พระมหากษัตริย์ที่มี
บทบาทในการ
สร้างสรรค์ชาติไทย
รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1.นายศรีบดินทร์ การสอาด ม.4/13 เลขที่9
2.นายก่อ ทองพันธ์ ม.4/13 เลขที่11
3.นายชัชวิน ชัยธนโสภณ ม.4/13 เลขที่12
4.นายพรรยชญ์ สาระพันธ์ ม.4/13 เลขที่16
5.นางสาวณัฏฐ์พิชชา เสสแสงศรี ม.4/13 เลขที่22
6.นางสาวธัญวรัตน์ เจริญเชาว์ ม.4/13 เลขที่23
7.นางสาวสุชาดา โคตรสมบัติ ม.4/13 เลขที่24
8.นางสาวภคมน สนณกุล ม.4/13 เลขที่27
9.นางสาวพิมพ์วรีย์ เจริญพร ม.4/13 เลขที่29
10.นางสาวกัญญารัตน์ แก้วธรรมมา ม.4/13 เลขที่33
คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาประวัติศาสตร์ ชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 4 เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ ในเรื่องพระมหากษัตริย์ที่มี
บทบาทในการสร้างสรรค์ชาติไทย และได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็น
ประโยชน์กับการเรียน
ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน
นักศึกษา ที่กำลัง หาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
ผู้จัดทำ
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2565
รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชประวัติ
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วงเสด็จพระราชสมภพ
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรง
พระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดา
ทรงพระนามว่า ดาวเรืองได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ
ได้ย้ายราช ธานีจากกรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 21 เมษายน
พ.ศ. 2325พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลก
มหาราช ครองราชสมบัติได้ 27 ปีเศษ ตั้งแต่ทรง
มีพระชน์มายุได้ 47 พรรษา ได้เสด็จสู่สวรรคต
เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352
พระราชกรณียกิจสำคัญ
• เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์จักรี
• ได้ทรงชําระกฎหมาย เรียกว่ากฎหมายตรา 3 ดวง
• พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงได้ซ่อมแซมปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม และได้
ทรงยกสถาปนาตําแหน่งพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ ทำสังคายนาสอบสวนพระ
ไตรปิฎกให้ถูกต้อง
• การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ให้เป็นราชธานี
• ด้วยพระปรีชาสามารถในการทำสงคราม ได้ทรงให้ทัพของสมเด็จพระบวรราชเจ้า
มหาสุรสิงหนาทไปสกัดทัพพม่าที่บริเวณทุ่งลาดหญ้า ทำให้พม่าต้องชะงักติดอยู่บริเวณ
ช่องเขา แล้วทรงสั่งให้จัดทัพแบบกองโจรออกปล้นสะดม จนทัพพม่าขัดสนเสบียงอาหาร
รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระ
มหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสติเมื่อ
24 กุมภาพันธ์ w.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 3
ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมร้าช
โอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลก
มหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราช
ชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทร่
สงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬโลก
มหาราช เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้า
ศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ณ วัดบางหว้าใหญ่)
พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
พระราชกรณียกิจสำคัญ
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบ
ปรามเมือง
นางรอง นครจำปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการส่งครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดาจุฬโลก ได้ปราบดาภิษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า
กรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตำบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่าย
เหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตำบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจำ
พรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิง
บุญรอดพระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 ค่ำ ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวร
สถานมงคล" ซึ่งดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346
การทำนุบำรุงบ้านเมืองการปฏิสังขรณ์วัด โปรดให้แกะลายสลักที่บานประตู พระวิหารพระศรีศากยมุนี ณ วัดสุทัศน์ สร้างพระประทาน
ใน พระอุโบสถวัดแจ้ง และพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชรายได้ของแผ่นดิน ได้จากการเก็บภาษีอากรทางด้านการ
ค้า ที่ทำตามแบบเดิม คือให้พรคลังสินค้ามีอำนาจ ในการซื้อขายการปกครอง นั้นคงทรงไว้แบบเก่า แต่งตั้งเจ้า
นายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้ากำกับราชการ กฎหมาย ทรงตราพระราชกำหนดสักเลขและขายฝิ่ น สถาปัตยกรรมขยายเขตพระบรมเหกร
ชนครเขื่อนขันธ์ประเพณีพิธีกรรมพื้นาศ และการตั้งโรงทานการใช้ธงช้างเป็นธงชาติ ช้างเผือก 3 เชือกได้แก่ พระยาเศวตกุญชร
พระยาเศวตไอยรา และพระยาเศวตคชลักษณ์ศาสนา ทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น การปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม การสังคายนา
สวดมนต์ การสร้างพระตรปิฎก การส่งสมณทูตไปประเทศลังกาวรรณคดีและกวี มีรัตนกวีคู่พระหฤทัย เช่น
พระสุนทรโว้หาร สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส นายนรินทร์ธิเบศร์ ( อิน ) พระยาตรัง
รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระ
มหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระ
ราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ
สมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ
วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31
มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์
ชายทับ" พ.ศ. 2365พระองค์ชายกับ ได้รับสถาปนา
เป็นกรมหมี่นจษฏาบดินทร์กำกับราชการกรมท่า กรม
พระคลังมหาสมบัติ กรมพระตำรวจว่าการฎีกา นอกจาก
นี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แด่งสำเภาหลวงออกไป
ค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานาม
ว่า "เจ้าสัว"
พระราชกรณียกิจสำคัญ
ด้านความมั่นคง พระองค์ได้ทรงป้องกันราชอาณาจักรด้วยการส่งกองทัพไปสกัดทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่ง
เวียงจันทน์ ไม่ให้ยกทัพเข้ามาถึงชานพระนครและขัดขวางไม่ให้เวียงจันทน์เข้าครอบครองหัวเมืองอีสานของสยามด้าน
การคมนาคมในรัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญ มาก
ในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง
ด้านการทำนุบำรุงศาสนา พระองค์ทรงเสื่อมใส่ในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น
พระประธานในอุโบสถวัดสุท้ศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารวัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายก และวัดนางนอง
ด้านการศึกษา ทรงทำบุบำรุงและสนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงศาธิราช
สนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณี
ด้านการค้ากับต่างประเทศพระองค์ทรงสนับสนุนส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ทั้งกับชาวเอเชียและชาวยุโรป โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการค้ากับจีนมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์
ทรงดำรงพระอิสสริยศเป็นกรมหมื่นเจบฎาบดินทร์ ส่งผลให้พระคล้งสินค้ามีรายได้เพิ่มมากขึ้น
รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวย
ราชสมบัติในวันพุธ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีกุน ยังเป็น
โทศก พ.ศ. 2394 รวมดำรงสิริราชสมบัติ 16 ปี 6
เดือน และมีพระราชโอรสธิดารวมทั้งสิ้น 84
พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ
เดือน 11 ปีมะโรง เวลาทุ่มเศษ ตรงกับวันที่ 1
ตุลาคม พ.ศ. 2411 สิริพระชนมพรรษา 64
พรรษา วัดประจำรัชกาลคือวัดราชประดิษฐสถิต
มหาสีมารามราชวรวิหาร
พระราชกรณียกิจสำคัญ
1.ด้านวรรณคดีพุทธศาสนา พระองค์ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงเป็นอย่างดี พระ
ราชนิพนธ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทร้อยแก้ว บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ ได้แก่
ชุมนุมพระบรมราโชบาย 4 หมวด คือ หมวดวรรณคดี โบราณคดี ธรรมคดี และ
ตำรา
ตำนานเรื่อง พระแก้วมรกต เรื่องปฐมวงศ์
ทรงริเริ่มให้มีการค้นคว้าศิลาจารึกในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก คือ จารึกหลักที่ 1
ของพ่อขุนรามคำแหงและจารึกหลักที่ 4 ของพระยาลิไทย
2.ด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงฟื้ นฟูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง โดยทรงตั้ง
ธรรมยุตติกาวงศ์ขึ้น เป็นนิกายใหม่ในพระพุทธศาสนา ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรม
วินัยและระเบียบแบบแผน ด้านพระพุทธศาสนา
รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรเปนพระ
มหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี มี
พระนามเดิมว่า”สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์”เป็นพระราชโอรส
ของพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระนางเธอ
พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ (ต่อมาคือ สมเด็จ พระเทพศิริ
นทราบรมราชินี) พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติใน
พ.ศ.2411 เมื่อ ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษาเนืองจาก
ทรงมีพระชนมายุยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงต้องมีผู้สําเร็จรา
ชการแทนพระองค์ จนเมื่อพระองค์เสด็จทรงมีพระชนมายุ
บรรลุนิติภาวะแล้วใน พ.ศ. 2416 จึงทรงมีพระราชอำนาจใน
ฐานะพระมหากษัตริย์โดยสมบูรณ์
พระราชกรณียกิจสําคัญ
1.ด้านการไปรษณีย์โทรเลข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมาก
ต่อไปในอนาคต พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการก่อสร้างวางสายโทรเลขสำหรับสายโทรเลขสายแรกของประเทศ
เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ.2418 จากกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ ระยะทาง 45 กิโลเมตร และได้วางสายใต้น้ำต่อยาวออกไปจนถึงประภาคาร
ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาสำหรับบอกข่าวเรือเข้า - ออก ต่อมาได้วางสายโทรเลขขึ้นอีกสายหนึ่งจากกรุงเทพฯ - บางปะอิน และขยายไปทั่ว
ถึงในเวลาต่อมา
2.ด้านการโทรศัพท์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล และพระปรีชาสามารถอย่างมากในการ
พัฒนาประเทศ โดยกระทรวงกลาโหมได้นำโทรศัพท์อันเป็นวิทยาการในการสื่อสารที่ทันสมัยเข้ามาทดลองใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.
2424 จากกรุงเทพฯ - สมุทรปราการ เพื่อแจ้งข่าวเรือเข้า - ออกที่ปากน้ำมต่อมากรมโทรเลขได้มารับช่วงต่อในการวางสายโทรศัพท์
ภายในกรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลา 3 ปีจึงแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการกับประชาชน และพัฒนามาจนกระทั่งทุกวันนี้
3.ด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยในการศึกษารูปแบบใหม่โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการตั้ง
โรงเรียนขึ้นเพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาทั่วกัน เพราะการศึกษาสมัยนั้นส่วนใหญ่ยังศึกษาอยู่ในวัด เมื่อมีการสร้างโรงเรียนและการ
ศึกษาเจริญก้าวหน้าขึ้นเท่ากับเป็นการบ่งบอกถึงความเจริญทางด้านวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่ง
แรกเมื่อปี พ.ศ. 2444 และโปรดเกล้าฯ ให้มีการสอบไล่สามัญศึกษาขึ้นอีกด้วย เพื่อเป็นการทดสอบความรู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างโรงเรียนหลวงขึ้นอีกหลายแห่ง กระจัดกระจายไปตามวัดต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและ
ส่วนภูมิภาค โรงเรียนหลวงแห่งแรกที่สร้างขึ้นในวัด คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงที่ตั้งขึ้นมานี้เพื่อให้บุตรหลานของ
ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้กัน การศึกษาขยายตัวเจริญขึ้นตามลำดับด้วยความสนใจของประชาชนที่ต้องการมีความ
รู้มากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้โอนโรงเรียนเหล่านี้อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการ มีการพิมพ์ตำราพระราชทาน เพื่อเป็น
ตำราในการเรียนการสอนด้วย
4.ด้านการขนส่งและสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้คณะเสนาบดีและ
กรมโยธาธิการสำรวจเส้นทาง เพื่อวางรากฐานการสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ มีการวางแผนให้ทางรถไฟสายนี้ตัดเข้า
เมืองใหญ่ๆ ในบริเวณภาคกลางของประเทศแล้วแยกเป็นชุมสายตัดเข้าสู่จังหวัดใหญ่ทางแถบภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจาก
เป็นหัวลำโพงเมืองที่เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้า การสำรวจเส้นทางในการวางเส้นทางรถไฟนี้เสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2434 และในวันที่ 9
มีนาคม พ.ศ. 2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อสร้างทางรถไฟครั้งแรกที่
เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยโปรดเกล้า ฯ ให้ทางรถไฟสายนี้เป็นรถไฟหลวงแห่งแรกของไทย
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (1 มกราคม พ.ศ.
2424 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย
รัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันเสาร์
เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2424
เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 32 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ
พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26
พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ปีฉลู รวมพระชนมพรรษา 44 พรรษา
เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระราชกรณียกิจสําคัญ
ด้านการเศรษฐกิจ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลัง
ออมสิน พ.ศ.2456 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้าน
เศรษฐกิจของประเทศ
ด้านสังคม เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและทรงจัด
ตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (วชิราวุธวิทยาลัย ในปัจจุบัน)
ด้านศิลปวัฒนธรรมทรง ตั้งกรมมหรสพ เพื่อฟื้ นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย และยัง
ได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง
ด้านความหลากหลายทางเพศ ในสมัยนั้นสังคมได้ได้รับวัฒนธรรมตะวันตก
ค่อนข้างมาก พระองค์ยังทรงเข้าใจเรื่องพฤติกรรมรักร่วมเพศได้เป็นอย่างดี ถึงขนาด
ทรงนิพนธ์บทความในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิตของพระองค์
รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ไทยลำดับที่ 7 แห่งพระบรมราชวงศ์
จักรี มีพระนามเดิมว่า"สมเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิ
เดชน์"เป็นพระราชโอรสพระองค์สุดท้ายของพระบาท
สมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี
พระราชกรณียกิจสำคัญ
ด้านการปกครอง
1) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่ถูกทักท้วง
จากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อนซึ่งหม่อมเจ้าพูนพิศมัยดิศกุล มีดำรัสถึงเรื่องนี้ว่า"ส่วน
พระเจ้าอยู่หัวเองนั้น(พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)ทรงรู้สึกยิ่งขึ้นทุกทีว่าการปกครองบ้านเมือง
ในสมัยเช่นนี้ เป็นการเหลือกำลังของพระองค์ที่จะทรงรับผิดชอบได้โดยลำพังแต่ผู้เดียวพระองค์ทรงรู้ดี
ว่า ทรงอ่อนทั้งในทาง physical และ mental จึงมีพระราชปรารถนาจะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ช่วย
กันรับผิดชอบให้เต็มที่อยู่เสมอ
2) เกิดเหตุการณ์ปฏิวัติโดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
โดยพระองค์ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจและเป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญทรงให้ตรวจตรา
ตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วนและมีพระราชดำริให้จัดระเบียบการ
ปกครองรูปแบบเทศบาลขึ้น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นรู้จักเลือกตัวแทนเข้าไปบริหารและจัดการงาน
ต่างๆ ของชุมชน โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นแต่มิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์
เนื่องจากเกิดการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีบทบาทสำคัญใน
การวางรากฐานประชาธิปไตย
รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
พระราชประวัติ
พระบามสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
ทรงเป็นกษัตริย์ไทยลำดับที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรีมีนาม
ว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดลเป็นพระ
โอรสองค์แรกของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรม
หลวงสงขลานครินทร์และหม่อมสังวาล มหิดล ณ
อยุธยา เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติขณะทรงมีพระชนมายุ
9 พรรษา จึงต้องมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
พระราชกรณียกิจสำคัญ
-การเสด็จนิวัตพระนครครั้งแรก (พ.ศ. 2481-2482) พระองค์ทรงได้ปฏิบัติพระราช
กรณียกิจที่สำคัญหลายครั้ง เช่น เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานธงประจำกองลูกเสือและ
ทอดพระเนตรการ แข่งขันกรีฑาและวิชาลูกเสือ ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ นอกจากนี้ยังได้
พระราชทานทุนทรัพย์แก่โรงพยาบาล และสถานศึกษาต่างๆอีกด้วย
-การเสด็จนิวัตพระนครครั้งที่ 2 (พ.ศ.2488-2489)
พระองค์ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 20 พรรษาบริบูรณ์ ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่
สำคัญ เช่น ทรงตรวจพลสวนสนามของกองทัพพันธมิตรพร้อมกับ ลอร์ด หลุยส์ เมานต์แบต
เทน ผู้บัญชาการทหารฝ่ายพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ท้องสนามหวลงและถนน
พระราชดำเนิน
รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราชบรมนาถบพิตรทรงมีพระนามเดิมว่า
“พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช“
ทรงเป็นพระราชณโอรสของสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
อดุลเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ และมุม
สังวาลย์มหิดลนะอยุธยาพระองค์เสด็จขึ้นครอง
ราชย์สมบัติขณะที่ทรงมีพระชนมายุพรรษา
เพียง 18 พรรษา6 เดือน 4 วันแต่เนื่องจากยัง
ต้องทรงศึกษาต่อ ดังนั้น พระองค์จึงต้องเสด็จ
กลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พุทธศักราช 2489
พระราชกรณียกิจสำคัญ
1.ด้านการศึกษา พระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะทำให้เกิดการพัฒนาประชาชนชาวไทยให้เป็นผู้มี
ความรู้ ความคิด ความประพฤติ และคุณธรรมสำหรับพัฒนาประเทศชาติ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง “ทุน
ภูมิพล” และพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้ง “ทุนอานันทมหิดล” เพื่อสนับสนุนให้ผู้ที่มีความรู้ความ
สามารถทางด้านวิชาการยอดเยี่ยมและมีคุณธรรมสูงได้มีโอกาสศึกษาต่อไป
2.ด้านศิลปวัฒนธรรม พระองค์ทรงส่งเสริมสนับสนุนศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงรวมทั้งภาษาไทยอันเป็นภาษา
ประจำชาติ และทรงมีรับสั่งเตือนสติอยู่เสมอให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ฟื้ นฟูจารีตประเพณีและวัฒนธรรมของชาติ
3.ด้านศาสนา พระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรมอย่างเคร่งครัดจนเป็นที่ประจักษ์ชัดแก่ปวงชนชาวไทย
4.ด้านการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชน พระองค์ทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความเป็นอยู่ของ
ราษฎร ด้วยเหตุนี้จึงได้เกิดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นจำนวนมากและครอบคลุมการพัฒนาในด้านต่างๆ ซึ่ง
ล้วนมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ราษฎรมีความผาสุกอย่างแท้จริง เช่น โครงการด้านเกษตรกรรมโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการด้านสาธารณสุข โครงการด้านการส่งเสริมอาชีพ โครงการด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการด้านการคมนาคม
สื่อสาร โครงการด้านสวัสดิการสังคม และโครงการประเภทอื่นๆ
5.ด้านการประดิษฐ์ พระองค์ทรงมีพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำเสียด้วยวิธีเติมออกซิเจนลงในน้ำเสีย จึงเป็น
ที่มาของการประดิษฐ์ ”กังหันน้ำชัยพัฒนา” ซึ่งเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอยจะเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณ
ออกซิเจนเข้าไปในน้ำทำให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดีได้
รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศจักรี
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพ ยวรางกููร
กษัตัริย์พระองค์ใหม่ของไทย พระนามวชิราลงกรณ มีความหมายว่า
"ทรงเครื่องเพชรนิลจินดา หรืออัสนีบาต" ทรง พระราชสมภพ เมื่อวันที่
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ทรงเป็น พระราชบุุตรพระองค์ที่สอง และ
เป็นพระราชโอรสพระองคเดียว ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
ราชินีนาถ และพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรง
ขึ้นครองราชย์ โดยมิได้คาดหมายเมื่อ 6ปีก่อนหน้านั้น
พระราชกรณียกิจสำคัญ
1. ด้านการศึกษา 2. ด้านเกษตรกรรม
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิวราลงกรณ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกููร เมื่อ
บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณา
ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินไป ทรงทำปุ๋ย
พระราชทานพระราชทรัพย์ร่วมสนับสนุุนใหม่
หมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่นๆ เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อ พระราชทานแก่
กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้ง
เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการ เพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลม
โรงเรียนมัธยมศึกษาในถิ่นทุรกันดาร 6 แห่ง
สะแก ตำบลเดิมบาง อำเภอ
ทรงรับโรงเรียนไวในพระราชูปถัมภ์ พระราชทาน
เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2528
วัสดุอุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมััย เช่น คอมพิิว
นอกจากนี้ยังทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อส่งเสริมกิจการด้าน
เตอร์ โทรทัศน์ วิดีทัศน์ และในด้านการ
เกษตรกรรม เช่น เสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชพิธีพืชมงคล
อุดมศึกษา
3. ด้านพระศาสนา 4.ด้านการบิน
ทรงเสด็จฯ แทนพระองคไปปฏิบัติพระราช
พ.ศ. 2552 ทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินที่ 1 เครื่องบิน โบอิ้ง
กรณียกิจทางศาสนาเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น ทรง
737–400 ในเที่ยวบินสายใยรักแห่งครอบครัว ช่วยเหลือผู้
เปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ
ประสบอุทกภัย และจัดหาอุปกรณ์ด้านการแพทย์ สำหรัับโรง
วัด พระศรีรัตนศาสดารามตามฤดููกาลรวมถึงการ
พยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (เที่ยวบินที่ ทีจี 8870
เสด็จ พระราชดำเนินไปในการพระราชทานถ้วยรางวัล
(กรุงเทพมหานครถึงจังหวัด เชียงใหม่)และเที่ยวบินที่ ทีจี 8871
การ ทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่านนระ
(จังหวัดเชียงใหม่ ถึงกรุุงเทพมหานคร)
ดับ ประเทศ