The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การควบคุมและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ(การใส่เสื้อGown)

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by momayy2911, 2022-07-07 05:55:29

การควบคุมและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ(การใส่เสื้อGown)

การควบคุมและการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ(การใส่เสื้อGown)

การควบคุมและการป้องกัน
การแพร่กระจายเชื้อ

การควบคุมและการป้องกัน
การแพร่กระจายเชื้อ

นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

รายวิชา การพยาบาลขั้นพื้นฐาน (พย.361202)
ปีการศึกษา 2565

ชื่อหนังสื่อ การใส่เสื้อGOWN
คณะผู้จัดทำ
นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่2
ที่ปรึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี
บรรณาธิการ จังหวัดนนทบุรี
อาจารย์สุภาลักษณ์ ธานีรัตน์

อาจารย์สุภาลักษณ์ ธานีรัตน์

กองบรรณาธิการ ณัฐพร ชุ่มเป็ง

อัญมณี คมจริง

ออกแบบปก มนัสนันท์ กรีสุข

พิสูจน์อักษร ณัฐพร ตาละกาญจนวัฒน์
ปีที่พิมพ์ อรอนงค์ ธรรมวัน

กรกฎาคม 2565

พิมพ์ที่ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
47/99 ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

สารบัญ หน้า

เรื่อง 1
2
ที่มาและความสำคัญ 3
วัตถุประสงค์ 9
ขั้นตอนการใส่ชุด Gown 10
ประโยชน์ของการใส่เสื้อGown 11
ข้อควรระวัง
แหล่งอ้างอิง

คำนำ

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การพยาบาลพื้นฐาน
รหัสวิชา พย.361202 ชั้นปีที่ 2 ห้อง A โดยมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา
ความรู้ที่ได้จากเรื่อง การใส่เสื้อGown ทั้งนี้ในรายงานนี้มีเนื้อหา
ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับ วิธีการใส่เสื้อGown ประโยชน์ของการใส่
เสื้อGown ตลอดจนการประยุกต์ใช้การใส่เสื้อGown

ผู้จัดทำได้เลือกหัวข้อนี้ในการทำรายงาน เนื่องมาจากเป็น
เรื่องที่น่าสนใจ ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์ ดร.สุภลักษณ์ ธานี
รัตน์ ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษา หวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้
ความรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกๆท่าน หากมีข้อเสนอแนะ
ประการใด ผู้จัดทำขอรับไว้ด้วยความขอบพระคุณยิ่ง

คณะผู้จัดทำ

ที่มาและความสำคัญ

การใส่เสื้อกาวน์ จะช่วยปกป้องการแผ่ขยายเชื้อโรคได้ อาจ
เป็นชนิดปลอดเชื้อหรือชนิดสะอาดขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพการณ์เพื่อ
ปกป้องผิวหนังและป้องกันเสื้อผ้าสกปรกจากการกระเด็นของเลือด
สารคัดหลั่งและหนองของผู้ล้มหมอนนอนเสื่อ ขณะกระทำกิจกรรม
พยาบาลการเลือกใช้เสื้อคลุม เสื้อกาวน์ หรือไม่ขึ้นอยู่กับความเหมาะ
สมในแต่ละสถานการณ์้ เสื้อกาวน์ ปกติจะเปิดด้านหลังและมีเชือก
สำหรับผูกที่คอและเอว เสื้อควรจะใหญ่และยาวเล็กน้อยเพียงพอที่จะ
คลุมชุดชุดแต่งกายได้มิดชิด แขนยาว ควรเปลี่ยนเสื้อกาวน์ทุกเวร
กรณีถ้าเปื้อนหรือเปียกให้เปลี่ยนทันที กระบวนการการสวมใส่เสื้อกา
วน์ที่ถูกวิธี และมีประสิทธิภาพ

1

วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นการศึกษาขั้นตอนของการใส่เสื้อGown
เพื่อเป็นการเรียนรู้ประโยชน์ของการใส่เสื้อGown
เพื่อป้องกันผู้สวมใส่เสื้อGown ไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง

2

ขั้นตอนการใส่ชุดGOWN

3

ขั้นตอนที่1

ล้างมือ 7 ขั้นตอน เมื่อล้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
มือต้องอยู่สูงกว่าระดับเอว

ขั้นตอนที่2

ผู้ช่วยเปิดห่อเสื้อกาวน์ เพื่อให้ผู้ใส่หยิบได้ถนัด

4

ขั้นตอนที่3

เช็ดมือด้วยผ้าเช็ดมือปราศจากเชื้อ โดยเช็ดทีละข้าง เช็ดไล่ลงมาถึง
ปลายข้อศอก จับปลายผ้าข้างล่างขึ้นมาเช็ดมืออีกข้างหนึ่ง

ขั้นตอนที่4

ทิ้งผ้าลงในถังขยะติดเชื้อ

5

ขั้นตอนที่5

จับเสื้อกาวน์บริเวณคอด้านในตัวเสื้อ ยกขึ้นเพื่อคลี่ออก ยกให้
สูงพอควรเพื่อป้องกันชายเสื้อกาวน์สัมผัสพื้น

ขั้นตอนที่6

ผู้ใส่เสื้อสอดแขนเข้าเสื้อกาวน์ทั้งสองข้าง
โดยมือยกขึ้นเหนือศรีษะ กางมือออกเล็กน้อย ปลายนิ้วมืออยู่ตรง
ขอบของแขนเสื้อ โดยไม่ต้องให้นิ้วมือโผล่ออกมา

6

ขั้นตอนที่7

ผู้ช่วยจะทำการผูกเชือกบริเวณคอเสื้อจากด้านในและด้านนอก ผูก
ให้กระชับกับตัวผู้ใส่

ขั้นตอนที่8

ใส่ถุงมืออย่างเคร่งครัด คือ จับถุงมือข้างใดข้างหนึ่งวางลงฝ่ามือ ให้
ปลายถุงมือหันเข้าหาตัวผู้ใส่ จับขอบถุงมือสวมเข้าคลุมแขนเสื้อ มือ
ข้างที่ยังไม่ได้ใส่ทำแบบเดียวกับข้างที่ใส่แล้ว

7

ขั้นตอนที่9

จัดถุงมือให้กระชับมือ ปลายถุงมือสวมทับขอบแขนเสื้อกาวน์พอดี

ขั้นตอนที่10

เมื่อใส่ถุงมือเรียบร้อยแล้ว ผู้ช่วยจะใช้ปากคีบกลาง จับเชือกที่อยู่
บริเวณเอว อ้อมมาส่งให้อีกด้าน ผู้ใส่จะใช้มือจับเชือกผูกให้กระชับกับ
ลำตัวพอดี

8

ขั้นตอนที่11

หลังใส่เสื้อกาวน์และถุงมือเสร็จเรียบร้อย ให้นำมือประสานระหว่างอก
และ ห่างจากอก 1 คืบ
เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมใกล้ๆตัว

ประโยชน์ของการใส่เสื้อGOWN

1.เป็นการป้องกันไม่ให้สารเคมีอันตรายต่างๆกระเด็นมาสัมผัส
กับร่างกาย
2.เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ ไม่ให้สัมผัสกับเชื้อโรคโดยตรง รวมทั้ง
เลือด
สารคัดหลั่งของผู้ป่วย

9

ข้อควรระวัง

ลักษณะที่ดีของเสื้อgown ควรเป็นวัสดุซึ่งไม่นำความชื้นและกัน
น้ำในหัตถการซึ่งใช้เวลาไม่นาน ( < 2 ชั่วโมง ) และเสีย
เลือดเพียงเล็กน้อย ( < 100 ml ) สามารถใส่ single – layer
gown ได้ในหัตถาการที่กินเวลา 2-4 ชั่วโมง และมีการเสีย
เลือด 100-500 cc หรือเป็นหัตถการซึ่งผ่าตัดเกี่ยวกับช่องอก
และช่องท้องควรใส่เสื้อGown เสริมอีก1 ชั้น ในขณะที่หัตถการ
ซึ่งมีการเสียเลือด > 500 cc และกินเวลามากกว่า 4 ชั่วโมง
ควรใส่ Plastic sheet หรือGown ซึ่งกันน้ำได้

10

แหล่งอ้างอิง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงดลฤดี สองทิศ. (2022). ข้อควร
ระวังในการใส่เสื้อgown, สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565.
จาก.http://med.swu.ac.th/surgery/images/SAR54/2Basic%20Surgical
%20Skill%20Sterile%20technique.pdf

Trillium Health Center.(2018).ประโยชน์ของเสื้อกาว์นแพทย์
สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565.
จากhttps://www.trilliumhealthcenter.org/

11

คณะผู้จัดทำ



นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี

นางสาวณัฐพร ชุ่มเป็ง เลขที่ 026 รหัสนักศึกษา 64123301055
นางสาวณัฐพร ตาละกาญจนวัฒน เลขที่ 027 รหัสนักศึกษา 64123301056

นางสาวมนัสนันท์ กรีสุข เลขที่ 059 รหัสนักศึกษา 64123301127
นางสาวอรอนงค์ ธรรมวัน เลขที่ 79 รหัสนักศึกษา 64123301168
นางสาวอัญมณี คมจริง เลขที่ 081 รหัสนักศึกษา 64123301172


Click to View FlipBook Version