The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nuimanti, 2023-11-26 22:49:22

รายงานผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่21 ภาคเรียนที่ 2/2565

รายงานผลการนิเทศฯภาคเรียนที่ 2-65

ก คำนำ รายงานการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานนิเทศ ติดตามและประเมินผลตามนโยบายของ กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ได้ดำเนินการนิเทศ นิเทศ ติดตาม ประเมินผล การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 6 แห่งสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ อาชีวศึกษา จำนวน 2 แห่ง สถานศึกษาสังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 1 แห่ง และ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง เพื่อ สรุปผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งนำผลการนิเทศมาวิเคราะห์สภาพปัญหา และจัดทำ ข้อเสนอแนะ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณะชนทั่วไปได้รับทราบ หวังว่าเอกสารนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาการศึกษา ของหน่วยงานทางการศึกษา และใช้ เป็นข้อมูลการวางแผนพัฒนาการศึกษาในอนาคตต่อไป บงกชษกรณ์ ศิริถาวร กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล


ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข บทที่ 1 บทนำ 1 บทที่ 2 การดำเนินการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 4 บทที่ 3 ผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผล 7 บทที่ 4 สรุปผลการนิเทศ และข้อเสนอแนะ 19 ภาคผนวก 26 - เครื่องมือนิเทศ - คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา - ภาพประกอบ ปฏิบัติการนิเทศ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 28 37 39


๑ บทที่ ๑ บทนำ ๑. หลักการและความสำคัญ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นการใช้หลักการบริหาร หลักการนิเทศ และหลักการ จัดการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทบาทของผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลการทางการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ศึกษาถึงสภาพปัจจุบัน ที่เป็นอยู่ ปัญหาที่เกิด และความต้องการที่ต้องการพัฒนา ดำเนินการวางแผนเพื่อนิเทศโดยมีหลักการ เพื่อช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาที่พบ และส่งเสริมพัฒนาในสิ่งที่สามารถดำเนินการได้ดี มีคุณภาพเพื่อให้สามารถ ดำเนินการได้ดียิ่งขึ้นจนสามารถพัฒนาเป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดขนาดกลาง มีสถานศึกษาจำนวนมากหลากหลายสังกัด เพื่อให้การศึกษาเกิดการพัฒนาตามนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นต้องมีการวางแผนร่วมกันจากทุกภาคส่วนในการกำหนดกรอบแนวทาง การดำเนินงานระดับจังหวัด ในปีงบประมาณ 2566 กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล วางแผนในการ ดำเนินงานร่วมกับหน่วยงาน และสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อทราบปัญหา ความต้องการในการนิเทศ ตามนโยบาย โครงการ กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงานและสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และรวบรวมจัดทำข้อมูล สารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่ จากการ รวบรวมข้อมูลสารสนเทศเบื้องต้น ในปีการศึกษา 2565 กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผล วางแผนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา จำนวน 6๖ แห่ง ประกอบไปด้วย 5 สังกัด ดังนี้ 1) สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย 3) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 4) สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และ 5) สังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ เพื่อให้การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เกิดการบูรณาการระดับพื้นที่สนองต่อนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มนิเทศ ติดตาม และ ประเมินผลจึงจัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลเพื่อสนับสนุนการตรวจราชการที่สอดคล้องกับ สภาพปัญหา และความต้องการ มีการใช้สื่อ เครื่องมือ และวิธีการที่เหมาะสมในการนิเทศ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และสนับสนุนการตรวจราชการตามหลักธรรมาภิบาล มีการประเมินผลการนิเทศ ติดตาม เพื่อสรุปผลสำเร็จ สภาพปัญหา และอุปสรรคในการนิเทศแต่ละครั้ง นำข้อมูล มาปรับปรุง พัฒนาในการดำเนินงาน ครั้งต่อ ๆ ไปให้ดียิ่งขึ้น ๒. วัตถุประสงค์ ๒.๑ เพื่อนิเทศส่งเสริมการดำเนินการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนา ระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวัดและประเมินผลการจัดการศึกษา ตลอดจนการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ 2.2 เพื่อนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการของ สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ๒.๓ เพื่อรายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาตามนโยบายและสนับสนุน การตรวจราชการของหน่วยงานและผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ 2.4 เพื่อนำผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดนครปฐม


๒ ๓. เป้าหมายการนิเทศ ๓.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และ สนับสนุนการตรวจราชการตามขอบข่ายการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลตามขอบข่ายการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล อย่างน้อย ๑ ครั้ง : ปีการศึกษา ในอำเภอนครชัยศรีจำนวน ๓ สังกัด รวมทั้งสิ้น ๑4 แห่ง ดังนี้ ๑) สังกัดสำนักงานสถานศึกษาเอกชน จำนวน ๙ แห่ง ๒) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน ๒ แห่ง ๓) สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒ แห่ง ๔) สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน ๑ แห่ง ๓.๒ เป้าหมายเชิงคุณภาพ - สถานศึกษาสังกัดเอกชน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ อย่างน้อย ร้อยละ ๘๐ สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ สนองจุดเน้นเชิงนโยบายกระทรวงศึกษาธิการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ๔. ขอบข่ายการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ขอบข่ายการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และ สนับสนุนการตรวจราชการ มีขอบข่ายการนิเทศ ดังนี้ ๔.๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ๒) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๓) การประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ๒๕๕๑ ๔) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ๕) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัยน่าสนใจ ๖) การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ ๗) การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ๘) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ๙) การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย ๑๐) การส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ๔.๒ การอาชีวศึกษา ๑) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ๒) การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ๓) การส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะ ภาษาอังกฤษ (English Competency) ๔) การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center)


๓ ๕) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดย การเพิ่มพูนทักษะ (Re skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ๔.๓ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ๑) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ๒) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัยน่าสนใจ ๓) การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ ๔) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ๕) การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน


๔ บทที่ ๒ กระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 1. กระบวนการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม โดยใช้รูปแบบการนิเทศ และกระบวนการนิเทศ ดังนี้ 1.1 รูปแบบการนิเทศ C-MEC Model ซึ่งประกอบด้วย C (Cooperative Development) : นิเทศแบบร่วมพัฒนา M (Mentoring) : นิเทศแบบพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา E (Empowerment) : นิเทศแบบเสริมพลังอำนาจ C (Coaching) : นิเทศแบบชี้แนะ 1.2 กระบวนการนิเทศ : ใช้กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE มีขั้นตอนในการนิเทศ ๕ ขั้นตอน ขั้นที่ ๑ วางแผนการนิเทศ (Planning – P) ขั้นที่ ๒ ให้ความรู้ความเข้าใจในการทำงาน (Informing - I) ขั้นที่ ๓ ลงมือปฏิบัติงาน (Doing - D) ขั้นที่ ๔ สร้างขวัญกำลังใจ (Reinforcing – R) ขั้นที่ ๕ ประเมินผลการนิเทศ (Evaluation – E) 1.3 วางแผนการนิเทศ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ ข้อมูลผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับชาติ O-NET/NT V-NET N-NET ข้อมูลการอ่านรู้เรื่องและสื่อสารได้ ข้อมูลระบบการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาของสถานศึกษาทุกสังกัดทุกประเภท 2)ศึกษาประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 3) ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติการนิเทศ คู่มือ เครื่องมือการนิเทศ 1.4 สร้างความรู้ความเข้าใจในการทำงาน 1) ประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างคณะผู้นิเทศการศึกษา 2) สร้างความเข้าใจร่วมกับคณะผู้นิเทศในการนำเครื่องมือไปใช 1.5 ปฏิบัติการนิเทศ/การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการนิเทศ 1) นิเทศระดับสถานศึกษา 2) เยี่ยมสถานศึกษา/ชั้นเรียน 3) ให้คำปรึกษา แนะนำ 4) นิเทศ ติดตามกลยุทธ์/จุดเน้น/นโยบาย/กิจกรรม/โครงการต่าง ๆ 5) การนิเทศออนไลน์


๕ 1.4 สร้างขวัญกำลังใจ 1) ประชุมสรุปผลการนิเทศและสะท้อนคิดให้กับผู้บริหารและคณะครู (AAR) 2) ร่วมชื่นชมแบบกัลยาณมิตรและสอบถามความต้องการนิเทสในครั้งต่อไป 1.5 ประเมินผล สรุปและรายงานผล 1) ประเมินผลการนิเทศ/สรุปและจัดทำเป็นสารสนเทศ 2) ประเมินความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศ 3) พัฒนาและเผยแพร่ผลการนิเทศและพัฒนารูปแบบในการนิเทศอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ 2. ตัวชี้วัดความสำเร็จในการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 1. ร้อยละของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย ได้รับการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ๒. ร้อยละของสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย มีการดำเนินงาน และการจัดการศึกษาตามขอบข่าย ภารกิจของสถานศึกษาแต่ละสังกัด 3. ระยะเวลาในการดำเนินการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล การนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ และสนับสนุน การตรวจราชการ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2565 – 31 มกราคม 2566 จำแนกตามสังกัด ดังนี้ ๑) สังกัดสำนักงาน สถานศึกษาเอกชน จำนวน ๙ แห่ง วันเดือนปี สถานศึกษาที่นิเทศ ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. อำเภอสามพราน 7 ธ.ค. ๒๕๖๕ อนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก วัฒนารักษ์ เอกดรุณ อำเภอนครชัยศรี ๒๐ ธ.ค. ๒๕๖๕ เดชอนุสรณ์ เม่งฮั้วกงฮัก ๑๐ ม.ค. ๒๕๖๖ พรรณวดีวิทยา อนุบาลศิริวิทย์ ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๖ สาธิตวิทยา แสงทองวิทยา ๒) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำนวน ๒ แห่ง วันเดือนปี สถานศึกษาที่นิเทศ ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. 28 ธันวาคม 2565 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจนครปฐม วิทยาลัยการอาชีพบางแก้วฟ้า ๓) สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒ แห่ง วันเดือนปี สถานศึกษาที่นิเทศ ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ๒๖ ธ.ค. ๒๕๖๕ กศน.นครชัยศรี กศน.พุทธมณฑล


๖ ๔) สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน ๑ แห่ง วันเดือนปี สถานศึกษาที่นิเทศ ๐๙.๐๐ น. - ๑๒.๐๐ น. ๑๓.๐๐ น. - ๑๖.๐๐ น. ๑๒ ม.ค. ๒๕๖๖ - โสตศึกษา 4. ผู้รับการนิเทศ ๑) ผู้บริหารสถานศึกษา และรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ๒) ครูวิชาการโรงเรียน หรือครูที่ทำหน้าที่นิเทศภายในโรงเรียนและครูผู้สอนที่เกี่ยวข้อง 5. เครื่องมือการนิเทศ เครื่องมือการนิเทศเครื่องมือนิเทศเป็นแบบตรวจสอบรายการและบันทึกข้อสังเกตจากการนิเทศ เพิ่มเติม โดยมีประเด็นการนิเทศตามนโยบาย และจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ จำแนกตามระดับการศึกษา ดังนี้ 5.1 แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชนสถานศึกษา สังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม 5.2 แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา 5.3 แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย


๗ บทที่ 3 ผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล 1. ผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และปฐมวัย ประกอบด้วยสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๖ แห่ง สำนักงาน บริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน ๑ แห่ง รวมทั้งสิ้น ๗ แห่ง มีผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ ๑๐ ประเด็น ดังนี้ 1.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็นนโยบายสำคัญของ สถานศึกษา ๗ (ร้อยละ 100) - 2. มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัยของ ผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน ๗ (ร้อยละ 100) - 3. บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและความรุนแรงใน รูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ และภัย จากไซเบอร์ ๗ (ร้อยละ 100) - 4. จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มีโครงการป้องกันยา เสพติด ภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ และ มีกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมกลั่นแกล้ง รังแก ๗ (ร้อยละ 100) - 5. จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของสถานศึกษา ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาร้อยละ ๑๐๐ ดำเนินการด้านการจัดการศึกษาเพื่อความ ปลอดภัยเป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษาให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย โดยปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบาย สถานศึกษาปลอดภัยของจังหวัดนครปฐม จัดทำแผน และกำหนดมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษาตาม บริบทของสถานศึกษา สอดคล้องกับระดับการศึกษา มีการสื่อสารให้ผู้ปกครองได้รับทราบเกี่ยวกับนโยบาย ความปลอดภัยสถานศึกษาในการรับส่งนักเรียนจะต้องมีบัตรนักเรียนมายื่นทุกครั้ง กรณีรับนักเรียนกลับบ้าน ก่อนเวลาเลิกเรียน จะต้องบันทึกเวลากลับทุกครั้ง มีการซ้อมกรณีนักเรียนติดรถตู้ เป็นต้น ส่วนในระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา มีการจัดกิจกรรมให้ความรู้โดยเชิญ วิทยากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ และจำลองสถานการณ์จริงสร้าง เช่น ความปลอดภัยทางจราจร อุบัติเหตุจากการคมนาคม การสวมหมวก กันน็อค อบรมนักเรียนแจ้งข่าวต่าง ๆ ที่เป็นภัยใกล้ตัวนักเรียน ภัยจากการคุกคามทางเพศ


๘ 1.2 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. จัดทำหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะหลัก 5 ประการ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามหน่วยการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น ๗ (ร้อยละ 100) - 3. จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๗ (ร้อยละ 100) - 4. บันทึกและรายงานผลหลังการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ฐาน สมรรถนะ ๗ (ร้อยละ 100) - 5. นำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตาม หน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาร้อยละ ๑๐๐ จัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขี้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ได้ให้ครูผู้สอนจัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่ เน้นสมรรถนะหลัก 5 ประการ ได้แก่ การสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้ทักษะชีวิต และการใช้เทคโนโลยี มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูผู้สอนได้มีการบันทึกหลังสอน รวมถึงการนิเทศ การสอน นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการความรู้และสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตัวอย่าง เช่น โครงการ Study Tour Project กิจกรรมค่ายวิชาการ กิจกรรมเปิดบ้านวิชาการ 1.3 การประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และแผนการ จัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายเพื่อประเมินตัวชี้วัดและ สมรรถนะ ๗ (ร้อยละ 100) - 3. นำผลการประเมินไปใช้พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของครูผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหน่วย การเรียนรู้และแผนการเรียนรู้ฐานสมรรถนะโดยใช้เครื่องมือและเกณฑ์ที่ชัดเจน เช่น แบบประเมินจากการ สร้างสรรค์ชิ้นงาน หรือภาระงานที่หลากหลาย เช่น ใบงาน แบบทดสอบ การสังเกต การทำโครงงาน เป็นต้น


๙ 1.4 การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. ครูผู้สอน Coding ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ Coding ๗ (ร้อยละ 100) - 2. สถานศึกษามีกิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Coding ๗ (ร้อยละ 100) - 3. สถานศึกษามีสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ การเรียนรู้ที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ๗ (ร้อยละ 100) - 4. มีผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ Coding ๗ (ร้อยละ 100) ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการพัฒนาทักษะดิจิทัลและ ภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) เป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ Coding และสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เกิดประโยชน์กับโรงเรียนและชุมชน มีการจัดการเรียนรู้ทุกระดับชั้นเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกิจกรรมอบรมและการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ มีการใช้ สื่อ และกิจกรรมที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอน Coding ในทุกระดับชั้น เช่น CUETTO, เกมการต่อ คำพ้องเสียง, กิจกรรมการเรียนรู้แบบ unplugged และการใช้บัตรคำ ซึ่งเป็นวิธีการที่สร้างความสนใจและ กระตุ้นการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนได้ดีนอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมครูให้เข้ารับการพัฒนาการสอน Coding และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในทุกระดับชั้น 1.5 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ ทันสมัย น่าสนใจ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมโดยใช้สื่อที่ ทันสมัย น่าสนใจ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ๗ (ร้อยละ 100) - 3. มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ เป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม ครูผู้สอนใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสอนประวัติศาสตร์และสืบค้น ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ผ่าน Virtual Museum, สื่อวิดิทัศน์ และเว็บไซต์ของสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น นักเรียนได้ เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของแต่ละอำเภอ เช่น พุทธมณฑล, พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย


๑๐ และสถานที่สำคัญรอบ ๆ ตำบล และหมู่บ้าน ช่วยให้นักเรียนมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นมากขึ้น และเป็นการปลูกฝังความภูมิใจและรักถิ่นเกิดของนักเรียน 1.6 การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ดำเนินการ 1. สถานศึกษาส่งเสริมครูเข้ารับการพัฒนาการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ในการจัดการเรียนรู้ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. ครูใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มจัดการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ซ่อม เสริมนักเรียน สอนออนไลน์ ๗ (ร้อยละ 100) - 3. ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์ม เพื่อการเรียนรู้ครบในทุกประเด็นการนิเทศ บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษาได้ส่งเสริมให้ครูใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เพื่อการเรียนรู้ในทุกระดับชั้น รวมถึงการใช้แอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Google Classroom, Line Application, Microsoft Teams, Metaverse เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายและเพิ่มความ สนุกสนานให้กับนักเรียน ครูได้รับการพัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ มีโครงการกิจกรรมในการพัฒนาครู เช่น การสร้างสื่อเทคโนโลยี, การอบรมการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล ฯลฯ เพื่อ เพิ่มความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนและจัดการเรียนรู้ นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Line, Facebook เพื่อให้สะดวก ในการมอบหมายงาน ส่งงาน และการสนทนากับผู้ปกครอง 1.7 การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. บูรณาการการจัดการเรียนรู้ด้านการเงินและการออมในทุกกลุ่มสาระ การเรียนรู้ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการออมแก่นักเรียน ๗ (ร้อยละ 100) - 3.ผู้เรียนตระหนักและแสดงพฤติกรรมด้านการเงินและการออม ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาทุกโรงเรียน ทุกสังกัด คิดเป็นร้อยละ 100 ได้ดำเนินการด้าน การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) เป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีกิจกรรมและการสอนที่สอดแทรกการออมและการเงิน ในทุกระดับชั้น เช่น กิจกรรมบัญชีสร้างสุขในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา โครงการขยะและ กิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง มีการบันทึกและวางแผนการเงินเพื่อส่งผู้อำนวยการเป็นรายห้อง เพื่อให้นักเรียน


๑๑ เรียนรู้การวางแผนการเงิน การขาย การลงทุน และผลกำไรอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมธนาคาร โรงเรียนเพื่อส่งเสริมการออมและการเงิน นักเรียนสามารถเปิดบัญชีเงินฝากธนาคารโรงเรียนและทำธุรกรรม เช่นเดียวกับธนาคารทั่วไป 1.8 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และ ประกาศใช้ ๗ (ร้อยละ 100) - 2. มีการปรับปรุง พัฒนาแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติการ ประจำปีของสถานศึกษา ๗ (ร้อยละ 100) - 3. มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติการประจำปี ๗ (ร้อยละ 100) - 4. มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ๗ (ร้อยละ 100) - 5. มีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา และค่าเป้าหมายที่กำหนด ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการพัฒนาระบบประกัน คุณภาพภายในเป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในตามกฎกระทรวง ศึกษาธิการ ดำเนินงานโดยใช้หลักการมีส่วนร่วมและดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA มีการกำหนดค่า เป้าหมายและประกาศค่าเป้าหมายที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน มีการจัดทำแผนพัฒนาและ แผนปฏิบัติการประจำปีมีการรายงานผลการประเมินตนเองเพื่อให้เกิดการตระหนักและปรับปรุงการ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง 1.9 การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. เด็กรับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอและส่งเสริม พฤติกรรมการกินที่เหมาะสม ๗ (ร้อยละ 100) - 2. เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคลบันทึกผลภาวะ โภชนาการอย่างต่อเนื่อง ๗ (ร้อยละ 100) - 3. มีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา ปฐมวัย มีการดำเนินงานและประเมินผล ๗ (ร้อยละ 100) - 4. จัดพื้นที่/มุมประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นที่เหมาะสมอย่าง หลากหลาย ๗ (ร้อยละ 100) -


๑๒ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 5.จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างบูรณาการตามธรรมชาติของ เด็กที่เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัส ลงมือทำ ปฏิสัมพันธ์ และการเล่น ๗ (ร้อยละ 100) - 6. จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้สังเกต สัมผัส ลองทำ คิดตั้งคำถาม สืบ เสาะหาความรู้ แก้ปัญหา จินตนาการ คิดสร้างสรรค์ โดยยอมรับ ความคิด และผลงานที่แตกต่างของเด็ก ๗ (ร้อยละ 100) - 7. มีการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างพ่อแม่/ ผู้ปกครอง กับโรงเรียนเกี่ยวกับตัวเด็กและการดำเนินงานของโรงเรียน ๗ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 6 แห่ง ได้ดำเนินการเป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีโครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเด็ก เน้นการพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน การส่งเสริมสุขภาพโดยมีการบันทึกน้ำหนัก และส่วนสูงเพื่อติดตาม พัฒนาการรวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของเด็ก สถานศึกษาบางแห่งมีห้องเรียนพิเศษเพื่อพัฒนาเด็ก เช่น ห้องเรียนมอนเตสเซอรี่ ห้องเรียนดนตรีห้องเรียน เทควันโด ห้องเรียนโยคะ และว่ายน้ำ เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่สิ่งที่ไกลตัว และการเรียนรู้จากรูปธรรม สู่นามธรรม เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อกระตุ้นสมอง และสร้างคลังคำศัพท์ในสมองมีการติดต่อสื่อสารและ พูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก 1.10 การส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. มีข้อมูลทั่วไป ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลจุดเด่นจุดด้อย ของนักเรียน เรียนรวม/เรียนร่วม รายบุคคลครอบคลุมพร้อมใช้ - - 2. เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบที่ หลากหลาย - - 3. จัดทำโครงการ/กิจกรรมการพัฒนานักเรียนเรียนรวม/เรียนร่วม สู่การปฏิบัติ- - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาไม่มีนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ บันทึกนิเทศเพิ่มเติม -


๑๓ 2. ผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สถานศึกษาที่จัดการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย สถานศึกษาสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำแนกเป็น สถานศึกษาภาครัฐ จำนวน ๑ แห่ง สถานศึกษาภาคเอกชน ๑ แห่ง รวมทั้งสิ้น ๒ แห่ง มีผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น ดังนี้ 2.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็นนโยบายสำคัญของ สถานศึกษา ๒ (ร้อยละ 100) - 2. มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัย ของผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน ๒ (ร้อยละ 100) - 3. บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและความรุนแรง ในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ และ ภัยจากไซเบอร์ ๒ (ร้อยละ 100) - 4. จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มีโครงการป้องกันยา เสพติด ภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ และมีกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมกลั่นแกล้ง รังแก ๒ (ร้อยละ 100) - 5. จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของสถานศึกษา ๒ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนดำเนินการด้านการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยเป็นไปตามประเด็นการนิเทศ ครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม วิทยาลัยมีการวางแผนและกำหนดมาตรการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัย และป้องกันภัยในสถานศึกษา รวมถึงจัดกิจกรรมเพื่อสร้างพฤติกรรมหรือคุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น การอบรมเรื่องยาเสพติด การป้องกันอัคคีภัย การทำ CPR โดยปฏิบัติตามคู่มือการดำเนินงานความปลอดภัย สถานศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบายสถานศึกษาปลอดภัยของจังหวัดนครปฐมนำมาจัดทำแผน และกำหนดมาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษาตามบริบทของสถานศึกษา ตลอดจนมีการสื่อสารให้ ผู้ปกครองได้รับทราบเกี่ยวกับนโยบายความปลอดภัยสถานศึกษา 2.2 การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. มีการจัดหลักสูตรแบบโมดูล (Modular System) เป็นหลักสูตรยืดหยุ่น เชื่อมโยงการสำเร็จการศึกษาและการมีงานทำ ปรับลดรายวิชาสามัญเพิ่ม รายวิชาชีพ บูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพชุดเดียวกัน ๒ (ร้อยละ ๑๐๐) -


๑๔ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 2. มีการจัดเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการ เรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมกับสถานประกอบการ ๒ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ ๑๐๐ ของสถานศึกษามีการจัดหลักสูตรแบบโมดูล (Modular System) เป็นหลักสูตรยืดหยุ่น เชื่อมโยงการสำเร็จการศึกษาและการมีงานทำปรับลดรายวิชาสามัญเพิ่มราย วิชาชีพ บูรณาการวิชาสามัญและวิชาชีพชุดเดียวกัน 2.3 การส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และ สมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. สถานศึกษาส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ๒ (ร้อยละ 100) - 2. ครูนำความรู้จากการพัฒนาสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ไปใช้จัดการเรียนรู้ ๒ (ร้อยละ 100) - 3. มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และ สมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ๒ (ร้อยละ 100) - 4. ครูและนักศึกษามีประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และว ุ ฒ ิ บ ั ตรสมรรถนะภาษาอ ั งกฤษ (English Competency) ๒ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีการส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะ การใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ทั้ง 2 แห่ง เพื่อนำมาใช้ ในการจัดการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้ในการสอนทุกคน ในส่วนของนักศึกษาได้มีการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาพื้นฐานทั้งทักษะดิจิทัลและภาษาอังกฤษ นำเทคโนโลยีดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เข้ามาช่วย พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปได้อย่างทันสมัยและน่าสนใจยิ่งขึ้น 2.4 การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ดำเนินการ 1. สถานศึกษามีคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการ อาชีวศึกษา (Excellent Center) - - 2. สถานศึกษามีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) เช่น 1) เพิ่มเติม สมรรถนะที่จำเป็นให้ครู 2) ส่งครูเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพิ่มเติม 3) พัฒนาความสามารถด้านการผลิต 4) มีใบรับรองผลการประเมินสมรรถนะ บุคคลตามมาตรฐานอาชีพจากสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพตรงที่สำเร็จการศึกษา - -


๑๕ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ดำเนินการ 5) มีคุรุภัณฑ์ อุปกรณ์ ทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ 6) มีความ ร่วมมือกับสถานบันอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศ 7) พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพร่วมกับสถานประกอบการ อย่างต่อเนื่อง 3. สถานศึกษาติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานศูนย์ความเป็นเลิศ ทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) - - ผลการนิเทศ พบว่า ไม่มีสถานศึกษาที่เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) 2.๕ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดย การเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1.มีโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และ การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ๒ (ร้อยละ 100) - 2. มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนา ทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ๒ (ร้อยละ 100) - 3. สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนา ทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ๒ (ร้อยละ 100) - 4. สถานศึกษามีผลการปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อ พัฒนาสมรรถนะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูน ทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ๒ (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษามีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ ทักษะใหม่ (New skill) ทั้ง 2 แห่ง


๑๖ 3. ผลการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษา ตามอัธยาศัย (กศน.) ประกอบด้วย สถานศึกษาสถานศึกษาสังกัดสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 1 แห่ง มีผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น ดังนี้ 3.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็นนโยบายสำคัญ ของสถานศึกษา 1 (ร้อยละ 100) - 2. มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และขั้นตอนการปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัย ของผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน 1 (ร้อยละ 100) - 3. บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและความรุนแรงใน รูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ และ ภัยจากไซเบอร์ 1 (ร้อยละ 100) - 4. จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มีโครงการป้องกันยา เสพติด ภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ และ มีกิจกรรมเพื่อลดพฤติกรรมกลั่นแกล้ง รังแก 1 (ร้อยละ 100) - 5. จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของสถานศึกษา 1 (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการจัดการศึกษาเพื่อความ ปลอดภัยเป็นไปตามประเด็นการนิเทศครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษาได้ดำเนินการบูรณาการการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์ และพบกลุ่ม จัดกิจกรรมที่ปลูกฝังพฤติกรรมด้านความปลอดภัยที่หลากหลาย เช่น เชิญวิทยากรภายนอกให้ ความรู้ เพื่อความปลอดภัย เช่น การขับขี่ปลอดภัยและการใส่หมวกกันน็อก นอกจากนี้ยังมีการชี้แจงในที่ ประชุมเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกิจกรรมเพศศึกษา การขับขี่ปลอดภัยและกิจกรรม ลูกเสือต่อต้านยาเสพติด นอกจากนี้ยังมีแผนและมาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยในสถานศึกษาซึ่งรวมถึง การป้องกันภัยจากโรค COVID-19 และภัยต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น 3.2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ ทันสมัย น่าสนใจ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมโดยใช้สื่อที่ ทันสมัย น่าสนใจ 1 (ร้อยละ 100) - 2. จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 1 (ร้อยละ 100) -


๑๗ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 3. มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม 1 (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาได้ดำเนินการด้านการพัฒนารูปแบบการ จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ ครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ มีการจัด กิจกรรมศึกษาดูงาน พัฒนาทักษะชีวิตในกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง และจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น เป็นวิชาเลือก เสรี ของแต่ละอำเภอ มีการ สร้างสื่อประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในลักษณะ E-Book จัดการเรียนรู้หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมโดยใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนให้ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมและ คุณลักษณะที่พึงประสงค์มีกิจกรรมโครงการต่างๆ เช่น โครงการส่งเสริมประชาธิปไตย มีโครงการฝึกอบรม ปลูกฝัง คุณธรรม จริยธรรม จิตอาสา มีโครงการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) 3.3 การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1.สถานศึกษาส่งเสริมครูเข้ารับการพัฒนาการใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มในการ จัดการเรียนรู้ 1 (ร้อยละ 100) - 2.ครูใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มจัดการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ซ่อมเสริมนักเรียน สอนออนไลน์ 1 (ร้อยละ 100) - 3.ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม 1 (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาทุกแห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ได้ดำเนินการด้านการส่งเสริม ดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษามีการทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียน สามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา สถานศึกษาใช้แพลตฟอร์มฟรีเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาครูให้ เข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน มีการใช้ Google Form ในการลงเวลาเรียน และใช้ Google Site ในการเรียนการสอน มีการจัดกิจกรรมสอนเสริมเพื่อเสริมสร้างความรู้ให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษาได้จัดทำโปรแกรมในการวัดและประเมินผลเพื่อลงทะเบียน ตัดสินผลการเรียน และพิมพ์ใบ แสดงผลการเรียนให้แก่นักศึกษา ทำให้นักศึกษาสามารถเข้าดูผลการเรียนได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม ส่งเสริมการอ่านโดยมอบเกียรติบัตรออนไลน์


๑๘ 3.4 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1.มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และ ประกาศใช้ 1 (ร้อยละ 100) - 2.มีการปรับปรุง พัฒนาแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติการประจำปี ของสถานศึกษา 1 (ร้อยละ 100) - 3.มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติการประจำปี 1 (ร้อยละ 100) - 4.มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 1 (ร้อยละ 100) - 5.มีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพตาม มาตรฐานการศึกษา และค่าเป้าหมายที่กำหนด 1 (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า สถานศึกษาทุกแห่ง คิดเป็นร้อยละ 100 ได้ดำเนินการด้านการพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพภายในครบทุกประเด็น บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษาได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเป็นระบบที่ดำเนินการ ตามกฎกระทรวงเพื่อพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในได้ครบทุกขั้นตอน และมีการใช้วงจร PDCA (Plan-Do-Check-Act) ในการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง 3.5 การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียน และประชาชน ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล จำนวนสถานศึกษา/ร้อยละ ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ 1. มีการพัฒนาหลักสูตรอาชีพตามความต้องการของประชาชนผู้สนใจ ผู้ประกอบอาชีพ หรือกลุ่มผู้ประกอบอาชีพ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพ ต่อยอด อาชีพ 1 (ร้อยละ 100) - 2. มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การเรียนรู้รายบุคคล เป็นกลุ่ม ทางไกล แหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการ และฐานการเรียนรู้ 1 (ร้อยละ 100) - 3. ผู้เรียนมี และสามารถนำความรู้ ทักษะไปใช้ในการประกอบอาชีพ เพื่อ สร้างรายได้ของตนเองได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ 1 (ร้อยละ 100) - ผลการนิเทศ พบว่า ร้อยละ 100 ของสถานศึกษาดำเนินการด้านการพัฒนาหลักสูตรอาชีพ สำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน บันทึกนิเทศเพิ่มเติม สถานศึกษาได้พัฒนาหลักสูตรอาชีพที่เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไป ประกอบอาชีพได้ เช่น หลักสูตรสานตะกร้าหวายเทียม ฝาชีลายไทย เป็นการอนุรักษ์ศิลปะไทย และส่งเสริม การเรียนรู้และทักษะทางฝีมือให้กับผู้เรียน มีการจัดชั้นเรียนวิชาชีพตามกลุ่มสนใจและศึกษาในระดับอำเภ อ ทำให้ผู้เรียนได้รับการศึกษาและพัฒนาทักษะที่เป็นประโยชน์สำหรับอาชีพที่ต้องการ


๑๙ บทที่ 4 สรุปผลการนิเทศ และข้อเสนอแนะ 1. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานและปฐมวัย ประกอบด้วยสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน ๖ แห่ง สถานศึกษาสังกัดสำนักงานบริหารงาน การศึกษาพิเศษ จำนวน ๑ แห่ง รวมทั้งหมด ๗ แห่ง สรุปผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ 10 ประเด็น ดังนี้ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 2) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 3) การประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 4) การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 5) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 6) การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 7) การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 8) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 9) การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 10) การส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 2. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ประกอบด้วย สถานศึกษาสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา จำแนกเป็น สถานศึกษาภาครัฐ จำนวน ๑ แห่ง สถานศึกษาภาคเอกชน ๑ แห่ง รวมทั้งหมด ๒ แห่ง สรุปผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น ดังนี้ 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 2) การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 3) การส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะ ภาษาอังกฤษ (English Competency) สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 4) การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สถานศึกษา ดำเนินการ ร้อยละ 0.00 5) การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ เพิ่มพูนทักษะ(Re-skill) พัฒนาทักษะ(Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่(New skill) สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100


๒๐ 3. สถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย สถานศึกษา สถานศึกษาสังกัดสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒ แห่ง สรุปผลการนิเทศตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น 1) การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 ๒) การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 3) การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาดำเนินการ ร้อยละ 100 5) การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน สถานศึกษา ดำเนินการร้อยละ 100 ข้อเสนอแนะ 1. ข้อเสนอแนะสำหรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและปฐมวัย ตามขอบข่ายการ นิเทศ 10 ประเด็น ดังนี้ 1.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาควรจัดทำแผนและคู่มือที่มาตรการความปลอดภัยในสถานศึกษาไว้ใน แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา และแผนปฏิบัติการประจำปี และมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อความเหมาะสมตาม บริบทของสถานศึกษา โดยอาจให้ผู้ปกครองและชุมชนร่วมกันจัดทำแผนและมาตรการความปลอดภัยใน สถานศึกษา รวมถึงการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในระบบป้องกันความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องวงจรปิด ระบบการแจ้งเตือนภัย ระบบควบคุมการเข้าออกในสถานศึกษา เป็นต้น ตลอดจนการสร้างความคุ้นเคยและ ความตระหนักให้แก่ผู้เรียนโดยการบูรณาการในรายวิชา เช่น วิชาสุขศึกษา สังคมศึกษา และกิจกรรมที่ เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย 1.2 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พ.ศ. 2551 สถานศึกษาควรมีการประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา และปรับปรุงหลักสูตร สถานศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งให้มีความสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตาม แนวทาง Active Learning ควรส่งเสริมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติและลงมือปฏิบัติมากขึ้น สร้างโอกาส ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงการเรียนรู้กับประสบการณ์จริงในชีวิตประจำวัน และใช้ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในกระบวนการเรียนรู้ 1.3 การประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ควรมีการประเมินภาระงานและชิ้นงานของผู้เรียนระหว่างเรียนและเมื่อจบหน่วยการ เรียนรู้ เพื่อประเมินความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียนในด้านภาระงานและชิ้นงานที่ได้รับมอบหมาย ควรใช้วิธีการประเมินที่หลากหลายตามสภาพจริง โดยการใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผล เช่น แบบ ประเมินตามตัวชี้วัด แบบประเมินพฤติกรรม และแบบประเมินสมรรถนะตามตัวชี้วัดในแต่ละด้าน และนำผล การประเมินไปใช้ในการวางแผนการสอน และซ่อมเสริม รวมถึงการประสานร่วมกับผู้ปกครองลักษณะกิจกรรม Classroom Meeting เป็นต้น


๒๑ 1.4 การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์(Coding) สถานศึกษาควรสร้างโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เกิดประโยชน์ กับโรงเรียนและชุมชน โดยการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนนำความรู้และทักษะที่ได้จาก การเรียนรู้ Coding มาใช้ในการแก้ปัญหาหรือสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อโรงเรียนหรือชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นนักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรม ให้มีพื้นที่ในการ แลกเปลี่ยนความคิด สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน และให้โอกาสในการทดลองและพัฒนาไอเดียใหม่ ๆโดยอาจ เรียนรู้จากตัวอย่างของผู้ประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่มีความสำเร็จในชุมชนหรือรอบโลก สถานศึกษาควรใช้สื่อ การเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความน่าสนใจและช่วยให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การใช้แอปพลิเคชันหรือ โปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโปรแกรม การใช้วัสดุการสอนที่สร้างขึ้นเอง หรือการใช้เกม เป็นต้น 1.5 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ ทันสมัย น่าสนใจ ครูผู้สอนควรใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ เช่น การใช้สื่อวีดิทัศน์ และแอนิเมชัน เปิดให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและสนุกสนานกว่า การใช้เนื้อหาเฉพาะตัวอย่างเท่านั้น ครูควรนำเสนอ Virtual Museum และเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์และสถานที่ที่สำคัญ ให้นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมและสำรวจข้อมูลได้เอง ซึ่งจะช่วย กระตุ้นความรู้และความสนใจในรายวิชา รวมทั้งการพานักเรียนสำรวจแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยเชื่อมโยงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ที่จะเข้าใกล้กับประวัติศาสตร์และ การพัฒนาท้องถิ่น 1.6 การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการอบรมและพัฒนาครูในการใช้ดิจิทัล แพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ โดยเน้นให้ครูมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการนำเสนอและใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมกับบริบทของการสอนและผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น สถานศึกษาควรเปิด พื้นที่การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นในสิ่งที่ได้เรียนรู้ และออกแบบสถานการณ์ที่ต้องใช้เทคโนโลยี 1.7 การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) สถานศึกษาอาจเพิ่มกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการออมและการเงิน ในชีวิตประจำวัน เช่น การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การเลือกใช้เงินอย่างมีสติมีประสิทธิภาพ หรือการจัด การเงินในสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะการวางแผนการเงินโดยจัดกิจกรรม เช่น การวางแผน การลงทุน หรือการกำหนดเป้าหมายการเงินในอนาคต รวมถึงการจัดการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการเรียนรู้ กับชีวิตจริง เช่น การวางแผนการเงินสำหรับการซื้อของ หรือการออมเงินสำหรับการทำธุรกรรมในปัจจุบัน ส่งเสริมความรับผิดชอบทางการเงิน โดยการสร้างโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์จริงในการจัดการเงิน เช่น การเปิดบัญชีธนาคารส่วนตัว หรือการเข้าร่วมกิจกรรมการออม และการลงทุน การบันทึกบัญชีรายรับรายจ่าย การวางแผนการเงิน หรือการเล่นเกมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเงิน นอกจากนั้นสถานศึกษาอาจใช้ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ด้านการออมและการเงิน เช่น การใช้แอปพลิเคชันที่ช่วยในการวางแผนการเงิน หรือการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่เน้นการเงิน ตลอดจนการร่วมมือกับธนาคารหรือองค์กร ทางการเงินในการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวข้องกับการออมและการเงิน ซึ่งสามารถเสริมสร้างความรู้ และทักษะในการเงินของนักเรียนได้อีกด้วย


๒๒ 1.8 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้สถานศึกษามีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในอย่างเต็มที่ ควรทำการ ปรับปรุงขั้นตอนการติดตามประเมินผลระหว่างปี เพื่อให้การติดตามเป็นองค์รวมและมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ สถานศึกษาควรมีการนำวงจร PDCA มาตรวจสอบการดำเนินงานในระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพและปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น คณะกรรมการ ดำเนินงานระบบประกันคุณภาพภายใน ควรดำเนินงานตามแผนและติดตามผลเพื่อให้การพัฒนามีความ ต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนา รวมถึงให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของ บุคลากรในการจัดระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รับ ประสิทธิภาพในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ 1.9 การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย ครูผู้สอน ควรเพิ่มกิจกรรมทางกายที่หลากหลายและสร้างสนใจให้กับเด็ก เช่น การเล่นกีฬาและเกมที่ใช้ร่างกาย เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกายและพัฒนาทักษะทางการเคลื่อนไหวของเด็กอย่าง เต็มตัว ครูควรมีการวางแผนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของเด็ก โดยการใช้หลักการจัด การเรียนรู้ตามหลักการเรียนรู้ของเด็กที่เลือกใช้วัสดุการเรียนรู้ที่ใกล้ตัวและน่าสนใจ เช่น การเรียนรู้จากสิ่ง ต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมใกล้เคียง การเล่านิทาน เรียนรู้ผ่านเพลง และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติจริง ในชีวิตประจำวัน ควรให้ความสำคัญกับการสร้างคลังคำศัพท์ในสมองของเด็ก โดยการใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม และ เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ของเด็ก และส่งเสริมทักษะการสื่อสารของเด็กผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเล่า เรื่องราว การเล่นบทบาทสมมติ เป็นต้น 1.10 การส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ สถานศึกษาควรมีการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิด และ สม่ำเสมอ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความคืบหน้าและความก้าวหน้าในการพัฒนาของเด็ก ครูประจำชั้น ควรได้รับการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะเฉพาะด้านในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการ จำเป็นพิเศษ เช่น การศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนและการปรับปรุงการสื่อสาร ควรมีการร่วมมือกับ ทีมแพทย์จากโรงพยาบาลเพื่อให้ได้รับคำปรึกษาและการสนับสนุนทางการแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับเด็กที่มี ความต้องการจำเป็นพิเศษ สถานศึกษาควรสร้างความตระหนักในสังคมเกี่ยวกับความสำคัญของการรับรู้และ การเข้าใจความต้องการของเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อสร้างการยอมรับและการสนับสนุน ที่เหมาะสมจากสังคมทั้งระบบทางการศึกษาและสังคมในทุกๆ ระดับ การจัดการส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการ จำเป็นพิเศษในโรงเรียนเป็นกระบวนการที่ต้องใช้การทำงานร่วมกันระหว่างโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง และทีม แพทย์ โดยมุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการสนับสนุนที่เป็นระบบเพื่อให้เด็กสามารถพัฒนา ตนเองได้ตามศักยภาพและความต้องการของตน 2. ข้อเสนอแนะสำหรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษาอาชีวศึกษา ตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น ดังนี้ 2.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาควรทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และบูรณาการแผน และ มาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในสถานศึกษา ควรพิจารณา ทุกด้าน เช่น ความเสี่ยงจากการใช้ยาเสพติด การคุกคามทางเพศ และอื่น ๆ เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อม ในการป้องกันและรับมือกับสถานการณ์เหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


๒๓ 2.2 การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) สถานศึกษาควรทำการวิเคราะห์และปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นเพื่อ ให้ตรงกับความต้องการและแนวโน้มของตลาดแรงงานในปัจจุบัน หรือร่วมมือกับสถานประกอบการ ในการกำหนดเนื้อหาหลักสูตรอาจช่วยให้ได้ข้อมูลและแนวทางที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรที่มีอยู่เพื่อทำการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดผลการเรียนรู้ ที่เหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษาและตลาดแรงงานในปัจจุบัน 2.3 การส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และ สมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) สถานศึกษาควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาครูเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง กับภาษาอังกฤษและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยให้ครูเข้ารับการอบรมและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการใช้ ดิจิทัลและภาษาอังกฤษ สร้างแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษและดิจิทัล ให้สอดคล้องกับความต้องการในสถานศึกษาและตลาดแรงงานในปัจจุบัน หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วย พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ สอนนักศึกษาให้ใช้แพลตฟอร์มและเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อฝึกทักษะ ภาษาอังกฤษ เช่น การใช้เว็บไซต์เพื่อเรียนรู้ภาษาที่เป็นที่นิยม การสร้างและแชร์เนื้อหาเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ภาษาอังกฤษทางธุรกิจหรือภาษาอังกฤษทางช่าง รวมถึงการใช้แอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ภาษาอังกฤษ เช่น แอปพลิเคชันพจนานุกรมทางธุรกิจหรือแอปพลิเคชันการอ่านและฟังเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ ช่างภาษาอังกฤษ เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจสอบและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนให้ทันสมัย โดยบูรณาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและภาษาอังกฤษในการสอน และพัฒนาครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะ ในการใช้ดิจิทัลและภาษาอังกฤษที่เพียงพอต่อความต้องการในสังคมและตลาดแรงงานในยุคปัจจุบัน 2.4 การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) สถานศึกษาควรสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่มีความ เชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงการส่งเสริมการวิจัย และ พัฒนาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เน้นการสร้างทีมงานที่มีความสามารถและคุณภาพสูง เพื่อให้สามารถดำเนินการ พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับนักศึกษา อาจารย์ และผู้มีส่วน ได้ส่วนเสีย 2.5 การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ(Re-skill) พัฒนาทักษะ(Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่(New skill) สถานศึกษาควรมุ่งเน้นการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และ การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) ให้กับนักศึกษาในทุกสาขาวิชา โดยเน้นการจัดโครงการ/กิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลาย เช่น การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเลือกที่เป็นที่ต้องการ ของนักศึกษา การจัดกิจกรรมฝึกอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ทั้งนี้อาจพิจารณาความต้องการของ ตลาดแรงงาน และการทำงานร่วมกับหน่วยงานภายนอกเพื่อสร้างพาร์ทเนอร์ชิปและเพิ่มโอกาสในการฝึกงาน พัฒนาทักษะอาชีพที่ดีแก่นักศึกษา ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษามีทักษะและความรู้ที่ตอบสนองต่อความต้องการ ในตลาดแรงงานปัจจุบันได้มากยิ่งขึ้น


๒๔ 3. ข้อเสนอแนะสำหรับสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ตามขอบข่ายการนิเทศ 5 ประเด็น ดังนี้ 3.1 การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย สถานศึกษาควรจัดทำแผนและมาตรการป้องกันด้านความปลอดภัยที่เป็นไปตาม นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และแนวทางจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง สร้างโอกาสให้นักเรียนได้ เรียนรู้และพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การเชิญวิทยากรภายนอกให้ความรู้ การพานักเรียนไปทัศนศึกษาหรือแหล่งเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหัวข้อความปลอดภัยที่น่าสนใจ เช่น สถานที่ที่มี การจัดแสดงและสาธิตการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เครื่องมือดับเพลิง หรือการนำเสนอภาพยนตร์หรือ วีดีโอที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ตลอดจนการซ้อมแผนเผชิญเหตุ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาความเข้าใจและ ทักษะในการจัดการความปลอดภัยในสถานการณ์ต่างๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างแผนการ จัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและวางแผนในการจัดการศึกษา เพื่อ ความปลอดภัยอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังสามารถนำเอาเทคโนโลยีในการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยมา ใช้ได้ เช่น การใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่มีระบบติดตามและการแจ้งเตือนในกรณีฉุกเฉิน การใช้แอป พลิเคชันที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยและส่งเสริมพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อความปลอดภัย เป็น ต้น ควรมีการติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยเพื่อให้สถานศึกษาสามารถปรับปรุง และ พัฒนากิจกรรมและมาตรการต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นต่อไป โดยควรมีการเก็บรวบรวมข้อมูล และ ความคิดเห็นจากผู้เรียน ครูผู้สอน และผู้ปกครองเพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการปรับปรุงและพัฒนาการ จัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคต 3.2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ ทันสมัย น่าสนใจ สถานศึกษาควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และเชื่อมโยงความรู้ทาง ประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองกับสถานการณ์ปัจจุบัน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ร่วมสร้างสื่อประวัติศาสตร์ ท้องถิ่นและเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการสร้างเนื้อหาสื่อการเรียนรู้ เน้นการใช้เทคโนโลยีและเนื้อหาที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความสนุกสนานและกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการศึกษาประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และ ศีลธรรม ในสภาวะที่ทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียนในยุคปัจจุบัน 3.3 การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะ ในการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการสอน และการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นการสอน วิธีการใช้และปรับปรุงแพลตฟอร์มให้เหมาะสมกับการเรียนรู้และการสอนต่างๆ จัดกิจกรรมเสริมเพื่อสร้าง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียน นอกจากการนำเสนอเนื้อหาพื้นฐานแล้ว ยังควรเน้นการสร้างกิจกรรมที่กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการแก้ไขปัญหา การนำแพลตฟอร์มดิจิทัลมาใช้ ในการวัดและประเมินผลการเรียนมีประโยชน์ในการติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน ครูควรพิจารณา วิธีการใช้แพลตฟอร์มในการให้การติดตามผลและการกำหนดกลยุทธ์ปรับปรุงการสอน นอกจากการนำเสนอ เนื้อหาสัมพันธ์กับหลักสูตรแล้ว การสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างครูและ นักเรียน สนับสนุนการสร้างชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ที่เชื่อมโยงกันและส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้ยัง อาจพัฒนาชุดเครื่องมือสำหรับครูในการสร้างเนื้อหาการเรียนรู้และกิจกรรมการสอนออนไลน์ รวมถึงการ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนการสอนที่น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ ติดตามผลการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลเข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงความเหมาะสมและ ประสิทธิภาพของแนวทางการสอนต่อไป


๒๕ 3.4 การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาควรรักษาความต่อเนื่องในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพที่ดีโดยการใช้ วงจร PDCA ในกระบวนการปรับปรุงตามความต้องการและการประเมินเป้าหมายเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนามีความยั่งยืนและเป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วม ในกระบวนการพัฒนาระบบ ดังนั้นอาจจัดกิจกรรมเชิงสัมมนาหรือการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและ ข้อเสนอจากผู้เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานในทิศทางที่ดีกว่า มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน สำหรับการพัฒนาระบบประกันคุณภาพ ซึ่งควรเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การพัฒนา ทรัพยากรบุคคล และการใช้เทคโนโลยีในการสนับสนุนกระบวนการการศึกษา เน้นการรายงานความก้าวหน้า และผลการพัฒนาที่สร้างสรรค์แก่ผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงการประเมินผลที่ได้จากการพัฒนาโดยใช้ตัวชี้วัด ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถปรับปรุงแผนการดำเนินงานในอนาคต ควรใช้ข้อมูลจากการประเมินคุณภาพภายนอก และภายในเพื่อตระหนักถึงจุดเด่นและจุดอ่อนของระบบ และพัฒนาแนวทางการปรับปรุงเพื่อให้สามารถเติบโต และพัฒนาต่อไปในทิศทางที่เหมาะสม ส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในกระบวนการการเรียน การสอนและการบริหารจัดการ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพในทุกด้าน สร้างภาพลักษณ์และบรรยากาศที่เต็มเปี่ยม ไปด้วยความสุขและความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพภายในองค์กร ทำให้ผู้เกี่ยวข้องรู้สึกเชื่อมั่นและสนับสนุน การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาว การนำเสนอ แนวทางการพัฒนาและการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเน้นสู่ การพัฒนาและการเติบโตของสถานศึกษาในอนาคต 3.5 การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน สถานศึกษาควรพัฒนาหลักสูตรอาชีพให้มีความหลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้เลือก เรียนตามความสนใจและพัฒนาทักษะในด้านที่ตนเองสนใจและเหมาะสมกับอาชีพที่ต้องการต่อยอดในอนาคต อาจเริ่มต้นด้วยการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และประชาชนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อ รับฟังความคิดเห็นและความต้องการเพื่อจัดทำหลักสูตรที่เหมาะสมที่สุด ออกแบบหลักสูตรที่มีความ หลากหลายและตรงกับความต้องการของผู้เรียน โดยพิจารณาถึงการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนใจและเข้าใจ ง่าย ใช้วิธีการสอนที่เน้นการปฏิสัมพันธ์และการแก้ปัญหา เช่น การให้โจทย์ปัญหาจริง การทำโครงการหรืองาน ปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติตามบทเรียนและนำความรู้ไปใช้จริงในการทำงาน การสอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจ พอเพียงเป็นส่วนสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและนำไปใช้ในการบริหารจัดการเงินและทรัพยากร ในชีวิตประจำวัน หลักสูตรระยะสั้นที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมแก่ผู้เรียนที่ต้องการพัฒนาอาชีพเพิ่มเติม เช่น การจัดอบรมเพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือการสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพในรูปแบบของคอร์สออนไลน์ หลักสูตรควรช่วยสร้างทางเลือกให้กับผู้เรียนในการทำงานหลากหลาย เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางาน และ เพิ่มรายได้ ควรมีการสนับสนุนในเรื่องของการศึกษาต่อสู่ระดับที่สูงขึ้น ในกรณีที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาทักษะและความรู้ในอาชีพที่เลือก ให้โอกาสผู้เรียนได้พัฒนาทักษะเสริมเพิ่มเติมที่สอดคล้องกับอาชีพ ที่สนใจ เช่น การจัดอบรมในการใช้เทคโนโลยีใหม่ การพัฒนาทักษะการสื่อสาร เป็นต้น ควรมีการติดตาม และ ประเมินผลการดำเนินงานของหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและปรับแนวทางการพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการ ของผู้เรียนและตลาดแรงงาน การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชนนั้นเป็น เรื่องสำคัญที่จะสร้างโอกาสและพัฒนาทักษะให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยการรวมความรู้และทักษะในหลักสูตร ที่เหมาะสมจะช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจและสามารถพัฒนาชีวิตในทางที่ดีขึ้นได้


๒๖ ภาคผนวก


๒๗ เครื่องมือนิเทศ - แบบนิแทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษา เอกชน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานบริหารงานการศึกษาพิเศษ และโรงเรียนพระปริยัติธรรม - แบบนิแทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา - แบบนิแทศ ติดตามและประเมินผลสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย


๒๘ แบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สังกัดสำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ********************************************************** คำชี้แจง พิจารณารายการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล แล้วใส่เครื่องหมาย P ในช่องการปฏิบัติ พร้อมทั้ง บันทึกข้อมูลนิเทศเพิ่มเติม ชื่อสถานศึกษา.......................................................... วัน/เดือน/ปี ที่นิเทศ............................................. ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกนิเทศ เพิ่มเติม 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็นนโยบาย สำคัญของสถานศึกษา 1.2 มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และขั้นตอน การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อ ความปลอดภัยของผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน 1.3 บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและความ รุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรค อุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ 1.4 จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มีโครงการ ป้องกันยาเสพติด ภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ และ มีกิจกรรมเพื่อลด พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแก 1.5 จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของ สถานศึกษา 2. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2.1 จัดทำหน่วยการเรียนรู้ฐานสมรรถนะหลัก 5 ประการ 2.2 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะตามหน่วยการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้น 2.3 จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 2.4 บันทึกและรายงานผลหลังการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการ เรียนรู้ฐานสมรรถนะ 2.5 นำผลไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนและพัฒนาการจัดการ เรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ


๒๙ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกนิเทศ เพิ่มเติม 3. การประเมินผลเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 3.1 วัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้และ แผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ 3.2 ใช้เครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายเพื่อประเมินตัวชี้วัด และสมรรถนะ 3.3 นำผลการประเมินไปใช้พัฒนาสมรรถนะผู้เรียน 4. การพัฒนาทักษะดิจิทัลและภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) 4.1 ครูผู้สอน Coding ได้รับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ Coding 4.2 สถานศึกษามีกิจกรรมสนับสนุนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ Coding 4.3 สถานศึกษามีสื่อการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ การเรียนรู้ที่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน 4.4 มีผลงานของผู้เรียนที่เกิดจากการจัดการเรียนรู้ Coding 5. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ 5.1 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมโดยใช้ สื่อที่ทันสมัย น่าสนใจ 5.2 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 5.3 มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่ พลเมือง และศีลธรรม 6. การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ 6.1 สถานศึกษาส่งเสริมครูเข้ารับการพัฒนาการใช้ดิจิทัล แพลตฟอร์มในการจัดการเรียนรู้ 6.2 ครูใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มจัดการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ซ่อมเสริมนักเรียน สอนออนไลน์ 6.3 ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม 7. การให้ความรู้ด้านการเงินและการออม (Financial Literacy) 7.1 บูรณาการการจัดการเรียนรู้ด้านการเงินและการออมในทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ 7.2 มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการเงินและการออมแก่ นักเรียน 7.3 ผู้เรียนตระหนักและแสดงพฤติกรรมด้านการเงินและการออม 8. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 8.1 มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา และประกาศใช้


๓๐ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกนิเทศ เพิ่มเติม 8.2 มีการปรับปรุง พัฒนาแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติ การประจำปีของสถานศึกษา 8.3 มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษา/แผนปฏิบัติ การประจำปี 8.4 มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายใน สถานศึกษา 8.5 มีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษา และค่าเป้าหมายที่กำหนด 9. การพัฒนาเด็กปฐมวัยให้มีพัฒนาการสมวัย 9.1 เด็กรับประทานอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอและ ส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม 9.2 เฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโตของเด็กเป็นรายบุคคลบันทึกผล ภาวะโภชนาการอย่างต่อเนื่อง 9.3 มีแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีการดำเนินงานและประเมินผล 9.4 จัดพื้นที่/มุมประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่น ที่เหมาะสมอย่างหลากหลาย 9.5 จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านอย่างบูรณาการ ตามธรรมชาติของเด็กที่เรียนรู้ด้วยประสาทสัมผัส ลงมือทำ ปฏิสัมพันธ์ และการเล่น 9.6 จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เด็กได้สังเกต สัมผัส ลองทำ คิดตั้งคำถาม สืบเสาะหาความรู้ แก้ปัญหา จินตนาการ คิดสร้างสรรค์ โดยยอมรับความคิดและผลงานที่แตกต่าง ของเด็ก 9.7 มีการสื่อสารเพื่อสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่าง พ่อแม่/ผู้ปกครอง กับโรงเรียนเกี่ยวกับตัวเด็กและการดำเนินงานของ โรงเรียน 10. การส่งเสริมเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 10.1 มีข้อมูลทั่วไป ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลจุดเด่นจุดด้อย ของ นักเรียนเรียนรวม/เรียนร่วม รายบุคคลครอบคลุมพร้อมใช้ 10.2 เด็กพิการได้รับการพัฒนาศักยภาพเป็นรายบุคคลด้วยรูปแบบ ที่หลากหลาย 10.3 จัดทำโครงการ/กิจกรรมการพัฒนานักเรียนเรียนรวม/เรียน ร่วม สู่การปฏิบัติ


๓๑ จุดเด่น ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... จุดที่ควรพัฒนา ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ลงชื่อ...........................................................ผู้นิเทศ (......................................................) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ ศธจ.นครปฐม


๓๒ แบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผลนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ***************************** คำชี้แจง พิจารณารายการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล แล้วใส่เครื่องหมาย P ในช่องการปฏิบัติ พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลนิเทศเพิ่มเติม ชื่อสถานศึกษา................................................................... วัน/เดือน/ปี ที่นิเทศ.................................... ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกการนิเทศ เพิ่มเติม 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็นนโยบาย สำคัญของสถานศึกษา 1.2 มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน 1.3 บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและความ รุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรค อุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ 1.4 จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มีโครงการ ป้องกันยาเสพติด ภัยที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ และ มีกิจกรรมเพื่อลด พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแก 1.5 จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของ สถานศึกษา 2. การพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษา และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น แบบโมดูล (Modular System) และการจัดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) 2.1 มีการจัดหลักสูตรแบบโมดูล (Modular System) เป็น หลักสูตรยืดหยุ่น เชื่อมโยงการสำเร็จการศึกษาและการมี งานทำ ปรับลดรายวิชาสามัญเพิ่มรายวิชาชีพ บูรณาการวิชา สามัญและวิชาชีพชุดเดียวกัน 2.2 มีการจัดเรียนรู้แบบต่อเนื่อง (Block Course) เพื่อ สะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) ร่วมกับสถาน ประกอบการ 3. การส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะ ภาษาอังกฤษ (English Competency) 3.1 สถานศึกษาส่งเสริมครูและนักศึกษาให้มีสมรรถนะการใช้ ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency)


๓๓ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกการนิเทศ เพิ่มเติม 3.2 ครูนำความรู้จากการพัฒนาสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) ไปใช้จัดการเรียนรู้ 3.3 มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสมรรถนะการใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และสมรรถนะภาษาอังกฤษ (English Competency) 3.4 ครูและนักศึกษามีประกาศนียบัตรมาตรฐานสมรรถนะการ ใช้ดิจิทัล (Digital Literacy) และวุฒิบัตรสมรรถนะ ภาษาอังกฤษ (English Competency) 4. การขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) 4.1 สถานศึกษามีคณะกรรมการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็น เลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) 4.2สถานศึกษามีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการ ดำเนินการของศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) เช่น 1) เพิ่มเติมสมรรถนะที่จำเป็นให้ ครู 2) ส่งครูเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพิ่มเติม 3) พัฒนา ความสามารถด้านการผลิต 4) มีใบรับรองผลการประเมิน สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพจากสถาบันคุณวุฒิ วิชาชีพตรงที่สำเร็จการศึกษา 5) มีคุรุภัณฑ์ อุปกรณ์ ทรัพยากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ 6) มีความร่วมมือกับ สถานบันอาชีวศึกษา/อุดมศึกษาทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ 7) พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐาน อาชีพร่วมกับสถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง 4.3 สถานศึกษาติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) 5. การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการ เพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) 5.1 มีโครงการ/กิจกรรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพที่ สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะ ใหม่ (New skill) 5.2 มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนา สมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดย การเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และ การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill)


๓๔ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนิน การ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกการนิเทศ เพิ่มเติม 5.3 สถานศึกษามีการประเมินผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนา สมรรถนะอาชีพที่สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ โดย การเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนาทักษะ (Up-skill) และ การเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) 5.4 สถานศึกษามีผลการปฏิบัติที่ดีด้านการจัดการเรียนรู้ที่ หลากหลายเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาชีพ ที่สอดคล้องกับความ ถนัด ความสนใจ โดยการเพิ่มพูนทักษะ (Re-skill) พัฒนา ทักษะ (Up-skill) และการเรียนรู้ทักษะใหม่ (New skill) จุดเด่น ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ จุดที่ควรพัฒนา ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ข้อเสนอแนะ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ........................................................................................................................................................................ ลงชื่อ.......................................................ผู้นิเทศ (....................................................) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ ศธจ.นครปฐม


๓๕ แบบนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 สถานศึกษาสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) คำชี้แจงพิจารณารายการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล แล้วใส่เครื่องหมาย P ในช่องการปฏิบัติ พร้อมทั้ง บันทึกข้อมูลนิเทศเพิ่มเติม ชื่อสถานศึกษา................................................................. วัน/เดือน/ปี ที่นิเทศ...................................... ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนินการ ไม่ได้ ดำเนินการ บันทึกนิเทศเพิ่มเติม 1. การจัดการศึกษาเพื่อความปลอดภัย 1.1 กำหนดให้เรื่อง “ความปลอดภัยในสถานศึกษา” เป็น นโยบายสำคัญของสถานศึกษา 1.2 มีแผนความปลอดภัยตามบริบทของสถานศึกษา และ ขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในสถานศึกษาอย่างเป็น ระบบ เพื่อความปลอดภัยของผู้เรียน ครู และบุคลากรที่ชัดเจน 1.3 บูรณาการการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยจากอาชญากรรมและ ความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ ยาเสพติด ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ และภัยจากไซเบอร์ 1.4 จัดให้มีระบบการดูแลคุ้มครองผู้เรียนที่ดี กำหนดให้มี โครงการป้องกันยาเสพติด พฤติกรรมกลั่นแกล้งรังแก และภัย ที่เกิดจากโรคอุบัติใหม่ 1.5 จัดให้มีความปลอดภัยด้านอาคารและสถานที่โดยรอบของ สถานศึกษา 2. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรมให้ทันสมัย น่าสนใจ 2.1 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม โดยใช้สื่อที่ทันสมัย น่าสนใจ 2.2 จัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น 2.3 มีโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม 3. การส่งเสริมดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ 3.1 สถานศึกษาส่งเสริมครูเข้ารับการพัฒนาการใช้ดิจิทัล แพลตฟอร์มในการจัดการเรียนรู้ 3.2 ครูใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มจัดการเรียนรู้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เช่น ซ่อมเสริมนักเรียน สอนออนไลน์ 3.3 ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม


๓๖ ประเด็นการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ดำเนินการ ไ ม ่ ไ ด้ ดำเนินการ บันทึกนิเทศเพิ่มเติม 4. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 8.1 มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา เป้าหมาย และ ค่าเป้าหมายของสถานศึกษา 8.2 มีการทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของ สถานศึกษา 8.3 มีการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัด การศึกษาของสถานศึกษา 8.4 มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา 8.5 มีการติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนา สถานศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา 5. การพัฒนาหลักสูตรอาชีพสำหรับผู้อยู่นอกระบบโรงเรียนและประชาชน 5.1 มีการพัฒนาหลักสูตรอาชีพตามความต้องการ ของประชาชนผู้สนใจ ผู้ประกอบอาชีพ หรือกลุ่มผู้ ประกอบอาชีพ ที่ต้องการพัฒนาอาชีพ ต่อยอดอาชีพ 5.2 มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้แก่ การ เรียนรู้รายบุคคล เป็นกลุ่ม ทางไกล แหล่งเรียนรู้ สถานประกอบการ และฐานการเรียนรู้ ระบุรูปแบบ ............................................. .............................................. 5.3 ผู้เรียนมี และสามารถนำความรู้ ทักษะไปใช้ใน การประกอบอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ของตนเองได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ ระบุจำนวนอาชีพ................ ได้แก่................................... .............................................. จุดเด่น ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... จุดที่ควรพัฒนา ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะ ......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ลงชื่อ...........................................................ผู้นิเทศ (......................................................) ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ ศธจ.นครปฐม


๓๗ คำสั่งสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ที่ 463 / ๒๕๖5 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการ ประจำปีงบประมาณ 2566 ........................................................ ตามคําสั่งหัวหนาคณะรักษาความสงบแหงชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาใน ภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 กำหนดบทบาทภารกิจของสำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดว่า (๗) ส่งเสริม สนับสนุน และดําเนินการเกี่ยวกับงานด้านวิชาการ การนิเทศ และแนะแนว การศึกษา ทุกระดับและทุกประเภท รวมทั้งติดตามและประเมินผลระบบบริหารและการจัดการศึกษา และระเบียบ กระทรวงศึกษาธิการ วาดวยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. 2560 ขอ ๒๔ กําหนดวา การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับจังหวัดเปนการติด ตามตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา และการนิเทศการศึกษาที่อยูในจังหวัดนั้น ๆ ตามภารกิจของ กระทรวงศึกษาธิการ โดยใหสํานักงานศึกษาธิการจังหวัดดําเนินการ ดังนี้(๑) กําหนดแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาของหนวยงานการศึกษาในระดับจังหวัด (4) รวบรวม ศึกษา วิ เคราะห สังเคราะห ผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา ของหนวยงานการศึกษาใน สังกัดและจัดทํารายงานเสนอ ตอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด และสํานักงานศึกษาธิการภาค เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษา และสถานศึกษาในจังหวัด นครปฐม ตามบทบาทและภารกิจตามกฎหมายข้างต้น สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม จึงแต่งตั้ง คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 และภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ ที่ปรึกษา ๑. นายคงกระพัน เวฬุสาโรจน์ ศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม 2. นางทองเจือ เอี่ยมธนานุรักษ์ รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม คณะกรรมการนิเทศ ติดตามและประเมินผล คณะศึกษานิเทศก์ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษาในอำเภอที่รับผิดชอบ ดังนี้ 1. นางกุลธิดา ปัญญาจิรวุฒิตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผล - ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ในอำเภอกำแพงแสน และอำเภอดอนตูม 2. นายไชยากาล เพชรชัด ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ - ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ในอำเภอเมืองนครปฐม / 3. นางสาว


๓๘ 3. นางสาวบงกชษกรณ์ ศิริถาวร ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ - ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ในอำเภอนครชัยศรี 4. นางสาวจุรีพร แจ้งธรรมมา ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ - ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ในอำเภอพุทธมณฑล และอำเภอบางเลน 5. นายจิรประวัติ ศรีวัฒนทรัพย์ ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ - ปฏิบัติหน้าที่นิเทศ ติดตาม และประเมินผลสถานศึกษา ในอำเภอสามพราน หน้าที่ 1. วิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะจากการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ตาม นโยบายกระทรวงศึกษาธิการเพื่อร่วมจัดทำแผนและเครื่องมือนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 2. นิเทศ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสนับสนุนการตรวจราชการ สถานศึกษาในอำเภอที่รับผิดชอบ 3. นำผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลมาวิเคราะห์สภาพปัญหาและจัดทำข้อเสนอแนะ รายงานผลการ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สั่ง ณ วันที่ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖5


๓๙ ภาพประกอบ ปฏิบัติการนิเทศ ติดตามและประเมินผล


๔๐


๔๑


๔๒


Click to View FlipBook Version