่ี กนกลาง
หลักแยกเป็นแกนกลางลำดับท่ีสอง (secondary rachis) ใบย่อยเรียงตัวอยู่
บนแกนกลางลำดับท่สี อง

1.3 ใบประกอบแบบขนนกสามช้นั คือ ใบประกอบทีแ่ กนกลาง
ลำดบั ทีส่ องแยกเปน็ แกนกลางลำดบั ท่ีสาม (tertiary rachis) ใบย่อยเรยี งตวั
อยูบ่ นแกนกลางลำดับทสี่ าม

2. ใบประกอบแบบน้ิวมือ คือ ใบประกอบท่ีไม่มีแกนกลางใบ ใบย่อย
แยกออกจากปลายก้านใบทีจ่ ดุ เดยี วกันและเรยี งตวั ในแนวรัศม

พจิ ารณาการเรยี งตัวของใบบนกิ่ง (phyllotaxy) ตามจำนวนใบในแตล่ ะ
ข้อและระนาบของใบบนก่ิง ออกได้เปน็ 3 กลมุ่ ได้แก

1. กลมุ่ ของใบท่ีมีเพยี ง 1 ใบ ในแต่ละข้อ


ค่มู อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
7

1.1 เรยี งสลบั (alternate) ตำแหน่งของใบในแต่ละขา้ งของกง่ิ อยู่ใน
ระนาบเดยี วกนั ทำใหล้ กั ษณะของใบบนกง่ิ ออกสลบั ซา้ ย-ขวา คนละทศิ ทางกนั

1.2 เรยี งเวยี น (spiral) ตำแหนง่ ของใบจะเรียงเวยี นไปรอบก่งิ คลา้ ย
บันไดเวยี น ทำให้ลักษณะของใบบนกงิ่ ไมอ่ ยูใ่ นระนาบเดยี วกัน

2. กลมุ่ ของใบทม่ี ี 2 ใบ ในแต่ละข้อ

2.1 เรยี งตรงขา้ ม (opposite) ใบในแต่ละขอ้ เรียงตรงขา้ มในระนาบ
เดียวกัน

2.2 เรยี งตรงขา้ มสลบั ตง้ั ฉาก (decussate) ใบในแตล่ ะขอ้ เรยี งตรงขา้ ม
ต่างระนาบกนั คล้ายรปู กากบาท

3. กลุ่มของใบท่มี ีมากกวา่ 2 ใบ ในแตล่ ะขอ้

3.1 เรยี งเปน็ วงรอบ (whorl, verticil, verticillate) ใบเรยี งเปน็ วงอยู่
รอบขอ้ เดียวกนั

หลักในการพจิ ารณาชนิดของใบ

1. สงั เกตตาข้าง (axillary bud) ทสี่ ่วนซอกใบ เน่อื งจากจะไมป่ รากฏที่
ซอกใบยอ่ ย

2. สังเกตความแก่อ่อนของใบ หากเป็นใบประกอบใบย่อยแต่ละใบจะมี
ความแกอ่ อ่ น สี และขนาด ที่สม่ำเสมอกัน

ลกั ษณะสัณฐานของแผน่ ใบ (leaf morphology)

ลักษณะสณั ฐานของแผ่นใบ ประกอบดว้ ย รูปร่างแผ่นใบ (leaf shape)
ปลายใบ (leaf apex) โคนใบ (leaf base) ขอบใบ (leaf margin) ผิวใบ
(leaf surface) เน้ือใบ (leaf texture) และการเรยี งเส้นใบ (leaf venation)
ที่แตกต่างกันส่งผลให้พืชมีความหลากหลายของรูปร่าง ซ่ึงเป็นลักษณะท่ีมี
ความสำคัญอย่างยิง่ ตอ่ การจัดหมวดหมู่ของพชื

1. รูปร่างแผ่นใบ สามารถใช้ส่วนท่ีกว้างที่สุดของแผ่นใบ แบ่งรูปร่าง
แผ่นใบออกไดเ้ ปน็ 4 กล่มุ ได้แก่

1.1 กลมุ่ ใบรปู ไข่ คอื กลมุ่ ของแผน่ ใบทมี่ สี ว่ นกวา้ งทสี่ ดุ บรเิ วณโคนใบ
ประกอบด้วย


8 คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

1.1.1 รูปไข่ (ovate) รปู ร่างแผ่นใบคล้ายรูปไข่ มอี ัตราสว่ นของ
ความกวา้ งต่อความยาวประมาณ 1:2 ถงึ 2:3

1.1.2 รูปใบหอก (lanceolate) รูปร่างแผน่ ใบคล้ายรูปใบหอก
อัตราส่วนของความกว้างตอ่ ความยาวประมาณ 1:5 ถงึ 1:3

1.1.3 รปู หวั ใจ (cordate) รปู รา่ งแผน่ ใบคลา้ ยรปู หวั ใจ สว่ นโคน
ใบหยกั เว้าคลา้ ยรปู หัวใจ สว่ นฐานใบทงั้ สองด้านกลมมน

1.1.4 รปู สามเหลย่ี ม (deltoid) รปู รา่ งแผน่ ใบเปน็ รปู สามเหลยี่ ม
สว่ นโคนใบตดั คอ่ นขา้ งตรง ขอบใบสอบขึน้ ไปหาปลายใบ

1.2 กลุ่มใบรูปไข่กลับ คือ กลุ่มของแผ่นใบที่มีส่วนกว้างที่สุดอยู่
บรเิ วณปลายใบ ประกอบดว้ ย

1.2.1 รปู ไข่กลบั (obovate) ลักษณะใบตรงกนั ข้ามกบั ใบรูปไข่

1.2.2 รปู ใบหอกกลบั (oblanceolate) ลกั ษณะใบตรงกนั ขา้ ม
กบั ใบรูปใบหอก

1.2.3 รปู สามเหลย่ี มกลบั (obdeltoid) ลักษณะใบตรงกันข้าม
กบั ใบรูปสามเหล่ยี ม

1.2.4 รปู ไต (reniform) รปู รา่ งแผน่ ใบคลา้ ยรปู ไต โคนใบหยกั เวา้
เลก็ น้อย ขอบใบมักจะโคง้ มนไปบรรจบกนั

1.2.5 รปู ชอ้ น (spathulate) รปู รา่ งแผน่ ใบคลา้ ยรปู ชอ้ น ขอบใบ
คอดแคบเรียวเข้ามาหาเส้นกลางใบไปสูส่ ่วนโคนใบ

1.3 กลุ่มใบรูปรี คือ กลุ่มของแผ่นใบท่ีมีส่วนกว้างท่ีสุดอยู่บริเวณ
กึง่ กลางใบ ประกอบดว้ ย

1.3.1 รูปรี (elliptic) รูปร่างแผ่นใบรูปรี อัตราส่วนของความ
กวา้ งตอ่ ความยาวประมาณ 1:2 ถึง 2:3

1.3.2 รูปกลม (orbicular) รูปร่างแผ่นใบกลม อัตราส่วนของ
ความกวา้ งตอ่ ความยาว 1:1

1.3.3 รูปสี่เหล่ียมข้าวหลามตดั (rhomboid) รูปร่างแผน่ ใบรปู
ข้าวหลามตัด ขอบใบคอ่ นขา้ งตดั ตรงและทำมมุ


คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 9

1.4 กลุ่มใบรูปขอบขนาน คือ กลุ่มของแผ่นใบที่มีส่วนกว้างที่สุดอยู่
บรเิ วณกึง่ กลางใบ ขอบใบขนานกนั

1.4.1 รูปขอบขนาน (oblong) รูปร่างแผ่นใบรูปขอบขนาน
อตั รา-ส่วนของความกวา้ งตอ่ ความยาวประมาณ 1:2 ถงึ 2:3

1.4.2 รูปแถบ (linear) รูปร่างแผ่นใบรูปแถบ อัตราส่วนของ
ความกวา้ งตอ่ ความยาวมากกวา่ 1:12

2. ปลายใบ รูปแบบท่ีพบไดบ้ อ่ ย ได้แก่

2.1 ปลายแหลม (acute) ขอบใบบรรจบกันที่ปลาย ทำมุมน้อย
กวา่ 90˚

2.2 ปลายเรียวแหลม (acuminate) ลักษณะคล้ายปลายแหลม
แตข่ อบใบเวา้ สอบที่ปลายยอด

2.3 ปลายยาวคล้ายหาง (caudate) ปลายใบลักษณะเรียวแหลม
แคบ แต่ไมแ่ ขง็

2.4 ปลายแหลมแข็งหรือปลายมีรยางค์แข็ง (aristate) ปลายใบ
ลักษณะเรียวแหลม แคบ ยาว และคอ่ นข้างแข็ง

2.5 ปลายเปน็ ตง่ิ แหลม (cuspidate) ขอบใบโคง้ เวา้ และสอบเขา้ มา
เป็นมมุ แหลม ส้ัน และแขง็

2.6 ปลายเป็นติ่งหนาม (mucronate) ปลายใบแหลมเป็นต่ิงส้ัน
ต่อเนือ่ งจากเสน้ กลางใบ แข็ง

2.7 ปลายมนหรอื ปา้ น (obtuse) ปลายใบโคง้ มน ทำมมุ มากกวา่ 90˚

2.8 ปลายเวา้ บมุ๋ (retuse) ลกั ษณะคลา้ ยปลายมน แตห่ ยกั เวา้ ตน้ื ๆ
ตรงเสน้ กลางใบ

2.9 ปลายเว้าต้ืน (emarginate) ลักษณะคล้ายปลายเว้าตื้น แต่
หยกั เว้าลกึ

2.10 ปลายตดั (truncate) ปลายใบลักษณะตัดตรง





10 คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

3. โคนใบ รปู แบบทพ่ี บได้บอ่ ย ไดแ้ ก่

3.1 โคนใบรูปลิ่ม (cuneate) ขอบใบบรรจบกันท่ีโคน ทำมุมน้อย
กว่า 90˚

3.2 โคนใบมนหรอื ปา้ น (obtuse) ขอบใบโคง้ มน ทำมมุ มากกวา่ 90˚

3.3 โคนใบรปู หวั ใจ (cordate) โคนใบหยกั เว้าคลา้ ยรปู หวั ใจ

3.4 โคนใบตัด (truncate) โคนใบตดั ตรงหรอื เกอื บตรง

3.5 โคนใบเฉียงหรือเบย้ี ว (oblique) โคนใบแตล่ ะข้างไม่สมมาตร
เนอื่ งจากขอบใบแตล่ ะข้างสอบเข้ามาไมเ่ ท่ากันหรอื ไมต่ รงกนั

3.6 โคนใบแบบกน้ ปดิ (peltate) กา้ นใบตดิ อยดู่ า้ นลา่ งของแผน่ ใบ
บริเวณท่ีเปน็ เนอื้ ใบ ไมต่ ิดทข่ี อบใบ

3.7 โคนใบสอบเรยี ว (attenuate) โคนใบคอ่ ย ๆ สอบเรยี วเขา้ มา
หาก้านใบ

3.8 โคนใบรปู ตงิ่ หู (auriculate) โคนใบคลา้ ยรูปต่งิ ห

3.9 โคนใบรปู เงย่ี งลกู ศร (sagittate) โคนใบคลา้ ยเงยี่ งลกู ศร โคนใบ
แต่ละข้างเป็นพู ปลายค่อนขา้ งแหลม ชี้ลงหรือชีเ้ ขา้ หากา้ นใบ

3.10 โคนใบรูปเงี่ยงใบหอก (hastate) โคนใบคล้ายเงี่ยงลูกศร

โคนใบแต่ละขา้ งเปน็ พู ปลายค่อนขา้ งแหลม ชอี้ อกจากกา้ นใบหรือทำมุมฉาก
กบั ก้านใบ

4. ขอบใบ รูปแบบท่ีพบไดบ้ อ่ ย ได้แก่

4.1 ขอบเรยี บ (entire) ลกั ษณะขอบใบเรยี บ

4.2 ขอบจกั ซฟี่ นั (dentate) ลกั ษณะขอบใบหยกั เปน็ ฟนั ปลายชอ้ี อก

4.3 ขอบจักฟันเล่ือย (serrate) ลักษณะขอบใบหยักเป็นฟัน ปลาย

ช้ขี น้ึ ไปทางปลายยอด

4.4 ขอบหยักมน (crenate) ลักษณะขอบใบหยักเว้าตื้น ๆ ปลาย
โค้งหรือมน

4.5 ขอบเป็นคลื่น (undulate, wavy) ลักษณะขอบใบเว้าเป็นคลื่น
บนและลา่ ง


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
11

4.6 ขอบเว้าเป็นคล่ืน (sinuate) ลักษณะขอบใบหยักเว้าตื้น ๆ ทั้ง
สว่ นท่ีหยกั และสว่ นเวา้ ระหวา่ งหยกั มีลักษณะโค้งเวา้

4.7 ขอบเว้าเป็นพู (lobed) ลักษณะคล้ายขอบเว้าเป็นคล่ืน แต่
รอยเว้าลึกประมาณ 1 ใน 3 หรือครึ่งหนึ่งของระยะระหว่างเส้นกลางใบกับ
ขอบใบ รอยเว้ามกั จะกลมหรอื มน

4.8 ขอบเวา้ ลกึ (cleft) ลกั ษณะคลา้ ยขอบเวา้ พแู ตร่ อยหยกั เวา้ ไมก่ ลม

4.9 ขอบใบเปน็ แฉก (parted) ลกั ษณะขอบใบหยักเวา้ ลึก 1 ใน 2
ถึง 3 ใน 4 ก่อนถึงเส้นกลางใบ

4.10 ขอบหยักลึก (divided) ลักษณะขอบใบหยักเว้าลึกประมาณ

3 ใน 4 หรือเกอื บถงึ เส้นกลางใบ แบ่งออกเป็น

4.10.1 หยักแบบขนนก (pinnatifid) รอยหยักเว้าคล้ายใบ
ประกอบแบบขนนก

4.10.2 หยักแบบนิ้วมือ (palmatifid) รอยหยักเว้าคล้ายใบ
ประกอบแบบน้วิ มือ

4.10.3 หยกั แบบตนี เปด็ (pedate) คลา้ ยหยกั แบบนว้ิ มอื แตพ่ ู
คู่ล่างสุดของทั้งสองข้างของเส้นกลางใบหยักเว้าลึกหรือแบ่งแผ่นใบซ้อนอีก
ชนั้ หน่ึง

4.11 หยักแบบตัดแยก (dissected) ขอบใบหยักเว้าลึกเกือบถึง

เสน้ กลางใบแตล่ ะเอียดกว่า

5. ผิวใบ เป็นลักษณะท่ีมีความสำคัญในการจำแนกพืช โดยเฉพาะใน
ระดบั ชนดิ รปู แบบทพี่ บบอ่ ย ได้แก่

5.1 ผวิ ใบเกลี้ยง (glabrous) ผิวใบไม่มขี นปกคลุม

5.2 ผิวใบเกือบเกล้ียง (glabrate, glabrescent) ผิวใบมีขนอยู่บ้าง
หรือเมื่อเป็นใบอ่อนมีขนแต่พอใบมีอายมุ ากขน้ึ ผิวใบจะคอ่ ย ๆ เกลย้ี ง

5.3 ผวิ ใบมขี นสน้ั นมุ่ (pubescent) ผวิ ใบมขี นสนั้ และนมุ่ กระจายทว่ั ไป

5.4 ผิวใบมีขนสั้นหนานุ่ม (tomentose) ผิวใบมีขนสั้นเรียงตัว

แน่นหนาดูคล้ายเป็นพรมหรอื คล้ายเป็นปุย


12 คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

5.5 ผิวใบมขี นยาวหา่ ง (pilose) ผวิ ใบมขี นนมุ่ ละเอยี ด ยาว

5.6 ผวิ ใบมขี นอยุ (villose, villous) ผิวใบมขี นนมุ่ ละเอียด ยาว
และคดงอหรือหยกิ

5.7 ผวิ ใบมขี นแบบขนแกะ (lanate, woolly) ผิวใบมขี นยาว สาน
พันกนั ไปมาลักษณะฟคู ล้ายปยุ ฝ้าย

5.8 ผวิ ใบมขี นสาก (hispid) ผวิ ใบมขี นแขง็ หยาบ สาก คอ่ นขา้ งสนั้

5.9 ผิวใบมีขนหยาบแข็ง (hirsute) ผิวใบมีขนแข็ง ยาว ปกคลุม
ค่อนขา้ งหนาแน่น

5.10 ผิวใบมีขนแข็งเอน (strigose) ผิวใบมีขนแข็ง วางตัวแนบชิด

ไปกบั พนื้ ผิว

5.11 ผิวใบมีขนต่อม (glandular hair) ผิวใบมีขนต่อมท่ีขับสาร

บางอย่างทีม่ ีความเหนียว

5.12 ผวิ ใบมขี นรูปดาว (stellate) ผิวใบมีขนรปู ดาวปกคลมุ

5.13 ผิวใบมีนวล (glaucous) ผิวใบมีนวลหรอื มีข้ีผึ้งปกคลุม

6. เนอื้ ใบ

6.1 คลา้ ยเย่ือ (membranaceous) เนอ้ื ใบบางหรอื อาจโปร่งแสง

6.2 คล้ายกระดาษ (chartaceous) เน้ือใบคล้ายกระดาษ ทึบแสง
ไมห่ นาหรอื บางมาก

6.3 คลา้ ยแผ่นหนงั (coriaceous) เน้ือใบหนามากหรอื เหนียวคลา้ ย
แผน่ หนงั

6.4 บางและแห้ง (scarious) เนื้อใบบางและแหง้ โปรง่ แสง มักไม่มี
สเี ขยี ว

6.5 อวบนำ้ (succulent) เนือ้ ใบหนา อวบนำ้

7. เสน้ ใบ

7.1 เส้นกลางใบ (midrib) กลุ่มเนื้อเย่ือท่อลำเลียงท่ีต่อมาจากส่วน
ก้านใบ มกั มีขนาดใหญ่ เหน็ ชัดเจน


คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
13

7.2 เส้นแขนงใบ (lateral vein) กลมุ่ เน้อื เยื่อท่อลำเลียงท่แี ยกออก
จากเส้นกลางใบ

7.3 เส้นใบย่อย (veinlet) กลุ่มเน้ือเย่ือท่อลำเลียงท่ีแยกออกจาก
เสน้ แขนงใบ

8. การเรยี งตวั ของเสน้ ใบ

8.1 การเรยี งเสน้ ใบแบบขนาน (parallel venation) คอื การจดั เรยี ง
เส้นใบที่ขนานกัน มีระยะห่างเท่า ๆ กัน เป็นลักษณะของพืชใบเล้ียงเดี่ยว
แบง่ ออกเป็น

8.1.1 การเรียงเส้นใบขนานแบบขนนก (parallel pinnate
venation) การจดั เรยี งเสน้ ใบแบบขนานท่ีมีเสน้ กลางใบชัดเจน เสน้ ใบท่ีแยก
ออกจากเส้นกลางใบไปสู่ขอบใบขนานกัน เช่น ใบกล้วย พุทธรักษา และพืช
ในวงศข์ งิ ข่า

8.1.2 การเรียงเส้นใบขนานแบบน้ิวมือ (parallel palmate
venation) การจัดเรียงเส้นใบแบบขนานที่มีเส้นกลางใบไม่ชัดเจน เส้นใบ
แยกออกจากก้านใบไปสู่ปลายใบหรือขอบใบ เช่น ใบพืชวงศ์หญ้า และพืช
วงศป์ าล์ม

8.2 การเรียงเส้นใบแบบร่างแห (reticulate venation) คือ การ

จัดเรียงเส้นใบย่อยท่ีมีการแยกแขนงและเชื่อมต่อของเส้นใบคล้ายร่างแห

แบ่งออกเป็น

8.2.1 การเรยี งเสน้ ใบยอ่ ยรา่ งแหแบบขนนก (reticulate pinnate
venation) การเรยี งเสน้ ใบยอ่ ยแบบรา่ งแหทม่ี เี สน้ กลางใบชดั เจน เสน้ แขนงใบ
แยกออกจากเส้นกลางใบไปสู่ขอบใบและปลายใบ เส้นใบย่อยแยกแขนง

หรือเชอ่ื มตอ่ กันคล้ายเปน็ รา่ งแห เช่น มะมว่ ง ขนนุ ชบา

8.2.2 การเรยี งเสน้ ใบยอ่ ยรา่ งแหแบบนวิ้ มอื (reticulate palmate
venation) การเรียงเส้นใบย่อยแบบร่างแหที่มีเส้นใบหลักขนาดใกล้เคียงกัน
มากกว่า 1 เส้น แยกออกจากก้านใบ เส้นใบลำดับต่าง ๆ แยกแขนงหรือ

เชื่อมต่อกนั คลา้ ยเปน็ รา่ งแห เชน่ มะละกอ อบเชย ฟักทอง


14 คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


ภาพที่ 1 แสดงลกั ษณะรูปร่างของแผ่นใบแบบต่าง ๆ













ภาพท่ี 2 แสดงลักษณะปลายใบแบบต่าง ๆ

















ภาพท่ี 3 แสดงลักษณะโคนใบแบบต่าง ๆ


คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
15

ภาพท่ี 4 แสดงลกั ษณะขอบใบแบบตา่ ง ๆ


16 คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


ภาพที่ 5 แสดงส่ิงปกคลมุ ใบแบบตา่ ง ๆ


ดอก (Flowers)

ดอก คือ ส่วนของพืชท่ีเปลี่ยนสภาพมาจากกิ่งและใบเพื่อทำหน้าท ่ี

ในการสืบพันธ์ ุ เกิดจากตาดอกซ่ึงอยู่ที่ปลายสุดของก่ิง (terminal bud)
ซอกใบ (axillary bud) ที่ข้อห่างจากซอกใบ (extraaxillary bud) หรือ

ตามลำต้น (cauliflorus)


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 17

ประเภทและสว่ นประกอบของดอก (types and composition of flower)

ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอกเกิดจากใบท่ีมีการเปลี่ยนรูปร่างเพื่อทำ
หนา้ ทเี่ ฉพาะ ปกตแิ ล้วจะมี 4 วง ได้แก่

1. วงกลีบเลย้ี ง (calyx)

2. วงกลบี ดอก (corolla)

3. วงเกสรเพศผู้ (androecium)

4. วงเกสรเพศเมีย (gynoecium)

เมื่อพิจารณาจากการปรากฏของส่วนประกอบต่าง ๆ สามารถจำแนก
ชนดิ ของดอกได้ ดังน้

1. ดอกสมบรู ณ์ (complete flower) คอื ดอกทมี่ อี งคป์ ระกอบครบทง้ั 4 วง

2. ดอกไม่สมบูรณ์ (incomplete flower) คือ ดอกที่มีองค์ประกอบ

ไม่ครบทง้ั 4 วง

3. ดอกสมบูรณ์เพศ (perfect flower) คือ ดอกที่มีวงเกสรเพศผู้และ
วงเกสรเพศเมยี

4. ดอกไม่สมบูรณ์เพศ (imperfect flower) คอื ดอกทม่ี วี งเกสรเพศผู้
หรอื วงเกสรเพศเมียอย่างใดอย่างหนง่ึ

4.1 ดอกเพศผู้ (staminate flower) คอื ดอกทม่ี เี ฉพาะวงเกสรเพศผู้

4.2 ดอกเพศเมยี (pistilate flower) คอื ดอกทม่ี เี ฉพาะวงเกสรเพศเมยี

หากพืชชนิดใดมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน เรียกว่า
ดอกแยกเพศร่วมต้น (monoecious plant) หากอยู่แยกคนละต้น เรียกว่า
ดอกแยกเพศต่างต้น (dioecious plant) หากมีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและ

ไม่สมบูรณ์เพศอยู่บนต้นเดียวกัน เรียกว่า ดอกสมบูรณ์เพศและดอกแยก

เพศร่วมต้น (polygamous plant)

ทงั้ กา้ นดอกและกา้ นชอ่ ดอก เรยี กวา่ peduncle กา้ นดอกยอ่ ยในชอ่ ดอก
เรยี กว่า pedicel ดอกท่ีมีกา้ นดอกหรอื กา้ นดอกยอ่ ย เรยี กว่า pedunculate
flower ดอกย่อยทีม่ ีก้านดอกเรียก pedicellate flower ดอกท่ีไมม่ ีก้านดอก
และกา้ นดอกยอ่ ย เรียกว่า sessile flower


18 คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

ดอกมสี มมาตร 2 แบบ คือ สมมาตรตามแนวรศั มี (radial symmetry)
คือ มีแนวสมมาตรมากกว่า 1 แนว ท่ีสามารถแบ่งดอกออกได้เป็นสองซีกที่
เหมือนกนั และสมมาตรดา้ นข้าง (bilateral symmetry) คือ มีแนวสมมาตร
เพยี งแนวเดยี ว ทสี่ ามารถแบง่ ดอกออกไดเ้ ปน็ สองซกี ทเี่ หมอื นกนั

วงกลีบรวม ใช้เรียกดอกไม้ท่ีวงกลีบเลี้ยงและวงกลีบดอกมีลักษณะ
คล้ายกันมาก แต่ละกลีบเรียกว่า กลีบรวม (tepal) หากวงกลีบรวมเชื่อม

ติดกัน จะเรียกส่วนท่ีติดกันว่า หลอดกลีบรวม (perianth tube) และเรียก
ส่วนท่แี ยกออกเปน็ กลีบว่า แฉกกลบี รวม (perianth lobe)


วงกลีบเล้ียง ประกอบด้วยกลีบเล้ียง (sepal) เรียงตัวเป็นวง ดอกท่ีมี
กลีบเลี้ยง เรียกว่า sepalous flower และดอกที่ไม่มีกลีบเล้ียง เรียกว่า
asepalous flower ดอกที่มีกลีบเลี้ยงแยกจากกัน เรียกว่า polysepalous
flower หากกลีบเลีย้ งเชอื่ มกนั เรียกวา่ gamosepalous flower เรยี กสว่ น
ทเ่ี ชอื่ มตดิ กนั วา่ หลอดกลบี เลย้ี ง (calyx tube) และเรยี กสว่ นทแ่ี ยกจากกนั วา่
แฉกกลีบเล้ียง (calyx lobe)


วงกลีบดอก ประกอบด้วยกลีบดอก (petal) เรียงตัวเป็นวง ดอกท่ีมี

วงกลีบดอก เรียกว่า petalous flower และดอกที่ไม่มีกลีบดอก เรียกว่า
apetalous flower ดอกที่มีกลีบดอกแยกจากกัน เรียกว่า polypetalous
flower หากกลบี ดอกเช่ือมกัน เรยี กว่า gamopetalous flower เรียกสว่ น

ท่ีเชื่อมติดกันว่า หลอดกลีบดอก (corolla tube) และเรียกส่วนท่ีแยกจาก

กนั วา่ แฉกกลบี ดอก (corolla lobe)

ดอกที่มีกลีบดอกแยกจากกัน มีรูปร่างและการจัดเรียงตัวพิเศษ 3 แบบ
ได้แก

1. ดอกรปู ดอกถวั่ (papilionaceous form) เปน็ ดอกทม่ี สี มมาตรดา้ นขา้ ง
มีกลีบดอก 5 กลีบ ซ่ึงแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลีบกลาง (standard)
กลีบค่ขู ้าง (wing) และกลบี คลู่ ่าง (keel)

2. ดอกรูปดอกหางนกยูง (caesalpinaceous form) เป็นดอกท่ีมี
สมมาตรด้านข้าง มีกลีบดอก 5 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลีบดอก


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 19

4 กลีบ มีลักษณะคล้ายคลึงกันและเรียงตัวในวงเดียวกัน และอีก 1 กลีบ

มีขนาดและรูปรา่ งแตกต่างไป เรียงตวั อยู่วงในสุด

3. ดอกรปู กากบาท (cruciform) เปน็ ดอกทมี่ กี ลบี ดอก 4 กลบี แยกจากกนั
เรยี งตวั เปน็ รปู กากบาท พบในพชื วงศผ์ กั กาด Brassicaceae (Cruciferae) เชน่
ดอกของผักกวางตุ้ง ผกั คะนา้

4. ดอกรูปดอกกล้วยไม้ (orchidaceous form) เป็นดอกท่ีมีสมมาตร
ดา้ นขา้ ง มีกลีบเลยี้ ง 3 กลบี และมีกลบี ดอก 3 กลบี โดยกลีบดอก 2 กลีบ

มลี กั ษณะเหมอื นกนั สว่ นกลบี ดอกอกี 1 กลบี เรยี ก กลบี ปาก (lip, labellum)
มีลกั ษณะ รูปร่าง และสีที่แตกตา่ งจากกลีบอื่น ๆ

ดอกท่ีมีกลีบดอกเชื่อมติดกัน มีรูปร่างท่ีแตกต่างไปตามลักษณะของการ
เชอ่ื มตดิ กนั ของหลอดกลบี ดอกและแฉกกลบี ดอก แบง่ ออกเปน็ 5 รปู แบบ ไดแ้ ก่

1. รูปกงล้อ (rotate, wheel-shaped) หลอดกลีบดอกสั้นมาก แฉก
กลีบดอกแผ่กางต้ังฉากกับหลอดกลีบดอก หรือหลอดกลีบดอกเช่ือมติดกัน
แลว้ แผอ่ อกไมเ่ ป็นหลอดชดั เจน แฉกกลบี ดอกแผอ่ อกในระนาบเดยี วกัน เชน่
ดอกมะเขือ มะแว้ง

2. รูปดอกเข็ม (salverform) หลอดกลีบดอกเป็นหลอดแคบยาวแฉก
กลบี ดอกกางเกอื บตั้งฉากกบั หลอดกลีบดอก เช่น ดอกเขม็ ปีบฝร่ัง

3. รูปหลอด (tubular form) หลอดกลีบดอกแคบหรือยาวคล้ายรูป
ดอกเข็ม แฉกกลีบดอกส้ันและไม่กางตั้งฉากกับหลอดกลีบดอก เช่น

ดอกประทดั ฝรงั่

4. รปู ระฆงั (campanulate, bell-shaped) หลอดกลบี ดอกคอ่ นขา้ งกวา้ ง
โดยมีความยาวและความกว้างของหลอดใกล้เคียงกัน ส่วนปลายกลีบหลอด
ค่อย ๆ ผายออกในตอนปลายไปสสู่ ว่ นแฉกกลีบดอก เช่น ดอกรำเพย

5. รูปกรวย (funnelform) ส่วนโคนหลอดกลีบดอกค่อนข้างแคบและ
ค่อย ๆ ผายออกส่ตู อนปลายไปสแู่ ฉกกลบี ดอก เชน่ ดอกผักบงุ้


20 คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


6. รปู โถ (urceolate, urn-shaped) โคนหลอดกลบี ดอกกว้างและคอด
แคบเข้าด้านบนก่อนท่ีจะถึงส่วนแฉกกลีบดอก ซึ่งมีลักษณะเป็นกลีบสั้น ๆ
เชน่ ดอกสม้ แปะ

7. รูปลิ้น (liguliform) หลอดกลีบดอกส้ันมาก ส่วนปลายแผ่ออกเป็น
แผ่นแบนคล้ายรูปล้ิน เช่น กลีบดอกของดอกย่อยท่ีอยู่วงรอบนอกของ

ช่อกระจุกแน่น ซ่ึงพบในพรรณไม้วงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) เช่น

ดอกทานตะวนั บานช่นื

8. รูปปากเปิด (bilabiate form) ส่วนแฉกกลีบดอกแยกออกเป็นแฉก
กลีบบน (upper lip) และแฉกกลีบล่าง (lower lip) ท่ีมีขนาดและรูปร่าง

ต่างกัน เช่น ดอกกะเพรา โหระพา

การจัดเรียงตัวของกลีบเล้ียง กลีบดอก หรือกลีบรวมในดอกตูม
(aestivation) มลี กั ษณะที่แตกต่างกัน ดงั น้ี

1. เรียงจรดกนั (valvate)

2. เรยี งซอ้ นเหล่ือม (imbricate)

3. ควนิ คันเชยี ล (quincuncial)

4. เรยี งบดิ เวียน (convolute)

5. เรยี งกน้ หอย (cochleate)


วงเกสรเพศผู้ ประกอบด้วยเกสรเพศผู้ (stamen) ต้ังแต่หนึ่งถึงจำนวน
มาก แต่ละอันมสี ว่ นสำคญั 3 ส่วน ไดแ้ ก่ กา้ นชอู บั เรณู (filament) อับเรณู
(anther) และละอองเรณู (pollen)

เมื่อพิจารณาการติดของก้านชูอับเรณูที่ฐานของอับเรณู จะแบ่งออก
ได้เป็น 3 รูปแบบ คือ ติดท่ีฐาน (basifixed) ติดบริเวณด้านหลัง
(dorsifixed) และติดด้านหลังที่ก่ึงกลางของอับเรณู เรียกการติดไหวได้
(versatile) พืชบางชนิดอับเรณูฝ่อไม่สามารถสร้างเรณูได้หรือมีการลดรูป

ลงเปน็ เกลด็ หรือเปน็ ตอ่ ม เรียก เกสรเพศผ้เู ป็นหมัน (staminode)

เกสรเพศผู้แต่ละอันอาจแยกกันเป็นอิสระ หากเกสรเพศผู้เช่ือมกัน

เป็นกลุ่มเดียว เรียกว่า monadelphous เชื่อมเป็นสองกลุ่ม เรียกว่า

คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 21

diadelphous เชื่อมติดกันหลายกลุ่ม เรียกว่า polyadelphous หากวง-
เกสรเพศผู้ 4 อัน ประกอบด้วยคู่ส้ัน 1 คู่ และคู่ยาว 1 คู่ เรียกว่า
didynamous หากมีเกสรเพศผู้ 6 อัน ประกอบด้วยคู่ส้ัน 1 คู่ คู่ยาว 2 คู่
เรียกว่า tetradynamous


วงเกสรเพศเมีย ประกอบด้วยเกสรเพศเมีย (pistil) ตั้งแต่หนึ่งถึง
จำนวนมาก มีสว่ นสำคญั 3 สว่ น ไดแ้ ก่ รงั ไข่ (ovary) กา้ นยอดเกสรเพศเมยี
(style) และยอดเกสรเพศเมยี (stigma)

เกสรเพศเมยี เกดิ จากโครงสรา้ งพเิ ศษ เรียกวา่ คารเ์ พล (carpel) ซง่ึ เปน็
ใบท่ีเปลี่ยนแปลงไปเพ่ือทำหน้าที่สร้างและห่อหุ้มออวุลไว้ภายใน เกสรเพศ
เมียแต่ละอันอาจเกิดจากคาร์เพลเดียว เรียกว่า เกสรเพศเมียเดี่ยว (simple
pistil) เมื่อตัดตามขวางจะพบว่ารังไข่มี 1 ช่อง (locule) และมีออวุล

เกาะติดที่ผนังรังไข่เพียงแนวเดียว หากเกสรเพศเมียเกิดจากหลายคาร์เพล
เรียกว่า เกสรเพศเมียประกอบ (compound pistil) เม่ือตัดตามขวางจะ

พบว่ารังไข่มีเพียง 1 ช่อง แต่มีออวุลเกาะติดที่ผนังรังไข่หลายแนว หรือรังไข่

มมี ากกว่าหนง่ึ ชอ่ ง และออวุลติดอย่รู อบแกน

ตำแหน่งของรังไข่ (position of ovary) มีความสำคัญในการจำแนก

พืชในระดับวงศ์ (family) เม่ือพิจารณาตำแหน่งของรังไข่เทียบกับวงอื่น ๆ
ของดอก สามารถแบ่งได้เปน็ 3 แบบ ดังน
ี้
1. รงั ไขเ่ หนอื วงกลบี (superior ovary) รงั ไขต่ ดิ บนฐานดอก (receptacle)
ในระดบั ที่สูงกว่าวงอืน่ ๆ ของดอก

2. รังไข่ใต้วงกลีบ (inferior ovary) รังไข่ติดบนฐานดอกในระดับท่ี

ต่ำกว่าวงอื่น ๆ ของดอก

3. รังไข่ก่ึงใต้วงกลีบ (half-inferior ovary, subinferior ovary)
รังไข่ท่ีมีตำแหน่งการติดบนฐานดอก ท่ีทำให้เพียงบางส่วนของรังไข่อยู่ต่ำกว่า
วงอืน่ ๆ


22 ค่มู อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

การเรยี งพลาเซนตา (placentations)

พลาเซนตา คือ บริเวณที่ขอบของคาร์เพลมาแตะชนกันหรือคือ

ตำแหน่งที่ออวุลติดกับผนังรังไข่ ซึ่งเม่ือพิจารณาจากลักษณะและตำแหน่ง
ของพลาเซนตาภายในช่องรงั ไขแ่ ลว้ สามารถแบง่ ออกไดเ้ ป็น 7 แบบ ดังน
้ี
1. พลาเซนตาแนวเดียว (marginal placentation) พบในดอกที่

มีเกสรเพศเมียเด่ียว รังไข่มี 1 ช่อง และมีออวุลติดอยู่เพียงแนวเดียวท่ีผนัง
รงั ไข่ เช่น ถวั่ ชนิดต่าง ๆ หางนกยงู กระถิน

2. พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ (parietal placentation) พบใน

ดอกที่มีเกสรเพศเมียประกอบ รังไข่มี 1 ช่อง ออวุลติดที่ผนังรังไข่ตามแนวที่
เชอื่ มชนกนั ของคารเ์ พล โดยแนวพลาเซนตาจะมจี ำนวนเทา่ กบั จำนวนคารเ์ พล
ทมี่ าเชอ่ื ม

3. พลาเซนตาทั่วผนัง (laminar placentation) พบในเกสรเพศเมีย
ประกอบ รังไข่มีหลายช่อง ออวุลติดอยู่ท่ัวไปท่ีผนังรังไข่ด้านในของแต่ละ

ชอ่ ง

4. พลาเซนตารอบแกนร่วม (axile placentation) พบในเกสร

เพศเมียประกอบ รังไข่มหี ลายชอ่ ง ออวุลตดิ อยู่ทีส่ ่วนแกนกลาง

5. พลาเซนตารอบแกน (central placentation, free central
placentation) พบในเกสรเพศเมียประกอบ รังไข่มีเพียงช่องเดียวเนื่องจาก
สว่ นผนงั กั้นลดรปู หายไป ออวุลติดที่สว่ นแกนกลาง

6. พลาเซนตาที่ฐาน (basal placentation) รังไข่มีช่องเดียว

ออวลุ ตดิ ท่ฐี านของรงั ไข่

7. พลาเซนตาที่ยอด (apical placentation) รังไข่มีช่องเดียว

ออวุลติดท่สี ว่ นยอดภายในรงั ไข

ช่อดอก (inflorescences) คือ กลุ่มของดอกท่ีเกิดอยู่บนก้านช่อดอก
เดียวกัน เม่ือพิจารณาการเจริญของดอกสามารถแบ่งช่อดอกออกได้เป็น

2 กลมุ่ ไดแ้ ก่


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
23

1. ช่อดอกแบบช่อกระจุก (cymose, determinate inflorescence)

คือ ช่อดอกท่ีดอกย่อยตรงกลางช่อดอกบานก่อนดอกด้านข้าง แบ่งออกเป็น
2 แบบ คือ

1.1 ช่อดอกแบบช่อกระจุกด้านเดียว (monochasium) มีการแยก
แขนงของชอ่ ดอกออกไปทางดา้ นขา้ งเพยี งดา้ นเดยี ว ทพี่ บทว่ั ไปคอื ชอ่ กระจกุ
ด้านเดียวเดี่ยว (simple monochasium) ซ่ึงทั้งช่อดอกจะมีเพียง 2 ดอก
ยอ่ ย เท่าน้ัน

1.2 ช่อดอกแบบช่อกระจุกสองด้าน (dichasium) มีการแยกแขนง
ของช่อดอกออกไปทั้งสองข้างของดอกย่อยที่อยู่กลางช่อในระดับเดียวกัน
ทำให้ชอ่ ดอกมีสมมาตรสองข้างเทา่ กนั แบง่ ออกเป็น 2 แบบ คือ

1.2.1 ชอ่ กระจกุ สองดา้ นเดยี่ ว (simple dichasium หรอื simple
cyme) ช่อดอกมดี อกย่อยทัง้ หมด 3 ดอก เกดิ บนกา้ นดอกทบี่ ริเวณเดียวกนั
โดยมีดอกย่อยสองดอกเกิดที่ด้านข้างของดอกย่อยที่ปลายช่อดอก เช่น ดอก
มะล

1.2.2 ช่อกระจุกสองด้านประกอบ (compound dichasium,
compound cyme, polydichasium) ช่อดอกแบบช่อกระจุกสองด้านท่ี
ตำแหน่งดอกทางด้านข้างจะเป็นช่อแบบช่อกระจุกสองด้านเด่ียวหรือช่อ
กระจุกด้านเดียว และแทนที่ด้วยช่อกระจุกสองด้านเดี่ยวหรือช่อกระจุกด้าน
เดยี วไปหลาย ๆ ครงั้ เช่น ดอกเข็ม

2. ชอ่ ดอกแบบชอ่ กระจะ (racemose, indeter-minate inflorescence)
ช่อดอกที่ดอกย่อยรอบนอกของช่อบานก่อนดอกย่อยท่ีอยู่กลางช่อดอก เมื่อ
พิจารณาตามลักษณะของแกนกลางช่อดอก (rachis) และการปรากฎหรือ

ไมป่ รากฎของกา้ นดอกยอ่ ย สามารถแบ่งออกไดเ้ ปน็

2.1 ช่อกระจะ (raceme) แกนกลางช่อดอกยาว ก้านดอกย่อยเกิด
บนแกนช่อดอกเปน็ ระยะ เช่น หางนกยูงไทย

2.2 ชอ่ เชงิ หลน่ั (corymb) แกนกลางชอ่ ดอกยาวไมม่ ากนกั ดอกทอ่ี ยู่
วงรอบนอกมีก้านดอกย่อยยาวกว่าดอกย่อยด้านใน ทำให้ระดับของดอกย่อย

24 คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

เกือบเสมอกันทุกดอก เชน่ ช่อดอกขเี้ หลก็ ไทย

2.3 ช่อซรี่ ่ม (umbel) แกนกลางชอ่ ดอกสัน้ ดอกย่อยมกี า้ นดอกยอ่ ย
ยาวใกล้เคียงกัน เจริญมาจากแกนกลางช่อดอกบริเวณใกล้เคียงกันหรือเจริญ
มาจากจุดเดียวกัน พบในพืชวงศ์ผักชี (Apiaceae) วงศ์หอม (Alliaceae)
และวงศพ์ ลับพลงึ (Amaryllidaceae) เชน่ ดอกกุยช่าย ดอกผกั ช ี

2.4 ชอ่ เชงิ ลด (spike) ชอ่ ดอกมีแกนกลางชอ่ ดอกยาว ดอกย่อยไมม่ ี
กา้ นดอกหรอื มีแตส่ ้นั มาก เช่น กระถินณรงค์ ผักกระสงั ผกากรอง

2.5 ชอ่ กระจกุ แนน่ (capitulum, head) หมายถงึ ชอ่ ดอกสองแบบ ไดแ้ ก่

2.5.1 ชอ่ ดอกมแี กนกลางชอ่ ดอกอวบหนา รปู รา่ งกลมหรอื นนู สงู
ขึ้นมา ดอกย่อยเรียงอัดกันแน่น ทำให้ช่อดอกมีลักษณะเป็นกระจุกกลมหรือ
คอ่ นข้างกลม เช่น บานไม่ร้โู รย กระถิน

2.5.2 ชอ่ ดอกทมี่ แี กนกลางชอ่ ดอกขยายกวา้ งออกคลา้ ยฐานดอก
เรียกว่า common receptacle มีดอกย่อยซึ่งไม่มีก้านดอก เรียงตัวอัดกัน
แน่น ดอกย่อยท่ีเรียงตัวอยู่รอบนอกสุด เรียกว่า ดอกวงนอก (ray flower)
และดอกย่อยที่เรียงตัวอยู่ด้านใน เรียกว่า ดอกวงใน (disc flower) พบใน
ดอกของพืชวงศท์ านตะวนั (Asteraceae) เชน่ ดาวเรอื ง ดาวกระจาย

2.6 ช่อเชิงลดมีกาบ (spadix) ช่อดอกมีแกนกลางช่อดอกอวบน้ำ
หรือมีเนื้อ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก มักมีขนาดเล็กเรียงตัวอัดกันแน่น มีกาบ
(spathe) ขนาดใหญ่รองรับ พบในพชื วงศ์บุก (Araceae) เชน่ หนา้ วัว เดหล

2.7 ช่อแยกแขนง (panicle) เป็นช่อดอกแบบช่อกระจะท่ีมักจะมี
ขนาดใหญ่และมีการแยกแขนงมาก ช่อดอกย่อยจะแยกแขนงออกจาก

แกนกลางช่อดอก การแยกแขนงของดอกย่อยภายในช่อดอกย่อยอาจมี
ลักษณะเหมอื นช่อกระจะ ชอ่ เชงิ หล่นั หรือช่อเชงิ ลดก็ได้

นอกจากช่อดอกดงั กล่าวแลว้ ยังมีชอ่ ดอกท่ีมลี ักษณะพิเศษ เช่น

1. ช่อดอกแบบช่อรูปถ้วย (cyathium) ซึ่งพบในพืชวงศ์เปล้า
(Euphorbiaceae) สกุล Euphorbia เช่น คริสต์มาส โป๊ยเซียน ช่อดอก
ประกอบด้วยวงใบประดับคล้ายรูปถ้วย มักมีต่อม (gland) เรียงโดยรอบ

คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 25

ภายในประกอบด้วยดอกเพศเมียซ่ึงลดรูปลงเหลือเพียงเกสรเพศเมียหนึ่ง

ดอกอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยดอกเพศผู้ซ่ึงลดรูปลงเหลือเพียงเกสรเพศผ
ู้
อนั เดียวจำนวนมาก

2. ช่อดอกแบบไฮแพนทอเดียม (hypanthodium) พบในพืชวงศ์ไทร
(Moraceae) สกุล Ficus เช่น มะเด่ือ ไทร ช่อดอกมีลักษณะคล้ายรูปถ้วย

มีรูหรือช่องเปิดเล็ก ๆ ด้านบน ผิวด้านในมีดอกย่อยจำนวนมาก อาจมีท้ัง
ดอกเพศผหู้ รอื ดอกเพศเมยี อยใู่ นชอ่ ดอกเดียวกนั หรอื ตา่ งช่อดอกกันก็ได

ผล (Fruits)

ผล คือ รังไข่ทเ่ี ปลี่ยนแปลงไปหลังเกดิ การปฏิสนธิ (fertilization) ของ
เซลล์สืบพันธ์ุเพศผู้และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย ภายในมีเมล็ด (seed) ซึ่ง

พัฒนามาจากออวุล (ovule) ผลท่ีเจริญมาจากส่วนของรังไข่เพียงอย่างเดียว
เรียกว่า ผลแท้ (true fruit) หากมีส่วนอื่น ๆ ของดอก เช่น กลีบเล้ียงหรือ
ฐานดอกเจริญร่วม เรียกว่า ผลเทียม (false fruit, accessory fruit) เช่น
ฟักทอง ฝร่ัง แอปเปิล ผลที่เจริญพัฒนาโดยไม่มีการปฏิสนธิเรียกว่า ผลลม
(parthenocarpic fruit)

ผล มีสว่ นประกอบทีส่ ำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ ผนงั ผล (pericarp) และเมล็ด
ผนงั ผล คอื สว่ นท่ีเจรญิ มาจากผนงั รังไข่ (ovary wall) แบง่ ออกเป็น 3 ช้ัน
คือ ผนังผลช้ันนอก (exocarp) ผนังผลช้ันกลาง (mesocarp) และผนังผล

ชน้ั ใน (endocarp)

1. ผนงั ผลชนั้ นอก มกั จะบางและเหนยี ว ทำหนา้ ทเี่ ปน็ เปลอื กของผล

2. ผนังผลช้ันกลาง มักจะมีลักษณะเป็นเนื้อนุ่ม เช่น เน้ือของพุทรา
มะปราง มะม่วง หรอื มีลกั ษณะเปน็ เสน้ ใย เชน่ มะพรา้ ว

3. ผนังผลช้ันใน เป็นชั้นในสุดท่ีติดกับเมล็ด อาจมีลักษณะเป็นเนื้อนุ่ม
เช่น มะเขือเทศ องุ่น มะละกอ มีลักษณะบาง เหนียว เช่น เงาะ มีลักษณะ
หนาและแขง็ เชน่ กะลามะพรา้ ว หรอื หนา เหนยี ว และแข็ง เช่นมะมว่ ง




26 คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


ชนดิ ของผล (type of fruits)

เม่ือพิจารณาตามกำเนิดของผลจากประเภทของเกสรเพศเมีย
สามารถแบ่งผลออกไดเ้ ป็น 3 กลมุ่ ได้แก่

1. ผลเดยี่ ว (simple fruit) เปน็ ผลทเี่ จรญิ มาจากรงั ไขข่ องดอก 1 ดอก ท่ี
มีเกสรเพศเมียเพียง 1 อัน ซ่ึงอาจเป็นเกสรเพศเมียเด่ียวหรือเกสรเพศเมีย
ประกอบกไ็ ด้ จำนวนเมลด็ มไี ด้ตงั้ แต่ 1 ถึงหลายเมลด็ เชน่ พชื หลายชนดิ ใน
วงศถ์ ่ัว (Fabaceae) องุน่ แตงโม ส้ม

2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) เป็นผลที่เจริญมาจากรังไข่หลายอัน
ของดอก 1 ดอก หรือดอกเดี่ยวท่ีมีเกสรเพศเมียแบบคาร์เพลแยก รังไข ่
แต่ละอันเจริญไปเป็นผลย่อยหน่ึงผลติดบนฐานดอกเดียวกัน ซึ่งอาจเชื่อม

หรอื ไมเ่ ชอ่ื มตดิ เปน็ เนอ้ื เดยี วกนั กไ็ ด้ เชน่ กระดงั งา จำปี นอ้ ยหนา่ สตรอเบอรร์ ่

3. ผลรวม (multiple fruit) เป็นผลท่ีเจริญมาจากรังไข่ของดอกย่อย
จำนวนมากในดอกช่อ เมื่อรังไข่เจริญเป็นผล ผนังรังไข่อาจเช่ือมติดกันหรือ

ผลเบียดกันแน่นจนมีลกั ษณะคลา้ ยผลหน่งึ ผล เช่น หมอ่ น ยอ ขนุน

พจิ ารณาจากลกั ษณะของตวั ผล สามารถแบง่ ผลออกไดเ้ ปน็ 2 กลมุ่ ไดแ้ ก่

1. ผลมีเน้ือ (fleshy fruits) ผนังผลมีลักษณะอวบน้ำหรือมีเน้ือเมื่อ
เจรญิ เต็มท่ี แบ่งออกเป็น

1.1 ผลแบบผนังผลชั้นในแข็ง (drupe) เป็นผลท่ีผนังผลช้ันในมี
ลกั ษณะแขง็ หมุ้ ลอ้ มรอบเมลด็ ไวเ้ มอ่ื ผลเจรญิ เตม็ ท่ี โดยทวั่ ไปจะมเี พยี ง 1 เมลด็
เช่น มะมว่ ง มะพร้าว พทุ รา

1.2 ผลมีเน้ือหน่ึงถึงหลายเมล็ด (berry) เป็นผลท่ีมีเน้ือนุ่มฉ่ำน้ำ มี
เมล็ดหนึ่งถึงหลายเมล็ด ผนังผลชั้นนอกมักมีลักษณะเหนียวหรือบาง เช่น
มะเขอื เทศ องนุ่ มะละกอ

1.3 ผลแบบส้ม (hesperidium) เป็นรูปแบบหน่ึงของผลมีเนื้อ

หนึ่งถึงหลายเมล็ดท่ีเจริญมาจากรังไข่เหนือวงกลีบ มีหลายคาร์เพล ผนังผล
แบ่งเป็น 3 ช้ัน ชัดเจน ผนังผลช้ันนอกเหนียวหรือหนาและมีต่อมน้ำมัน

ผนังผลช้ันกลางอาจหนาหรือบางลักษณะเป็นนวมหรือเป็นเย่ือสีขาว ผนัง


คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
27

ผลช้ันในเป็นเน้ือนุ่มประกอบด้วยถุงเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งมีน้ำอยู่ข้างใน พบ
ในพืชวงศส์ ม้ (Rutaceae) เช่น มะนาว มะกรูด

1.4 ผลแบบแตง (pepo) เป็นรูปแบบหนึ่งของผลมีเนื้อหน่ึงถึง

หลายเมล็ดท่ีเจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังผลมีส่วนของฐานดอกเจริญ

ร่วมอยู่ด้วย เรียกว่าเป็นผลเทียมเปลือกผลมีลักษณะหนา แข็ง หรือเหนียว
ผนังผลช้ันกลางและผนังผลช้ันในคือส่วนเนื้อผล มีหลายเมล็ด พบในพืช

วงศฟ์ ักแฟง (Cucurbitaceae) เช่น ฟักทอง นำ้ เต้า แตงโม

1.5 ผลแบบแอปเปิล (pome) เป็นผลเทียมที่เป็นผลเดี่ยวเจริญมา
จากรังไข่ใต้วงกลีบ ผลมีเนื้อ โดยส่วนท่ีเป็นเน้ือผลคือฐานดอก ส่วนผลที่

แท้จรงิ จะเปน็ แกนอยกู่ ลางผลและมเี มลด็ อยภู่ ายใน เชน่ แอปเปลิ สาล
ี่
2. ผลแห้ง (dry fruits) ผนังผลมีลักษณะแห้งและไม่มีเนื้อนุ่มเม่ือ

เจรญิ เตม็ ที่ แบ่งออกเปน็

2.1 ผลแห้งแก่แล้วแตก (dry dehiscent fruit) คือ ผลที่ผนังผล
แตกหรอื แยกออกเมื่อผลแก่ แบ่งออกเป็น

2.1.1 ฝกั แบบถ่ัว (legume) เป็นผลทเี่ จริญมาจากรังไขเ่ หนือวง
กลีบของเกสรเพศเมียเดี่ยว ผลมีหนึ่งถึงหลายเมล็ด เมื่อผลแก่จะแยกออก
ตามแนวตะเข็บทั้งสองดา้ นเป็น 2 ซกี พบได้ท่วั ไปในพืชวงศ์ถว่ั

2.1.2 ฝักหักข้อ (lomentum) เปน็ ผลทเ่ี จรญิ มาจากรังไข่เหนือ
วงกลบี ของเกสรเพศเมียเดย่ี ว มีการสร้างผนังเทียมกนั้ ตามขวางระหว่างเมลด็
เมื่อผลแก่จะหกั ตามแนวของผนงั ก้ัน เชน่ สะบา้ คนู

2.1.3 ผลแตกแนวเดียวหรือผลแบบฝักรัก (folicle) เป็นผลที่
เจรญิ มาจากรงั ไขเ่ หนือวงกลบี รังไขม่ ี 1 คารเ์ พล (อาจเปน็ เกสรเพศเมียเด่ยี ว
เกสรเพศเมียประกอบท่ีส่วนรังไข่แยก แต่เชื่อมกันที่ก้านเกสรเพศเมียและ/
หรือยอดเกสรเพศเมีย) มักมีหลายเมล็ด ผลแก่แตกออกตามแนวตะเข็บเพียง
ดา้ นเดียว เช่น ชวนชม โมก จำปา รัก พงุ ทลาย

2.1.4 ผลแหง้ แตกออกแบบผกั กาด (silicle, silicule, silique)
เป็นผลทีเ่ จริญมาจากรงั ไขเ่ หนอื วงกลบี ท่ปี ระกอบดว้ ย 2 คารเ์ พล มกี ารเรยี ง

28 คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

พลาเซนตาตามแนวตะเข็บ แต่จะมีผนังเทียม (false septum) ระหว่าง

พลาเซนตาทำใหม้ แี กนกลางและเกดิ ชอ่ งภายในรงั ไข่ 2 ชอ่ ง เมอ่ื ผลแกผ่ นงั ผล
จะแตกออกตามแนวตะเข็บท้ังสองด้านจากส่วนฐานไปที่ปลายผล แกนกลาง
มีลักษณะเปน็ แผน่ จะมีเมลด็ ตดิ อยู่ พบในพชื วงศ์ ผกั กาด

2.1.5 ผลแห้งแตก (capsule) เป็นผลที่เจริญมาจากรังไข่เหนือ
วงกลบี มีเกสรเพศเมียประกอบ มักจะมเี มล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก แบ่งออก
เปน็ กลุ่มตามการแตกของผลได้เปน็

(1) ผลแห้งแตกตามรอยประสาน (septicidal capsule)
ผลแหง้ แตกทผี่ นังผล แตกออกตามแนวผนังก้ัน (septum) เช่น กระเช้าสดี า

(2) ผลแหง้ แตกกลางพู (loculicidal capsule) ผลแหง้ แตกท่ี
ผนังผล แตกออกตามพูหรือตามช่อง (locule) เช่น พืชวงศ์ศรนารายณ์
(Agavaceae) วงศ์ตะแบก (Lythraceae) วงศก์ ะทกรก (Passifloraceae)

(3) ผลแห้งแตกเป็นรู (poricidal capsule) ผลแห้งแตกท่ี
ผนังผล แตกเป็นรูอยู่ทางปลายผล เมล็ดภายในมักมีขนาดเล็กและหลุดออก
ดว้ ยการแกวง่ ของผล เช่น ฝ่ิน

(4) ผลแห้งแตกแบบฝาเปิด (circumscissile capsule,
pyxidium, pyxis) ผลแห้งแตกท่ีผนังผลจะแยกออกเป็นวงตามขวาง

โดยรอบผล ส่วนบนของผลจะหลุดออกไปคล้ายฝาเปิด มีเมล็ดจำนวนมาก
เช่น พชื บางชนดิ ในวงศผ์ กั เบ้ยี (Portulacaceae)

2.2 ผลแห้งแก่แล้วไม่แตก (dry indehiscent fruit) คือผลแห้งที่
ผนงั ผลไมแ่ ตกออกเมือ่ แก่ แบ่งออกเปน็

2.2.1 ผลแหง้ เมลด็ ลอ่ น (achene) รงั ไขม่ ี 1 ชอ่ ง และมี 1 เมลด็
ผนังผลมักค่อนข้างบางแต่แห้งและแข็ง ไม่เชื่อมกับเปลือกเมล็ด พบได้ท่ัวไป
ในพืชวงศ์ทานตะวัน วงศผ์ ักไผ่ (Polygonaceae)

2.2.2 ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียวหรือผลแบบบัวหลวง (nut)
รังไขม่ ี 1 ช่อง และมี 1 เมล็ด ผนังผลแห้งและแขง็ มาก เชน่ ผลกอ่ ชนิดต่าง ๆ
มะพรา้ ว มะม่วงหิมพานต


คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
29

2.2.3 ผลแหง้ เมลด็ ตดิ หรอื ผลแบบธญั พชื (caryopsis) ลกั ษณะ
คล้ายผลแห้งเมล็ดล่อน แต่ผนังผลเชื่อมกับเปลือกเมล็ด เป็นลักษณะของผล
ทีพ่ บในพืชวงศ์หญ้า (Poaceae) เชน่ ข้าว ขา้ วโพด

2.2.4 ผลปกี เดยี ว (samara) คอื ผลแหง้ เมลด็ รอ่ นทผ่ี นงั ผลเจรญิ
แผ่ออกเป็นปีก เช่น ประดู่ ก่วม

2.2.5 ผลมปี กี เทยี มหรอื ผลแหง้ มกี ลบี เลยี้ งเจรญิ เปน็ ปกี (samaroid)
คือ ผลแห้งเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ที่ปลายผลมียอดเกสรเพศเมียติดอย ู่

เมื่อแก่กลีบเลี้ยงซึ่งติดทนจะเจริญเป็นปีก เช่น พืชหลายชนิดในวงศ์ยาง
(Dipterocarpaceae)

2.3 ผลแยกแล้วแตกหรือผลแห้งแยก (schizocarp) คือ ผลท่ี

เจริญมาจากรังไข่ที่ประกอบด้วยคาร์เพลต้ังแต่ 2 คาร์เพล ข้ึนไป เม่ือรังไข่
เจริญเป็นผลแต่ละคาร์เพลจะแยกออกจากกันคล้ายเป็นผลย่อย เรียกว่า

ซีกผล (mericarp) เชน่ ครอบจักรวาล

เมล็ด (Seeds)

เมลด็ คอื ออวลุ ทเ่ี จรญิ พฒั นาขนึ้ มาหลงั จากการปฏสิ นธิ ภายในประกอบ
ด้วยเอ็มบริโอ (embryo) มีเน้ือเย่ือท่ีทำหน้าที่ในการเก็บสะสมอาหาร

เพื่อให้เอ็มบริโอใช้ในระยะแรกของการเจริญเติบโต เรียกว่า เอนโดสเปิร์ม
(endosperm) ซ่ึงจะพบเฉพาะในพืชดอกเท่าน้ัน เมล็ดพืชบางชนิดไม่ม ี

เอ็นโดสเปิร์มทำหน้าที่สะสมอาหารแต่อาหารจะถูกดึงไปเก็บไว้ในใบเลี้ยง
(cotyledon) แทน ทำให้ใบเล้ียงมีลักษณะอวบ มีเนื้อ เช่น ถ่ัวชนิดต่าง ๆ
เมล็ดพืชบางชนิดมีเนื้อท่ีหุ้มอยู่รอบนอกเมล็ด เรียก เยื่อหุ้มเมล็ด (aril) ซ่ึง
อาจเจริญมาจากส่วนของเปลือกเมล็ด (seed coat) หรือข้ัวเมล็ด (hilum)
หรือก้านออวุล (funiculus) ถ้าเย่ือหุ้มเมล็ดเจริญมาจากเปลือกเมล็ด มักไม่
สามารถแยกหรือล่อนเยื่อหุ้มเมล็ดออกจากเปลือกเมล็ดได้ เช่น เนื้อเงาะ
มังคุด ถ้าเย่ือหุ้มเมล็ดเจริญมาจากข้ัวเมล็ดหรือก้านออวุลมักจะแยกหรือ

ล่อนออกจากเปลือกเมลด็ ได้ เช่น เน้อื ลำไย ลิ้นจี่ ทเุ รยี น


30 คมู่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

เปลอื กเมลด็ (seed coat) มกี ารเจรญิ พฒั นามาจากผนงั ออวลุ (integument)
ทำหน้าท่ีป้องกันเอ็มบริโอท่ีอยู่ภายในเมล็ด เปลือกเมล็ด แบ่งออกได้เป็น

2 ชน้ั ได้แก่ เปลือกเมลด็ ชั้นนอก (testa) และเปลอื กเมลด็ ชั้นใน (tegmen)
เปลือกของเมล็ดท่ีแตกต่างกันส่งผลถึงการงอกและการกระจายของเมล็ด
แตล่ ะชนดิ




ค่มู ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
31

ขน้ั ตอนและวธิ กี ารสำรวจความหลากหลายของ

ในการดำเนินงานตามโครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพท่ีมี
ระยะเวลาการศึกษายาวนาน ผู้ศึกษานิยมใช้การสำรวจโดยการวางแปลง
แบบถาวรซงึ่ สามารถติดตามการเปล่ียนแปลงของทรัพยากรความหลากหลาย
ทางชีวภาพได้ โดยส่วนใหญ่จะใช้ระยะเวลามากกว่า 3 ปี ซ่ึงต้องใช้เงินและ
กำลงั คนจำนวนมากดว้ ย แตใ่ นการศกึ ษาทเี่ ปน็ โครงการระยะเวลาสน้ั ประมาณ
1-3 ปี เพื่อให้ทราบว่าในพื้นท่ีมีทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ

มากน้อยและมีสถานภาพอย่างไรน้ัน มักจะนิยมใช้วิธีการวางแปลงสำรวจ
แบบไมถ่ าวรหรอื กงึ่ ถาวรควบคกู่ บั การสำรวจแบบไมว่ างแปลง เพอื่ ใหไ้ ดข้ อ้ มลู
ที่ครอบคลุมพื้นที่สำรวจมากท่ีสุด สำหรับการสำรวจท่ีครอบคลุมทุกส่ิงมีชีวิต
ควรใช้การวางแปลงสำรวจเพื่อช่วยให้การทำงานเป็นระบบและติดตามผล

ได้งา่ ย

ขั้นตอนและวิธีการศึกษา

ขั้นที่ 1 การศึกษาขอ้ มลู พื้นฐานและเตรยี มบุคลากร

1. การจำแนกพืน้ ทีแ่ ละชนดิ ปา่ ไม

การจำแนกพน้ื ทแี่ ละชนดิ ปา่ ไมท้ ปี่ รากฏในพนื้ ทศี่ กึ ษา โดยทว่ั ไปจะใช้
ข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นปัจจุบันมากท่ีสุด อันได้แก่ แผนท่ีป่าไม้ของกรมป่าไม้
และ/หรือแผนท่ีการใช้ประโยชน์ท่ีดินของกรมพัฒนาท่ีดิน แต่ในกรณีที่ไม่มี
ข้อมูลทุติยภูมิจำเป็นที่จะต้องดำเนินการทำแผนท่ีป่าไม้โดยตีความจากข้อมูล
ดาวเทียม และ/หรือข้อมูลภาพถา่ ยทางอากาศ

2. กำหนดรปู แบบและวิธีการสำรวจ

ในการศึกษาน้ันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ศึกษาเป็นสำคัญ หาก
ต้องการข้อมูลเพื่อทราบถึงสถานการณ์ของทรัพยากรป่าไม้โดยรวดเร็วและ

มีความถูกต้องในระดับที่ยอมรับได้ ก็มักนิยมใช้การสำรวจแบบการประเมิน
แบบรวดเร็ว แต่ในการศึกษาท่ีต้องการทราบความหลากหลายทางชีวภาพ


32 คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


มักจะพยายามวางแปลงสำรวจให้ครอบคลุมพ้ืนท่ีในทุกสังคมพืช และ

ทกุ ระดับความสงู เชน่ หากพ้ืนทศี่ กึ ษามคี วามสูงจากระดับน้ำทะเลอยู่ในชว่ ง
200-1,200 เมตร ก็ควรจะวางแปลงในทกุ ช่วงระดบั 200 เมตร เพราะฉะนั้น
เราก็จะวางแปลงที่ระดับ 200-400, 400-600, 600-800, 800-1,000 และ
1,000-1,200 เมตร เปน็ ต้น ดังน้ันข้อควรพิจารณาก็คอื กำลังคน เวลา และ
งบประมาณ เพ่อื กำหนดจำนวนแปลงและขนาดของแปลงทเ่ี หมาะสม

3. จดั เตรยี มความพรอ้ มของทีมสำรวจและวางแผนการปฏิบัตงิ าน

จัดเตรียมผู้นำทางและคนในท้องถ่ินที่รู้จักชื่อพรรณไม้รวมทั้งกำหนด
เจา้ หนา้ ที่ เพอื่ ชว่ ยจดั การตวั อยา่ งพรรณไมท้ ไ่ี มส่ ามารถระบชุ นดิ ไดเ้ พอื่ ทำการ
วเิ คราะหช์ ่ือหรือสง่ ให้ผู้เช่ียวชาญในแตล่ ะวงศ์ชว่ ยตรวจสอบ

ข้ันท่ี 2 คัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย

1. การคดั เลือกแปลงสำรวจพรรณพชื

คัดเลือกพื้นท่ีวางแปลงตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของระบบนิเวศป่าไม้ที่
สำคญั ของเขตอนรุ กั ษ์และสามารถเขา้ ได้ถงึ

ใชข้ นาดแปลงตวั อยา่ งทเ่ี หมาะสมโดยใชเ้ ทคนคิ ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ ง
ขนาดพ้นื ท่ี ชนดิ (Species Area Curve) เรมิ่ จากแปลง 10x10 เมตร และ
ทำการเพิ่มขนาดด้านละ 10 เมตร ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะไม่พบพืชชนิดใหม่
ในแปลงตัวอย่าง โดยขนาดทเี่ หมาะสม คือ

- ป่าเตง็ รัง 30x30 เมตร

- ป่าดิบแลง้ 60x60 เมตร

แต่โดยส่วนมากนิยมวางแปลงตัวอย่าง ขนาด 100x100 เมตร หรือ

1 เฮกตาร

2. การศกึ ษาความหลากชนดิ ของพรรรณไม้

ศกึ ษาโดยการวางแปลงตวั อยา่ งแบบสเี่ หลย่ี ม ขนาด 10x10 เมตร
จำนวน 100 แปลง เพ่ือสำรวจพรรณไม้ต้นที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่

10 เซนตเิ มตร ข้นึ ไป ท่คี วามสงู ระดับอก (130 เซนติเมตร)


คมู่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
33

ศึกษาไม้หนุ่มในแปลงขนาด 4x4 เมตร ในทุกแปลงของแปลงใหญ่
(10x10 เมตร) จำนวนตัวอย่าง 100 แปลง ไม้หนุ่ม คือ ไม้ที่มีขนาด

เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 เซนติเมตร ที่ความสูงระดับอก บันทึกขนาด
เส้นรอบวงและช่ือพรรณไม้ ศึกษาไม้พื้นล่างซ่ึงเป็นไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย และ
กล้าไม้ ในแปลงย่อย ขนาด 1x1 เมตร หนึง่ แปลงย่อยของแปลงใหญ่ จำนวน
ท้ังหมด 10 แปลง บันทึกจำนวนชนิดและจำนวนต้นของกล้าไม้ในแปลง

เก็บตัวอย่าง จัดทำพรรณไม้แห้งเพื่อใช้ในการวินิจฉัยระดับชนิด (Species
Identification) โดยใช้รูปวิธานและเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ เช่น คู่มือพรรณไม้
พ้ืนบ้านอสี าน ชอื่ พรรณไมแ้ ห่งประเทศไทย A field guide to forest trees
of Northern Thailand และเอกสารงานวิจัยอื่น ๆ เช่น รายงานการวิจัย
เรอ่ื งการใชป้ ระโยชนจ์ ากปา่ วฒั นธรรมอยา่ งยง่ั ยนื งานวจิ ยั เรอ่ื งความหลากชนดิ
ของพรรณพืชและพฤกษศาสตร์พื้นบ้านของป่าโคกไร่ เป็นต้น นำข้อมูลท่ีได้
มาวิเคราะห์โดยหาค่าดัชนีความสำคัญ (Importance Value Index: IVI)

คา่ ดชั นีความ หลากชนิด (Shannon-Weaver Index: H’) และค่าดัชนีความ
สมำ่ เสมอของชนิดพรรณ (Evenness Index: E) โดยมีสูตรการคำนวน ดังน
ี้
1. การประเมินค่าดชั นีความสำคญั ของพรรณพืช (Importance Value
Index: IVI) คอื ผลรวมของค่าความสัมพนั ธต์ า่ ง ๆ ของสงั คมพชื ดงั น
้ี
ความหนาแน่นสัมพัทธ์ (Relative Density: RD) คือ ร้อยละของ

ความหนาแน่นของพืชชนิดหน่ึงเม่ือเปรียบเทียบกับความหนาแน่นของพืช

ทกุ ชนดิ รวมกนั

ความถ่ีสัมพัทธ์ (Relative Frequency: RF) คือ ร้อยละของความถี่
ของพชื ชนิดหนึง่ เมอื่ เปรยี บเทียบกบั ค่าผลรวมความถ่ีของพืชทุกชนดิ (%)

ความเด่นสัมพัทธ์ (Relative Dominance: RDo) คือ ร้อยละของ

ผลรวมของพ้ืนที่หน้าตัดของต้นไม้ชนิดหนึ่ง เม่ือเปรียบเทียบกับค่าผลรวม
ของพน้ื ท่หี นา้ ตดั ของไม้ทุกชนิด




34 คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

IVI = RD+RF+RDo

ตวั อย่าง เช่น ตอ้ งการหาคา่ IVI ของไม้ชนดิ ก:

RD(ก) = (ความหนาแนน่ ของพชื ก/ความหนาแนน่ รวมของพชื ทกุ ชนดิ ) x 100

RF(ก) = (ความถข่ี องพชื ก/ความถ่ีรวมของพชื ทกุ ชนิด) x 100

RDo(ก) = (ผลรวมของพ้นื ทห่ี น้าตัดของไม้ ก/ผลรวมของพ้นื ท่ีหน้าตัดไม

ทุกชนดิ ) x 100

2. ค่าความหลากหลายของชนิด (Species Diversity) วัดจากจำนวน
ชนิดท่ีปรากฏในสงั คมและจำนวนต้นไมท้ ่มี ีในแต่ละชนิด ซ่ึงคำนวณได้ ดังนี้

2.1 Shannon-Weaver Index: H’ (Shannon and Weaver,
1949) มีสตู รการคำนวน ดังน
้ี






H’ = คา่ ดัชนคี วามหลากชนดิ ของชนิดพรรณไม้

Pi = สัดส่วนระหวา่ งจำนวนตน้ ไม้ชนดิ I ตอ่ จำนวนตน้ ไม้ทั้งหมด

S = จำนวนชนิดพรรณไมท้ ัง้ หมด

2.2 คา่ ความสมำ่ เสมอของชนิดพรรณไม้ (Evenness Index: E)

(นิวัติ คชานนั ท์, 2548: อา้ งองิ จาก Hill, 1973) มสี ูตรการคำนวณ ดงั น
ี้

E = H’ InS

H’ = Shannon-Weaver Index

S = จำนวนชนิดพรรณไมท้ งั้ หมด

ข้ันที่ 3 สำรวจและเกบ็ ข้อมลู


1. ไม้ใหญ่ (Tree) คือ ต้นไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางท่ีระดับอกมากกว่า
4.5 เซนตเิ มตร โดยบันทกึ

1.1 ชนิด

1.2 เสน้ ผ่าศูนย์กลาง


คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 35

1.3 ความสูงกง่ิ สดก่ิงแรก

1.4 ความสงู ท้งั หมด

2. ไม้หนุ่ม (Sapling) คือ ต้นไม้ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ระดับอกน้อย
กว่า 4.5 เซนตเิ มตร และสูงไมต่ ำ่ กวา่ 1.3 เมตร ทุกต้น โดยบนั ทกึ

2.1 ชนิดและจำนวน

2.2 ขนาดของต้นไม้ทุกชนดิ

3. ลูกไม้ (Seedling) คือ ต้นไม้ทม่ี ีความสูงตำ่ กว่า 1.3 เมตร รวมทั้ง
ไมเ้ ลือ้ ยทัง้ หมด โดยบันทึก

3.1 ชนดิ และจำนวนของลกู ไม้


36 คมู่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม


การเกบ็ ตวั อยา่ งพรรณไม้




การสำรวจความหลากหลายด้านพืช จำเป็นต้องมีการเก็บตัวอย่าง

พรรณไม้ ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญย่ิงของพิพิธภัณฑ์พืช เป็นตัวแทนของ
พรรณไม้ในประเทศหรือท้องท่ีนั้น ๆ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่มีประโยชน์

ต่อการศึกษาวิจัยทางพฤกษศาสตร์ โดยเฉพาะงานด้านอนุกรมวิธานพืช

งานศกึ ษาความหลากหลายและการกระจายของพรรณพืช และพฤกษศาสตร์
พ้ืนบ้าน การเก็บตัวอย่างพรรณไม้ไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชไม่ว่าจะเป็นตัวอย่าง

แห้งหรือตัวอย่างดอง เป็นการรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ท่ีใช้พื้นท่ีน้อย เม่ือ
เปรยี บเทียบกบั การรวบรวมโดยการนำมาปลกู (living specimen)

งานวิจัยต่าง ๆ ท่เี ก่ียวขอ้ งกบั พรรณไม้ เช่น การสำรวจทรัพยากรป่าไม้
การศึกษานิเวศวิทยาป่าไม้หรือสังคมพืชในท้องท่ีต่าง ๆ จำเป็นต้องรู้จักชื่อท่ี
ถูกต้องของพรรณไม้ แต่เป็นเรื่องยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสามารถระบ

ชื่อพรรณไม้ได้ทุกต้น การเก็บตัวอย่างจึงเป็นวิธีหนึ่งท่ีจะสามารถนำมา
วิเคราะห์หาช่ือโดยเทียบเคียงกับพรรณไม้ที่ได้ระบุชื่อท่ีถูกต้องไว้แล้ว เมื่อ

ได้ช่ือท่ีถูกต้องแล้วตัวอย่างนั้นก็จะเป็นต้นแบบในการใช้เปรียบเทียบในคร้ัง
ต่อไป นอกจากน้ันการเก็บตัวอย่างหลายซ้ำแล้วส่งให้หรือแลกเปล่ียนกับ
พรรณไม้ในพิพิธภัณฑ์พืชอ่ืนทั้งในและนอกประเทศจะเป็นประโยชน์ต่อ
วงการการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ได้ดีอีกทางหน่ึงโดยเฉพาะชนิดท่ีเป็นพืช
ถ่ินเดียว (endemic species) หรือพืชหายาก (rare species) ท่ีพบใน

ท้องทีท่ ่ีเราออกเก็บตวั อยา่ ง

ในบทน้ีจะกล่าวถึงเฉพาะการเก็บตัวอย่างแห้งของพืชมีท่อลำเลียง
(vascular plant) ซึ่งในการออกไปเก็บตัวอย่างพรรณไม้ในสนามนั้นต้องใช้
อุปกรณ์ มีข้ันตอนการดำเนนิ งานและการจัดการกับตัวอยา่ ง ดงั นี

อุปกรณ์


1. แบบบันทึกขอ้ มลู ภาคสนาม (field note) แบบบันทึกนีค้ วรมรี าย

คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
37

ละเอียดในการบันทึกเหมือนหรือใกล้เคียงกับป้ายบันทึกข้อมูล (label)

ท่ีจะนำไปติดจริงในตัวอย่างพรรณไม้ แบบบันทึกควรจัดทำเป็นรูปเล่มขนาด
เล็กและมีจำนวนหมายเลขไม่มาก เพื่อให้ข้อมูลไม่กระจัดกระจายและ

สะดวกต่อการพกพา แต่ละเล่มใส่หมายเลขเรียงต่อกันไป เช่น เล่มที่ 1
หมายเลข 1-50 เลม่ ท่ี 2 หมายเลข 51-100 เปน็ ตน้ แบบบนั ทกึ ขอ้ มูลนคี้ วร
เก็บไว้ประจำท่ีพิพิธภัณฑ์พืชน้ัน ๆ เพื่อให้ผู้เข้าไปใช้บริการได้ใช้ตรวจสอบ
รายละเอียดเพิ่มเติมท่ีไม่ได้บันทึกไว้ในป้ายบันทึกข้อมูล ท่ีติดไว้บนตัวอย่าง
พรรณไม้แตล่ ะชิน้

2. ป้ายหมายเลข (number tag หรือ jeweller’s tag) เป็นป้าย
ขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 2x5 เซนติเมตร ปลายข้างหนึ่งเจาะรูแล้วร้อย
ด้วยด้ายขนาดเล็ก ใช้สำหรับผูกและเขียนหมายเลขของพรรณไม้ให้ตรงกับ
หมายเลขในสมุดบนั ทึก

3. แผงอัดพรรณไม้ มีลักษณะเป็นแผ่นสเี่ หลีย่ มผนื ผา้ 2 อนั ประกบกนั
มีขนาดประมาณ 30x45 เซนติเมตร อาจทำจากไม้ไผ่ ไม้เน้ือแข็งหรือเหล็ก
แบน ตปี ระสานเป็นตารางหรอื อาจใช้ไมอ้ ดั หรอื ไม้แผน่ เจาะรเู ปน็ ระยะก็ได้


4. เชอื กรัด ควรใช้เชือกหรอื วัสดุแบน ๆ เชน่ ไส้ตะเกยี ง เขม็ ขดั ผา้ หรอื
เข็มขัดหนัง สำหรับรัดแผงอัดพรรณไม้ให้พรรณไม้เรียบ ไม่หงิกงอเมื่อแห้ง
แต่ถ้าหากนำพรรณไม้ไปอบหรือย่างไฟควรใช้เชือกฝ้ายหรือวัสดุท่ีไม่หดตัว
เมือ่ ได้รับความร้อน


5. กระดาษอัดพรรณไม้ ในการอัดพรรณไม้แต่ละชิ้น นิยมใช้กระดาษ
หนังสือพิมพ์เพื่อช่วยซับความช้ืนออกจากพรรณไม้ แล้วค่ันด้วยกระดาษ
ลูกฟูกเพ่ือช่วยทำให้พรรณไม้เรียบเสมอกันและช่วยระบายความช้ืนออก

ทางร่องของลูกฟกู ด้วย

6. อปุ กรณใ์ นการเกบ็ ตวั อยา่ ง เชน่ กรรไกรตดั กงิ่ และกรรไกรชกั สำหรบั
ตัดหรือสอยตัวอย่าง มีดพับหรือมีดคัตเตอร์สำหรับแซะพืชท่ีเกาะอยู่ตาม

กิ่งไม้หรือตามก้อนหิน พลั่วหรือเสียมสำหรับขุดพรรณไม้ท่ีจำเป็นต้องเก็บ
รากหรือสว่ นท่อี ย่ใู ตด้ ินหรอื ตอ้ งการเกบ็ กลา้ ไปปลกู


38 คูม่ อื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

7. ถุงพลาสติก ถ้าเป็นไปได้ควรแยกตัวอย่างพรรณไม้แต่ละหมายเลข

ใส่ถุงพลาสติกแต่ละใบ โดยเฉพาะชนิดท่ีดอกหรือใบหลุดร่วงง่าย พรรณไม้
บอบบางหักหรือเสียรูปง่ายหรือพรรณไม้ที่มีขนาดเล็ก แล้วนำถุงพรรณไม้
แต่ละหมายเลขใส่รวมในถุงพลาสติกขนาดใหญ่อีกคร้ังหน่ึง กรณีถุงพลาสติก
ขนาดใหญ่ ควรเลอื กใช้ชนิดทมี่ หี หู ้วิ จะสะดวกกว่าใชช้ นดิ ทไี่ มม่ หี หู ิ้ว

8. ดินสอดำ ในการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลภาคสนามและ

ป้ายหมายเลขควรใช้ดินสอดำไม่ควรใช้ปากกา เพราะถ้าใช้ปากกาตัวหนังสือ
อาจเลอะเลือนได้ถ้าเปียกน้ำ กระดาษช้ืนหรือแช่ในแอลกอฮอล์และถ้าเลือก
ได้ควรใช้ดินสอดำที่มีไส้ขนาด 2B เพราะเมื่อเขียนแล้วตัวอักษรจะชัดเจน

ไมจ่ างหรอื เขม้ เกินไป

9. เครื่องวัดระดับความสูง (altimeter) เป็นเคร่ืองมือขนาดเล็ก

เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 เซนติเมตร พกพาสะดวก ใช้สำหรับวัดดูว่า
พรรณไมท้ ี่เกบ็ ขนึ้ อย่ใู นพนื้ ทส่ี งู จากระดบั ทะเลเท่าใด

10. สายวัด ไม้บรรทดั และเวอร์เนยี ร์ ใชว้ ัดขนาดของเส้นผา่ ศูนยก์ ลาง
ของต้นไม้ วัดความยาวของส่วนต่าง ๆ ของพืช ถ้าต้องการวัดโครงสร้างที่มี
ขนาดเลก็ ควรใชเ้ วอรเ์ นยี ร์วดั จะแมน่ ยำกว่า

11. กล้องส่องทางไกลแบบสองตา (binocular) บางคร้ังพรรณไม้ท่ี
ต้องการเก็บอยู่ไกลหรือสูงมาก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหรือไม่ชัด การใช้
กล้องส่องทางไกลจะชว่ ยใหเ้ ห็นชดั ข้นึ

12. กล้องถ่ายรูปพร้อมอุปกรณ์ ใช้สำหรับถ่ายภาพตัวอย่างพรรณไม้ท่ี
ไม่สามารถเก็บตัวอย่างได้ทั้งหมด รวมทั้งถิ่นที่อยู่อาศัย นอกจากน้ันการ

ถ่ายภาพของดอก ผล หรือใบของตัวอย่างจะช่วยเสริมข้อมูลของพรรณไม้ได้
เป็นอยา่ งดี เพราะตวั อยา่ งเมอื่ แหง้ แล้วสว่ นต่าง ๆ มกั จะเปลย่ี นเปน็ สีน้ำตาล
หรือสีดำ

13. อปุ กรณ์อน่ื ๆ เปน็ อปุ กรณ์ทีต่ ้องใชต้ ามความจำเปน็ ของแตล่ ะงาน
เช่น ขวดดองหรือกล่องใส่ฟิล์มสำหรับดองดอกหรือผล เพ่ือนำไปศึกษาเรณู

คมู่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม
้ 39

ถุงพลาสติกชนิดรูดปิดได้พร้อมซิลิก้าเจล (silica gel) สำหรับใส่ตัวอย่างใบ
หรอื กิง่ เพ่ือนำไปศกึ ษา DNA แอลกอฮอล์สำหรับอาบพรรณไม้ไมใ่ ห้พรรณไม้
เน่าเสีย กรณีท่ีออกไปเก็บพรรณไม้ในท้องท่ีเป็นเวลานาน ๆ และฟองน้ำ
สำหรับใช้ก้ันระหว่างกระดาษหนังสือพิมพ์กับกระดาษลูกฟูก เพื่อให้ตัวอย่าง
พรรณไมเ้ รียบมากย่งิ ขนึ้ เป็นตน้

วิธีเกบ็ ตัวอย่างพรรณไม

การได้ตัวอย่างพรรณไม้ท่ีสมบูรณ์ มีครบทั้งใบ ดอก และผล ตลอดจน
ข้อมูลด้านอ่ืน ๆ จะช่วยให้การตรวจหาหรือระบุชื่อพรรณไม้ได้ง่ายข้ึน

โดยเฉพาะดอกถือเป็นอวัยวะที่สำคัญมากท่ีใช้ในการจำแนกพรรณไม้ ฉะน้ัน
จึงต้องพยายามเก็บให้ได้ตัวอย่างท่ีสมบูรณ์ท่ีสุด การเก็บตัวอย่างพรรณไม้มี
หลกั กวา้ ง ๆ ดังนี้

1. เลือกเก็บตัวอย่างท่ีสมบูรณ์ โดยในตัวอย่างชนิดหนึ่งควรมีทั้งกิ่ง ใบ
ดอก และผล ยกเวน้ ในชว่ งที่ออกเกบ็ ตวั อยา่ งพชื ออกดอก ออกผล ไม่พร้อม
กันหรือทิ้งใบในช่วงออกดอก ถ้าเป็นใบประกอบต้องเก็บตัวอย่างให้เห็นว่า
เป็นใบประกอบ ถา้ เปน็ ใบเดยี่ ว ควรเกบ็ ให้เหน็ การเรยี งตัวของใบ

2. เลือกเก็บตวั อย่างจากตน้ หรือก่ิงทมี่ ีลักษณะปกติ ไมค่ วรเก็บตัวอยา่ ง
จากต้นทีถ่ ูกไฟไหม้ แมลงกดั แทะ หรอื เปน็ โรค

3. การเกบ็ พรรณไมข้ นาดเลก็ เชน่ หญา้ กก เฟนิ กลา้ ไม้ ควรเกบ็ ทงั้ ตน้
ให้ติดรากด้วย หากพืชมีขนาดเล็กมาก เช่น สูง 5-15 เซนติเมตร ควรเก็บ
หลายชน้ิ เพราะต้องใช้หลายชนิ้ ใน 1 ซำ้ (duplicate)

4. การเกบ็ พรรณไมต้ น้ ไมพ้ มุ่ ไมเ้ ถา หรอื ไมล้ ม้ ลกุ บางชนดิ ใหเ้ กบ็ เฉพาะ
ก่ิงหรือเถาท่ีมีดอกหรือผลติดกับใบ และเก็บให้มีขนาดท่ีเหมาะสมที่จะนำมา
ตดิ ลงบนกระดาษแข็งขนาด 27x42 เซนติเมตร

5. พืชบางชนิดมีรูปร่างของใบหลายแบบ ควรเลือกเก็บตัวอย่างให้ครบ
ทกุ แบบ

6. พรรณไมท้ มี่ ดี อกแยกเพศอยู่รว่ มตน้ (monoecious plant) ให้เก็บ
ตวั อย่างท้งั ท่ีมีดอกเพศผู้และดอกเพศเมยี ในหมายเลขเดียวกัน


40 คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

7. พรรณไม้ที่มีดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น (dioecious plant) ให้เก็บ
ตวั อยา่ งทม่ี ีดอกเพศผ้แู ละตวั อยา่ งทีม่ ดี อกเพศเมยี แยกคนละหมายเลข

8. ถ้าออกเก็บตัวอย่างในท้องท่ีเป็นเวลานาน ไม่สามารถนำตัวอย่างมา
อัดและทำให้แห้งตามปกติได้ ให้นำตัวอย่างมาอัดในกระดาษหนังสือพิมพ์

มัดด้วยเชือกฟาง ราดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ให้ชุ่ม แล้วเก็บตัวอย่างไว้ใน

ถุงพลาสติก วิธีน้ีจะสามารถเก็บตัวอย่างไว้ได้นาน 4-6 เดือน โดยตัวอย่าง

ไมเ่ นา่ เสยี แต่เมอ่ื นำไปทำใหแ้ ห้งตวั อย่างมักมสี ีเขม้ กวา่ ปกติ

9. ไม่ควรเก็บพรรณไม้ท่ีมีแต่ใบ (sterile specimen) ยกเว้นกรณีท่ีมี
ความจำเป็นจริง ๆ หรือเก็บกล้าไม้เพื่อนำไปเป็นข้อมูลประกอบการบรรยาย
หรือประกอบการตรวจวิเคราะห์หาชื่อ เพราะพืชบางชนิดเพียงแต่ดูกล้าไม้ก็
สามารถระบุช่อื ได้

10. ควรเก็บตัวอย่างให้มีจำนวนช้ินมากพอกับความต้องการ ปกติจะ
เก็บ 3-8 ช้ิน แล้วแต่กรณี ชนิดท่ีรู้ชื่อเป็นอย่างดีแล้ว เช่น ประดู่ สักหรือ
มะขาม ถ้าต้องการเกบ็ ตวั อยา่ งไวเ้ ปน็ พรรณไมอ้ า้ งอิง ควรเก็บเพยี ง 1-2 ชนิ้
ก็พอ บางชนิดอาจจะเก็บมากถึง 10 ช้ิน โดยเฉพาะพรรณไม้ท่ีจะมอบให

หรือนำไปแลกเปล่ียนกบั พรรณไม้ของพพิ ิธภัณฑ์พชื อ่นื

11. หากต้องการเก็บตัวอย่างในรูปแบบอื่น เช่น ตัวอย่างดอง ตัวอย่าง
เมล็ด ตัวอย่างผล ตัวอย่างเปลือก หรือตัวอย่างเพ่ือใช้ในการศึกษา DNA

ควรเก็บตัวอย่างเผอ่ื สำหรับกิจกรรมเหลา่ นัน้ ให้เพียงพอและเหมาะสมด้วย

วิธอี ัดตวั อยา่ งพรรณไม

เพื่อไมใ่ หต้ ัวอยา่ งทเ่ี ก็บมาเน่าเสีย เห่ยี ว หรอื ส่วนต่าง ๆ หลุดรว่ ง ตอ้ ง
รีบอัดตัวอย่างพรรณไม้ทันทีที่กลับถึงที่พักหรือสำนักงาน ยกเว้นกรณีชนิดที่
ดอกเหี่ยวหรือเสียรูปเร็วต้องอัดทันทีในพ้ืนที่ วิธีการอัดตัวอย่างพรรณไม้มี

ขน้ั ตอนดังน้ี

1. จัดแยกตัวอย่างพรรณไม้เรียงลำดับตามหมายเลข เพ่ือให้สะดวกต่อ
การบนั ทกึ ขอ้ มลู และปอ้ งกันการใสห่ มายเลขผิดพลาด


คูม่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
41

2. เลือกช้ินของตัวอย่างให้เพียงพอต่อความต้องการ ใส่หมายเลข

สถานท่ีเก็บและวันท่ีเก็บในป้ายหมายเลข แล้วนำไปผูกกับตัวอย่างทุกช้ิน

ถ้ามีตัวอย่างดองให้ผูกป้ายหมายเลขให้ตรงกับหมายเลขตัวอย่างพรรณไม

แหง้ ดว้ ย

3. บันทกึ รายละเอียดเพ่ิมเติมลงในแบบบันทึกขอ้ มูลภาคสนาม

4. เรียงตัวอยา่ งวางลงในหน้ากระดาษหนังสือพมิ พซ์ งึ่ พับเป็นคู่ ๆ จดั ให้
ขนาดพอดี (ไมเ่ กินหนา้ กระดาษ ขนาด 27x42 เซนติเมตร) ตัดกง่ิ หรอื ใบทมี่ ี
มากเกินออก หักพับใบหรือก้านดอกท่ีพ้นขอบกระดาษให้เข้ามาด้านใน ถ้า
เปน็ พรรณไมข้ นาดเล็กอาจเกบ็ หลายชิน้ ตอ่ 1 ซำ้

5. จัดให้ใบควำ่ บ้างหงายบา้ ง เพื่อจะไดเ้ หน็ ลกั ษณะของใบทัง้ สองด้าน

6. พลกิ กระดาษหนงั สือพมิ พแ์ ผ่นทเี่ ปน็ คนู่ นั้ ปดิ ทบั ลงไป

7. ระหวา่ งพรรณไมช้ น้ิ หนงึ่ ๆ ใหส้ อดกระดาษลกู ฟกู ขน้ั ไวเ้ พอื่ ใหต้ วั อยา่ ง
เรียบและเป็นการช่วยระบายความช้ืนให้ระเหยออก ถ้าต้องการให้ตัวอย่าง
พรรณไมเ้ รียบยง่ิ ขึ้นให้ใชแ้ ผ่นฟองน้ำหนาประมาณ 1 เซนตเิ มตร คั่นระหว่าง
กระดาษหนังสือพิมพ์กับกระดาษลกู ฟกู อกี ช้นั หนงึ่

8. ใชก้ ระดาษลกู ฟกู ปิดทับท้ังดา้ นบนและด้านล่าง

9. นำแผงอดั พรรณไมป้ ดิ ประกบทง้ั ด้านบนและด้านล่าง แลว้ รดั ให้แนน่
ดว้ ยเชอื ก ในแผงอดั หนงึ่ ๆ ไมค่ วรอดั พรรณไมใ้ หห้ นาเกนิ 30 เซนตเิ มตร เพราะ
ถ้าหนาเกินไปจะทำให้ตัวอย่างพรรณไม้ที่อยู่ตอนกลางแห้งช้ากว่าชิ้นที่อยู่
ด้านนอก

10. นำพรรณไม้ทอี่ ดั แล้วไปอบใหแ้ หง้ โดยวางแผงตามแนวตงั้ อย่าวาง
แผงตามแนวนอนทั้งน้ีเพ่ือให้ความชื้นในพรรณไม้ระเหยออกได้ง่ายหรืออาจ
ใช้เครื่องทำความร้อน (heater) แทนตู้อบพรรณไม้ โดยใช้ผ้าดิบคลุมเพ่ือ

เป็นช่องทางให้ลมร้อนจากเครื่องทำความร้อนส่งผ่านไปที่แผงอัดจะช่วยให้
พรรณไมแ้ หง้ เรว็ ขน้ึ ถา้ ไมส่ ามารถอบแหง้ ได้ อาจจะใชว้ ธิ ผี ง่ึ แดด ยา่ งไฟออ่ น ๆ
(ไฟจากถ่าน) หรือย่างไฟจากกล่องบรรจุหลอดไฟฟ้าหรือตะเกียงเจ้าพายุ
กรณีผึ่งแดดต้องเปล่ียนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ช้ืนออกทุกวันเพื่อให้ตัวอย่าง
แห้งเร็วขนึ้


42 คมู่ ือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้

ในกรณที ไี่ มส่ ามารถอดั แหง้ ตวั อยา่ งพรรณไมไ้ ดท้ นั ที ใหน้ ำตวั อยา่ งพรรณไม้
มาห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เรียบร้อยแล้วนำมามัดรวมกัน ใส่ตัวอย่าง
ลงในถุงพลาสติก ราดด้วยแอลกอฮอล์ 70% ใหช้ ุ่ม ใสถ่ ุงพลาสติกอกี ช้ันหนึ่ง
มัดปากถงุ ใหแ้ นน่ เพอื่ นำไปอัดแหง้ หรอื อบให้แห้งตอ่ ไป


ภาพที่ 6 การเก็บรักษาตวั อย่างพรรณไม้ที่อดั แล้วในแอลกอฮอล์ 70%


คู่มอื การสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้
43

วธิ ีเยบ็ ตัวอยา่ งพรรณไม้

ตวั อยา่ งพรรณไมท้ ที่ ำใหแ้ หง้ แลว้ ตอ้ งนำมาตดิ บนกระดาษขนาดมาตรฐาน
ซ่ึงเป็นกระดาษแข็งมีความหนา 300 แกรม ขนาด 27x42 เซนติเมตร การ
เยบ็ ตวั อยา่ งพรรณไม้มขี ั้นตอนและวิธกี าร ดงั นี

1. วางตัวอย่างพรรณไม้ลงบนกระดาษติดพรรณไม้ให้เหมาะสม เว้นมุม
กระดาษขวามือด้านลา่ งสำหรบั ติดปา้ ยบันทึกขอ้ มลู

2. นำป้ายบันทึกข้อมูลปิดบนกระดาษติดพรรณไม้ โดยเว้นระยะห่าง
จากขอบกระดาษข้างละ 5 มิลลิเมตร โดยประมาณ เพื่อป้องกันไม่ให้ป้าย
บนั ทกึ ขอ้ มูลชำรดุ หรอื หลดุ เม่ือหยบิ จับตัวอย่างบ่อย ๆ ถา้ หากมคี วามจำเป็น
ต้องปดิ ป้ายบนั ทึกขอ้ มลู ทับตัวอย่างใหท้ ากาวเฉพาะขอบปา้ ยดา้ นขวามอื

3. ถา้ มตี วั อยา่ ง ใบ ดอก ผล หรอื เมลด็ ทหี่ ลดุ รว่ ง ใหน้ ำตวั อยา่ งเหลา่ นนั้
ใส่ในซองกระดาษไข แล้วจึงใส่ในซองกระดาษสีน้ำตาล (ภาพท่ี 7) อีกคร้ัง
ก่อนจะนำไปปิดบนกระดาษตดิ พรรณไม้ท่ีมุมล่างด้านขวามือ หากไม่สามารถ
ปดิ บรเิ วณนไ้ี ด้ ใหต้ ิดบนบริเวณอื่นที่เหมาะสม


ภาพที่ 7 วธิ ีพับซองกระดาษเกบ็ ตัวอย่าง


44 คู่มือการสำรวจความหลากหลายของพรรณไม้


Click to View FlipBook Version