The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by nutnichakulma, 2022-09-14 02:27:15

Sc1

Sc1

อิเล็กหBทนัOรงอOสนืิKอก)ส์(E-

การปรับตัวให้อยู่
รอดกับสิ่งแวดล้อม

ต่างๆ

จัดทำโดย
นางสาวณัฐณิชา กุลมา ชั้น

มัธยมศึกษาปีที่5/10


ครูผู้สอน นางสาวรัตนาหมู่โยธา

โรงเรียนสตรีราชินูทิศ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ศึกษามัธยมอุดรธานี

การปรับตัวให้อยู่รอดในสิ่งแวดล้อมต่างๆ

การดื้อสารฆ่าแมลงและยา ยกตัวอย่างแมลงที่ดื้อยาฆ่าแมลง
กลไกการสร้างความต้านต่อสารเคมีของแมลงมีอยู่หลายรูปแบบ เช่น
1.กลไกทางพฤติกรรม (Behavioral resistance) โดยธรรมชาติแมลงจะมีสัญชาตญาณในการรับรู้ว่าสิ่งไหนมีอันตราย

หรือไม่มีอันตราย ตัวอย่างเช่น แมลงจะหยุดกินใบพืชเมื่อมีสารฆ่าแมลงเคลือบอยู่ ในขณะที่มีการพ่นสารแมลงอาจจะ
หลบลงใต้ใบพืช หรือเคลื่อนย้ายหนีออกบริเวณนั้นทันที ทำให้แมลงเหล่านั้นรอดชีวิตเพราะได้รับสารเคมีในปริมาณ
น้ อย
2.กลไกการป้ องกันการซึมผ่าน (Penetration resistance) แมลงที่ต้านทานจะมีการดูดซับสารพิษได้ช้ากว่าแมลงที่
อ่อนแอ เนื่องจากผนังลำตัวชั้นนอกของแมลงมีไขเคลือบเพื่อป้ องกันสารฆ่าแมลงซึมผ่านเข้าไปสู่ระบบภายใน แมลงที่
มีความต้านทานจะมีผนังชั้นนอกหนากว่า จึงทำให้สารฆ่าแมลงซึมทะลุผ่านเข้าไปได้น้ อย
3.กลไกการย่อยสลายพิษ (Metabolic resistance) แมลงที่มีความต้านทานจะสามารถย่อยสลายหรือลดความเป็นพิษของ
สารฆ่าแมลงได้ดีกว่าแมลงอ่อนแอ โดยมีเอนไซม์ในการสลายพิษหลายตัวเช่น esterases, oxidases และ
Glutathione transferases (GSTs) ถ้าหากเอนไซม์เหล่านี้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แมลงก็จะได้รับอันตรายจาก
พิษของสารฆ่าแมลงน้ อยมาก และยังสามารถสลายพิษสารฆ่าแมลงได้หลายๆ กลุ่มอีกด้วย
4.กลไกการเปลี่ยนแปลงที่ตำแหน่งการออกฤทธิ์ (Altered target-site resistance) แมลงมีการเปลี่ยนโครงรูปหรือหน้ าที่
ของเอนไซม์ ทำให้ลดความว่องไวในการจับกับสารฆ่าแมลง มีการออกฤทธิ์ต่อแมลงช้าลง จึงทำให้เอนไซม์ต่างๆ ที่
มีหน้ าที่สลายพิษสามารถทำลายพิษได้ก่อนการเกิดพิษ
ทั้งนี้ ยังมีปัจจัยภายนอกอีกหลายประการที่มีส่วนทำให้แมลงเกิดการต้านทานสารฆ่าแมลง แต่ปัจจัยที่สำคัญๆ ได้แก่
1.การใช้สารฆ่าแมลงที่พิษสูง (High toxicity) ยิ่งมีพิษสูงมากเท่าไหร่ก็ทำให้แมลงเกิดแรงขับที่จะเอาชนะหรือต้านทาน
มากขึ้นตามไปด้วย
2.การใช้สารฆ่าแมลงควบคุมในพื้นที่กว้าง ทำให้กัดแมลงได้ไม่ทั่วถึง
3.การใช้สารฆ่าแมลงชนิดเดียว หรือสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ (Mode of Action) เดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน
สามารถทำให้แมลงสร้างความต้านได้เร็วขึ้น

การพัฒนากับความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในเชิงวิวัฒนาการ

เป็นการอาศัยอยู่ร่วมกัน เช่น พยาธิอาสัยอยู่ในมนุษย์หรือสัตว์ ราอยู่ร่วมกับสาหร่ายในรูปของไล
เคน(Lichen) เพลี้ยอ่อนอยู่กับมด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีวิวัฒนาการที่โยงใยซับซ้อน
เช่นกระต่ายในออสเตรเลียซึ่งนำเข้ามาจากประเทศอังกฤษได้เพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว ทำลายพืชผล
ทางการเกษตร จึงได้ควบคุมปริมาณกระต่ายโดยไวรัสมิกโซมาโทซิส(Myxomatosi)ทำให้ปริมาณ
กระต่ายลดลง ต่อมากระต่ายมีภูมิต้านทานไวรัสนี้ได้ขณะเดียวกันไวรัสก็มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์
และรุนแรงมากขึ้น จนทำให้กระต่ายได้รับเชื้อและตายอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันยุงซึ่งเป็นพาหะ
ของไวรัสนี้ก็มีโอกาสดูดเลือดจากกระต่ายที่เป็นโรคได้น้อยลง(กระต่ายตายเสียก่อน)ทำให้ปริมาณ
ของกระต่ายและไวรัสที่เกิดสมดุลซึ่งกันและกันในสภาพที่มีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย ซึ่งในความหลาก
หลายจะมีความสมดุลซึ่งกันและกันเรียกว่า สมดุลทางธรรมชาติที่มีกลไกที่จะปรับสภาพต่างๆทำให้
ประชากรของสิ่งมีชีวิตเข้าสู่สภาวะที่สมดุลกัน

มนุษย์กับการวิวัฒนาการ

วิวัฒนาการของมนุษย์ (อังกฤษ: Human evolution) เป็นกระบวนการวิวัฒนาการที่นำไปสู่การปรากฏขึ้นของ "มนุษย์
ปัจจุบัน" (อังกฤษ: modern human มีนามตามอนุกรมวิธานว่า Homo sapiens หรือ Homo sapiens sapiens) ซึ่ง
แม้ว่าจริง ๆ แล้วจะเริ่มต้นตั้งแต่บรรพบุรุษแรกของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด แต่บทความนี้ครอบคลุมเพียงแค่ประวัติวิวัฒนาการของ
สัตว์อันดับวานร (primate) โดยเฉพาะของสกุล โฮโม (Homo) และการปรากฏขึ้นของมนุษย์สปีชีส์ Homo sapiens ที่
จัดเป็นสัตว์วงศ์ลิงใหญ่เท่านั้น การศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการมนุษย์นั้นต้องอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขา รวม
ทั้งมานุษยวิทยาเชิงกายภาพ (หรือ มานุษยวิทยาเชิงชีวภาพ), วานรวิทยา, โบราณคดี, บรรพชีวินวิทยา, พฤติกรรมวิทยา,

ภาษาศาสตร์, จิตวิทยาเชิงวิวัฒนาการ (evolutionary psychology), คัพภวิทยา และพันธุศาสตร์
Homo sapiens sapiens ชาวอาข่าในประเทศไทย

มนุษย์กับการวิวัฒนาการ

กระบวนการวิวัฒนาการเป็นความเปลี่ยนแปลงของลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) ของกลุ่มสิ่งมีชีวิตผ่านหลายชั่วยุคชีวิต
เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความหลายหลากกับสิ่งมีชีวิตในทุกระดับชั้น รวมทั้งระดับสปีชีส์ ระดับสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต และแม้

กระทั่งโครงสร้างระดับโมเลกุลเช่นดีเอ็นเอและโปรตีน สิ่งมีชีวิตทั้งหมดในโลกสืบสายมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่มีชีวิต
ประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน การเกิดสปีชีส์ใหม่ ๆ และการแยกสายพันธุ์ออกจากกันของสิ่งมีชีวิต สามารถอนุมานได้จาก
ลักษณะสืบสายพันธุ์ทางสัณฐานและทางเคมีชีวภาพ หรือโดยลำดับดีเอ็นเอที่มีร่วมกัน คือ ลักษณะสืบสายพันธุ์และลำดับ
ดีเอ็นเอที่มีกำเนิดเดียวกัน จะมีความคล้ายคลึงกันระหว่างสปีชีส์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกันเร็ว ๆ นี้มากกว่าระหว่างสปีชีส์ที่มี
บรรพบุรุษร่วมกันมานานแล้ว ดังนั้นความคล้ายคลึงกันและความแตกต่างกันจึงสามารถใช้สร้างแบบของต้นไม้สายพันธุ์สิ่งมี
ชีวิต ที่แสดงความสัมพันธ์เชิง ญาติ โดยใช้สิ่งมีชีวิตที่ยังมีอยู่หรือใช้ซากดึกดำบรรพ์เป็นหลักฐานข้อมูล รูปแบบความหลาก

หลายของสิ่งมีชีวิตในโลกเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเกิดขึ้นของสปีชีส์ใหม่ ๆ และการสูญพันธุ์ไปของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่

กการาพรัสฒูญนพาัแนลธุ์ะ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่วิวัฒนาการร่วมกัน (coevol­ution) มาเป็นเวลาช้านานนับเป็นพันเป็น
หมื่นปี โดยการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเป็นเสมือน “ฟันเฟืองแห่งชีวิต” ที่มุ่งผลิตลูกหลาน
เพื่อสืบสานเผ่าพันธุ์ ความสัมพันธ์ด้านชีวภาพเช่นนี้เป็นพลังสร้างสรรค์ ให้มีวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมากมายหลาก หลายซนิด ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสูญหายไปจากชุมชนสิ่งมีชีวิต
นั้นก็อาจส่งผลให้เกิดความไม่สมดุลทางธรรมชาติ และอาจนำไปสู่การสูญเสียความหลาก
หลายทางชีวภาพของพึ้นที่นั้นได้ ดังกรณีความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับสัตว์พวกแมลง (เช่น
ผึ้ง ผีเสื้อ) นก ค้างคาว ซึ่งมีส่วนช่วยให้การผสมเกสรของพืชเกิด ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ และ
นำไปสู่การสืบพันธุ์และแพร่พันธุ์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชมีดอกมากกว่าร้อยละ ๘๐
ของพืชดอกทั้งหมดซึ่งมีอยู่ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ชนิดในโลกนี้

กการาพรัสฒูญนพาัแนลธุ์ะ
จำเป็นต้องอาศัยสัตว์ขนาดเล็กเหล่านี้ช่วยในการผสมเกสรและการปฏิสนธิจนได้เป็นผลไม้
เพื่อขยายแพร่พันธุ์และเป็นอาหารสำหรับสัตว์ทั่วไปด้วย จากการพัฒนาประเทศที่นำไปสู่
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะในบริเวณป่าเขตร้อนยังผลให้พวก
แมลง นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กบางชนิดต้องสูญพันธุ์ไปจากชุมชนสิ่งมีชีวิต
นั้น จะพบว่าในพื้นที่ที่ถูกกระทบนั้น ประชากรพืชมีดอกบางชนิดที่ต้องพึ่งพาอาศัยสัตว์
เหล่านั้นในการผสมเกสรต้องลดน้อยลง จนถึงจุดที่อาจนำไปสู่การสูญพันธุ์ของพืชมีดอก
เหล่านั้นได้ ในทำนองเดียวกันถ้าประชากรของพืช มีดอกเหล่านี้ลดลงหรือสูญหายไป ก็จะมี
ผลกระทบในเชิงการขาดแคลนแหล่งอาหารที่เคยได้จากน้ำหวานของดอกไม้ของพืชเหล่า
นั้นด้วย ดังนั้น เมื่อวงชีวิตที่มีความสัมพันธ์ระหว่างพืชมีดอกและสัตว์ขนาดเล็กถูกตัดขาด
ออกจากกันก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่นำไปสู่การสูญพันธุ์ของสัตว์หรือพืชบางชนิด
ได้

อ้างอิง
https://www.nectec.or.th/schoolnet

/library/create-
web/10000/science/10000-121.html

THANKYOU!


Click to View FlipBook Version