The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nuimanti, 2023-11-26 22:56:03

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

รายงานผลการดำเนินงาน โครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา

ก ค ำน ำ ส านักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ตระหนัก และให้ความส าคัญกับการสร้างความ ปลอดภัยในสถานศึกษา เสริมสร้างความมั่นคงในชีวิตของผู้เรียนทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กนักเรียน และ เยาวชน จากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมและความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยธรรมชาติ ภัยจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย และเร่งด าเนินการ สร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน และ เยาวชน จ าเป็นต้องอาศัยหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในจังหวัดนครปฐมร่วมหาแนวทาง ที่เป็นรูปธรรม ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ได้เรียนรู้ และรู้วิธีป้องกันจัดการ กรณีเมื่อเกิดเหตุให้เป็นไป ตามหลักสูตรมีทักษะชีวิตที่จะดูแลตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมอุบัติเหตุและ อุบัติภัยที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา การด าเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ“โครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัย ในสถานศึกษา”เป็นนโยบายส าคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายของ ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครปฐม เรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อครูและนักเรียนแกนน า สามารถ น าความรู้ ประสบการณ์ ไปขยายผลส าหรับการป้องกันตนเองจากสถานการณ์จ าลองด้านความ ปลอดภัยในสถานศึกษา สร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกจากสถานการณ์จ าลอง ด้านความปลอดภัยใน สถานศึกษาให้กับครู และนักเรียนแกนน าในจังหวัดนครปฐม กิจกรรมประกอบด้วยฐานการเรียนรู้ จ านวน ๔ ฐาน ดังนี้ ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ การปฐมพยาบาลเพิ่มโอกาสรอดชีวิตด้วย วิทยากรจาก โรงพยาบาลนครปฐม ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ การป้องภัยจากยาเสพติด วิทยากรจากส านักงานสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ การขับขี่อย่างปลอดภัย วิทยากรจากส านักงานขนส่งจังหวัด นครปฐม และฐานการเรียนรู้ที่ ๔ การป้องกันตนเองจากการละเมิด และภัยคุกคามทางเพศ วิทยากรจาก ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครปฐม และได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จัด โครงการจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อ าเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม


ข สำรบัญ เรื่อง หน้า ค ำน ำ ก สำรบัญ ข รำยงำนผลกำรด ำเนินงำน โครงกำร : นครปฐมร่วมใจ สร้ำงควำมปลอดภัยในสถำนศึกษำ - หลักกำรและเหตุผล ๑ - วัตถุประสงค์ของโครงกำร ๓ - กลุ่มเป้ำหมำย ๓ - งบประมำณ ๕ กำรด ำเนินงำน ๖ ผลกำรด ำเนินงำน ๗ ปัญหำ/อุปสรรค และแนวทำงแก้ไข - ปัญหำ/อุปสรรค ๘ - แนวทำงแก้ไข ๘ แผนกำรด ำเนินงำนครั้งต่อไป ๘ ประโยชน์ที่ได้รับ ๘ ภำคผนวก ๙ - รูปภำพ ๑๐ - ประกำศ 13 - โครงกำร 18


1 รายงานผลการดำเนินงาน โครงการ : นครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา หลักการและเหตุผล กระทรวงศึกษาธิการมุ่งมั่นดำเนินการภารกิจหลักตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑-๒๕๘๐) ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนทุกแผนย่อยในประเด็น ๑๑ การพัฒนา การเรียนรู้และแผนย่อยที่ ๓ ในประเด็น ๑๑ การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต รวมทั้งแผนการปฏิรูป ประเทศด้านการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาลทั้งในส่วนนโยบายหลักด้านการปฏิรูป กระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย และนโยบายเร่งด่วน เรื่อง การเตรียม คนไทยสู่ศตวรรษที่ ๒๑ และพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการขับเคลื่อน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๓ (พ.ศ. ๒๕๖๖-๒๕๗๐) โดยเฉพาะหมุดหมายที่ ๑๒ ไทยมีกำลังคนสมรรถะสูง มุ่งเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙ รวมทั้งนโยบาย และ แผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยจะได้รับการพัฒนาในทุกมิติ ทั้งในด้านโอกาส ความเท่าเทียม ความเสมอภาค ความปลอดภัย และมีสมรรถณนะที่สำคัญจำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ และ มีความพร้อมร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ กำหนดหลักการสำคัญในการประกาศนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ไว้ดังนี้ ๑. สร้างความเชื่อมั่น ไว้วางใจให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนและประขาชน โดยให้ทุกหน่วยงานนำรูปแบบการทำงานโดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ โปร่งใสความรับผิดชอบ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๒. สนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนดำเนินการตามภารกิจด้วยความรับผิดชอบต่อตนเอง องค์กรประชาชน และประเทศชาติ โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ผ่านกลไกการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อการยกระดับคุณภาพ การศึกษา ๓. การดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่ประกาศ และแถลงการณ์ ไว้แล้วเมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เพื่อมุ่งเน้นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษาที่ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อผู้เรียน และประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ


2 นโยบายจุดเน้นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ๑. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ๑.๑ เร่งสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของสังคม และป้องกัน จากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่ และภัยอื่น ๆ โดยมีการดำเนินการตามแผนและมาตรการด้าน ความปลอดภัยให้แก่ผู้เรียน ครูและบุคลากรในรูปแบบต่าง ๆ อย่างเข้มข้น รวมทั้งดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ติดตามประเมินผลการดำเนินการและแสวงหาสถานศึกษาที่ดำเนินการได้ดีเยี่ยม (Best Practice) เพื่อปรับปรุง พัฒนาและขยายผลต่อไป ๑.๒ เร่งปลูกฝังทัศนคติ พฤติกรรม และองค์ความรู้ที่เกี่ยวช้อง โดยบูรณาการอยู่ใน กระบวนการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้และสร้างภูมิคุ้มกันควบคู่กับการใช้สื่อสังคม ออนไลน์ในเชิงบวกและสร้างสรรค์พร้อมทั้งหาแนวทางวิธีการปกป้องคุ้มครองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น กับผู้เรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา ๑.๓ เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะ และ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะ เกิดขึ้นในอนาคต ๑.๔ เร่งพัฒนาบทบาท และภารกิจของหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่มีอยู่ใน ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการให้ดำเนินการอย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม มีความตระหนัก และให้ความสำคัญกับการเสริมสร้าง ความมั่นคงในชีวิตของผู้เรียนในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะเด็กนักเรียน และเยาวชน จากภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยจากธรรมชาติ อุบัติเหตุ และอุบัติภัย เป็นต้น และเร่งดำเนินการดำเนินงานสร้างความปลอดภัยให้กับนักเรียน และเยาวชน จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม ในการดูแลช่วยเหลือ นักเรียนให้ได้เรียนรู้ และรู้วิธีป้องกันจัดการกรณีเมื่อเกิดเหตุ ให้เป็นไปตามหลักสูตร มีทักษะชีวิตที่จะดูแล ตนเองให้ปลอดภัยท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคม อุบัติเหตุและอุบัติภัยที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย แก่นักเรียน ครูและบุคคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาได้ ดังนั้น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้จัดทำโครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความ ปลอดภัยในสถานศึกษา ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้นักเรียน ครูและบุคลากรสถานในศึกษา มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ภัยอาชญากรรม และความรุนแรง อุบัติเหตุและอุบัติภัย ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งมีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินการความปลอดภัยในสถานศึกษาตามบริบท ของสถานศึกษาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำอีกและสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครองและ ผู้เกี่ยวข้อง


3 วัตถุประสงค์ของโครงการ ๑. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ การฝึกปฏิบัติแผนเผชิญเหตุจากสถานการณ์จำลอง ด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาให้กับครูและนักเรียนแกนนำในระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ในจังหวัด นครปฐม ๒. เพื่อให้ครูและนักเรียนแกนนำสามารถนำความรู้ ความเข้าใจ วิธีการ การป้องกันตนเอง จากสถานการณ์ไปประยุกต์ใช้และขยายผลในสถานศึกษา ๓. เพื่อให้สถานศึกษามีรูปแบบ/แนวทาง/คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา ตามบริบทของสถานศึกษาในการสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมายที่ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความ ปลอดภัยในสถานศึกษา”ในครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอน นักเรียนแกนนำของโรงเรียนมัธยมในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน ๒๙ แห่ง และสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครปฐม (เฉพาะโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) จำนวน ๑๓ แห่ง ในจังหวัด นครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๖ ดังนี้ ตารางที่ ๑ จำนวนครูและนักเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) (เฉพาะโรงเรียน ที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) ที่ ชื่อโรงเรียน อำเภอ ขนาดโรงเรียน จำนวนนักเรียน (คน) จำนวนครู (คน) ๑ บอสโกพิทักษ์ เมือง ใหญ่ ๕ ๑ ๒ สารสาสน์วิเทศนครปฐม เมือง ใหญ่ ๕ ๑ ๓ บำรุงวิทยา เมือง กลาง ๕ ๑ ๔ นาคประสิทธิ์ สามพราน ใหญ่พิเศษ ๑๐ ๒ ๕ นักบุญเปโตร สามพราน ใหญ่พิเศษ ๑๐ ๒ ๖ ยอแซฟอุปถัมภ์ สามพราน ใหญ่พิเศษ ๑๐ ๒ ๗ สุคนธีรวิทย์ สามพราน ใหญ่พิเศษ ๑๐ ๒ ๘ สกลวิทยา สามพราน ใหญ่ ๕ ๑ ๙ มารีย์อุปถัมภ์ สามพราน ใหญ่ ๕ ๑ ๑๐ เจี้ยนหัว บางเลน ใหญ่ ๕ ๑ ๑๑ อนุบาลแสงอรุณ บางเลน กลาง ๕ ๑ ๑๒ สหบำรุงวิทยา ดอนตูม กลาง ๕ ๑ ๑๓ สิรินธรราชวิทยาลัย เมือง ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ รวมทั้งสิ้น ๙๕ ๑๘


4 ตารางที่ ๒ จำนวนครูและนักเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม ที่ ชื่อโรงเรียน อำเภอ ขนาด โรงเรียน จำนวน นักเรียน(คน) จำนวน ครู(คน) ๑ พระปฐมวิทยาลัย เมือง ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๒ ราชินีบูรณะ เมือง ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๓ วัดห้วยจรเข้วิทยาคม เมือง ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๔ ศรีวิชัยวิทยา เมือง ใหญ่ ๑๐ ๒ ๕ พระปฐมวิทยาลัย๒หลวงพ่อเงินอนุสรณ์ เมือง กลาง ๕ ๑ ๖ สระกะเทียมวิทยาคม "สังวรเจษฎ์ประภาคมอุปถัมภ์" เมือง กลาง ๕ ๑ ๗ โพรงมะเดื่อวิทยาคม เมือง กลาง ๕ ๑ ๘ กาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) พุทธมณฑล ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๙ เบญญาพัฒน์ สามพราน กลาง ๕ ๑ ๑๐ วัดไร่ขิงวิทยา สามพราน ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๑๑ ภ.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามพราน ใหญ่ ๑๐ ๒ ๑๒ สามพรานวิทยา สามพราน ใหญ่ ๑๐ ๒ ๑๓ ปรีดารามวิทยาคม สามพราน เล็ก ๕ ๑ ๑๔ ศาลาตึกวิทยา กำแพงแสน กลาง ๕ ๑ ๑๕ กำแพงแสนวิทยา กำแพงแสน ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๑๖ มัธยมฐานบินกำแพงแสน กำแพงแสน ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๑๗ สถาพรวิทยา บางเลน กลาง ๕ ๑ ๑๘ บางหลวงวิทยา บางเลน กลาง ๕ ๑ ๑๙ บัวปากท่าวิทยา บางเลน เล็ก ๕ ๑ ๒๐ บางเลนวิทยา บางเลน กลาง ๕ ๑ ๒๑ บ้านหลวงวิทยา ดอนตูม กลาง ๕ ๑ ๒๒ คงทองวิทยา ดอนตูม ใหญ่พิเศษ ๑๕ ๒ ๒๓ ภัทรญาณวิทยา นครชัยศรี ใหญ่ ๑๐ ๒ ๒๔ งิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ นครชัยศรี เล็ก ๕ ๑ ๒๕ เพิ่มวิทยา นครชัยศรี เล็ก ๕ ๑ ๒๖ อุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัยนครปฐม นครชัยศรี กลาง ๕ ๑ ๒๗ พลอยจาตุรจินดา นครชัยศรี เล็ก ๕ ๑ ๒๘ แหลมบัววิทยา นครชัยศรี เล็ก ๕ ๑ ๒๙ รัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ พุทธมณฑล ใหญ่ ๑๐ ๒ รวมทั้งสิ้น ๒๕๐ ๔๒


5 งบประมาณ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ครั้งนี้ได้รับจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครปฐม เป็นเงิน ๒๙,๐๐๐ บาท (สองหมื่นเก้าพันบาทถ้วน) ประเภท/หมวดเงิน งบประมาณ รายจ่ายจริง ๑. ค่าตอบแทน ๖,๐๐๐ ๖,๐๐๐ ๒. ค่าใช้สอย ๒๒,๕๐๐ ๒๒,๕๐๐ ๓. ค่าวัสดุ ๕๐๐ ๕๐๐ รวมทั้งสิ้น ๒๙,๐๐๐ ๒๙,๐๐๐


6 การดำเนินงาน สำนักนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนินการ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการ“นครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ นำไปขยายผลในสถานศึกษา และสถานศึกษา จัดทำแผน หรือ รูปแบบ หรือ แนวทาง หรือ คู่มือสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา ซึ่งได้จัดอบรมเชิง ปฏิบัติการ ฯ ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม มีผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ประกอบด้วย ครูและนักเรียนแกนนำในระดับมัธยมศึกษา ปีที่ ๑-๖ ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม (สพม.) จำนวน ๒๙ แห่ง และสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) (เฉพาะโรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) จำนวน ๑๓ แห่ง รวมจำนวนทั้งหมดทั้งสิ้น ๔๐๕ คน โดยกิจกรรมแบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ จำนวน ๔ ฐานการเรียนรู้ได้แก่ ฐานการเรียนรู้ที่ ๑ เรื่องความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาส รอดชีวิตด้วยวิธี CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก โรงพยาบาลนครปฐม ฐานการเรียนรู้ที่ ๒ เรื่องความรู้เกี่ยวกับวิธีการ การป้องกันตนเองเมื่อเกิดการ ละเมิด/ภัยคุกคามทางเพศ ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากโรงพยาบาลนครปฐม และ โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพอ าเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ฐานการเรียนรู้ที่ ๓ เรื่องการใช้รถ ใช้ถนน การขับขี่อย่าง ปลอดภัย ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากส านักงานขนส่งจังหวัดนครปฐม ฐานการเรียนรู้ที่ ๔ เรื่อง การป้องกันภัยจากยาเสพติด ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก ส านักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัดนครปฐม ขั้นตอนกาอบรม ฯ โดยแบ่งกลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ออกเป็น ๔ กลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 100 คน ในแต่ละกลุ่มจะเรียนรู้เวียนฐานให้ครบทั้ง ๔ ฐานการเรียนรู้ใช้ระยะเวลาในแต่ละฐาน จำนวน ๒๐ นาทีทั้งนี้ นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมเป็นผู้กล่าวรายงาน และ นายชยชัย แสงอินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานเปิดโครงการ ฯ และนางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมเป็นประธานปิดโครงการ ฯ ในครั้งนี้


7 ผลการดำเนินงาน จากการที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐมได้จัดโครงการนครปฐมร่วมใจ สร้างความ ปลอดภัยในสถานศึกษา โดยจัดเป็นกิจกรรมกลุ่มลงมือปฏิบัติจริงสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการฝึก ปฏิบัติด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีครูและนักเรียนเข้ารับการอบรมจำนวน ๔๐๕ คน กิจกรรมแบ่งออกเป็นฐานย่อยจำนวน ๔ ฐานการเรียนรู้ คือ ๑) ความรู้เกี่ยวกับวิธีการความรู้เกี่ยวกับ วิธีการปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ด้วยวิธี CPR หรือ Cardiopulmonary resuscitation ๒) การป้องกันตนเองเมื่อเกิดการละเมิด/ภัยคุกคามทางเพศ ๓) การใช้รถ ใช้ถนน การขับขี่อย่างปลอดภัย และ ๔) การป้องกันภัยจากยาเสพติด พบว่าผู้เข้ารับการฝึกอบรมนำความรู้ ความเข้าใจ วิธีการที่ได้ นำไปใช้ปฏิบัติในการป้องกันตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่นได้ และนำความรู้ วิธิการ การปฏิบัติไปถ่ายทอด ขยายผลในสถานศึกษา สถานศึกษาได้มีการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ เช่น ไฟไหม้ การช่วยเหลือคนเป็นลม หมดสติด้วยวิธีการปฐมพยาบาลที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิต ด้วยวิธี CPR วิธีการป้องกันตนเองเมื่อเกิดการ ละเมิด/ภัยคุกคามทางเพศ วิธีการปฏิบัติการใช้รถ ใช้ถนน การขี่ขับสวมหมวกกันน็อกเพื่อความปลอดภัย และ อื่น ๆ เป็นต้น อีกทั้งสถานศึกษาได้จัดทำแผน แนวทาง คู่มือการดำเนินงานความปลอดภัย สถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษาของตนเอง ในการสร้างความเชื่อมั่น ความปลอดภัย ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่ได้รับ ๑. ครูและนักเรียนแกนนำสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเกิดเหตุได้ ๒. ครูและนักเรียนแกนนำความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ ฯ ไปขยายผลในสถานศึกษา เพื่อเป็นการดูแล ป้องกันตนเอง และช่วยเหลือผู้อื่นได้ทันท่วงทีเมื่อเกิดเหตุ 3. สถานศึกษามีแผน/รูปแบบ /แนวทาง/ คู่มือความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ให้กับผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง 4. สถานศึกษามีการเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา เพื่อไม่ใช้เกิดการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัย ต่าง ๆ กับเด็กทั้งภายในสถานศึกษา และภายนอกสถานศึกษา มีความไว้วางใจ การสร้างความเชื่อมั่น ให้กับผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง


8 ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข ปัญหา/อุปสรรค ๑. การติดต่อประสานงานกับหน่วยงาน วิทยากรในการดำเนินงานในฐานการเรียนรู้เช่น โต๊ะ รูปแบบของการจัดป้ายนิเทศ และการจัดการเรียนรู้ของแต่ละฐานการเรียนรู้ สื่อ และเอกสารไม่เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน ๒. จำนวนครู และนักเรียนเข้ารับการอบรมมาก และต่างสังกัดยังไม่คุ้นเคยกัน การปฏิบัติ บางฐานจึงค่อนข้างช้าการปฏิบัติยังไม่ได้ทั่วถึงทุกคน ๓. ระยะเวลาของแต่ละฐานการเรียนรู้น้อยเกินไปซึ่งทำให้การปฏิบัติไม่ครบ และทั่วถึงทุกคน ๓. ระยะเวลาการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการครึ่งวันน้อยเกินไป แนวทางแก้ไขครั้งต่อไป ควรมีการวางแผนการเตรียมงาน ติดต่อประสานงานวิทยากร อาคารสถานที่ หนังสือแจ้งหน่วยงาน ที่เข้ารับการอบรม ที่เข้าร่วมกิจกรรมเชิงปฏิบัติการให้เร็วกว่านี้และช่วงระยะเวลาการอบรม ฯ ที่เหมาะสม ไม่กระชั้นชิดจนเกินไป จำนวนผู้เข้ารับการอบรมของแต่ละฐานการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเวลา และได้ ปฏิบัติกิจกรรมครบทุกคน และควรมีการทบทวนและส่งเสริมการปฏิบัติทุกปี ช่วงวันอบรมควรใช้ ระยะเวลา 1 วัน และงบประมาณที่เพิ่มขึ้น


9 แผนการดำเนินงานครั้งต่อไป การประกาศเจตนารมณ์ การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานของสถานศึกษาความปลอดภัยใน สถานศึกษา การนิเทศติดตามสถานศึกษาก่อนเปิดภาคเรียน และให้สำนักงงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการทบทวนเรื่องของความปลอดภัยในสถานศึกษา โดยให้สถานศึกษาทบทวนภาค เรียนละ ๑ ครั้ง/อย่างน้อยปีการศึกษาละ ๑ ครั้ง ในภาคเรียนที่ 1 และมีการวางแผน มาตรการ ประชุมครู ก่อนเปิดภาคเรียน เพื่อเป็นการเตรียมสถานศึกษาให้มีความพร้อม และการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเปิดภาคเรียน


10 ภาคผนวก


11 ภาพกิจกรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการนครปฐมร่วมใจ สร้างความปลอดภัยในสถานศึกษา เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๕ ณ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม


12


Click to View FlipBook Version