The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

280966NEWรายงานผลการโครงการอบรมหมอดินอาสา 66

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by rukdinldd, 2023-10-06 00:48:07

280966NEWรายงานผลการโครงการอบรมหมอดินอาสา 66

280966NEWรายงานผลการโครงการอบรมหมอดินอาสา 66

โครงการอบรมหมอดิดิน ดิ น ดิ อาสา 4.0 รายงานผลการดำดำดำดำเนินิ นิ น นิ นงาน ปีปีง ปี ง ปี บประมาณ 2566 กรมพัฒพันาที่ดิ ที่ นดิ กองวิจัวิยจัและพัฒพันาการจัดจัการที่ดิ ที่ นดิ กันกัยายน 2566


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ก สารบัญ หน้า สารบัญ ก สารบัญตาราง ข สารบัญภาพ ค สารบัญภาคผนวก ง บทสรุปสำหรับผู้บริหาร จ หลักการและเหตุผล 1 วัตถุประสงค์ 1 หลักสูตรการอบรมหมอดินอาสา 2 วิธีการดำเนินงาน 2 - หลักสูตร 1-3 2 - หลักสูตร 4 3 งบประมาณ และเป้าหมาย 3 ผลการดำเนินงาน 4 - หลักสูตรที่ 1 ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในงานวันดินโลก 4 - การเสวนาหมอดินอาสากับกิจกรรม พูดคุยภาษาหมอดิน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต 9 - หลักสูตรที่ 2 การปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน เว็บไซต์หมอดินอาสา (ครูหมอดินสอนน้อง) 14 - หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของ ท้องถิ่น 52 - หลักสูตรที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมวันหมอดินอาสา 100 สรุปจำนวนหมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 2 3 และ 4 116 ผลสำรวจความต้องการการปรับปรุงโครงการอบรมหมอดินอาสา 117 - ผลสำรวจความต้องการของหมอดินอาสาในการอบรมโครงการหมอดินอาสา 117 - ผลสำรวจความต้องการสถานีพัฒนาที่ดินในโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2567 120 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 123 คณะผู้จัดทำ 124 ภาคผนวก 125


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ข สารบัญตาราง หน้า ตารางที่ 1 จำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 6 ตารางที่ 2 จำนวนหมอดินอาสา และหัวข้อการอบรมหลักสูตรที่ 2 19 ตารางที่3 จำนวนหมอดินอาสา และหัวข้อการอบรมหลักสูตรที่ 3 55 ตารางที่ 4 จำนวนหมอดินอาสา และหัวข้อการอบรมหลักสูตรที่ 4 103 ตารางที่ 5 สรุปจำนวนหมอดินอาสาที่อบรมหลักสูตรที่ 1 2 3 และ 4 117 ตารางที่ 6 สภาพทางสังคมและความคิดเห็นของหมอดินอาสาต่อการอบรม 119


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ค สารบัญภาพ หน้า ภาพที่ 1 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 6 ภาพที่ 2 หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 และเสวนาหมอดินอาสา ในงานวันดินโลก 13 ภาพที่ 3 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 2 18 ภาพที่ 4 หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 2 51 ภาพที่ 5 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 3 55 ภาพที่ 6 หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 3 99 ภาพที่ 7 แสดงจำนวนหมอดินอาสาอบรมหลักสูตรที่ 4 103 ภาพที่ 8 หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 4 115 ภาพที่ 9 จำนวนหมอดินอาสาหลักสูตรที่ 1 2 3 และ 4 116 ภาพที่ 10 ความต้องการในการปรับปรุงโครงการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตรที่ 1 2 3 และ 4 121


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ง สารบัญภาคผนวก หน้า QR code หลักสูตร 2 การปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับ การขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์หมอดินอาสา (ครูหมอดินสอนน้อง) 126 QR code หลักสูตร 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดิน ตามบริบทของท้องถิ่น 126 QR code หลักสูตร 4 ส่งเสริมกิจกรรมวันหมอดินอาสา 126 QR code รายงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ของ สพข. 1 – สพข. 12 127 QR code แบบฟอร์มรายงานผลการดำเนินงานโครงการฝึกอบรมหมอดิน ปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรที่ 2 และหลักสูตรที่ 3 127


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 จ บทสรุปผู้บริหาร กรมพัฒนาที่ดิน ได้จัดตั้งโครงการ “หมอดินอาสา” ขึ้นใน พ.ศ. 2538 หมอดินอาสาเป็นเกษตรกร ในพื้นที่ที่มีความสนใจในงานด้านการพัฒนาที่ดิน และอาสาเข้ามาช่วยกรมพัฒนาที่ดินในการปฏิบัติงาน ทำหน้าที่ เสมือนเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินในการให้บริการและเผยแพร่ความรู้การจัดการดินให้แก่เกษตรกรทั่วไปที่ สนใจเข้ามาขอรับคำแนะนำ การแต่งตั้งหมอดินอาสาเพื่อเป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดินในระดับพื้นที่ จะช่วยในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการพัฒนาที่ดินไปสู่เกษตรกรอื่น ๆ และผู้สนใจ หมอดินอาสา จึงเปรียบเสมือนครูและเพื่อนที่ดีที่สุดสำหรับเกษตรกร หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามรูปแบบการปกครองของประเทศไทย ได้แก่ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำ ตำบล หมอดินอาสาประจำอำเภอ และหมอดินอาสาประจำจังหวัด ปัจจุบันมีหมอดินอาสาทุกระดับที่ ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศมีจำนวนมากกว่า 77,741 คน (ข้อมูล พ.ศ.2566) จากความสำเร็จของโครงการ พัฒนาหมอดินอาสา และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติหมอดินอาสาที่ทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครในการขับเคลื่อน การพัฒนาที่ดินมาอย่างยาวนานจนเกิดความยั่งยืน ในปีพ.ศ. 2565 กรมพัฒนาที่ดินจึงกำหนดให้วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นวันหมอดินอาสา และจัดกิจกรรมวันหมอดินอาสาเป็นประจำทุกปี กรมพัฒนาที่ดิน ได้ให้ความสำคัญการพัฒนาหมอดินอาสาในด้านต่าง ๆ โดยมีการจัดอบรม หมอดินอาสามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หมอดินอาสาได้รับความรู้เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ถ่ายทอด องค์ความรู้ที่ได้รับสู่เกษตรกรอื่น ๆ และรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของโลก สร้างและพัฒนา เครือข่าย ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการกรมพัฒนาที่ดินกิจกรรมหลักที่ 2.2 การยกระดับการพัฒนาหมอดิน อาสาให้มีส่วนร่วมและต่อยอดศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน 1. ผลการฝึกอบรมในปีงบประมาณ 2566 ได้จัดอบรมหมอดินอาสา ทั้งสิ้น 63,455 ราย จำนวน 4 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรที่ 1 ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในงานวันดินโลกประจำปี งบประมาณ 2566 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Soils, where food begins: อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน” ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2565 สถานีพัฒนาที่ดินตาก มีหมอดินอาสาจากจังหวัดในพื้นที่สำนักงาน พัฒนาที่ดินเขต 1-12 เข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 1,000 ราย นอกจากนี้ภายในงานยังมีการถ่ายทอดสด Facebook Live จากเวทีการเสวนาหมอดินอาสากับกิจกรรม พูดคุยภาษาหมอดิน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ด้านการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 มีผู้เข้าร่วมเสวนา 200 คน หมอดินอาสาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ ได้แก่ นางชลาลัย ทับสิงห์ หมอดินอาสา ประจำหมู่บ้าน ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ นายวันชัย บวบงาม หมอดินอาสา ประจำหมู่บ้าน ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก นายวิเชียร บุญรอด หมอดินอาสาประจำตำบลยาง หัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีหมอดินอาสามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปรับปรุงบำรุงดิน รวมถึง การแปรรูป และช่องทางการจำหน่ายสินค้า ความสำเร็จจากการทำเกษตรของหมอดินอาสา


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ฉ หลักสูตรที่ 2 ฝึกการปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (ครูหมอดิน) ที่ได้รับการจัดตั้งทั่ว ประเทศ 354 แห่ง มีหมอดินอาสาเข้าร่วมอบรม 6,495 ราย ในพื้นที่ 77 จังหวัด โดยมีสถานีพัฒนาที่ดิน 77 แห่ง และสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 รับผิดชอบดำเนินการ หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรม จำนวน 46,200 ราย ในพื้นที่ 77 จังหวัด โดยมีสถานีพัฒนาที่ดิน 77 แห่ง และ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 รับผิดชอบดำเนินการ หลักสูตรที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมวันหมอดินอาสา มีหมอดินอาสาเข้าร่วมกิจกรรม 77 จังหวัด 9,760 ราย การจัดงานวันหมอดินอาสา ปีงบประมาณ 2566 ใน Theme หัวข้อ “หมอดินอาสา นำพา การผลิต พิชิตตลาด” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 มีศูนย์กลางการจัดงาน ณ โรงแรมยูเพลส มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีการถ่ายทอดสดพิธีการเปิดงานและ มีกิจกรรมในภาคบ่าย ผ่านระบบ Video conference application zoom และ Facebook Live พร้อม กัน 77 จังหวัดทั่วประเทศ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) เป็น ประธานเปิดงาน ภายในงานมีผลิตภัณฑ์จากหมอดินอาสา จัดนิทรรศการ พร้อมเปิดตัวนวัตกรรมที่ช่วยลด ต้นทุนการผลิตผสมปุ๋ยใช้เองผ่าน แอปพลิเคชั่น รู้จริง พืช ดิน ปุ๋ย (TSFM) แนะนำการไถกลบตอซัง ลด PM2.5 6 สายพันธุ์หญ้าแฝกบริสุทธิ์ หญ้าของพระราชา Zero waste หมักปุ๋ย (จากครัวเรือน) และการ พัฒนาหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน 2. ผลสำรวจความต้องการฝึกอบรมโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 โดยสอบถาม 2 กลุ่ม คือ หมอดินอาสา และผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน หรือผู้ที่ผู้อำนวยการมอบหมาย 1) หมอดินอาสา สอบถามเรื่องความต้องการฝึกอบรมของหมอดินอาสา เพื่อนำไปปรับปรุง หลักสูตรในการฝึกอบรมของหมอดินอาสา โดยมีหมอดินอาสาที่เข้าร่วมงานเสวนางานวันดินโลก ตอบ แบบสอบถาม จำนวน 111 ราย ร้อยละ 72.98 เป็นหมอดินอาสาประจำตำบลร้อยละ 22.52 เป็นหมอ ดินอาสาประจำอำเภอร้อยละ 3.60 และเป็นหมอดินอาสาประจำจังหวัดร้อยละ 0.90 ความคิดเห็นต่อ การจัดอบรมของหมอดินอาสา พบว่า หมอดินอาสาส่วนมากร้อยละ 72.07 ต้องการให้อบรมแบบบูรณา การร่วมกันทุกระดับ ร้อยละ 88.29 ต้องการอบรม 1-2 วัน สำหรับรูปแบบการอบรม เสนอให้มีการศึกษา ดูงานในศูนย์ฝึกอบรมหรือพื้นที่หมอดินอาสาที่ประสบผลสำเร็จหรือการเสวนาแลกเปลี่ยนรู้เรียนจาก เครือข่ายหมอดินอาสา และการฟังบรรยายในห้องประชุม หัวข้อที่หมอดินอาสาสนใจและต้องการได้รับ การอบรม คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ และการตลาดออนไลน์ รองลงมาจะเป็นหัวข้ออื่น ๆ LDD Test kit การแก้ไขเรื่องดิน สารชีวภัณฑ์ที่สามารถทดแทนสารเคมีการใช้ชุดตรวจสอบดินภาคสนาม การใช้ปุ๋ยเคมี ให้ถูกต้อง การทำน้ำหมักชีวภาพจากวัสดุต่างๆ การปรับสภาพน้ำ การปรับปรุงบำรุงดินและประโยชน์ ของดิน การปลูกหญ้าแฝก ธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมัก การแปรรูปผลิตภัณฑ์


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ช ทางการเกษตร เรื่องระบบนิเวศของดิน แอปพลิเคชันต่าง ๆ และการศึกษาดูงานในพื้นที่ของหมอดินอาสา ที่ประสบผลสำเร็จ 2) ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน หรือผู้ที่ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินมอบหมาย ตอบแบบ สอบถาม จำนวน 106 ราย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน 22 ราย และเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดิน 84 ราย มีความคิดเห็นดังนี้ ร้อยละ 77.8 เห็นด้วยให้คงไว้หลักสูตรที่ 1 การปฏิบัติและเรียนรู้ในงานวันดินโลก ร้อยละ 80.6 เห็นด้วยให้คงไว้หลักสูตรที่ 2 การพัฒนาศักยภาพ หมอดินอาสาในวันหมอดินอาสา ร้อยละ 51.4 เห็นด้วยให้คงไว้หลักสูตรที่ 3 การฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์หมอดินอาสา ร้อยละ 70.8 เห็นด้วยให้คงไว้ หลักสูตรที่ 4 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น 3) ปัญหาและอุปสรรค 1. การจัดสรรงบประมาณ (1) การโอนงบประมาณแบ่งเป็นรายไตรมาส จำนวน 3 รอบ ทำให้การอบรมล่าช้า เนื่องจากการอบรมหมอดินอาสาจำเป็นต้องอบรมให้แล้วเสร็จในช่วงต้นปีงบประมาณ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าไปชี้แจงนโยบาย/แผนการดำเนินงาน/ถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆ/รวบรวมความต้องการ/ รับฟังปัญหา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการพัฒนาที่ดินจากหมอดินอาสาในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นแนวทาง การดำเนินงานในปีนั้น ๆ ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ และประกอบการพิจารณาในการวางแผนดำเนินการใน ปีงบประมาณต่อไป (2) ปีงบประมาณ 2566 โอนงบประมาณไปตั้งอยู่ที่ สพข. ทำให้การเบิกจ่ายของ สพด. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการในพื้นที่ค่อนข้างทำงานไม่สะดวก ประกอบกับงบประมาณล่าช้า และแบ่งงบประมาณหลายงวดทำให้เสียเวลาในการดำเนินงานหลายครั้ง 2. เป้าหมายในการฝึกอบรมน้อยกว่าจำนวนหมอดินอาสาที่มี ทำให้หมอดินอาสาไม่ได้รับ การอบรมครบทุกราย 4) ข้อเสนอแนะ 1. การโอนงบประมาณไม่ควรโอนหลายงวดเพื่อการปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และงบประมาณจัดสรรไม่ควรเกินไตรมาสที่ 2 เพื่อสะดวกต่อหมอดินอาสาที่เข้ารับการอบรม เนื่องจาก หมอดินอาสาต้องประกอบอาชีพเกษตรตามฤดูกาล และมีหน้าที่ภารกิจที่รับผิดชอบมาก 2. งบประมาณควรโอนงบประมาณตั้งไว้ที่ สพด. เพื่อสะดวกในการดำเนินงาน 3. การกำหนดหัวข้อการอบรมและเป้าหมายการเรียนรู้ ควรให้ สพด. เป็นผู้กำหนดเพื่อ ตรงตามศักยภาพและความต้องการของหมอดินอาสาในพื้นที่ 4. หลักสูตรการฝึกปฏิบัติและเรียนรู้สถานที่ฝึกอบรมไม่ควรจำกัดเฉพาะศูนย์ฝึกหมอดิน อาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์หมอดินอาสาเท่านั้น 5) การอบรมหมอดินอาสาควรจัดในรูปแบบเก่าคือจัดอบรมแยกระดับ ที่มีหมอดินอาสา ระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 ซ 3. แนวทางการพัฒนาโครงการอบรมหมอดินอาสาในอนาคต คือ 1. จัดทำโครงการอบรมหมอดินอาสาให้สอดคล้องกับความต้องการของหมอดินอาสา และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานของภูมิภาค 2. ประชุมชี้แจงโครงการอบรมหมอดินอาสาในแต่ละหลักสูตรเพื่อให้การดำเนินงานมีความ ชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 3. การจัดสรรหมอดินอาสาเข้ารับการอบรม และเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ ควรคัดเลือก หมอดินอาสาแต่ละปีไม่ซ้ำกัน เพื่อเปิดโอกาสให้หมอดินอาสาทุกรายได้รับการอบรม


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 1 โครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 หลักการและเหตุผล การดำเนินงานโครงการหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในพื้นที่ทุกหมู่บ้าน โดยการดำเนินงานช่วงแรกเริ่มจากการแต่งตั้งเกษตรกรที่ สนใจงานด้านการพัฒนาที่ดิน และสมัครใจเป็นอาสาสมัครของกรมพัฒนาที่ดิน มีความต้องการและพร้อมที่ จะเข้ารับการอบรมเพื่อรับองค์ความรู้การใช้เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของกรมพัฒนาที่ดิน และนำไปใช้ พัฒนารูปแบบการทำการเกษตรของตนเองและมีความเป็นผู้นำ สามารถถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรภายใน หมู่บ้านหรือพื้นที่อื่นได้ หมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามรูปแบบการปกครอง ของประเทศไทย ได้แก่ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบล หมอดินอาสาประจำอำเภอ และหมอดินอาสาประจำจังหวัด โดยปัจจุบันมีจำนวนหมอดินอาสาทุกระดับปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศจำนวน 77,741 คน (ข้อมูล พ.ศ.2566) ระเบียบกรมพัฒนาที่ดิน ว่าด้วยการบริหารงานหมอดินอาสา พ.ศ. 2553 กำหนดให้หมอดินอาสาทุกระดับทำหน้าที่เป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านด้วย ในการอบรมหมอดินอาสา ปีงบประมาณ 2566 มีเป้าหมายเพื่อให้หมอดินอาสาได้มี เวทีพบปะและได้แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินไปประยุกต์ใช้ให้ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ร่วมกัน ตลอดจนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4.0 มาใช้ประโยชน์ในการถอด บทเรียน นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ได้จริง และเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายหมอดินอาสา ในแต่ละพื้นที่ ให้หมอดินอาสามีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อนำไปแก้ไข ปัญหาดินในพื้นที่ของตนเองซึ่งกันและกัน รวมทั้งการฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (ครูหมอดิน) โดยให้หมอดินอาสาได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินจากครูหมอดินที่ได้รับคัดเลือก และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา จนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาพื้นที่ การเกษตรได้จริงโดยมีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นศูนย์กลางถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อเว็บไซต์หมอดินอาสา (http://lddmordin.ldd.go.th/lddmordin0.20.html) มีเป้าหมายการอบรมหมอดินอาสา จำนวน 61,367 ราย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับหมอดินอาสามืออาชีพที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตรโดยให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาพื้นที่การเกษตรของตนเอง 3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสภาวะปุ๋ยเคมีราคาแพง เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรดินด้วย


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 2 ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรปลอดภัย ให้กับเกษตรกร หมอดินอาสา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป 4. เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลหมอดินอาสาในรูปแบบดิจิทัลเพื่อพัฒนาเป็น Big data รองรับองค์กร 4.0 หลักสูตรการอบรมหมอดินอาสา หลักสูตรที่ 1 ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในงานวันดินโลกประจำปีงบประมาณ 2566 หลักสูตรที่ 2 ฝึกการปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (ครูหมอดิน) ที่ได้รับการจัดตั้งทั่วประเทศ หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น หลักสูตรที่ 4 ส่งเสริมกิจกรรมวันหมอดินอาสา วิธีการดำเนินงาน หลักสูตรที่1-3 1) คณะทำงานหมอดินอาสาระดับเขต 1-12 พิจารณาจัดสรรเป้าหมายหมอดินอาสาและ งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดำเนินการอบรมหมอดินอาสา ประจำปี 2566 จากกรมพัฒนาที่ดิน ให้แก่ สพด. ในสังกัดตามสัดส่วนการดำเนินงานหมอดินในแต่ละพื้นที่ พร้อมทั้งสร้างกระบวนการรับรู้และ ทำความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละหลักสูตรทราบ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน 2) การอบรมในหลักสูตรที่ 1 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12 เป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือก หมอดินอาสาจาก สพด. ในสังกัด ให้เข้าร่วมการอบรมหลักสูตรที่ 1 ตามรายละเอียดจำนวนเป้าหมายและ งบประมาณที่ได้รับจัดสรร (เอกสารแนบท้าย) พร้อมทั้งมอบหมายเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการนำหมอดิน อาสาเดินทางมาเข้าร่วมการอบรมในงานวันดินโลก ณ จังหวัดตาก (หลักสูตรที่ 1 อบรมเป้าหมายครบ 100% ภายในงานวันดินโลก) 3) การอบรมในหลักสูตรที่ 2 และหลักสูตรที่ 3 สพด. ที่รับผิดชอบในแต่ละจังหวัด เมื่อได้รับ การจัดสรรเป้าหมายและงบประมาณจาก สพข. แล้ว ให้พิจารณาคัดเลือกหมอดินอาสา เข้าร่วมอบรมใน หลักสูตรที่ 2 และ หลักสูตรที่ 3 ตามความสามารถและศักยภาพของหมอดินอาสา โดยเป้าหมายในการ อบรมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในสิ้นไตรมาส 2 ของเป้าหมายที่ได้รับมอบหมายจาก สพข. 4) คณะทำงานหมอดินอาสาระดับเขต 1-12 พิจารณาคัดเลือกศูนย์เรียนรู้ของหมอดินอาสาที่ได้ขึ้น ทะเบียนไว้แล้ว หรือแจ้งขึ้นทะเบียนศูนย์ฝึกอบรมใหม่ มายังกลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาและบริหาร จัดการเครือข่าย กวจ. ที่ E-mail : osbldd@gmail.com (ตามแบบฟอร์มแนบท้าย) เพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์ฝึก


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 3 หมอดินอาสามืออาชีพ โดยให้มีการเรียนการสอนเพื่อฝึกปฏิบัติจริง จนสามารถสร้างอาชีพได้ หรือพัฒนาให้ เป็นมืออาชีพเฉพาะด้าน 5) การจัดทำประกาศนียบัตรให้แก่หมอดินอาสาที่ผ่านการอบรมหลักสูตรที่ 2 และหลักสูตร ที่ 3 สพด. เป็นผู้จัดการอบรมเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำประกาศนียบัตรเพื่อมอบให้แก่หมอดินอาสาทีผ่านการ อบรม 6) คณะทำงานหมอดินอาสาระดับเขต 1-12 กำหนดปฏิทินการอบรมหมอดินอาสาในส่วนที่ รับผิดชอบ และส่งมายังกลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาฯ กวจ. เพื่อใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานและ ประเมินผลเชิงคุณภาพต่อไป 7) เมื่อดำเนินการครบถ้วน ทั้ง 3 หลักสูตร เรียบร้อยแล้ว สพข.1-12 เป็นผู้รับผิดชอบในการ จัดทำเล่มสรุปรายงานการอบรมหมอดินอาสาในภาพรวม และส่งมายังกลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาฯ กวจ. เพื่อรวบรวม และนำข้อมูลดังกล่าวฯ เสนอผู้บริหารกรมฯ ทราบ พร้อมทั้งนำไปบรรจุในเว็บไซต์ หมอ ดินอาสา กรมพัฒนาที่ดิน เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้แก่ผู้ที่สนใจสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมต่อไป หลักสูตรที่4 1) สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดประกาศวันหมอดินอาสา ซึ่งตรงกับวันที่ 10 กุมพาพันธ์ของทุก ปี เป็นวันหมอดิน โดยประชาสัมพันธ์ให้หมอดินอาสาในพื้นที่ และหน่วยงานในระดับภูมิภาคทราบ เพื่อ ร่วมกันกำหนดกิจกรรมและรูปแบบการจัดงาน ให้สอดคล้องกับหัวข้อหรือ Theme “หมอดินอาสา นำพา การผลิต พิชิตตลาด” 2) สถานีพัฒนาที่ดิน เชิญหมอดินอาสามาร่วมงานวันหมอดินอาสา 3) สถานีพัฒนาที่ดิน และกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน ร่วมกันบันทึกเหตุการณ์และภาพ กิจกรรมต่างๆ ของหมอดินอาสาในแต่ละพื้นที่มารวบรวมเป็นความทรงจำรายปีเพื่อจัดเก็บเป็นประวัติศาสตร์ วันหมอดินอาสากรมพัฒนาที่ดิน งบประมาณและเป้าหมาย งบประมาณ จำนวน 33,070,200 บาท เป้าหมาย จำนวน 61,367 รายแบ่งตามหลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรที่ 1 ในงานวันดินโลก จำนวน 750,000 บาท เป้าหมาย 1,000 ราย หลักสูตรที่ 2 ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (ครูหมอดิน) จำนวน 4,526,900 บาท เป้าหมาย 6,467 ราย หลักสูตรที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการพัฒนาที่ดินตามบริบทของท้องถิ่น จำนวน 23,943,300 บาท เป้าหมาย 46,200 ราย หลักสูตรที่ 4 วันหมอดินอาสา 10 กุมภาพันธ์ จำนวน 3,850,000 บาท เป้าหมาย 7,700 ราย


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 4 ผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 แบ่งเป็น 4 หลักสูตร ดังนี้ หลักสูตรที่ 1 ศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในงานวันดินโลก การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในงานวันดินโลกประจำปีงบประมาณ 2566 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Soils, where food begins: อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน” ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2565 หมอดินอาสาจำนวน 1,000 ราย ระยะเวลา 1 วัน งบประมาณ 750,000 บาท การจัดงานวันดินโลกเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาทรัพยากรดิน เพื่อการเกษตร รวมทั้งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับวันดินโลก และตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรดิน ณ สถานีพัฒนาที่ดินตาก ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ภายในงานมีกิจกรรม ดังนี้นิทรรศการ มีชีวิต เทคโนโลยีการผลิตองุ่นและเสาวรสปลอดภัย แปลงผักสี่ภาค แปลงข้าวสรรพสีปลอดภัย นวัตกรรม จุลินทรีย์สู่การผลิตอาหารปลอดภัย การเสวนานานาชาติ การเสวนาหมอดินอาสา ฐานการปรุงดิน ฐาน อนุรักษ์พันธุ์พืช และอื่นๆ โดยมีหมอดินอาสาจากสำนักงานพัฒนาที่ดิน 1-12 เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 ดังนี้ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชัยนาท สระบุรี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรีระยอง สระแก้ว สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชัยภูมินครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดนครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 5 รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาฬสินธุ์ขอนแก่น บึงกาฬ มหาสารคาม สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภูอุดรธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 งบประมาณจัดอบรม 15,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ศูนย์ปฎิบัติการพัฒนาที่ดิน โครงการหลวง (ศพล.) สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 งบประมาณจัดอบรม 18,750 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 งบประมาณจัดอบรม 18,750 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 25 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์เลย อุตรดิตถ์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 งบประมาณจัดอบรม 600,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 800 ราย คิดเป็นร้อยละ 80 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร นครสวรรค์ตาก สุโขทัย อุทัยธานี สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 งบประมาณจัดอบรม 7,500 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรีราชบุรีสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 งบประมาณจัดอบรม 7,500 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดชุมพร สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 งบประมาณจัดอบรม 7,500 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม อบรม จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 1 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาในพื้นที่ รับผิดชอบของสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดตรัง นราธิวาส ปัตตานีพัทลุง ยะลา สงขลา สตูล โดยรายละเอียด ดังแสดงในตารางที่ 1 และภาพที่ 1 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 6 ภาพที่ 1 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 ตารางที่ 1 จำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 1 หน่วยงาน จำนวนหมอดินอาสา (ราย) สพข.1 20 ชัยนาท 10 สระบุรี 10 สพข.2 20 จันทบุรี 3 ฉะเชิงเทรา 3 ชลบุรี 3 ตราด 2 ปราจีนบุรี 3 ระยอง 3 สระแก้ว 3 สพข.3 20 ชัยภูมิ 5 นครราชสีมา 5 บุรีรัมย์ 5


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 7 หน่วยงาน จำนวนหมอดินอาสา (ราย) สุรินทร์ 5 สพข.4 20 นครพนม 2 มุกดาหาร 2 ร้อยเอ็ด 4 ยโสธร 2 ศรีสะเกษ 4 อุบลราชธานี 4 อำนาจเจริญ 2 สพข.5 20 กาฬสินธุ์ 2 ขอนแก่น 4 บึงกาฬ 2 มหาสารคาม 3 สกลนคร 2 หนองคาย 2 หนองบัวลำภู 2 อุดรธานี 3 สพข.6 20 เชียงใหม่ 9 แม่ฮ่องสอน 2 ลำปาง 5 ลำพูน 2 ศพล. 2 สพข.7 25 เชียงราย 5 น่าน 6 พะเยา 7 แพร่ 7 สพข.8 25


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 8 หน่วยงาน จำนวนหมอดินอาสา (ราย) พิจิตร 10 พิษณุโลก - เพชรบูรณ์ 5 เลย 5 อุตรดิตถ์ 5 สพข.9 800 กำแพงเพชร 150 นครสวรรค์ 250 ตาก 150 สุโขทัย 150 อุทัยธานี 100 สพข.10 10 กาญจนบุรี 2 ประจวบคีรีขันธ์ฯ 2 เพชรบุรี 2 ราชบุรี 2 สมุทรสงคราม 1 สมุทรสาคร 1 สพข.11 10 ชุมพร 10 สพข.12 10 ตรัง 2 นราธิวาส 1 ปัตตานี 1 พัทลุง 2 ยะลา 1 สงขลา 2 สตูล 1 รวมทั้งสิ้น 1,000


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 9 การเสวนาหมอดินอาสากับกิจกรรม พูดคุยภาษาหมอดิน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ด้านการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยกองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน ได้จัดกิจกรรมการเสวนาหมอดินอาสากับกิจกรรม พูดคุยภาษาหมอดิน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านการจัดการดินเพื่อเพิ่มผลผลิต เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 การจัดเสวนามีวัตถุประสงค์เพื่อให้หมอดินอาสาได้มีเวทีพบปะและได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในการนำเทคโนโลยีในการพัฒนาที่ดินไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตลอดจน เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4.0 มาใช้ประโยชน์ในการถอดบทเรียน นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ได้จริง และเพื่อสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายหมอดินอาสาในแต่ละพื้นที่ ให้หมอดินอาสามีโอกาสในการ แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเพื่อนำไปแก้ไขปัญหาดินในพื้นที่ของตนเอง การเสวนา ดังกล่าว มีนายยุทธศาสตร์ อนุรักษ์ติพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ รักษาการผู้อำนวยการกอง วิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน เป็นประธานในพิธีเปิดการเสวนา มีผู้เข้าร่วมรับฟังเสวนาจำนวน 200 คน สรุปสาระสำคัญจากการเสวนา ได้ดังนี้ นายยุทธศาสตร์ อนุรักษ์ติพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านอนุรักษ์ดินและน้ำ รักษาการผู้อำนวยการ กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน เป็น ประธานในพิธีเปิดการเสวนา และผู้ดำเนิน รายการ ในปัจจุบันมีหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ประมาณ 77,741 คน การเสวนาในครั้งนี้เพื่อให้หมอดินอาสาได้มีเวที พบปะและได้แลกเปลี่ยนความรู้ สร้างความ เข้มแข็งของเครือข่ายหมอดินอาสาในแต่ละพื้นที่ และได้เห็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จของหมอดินอาสา เพื่อนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง ผู้ร่วมเสวนา นางชลาลัย ทับสิงห์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบลปางสวรรค์ อำเภอ ชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์นายวันชัย บวบงาม หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบลแม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก นายวิเชียร บุญรอด หมอดินอาสาประจำตำบล ตำบลยางหัก อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี นางชลาลัย ทับสิงห์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ทางเกษตร ดินเป็นชุดดินโกสัมพี 48 เป็นดินตื้นมี หน้าดินประมาณ 1-3 เซนติเมตร ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช ทำให้ได้ผลผลิตน้อย จึงได้แก้ปัญหาโดยการปรับปรุงบำรุงดิน เฉพาะหลุม โดยขุดหลุมให้มีความลึกแล้วจึงใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตจาก


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 10 สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ใส่รองก้นหลุม ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ปอเทือง ไถกลบเพื่อปรับโครงสร้างดินให้ ดีขึ้น ปัจจุบันมีพื้นที่ทางการเกษตรประมาณ 100 ไร่ ปลูกพืช หลากหลายชนิด มีการรวมกลุ่มเกษตรกร ที่ทำเกษตรอินทรีย์โดยนำระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems (PGS) ที่ กรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเสริม มีสมาชิกกลุ่ม 48 ราย และได้ใบรับรองเกษตรอินทรีย์PGS จากมูลนิธิเกษตร อินทรีย์ไทย ผลผลิตอินทรีย์ส่งให้บริษัท Natural & Premium Food เป็นผลิตภัณฑ์อินทรีย์แบรนด์ N&P ซึ่งจะส่งผลผลิตสัปดาห์ละ 1,000 กิโลกรัมต่อวัน ส่งผลผลิตทุกสัปดาห์ (วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์) โดย ราคาของผลผลิตอินทรีย์ เช่น พริกจินดา 70-75 บาทต่อกิโลกรัม วอเตอร์เครส (Watercress) 52 บาทต่อ กิโลกรัม ราคาไม่ต่ำกว่า 50 บาทต่อกิโลกรัม รายได้ของสมาชิกประมาณ 30,000 – 50,000 บาท นอกจากนี้มีการบริหารจัดการขยะพลาสติกในพื้นที่ ใช้ระบบเทคโนโลยีไพโรไลซิส (Pyrolysis Technology System) เป็นการนำขยะพลาสติกที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเข้าสู่ระบบเตาให้ความร้อนแบบ ควบคุมอากาศ ที่ใช้อุณหภูมิสูง เพื่อเปลี่ยนสถานะจากของแข็ง เป็นของเหลวหรือน้ำมัน และก๊าซ ถ้ามี ความหนืดสูงผลผลิตจะเป็นน้ำมันดีเซล และถ้าความหนืดน้อยผลผลิตจะเป็นน้ำมันเบนซิน ซึ่งหมอดิน ชลาลัยได้นำความรู้ไพโรไลซิส และมีผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาจัดแสดงภายในงานวันดินโลก เคล็ดลับความสำเร็จของหมอดินชลาลัย ทับสิงห์ เมื่อทำการเกษตร จะเน้นการรักษาความสมดุล ของธาตุอาหารและสมบัติอื่นๆของดิน ให้เหมาะสมต่อการปลูกพืชเสมอ การทำเกษตรควรเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ โดยเตรียมคน เตรียมพื้นที่ ปรับปรุงบำรุงดิน ควบคุมคุณภาพการผลิต การแปรรูป และการทำ การตลาด การหาช่องทาง รายได้อื่นที่มากกว่าการปลูกพืช เช่น การทำดินผสมขาย ทำให้อาชีพเกษตรมี รายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้การนำระบบเทคโนโลยีไพโรไรซิสมาใช้ใน การบริหารจัดการพลาสติกของเหลือใช้ เพื่อนำมาหมุนเวียนให้เกิด ประโยชน์ในพื้นที่และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นายวันชัย บวบงาม หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล แม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก ปัจจุบันปลูกองุ่นเป็นพืชหลัก เริ่มจากความสนใจที่จะทำ การเกษตรในเวลาว่าง ซึ่งมีความสนใจที่จะปลูกองุ่น เนื่องจากเคย ทำงานอยู่ที่ไร่บุญรอด อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และองุ่น ไร่บุญรอดมีรสชาติที่อร่อย หวาน กว่าองุ่นที่ปลูกในพื้นที่ และได้เลือก องุ่นพันธุ์ราชินีดำที่เป็นพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น มาปลูกในพื้นที่ของ ตนเอง ปัจจุบันได้ทำการเกษตรในระบบ GAP (Good Agricultural Practice) เดิมปลูกองุ่นแบบลองผิดลองถูก เป็นระบบเปิดทั้งหมด ไม่คลุมหลังคา ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนมาปลูกแบบเปิดแต่มีหลังคาคลุม เนื่องจากสาเหตุของโรคในองุ่นที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดจาก น้ำฝน น้ำค้าง แต่เมื่อมีหลังคาโรคเกิดจากน้ำฝนและน้ำค้างลดลง จากเดิมที่ต้องเสียค่าดูแลรักษาโรคเป็น ส่วนใหญ่ แต่พอมีหลังคาค่าใช้จ่ายลดลง ที่สำคัญที่สุดในการทำการเกษตรคือ ดิน จากที่ไม่รู้เรื่องดิน ความ เป็นกรดเป็นด่าง (pH) หรือธาตุอาหารหลักของพืชที่ประกอบไปด้วยธาตุ 3 ชนิด ไนโตรเจน ( Nitrogen ) ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) และโพแทสเซียม ( Potassium ) เนื่องจากการปลูกองุ่นมีความเสี่ยงสูง ทำให้


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 11 ต้องศึกษาเรื่องดิน เรื่องธาตุอาหาร เรื่องพืช พื้นที่ทางการเกษตรเรียกแบบชาวบ้านว่าดินป่าแตก คือพื้นที่ เป็นป่า แล้วเปิดพื้นที่เพื่อทำการเกษตร ดินที่ปลูกองุ่นจะไม่เหมาะกับ ดินนา ดินเหนียว ดินระบายน้ำไม่ดี และดินเค็ม ในพื้นที่ปลูกองุ่นได้ปลูกใกล้ภูเขา ลำธาร คล้ายกับพื้นที่ปลูกองุ่นของไร่บุญรอด อดีตจะมีการ ปลูกองุ่นประมาณ 3 ไร่ เก็บผลผลิตได้ 2 ครั้งต่อปี ปัจจุบันปลูกในพื้นที่ 1 ไร่ ได้ผลผลิตจำนวน 3 – 4 ตัน ราคากิโลกรัมละ 200 บาท รายได้ประมาณ 700,000 - 800,000 บาท นอกจากนี้ยังมีรายได้ที่เป็นองุ่น แปรรูป ต้นทุนการปลูกองุ่น การทำโรงเรือน ความยาว 32 เมตร ใช้งบประมาณ 50,000 บาทต่อ 1 ไร่ แต่ ละพื้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในเครื่องพ่นยา ปุ๋ย เฉลี่ยเพิ่มอีก 30,000 รวมไม่เกิน 80,000 บาทค่าแรง ค่า น้ำมันเครื่องตัดหญ้า และค่าอุปกรณ์อื่นๆ ประมาณ 15,000 บาท เคล็ดลับความสำเร็จของหมอดินวันชัย บวบงาม มีความเด่นในเรื่องการผลิตองุ่นที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้สารตกค้างได้รับการรับรอง GAP จากกรมวิชาการเกษตร และมีการต่อยอดแปรรูปสินค้าจาก องุ่น สร้างอาชีพ สร้างรายได้ การทำการเกษตรต้องรู้เรื่องพืช และดินว่าต้องมีการปรับปรุงดินอย่างต่อเนื่อง อินทรียวัตถุในดินเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมพัฒนาที่ดินที่สนับสนุนปัจจัยทาง การเกษตรและองค์ความรู้การจัดการดินทำให้สามารถจัดการกับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการ นายวิเชียร บุญรอด หมอดินอาสาประจำตำบลยางหัก อำเภอ ปากท่อ จังหวัดราชบุรี หมอดินวิเชียร ทำการเกษตรปลูกเงาะและทุเรียน โดยมีพื้นที่ปลูก ปาล์มน้ำมันจากการเช่าพื้นที่ จำนวน 28 ไร่ และมีพื้นที่เป็นของตนเอง จำนวน 19 ไร่ มีพื้นที่ทั้งหมด 47 ไร่ รายได้เฉลี่ย 700,000 - 800,000 บา ต่อปี ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ ช่วยสมาชิกในกลุ่มเป็นเงินประมาณ 30,000 บาท โดยรายได้หลักมาจาก ปาล์มน้ำมัน พันธุ์ที่ปลูกคือพันธุ์ไนจีเรีย มีอายุประมาณ 9 ปี ปลูกปาล์ม น้ำมัน 1 ไร่ ปลูกปาล์มน้ำมันได้22-25 ต้น โดยระยะการปลูกปาล์มน้ำมัน 10x10 เมตร ใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกอร์ และรายได้บางส่วนจากการปลูกทุเรียนประมาณ 700,000 บาท ต่อปี นอกจากนี้ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงปลา เพื่อเป็นรายได้เสริม และเลี้ยงวัวเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการตัด หญ้า และได้ปุ๋ยคอกเพื่อนำมาปรับปรุงบำรุงดินในพื้นที่ เป็นการหมุนเวียนสิ่งเหลือใช้ในภาคการเกษตรให้ เกิดประโยชน์ ปัจจุบันผลผลิตทุเรียน และเงาะ ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร นายวิเชียรเน้นจำหน่ายผลผลิตในพื้นที่เพื่อส่งเสริมให้จังหวัดราชบุรีเป็นแหล่งผลิตผลไม้แห่งใหม่ และเป็น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เคล็ดลับความสำเร็จของหมอดินวิเชียร บุญรอด ควรทำเกษตรผสมผสาน การเลือกชนิดพืชที่มีมี ความคุ้มค่า ควรมีการปรับปรุงดินอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารที่เพียงต่อพืช และการลด ต้นทุน การหมุนเวียนสิ่งเหลือใช้ในพื้นที่การเกษตร และลดความเสี่ยงจากการขายผลผลิตเพียงชนิดใดชนิด หนึ่ง (ปลูกพืชเชิงเดี่ยว)


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 12 ความสำเร็จจากการทำเกษตรของนางชลาลัย ทับสิงห์ หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล ปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ นายวันชัย บวบงาม หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล แม่ท้อ อำเภอเมือง จังหวัดตาก และนายวิเชียร บุญรอด หมอดินอาสาประจำตำบล ตำบลยางหัก อำเภอ ปากท่อ จังหวัดราชบุรีดังนี้ 1. ทำการเกษตรผสมผสานที่ผ่านระบบการรับรอง GAP (Good Agricultural Practice) การทำเกษตรอินทรีย์เป็นระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม Participatory Guarantee Systems (PGS) และสามารถขายสินค้าทางการเกษตร มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของตนเอง 2. มีการประเมินศักยภาพและพื้นที่ของตนเองเพื่อปลูกพืช 3. มีการปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอตามหลักวิชาการ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 13 ภาพที่ 2 หมอดินอาสาเข้าร่วมอบรมหลักสูตร 1 และเสวนาหมอดินอาสา ในงานวันดินโลก


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 14 หลักสูตรที่ 2 การปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนใน เว็บไซต์หมอดินอาสา (ครูหมอดินสอนน้อง) การปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในเว็บไซต์หมอดินอาสา (ครูหมอดินสอนน้อง) ระยะเวลาการอบรม 2 วัน หลักสูตรนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับ หมอดินอาสามืออาชีพที่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะด้าน และพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้าน การเกษตรโดยให้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินกรอบแนวทางและเนื้อหาในการอบรมหมอ ดินอาสา การอบรมหมอดินอาสาหลักสูตรนี้จะเป็นการให้หมอดินอาสาฝึกปฏิบัติและเรียนรู้ ณ ศูนย์ฝึก หมอดินอาสาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในเว็บไซต์หมอดินอาสาที่ได้รับการจัดตั้งทั่วประเทศ จำนวน 354 แห่ง สามารถดูข้อมูลรายละเอียดศูนย์ฝึกหมอดินได้ที่ http://lddmordin.ldd.go.th/lddmordin06.0.html กรอบการจัดอบรม การจัดอบรมดำเนินการโดยสถานีพัฒนาที่ดินในแต่ละจังหวัด หรือสำนักงาน พัฒนาที่ดินเขตมอบหมาย สถานีพัฒนาที่ดินสามารถพิจารณากำหนดศูนย์ฝึกหมอดินอาสาที่จะจัดการ อบรมได้ทั่วประเทศ ตามความต้องการ ความเหมาะสม และความพร้อมของแต่ละพื้นที่ โดยให้หมอดิน อาสาประจำศูนย์ต่างฯ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น “ครู” เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ หน่วยงานเป็นผู้กำหนดหัวข้อใน การอบรมจากความเชี่ยวชาญของหมอดินอาสาประจำศูนย์ฯ นั้นๆ โดยมีกิจกรรมที่ใช้สำหรับการอบรม ดังนี้ 1) ชวนเพื่อนสร้างเครือข่าย การละลายพฤติกรรม 2) เปิดวีดีทัศน์ให้ความรู้ 3 เรื่อง - ลดการใช้ปุ๋ยเคมี รวมกลุ่มแปลงใหญ่ ผสมปุ๋ยใช้เอง - 6 สายพันธุ์บริสุทธิ์หญ้าแฝก หญ้าของพระราชา - ลดก๊าซเรือนกระจกโดยกรมพัฒนาที่ดิน 3) ครูหมอดินบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติตามความเชี่ยวชาญโดยให้สอดคล้องกับ 5 ยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น ซื้อง่ายขายคล่องฉบับหมอดิน (ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตลาด นำการผลิต) เป็นการเร่งส่งเสริมด้าน การตลาดให้กับเกษตรกรและผลักดันให้การผลิตสินค้าเกษตรของ เกษตรกรมีคุณภาพและมาตรฐานตามที่ ตลาดต้องการ โดยเข้าไปบริหารจัดการหาตลาดให้กับเกษตรกร ร่วมบูรณาการกับกระทรวงพาณิชย์ที่มีภารกิจ หน้าที่ดูแลด้านการตลาดโดยตรงร่วมกับทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ ถ่ายทอด ต่อยอด ด้วยเทคโนโลยี4.0 (ยุทธศาสตร์ที่ 2 เทคโนโลยีเกษตร 4.0) เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่กับการวิจัยนวัตกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อ เกษตรกรใน การลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร กิจกรรมที่ 3 3’S คือ Safety-SecuritySustainability (ยุทธศาสตร์ที่ 3) เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภค และสร้างความเข้มแข็งให้ เกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยนำมาตรฐานการผลิตด้านต่างๆ มาใช้ในการควบคุมการผลิต กิจกรรมที่ 4 ชวน เพื่อนสร้างเครือข่าย (ยุทธศาสตร์ที่ 4) การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน นอกจากการบูรณา


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 15 การร่วมกันภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ต้องแสวงหาความร่วมมือจาก หน่วยงานภายนอกโดย เน้นการทำงานที่เข้าถึงเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่เป็นสำคัญ กิจกรรมที่ 5 เกษตรกรรมยั่งยืนตาม แนวทางศาสตร์พระราชา (ยุทธศาสตร์ที่ 5) มีการขับเคลื่อนการดำเนินการมาอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง สามารถเป็นภูมิคุ้มกันและสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดีเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรม ยั่งยืน และมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะร่วมกัน โดยมีหมอดินอาสาจากสำนักงานพัฒนาที่ดิน 1-12 เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 2 ทั้งสิ้น 6,495 ราย งบประมาณ 4,526,900 บาท มีรายละเอียด ดังนี้ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 งบประมาณจัดอบรม 553,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 790 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 13 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชัยนาท สระบุรี สุพรรณบุรีปทุมธานีนครปฐม นครนายก นนทบุรีพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สิงห์บุรีสมุทรปราการ และอ่างทอง การอบรมมีภาคบรรยายและ ภาคปฏิบัติเช่น เรื่องการปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกหญ้าแฝก การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนาการ ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว การปลูกพืชในโรงเรือน การปลูกไม้ผล เกษตรผสมผสาน นวัตกรรมเกษตรครบวงจร ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง การเลี้ยงไส้เดือน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 งบประมาณจัดอบรม 292,600 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 418 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว การอบรมมีภาค บรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องหมอดินอาสากับงานกรมพัฒนาที่ดิน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอัน เนื่องมาจากพระราชดำริ การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การปรุงดิน ความหลากหลายทาง ชีวภาพการปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 งบประมาณจัดอบรม 625,100 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 893 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ การอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการดินและน้ำ การปลูกพืชผสมผสาน ระบบโซล่าเซลล์และระบบน้ำ หยด การวางแผนการใช้ที่ดิน การวิเคราะห์ดิน ความรู้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพ พด.13 แนวทางการ ปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำตำบล โปรแกรมการใช้ปุ๋ยรายแปลงตามค่าวิเคราะห์ที่ได้ในระดับพืช เศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวโพด การจัดการดินเพื่อสู่กระบวนการขอรับรองเกษตร อินทรีย์ PGS สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 4 งบประมาณจัดอบรม 686,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 980 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ นครพนม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ การอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องวิเคราะห์ดิน/หมอดิน E-Service การจัดการดิน


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 16 การอนุรักษ์ดินและน้ำ ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. น้องดินดี ไลน์แอปพลิเคชัน ศาสตร์พระราชากับการ พัฒนาที่ดิน การสร้างเครือข่ายหมอ ดินอาสาและการขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง แอปพลิเคชันกรมพัฒนาที่ดิน ภูมิปัญญาการปรับปรุงบำรุงดินของหมอดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 งบประมาณจัดอบรม 683,200 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 976 ราย คิดเป็นร้อยละ 15 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่ รับผิดชอบ 8 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บึงกาฬ มหาสารคาม สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานีการอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของกรมพัฒนาที่ ดินและแอปพลิเคชัน การลดต้นทุนการผลิตด้วย การใช้ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน การ ปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (Zoning by Agri-map) การจัดการดินทางการเกษตรอย่างตรงจุด แม่นยำ เกษตรอินทรีย์ PGS การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกทางการเกษตร : ในสวนไม้ผล การใช้เทคโนโลยี ชีวภาพในสวนไม้ผล การวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพในแปลงการเกษตร การอนุรักษ์ดินและน้ำ การจัดการการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมทางการเกษตร การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดทำบัญชี รายรับรายจ่ายในครัวเรือน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 งบประมาณจัดอบรม 232,400 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 360 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 สถานีพัฒนาที่ดิน 1 ศูนย์ฯ ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และ ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนา ที่ดินโครงการหลวง การอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการทำเกษตรตามแนวหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงการทำเกษตรอินทรีย์ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การศึกษาการเลี้ยงกบ การเพาะ หนูนา การปลูกพืชผสมผสาน การเพิ่มผลผลิตลำไย กระเทียม และการสร้างมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) การปลูกไม้ผลผสานและการปลูกทุเรียน วิเคราะห์ดินชุดตรวจสอบดินอย่างง่าย (LDD test Kit) การบริหารและสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ดิน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 7 งบประมาณจัดอบรม 232,400 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 332 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ เชียงราย น่าน พะเยา และแพร่ การอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการปรับตัวการทำการเกษตรให้เข้ากับยุค 4.0 ทรัพยากรดินและความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ที่ดิน โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกรรายแปลงผ่านบัตรดินดีการใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดใน นาข้าว การใช้ Application ที่สำคัญในงานพัฒนาที่ดิน การทำเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 8 งบประมาณจัดอบรม 287,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 410 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 5 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย และอุตรดิตถ์ การอบรมมีภาคบรรยายและ ภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องวันดินโลก 5 ธันวาคม ความจริง 5 ประการ ดินเป็นรากฐานของอาหารที่สมบูรณ์ และ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 17 เรื่อง เกษตรอินทรีย์ความมั่นคงทางอาหารความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม บัตรดินดี และ ฝึกปฏิบัติการใช้ AI Chatbot น้องดินดี การปลูกข้าวโดยใช้เทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต การวางแผน การใช้ที่ดิน การปรุงดิน การปลูกไม้ผล การตลาด การปรับตัวการทำการเกษตรให้เข้ากับยุค 4.0 การ วิเคราะห์ดินและการจัดการดิน การปรับปรุงบำรุงดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 9 งบประมาณจัดอบรม 210,000 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 300 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 4 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ สุโขทัย และอุทัยธานีการอบรมมีภาคบรรยายและ ภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการปลูกพืชในโรงเรือนอัจฉริยะการ ปลูกมะเขือเทศราชินีและ ผลิตปุ๋ยหมักจากมูล ไส้เดือน และดินผสม องค์ความรู้ด้านเกษตรกรรมเพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย (โครงการ 9101 ตาม รอยเท้าพ่อใต้ร่มพระบารมี) การจัดการศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินและการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากขยะเหลือใช้การใช้ Application กรมพัฒนาที่ดิน วิถีชีวิตและจิตวิญญาณชาวนาไทย และ มาตรฐานการผลิต การตลาด ขยายโอกาสส่งออกข้าวไทยการบริหารจัดการดินเชิงรุกเกษตรกรรายแปลง ผ่าน บัตรดินดี การผลิตข้าวอินทรีย์และการขยายเชื้อแบบลูกทุ่ง การใช้ระบบ E-service ตรวจดิน เพื่อ การเกษตรระบบหมอดินตรวจดิน e-service วิเคราะห์ดินออนไลน์ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 งบประมาณจัดอบรม 232,400 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 332 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 6 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร การอบรมมีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการผลิตพืชให้เป็นไปตาม ความต้องการของตลาด (ถั่วเขียว) และการแปรรูปถั่วเขียวเพื่อเพิ่มมูลค่า การลดต้นทุนการผลิตด้วยเขต กรรม การบริหารจัดการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การทำการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การเลี้ยงปลา การใช้พลังงานทดแทน (โซล่าเซลล์) ระบบปั๊มน้ำ เพื่อการเกษตร และพลังงานไฟฟ้า เทคนิคการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ การขับเคลื่อนหมอดินอาสา 4.0 เกษตร อินทรีย์ PGS การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตรของตนเอง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพสูง และการบ่มดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 11 งบประมาณจัดอบรม 260,400 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 372 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง และสุราษฎร์ธานี การอบรม มีภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการจัดการดิน ปุ๋ย และธาตุอาหารพืช การวิเคราะห์ดิน E-service ตรวจสอบดินเพื่อการเกษตร ฝึกปฏิบัติใช้งาน Application กรมพัฒนาที่ดิน และการผลิต ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง หลุมดินและวัตถุต้นกำเนิดของดิน การผลิตน้ำหมักชีวภาพและสารไล่แมลงศัตรูพืช หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกผักบนกระเบื้องโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพกรมพัฒนาที่ดิน


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 18 สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 12 งบประมาณจัดอบรม 232,400 บาท มีหมอดินอาสาเข้าร่วม 332 รายคิดเป็นร้อยละ 5 ของหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรม โดยเป็นหมอดินอาสาที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ 7 สถานีพัฒนาที่ดิน ได้แก่ ตรัง นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา และสตูล การอบรมมีภาคบรรยาย และภาคปฏิบัติ เช่น เรื่องการเกษตรทฤษฎีใหม่ การปลูกผักอินทรีย์บนกระเบื้อง และสาธิตการผสมดินที่ใช้ ในการปลูกผักบนกระเบื้อง การบริหารจัดการพื้นที่รูปแบบ โคก หนอง นา โมเดล การปลูกพืชร่วมยาง (แบบผสมผสาน) การทำนาบัว ทรัพยากรดินจังหวัดยะลาและการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศดิน การทำ การเกษตรผสมผสานด้วยเทคโนโลยีกรมพัฒนาที่ดิน รายละเอียดดังแสดงในภาพที่ 3 และตารางที่ 2 ภาพที่ 3 แสดงจำนวนหมอดินอาสาที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่ 2


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 19 ตารางที่ 2 จำนวนหมอดินอาสา และหัวข้อการอบรมหลักสูตรที่ 2 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม สพข.1 790 กรุงเทพมหานคร 10 12-13 ก.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. ฐานพิพิธภัณฑ์ดิน ฐานแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ ฐานแปลงผักพื้นบ้านฐานแปลงเกษตรยั่งยืน 2. ศึกษาดูงาน ระดมความคิดเห็น แลกเปลี่ยน เรียนรู้ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศูนย์ เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) ม.6 บ้านตลิ่งชัน ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสาร คาม จังหวัดฉะเชิงเทรา นายไพลิน นพกัณฑ์ หมอดินอาสาหมู่บ้าน (วิทยากรประจำศูนย์ฝึก ปฏิบัติการ ชัยนาท 40 22-23 มี.ค. 66 และ 20-21 ก.ค.66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การปลูกพืชในโรงเรือน 2. การปรับปรุงดิน 3. การปลูกหญ้าแฝก 4. การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 5. การปลูกมะม่วง 6. การทำเกษตรผสมผสาน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน นายชาตรี รักธรรม ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (2) ศูนย์ผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าวเฮียใช้ (นายพิชัย เจริญธรรมรักษา) ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี(3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน นายชาตรี รักธรรม ตำบลจระเข้สามพัน อำเภออู่ทอง


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 20 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม จังหวัดสุพรรณบุรี (4) ศูนย์ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเฮีย ใช้ (นายพิชัย เจริญธรรมรักษา) ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี นครนายก 40 30-31 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. กระบวนการผลิตปุ๋ยเคมี และโดรนเพื่อการ เกษตร 2. นวัตกรรมเกษตรครบวงจร KUBOTA FARM TOUR 3. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพของกรมพัฒนา ที่ดินในสวนไม้ผล จัดอบรมที่ (1) บริษัท ไอซีพี อินเตอร์เนชั่นแนล ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี(2) KUBOTA FARM ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี(3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ พัฒนาที่ดิน หมอดินสมชาย บุญก่อเกื้อ ตำบล กร่า อำเภอแกลง จังหวัดระยอง นครปฐม 80 30-31 มี.ค. 66 และ 11-12 ก.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. การปรับปรุงบำรุงดิน การผลิตสารชีวภาพจาก พด. การผลิตปุ๋ยหมัก 3. ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง การเลี้ยงไส้เดือน 4. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อลด หรือทดแทนปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีทางการเกษตร จัดอบรมที่ (1) โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดิน เสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านสารภี ตำบล จอมปลวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (3) ศูนย์ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้เทคโนโลยีด้าน การเกษตร (ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา)


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 21 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี บ้านนายบุญมี เนตรสว่าง (4) ศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดิน ตำบลท่า เสา อำเภอไทรโยคจังหวัดกาญจนบุรี บ้านนาย สมชาย แซ่ตัน นนทบุรี 26 30-31 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและฝึกปฏิบัติ การปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรผสมผสาน จัดอบรมที่ (1) โครงการศึกษาวิธีการฟนฟูที่ดิน เสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี (2) ศูนย์ถายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบล รางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปทุมธานี 40 16-17 ส.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. นวัตกรรมเกษตรครบวงจร KUBOTA FARM TOVR 3. การท่องเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสานด้าน การพัฒนาด้านการเกษตร จัดอบรมที่ (1) ศูนย์เรียนรูเศรษฐกิจพอเพียง กองบัญชาการทหารชวยรบที่ 1 ตำบลเกาะจันทร อำเภอเกาะจันทร จังหวัดชลบุรี(2) ศูนย์เรียนรู้ และการทองเที่ยวเชิงเกษตรผสมผสาน (สวนยาย ดา) ตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง (3) โครงการบริหารพัฒนาปลวกแดงตามพระราชดําริ ตําบลแม่น้ำคู อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง พระนครศรีอยุธยา 130 20-21 มิ.ย. 66 1 ภาคบรรยายและฝึกปฏิบัติการปรับปรุงบำรุงดิน แนวทางการปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน ตำบลหนองสาหราย อำเภอพนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี(2) ไร่คุณชาย ตำบลท่าเสา อำเภอไทร โยค จังหวัดกาญจนบุรี


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 22 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม ลพบุรี 110 26-27 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ การทำการเกษตรอย่างเหมาะสม (เกษตรพอเพียง เกษตรผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่) จัดอบรมที่ศูนย์ฝกหมอดินอาสา หมูที่ 5 ตำบลไม้ เค็ด อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี สระบุรี 100 29-30 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ การทำเกษตรอย่างเหมาะสม (เกษตรพอเพียง เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่) จัดอบรมที่ (1) โครงการศูนย์บริการการพัฒนา ปลวกแดงตามพระราชดําริจังหวัดระยอง ตำบล แม่น้ำคูอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง (2) ศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน หมอดินอาสา นายมานัด โพธิ์แก้ว หมู่ที่ 3 ตำบลตะพง อำเภอ เมืองระยอง จังหวัดระยอง สุพรรณบุรี 102 29-30 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและฝึกปฏิบัติ เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การทำการเกษตรอย่าง เหมาะสม (เกษตรพอเพียง เกษตรผสมผสาน) จัดอบรมที่ (1) ศูนย์เครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ฟาร์มรื่นรมย์ แปลงบ้านนายวสันต์ รื่นรมย์ ม.3 ตำบลห้วยยาง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (2) ศูนย์บริการการ พัฒนาปลวกแดงตามพระราชดำริจังหวัดระยอง ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง สิงห์บุรี 40 30-31 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและฝึกปฏิบัติ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน น.ส.ธนิสร ลักษณะภู หมอดินอาสา บ้าน เลขที่ 144 หมู่ 5 ตำบลดอนขุนห้วย อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี (2) ศูนย์ปฏิบัติการจัดการที่ดินชัย พัฒนา-แม่ฟ้าหลวง ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 23 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม สมุทรปราการ 20 2-3 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและฝึกปฏิบัติ ฐานพิพิธภัณฑ์ดิน ฐานแปลงสาธิตทฤษฎีใหม่ ฐานแปลงผักพื้นบ้าน ฐานแปลงเกษตรยั่งยืน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศูนย์ เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) หมู่ 6 บ้านตลิ่งชัน ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสาร คาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างทอง 52 26-27 ก.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ การทำเกษตรแบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิต เมล็ดพันธุ์ข้าว จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน ประจำตำบลดอนขวาง (นางประนอม ทองงาม “สวนเกษตรบ้านคุณนายโฮ”หมอดินอาสาประจำ หมู่บ้าน) เลขที่ 31 หมู่ที่ 4 ตำบลดอนขวาง อำเภอ เมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี (2) ศูนยเรียนรูการ เพิ่มประสิทธิภาพสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลหาด ทะนง อำเภอเมืองอุทัยธานี จังหวัดอุทัยธานี สพข.2 418 จันทบุรี 80 23-24 มี.ค. 66 10-11 พ.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง 2. การใช้สารชีวภัณฑ์การป้องกันกำจัดศัตรูพืช 3. การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน 4. เตาสำหรับผลิตแก๊ส และไบโอชาร์ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (นายไพริน นพกัณฑ์) ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศูนย์ศึกษาการพัฒนา เขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 24 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (3) คูโบต้าฟาร์ม ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา 86 8-9 มี.ค. 66 31 พ.ค.–มิ.ย. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การทำนาและการแปรรูปข้าว (หอมมะลิดำ หอมมะลิแดงไรซ์เบอรี่ ข้าวเหนียวปั้นเป็นข้าวตอก ปั้น) 2. การปลูกมะพร้าว 3. การทำเกษตรแบบผสมผสาน 4. การทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักเบญจคุณ 5. การทำปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ด,การทำสารชีวภัณฑ์, การทำปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยอินทรีย์ 6. การเพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดฟางกองเตี้ย 7. การเผาถ่านแบบไร้ควัน/น้ำส้มควันไม้ 8. การเลี้ยงกบแบบกระชังบก จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา (นายอ๋า พรม ไธสง) ตำบลทุ่งควายกิน อำเภอแกลง จังหวัด ระยอง (2) โครงการศูนย์บริการพัฒนาปลวกแดง ตามพระราชดำริ ตำบลแม่น้ำคู้ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง (3) ศูนย์ฝึกหมอดินอาสา(นายรัก ชาติ กลางนอก) (4) ตำบลวัดสุวรรณ อำเภอบ่อ ทอง จังหวัดชลบุรี(5) ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขา หินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลเขาหิน ซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี 64 11-12 พ.ค.66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. หมอดินอาสากับงานกรมพัฒนาที่ดิน 2. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ 3. การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 4. การปรุงดิน 5. ความหลากหลายทางชีวภาพ 6. การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 25 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม จัดอบรมที่ (1) ศูนย์วิจัยการอนุรักษ์ดินและน้ำ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (2) โครงการ ทหารพันธุ์ดีกรมพลาธิการทหารบก จังหวัด นครราชสีมา ตราด 20 3-4 เม.ย. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. เกษตรทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง 2. การจัดการดินเพื่อเข้าสู่กระบวนการเกษตร อินทรีย์ 3. การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด. 4. การเก็บตัวอย่างดินพร้อมส่งตัวอย่างดิน การประเมินความสมบูรณ์ของดิน 5. การอบรมการผลิตและใช้ปุ๋ยหมักโดยสารเร่ง ซุปเปอร์ พด.1 เพื่อผลิตผลไม้อินทรีย์ 6. การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชในไม้ผลด้วย วิธีผสมผสาน 7. การสาธิตการใช้กระเป๋าวิเคราะห์ดิน และการ ให้ความรู้ด้านการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อผลิตทุเรียน คุณภาพ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน บ้านชุมแสง (นายบัณฑิต กูลพฤกษี) ตำบล เขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด (2) ศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน (นายชัยวัฒน์ ปริ่มผล) ตำบลเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัด ตราด (3) สวนผลไม้ ตำบลประณีต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด ปราจีนบุรี 64 28 ก.พ.–1 มี.ค.66, 30-31 พ.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. หมอดินอาสากับงานกรมพัฒนาที่ดิน 2. การทำเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง 3. การจัดการดินเปรี้ยวในนาข้าว


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 26 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 4. การใช้แอปพลิเคชั่นวางแผนการเพาะปลูกพืช 5. การเกษตรทฤษฏีใหม่ 6. การใช้รถปลูกผักแบบกึ่งอัตโนมัติ จัดอบรมที่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน (1) ว่าที่ร.ตำบลกิตติศักดิ์ เขยทอง) ตำบล สวนพริก อำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (2) นายสมหมาย เกตุแก้ว ตำบลป่าขะ อำเภอ บ้านนา จังหวัดนครนายก (3) นายไพริน นพกัณฑ์ ม. 6 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา (4) คูโบต้าฟาร์ม ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ระยอง 40 31 พ.ค.-1 มิ.ย. 66 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพ ของหมอดินอาสาด้านการเกษตร โดยใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาที่ดิน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน (นายไพริน นพกัณฑ์) ม. 6 ตำบลท่าถ่าน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา (2) ศูนย์ ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระ ราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา สระแก้ว 64 9-10 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การทำเกษตรอินทรีย์ 2. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการบริหาร จัดการที่ดี ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. การผลิตและการใช้ปุ๋ยหมักแห้ง 4. การส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ 5 .การใช้ประโยชน์จากแหนแดงและการขยาย พันธุ์แหนแดง 6. การผลิตและการใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินตำบลตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 27 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม (2) โครงการศูนย์บริการการพัฒนาปลวกแดงตาม พระราชดำริ อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง สพข.3 893 ชัยภูมิ 140 21-22 มี.ค. 66, 23-24 มี.ค. 66 2 การบรรยายและฝึกปฏิบัติ 1. เศรษฐกิจพอเพียง 2. การจัดการดินและน้ำ 3. การปลูกพืชผสมผสาน 4.ระบบโซล่าเซลล์และระบบน้ำหยด ฝึกอบรมที่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตร ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา 340 23-24 มี.ค. 66, 27-28 มี.ค. 66, 29- 30 มี.ค. 66 4 การบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การทำการเกษตรแบบผสมผสาน โดยน้อมนำ หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้จน ประสบความสำเร็จ 2. การวางแผนการใช้ที่ดิน 3. การวิเคราะห์ดิน 4. ความรู้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. 5. การผลิตปุ๋ยหมัก พด. และน้ำหมักชีวภาพ 6. แนวทางการปฏิบัติงานของหมอดินอาสาประจำ ตำบล 7. ทิศทางและแผนงานปีงบประมาณ 2566 ในเขต พื้นที่จังหวัดนครราชสีมา 8. โปรแกรมการใช้ปุ๋ยรายแปลงตามค่าวิเคราะห์ที่ ได้ในระดับพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด และมันสำปะหลัง


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 28 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 9. ศึกษาดูงาน การผลิตเกษตรอินทรีย์/ปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมัก พด.13 การจัดการดินเพื่อสู่ กระบวนการขอรับรองเกษตรอินทรีย์ PGS ศูนย์ ฝึกหมอดินอาสาบ้านคลองมะละกอ ตำบลสระ ขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว 10. ศึกษาดูงานแปลงใหญ่สมุนไพรบ้านคลองสิบ สาม ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัด สระแก้ว การปรับปรุงดินเพื่อปลูกสมุนไพรเพื่อ การค้า และการแปรรูปสมุนไพร ฝึกอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติหมอดินอาสา ตำบล หมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ ศึกษาดูงานแปลงต้นแบบโครงการจัดระบบ อนุรักษ์ดินและน้ำ ตำบลละลมใหม่พัฒนา อำเภอ โชคชัย จังหวัดนครราชสีมา (2) ศูนย์ถ่ายทอด เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ตำบลขุนทอง อำเภอบัว ใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาดูงานในพื้นที่ อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์(3) ศูนย์พัฒนา ไม้ผลตามแนวพระราชดำริ ตำบลท่าหลวง อำเภอ มะขาม จังหวัดจันทบุรี และสวนไม้ผล พลอยมณี ตำบลปะตง อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี (4) ศูนย์ฝึกหมอดินอาสาบ้านคลองมะละกอ ตำบล สระขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว บุรีรัมย์ 220 6 การบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การจัดการดิน 2. เกษตรทฤษฎีใหม่ 3. การนำเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินมา ประยุกต์ใช้ในพื้นที่ (พด.1,พด.2,พด.3,พด.6,พด.7, หญ้าแฝก,ปุ๋ยพืชสด) 4. เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงไร่นาสวนผสม การ ปลูกผักปลอดสารพิษ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 29 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 5. แฝก การใช้ประโยชน์และการขยายพันธุ์ 6. การบริหารจัดการพื้นที่เพื่อการเกษตร 7. การวิเคราะห์ดินภาคสนาม ฝึกอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ (2) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสิน ค้าเกษตรอำเภอเมืองบุรีรัมย์ (เครือข่าย) จังหวัด บุรีรัมย์(3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ ดินตำบลตาจง อำเภอละหานทราย จังหวัดบุรีรัมย์ (4) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินตำบล แสลงโทน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ (5) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินตำบลเมือง ฝ้าย อำเภอหนองหงษ์ จังหวัดบุรีรัมย์ (6) ศูนย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินตำบลหัวฝาย อำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ 193 28 มี.ค. 66, 29 มี.ค. 66, 2 ภาคบรรยาย หมอดินอาสากับแนวทางการอบรม หมอดินในยุคดิจิทัล ภาคปฎิบัติ ฐานที่ 1 การอารักขาพืชผัก (สารชีวภัณฑ์) ฐานที่ 2 คนรักษ์ดิน (การเตรียมดินเพาะปลูกพืช) ฐานที่ 3 การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ฐานที่ 4 การผลิตอาหารปลา ฐานที่ 5 การเลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ฐานที่ 6 การเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย ฐานที่ 7 การทำเกษตรอินทรีย์ ฝึกอบรมที่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตสินค้าเกษตร บ้านโนนงิ้ว หมู่ที่ 4 ตำบลหนอง สนิท อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ สพข.4 980 นครพนม 100 30 พ.ค. 66, 31 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยาย - วิเคราะห์ดิน/หมอดิน E-Service


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 30 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม - การจัดการดิน - การอนุรักษ์ดินและน้ำ - ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด. - น้องดินดี ไลน์แอพพลิเคชัน ภาคปฏิบัติ - ศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นายสวรรค์ สีเสนาะ - ศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นายเนียม นาโควงค์ - ฝึกปฏิบัติการผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยอินทรีย์ คุณภาพสูง ฝึกอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม (2) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน ตำบลนางัว อำเภอนาหว่าน จังหวัดนครพนม มุกดาหาร 50 11-12 พ.ค. 2566 1 ภาคบรรยาย - นโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี2566 –2567 - ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ พด.2 และ พด.7 และปุ๋ย หมักคุณภาพสูง - การใช้ชุดวิเคราะห์ดิน ภาคสนาม - โครงการที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูก ข้าวไม่เหมาะสมเป็นเกษตร ผสมผสาน - น้องดินดี ไลน์แอปพลิเคชัน ภาคปฏิบัติ - ศึกษาดูงานที่ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นายเฉลิม น้อยทรง (ทุเรียน) - ศึกษาดูงานที่นาเกษตรปันสุข อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม เพื่อศึกษาการทำเกษตรทฤษฎี ใหม่สู่การเป็นเกษตรเชิงท่องเที่ยว


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 31 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม - ศึกษาดูงานกลุ่มแปลง ใหญ่ผู้เลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และ นาเกษตร ปันสุข อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ยโสธร 80 28 มี.ค. 66, 29 มี.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ - การผลิตพืชผักอินทรีย์ - การเกษตรผสมผสาน เทคนิคการขายสินค้า ออนไลน์ - เทคนิคการจัดการพื้นที่ให้ผลิตสินค้าเกษตรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ - การผลิตปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ/สารไล่แมลง จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการพัฒนาที่ดิน ตำบลสามัคคี อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร (2) ศูนย์ปฏิบัติการด้านการพัฒนาที่ดินตำบลคำน้ำ สร้าง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด 240 26-27 เม.ย. 66, 15-16 มิ.ย. 66 2 ภาคบรรยาย -ศาสตร์พระราชากับการ พัฒนาที่ดิน -การสร้างเครือข่ายหมอ ดินอาสาและการ ขับเคลื่อนงานพัฒนาที่ดิน -ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง -แอปพลิเคชันกรมพัฒนาที่ดิน -ภูมิปัญญาการปรับปรุงบำรุงดินของศูนย์ฝึกอบรม ภาคปฏิบัติ -การผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง -ศึกษาดูงานการเพาะเห็ดระโงกในไม้ป่าวงศ์ยาง -ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการดิน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินบ้านเก่าน้อย หมู่ 6 ตำบลไพศาล อำเภอ ธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด (2) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร บ้านหนองแค


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 32 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม เจริญสุข หมู่ 17 ตำบลดูกอึ่ง อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด (3) ศูนย์ถ่ายทอดการเทคโนโลยี การพัฒนาที่ดิน ตำบลหนองแวง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด (4) สวนไร่นาเกษตรผสมผสาน นางสรัญญา ไชยป่ายาง บ้านเมืองหงส ตำบลเมือง หงส์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด (5) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร ตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ 230 14-15 มิ.ย. 66, 15-16 มิ.ย. 66,20- 21 มิ.ย. 66, 28-29 มิ.ย. 66 4 ภาคบรรยาย - นโยบายกรมพัฒนาที่ดิน ปี2566/การจัดการ ดิน/ การวิเคราะห์ดิน/ผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ พด./ การวางแผนการใช้ที่ดิน/ การอนุรักษ์ดินและน้ำ/ เกษตรผสมผสาน/การจัดการดินเพื่อปลูกทุเรียน ทฤษฎี ใหม่/การปลูกทุเรียน GAP/แนวทางการขึ้น ทะเบียนทุเรียน GAP ภาคปฏิบัติ - ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ฝึก ปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นายทศพล สวะจันทร์ บ้านซำตารมย์ หมู่ 7 ตำบลตระกาจ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ - ศึกษาดูงาน กลุ่มแปลง ใหญ่ทุเรียน ณ สวนลุง เวียง บ้านซำขี้เหล็ก หมู่ที่10 ตำบลพราน อำเภอ ขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จัดอบรมที่ (1) สำนักงานเกษตรอำเภออุทมพร พิสัย (2) สวนลุงเวียง บ้านซำขี้เหล็ก หมู่ที่10 ตำบล พราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ อุบลราชธานี 230 10-11 พ.ค.66 1 ภาคบรรยาย การสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนางาน กรมพัฒนาที่ดิน โดย ผู้อำนวยการสถานีพัฒนา ที่ดินอุบลราชธานี ภาคปฏิบัติแบ่งกลุ่มย่อยเข้าร่วม กิจกรรมอบรมถัง ความรู้1. การจัดการดิน 2. ผลิตภัณฑ์ จุลินทรีย์ พด.


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 33 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 3. E-service , Application กรมพัฒนาที่ดิน, นวัตกรรมกรมพัฒนาที่ดิน จัดอบรมที่อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี และโรงงาน ต้นแบบ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ 50 30 พ.ค. 66, 31 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ - เรียนรู้การผลิตพืชผักอินทรีย์ - เรียนรู้การเกษตรผสมผสาน - เทคนิคการขายสินค้าออนไลน์ - เทคนิคการจัดการพื้นที่ให้ผลิตสินค้าเกษตรได้ อย่างมีประสิทธิภาพ - เรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมัก - เรียนรู้การผลิตน้ำหมักชีวภาพ - เรียนรู้การปลูกพืช สมุนไพรอินทรีย์ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการด้านการพัฒนา ที่ดิน ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมือง จังหวัด อำนาจเจริญ (2) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการด้านการพัฒนา ที่ดิน ตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ สพข.5 976 กาฬสินธุ์ 145 13-14 มิ.ย. 66 1 ภาคบรรยาย 1.การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกรมพัฒนาที่ ดินและแอปพลิเคชัน 2.การลดต้นทุนการผลิตด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์กรม พัฒนาที่ดิน 3.การปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม (Zoning by Agri-map) ศึกษาดูงานพื้นที่หมอดินอาสา แปลงที่ 1 การทำ เกษตรผสมผสาน ได้แก่ เลี้ยงปลา ปลูกผักอินทรีย์ นาข้าว ปศุสัตว์ แปลงที่ 2 การจัดการดินสำหรับ ปลูกทุเรียน


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 34 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม จัดอบรมที่ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ ดิน ตำบลห้วยโพธิ์อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น 202 15-16 พ.ค.66 1 ภาคบรรยาย การจัดการดินทางการเกษตรอย่างตรงจุดแม่นยำ ภาคปฏิบัติ สาขาที่ 1 การจัดการดินทรายด้วยหญ้าแฝก สาขาที่ 2 การลดต้นทุนการผลิต โดยการใช้ผลิต ภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น และ (2) ชุดาปาร์ค รีสอร์ท ตำบลบ้านคอน อำเภอ เมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น บึงกาฬ 52 5-6 เม.ย. 66 1 ภาคบรรยาย สาขาที่ 1 การปรับปรุงบำรุงดิน สาขาที่ 2 การลดต้นทุนการผลิต ด้วยการใช้ ผลิตภัณฑ์กรมพัฒนาที่ดิน สาขาที่ 3 เกษตรอินทรีย์ PGS สาขาที่ 4 การผลิตพืช จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน (นางชำนาญ อยู่งาน) บ้านแสนเจริญหมู่ที่ 10 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึง กาฬ และ (2) สถานีพัฒนาที่ดินบึงกาฬ หมู่ 11 ตำบลโนนสมบูรณ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัด บึงกาฬ มหาสารคาม 160 19-20 เม.ย. 66 1 ภาคบรรยายและแบ่งฐานการเรียนรู้ ฐานที่ 1 การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ฐานที่ 2 เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ฐานที่ 3 การจัดการดินและน้ำ ฐานที่ 4 การอนุรักษ์ดินและน้ำด้านด้วยหญ้าแฝก ฐานที่ 5 นวัตกรรมกรมพัฒนาที่ดิน พด.14 ฐานที่ 6 พื้นฐานทางดินและหน้าตัด


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 35 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการ พัฒนาที่ดิน หมอดินสุมาต ศรีประเสริฐ ตำบลเหล่า ดอกไม้ อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม และ (2) หอประชุมเขื่อนลำปาว อำเภอยางตลาด จังหวัด กาฬสินธุ์ สกลนคร 125 18-19 พ.ค. 66 1 ภาคบรรยาย 1. การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกทางการเกษตร : ใน สวนไม้ผล 2. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสวนไม้ผล 3. การวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพใน แปลงการเกษตร ฐานการเรียนรู้เรื่อง การขยายพันธุ์พืช (ไม้ผล) จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นายสมชาย ทองดี นอก ตำบลหลุบเลา อำเภอ ภูพาน จังหวัดสกลนคร (2) โรงแรมพีซี แกรนด์ พาเลช อำเภอเมือง จังหวัด สกลนคร หนองคาย 65 4-5 เม.ย. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ Application ของกรมพัฒนาที่ดิน จัดอบรมและศึกษาดูงานที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทค โนโลยี นายอิทธิเชษฐ ชมภู ตำบลนาหนัง อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย (2) ศูนย์ถ่าย ทอด เทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน นายวีระ แสนจิว ตำบล บ้านเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู 62 25–26 เม.ย. 66,30–31 พ.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การใช้ประโยชน์หญ้าแฝกทางการเกษตร : ใน สวนไม้ผล 2. การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสวนไม้ผล 3. การวางแผนการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพใน แปลงการเกษตร 4. การอนุรักษ์ดินและน้ำ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 36 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 5. การจัดการการใช้พื้นที่ให้เหมาะสมทางการ เกษตร 6. การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ 7. การผลิตปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ 8. การจัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายในครัวเรือน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นางภูริ นทร์ โคตรพรมมา ตำบลนาคำไฮ อำเภอ เมือง จังหวัดหนองบัวลำภู (2) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการ พัฒนาที่ดิน นายสิงทอง นาชัย ตำบลหนองเรือ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู อุดรธานี 165 26-27 เม.ย. 66 1 ภาคบรรยาย 1. การปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่ เหมาะสมตาม Agri-Map 2. การปรับปรุงบำรุงดิน 3. การบริหารจัดการน้ำ โดยใช้ระบบ Solarcell การแบ่งฐานเรียนรู้ ฐานที่ 1 ระบบเกษตรแม่นยำ ฟาร์มอัจฉริยะ (Handy Sense) ฐานที่ 2 วิธีทดสอบความงอกของเมล็ดพันธุ์ผัก และการทำความสะอาด/การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ผัก ฐานที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปผลการอบรม และตอบปัญหาข้อซักถาม จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน นาง นุชนารถ แก้สว่าง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี และ (2) ศูนย์ขยายพันธุ์พืชที่ 10 ตำบลเมืองเพีย อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สพข.6 360 เชียงใหม่ 158 10-11 เม.ย. 66, 17-18 3 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 37 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม ก.ค. 66, 8-9 ส.ค. 66 จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินประจำตำบลสันทราย อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ (2) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินประจำตำบลสันติสุข อำเภอดอยหล่อ จังหวัด เชียงใหม่ (3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินประจำตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน 32 29-30 พ.ค. 66, 29-30 ส.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดินประจำตำบลห้วยโปง อำเภอเมือง จังหวัด แม่ฮองสอน (2) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ พัฒนาที่ดินประจำตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่ สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ลำปาง 76 4-5 เม.ย. 66, 8-9 ส.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. ศึกษาการทำเกษตรตามแนวหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงการทำเกษตรอินทรีย์ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง 2. การศึกษาการเลี้ยงกบ เพาะหนูนา การปลูก พืชผสมผสาน 3. การเพิ่มผลผลิตลำไย และกระเทียม และการ สร้างมูลค่าสินค้าทางการเกษตร 4. ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรอินทรีย์แบบมี ส่วนร่วม (PGS) 5. การปลูกไม้ผลผสานและการปลูกทุเรียนใน ลำปาง จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน กฟผ.แม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง (2) โครงการทหารพันธุ์ดี ค่ายสุรศักดิ์มนตรี มทบ. 32 จังหวัดลำปาง (3) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการ พัฒนาที่ดิน ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโอ่ง จังหวัด ลำพูน (4) ศูนยเรียนรูครั่งไทยครีเอเชียกรุป


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 38 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม ตำบลบอแฮว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง (5) ศูนยเรียนรูเทคโนโลยีดานการ พัฒนาที่ดิน ตำบลหัวเสือ อำเภอแมทะ จังหวัดลำปาง (6) สวน แช้มป์เกษตรอินทรีย ตำบลพระบาท อำเภอเมือง ลำปาง จังหวัด ลำปาง (7) สวนเอกอำไพ ตำบล บานคา อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ลำพูน 76 3-4 เม.ย. 66, 23-24 มิ.ย. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ จัดอบรมที่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาหวยฮองไคร้อัน เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงใหม่ ศพล. 18 22 มิ.ย. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. บทบาทและหน้าที่ของหมอดินอาสา 2. การวิเคราะห์ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครง การหลวง ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริมจังหวัด เชียงใหม่ (2) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนา ที่ดิน (นางเทียมตา ปาลี) ตำบลแช่ช้าง อำเภอสัน กำแพง จังหวัด เชียงใหม่ สพข.7 332 เชียงราย 84 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติเรียนรู้ นายธนดล มหาพรม หมอดินอาสา บ้านเลขที่ 180/1 หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย (2) ศูนย์ฝึกปฏิบัติเรียนรู้ นายประเสริฐ เทพวัน บ้านเลขที่ 62 หมู่ 2 ตำบลเวียง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย น่าน 83 18-19 พ.ค.66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ จัดอบรมที่ (1) ไร่จุฑามาสรีสอร์ท อำเภอเชียง กลาง จังหวัดน่าน (2) ศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ถ่าย ทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินบ้านวังผา หมู่ 7 ตำบลและ อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน (3) ศูนย์


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 39 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่บ้านวังทอง หมู่ 3 ตำบล พระพุทธบาท อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน พะเยา 84 28 ก.พ.-1 มี.ค. 66, 25-26 เม.ย. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติด้านเกษตรอินทรีย์ ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา (นาย จำนงค์ นาคประดับ หมอดินอาสา) แพร่ 81 28-29 มี.ค. 66, 11-12 พ.ค. 66 2 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. เรื่องการปรับตัวการทำการเกษตรให้เข้ากับยุค 4.0 2. ทรัพยากรดินและความเหมาะสมในการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน 3. โครงการบริหารจัดการดินเชิงรุกแก่เกษตรกร รายแปลงผ่านบัตรดินดี 4. การใช้แหนแดงเป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว 5. การใช้ Application ที่สำคัญในงานพัฒนาที่ดิน 6. การทำเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎี ใหม่ จัดอบรมที่ (1) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน หมู่ 5 ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (2) ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน หมู่ 9 ตำบลสูงเม่น อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ (3) สถานี พัฒนาที่ดินแพร่ ตำบลทุ่งศรี อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ (4) ศูนย์ฝึกปฏิบัติการพัฒนาที่ดิน หมู่ 7 ตำบลห้วยโรง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ สพข.8 410 พิจิตร 74 28-29 มี.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. จุดเริ่มต้นของวันดินโลก 5 ธันวาคม 2. ความจริง 5 ประการ ดินเป็นรากฐานของ อาหารที่สมบูรณ์ และเรื่อง เกษตรอินทรีย์ความ มั่นคงทางอาหารความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม


รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมหมอดินอาสา 4.0 ปีงบประมาณ 2566 40 หน่วยงาน จำนวน หมอดิน (ราย) วัน/เดือน/ปี ที่จัดอบรม จัด การอบรม (ครั้ง) หัวข้อการอบรม /สถานที่จัดอบรม 3. บัตรดินดี และ ฝึกปฏิบัติการใช้ AI Chatbot น้องดินดี 4. การปลูกข้าวโดยใช้เทคโนโลยี 5. ด้านการพัฒนาที่ดินเพื่อลดต้นทุนการผลิต 6. การวางแผนการใช้ที่ดิน การปรุงดิน การปลูกไม้ ผล และการตลาด จัดอบรมที่ (1) สถานีพัฒนาที่ดินพิจิตร ตำบลโรง ช้าง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร (2) ศูนย์ถ่าย ทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดินประจำ ตำบลสาม ง่าม ท่าโบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท (3) แปลงเรียนรู้สวนศรีบุญนาค ตำบลสามง่ามท่า โบสถ์ อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท พิษณุโลก 90 28-29 มี.ค.66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ การปรับตัวการทำการเกษตรให้เข้ากับยุค 4.0 การวิเคราะห์ดินและการจัดการดิน การปรับปรุง บำรุงดิน จัดอบรมที่ หอประชุม องค์การบริหารส่วนตำบล ยางโกลน ตำบลยางโกลน อำเภอนครไทย เพชรบูรณ์ 116 7-8 มิ.ย. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ (1) TEAM For Soils ทีมดี ดินดี มุ่งสร้างที่ทำงาน เชิงรุก คล่องแคล่ว เพื่อร่วมขับเคลื่อนให้บรรลุวิสัย ทัศน์องค์การอัจฉริยะทางดิน เพื่อขับเคลื่อนการใช้ ที่ดินอย่างเหมาะสม (2) การผลิตพืชอินทรีย์ เพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมี ส่วนร่วม PGS จัดอบรมที่ ริมดอยรีสอร์ท ตำบลท่าพล อำเภอ เมือง จังหัดเพชรบูรณ์ (2) แปลงเกษตรอินทรีย์ PGS บ้านพลำ ตำป่าเลา อำเภอเมือง จังหวัด เพชรบูรณ์ เลย 74 27-28 มี.ค. 66 1 ภาคบรรยายและภาคปฏิบัติ 1. การวิเคราะห์ดินและการจัดการดิน


Click to View FlipBook Version