The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เกี่ยวกับการแพทย๋แผนไทยโบราณ

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by เซ'ซ ฮาย'ย, 2022-06-19 07:39:30

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เกี่ยวกับการแพทย๋แผนไทยโบราณ

คัมภีร์ฉันทศาสตร์
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์

ความเป็นมา

“คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทยศาสตร์สงเคราะห์” นี้
ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ และ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ความหมายกว้าง “ฉันท
ศาสตร์” คงจะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวม ครอบคลุม
ตำราต่างๆ เช่น ปฐมจินดาร์ โรคนิทาน อภัยสันตา ฯลฯ
ซึ่งแต่งโดยใช้คำประพันธ์ชนิดต่างๆ

ส่วนแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์
แผนโบราณฉบับหลวง เกิดจากพระราชดำริของพระบาท
สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นว่าคัมภีร์
แพทย์แผนโบราณ และตำรายาพื้นบ้าน ของไทยมีคุณค่า
ยิ่ง มีการศึกษาคัดลอกต่อกันมา ทำให้สูญหายไปบ้าง
จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมแพทย์หลวง
นำคัมภีร์แพทย์จากที่ต่างๆ มาตรวจสอบ ชำระ ให้ตรง
กับฉบับดั้งเดิม คือ คัมภีร์ประถมจินดา นับว่าเป็น
ภูมิปัญญาตะวันออกอย่างแท้จริง จัดพิมพ์เป็นครั้งแรก
เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๐ ต่อมาสถาบันภาษาไทย กรม
วิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการจัดพิมพ์ขึ้น
ใหม่ เป็นเล่มเดียวอยู่ในหนังสือชุดวรรณกรรมหายาก ชื่อ
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์:ภูมิปัญญาทางแพทย์ และมรดก
ทางวัฒนธรรมของชาติ

ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิม พระชนมพรรษา
๖ รอม ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มี
การฟื้ นฟูบูรณาการการแพทย์แผนไทยขึ้นอย่างเร่งด่วน
หลังจากที่พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เพียง 2 ปี โดย โป
รดฯให้มีการประชุมแพทย์หลวงและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อรวบรวมและชำระตำรายาไทยบันทึกเป็นหลักฐานเมื่อ
ปีพุทธศักราช 2413 เรียกว่า “เวชศาสตร์ฉบับหลวง”
และต่อมาได้นำเวชศาสตร์ฉบับหลวงมาปรับปรุงและจัด
พิมพ์ เรียกตำรานี้ว่า แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง

ประวัติผู้แต่ง

พระยาพิศณุประสาทเวช(คง ถาวรเวช)เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖
ประวัติในวัยเยาว์ของท่านไม่ปรากฎรายละเอียด แต่จาก

หนังสือนิทานโบราณคดี เรื่อง"ตั้งโรงพยาบาล"พระนิพนธ์ใน
สมเด็จพระเจ้าบนมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเล่าไว้ว่า"หมอคง"เคยเป็นศิษย์ของพระยาประเสริฐ
ศาสตร์ธำรง ซึ่งเป็นหมอที่มีชื่อเสียงได้รับพระ
มหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้เป็นแพทย์ใหญ่ประจำโรง

พยาบาลศิริราช(โรงพยาบาลวังหลัง)พระยาประเสริฐศาสตร์
ธำรงได้คัดเลือก"หมอคง"ให้เป็นหมอรองประจำโรงพยาบาล

ตั้งแต่แรกก่อตั้ง

ลักษณะคำประพันธ์

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เฉพาะตอนที่คัด
มาศึกษา ได้แก่ ตอนเปิดเรื่องที่เป็นบทไหว้ครูและตอนที่
กล่าวถึงจรรยาบรรณของแพทย์นี้ ผู้เขียนแต่งโดยใช้คำ

ประพันธ์ประเภท กาพย์ยานี ๑๑ ดังแผนผังและตัวอย่างคำ
ประพันธ์ ดังนี้

ตัวอย่าง พระไตรรัตนนาถา
อภิวาทนาการ
ข้าขอประนมหัตถ์ พระฤาษีผู็ทรงฌาน
ตรีโลกอมรมา โดยรอบรู้ในโรคา

อนึ่งข้าอัญชลี
แปดองค์เธอมีฌาน

เรื่องย่อ

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ตอน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เริ่มต้นเปิด
เรื่องด้วยบทไหว้ครูซึ่งเรียบเรียงโดยพระยาวิชยาธิบดี

(กล่อม) ผู้ว่าราชการจังหวัดเมืองจันทบุรี ต่อมานั้นกล่าว
ถึงความสำคัญของแพทย์ และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี โดย

ทั่วไปที่มักจะมีความประมาท ความอวดดี ความริษยา
ความโลภ ความเป็นแก่ตัว ความหลงตัว และความไม่
เสมอภาคในการให้การรักษาคนไข้ ซึ่งแต่งเป็นกาพย์ยานี
๑๑ ต่อจากนั้นจะเป็นเนื้อหา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น ๑๙

ตอน

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
๑๘ ตอน

๑. ว่าด้วยลักษณะทับ ๘ ประการ
๒. พระคัมภีร์ตักกะศิลา
๓. สมมุติฐานการกำเนิดไข้
๔. ลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเป็นโทษ ๔ อย่าง
๕. ลักษณะน้ำนมดีและชั่ว
๖. ชีพจร ให้ระวังในการระบายยา
๗. ลักษณะรัตนธาตุทั้งห้า
๘. ลักษณะป่วง ๘ ประการ
๙. ตำรายาแก้สันนิบาตสองคลองและอหิวาตกโรค
๑๐. ลักษณะสมุฏฐาน
๑๑. ลักษณะอติสาร
๑๒. ลักษณะมรณะญาณสูตร
๑๓. โรคภัยต่างๆ แห่งกุมาร และลักษณะซางต่าง ๆ
๑๔. ลักษณะกำเนิดซาง
๑๕. ลักษณะรูปทารก
๑๖. ลักษณะซางตั้ง
๑๗. ลักษณะซางตาลโจร
๑๘. ลักษณะธาตุทั้ง ๔
๑๙. ตอนลงท้าย

บทวิเคราห์จะแยก
วิเคราะห์เป็น ๓ ด้าน ดังนี้

คุณค่าด้านเนื้อหา

๑. รูปแบบ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นชื่อตำรารวบรวมความรู้
หลากหลาย ในชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เนื้อหาแบ่งเป็น
๑๙ ตอน ผู้แต่งเลือกใช้คำประพันธ์ในการนำเสนอได้อย่าง
เหมาะสม โดยเฉพาะใช้กาพย์ยานี ๑๑ ในบทนำ ซึ่งเป็นบท
ไหว้ครู และต่อด้วยการสอนจรรยาแพทย์ และข้อควรปฏิบัติ
สำหรับแพทย์

๒. องค์ประกอบของเรื่อง
๒.๑ สาระสำคัญหรือแก่นเรื่อง
ในส่วนที่คัดมาเรียน เป็นการกล่าวถึงความสำคัญของ

แพทย์และคุณสมบัติที่แพทย์พึงมี ซึ่งจะช่วยให้รักษาโรคได้
ผลมากกว่าการมีความรู้เรื่องยาอย่างเดียว
๒.๒ โครงเรื่อง

การลำดับเนื้อความเริ่มด้วยบทไหว้ครู ซึ่งเป็นการ
ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโก
มารภัจ (แพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ)

ต่อจากนั้นเป็นบทไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป เนื้อหาบทต่อมา
กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และจรรยาแพทย์ ซึ่งเป็น
คุณสมบัติที่แพทย์พึงมี และตอนท้ายกล่าวถึงลักษณะทับ ๘
ประการ ได้แก่อาการของโรคชนิดหนึ่งที่แทรกซ้อนโรคชนิด
อื่นที่เป็นอยู่ก่อน

๒.๓ กลวิธีในการแต่ง
เป็นตำราที่มีเนื้อหาเฉพาะด้าน การนำเสนอเป็นการอธิบาย
โวหารเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องที่เป็นนามธรรม ผู้
เขียนเลือกใช้อุปมาโวหาร หรือบทเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยให้ผู้
อ่านเข้าใจความหมายได้ง่ายและเห็นภาพจากบทประพันธ์
ชัดเจนมากขึ้น

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑. การสรรคำ ผู้แต่งได้เลือกคำที่สื่อความหมายและ

ความคิดได้อย่างเหมาะสมทำให้เข้าใจง่าย ดังนี้

๑.๑ การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง กวีเลือกใช้

คำที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้เข้าใจได้อย่างตรงไปตรงมา

๑.๒ การใช้สำนวนไทย มีการใช้สำนวนไทยประกอบ

การอธิบาย ช่วยให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

๒. การใช้โวหาร มีการใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่าน

เข้าใจความหมายและเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่าง

อุทธัจจังอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา

ให้ตั้งตนอย่างพระยา ไกรสรราชเข้าราวี

จากตัวอย่าง สอนให้แพทย์ทำตนเหมือนราชสีห์ที่เข้า

ตะครุบเหยื่อ คือ เมื่อเห็นโรคแล้วให้รับรักษา อย่ามัวประหม่า

ฟุ้งซ่าน

คุณค่าด้านสังคม

๑. สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ฉันทศาสตร์มี
ความหมายว่า ตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร (ฉันท์) ตาม
อย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อาถรรพ์เวท ตำราอาถรรพ์เวท
เป็นพระเวทหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ จึงมีเรื่องเกี่ยวกับ
ไสยศาสตร์ด้วย จึงมักพบคำว่า “คัมภีร์ไสย์”ปรากฏอยู่ในคำ
ประพันธ์
๒. สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย ถ้าพิจารณา
ในส่วนที่กล่าวถึงทับ ๘ ประการ จะเป็นได้ว่าแพทย์แผนไทย
เป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่มีความ
จำเป็นในการรักษาโรค เราจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ล้าสมัยไม่ได้
เพราะเวชกรรมแผนโบราณเป็นที่ยอมรับเชื่อถือมาช้านาน
ก่อนที่จะรับเอาวิทยาการแพทย์แผนใหม่มาจากชาติตะวันตก
มาใช้ ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางแพทย์ จะกลับมาให้
ความสนใจในการรักษาด้วยยาสมุนไพรตามแบบโบราณ โดย
ถือว่าเป็นทางเลือกทางหนึ่งในการรักษาโรคในปัจจุบัน

๓. ให้ข้อคิดสำหรับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน สามารถ
นำข้อคิดที่ได้จากการศึกษาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ไปใช้ได้ทุก
สาขาอาชีพ เพราะไม่ว่าจะเป็นบุคคลในอาชีพใด ถ้าไม่มีความ
ประมาท ความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว
ความหลงตัวเอง และการมีศีลธรรมประจำใจ ย่อมได้รับการ
ยกย่องจากบุคคลต่างๆ
๔. ให้ความรู้เรื่องศัพท์ทางการแพทย์แผนโบราณ เช่น คำ
ว่า “ธาตุพิการ”ธาตุทั้งสี่ (ดิน น้ำ ลม และไฟ) ในร่างกายไม่
ปกติ ทำให้เกิดโรคต่างๆ ขึ้นตามกองธาตุเหล่านั้น คำว่า
“กำเดา” หมายถึงอาการไข้อย่างหนึ่งเกิดจากหวัดเรียกว่า
“ไข้กำเดา” อาการของโรคจะมีเลือดไหลออกทางจมูก เรียก
ว่าเลือดกำเดา คำว่า “ปวดมวน” หมายถึงการปั่ นป่วนใน
ท้อง

สรุป

ความเจริญทางการแพทย์ของคนไทยในอดีต เป็นสิ่งที่

ควรศึกษาเรียนรู้เพราะเกิดจาก การสั่งสมจากสติ

ปัญญา และประสบการณ์ ของบรรพบุรุษ มีการพิสูจน์มา

แล้วด้วยผลการรักษาและกาลเวลา แพทย์และเภสัชกรไทย

สามารถนำองค์ความรู้จากตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ไป

ใช้ได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนใหม่ ย่อมเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า

ความรู้จากตำราแพทย์เล่มนี้นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

นอกจากความรู้ด้านการแพทย์แล้ว คัมภีร์ฉันทศาสตร์

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นี้ ยังสอนเกี่ยวกับจรรยาบรรณ

แพทย์ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบอาชีพ

แพทย์ทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบัน


Click to View FlipBook Version