The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือพนักงาน ปรับปรุงเพิ่มเติม 18.3.2567

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Thaned Sarovat, 2024-03-18 06:24:11

คู่มือพนักงาน ปรับปรุงเพิ่มเติม 18.3.2567

คู่มือพนักงาน ปรับปรุงเพิ่มเติม 18.3.2567

หน้า 1 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ค่มือพนักงานู ของ บริษัท ดิจิตอล สเกลและเอ็นจิเนียริ่ง จํากัด เลขที่ 8 ซอย เจริญนคร 35 ถนน เจริญนคร แขวงบางลําภู ล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร 10600 โทรศัพท์ 0-2862-5225-7 โทรสาร 0-2862-5353-4 ประกอบกิจการ จําหน่าย ซ่อม สอบเทียบ เครื่องชั่ง ทุกประเภท


หน้า 2 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 สารบัญ หน้า 1. บททั่วไป 3-4 2. การจ้างงาน 5-7 3. การประกันความเสียหายจากการทํางาน 7-8 4. วันทํางาน เวลาทํางานปกติ และเวลาพัก 9 5. วันลา และหลักเกณฑ์การลา 10 6. วันหยุดและ หลักเกณฑ์การหยุด 10-11 7. การทํางานล่วงเวลา และทํางานในวันหยุด 11-12 ค่าล่วงเวลา ค่าทํางานวันหยุด 8.วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง 12 9.วินัย และโทษทางวินัย 13-14 10. สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์ 15-21 11.ระเบียบต่างๆของบริษัทฯ 22-37


หน้า 3 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ข้อมูลบริษัท บริษัท ดิจิตอล สเกลและเอ็นจิเนียริ่งจํากัด เป็นหนึ่งในบริษัทชั้ นนําในประเทศ ไทยที่เป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องชังอุตสาหกรรมคุณภาพสูง ให้กับลูกค้าตั ่ ้ งแต่ ระดับองค์กรธุรกิจขนาดย่อม จนถึง ขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถที่จะตอบสนองทุกการ ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานสําหรับห้องแล็บ การค้า การส่งออก การแพทย์ อาหาร การศึกษา เครื่องเพชร – พลอย รถบรรทุก และอื่นๆ • บริษัทฯ เริ่มจําหน่ายบริการซ่อมเครื่องชังทุกชนิดตั่ ้ งแต่ปี 2541 พร้อม ทั้ งให้บริการทางเทคนิค ประกอบไปด้วยการติดตั้ งเครื่องชังรถบรรทุก ่ การออกแบบต่อพ่วงเพื่อใช้งานครบวงจร ตลอดจนการตรวจเช็คเครื่อง ชังให้ได้มาตรฐานพ ่ ร้อมทั้ งออกหนังสือรับรอง ISO 17025 • บริษัทฯ เป็นผู้จําหน่ายสินค้าราคาเครื่องชังมาตรฐานสากลในประเทศ่ ไทยและเป็นตัวแทนจําหน่ายเครื่องชังให้กับผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงและ ่ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในวงการเครื่องชังไม่ว่าจะเป็น ่ CAS , Shinmadzu อนึ่งบริษัทฯ ได้จดลิขสิทธิ์ Brand Tiger ซึ่งเป็น Brand ของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ของบริษัทฯมากกว่า 15 ปี ทําให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ดังนั้ นทางบริษัทฯจึงมันใจในการ่ ที่จะตอบสนองทุกความต้องการเกี่ยวกับเครื่องชังให้กับลูกค้าได้ ่ สมบูรณ์ที่สุด


หน้า 4 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ผู้บริหาร ประธานกรรมการที่ปรึกษา คุณอาลักษณ์ เจนเสถียรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ คุณชัยภัทร เจนเสถียรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ คุณเกสรา กาญจนรัตนภูมิ


หน้า 5 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 การจ้างงาน คุณสมบัติทัวไปของผู้ที่จะเป็นพนักงานของบริษัท ่ 1. อายุ18 ปี บริบูรณ์ 2. สภาพร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพแข็งแรงไม่เป็นโรคติดต่อหรือโรคสังคมรังเกียจ หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่มีประวัติติดยาเสพติดหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3.ความประพฤติดี ไม่เคยมีประวัติเสื่อมเสีย ไม่เคยต้องโทษจําคุกเว้นแต่ความผิด ลหุโทษหรือความผิดซึ่งได้กระทําโดยประมาท 4. บุคลิกภาพ กริยา วาจา สุภาพเรียบร้อย ยึดถือเชื่อมั่ นในขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของไทย 5. พนักงานเพศชาย ต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร หรือได้รับการยกเว้นอย่างถาวร 6. พนักงานทุกคนต้องกรอกแบบฟอร์มใบสมัครแจ้งข้อมูลให้ตรงกับความเป็ น จริงและแสดงเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบและหากปรากฏภายหลังว่าข้อมูลหรือ เอกสารที่ให้ไว้ไม่ตรงกับความเป็ นจริง บริษัทฯสงวนสิทธิ์ที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง ทันทีโดยไม่มีการจ่ายค่าชดเชยใดๆทั้งสิ้น และหากการกระทําดังกล่าวได้ ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใดๆ แก่บริษัท จะดําเนินการเอาผิดตามกฎหมายอีก โสดหนึ่งด้วย 7. พนักงานทุกคนต้องผ่านการตรวจสุขภาพ หรือตรวจโรคบางชนิดตามที่บริษัท กําหนดก่อนเข้าปฏิบัติงาน หรือภายในเวลาอันควร และหากพบว่าพนักงานเป็ น โรคติดต่อหรือโรคสังคมรังเกียจหรือโรคที่เป็ นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน หรือ โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือติดยาเสพติด บริษัทสงวนสิทธิ์ ที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง ทันที 8. การทดลองงาน การทดลองงานพนักงานเข้างานใหม่ 8.1 ต้องผ่านการทดสอบปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบความประพฤติ ความซื่อสัตย์ ความถนัดและความสามารถ การทดลองปฏิบัติงานเป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน ในระหว่างทดลองปฏิบัติงานบริษัทจะทําการประเมินผลงาน หาก ผ่านการทดลองงาน บริษัทจะแจ้งให้ พนักงานทราบและบรรจุเข้าเป็ นพนักงาน


หน้า 6 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ประจําและหากผลการประเมินไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่บริษัทกําหนดไว้ บริษัทสงวน สิทธิ์ที่จะบอกเลิกสัญญาจ้าง 9. พนักงานทุกคนต้องยอมรับสายการบังคับบัญชา ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับ เกี่ยวกับการทํางาน หรือ ประกาศ หรือระเบียบต่างๆ หรือคําสั่ งโดยชอบและเป็ น ธรรมของผู้บังคับบัญชาหรือบริษัท อย่างเคร่งครัด 10. พนักงานทุกคนต้องยินยอมให้บริษัทพิจารณาสับเปลี่ยนโยกย้าย ตําแหน่ง หน้าที่ ความรับผิดชอบ และแผนกที่สังกัด ตามความเหมาะสมและ/หรื อ ความสามารถของพนักงาน 11. พนักงานทุกคนต้องยอมรับหลักเกณฑ์การประเมินผลงาน หลักเกณฑ์การปรับ ค่าจ้าง ตามประกาศหรือระเบียบของบริษัทอันเกี่ยวกับการนั้นๆ 12. พนักงานทุกคนต้องยินยอมให้ตรวจประวัติอาชญากรก่อนเข้าปฏิบัติงานหรือ ภายในเวลาอันสมควร แต่หากพบว่าพนักงานต้องคดีร้ายแรง หรือหนีคดี ซึ่งคดีนั้น ยังไม่สิ้ นสุดคําพิพากษา บริษัทฯขอสงวนสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างทันที หลักฐานในการสมัครงาน 1. ใบสมัครงาน ตามแบบที่บริษัทฯ กําหนดพร้อมรูปถ่ายสีขนาด 1 นิ้ ว (1 รูป) 2. สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน 1 ใบ 3. สําเนาทะเบียนบ้าน 1 ใบ 4. สําเนาทะเบียนสมรส (ถ้ามี)1 ใบ 5. สําเนาเอกสารการศึกษาและการอบรมที่เกี่ยวข้อง 6. สําเนาทะเบียนทหาร (กรณีที่เป็นพนักงานชาย) 7. สําเนาหนังสือรับรองการทํางาน (ถ้ามี) 8. แผนที่แสดงที่ตั้งของที่อยู่ตามภูมิลําเนาและที่อยู่ปัจจุบัน พร้อม หมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน 9. เอกสารการตรวจสุขภาพ หรือใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล เท่านั้น ตามรายละเอียดการตรวจสุขภาพที่บริษัทฯ กําหนด 10. ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ หรือ รถจักรยานยนต์ ( ตามตําแหน่งงาน )


หน้า 7 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 11. เอกสารตรวจประวัติอาชญากร 12. สัญญาจ้าง ตามแบบที่บริษัทฯ กําหนด สัญญาคํ้ าประกันการทํางาน (ถ้ามี)หมายเหตุ หากมีการเปลี่ยนแปลง สถานภาพส่วนบุคคล (ได้แก่ ทางครอบครัว, การศึกษา, ที่อยู่ทะเบียนราษฎร์ และ หมายเลขโทรศัพท์) จะต้องแจ้งทางฝ่ ายทรัพยากรบุคคลทันที การประกันความเสียหายจากการทํางาน เพื่อเป็นการประกันความเสียหายที่ลูกจ้างอาจก่อขึ้นในระหว่างการทํางานเป็น ลูกจ้าง นายจ้างอาจพิจารณาเรียกหลักประกันเพื่อประกันความเสียหายดังกล่าว โดย • ลักษณะหรือสภาพของงานที่นายจ้างอาจเรียกหลักประกัน ความเสียหายจากการทํางานได้ มีดังนี้ 1. งานสมุห์บัญชี 2. งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน 3. งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่ อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง 4. งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน 5. งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ 6. งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า • ประเภทของหลักประกัน เงินสด โดยเรียกเก็บได้ไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ การคํ้ าประกันด้วยบุคคล โดยวงเงินคํ้ าประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้คํ้ าประกันรับผิด ตามสัญญาคํ้ าประกันต้องไม่เกิน 60 เท่าของค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ


หน้า 8 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 วิธีการเรียกเก็บ กรณีเป็ นเงินสด นายจ้างอาจเรียกเก็บเต็มจํานวนก่อนเริ่มทํางาน หรือเรียกเก็บเป็น งวดๆโดยหักจากค่าตอบแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากการทํางาน โดยวิธีการและ จํานวนเงินเป็นไปตามสัญญาจ้างงาน และนายจ้างจะนําเงินประกันฝากไว้กับ ธนาคารเป็นบัญชีเงินฝากของลูกจ้างแต่ละคน และแจ้งชื่อและเลขที่บัญชีให้ลูกจ้าง ทราบ กรณีการคํ้าประกันด้วยบุคคล จะต้องมีอายุตั้ งแต่ 25ปี บริบูรณ์ขึ้นไป และเป็น ข้าราชการตั้ งแต่ระดับ 3ขึ้นปี หรือถ้าเป็นลูกจ้างของบริษัทฯ เอกชน หรือ รัฐวิสาหกิจ จะต้องมีเงินเดือนตั้ งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป โดยบุคคลคํ้ าประกัน จะต้องเข้ามาทําสัญญาคํ้ าประกันด้วยตนเอง ณ ที่ทําการของบริษัทฯ และเพื่อเป็น หลักฐานในการคํ้ าประกันให้นําเอกสาร ดังต่อไปนี้มายื่นแก่บริษัทฯ • หนังสือรับรองเงินเดือน • สําเนาบัตรข้าราชการ หรือสําเนาบัตรประชาชน • สําเนาทะเบียนบ้าน • แผนที่บ้าน กรณีหลักประกันลดน้อยถอยลงด้วยเหตุนําไปชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือ เกิดเหตุอื่นใดทําให้ผู้คํ้ าประกันไม่สามารถคํ้ าประกันความเสียหายได้อีกต่อไป นายจ้างมีสิทธิเรียกเก็บเงินประกันเพิ่ มเติมให้เท่ากับหลักประกันเดิม หรือเรียกให้ ลูกจ้างหาบุคคลคํ้ าประกันคนใหม่ ยอดเรียกเก็บ อัตรา/เดือน(บาท ) รวม หมายเหตุ 10,000.00 1,000.00 10,000.00 8,000.00 800.00 8,000.00 5,000.00 10 500.00 5,000.00 10 21,000 บาท ขึ้นไป 10 ค่าจ้าง 15,000 -20,000 บาท ตํ่ากว่า 15,000 บาท ระยะเวลาการเรียกเก็บ (เดือน ) ตารางการเรียกเก็บเงินคํ้าประกันการทํางาน


หน้า 9 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 วันทํางานเวลาทํางานปกติ และเวลาพัก บริษัทฯ กําหนดวันเวลาทํางานปกติ สัปดาห์ละ 6วัน พนักงานรายเดือน-รายวัน วันทํางาน วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทํางานปกติ 08.30 – 17.30 น. เวลาพัก 12.00 – 13.00 น. วันทํางาน วันเสาร์ เวลาทํางาน 08.30 – 12.00 น. วันหยุดประจําสัปดาห์ วันอาทิตย์ การบันทึกเวลาเข้าทํางาน พนักงานทุกคนต้องบันทึกเวลาเข้าทํางานและเลิกงานด้วยวิธีที่บริษัทฯกําหนด ( สแกนลายนิ้ วมือ ) *กรณีที่พนักงานสแกนนิ้ วไม่ได้ ให้แจ้งฝ่ ายทรัพยากรบุคคลทันที* การขาด ลา สายและการหักเงินสาย-เลิกงานก่อนเวลา การเข้าทํางานสาย หมายถึง พนักงานที่เข้าทํางานเกิน เวลา 08.30 น. เลิกงานก่อนเวลา หมายถึง พนักงานที่เลิกงานก่อน เวลา 17.30 น. บริษัทจะจ่าย ค่าจ้างตามเวลาที่ทํางานตามความเป็ นจริง ( คิดเป็นนาที ตามฐานเงินเดือน ) กรณีเข้างานตั้งแต่ 08.40 น. เป็ นต้นไป เกิน 3 ครั้งต่อเดือน ทางบริษัทฯ จะ ดําเนินการตามบทลงโทษทางวินัย กรณี มาสายรวมเกิน 100 นาที/เดือน ทาง บริษัทฯ จะดําเนินการตามบทลงโทษทางวินัย


หน้า 10 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 วันลาและหลักเกณฑ์การลา ประเภทการลา 7 ประเภทดังนี้ 1. ลาป่ วย -ลาได้เท่าที่ป่ วยจริง แต่ไม่เกิน 30 วัน ต่อ ปี 2. วันลากิจ - ปี ละ 7 วัน ต้องเขียนล่วงหน้า 3วันก่อนวันลา ( ให้รวมถึงการลากิจ พิเศษ เช่น ลาแต่งงาน , ลาจัดการงานศพ ) 3. ลาเพื่อคลอดบุตร -98 วัน ( ให้รวมวันลาเพื่อไปตรวจครรภ์ )ได้รับค่าจ้างบริษัท 45 วัน 4. ลาเพื่อทําหมัน -ได้รับค่าจ้าง ตามใบรับรองแพทย์ระบุ 5. ลาเพื่อรับราชการทหาร– ( เป็นการลาทบทวนกําลังพล ,เรียกตรวจสอบกําลังพล ทหารกองหนุนที่ปลดประจําการ )ได้รับค่าจ้าง ไม่เกิน 60 วัน ยกเว้น การเกณฑ์ ทหาร ( ไม่ได้รับค่าจ้าง ) 6. ลาเพื่อการฝึ กอบรม หรือพัฒนาความรู้ความสามารถ-ได้รับค่าจ้าง 7. ลาเพื่ออุปสมบท -ได้รับค่าจ้าง ไม่เกิน 15 วัน • กรณีลาฉุกเฉิน ต้องแจ้งหัวหน้างานทันที หรือ แจ้งก่อนเวลา 08.30 น. • กรณีการคิดชัวโมงการลางานทุกประเภท ยกเว้นลาคลอดบุตร ่ • ลาครึ่งวันเช้า คิด ลา 3.5 ชม. / ลาครึ่งวันบ่ายคิด ลา 4.5 ชม. วันหยุดและหลักเกณฑ์การหยุด 1. วันหยุดประจําสัปดาห์ บริษัทฯกําหนดให้มีวันหยุดประจํา สัปดาห์ๆละ 1 วัน คือวันอาทิตย์ โดยบริ ษัทฯจ่ายค่าจ้างใน วันหยุดประจําสัปดาห์ให้แก่พนักงานรายเดือน เท่ากับค่าจ้างใน วันทํางาน(สําหรับพนักงานรายวันไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างใน วันหยุดนี้) 2. วันหยุดตามประเพณีบริษัทฯกําหนดให้มีวันหยุดตามประเพณี ปี ละไม่น้อยกว่า 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ทั้ งนี้ บริษัทฯ จะประกาศวันหยุดตามประเพณีให้พนักงานทราบก่อน วันที่1มกราคม ในปี ถัดไป โดยได้รับค่าจ้างเท่าวันทํางานปกติ


หน้า 11 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 3. วันหยุดพักผ่อนประจําปี ( พักร้ อน ) บริ ษัทฯ กําหนดให้ พนักงานหยุดพักผ่อนประจําปี โดยได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างใน วันทํางานโดยพนักงานที่ทํางานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อน ประจําปี ได้6 วันทํางาน/ ปี ต้องยื่นเอกสารต่อผู้บังคับบัญชาและ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน ก่อนวันลา วันหยุดพักผ่อน ประจําปี ถ้าหากพนักงานใช้ไม่หมดในปี นั้น จะถูกสะสม มา รวมในปี ถัดไป สะสมได้ไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 12 วัน 4. การทํางานล่วงเวลาและทํางานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาและค่าทํางาน วันหยุด • ค่าทํางานในวันหยุด พนักงานที่มีสิทธิ์ ได้รับค่าจ้างใน วันหยุด วันหยุดประจําสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุด พักผ่อนประจําปี ถ้ามาทํางานในวันหยุดดังกล่าว จะได้รับค่าทํางานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า หนึ่ง เท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชั่ วโมงในวันทํางานตามจํานวน ชัวโมงที่ทํา ่ ตัวอย่าง เงินเดือน หาร 30 เท่ากับ ค่าทํางาน หยุดสําหรับพนักงานที่ได้รับค่าจ้างใน วันหยุด วิธีคิด ( 12,000 /30 = 600 บาท ) • พนักงานที่ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจําสัปดาห์ ถ้ามาทํางานในวันหยุดดังกล่าว จะได้รับค่าทํางานใน วันหยุดไม่น้อยกว่า สองเท่า ของอัตราค่าจ้างต่อวันต่อ ชัวโมงในวันทํางาน่ หรือ ตามจํานวนชัวโมงที่ทํา ่ ตัวอย่าง อัตรารายวัน คูณ 2 เท่ากับ ค่าทํางาน หยุดสําหรับ พ นั ก ง า น ที่ ไ ม่ มี สิ ท ธิ ไ ด้ รั บ ค่ า จ้ า ง ใ น วั น ห ยุ ด วิธีคิด ( 325x2 = 650 บาท )


หน้า 12 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 • ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันทํางานปกติ พนักงานที่ ทํางานมีสิทธิ์ได้รับในอัตราไม่น้อยกว่า หนึ่งเท่าครึ่งของ อัตราค่าจ้างต่อชัวโมง่ ตัวอย่าง ( เงินเดือน ) หาร 30 หาร 8 คูณ 1.5 คูณ ชัวโมง ่ OT เท่ากับ ค่าล่วงเวลาใน วันทํางานปกติ วิธีคิด ( 12,000 /30 / 8 X 1.5) X 5 = 375 บาท ) สําหรับพนักงานรายเดือน ( อัตรารายวัน ) หาร 8 คูณ 1.5 คูณ ชัวโมง ่ OT เท่ากับ ค่าล่วงเวลาในวัน ทํางานปกติ วิธีคิด (325 / 8 X 1.5) X 5 = 304.69 บาท ) สําหรับพนักงานรายวัน ค่าล่วงเวลาในวันหยุด พนักงานที่ทํางานมีสิทธิ์ได้รับในอัตราไม่ น้อยกว่า สามเท่า ของอัตราค่าจ้างต่อชัวโมง่ ตัวอย่าง ( เงินเดือน ) หาร 30 หาร 8 คูณ 3 คูณ ชัวโมง ่ OT เท่ากับ ค่าล่วงเวลาใน วันทํางานวันหยุด วิธีคิด ( 12,000 /30 / 8 X 3 ) X 5 = 750 บาท ) สําหรับพนักงานรายเดือน ( อัตรารายวัน ) หาร 8 คูณ 3 คูณ ชัวโมง ่ OT เท่ากับ ค่าล่วงเวลาในวัน ทํางานวันหยุด วิธีคิด (325 / 8 X 3 ) X 5 = 609.38 บาท ) สําหรับพนักงานรายวัน *** กรณีการทํา OT ต้องได้รับการอนุมัติจากหัวหน้า เท่านั้น แล้วหัวหน้าต้องส่ง OT ในกลุ่มไลน์ เช่นเดียวกัน *** วันและสถานที่จ่ายค่าจ้าง บริษัทฯกําหนดจ่ายค่าจ้าง (ของวันที่ 26 ของเดือนนี้ถึงวันที่ 25 ของเดือนถัดไป) ให้แก่พนักงานในวันทํางานปกติเดือนละ 1 ครั้งในวันสิ้ นเดือน โดยจ่ายให้ ณ ที่ทํา การของบริษัทฯ หรือจ่ายผ่านธนาคาร ซึ่งกําหนดให้พนักงานเปิ ดบัญชีออมทรัพย์ กับธนาคารตามที่ตกลงกัน กรณีวันที่จ่ายค่าจ้างตรงกับวันหยุดธนาคาร หรือ วันหยุดของบริษัทฯ บริษัทฯ จะจ่ายก่อนวันหยุด 1 วันทํางาน


หน้า 13 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 วินัยและโทษทางวินัย โทษทางวินัย กําหนดไว้ 4 สถาน คือ 1. ตักเตือนด้วยวาจา ผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ ายทรัพยากร บุคคลจะเป็ นผู้กล่าวตักเตือนด้วยวาจาต่อหน้าพนักงานที่ ทําผิดโดยระบุถึงวัน เวลา สถานที่ พฤติการณ์และข้อวินัย ที่กระทําผิดรวมทั้งคําตักเตือนมิให้กระทําผิด เช่นนั้นซํ้า อีก และบันทึกคําตักเตือนนั้นพร้อมทั้งคํารับหรือข้อ โต้แย้งของผู้ทําผิด (ถ้ามี) ไว้ใน หนังสื อบันทึกคํา ตักเตือนด้วยวาจา 2. ตักเตือนเป็ นหนังสือผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ ายทรัพยากรบุคคลจะเป็นผู้ออก หนังสือตักเตือน โดยระบุ ถึงวัน เวลา สถานที่พฤติการณ์และข้อวินัยที่กระทําผิด รวมทั้ งคําตักเตือนมิให้กระทําผิดเช่นนั้ นซํ้ าอีก ให้ผู้ทําผิดได้ทราบข้อความใน หนังสือตักเตือนพร้อมทั้ งมอบสําเนาหนังสือเตือนให้ผู้ทําผิดหากมีการร้องขอ 3. พักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้าง ผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ ายทรัพยากรบุคคลจะเป็นผู้ ออกคําสั่ งและหนังสือสั่ งพักงานโดยระบุถึง วันเวลา สถานที่ พฤติการณ์และข้อ วินัยที่กระทําผิดรวมทั้ งการกระทําผิดซึ่งได้ถูกตักเตือนมาแล้ว (ถ้ามี) และคํา ตักเตือนมิให้ กระทําผิดเช่นนั้ นซํ้ าอีก ให้ผู้ทําผิดได้ทราบคําสั่ ง และข้อความ ใน หนังสือสั่ งพักงาน พร้อมทั้ งมอบสําเนาหนังสือสั่ งพักงานให้ผู้ทําผิดหากมีการร้อง ขอ จํานวนวัน พักงานขึ้นอยู่กับความหนักเบาความร้ายแรงของการกระทําผิด และข้อวินัยให้เป็ นดุลพินิจของ ผู้บังคับบัญชาหรือผู้ออกคําสั่ง ผู้ที่ถูกพักงานจะ ไม่ได้รับค่าจ้างเท่ากับจํานวนวันที่ถูกพักงาน หนังสือสั่งพักงานให้ถือเป็ นหนัง ตักเตือนชนิดหนึ่ง 4. เลิกจ้าง (ปลดออก) กรรมการผู้จัดการหรื อผู้ที่ได้รับมอบหมายจาก กรรมการผู้จัดการจะเป็ นผู้ออก หนังสือ เลิกจ้าง โดยระบุถึงวันเวลา สถานที่ พฤติการณ์และข้อวินัยที่กระทําผิด ผลการสอบหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทํา ผิดรวมทั้ งการกระทําผิดที่ถูกตักเตือนมา (ถ้ามี) กําหนดวันที่จะมีผลของ การเลิก


หน้า 14 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 จ้าง ให้ผู้ถูกเลิกจ้างได้ทราบคําสั่ งพร้อมทั้ งมอบสําเนาหนังสือเลิกจ้างหากมีการ ร้องขอ โดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ ทั้ งสิ้ น ทั้งนี้การลงโทษทางวินัยไม่จําต้องเรียงตามลําดับของโทษทางวินัย แต่จะ พิจารณาจากความหนักเบาของความเสียหายซึ่งเกิดจากการกระทําความผิดนั้นๆ หรือพิจารณาจากข้อวินัยที่ทําผิดเป็ นหลัก ทั้งนี้ ให้เป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา หรือคณะกรรมการพิจารณาโทษทางวินัย ที่จะพิจารณาลงโทษ * หนังสือเตือน มีอายุ 1ปี นับจากวันที่ได้รับหนังสือเตือน *


หน้า 15 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ 1. ประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตราย หรือเจ็บป่ วย อันมิใช่เนื่องจากการทํางาน • ต้องเข้ารักษาตามบัตรรับรองสิทธิ์หรือคลินิกในเครือข่าย(ฟรี ) • กรณีไม่เข้ารักษาตามบัตรรับรองสิทธิ์ หรือคลินิกในเครือข่าย ( จ่ายเงิน ) • กรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือกรณีฉุกเฉิน เข้ารักษาโรงพยาบาลที่ใกล้ ที่สุด 2. ประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร • ฝ่ ายหญิง ลาคลอดได้ 98วัน(ให้รวมวันลาเพื่อการตรวจครรภ์ ) • บริษัทฯ จ่าย 45วัน ตามฐานเงินเดือน • ประกันสังคม จ่าย 90วัน 50% ( คิดจากฐานไม่เกิน 15,000 บาท ) • ประกันสังคมเหมาจ่ายค่าคลอด 15,000 บาท ( ไม่จํากัดจํานวน บุตร ) • ฝ่ ายชาย ประกันสังคม เหมาจ่าย 15,000 บาท ( ไม่จํากัดจํานวน บุตร ) • ค่าตรวจและค่าฝากครรภ์1,500 บาท ดังนี้ 1.อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท 2.อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่ เกิน 300 บาท 3.อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่ เกิน 300 บาท 4.อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่ เกิน 200 บาท 5.อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่ เกิน 200 บาท


หน้า 16 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 3. ประโยชน์ทดแทนในกรณีทุพพลภาพ • จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามระดับ ความสูญเสีย 50% 4. ประโยชน์ทดแทนในกรณีเสียชีวิต ได้รับ ค่าทําศ พ 50,000 บาท แ ละได้รับเงิน สงเคราะห์กรณีตาย 5. ประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาท ต่อบุตร 1คน สําหรับบุตรชอบด้วย กฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์คราว ละไม่เกิน 3 คน 6. ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ มี 2 กรณี • กรณีบําเหน็จชราภาพ จะได้รับเงินเป็ นก้อน เมื่ออายุครบ 55 ปี บริบูรณ์ ส่งเงินสมทบไม่ ถึง 180 เดือน สิ้ นสุดการเป็นผู้ประกันตน • กรณีบํานาญชราภาพ จะได้รับเงินเป็ นราย เดือ น เมื่ออ ายุครบ 55 ปี บริ บูรณ์ ส่ งเงิน ส ม ท บ 1 8 0 เดื อ น สิ้น สุ ด ค ว า ม เป็ น ผู้ประกันตน 7. ประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน มี 2 กรณี • ลาออก ได้รับเงินกรณีว่างงาน 30 % ครั้งละไม่เกิน 90 วัน • เลิกจ้าง โดยไม่มีความผิด ได้รับเงินกรณีว่างงาน 50 % ครั้ง ละไม่เกิน 180 วัน


หน้า 17 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 เครื่องแบบพนักงาน 1. บริษัทฯแจกให้พนักงานประจํา 3 ตัว ต่อ 2 ปี 2. พนักงานที่ผ่านทดลองงาน 90 วัน ( ประเมินเดือนละครั้ง )โดยได้รับการประเมินผลงานจากหัวหน้างาน บริษัทฯ แจกให้ 3 ตัว โบนัส • การจ่ายเงินโบนัสจะขึ้นอยู่กับผลประกอบการ , การ ประเมินการทํางาน ตามระเบียบที่ทางบริษัทฯได้ประกาศ ให้พนักงานทราบแต่ละปี โดยจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ คณะกรรมการของบริษัทฯ ฝึ กอบรมและพัฒนาความรู้ — บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถเพิ่ มขึ้น โดยบริษัทฯ จะจัดให้มีการฝึกอบรมเพื่อ เสริมความรู้และทักษะให้แก่พนักงาน ทั้ งในสถานที่ทํางานและ ส่งพนักงานเข้าฝึกอบรมหรือสัมมนานอกสถานที่ทํางาน ทั้ ง ภายในประเทศและต่างประเทศ ตามโอกาสอันสมควร — กีฬาสีประจําปีหรือ วันครอบครัวsSฆะบันเทิง • บริษัทฯ ได้จัดสรรงบประมาณให้พนักงานได้มีโอกาส พบปะสังสรรค์ และพักผ่อนหย่อนใจร่วมกันนอกเวลาการ ทํางาน เพื่อเป็นการเชื่อมสัมพันธไมตรีในหมู่พนักงาน และ สนับสนุนให้พนักงานซึ่ง ร่วมกันไปทัศนาจรร่วมกันเป็น หมู่คณะและสานสัมพันธ์คนในครอบครัวรักกัน เข้าใจกัน มีความสุข เบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายในเรื่องการเดินทาง • บริษัทฯ ได้จัดเบี้ยเลี้ยงค่าใช้จ่ายในการการเดินทางให้ สําหรับพนักงานที่มีความจําเป็นต้องเดินทางไปปฏิบัติงาน ตามที่ได้รับมอบหมาย หรือตามที่บริษัทฯ เป็นผู้จัดส่งไปทั้ ง


หน้า 18 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ภายในและภายนอกประเทศ โดยระเบียบการจ่ายค่าเบี้ย เลี้ยงและค่าใช้จ่ายในการเดินทางนี้ บริษัทฯ จะประกาศ หรือแจ้งเป็นแนวปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานรับทราบอย่าง ต่อเนื่อง โดยค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าใช้จ่ายอาจจะไม่เหมือนกัน เสมอไป ขึ้น อยู่กับสภาพการทํางานของแต่ละแผนกและ/ หรือตําแหน่งงาน ซึ่งอาจมีการปรับปรุงให้เหมาะสมอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจของบริษัทฯ 1. ได้รับเบี้ยเลี้ยง วันละ 1,000 บาท ในกรณีที่เดินทางจํานวน 1 คน 2. ได้รับเบี้ยเลี้ยง วันละ 700 บาท ในกรณีที่เดินทางมากกว่า 1 คน ขึ้นไป 3. ในกรณี วันที่เดินทางกลับแต่ไม่ได้นอนค้างคืนทางบริษัทฯจะจ่ายค่าเบี้ย เลี้ยง 400 บาท 4. ในกรณีไปต่างประเทศบริษัทจะจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง วันละ 300 บาท ( จ่ายเข้า ในเงินเดือน ) เงินช่วยเหลือเนื่องในโอกาสต่างๆ • เงินช่วยเหลือเนื่องในโอกาสแต่งงาน จะได้รับ 1 ครั้งตลอด การทํางานกับบริษัทฯ • เงินช่วยเหลือเนื่องในโอกาสอุปสมบทของพนักงาน จะ ได้รับ 1 ครั้ง ตลอดการทํางานกับบริษัทฯ • เงินช่วยเหลือเนื่องในการคลอดบุตร • เงินช่วยเหลือในโอกาสขึ้นบ้านใหม่ จะได้รับ 1 ครั้ง ตลอด การทํางานกับบริษัทฯ ( ชื่อพนักงานเป็นเจ้าบ้าน ) ขั้นตอนการใช้สิทธิ พนักงานประจําที่ผ่านการทดลองงานเท่านั้นที่มีสิทธิตามสวัสดิการนี้ ในกรณีที่ทั้ งฝ่ ายหญิงและฝ่ ายชายเป็นพนักงานของบริษัทฯ บริษัทฯจะมอบ ของขวัญตาม สวัสดิการนี้ให้แก่ฝ่ ายชายฝ่ ายเดียว และสิทธิของฝ่ ายหญิงถือว่าได้ใช้ สวัสดิการไปในครั้งนี้ แล้วพนักงานผู้มีสิทธิจะต้องมายื่นตามแบบคําขอที่ฝ่ าย บุคคล พร้อมสําเนาการจดทะเบียนสมรสภายใน 30วัน นับจากวันจดทะเบียน สมรส


หน้า 19 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 กรณีการคลอดบุตรใช้สิทธิได้ไม่เกิน 2คน และต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย อายุงาน เงินช่วยเหลือเนื่องด้วยแสดงความระลึกถึงต่อผู้เสียชีวิต • บริษัทฯ จะมีดอกไม้พวงหรีด และ เป็นเจ้าภาพในพิธี 1คืน หรือเจ้าภาพร่วม งบประมาณไม่เกิน 5,000 บาท ทุนการศึกษา พนักงาน , บุตร,อุปกรณ์การศึกษา และ อุปกรณ์การเลี้ยงดูบุตร การศึกษาเพื่อเพิ่ มพูนความรู้เป็นสิ่งที่สําคัญสําหรับพนักงานทุกคน บริษัทฯได้เห็น ถึงความสําคัญจึงได้จัดสวัสดิการในส่วนนี้ ขั้นตอนการใช้สิทธิ สวัสดิการสําหรับพนักงานประจํา สูงสุดระดับ ปริญญาตรี สวัสดิการสําหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพนักงาน ตั้ งแต่ระดับ อนุบาล – ปริญญาตรี สวัสดิการบุตรให้สูงสุด 2คนในกรณีที่ทั้ งฝ่ ายหญิง และฝ่ ายชายเป็นพนักงาน ของบริษัทฯ บริษัทฯ จะให้สวัสดิการนี้แก่ฝ่ ายชายฝ่ ายเดียว และสิทธิ์ของฝ่ ายหญิง ถือว่าได้ใช้สวัสดิการไปใน ครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะทําจ่ายปี ละ 1ครั้ง แจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30วันก่อนเปิ ดเทอมแรกของ ปี การศึกษาต้องแนบเอกสารแจ้งค่าเทอม จากทางสถาบัน ในการเบิกสวัสดิการ


หน้า 20 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 สัมมนาประจําปี, Outing ประจําแผนก • บริษัทฯจะกําหนดให้มีงานสัมมนา 1ครั้งต่อปี , Outing ประจําแผนก และ Outingระดับหัวหน้าแผนก 1 ครั้งต่อปี เพื่อให้พนักงานได้ผ่อนคลายจากการทํางาน เพื่อเป็นการสร้าง ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและพนักงาน ค่ารักษาพยาบาลครอบครัว 1. บิดา มารดา ( อายุ 60 ปี ขึ้นไป ) 2. บุตร ( อายุไม่เกิน 20 ปี ) 3. คู่สมรส ( จดทะเบียน / แต่งงานที่ชอบด้วยกฎหมาย ) ** เบิกเงินสูงสุด 1,000 บาท / ครั้ง สูงสุด 3 ครั้ง / ปี ประกันอุบัติเหตุ K – Bank คุ้มครองทันทีที่พนักงานทํางานและมีการรับเงินเดือนผ่านบริการ KBank Payroll Plus และสิ้ นสุดเมื่อพ้นสภาพเป็นพนักงานของ บริษัทฯ เครื่องดื่ม • บริษัทฯ เล็งเห็นความสําคัญของพนักงาน โดยเริ่มต้นด้วยการ จัดอาหารมื้ อเช้าให้กับพนักงานได้รับประทานให้อิ่ มก่อนที่จะ ลงมือทํางาน โดยไม่เกินเวลา 08.30 น. ยืมรถบริษัทฯไปใช้ในกิจธุระ • บริษัทฯมีนโยบายอนุญาตให้พนักงานยืมรถไปใช้ในกิจธุระ ส่วนตัวได้ แต่ต้องได้รับการอนุมัติก่อนไม่เกิน 3 ครั้ง ต่อปี สูงสุดครั้งละไม่เกิน 3 วัน เขียนขอใบอนุญาตใช้รถล่วงหน้า 1 วัน และต้องเติมนํ้ ามันคืนเท่าที่ตอนออกไป ส่งรูปถ่ายก่อนหลัง ภายในภายนอก เกจ์นํ้ ามัน ไมล์ระยะทาง กรณีไม่เติมต้อง จ่ายค่านํ้ ามันตามจริงและกรณีใช้Easy pass บริษัทจะดูจาก ระบบ และเรียกเก็บตอนสิ้ นเดือน


หน้า 21 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 เบี้ยขยัน 500 บาท ต่อเดือน • พนักงานจะได้รับเบี้ยขยันจะต้องไม่หยุดงานทุกกรณี ไม่ สาย สแกนนิ้วทุกช่วงเวลาที่บริษัทฯกําหนด ( อนุโลมลืม สแกนนิ้ วได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ในรอบคิดเงินเดือน ) เงินกู้ • บริษัทฯ มีนโยบายช่วยเหลือพนักงานที่เดือดร้อนทางการเงิน โดยร่วมกับสถาบันการเงินแห่งหนึ่งให้พนักงานยื่นเรื่องกู้ โดย คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ตํ่า คุณสมบัติ อายุงาน 1 ปี ไม่ได้รับการ เตือนหรือหนังสือเตือนใดๆถึงจะอนุมัติและขึ้นอยู่การ พิจารณาของบริษัทฯและสถาบันการเงินนั้ นๆด้วย ทําบุญประจําปี งานเลี้ยงสิ้นปี ปรับเงินเดือนประจําปี ** สิทธิสวัสดิการทุกอย่าง เงื่อนไข พนักงานต้องผ่านทดลองงาน เท่านั้น ยกเว้น ประกันอุบัติเหตุจาก K-Bank คุ้มครองทันที เมื่อมีการ รับเงินเดือนผ่านธนาคารกสิกรไทยและสิ้ นสุดเมื่อพ้นสภาพการเป็น พนักงานของบริษัทฯ**


หน้า 22 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ระเบียบการจ่ายเบียขยัน้ • พนักงานที่มีสิทธิได้รับเบี้ยขยันตามระเบียบนี้ ต้องมีการบันทึก เวลาเข้างาน เลิกงาน(สแกนนิ้วมือ) เท่านั้น ( อนุโลมลืมสแกนนิ้ ว ได้ไม่เกิน 2 ครั้ง ในรอบคิดเงินเดือน ) 1. ต้องเข้าทํางานให้ตรงเวลาเข้างานทั้ งเช้าและเลิกงาน 2. ต้องอยู่ทํางานเต็มเวลาทํางาน หรือไม่เลิกงานก่อนเวลาในเดือนนั้นๆ ยกเว้น บริษัทอนุญาตให้เลิกงานก่อนเวลา หรือ บริษัทอนุญาตให้ไป ปฏิบัติงานข้างนอก 3. ไม่หยุดงานทุกกรณี( รวมถึงการลาพักร้อน ) 4. ต้องทํางานในวันหยุด หรือทํางานล่วงเวลา ตามที่หัวหน้าแผนกกําหนด ทุกครั้ง ในเดือนนั้นๆ 5. เบี้ยขยันจ่ายให้พร้อมเงินเดือนของเดือนนั้น 6. ให้ใช้เวลาตามเครื่องสแกนนิ้ วเป็ นเกณฑ์กรณีผิดพลาดในการบันทึก เวลาช่วงต่างๆ ให้ทําการแก้ไขเพิ่ มเติมในงวดการจ่ายเงินเดือนในเดือน ถัดไป กรณีที่สแกนนิ้ วไม่ติดให้หัวหน้าแผนกรับรองว่าเข้าทํางานตรง เวลาและมีหลักฐานยืนยัน พนักงานคนใดแจ้งหัวหน้ างานให้ รับรอง เวลาไม่ตรงกับความเป็ นจริงและมีพฤติกรรมไม่สมควรเพื่อให้ได้มาซึ่ง เบี้ยขยันตามระเบียบนี้จะมีความผิดฐานเจตนาทุจริต โดยจะได้รับโทษ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของบริษัท 7. เวลาที่ใช้ในการคิดเบี้ยขยันต้องสแกนนิ้ ว ( บันทึกเวลา )ไม่เกิน 8.30 น. 8. อัตราเบี้ยขยัน เดือนละ 500 บาท เงื่อนไข พนักงานที่ผ่านทดลองงาน เป็ นต้นไป


หน้า 23 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 การใช้โทรศัพท์ และขับรถผิดกฏจราจร ก. การใช้โทรศัพท์มือถือ 1. บริษัทฯ ได้มีการให้โทรศัพท์ มือถือแก่พนักงาน ในส่วนงานต่างๆ ( จัดส่ง , ช่าง,ออฟฟิ ต , Sale ) 2. บริษัทฯ ได้ซื้อค่าบริการตามโปรโมชัน เพื่อให้เหมาะกับการใช้งาน ่ 3. กรณีที่พนักงานใช้บริการค่าโทรศัพท์ เกินโปรโมชัน ส่วนเกินพนักงาน่ ต้องชําระเอง ( หักจากเงินเดือนๆนั้น ) 4. กรณีที่โทรศัพท์ ชํารุด หรือ หมดสัญญา ให้นําของเก่ามาแลกคืนกับ ของใหม่ หากพนักงานไม่นํามาคืนทางบริษัทฯจะเรียกเก็บเงินตามความ เหมาะสม 5. กรณีที่โทรศัพท์ชํารุด เสียหาย อันเนื่องจากการกระทําของพนักงานเอง พนักงานต้องชดใช้ค่าเสียหายตามยอดราคาของสินค้า นั้นๆ ข. การขับรถผิดกฏจราจร บริษัทฯ ให้ความสําคัญ กับการความปลอดภัยของพนักงานในการขับรถ ส่ง ของ ( พนักงานจัดส่ง ) ออกงานนอก ( พนักงานขาย ) ที่ต้องใช้รถยนต์เป็ นพาหนะในการ ทํางาน ดังนั้นทางบริษัทฯได้กําหนดเงื่อนไข การใช้รถตามกฎจราจรดังนี้ 1. กรณีเป็ นเหตุ ที่เกิดจากการผิดกฏจราจร หากพนักงานถูกใบสั่ง เรียกเก็บเงินบริษัทฯจะจ่ายให้ 50 % ของยอดแจ้งในใบสั่งนั้น 2. กรณีที่พนักงานขับรถโดยประมาท อันเนื่องมาจากการกระทําของ ตนเอง หากถูกใบสั่ง เรียกเก็บเงิน พนักงานต้องรับผิดชอบ 100 % ตาม ยอดแจ้งในใบสั่งนั้น 3. กรณีที่พนักงานนํารถไปใช้โดยที่ไม่ได้รับอนุญาต หากเกิดความเสีย แก่ ทรัพย์สินของบริษัทฯ และตนเอง บริษัทฯจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น 4. กรณีรถชน ( บริษัทฯจะยึดหลักพิจารณาจากบริษัทประกันภัยเท่านั้น ) - พนักงานผิด บริษัทฯจะหัก 500 บาท - คู่กรณีผิด บริษัทฯ ไม่หักเงินใดๆของพนักงาน - ประมาทร่วม บริษัทฯ จะหัก 250 บาท


หน้า 24 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 การใช้สถานที่จอดรถ , สถานที่รับประทานอาหารและสถานที่สูบบุหรี่ ก. การใช้สถานที่จอดรถ 1. บริษัทฯ จัดบริเวณสําหรับจอดรถจักรยานยนต์ไว้ตรงหน้าศาลตายาย 2. ห้ามพนักงานนํารถจักรยานยนต์ ไปจอดที่อื่น นอกจากบริเวณที่บริษัทฯ จัดให้ 3. บริษัทฯ จัดบริเวณสําหรับจอดรถยนต์ สําหรับผู้บริหาร หัวหน้างาน( Sale ) และลูกค้าที่มาติดต่อบริษัทฯ ไว้ที่บริเวณหน้าบริษัทฯ 4. กรณีที่พนักงานขับรถยนต์มาทํางาน สามารถหาที่จอดรถบริเวณข้าง กําแพงหน้าบริษัทฯได้แต่ต้องจอดให้เป็ นระเบียบเรียบร้อย โดยไม่กีดขวาง การเข้าออกของรถสัญจรไปมา 5. หากพนักงานฝ่ าฝื นระเบียบนี้ จะถูกลงโทษตามข้อบังคับของบริษัทฯ ต่อไป ข. การใช้สถานที่รับประทานอาหาร 1.บริษัทฯจัดบริเวณสําหรับรับประทานอาหารให้กับพนักงาน 1 ที่ - ห้องครัวชั้น 1 2. ในออฟฟิ ต อนุโลมให้ทานอาหารกลางวันที่โต๊ะทํางานได้ ในระหว่างวัน ห้ามพนักงาน นําอาหารมารับประทาน ยกเว้น นํ้าดื่ม ลูกอม และขนมขบเคี้ยวเล็กๆน้อยๆ 3.หากพนักงานฝ่ าฝื นระเบียบนี้ จะถูกลงโทษตามข้อบังคับของบริษัทฯต่อไป ค. การใช้สถานที่สูบบุหรี่ 1. บริษัทฯจัดบริเวณสําหรับสูบบุหรี่ ให้กับพนักงานตามความเหมาะสม 2. ห้ามพนักงานสูบบุหรี่ ที่ไม่ใช่บริเวณที่บริษัทฯจัดให้ 3. หากพนักงานฝ่ าฝื นระเบียบนี้ จะถูกลงโทษตามข้อบังคับของบริษัทฯ ต่อไป


หน้า 25 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ระเบียบการบันทึกเวลาเข้างาน และการเข้าทํางานสาย การบันทึกเวลาเข้างาน บริษัทกําหนด การบันทึกเวลาเข้าทํางานไว้ ดังนี้ 1. พนักงานทุกคนต้องบันทึกเวลา ( สแกนนิ้ วมือ ) 2ครั้ง ต่อวัน คือ • เข้าทํางาน เช้า • เวลาเลิกงาน เย็น การเข้าทํางานสาย/ เลิกงานก่อนเวลา พนักงานที่เข้าทํางาน ช่วงเช้า เวลา 08.30 น. หากบันทึกเวลา ( สแกนนิ้วมือ )เกินเวลา 08.31 น. ให้ถือว่าเข้าทํางานสาย พนักงานที่เลิกงาน ช่วงเย็น เวลา 17.30 น. หากบันทึกเวลา ( สแกนนิ้วมือ )ก่อนเวลา 17.30 น. ให้ถือว่าเลิกงานก่อนเวลา เว้นแต่ ได้รับอนุญาตเป็ นกรณีไป โทษทางวินัย พนักงานที่เข้าทํางานสายและ/หรือเลิกงานก่อนเวลาข้างต้น 3 ครั้ง ภายในหนึ่งสัปดาห์จะถูกลงโทษตามระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทํางานของบริษัท ** กรณีที่พนักงานไม่สามารถสแกนนิ้ วบันทึกเวลาได้ ต้องรีบแจ้งฝ่ ายทรัพยากร บุคคล ทันที เพื่อทําการแก้ไข **กรณีที่มีการลาฉุกเฉินก่อนที่พนักงานจะออกจากบริษัทฯให้พนักงานสแกนนิ้ ว ออกทุกครั้งเพื่อประกอบการยืนยันการเขียนใบลางาน **กรณีพนักงานมาทํางานสายรวมใน 1 เดือนเกิน 100 น.จะถูกลงโทษตามระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของบริษัทฯ ** การหักสาย จะเริ่มหัก ตั้ งแต่เวลา 8.31 นาที เป็นต้นไป **การบันทึกเก็บสถิติสาย จะเริ่มตั้ งแต่เวลา 8.31 นาที เป็นต้นไป


หน้า 26 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ** พนักงานที่ไปปฏิบัติงานข้างนอก ไม่ได้กลับมาสแกนนิ้ ว บันทึกเวลาการทํางาน ให้พนักงานแจ้งกับหัวหน้างานทางไลน์เท่านั้น ภายในวัน เวลา ยกเว้น การเข้าทํางานสายหรือเลิกงานก่อนเวลานั้น จะได้รับอนุมัติ จากหัวหน้างานเป็ นกรณีไป ระเบียบการบันทึกเวลาเข้า –ออก ( สแกนนิ้วมือ ) พนักงานต้องสแกนนิ้ วเข้า –ออกทุกครั้ง ( เข้าทํางาน และ เลิกงาน )ขณะที่ พนักงานปฏิบัติงานอยู่ที่ บริษัทฯ 1. กรณีที่พนักงานปฏิบัติงานอยู่ข้างนอก ไม่สามารถกลับเข้ามาสแกนนิ้ ว มือได้ ให้พนักงานแจ้งหัวหน้างาน ทางไลน์และฝ่ ายทรัพยากรบุคคล ในวันเวลาที่ไม่ได้สแกนนิ้ วมือ 2. กรณีที่สแกนนิ้ วมือไม่ได้ ให้แจ้งฝ่ ายทรัพยากรบุคคล ทันที เพื่อทําการ แก้ไข( กรณีแจ้งในภายหลังบริษัทฯถือว่าพนักงานไม่ได้สแกนนิ้ วมือ ) 3. กรณีที่พนักงาน ลืมสแกนนิ้วมือเวลาใดเวลาหนึ่ง ทางบริษัทฯ จะเรียก เก็บเงิน ครั้งละ 20 บาท เริ่มครั้งที่ 3 เป็ นต้นไป ในรอบเดือน 4. กรณีฉุกเฉินที่พนักงานต้องกลับก่อนเวลา ให้พนักงานสแกนนิ้ วมือออก ทุกครั้งแล้วกลับมาเขียนใบลาในวันถัดไป 5. หากลืมสแกนนิ้วมือ ตั้ งแต่ครั้งที่3 เป็นต้นไปพนักงานจะไม่ได้รับเบี้ย ขยันในเดือนนั้ นๆ 6. กรณี ลืมสแกนนิ้วมือเกิน 3 ครั้ง ต่อเดือน ทางบริษัทฯถือว่า พนักงาน ละทิ้งหน้าที่และจะถูกลงโทษทางวินัย ต่อไป 7. กรณีสแกนนิ้ วออกก่อนเวลาโดยไม่มีการแจ้งใดๆ หรือมีเหตุผลอัน สมควรให้ถือเป็นออกก่อนเวลาเลิกงาน ไม่จ่ายค่าจ้างเป็นนาที ตามฐาน เงินเดือน


หน้า 27 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ระเบียบการประเมินผลการปฏิบัติงาน 1. แบบประเมิน ให้ใช้แบบฟอร์มที่บริษัทฯกําหนดตามตัวอย่างที่แนบท้าย ประกาศนี้ • วิธีการประเมิน ฝ่ ายทรัพยากรบุคคลจะลงสถิติการ ขาด ลา สาย และหนังสือ เตือน ( ไม่รวมลาพักร้อน ) ในใบประเมินและส่งให้แต่ละแผนก ล่วงหน้า1 เดือน ก่อนครบกําหนดปรับค่าจ้างและโบนัส กรณีพนักงาน ให้หัวหน้างานเป็นผู้ประเมินและส่ง เสนอให้กรรมการผู้จัดการพิจารณา กรณีหัวหน้างาน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน หัวหน้างาน แล้วเสนอให้กรรมการ ผู้จัดการเป็นผู้ประเมินและอนุมัติ ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี **เมื่อการประเมินผ่านขั้นตอนภายในแผนกแล้วให้ส่งกลับฝ่ าย ทรัพยากรบุคคลโดยเร็วและให้ฝ่ าย ทรัพยากรบุคคล รวมคะแนน เปรียบเทียบเกรดเพื่อทําการปรับ เงินเดือนและโบนัสตามระเบียบ ต่อไป 2. การคํานวณคะแนน กรณีพนักงาน และหัวหน้างาน ให้รวมคะแนนแต่ละข้อแล้วเปรียบเทียบเกรด


หน้า 28 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 3. เกณฑ์การปรับเงินเดือนกําหนดไว้ 8ระดับ คือ เกรด A ปรับเงินเดือนอัตรา 8 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด B + ปรับเงินเดือนอัตรา 7 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด B ปรับเงินเดือนอัตรา 6 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด C+ ปรับเงินเดือนอัตรา 5 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด C ปรับเงินเดือนอัตรา 4 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด D+ ปรับเงินเดือนอัตรา 2 % โดยประมาณของเงินเดือน เกรด D จะไม่ปรับเงินเดือน เกรด F จะไม่มีการปรับเงินเดือนและโบนัส • เปรียบเทียบการทําผิดวินัย กรณีที่พนักงานถูกตักเตือนเป็ นหนังสือลาย ลักษณ์อักษร ครั้งที่ 1 พิจารณาไม่มีโบนัส กรณีที่พนักงานถูกตักเตือนเป็ นหนังสือลาย ลักษณ์อักษร ครั้งที่ 2 พิจารณาไม่ปรับเงินเดือน


หน้า 29 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3


หน้า 30 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 คะแนนการขาด ลา มาสาย เปรียบเทียบเกรด กําหนดเกรดไว้ 8ระดับคือ • เกรด A คะแนน 175 –200 คะแนน • เกรด B+ คะแนน 150 –174 คะแนน • เกรด B คะแนน 125 – 149 คะแนน • เกรด C+ คะแนน 100 –124 คะแนน • เกรด C คะแนน 75 – 99 คะแนน • เกรด D+ คะแนน 50 – 74 คะแนน • เกรด D คะแนน 25 – 49 คะแนน • เกรด F คะแนน 0 – 24 คะแนน เกณฑ์การพิจารณาโบนัส ** หมายเหตุ โบนัส คิดตามฐานเงินเดือนแต่ละบุคคล ลักษณะการประเมินมี 2 กรณี 4.1 กรณีพนักงานทดลองงาน ต้องผ่านการประเมินผลงานภายใน 90 วัน บริษัทฯจะให้ผ่านงานก็ต่อเมื่อผลการ ประเมินได้เกรด C ขึ้นไป หากผลการประเมินได้เกรด D ให้ถือว่าไม่ผ่านทดลองงานต้องเลิกสัญญาจ้าง 4.2 กรณีประเมินพนักงานประจําปี เป็นการประเมินการปรับเงินเดือน ( ฐานใหม่ ) และโบนัส ( สิ้ นปี )


หน้า 31 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 5. เกณฑ์การประเมินและการปรับเงินเดือนและโบนัส ระดับพนักงาน • หัวหน้างานประเมิน • สถิติการขาด ลา สาย • หนังสือเตือน ( โทษทางวินัย ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทํางานของบริษัทฯ ) • การทํางานผิดพลาด • ผลการทํางาน พนักงานช่าง ( ยอดการซ่อมงานและความพัฒนา ฝีมือในการทํางาน ) พนักงานขาย ( ยอดการขาย ) พนักงานบัญชี ( ยอดจากการติดตามทวงหนี้ ) พ นั ก ง าน จัด ส่ ง ( ส่ ง ง าน ลู ก ค้าได้ต ามกําห น ด เรียบร้อย ) ระดับหัวหน้างาน • ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมิน • สถิติการขาด ลา สาย • หนังสือเตือน ( โทษทางวินัย ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทํางานของบริษัทฯ ) • การทํางานผิดพลาด • ผลการทํางาน • กรรมการผู้จัดการประเมิน


หน้า 32 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 เกรดคะแนนประเมินผลงาน ( ลูกทีม +หัวหน้า+MD ) • เกรด A คะแนน 91 – 100 คะแนน • เกรด B+ คะแนน 81 – 90 คะแนน • เกรด B คะแนน 71 – 80คะแนน • เกรด C+ คะแนน 61 – 70คะแนน • เกรด C คะแนน 51 – 60คะแนน • เกรด D+ คะแนน 41 – 50คะแนน • เกรด D คะแนน 0 – 40คะแนน สัดส่วนหลักเกณฑ์การพิจารณา เกรดคะแนนประเมิน ( สถิติ ขาด ลา สาย + ผลงานทั้ง 3 ส่วน ) • เกรด A คะแนน 175 –200 คะแนน • เกรด B+ คะแนน 150 –174 คะแนน • เกรด B คะแนน 125 – 149คะแนน • เกรด C+ คะแนน 100 –124คะแนน • เกรด C คะแนน 75 – 99คะแนน


หน้า 33 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 • เกรด D+ คะแนน 50 – 74คะแนน • เกรด D คะแนน 25 – 49คะแนน • เกรด F คะแนน 0 – 24คะแนน 6.หลักเกณฑ์การพิจารณา พนักงานดีเด่น 6.1 การกําหนดกลุ่มพนักงานดีเด่น 6.1.1 กลุ่มพนักงานประจํา 6.2 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิจะได้รับการคัดเลือก 6.2.1 เป็นพนักงานประจํา ระดับพนักงานและ SENIOR 6.2.2 มีอายุงานตั้ งแต่ 1 ปี ขึ้นไป 6.2.3 เป็ นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย ระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ หรืออยู่ ระหว่างการถูกสอบสวนทางวินัย ความผิด 6.2.4 เป็ นผู้ประพฤติ ปฏิบัติตน เป็ นแบบอย่างที่ดีในการทํางาน การรักษา กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทฯ ปริมาณงาน ผลงานในการทํางาน ความผิดพลาด ในการงาน การตรงต่อเวลา และรวมถึงการพัฒนาตนเอง 6.3 วิธีการคัดเลือก 6.3.1 สถิติการ ขาด ลา สาย ลืมสแกนนิ้ ว ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นลายลักษณ์ อักษร พักงาน 6.3.2 หัวหน้างานประเมินผลงาน 6.3.3 ผู้บริหารพิจารณาการประเมิน 6.3.4 ผลโหวตจากพนักงาน 6.4 สัดส่วน เกณฑ์การประเมิน อัตรา 100 % 6.4.1 สถิติการ ขาด ลา สาย ลืมสแกนนิ้ ว ตักเตือนด้วยวาจา ตักเตือนเป็นลายลักษณ์ อักษร พักงาน ( ไม่เกินเกณฑ์ ) และ ผลการทํางาน ความผิดพลาด อัตรา 50% 6.4.2 หัวหน้างานประเมินผลงาน 25% 6.4.3 ผู้บริหาร พิจารณาประเมิน อัตรา 25% 6.5 การมอบรางวัลและเชิดชูเกียรติคุณ


หน้า 34 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกพนักงานดีเด่นจะได้รับมอบใบประกาศเกียรติคุณ หรือ โล่ เกียรติคุณ พนักงานดีเด่น ประจําปี พร้อมกับรางวัลที่ทางบริษัทฯได้จัดไว้ ( พนักงานดีเด่นมีทั้ งหมด 3 ท่าน ) 7.พนักงานอายุงาน 20 ปี บริษัทฯจะมอบรางวัล พร้อมโล่เกียรติคุณ ระเบียบการลาออก พนักงานที่ต้องการลาออกให้เขียนใบลาออกเสนอ หัวหน้า แผนก พิจารณาและอนุมัติ และนําส่งใบลาออกที่ได้รับอนุมัติต่อฝ่ าย ทรัพยากรบุคคล พนักงานต้องเขียนใบลาออกล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน ** หากพนักงานออกจากงานโดยฝ่ าฝื นระเบียบนี้ บริษัทกําหนดมาตรการ ดังนี้** 1. บริษัทจะระงับการจ่ายเงินเดือนที่ยังคงค้างทันที 2. บริษัท จําเป็น ต้องแจ้งสาเหตุการสิ้ นสุดความเป็นผู้ประกันตน ต่อสํานักงานประกันสังคม ด้วยสาเหตุ ข้อ5.“ไล่ออก/ปลดออก/ให้ออก เนื่องจากกระทํา ความผิด” ซึ่งนั้นหมายถึงพนักงานคนนั้ นเสียสิทธิ์ ที่จะได้รับ ความคุ้มครองจากประกันสังคม บางกรณีทันที 3. บริษัทสงวนสิทธิ์ ที่จะไม่ออกหนังสือรับรองการผ่านงานให้หาก ออกจากงานผิดระเบียบนี้ 4. กรณีที่พนักงานครอบครองทรัพย์สินของบริษัทฯ พนักงานต้อง ส่งคืนให้ครบตามสภาพที่ได้รับทั้ งหมด กรณีที่ทางบริษัทฯไม่ได้ รับคืนหรือเสียหาย บริษัทฯจะหักเงินเดือน (งวดสุดท้ายที่ทําค้าง ไว้ )


หน้า 35 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 หลักเกณฑ์การเกษียณอายุ เกษียณอายุ หมายถึง พนักงานที่อายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ ต้องพ้นสภาพการเป็ น พนักงาน พนักงานที่ครบการเกษียณอายุในปี ใด บริษัทฯจะให้พนักงานผู้นั้น พ้น สภาพจากการเป็ นพนักงาน นับตั้งแต่ วันที่ 1มกราคม ของปี ถัดไป โดยได้รับ ค่าชดเชยตามกฎหมาย ** ในกรณีจําเป็ น บริษัทฯ อาจจะพิจารณา ให้พนักงานทํางานต่อ ตามความ เหมาะสม ** เงื่อนไข ในการขอใช้สิทธิ 1. พนักงานต้องอายุครบ 60 ปี ขึ้นไป 2. ต้องแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ก่อนอายุครบ 60 ปี 3. พนักงานพ้นสภาพการเป็นพนักงาน หรือ นายจ้าง ลูกจ้าง ตกลงกันว่าจะจ้างต่อ หรือไม่ก็ได้ 4. กรณีที่พนักงานใช้สิทธิเกษียณอายุ หาก นายจ้าง จ้างทํางานต่อ อายุงานต้องเริ่ม นับใหม่ทันที และทางบริษัทฯสามารถกําหนดอัตราค่าจ้างใหม่ 5. ค่าชดเชยจากการเกษียณอายุนั้น นายจ้างจะจ่ายครั้งเดียว หรือแบ่งจ่าย ขึ้นอยู่กับ นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน 6. การรับค่าชดเชยการเกษียณอายุ สามารถรับได้ครั้งเดียว ( จากนายจ้างคนเดิม ) แม้จะมีการตกลงจ้างงานลูกจ้างต่อ 7. อัตราค่าชดเชยการเกษียณอายุ จะจ่ายตามอายุงานของลูกจ้าง ดังนี้ . อายุงาน 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้รับค่าชดเชย 30 วัน . อายุงาน 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชย 90 วัน . อายุงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชย 180 วัน . อายุงาน 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชย 240 วัน . อายุงาน 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้รับค่าชดเชย 300 วัน . อายุงาน 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน ( ค่าชดเชยจากการเกษียณอายุ ใช้อัตราเดียวกับการเลิกจ้างในกรณีปกติ )


หน้า 36 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 หลักเกณฑ์สิทธิพักผ่อนประจําปี ( พักร้อน ) ตามพระราชบัญญัติ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เมื่อพนักงานมีทํางานติดต่อครบ 1 ปี บริบูรณ์ ให้มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจําปี ได้ตั้งแต่วันที่ครบรอบการทํางาน ตามที่ กฏหมายกําหนดโดยให้สิทธิพักร้อนได้ดังต่อไปนี้ 1. พนักงานทํางานติดต่อ ครบ 1 ปี การทํางาน 2. สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจําปี บริษัทฯกําหนดให้ 6 วัน / ปี 3. วันหยุดพักผ่อนประจําปี ถ้าหากพนักงานใช้ไม่หมดในปี นั้น จะถูก สะสม มารวมในปี ถัดไป 4. การสะสมวันหยุดพักผ่อนประจําปี ได้ไม่เกิน 2 ปี รวมแล้วไม่เกิน 12 วัน 5. ในกรณีที่บริษัทฯเลิกจ้างพนักงานโดยที่พนักงานไม่มีความผิด พนักงานมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจําปี คิดตามสัดส่วน ของการทํางานในปี ที่ถูกเลิกจ้างและได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อน ประจําปี ที่สะสมมา 6. ในกรณีที่พนักงานบอกเลิกสัญญาจ้าง ( ลาออก ) หรือ กรณีบริษัทฯ เลิกจ้างโดยที่พนักงานมีความผิด พนักงานมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างใน วันหยุดพักผ่อนประจําปี ที่ได้สะสมมา แต่พนักงานจะไม่ได้รับค่าจ้าง วันหยุดพักผ่อนประจําปี ในปี นั้นๆ ( พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ) 7.การหยุดพักผ่อนประจําปี แต่ละครั้ง หยุดติดต่อกันห้ามเกิน 3วัน ทํางาน และยื่นเอกสารต่อหัวหน้างานเสนออนุมัติ และต้องแจ้ง ล่วงหน้าอย่างน้อย 3วัน ก่อนวันลา ห้ามพนักงานในแผนกเดียวกัน ลาพร้อมกัน เกิน 3 คน ในวัน เวลานั้ น กรณีลางานตรงกัน ทางบริษัทฯจะให้สิทธิลางานแก่ พนักงานผู้ที่ ยื่ นใบลาก่อน เรียงตามลําดับ


หน้า 37 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 1. ให้พนักงานทุกระดับ ศึกษาคู่มือนี้ ให้มีความเข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง 2. พนักงานทุกคนจะปฏิเสธว่าไม่ทราบเงื่อนไข หลักเกณฑ์และ แนวปฏิบัติตามข้อบังคับการทํางานนี้ไม่ได้ 3. พนักงานระดับหัวหน้างานและระดับบริหารเป็นผู้ควบคุมดูแล ให้พนักงานระดับปฏิบัติการปฏิบัติตามอย่างถูกต้องและ เคร่งครัด ระเบียบการแต่งกาย *** จันทร์ –ศุกร์ : เสื้อฟอร์มบริษัท กางเกงสีดํา สีกรม ยีนส์( สีสุภาพ ตามความเหมาะสม )*** ***การแต่งกายวันเสาร์ :ให้แต่งกายสุภาพเรียบร้อย *** ข้าพเจ้ารับทราบและจะนําไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ............................................ ( ........................................ ) ช่าง -จัดส่ง ออฟฟิ ตชาย ออฟฟิ ตหญิง พนักงานใหม่


หน้า 38 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 บันทึก …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………


หน้า 39 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3 บันทึก …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………..


หน้า 40 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3


หน้า 41 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3


หน้า 42 แก้ไขตามข้อบังคับการทํางาน วันที่ 18 มีนาคม 2567ครั้งที่ 3


Click to View FlipBook Version