หนังสืออ่านเพิ่มเติม (E-books) ชุด ขุนหาญเมืองน่าอยู่ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เล่มที่ ๒ เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ผู้จัดทำมุ่งหวังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญ ของเรื่องราวต่างๆ ในท้องถิ่นของตนเอง เกิดความภาคภูมิใจและ ร่วมกันอนุรักษ์ศิลปะ และวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามในท้องถิ่นตนเอง ให้คงไว้ หนังสือเล่มนี้เขียนเป็นบทร้อยกรองประเภทกลอนสี่ รูปภาพ สวยงาม ภายในเล่มประกอบด้วย จุดประสงค์การเรียนรู้คำชี้แจง เนื้อเรื่องใบกิจกรรม แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน พร้อมทั้งเฉลย ใบกิจกรรมท้ายเล่ม ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงเรียน บ้านสิริขุนหาญและ ผู้เชี่ยวชาญ ทุกท่านที่กรุณาให้คำแนะนำ คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ จนทำให้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ เล่มนี้ สำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี รัตน์ติยาพร ทิพวารี
๑ เดือนกรกฎา เวียนมาอีกครั้ง เทศกาลดัง ของเมืองขุนหาญ ทุเรียนผลไม้ ลำไยเงาะหวาน พืชผักน่าทาน มากมายนักหนา ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
๒ ที่สวนบ้านพราน หลานหลานยายตา พ่อแม่พร้อมหน้า เตรียมข้าวของกัน ผลไม้ในสวน หลากล้วนหลายพันธุ์ ต่างช่วยเลือกสรร เพื่อจะขายไป ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
๓ ทุเรียนมังคุด ละมุดลำไย อีกเงาะมะไฟ ลองกองมะขาม ตระเตรียมเอาไว้ ผลไม้งามงาม เฝ้ารอทุกยาม วันงานจะมา ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
๔ เช้าวันสดใส ดีใจหนักหนา คุณยายคุณตา พ่อแม่ช่วยกัน ลูกลูกหลานหลาน ร่วมงานแข็งขัน ผลไม้สารพัน ช่วยกันขนย้าย ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
๕ นำไปที่งาน เปิดร้านเตรียมขาย จัดของจำหน่าย บ่ายเปิดพิธี ร้านรวงมาตั้ง เต็มทั้งพื้นที่ ก้านต่ายต้องนี้ ตื่นหูตื่นตา ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
๖ ผลไม้มากมาย มีหลายราคา ให้ เลือกซื้อหา ไปรับประทาน เด็กเด็กเดินชม สวยสมตระการ ทุกร้านในงาน ตกแต่งอย่างดี ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
ผู้คนหญิงชาย จับจ่ายมากมี งานประเพณี ทุกปีต้องมา ต่างซื้อต่างขาย หลากหลายสินค้ า ทุกคนถ้วนหน้า ต่างพึงพอใจ ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ๗ ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
ทุเรียนล่ำลือ ชื่อภูเขาไฟ ลิ้มลองแล้วไซร้ ติดใจตรึงตรา กลิ่นช่างหอมหวน ยั่วยวนนักหนา ผลไม้มีค่า ของเมืองขุนหาญ ๘ ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
ช่วงบ่ายวันนี้ พิธีเปิดงาน รถแห่ตระการ หน่วยงานจัดมา ตกแต่งเอาไว้ ผลไม้นานา สวยล้ำงามตา มาในวงกลม ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ๙ ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
ระบำรำร่าย เฉิดฉายสวยสม ทุกคนได้ชม ตื่นอกตื่นใจ ภาพนี้จารึก บันทึกเอาไว้ แผ่นดินยิ่งใหญ่ ขุนหาญบ้านเรา ๑๐ ผู้แต่ง : รัตน์ติยาพร ทิพวารี ภาพ : ภัทรวดี พลมณี
คำศัพท์ คำอ่าน ความหมาย จารึก จา - รึก ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็น ตัวอักษรหรือภาพบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น เฉิดฉาย เฉิด-ฉาย ว. งามผุดผาดสดใส ตระการ ตระ-กาน ว. หลากหลาย, มีต่าง ๆ ตระเตรียม ตระ- เตรียม ก. จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, โบราณใช้ว่า กระเกรียม ตรึงตรา ตรึง - ตรา ก. ติดแน่น ประเพณี ประ- เพ - นี น. สิ่งที่นิยมถือประพฤติปฏิบัติสืบ ๆ กันมา จนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม หรือ จารีตประเพณี พิธี พิ-ธี น. งานที่จัดขึ้นตามลัทธิหรือความเชื่อถือ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีเพื่อความขลัง หรือความเป็นสิริมงคลเป็นต้น ยั่วยวน ยั่ว - ยวน ก. ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งกำเริบรักหรือเกิด ความใคร่ ร้านรวง ร้าน - รวง น. ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติดๆ กันหรือใกล้ๆ กัน หลายๆ ร้าน ๑๑ ๙
คำศัพท์ คำอ่าน ความหมาย สรร สัน ก. เลือก, คัด, เช่น จัดสรร เลือกสรร สารพัน สา - ระ- พัน ว. สารพัด เช่น สารพันปัญหา, มักใช้เข้าคู่ กัน หอมหวน หอม - หวน ก. หอมตลบ ๑๒ ๙
“เที่ยวเทศกาลผลไม้” เดือนกรกฎาคม เป็นเดือนแห่งเทศกาลผลไม้ของอำเภอขุนหาญ คุณตาคุณยาย พ่อแม่และเด็กๆ ต่างช่วยกันเตรียมผลไม้ต่างๆ หลากหลาย พันธุ์เพื่อนำไปจำหน่ายในงานดังกล่าว เมื่อวันงานมาถึงทุกคนต่างช่วยกัน นำผลไม้ไปจัดวางไว้แต่เช้าในสนามกีฬาวงกลมขุนหาญ สถานที่จัดงานถูก ตกแต่งไว้อย่างสวยงาม เด็กๆ พากันเดินดูและต่างตื่นตาตื่นใจกับร้าน จำหน่ายผลผลิตต่างๆ รวมทั้งผลไม้มากมาย ในช่วงบ่ายเป็นพิธีเปิดงาน มี ขบวนรถแห่ที่จัดตกแต่งด้วยผลไม้หลายอย่าง มีความสวยงามโดย หน่วยงานต่างๆ รวมทั้งขบวนนางรำที่มาแสดงในพิธีนี้อีกด้วย ๑๓
อ่านหนังสือเพิ่มเติม แล้วไปทำใบกิจกรรมที่ ๒.๑ – ๒.๖ กันค่ะ - แบบทดสอบก่อนเรียน - ใบกิจกรรมที่ 2.1 – 2.6 - แบบทดสอบหลังเรียน ๑๔ ๙
เรื่อง การอธิบายความหมายของคำ ประโยค และสำนวนจากการอ่าน เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ................................................................................เลขที่............................ชั้น........................... ตอนที่ 1 คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ แล้วเขียนความหมายจากคำที่กำหนดให้ถูกต้อง (๕ คะแนน) คำศัพท์ ความหมาย ๑. เฉิดฉาย ๒. ตระการ ๓. ตรึงตรา ๔. ร้านรวง ๕. สารพัน ตัวอย่าง เทศกาล คราวสมัยที่กำหนดไว้เป็นประเพณีเพื่อทำบุญ …………….. ๑๕ ๙
ตอนที่ ๒ คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านประโยคหรือสำนวนจากบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ แล้วโยงเส้นจับคู่กับความหมายให้มี ความสัมพันธ์กัน (๕ คะแนน) ตัวอย่าง ระบำรำร่าย การแสดงที่สวยงามเดินตาม จังหวะดนตรี ๖. เทศกาลดัง ๗. ต่างช่วยเลือกสรร ๘. เฝ้ารอทุกยาม ๙. ร้านรวงมาตั้ง ๑๐. ลิ้มลองแล้วไซร้ เทศกาลที่มีชื่อเสียง ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติดๆ กัน แต่ละคนช่วยกันคัดเลือกของ เฝ้ารอเวลาที่จะมาถึง การทดลองชิมรสชาติของผลไม้ ๑๖ ๙
1. รายการให้คะแนน ตอนที่ 1 (ข้อละ 1 คะแนน) รายการ คะแนน 1. นักเรียนเขียนความหมายของคำที่กำหนดให้ได้ถูกต้อง 2. นักเรียนเขียนความหมายของคำที่กำหนดให้ไม่ถูกต้อง 1 0 ตอนที่ 2 (ข้อละ 1 คะแนน) รายการ คะแนน 1. นักเรียนโยงเส้นจับคู่กับความหมายได้สัมพันธ์กัน 2. นักเรียนไม่โยงเส้นจับคู่กับความหมาย หรือโยงเส้นไม่สัมพันธ์กัน 1 0 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๑๗ ๙
เรื่อง การตอบคำถามจากเรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ-นามสกุล................................................................................เลขที่..........ชั้น............. คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ แล้วตอบคำถาม โดยการทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง หน้าคำตอบที่ถูกต้อง (๑๐ คะแนน) ตัวอย่าง เทศกาลที่กล่าวถึงในบทร้อยกรองคือเทศกาลอะไร เทศกาลบุญบั้งไฟ √ เทศกาลผลไม้ ๑. เทศกาลผลไม้จัดขึ้นที่ใด ที่ว่าการอำเภอขุนหาญ วงกลมอำเภอขุนหาญ ๒. เทศกาลผลไม้ของอำเภอขุนหาญจัดขึ้นในเดือนอะไร พฤษภาคม กรกฎาคม …………….. ๑๘ ๙
๓. ใจความของเรื่องคืออะไร จำหน่ายผลไม้ในงาน รถแห่ตกแต่งด้วยผลไม้ ๔. ผลไม้ชนิดใด ไม่ใช่ ผลไม้ที่ขึ้นชื่อของอำเภอขุนหาญ เงาะ ทุเรียน อินทผาลัม ลางสาด ๕. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับเทศกาลผลไม้ของอำเภอขุนหาญ ประกวดราชาแห่งผลไม้ จำหน่ายผลไม้หลายชนิด ๖. บทความใดในบทร้อยกรองที่แสดงให้เห็นถึงการรอคอย เฝ้ารอทุกยาม วันงานจะมา ภาพนี้จารึก บันทึกเอาไว้ ๗. ลักษณะที่โดดเด่นของเนื้อทุเรียนภูเขาไฟคืออะไร มีกลิ่นหอม หวาน มัน มีกลิ่นหอมแรง หวาน มัน ๘. นักเรียนได้อะไรบ้างในการอ่านบทร้อยกรองเรื่องนี้ วิธีการปลูกผลไม้ประจำถิ่น อำเภอขุนหาญปลูกผลไม้หลายชนิด ๑๙ ๙
๙. เทศกาลผลไม้อำเภอขุนหาญจัดขึ้นเพื่ออะไร เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้เกษตรกร การอยู่ร่วมกันในสังคม ๑๐. บทร้อยกรองเรื่องนี้สอดคล้องกับสำนวนไทยใด ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ น้ำขึ้น ให้รับตัก 1. รายการให้คะแนน รายการ คะแนน 1. นักเรียนตอบคำถามโดยการทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง ได้ถูกต้อง 2. นักเรียนตอบคำถามโดยการทำเครื่องหมาย √ ลงในช่อง ไม่ถูกต้อง 1 0 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๒๐ ๙
เรื่อง การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากการอ่าน เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ-นามสกุล................................................................................เลขที่..........ชั้น............. คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ แล้วทำเครื่องหมาย √ ลงในตารางให้ถูกต้อง (๑๐ คะแนน) ที่ ข้อความ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น ตัวอย่าง เดือนกรกฎาคมมี ๓๑ วัน √ ๑ เทศกาลผลไม้อำเภอขุนหาญจัดขึ้น ในเดือนกรกฎาคม ๒ คุณตามีผลไม้ในสวนหลากหลายพันธุ์ ๓ เมื่อผลไม้ราคาตกต่ำทำให้ชาวเกษตรกร เดือดร้อน ๔ ครูรัตน์ติยาพรชอบกินทุเรียน ๕ สาวนางรำออกลีลารำแห่เทศกาลผลไม้ได้ สวยงามดีมาก ๖ ทุเรียนภูเขาไฟมีรสชาติหวานมัน มีกลิ่น หอมปานกลาง ๗ พิธีเปิดงานเทศกาลผลไม้อำเภอขุนหาญ จะจัดขึ้นในตอนบ่าย …………….. ๒๑ ๙
ที่ ข้อความ ข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น 8 รถที่ใช้ในขบวนแห่ประดับไปด้วยผลไม้ นานาชนิด 9 งานเทศกาลผลไม้จัดในบริเวณสถานกีฬา วงกลมอำเภอขุนหาญ ๑๐ ทุเรียนเป็นราชาแห่งผลไม้ 1. รายการให้คะแนน รายการ คะแนน 1. นักเรียนแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นได้ถูกต้อง 2. นักเรียนแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นไม่ถูกต้อง 1 0 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๒๒
เรื่อง คาดคะเนเหตุการณ์จากการอ่านเรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ-นามสกุล................................................................................เลขที่..........ชั้น............. คำชี้แจง ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ แล้วคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าโดยการตอบคำถามตาม ความคิดของตนเอง (๑๐ คะแนน) ตัวอย่าง ถ้าก้านไม่ชอบกลิ่นของทุเรียน นักเรียนคิดว่าก้านจะทำอย่างไร เหตุการณ์ล่วงหน้า ใช้หน้ากากปิดจมูกเพื่อไม่ให้ได้กลิ่น ๑. ถ้าผลไม้ราคาตกต่ำ จะเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น เหตุการณ์ล่วงหน้า ................................................................. ................................................................. ๒. ถ้าฝนตกในวันเปิดงานเทศกาลผลไม้ นักเรียนจะทำอย่างไร เหตุการณ์ล่วงหน้า ................................................................. ................................................................. …………….. ๒๓ ๙
๓. ถ้าคุณตานำผลไม้ไปประกวด เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร เหตุการณ์ล่วงหน้า ................................................................. ................................................................. ๔. ถ้าผลไม้ที่คุณตานำมาจำหน่ายนั้นหมด นักเรียนคิดว่าคุณตา จะทำอย่างไร เหตุการณ์ล่วงหน้า ................................................................. ................................................................. ๕. ถ้างานจัดขึ้นในวันจันทร์ นักเรียนคิดว่าเด็กๆ จะทำอย่างไร เหตุการณ์ล่วงหน้า ................................................................. ................................................................. 1. รายการให้คะแนน รายการ คะแนน 1. นักเรียนคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้อย่างสมเหตุสมผล 2. นักเรียนคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ แต่ยังไม่สมเหตุสมผล 3. นักเรียนไม่คาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้า หรือไม่ตอบ 2 1 0 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๒๔ ๙
เรื่อง สรุปเนื้อเรื่องจากการอ่าน เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ-นามสกุล................................................................................เลขที่..........ชั้น............. คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปเนื้อเรื่องที่ได้จากการอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ พร้อมทั้งวาดภาพระบายสีให้สวยงาม (๑๐ คะแนน) สรุปเนื้อเรื่องจากการอ่าน ....................................................................................................................... ....................................................................................................................... ....................................................................................................................... ....................................................................................................................... …………….. ๒๕ ๙
1. รายการให้คะแนน 1.1 การสรุปเนื้อเรื่องจากการอ่าน (5 คะแนน) รายการ คะแนน 1. สรุปเนื้อเรื่องจากการอ่านได้ถูกต้อง ครบถ้วน และสัมพันธ์กัน 2. สรุปเนื้อเรื่องจากการอ่านได้ถูกต้องบางส่วน 3. สรุปเนื้อเรื่องจากการอ่านได้แต่ยังไม่สัมพันธ์กัน 4 - 5 2 - 3 0 - 1 1.2 การวาดภาพระบายสี (5 คะแนน) รายการ คะแนน 1. วาดภาพระบายสีได้อย่างสวยงาม สอดคล้อง และสัมพันธ์กัน 2. วาดภาพระบายสีได้สอดคล้อง และสัมพันธ์กัน 3. วาดภาพระบายสีได้ แต่ยังไม่สอดคล้อง และสัมพันธ์กัน 4 - 5 2 - 3 0 - 1 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๒๖ ๙
เรื่อง การสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ ลงในแผนที่ความคิด (Mind Mapping) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชื่อ-นามสกุล................................................................................เลขที่..........ชั้น............. คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปความรู้และข้อคิดที่ได้จากการอ่านบทร้อยกรอง เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ โดยการสร้างแผนที่ความคิด (Mind Mapping) (๑๐ คะแนน) …………….. เที่ยวเทศกาลผลไม้ ๒๗ ๙
1. รายการให้คะแนน 1.1 เนื้อหา (5 คะแนน) รายการ คะแนน 1. แสดงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นคว้ามาอย่างดีมากมีขั้นตอน ครบถ้วนมีการสรุปความคิดเห็นโดยใช้เหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล 2. แสดงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นคว้ามาอย่างดีมีขั้นตอนครบถ้วน มีการสรุปความคิดเห็นโดยใช้เหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล 3. แสดงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นคว้าปานกลางขาดขั้นตอน และรายละเอียดมีการสรุปความคิดเห็น 4. แสดงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นคว้าปานกลางขาดขั้นตอน และรายละเอียดไม่มีการสรุปความคิดเห็น 5. แสดงความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่ค้นคว้าได้น้อยขาดขั้นตอนและ รายละเอียด 5 4 3 2 1 1.2 การนำเสนอผลงานและการออกแบบ (5 คะแนน) รายการ คะแนน 1. จัดทำแผนภาพอย่างเป็นระบบและนำเสนอด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุมหัวข้อและรายละเอียดที่สำคัญ และมีการใช้รูปภาพ ตัวอักษร และสีสัน เร้าความสนใจ มีมาตราส่วนและสมดุลของภาพ 2. จัดทำแผนภาพอย่างเป็นระบบและนำเสนอด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง ครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญขาดรายละเอียดที่สำคัญในบางหัวข้อ มีการใช้ รูปภาพ ตัวอักษร และสีสัน เร้าความสนใจ มีมาตราส่วนและสมดุลของภาพ 3. จัดทำแผนภาพนำเสนอด้วยข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ครอบคลุมในหัวข้อที่ สำคัญขาดรายละเอียดที่สำคัญใน มีการใช้รูปภาพ ตัวอักษร และสีสัน เร้า ความสนใจ มีมาตราส่วนและสมดุลของภาพ 4. จัดทำแผนภาพนำเสนอด้วยข้อมูลที่ถูกต้องบางส่วน ขาดบางประเด็น ที่สำคัญ และขาดรายละเอียดที่สำคัญ และขาดการใช้ ตัวอักษร และสีสัน มาตราส่วน และสมดุลของภาพไม่ได้สัดส่วน 5. จัดทำแผนภาพนำเสนอด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ขาดประเด็นที่สำคัญ และ ขาดรายละเอียดที่สำคัญ และขาดการใช้ ตัวอักษร และสีสันมาตราส่วนและ สมดุลของภาพไม่ได้สัดส่วน 5 4 3 2 1 ๒๘ ๙
2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๒๙ ๙
เรื่องที่ 2 เรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 คำสั่ง ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาท () ที่นักเรียนเห็นว่า ถูกต้องที่สุด เพียงคำตอบเดียวลงในกระดาษคำตอบ (10 คะแนน) ๑. บทร้อยกรองเรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้ให้ข้อคิดในเรื่องใดมากที่สุด ก. อย่าประมาท ข. ทุกอย่างต้องเกื้อกูลกัน ค. รู้ความต้องการของตนเอง ง. การเลือกสิ่งดีๆ ให้กับตนเอง ๒. จากเรื่อง เที่ยวเทศกาลผลไม้เหตุการณ์น่าจะเกิดขึ้นที่ใด ก. ที่ว่าการอำเภอขุนหาญ ข. ตลาดผลไม้อำเภอขุนหาญ ค. สนามกีฬาวงกลมอำเภอขุนหาญ ง. สวนผลไม้ต้นแบบในอำเภอขุนหาญ คะแนนที่ได้............ ๓๐ ๙
๓. “ร้านรวงมาตั้ง เต็มทั้งพื้นที่” คำว่า ร้านรวง จากข้อความข้างต้น หมายถึงสิ่งใด ก. ร้านจำหน่ายข้าวสาร ข. ร้านขายของที่ตั้งอยู่ติด ๆ กัน ค. ร้านขายของแห้งต่างๆ ที่เป็นอาหาร ง. องค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่สมาชิกร่วมกันจัดตั้งขึ้น ด้วยการลงหุ้นร่วมกัน ๔. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “ตระการ” ก. แปลง ข. ยิ่งใหญ่ ค. หลากหลาย ง. ทำให้อยู่กับที่ ๕. “งานประเพณี ทุกปีต้องมา” จากบทร้อยกรองดังกล่าวมีความหมาย ตรงกับข้อใด ก. ทุกปีจะมีงานประเพณี ข. คนต่างถิ่นพากันมาเที่ยวงานทุกปี ค. เป็นงานประเพณีประจำปีที่ทุกคนต้องมาเที่ยว ง. นักท่องเที่ยวมาจับจ่ายซื้อของในเทศกาลผลไม้ ๓๑ ๙
ให้นักเรียนอ่านบทร้อยกรองที่กำหนดให้ แล้วตอบคำถามข้อที่ ๖ – ๗ “ช่วงบ่ายวันนี้ พิธีเปิดงาน รถแห่ตระการ หน่วยงานจัดมา ตกแต่งเอาไว้ ผลไม้นานา สวยล้ำงามตา มาในวงกลม ระบำรำร่าย เฉิดฉายสวยสม ทุกคนได้ชม ตื่นอกตื่นใจ” ๖. พิธีเปิดงานเทศกาลผลไม้อำเภอขุนหาญ จะจัดขึ้นในช่วงใด ก. ช่วงเช้า ข. ช่วงบ่าย ค. ช่วงเย็น ง. ช่วงดึก ๗. จากบทร้อยกรองบทนี้ข้อใดเป็นข้อเท็จจริงที่มีลักษณะสมจริง ก. ช่วงบ่ายวันนี้ พิธีเปิดงาน ข. ตกแต่งเอาไว้ ผลไม้นานา ค. ระบำรำร่าย เฉิดฉายสวยสม ง. ทุกคนได้ชม ตื่นอกตื่นใจ ๘. ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริง ก. ทุเรียนมีหนามแข็งเต็มทั่วลูก ข. ทุเรียนมีรสหอมหวานมันอร่อยที่สุด ค. การกินทุเรียนทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ปกติ ง. ทุเรียนภูเขาไฟของอำเภอขุนหาญเป็นทุเรียนที่น่ากิน ๓๒ ๙
๙. “ติดแน่น” คือความหมายของคำในข้อใด ก. จารึก ข. หนึบ ค. ประทับ ง. ตรึงตรา ๑๐. ข้อใดต่อไปนี้เป็นข้อคิดเห็น ก. วันนี้อากาศครึ้มฝนคงจะตก ข. ฝนสร้างความชุ่มชื่นให้กับพื้นดิน ค. ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่เราทำนากัน ง. เดือนกรกฎาคมเป็นช่วงของฤดูฝน 1. รายการให้คะแนน รายการ คะแนน 1. เลือกตอบคำถามถูกต้อง 2. เลือกตอบคำถามไม่ถูกต้อง 1 0 2. สรุปผลการประเมิน ระดับคุณภาพ 3 หมายถึง ดี 8 - 10 คะแนน ระดับคุณภาพ 2 หมายถึง พอใช้ 5 - 7 คะแนน ระดับคุณภาพ 1 หมายถึง ปรับปรุง 1 - 4 คะแนน 3. รวมคะแนนทั้งสิ้น 10 คะแนน คะแนนที่ได้ ................ คะแนน ๓๓ ๙
บรรณานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ. วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๔๒. เกริก ท่วมกลาง และคณะ. การพัฒนาสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษา เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์ (๑๙๘๘), ๒๕๕๕. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๔๙. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, ๒๕๕๖. วิชาการ, กรม. กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : องค์กรรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.), ๒๕๕๐. สำลี รักสุทธี และคณะ. ตารางวิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา, ม.ป.ป. ๓๔ ๙