รายงานเชิงวิชาการ เรื่อง บทละครพูดค าฉันท์ มัทนะพาธา จัดท าโดย นางสาว กัญญาณัฏฐ์ แป้นสุข เลขที่ ๓๗ นางสาว กัลยรัตน์ มัชฉิม เลขที่ ๓๘ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๕ เสนอ คุณครู อรวรรณ ธวัชวงษ์ รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชา ท๓๐๒๐๓ การเขียนรายงาน เชิงวิชาการ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม อ าเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ค าน า 5/5 จัดท าขึ้นเพื่อศึกษาเนื้อหาความรู้ที่ได้จากวรรณคดีมัทนะพาธาซึ่งรายงานนี้มีเนื้อหาความรู้จาก หนังสือวรรณคดีเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการด าเนินเรื่องของบทละครพูดค าฉันท์และการพิจารณาด้านภาษาและ คุณค่าของวรรณคดีอีกทั้งยังสามารถน าข้อคิดที่ได้จากเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้ผู้จัดท า ขอขอบคุณ ครูอรวรรณ ธวัชวงษ์ ผู้ให้ความรู้และแนวทางการศึกษาหวังว่ารายงานเล่มนี้จะให้ความรู้และเป็น ประโยชน์ให้แก่ผู้อ่านทุกๆท่านขอบคุณพระคุณยิ่ง คณะผู้จัดท า
สารบัญ ประวัติและความเป็นมาของเรื่อง ลักษณะค าประพันธ์ ตัวละคร ฉาก เนื้อเรื่อง วิเคราะห์คุณค่าวรรรคดี ๓ ด้าน ข้อคิดที่ได้ บรรณานุกรม ภาคผนวก
ที่มาของเรื่อง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ พระองค์ทรงกล่าวถึงที่มา ของชื่อมัทนาว่า “...ก่อนได้ทราบว่าดอกกุหลาบเรียกว่าอย่างไรในภาษาสันสกฤตนั้น ข้าพเจ้าได้นึกไว้ว่าจะให้ ชื่อนางเอกในเรื่องนี้ตามนามแห่งดอกไม้ แต่เมื่อได้ทราบแล้วว่าดอกกุหลาบ คือ “กุพชกะ” เลยต้องเปลี่ยน ความคิด เพราะถ้าแม้ว่าจะให้ชื่อนางว่า “กุพชกะ” ก็จะกลายเป็นนางค่อมไป ข้าพเจ้าจึงค้นหาดูศัพท์ต่างๆ ที่ พอจะใช้เป็นนามสตรี ตกลงเลือกเอา “มัทนา” จากศัพท์ “มัทนะ” ซึ่งแปลว่าความลุ่มหลงหรือความรัก เผอิญ ในขณะที่ค้นนั้นเองก็ได้พบศัพท์ “มัทนะพาธา” ซึ่งโมเนียร์ วิลเลียมส์ แปลไว้ว่า “the pain or disquietude of love” (ความเจ็บปวดหรือเดือดร้อนแห่งความรัก” ซึ่งข้าพเจ้าได้ฉวยเอาทันที เพราะเหมาะกับลักษณะแห่ง เรื่องที่เดียว เรื่องนี้จึงได้นามว่า “มัทนะพาธาหรือต านานแห่งดอกกุหลาบ” ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ประวัติผู้แต่ง “พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธเป็นพระ ราชโอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) และเป็นราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน พระสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชีนีนาถ พระองค์ทรงศึกษาวิชาทหาร ณ โรงเรียนทหารบกที่แซนด์เฮิซต์ ทรงเข้าศึกษาด้านวิชาประวัติศาสตร์และวิชากฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด” ๑ ๑ เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๐ พรรษาพระองค์ทรงครองราชสมบัติได้ ๑๕ ปี และ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา ทรงพระปรีชาสามารถด้านภาษาเป็นพิเศษ จนสามารถแต่ง บทละครเป็นภาษาอังกฤษได้ และทรงมรผลงานพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง กว่า ๒๐๐ เรอื่ง เช่น เรอื่ง ศกนุตลา รามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช ทรงใช้นามปากกาว่า อัศวพาหุ รามจิตติ พันแหลมศรีอยุธยา นอกจากนี้พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวยังทรงได้รับพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ซึ่งมีความหมายว่านักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่อีกด้วย
ลักษณะค าประพันธ์ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วยกาพย์ ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น ๒ ๒ แผนผังอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
ตัวละคร ภาคสวรรค์ - สุเทษณ์ เป็นเทพบุตรที่หมกมุ่นในตัณหาราคะ เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตนเอง และไม่ค านึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น - มัทนา เป็นหญิงซื่อสัตย์ นิสัยตรงไปตรงมา คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่รักก็บอกตรงๆ ไม่พูดปด หลอกลวง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม พูดแต่ความจริง แต่ความจริงที่นางพูดท าให้นางต้องได้รับความล าบากทุกข์ระทม ใจ - จิตระเสน หัวหน้าคนธรรพ์ ได้จัดแสดงการร่ายร าถวายแด่สุเทษณะเทพบุตร์ เพื่อหวังคลายความเศร้า ความทุกข์ของสุเทษณะเทพบุตร์ แต่ไม่เป็นผล หัวหน้าคนธรรพ์ ได้จัดแสดงการร่ายร าถวายแด่สุเทษณะเทพ บุตร์ เพื่อหวังคลายความเศร้า ความทุกข์ของสุเทษณะเทพบุตร์ แต่ไม่เป็นผล - จิตระรถ สาระถีคนเก่งได้ท่อง เที่ยวไปในทุกที่และวาดรูปนางงามมาก านัลสุเทษณะเทพบุตร เพื่อหวังให้ สุดเทษณะเทพบุตรได้พึงใจและลืมนางมัทนาต้นเหตุแห่งความเศร้าซึม - มายาวิน วิทยาธร ผู้มีวิชาอาคมใช้เวทย์มนต์เรียกนางมัทนามาพบสุเทษณะเทพบุตร์ทั้งๆที่ยัง หลับไหล อัน เป็นบ่อเกิดแก่โทสะของสุเทษณะเทพบุตร์ต่อนางมัทนา ภาคพื้นดิน - พระกาละทรรศิน ฤาษีในป่าหิมมะวัน ผู้ที่ดูแลดอกกุหลาบมัทนาเยี่ยงบุตรี - ท้าวชัยเสน ราชาผู้ทรงครองเมืองรหัสตินาปุระ มีอัครมเหสีอยู่แล้ว แต่ก็ยังพึงใจนางมัทนา จนรับนางกลับวัง
- พระนางจัณฑี อัครมเหสีแห่งท้าวชัยเสน ที่น้อยอกน้อยใจผัว จนถึงขั้นอิจฉาริษยานางมัทนาอันเป็นเหตุให้ นางออกอุบายชั่วร้ายทั้งต่อผัวและนางที่ผัวรัก - ศุภางค์ นายทหารคนสนิทของท้าวชัยเสน แม้ถูกใส่ความและถูกสั่งประหารชีวิตจากท้าวชัยเสน แต่ก็ จงรักภักดิ์ดีจนชีวีหาไม่ในสนามรบ
ฉาก ๑. วิมานของเทพบุตรสุเทษณ์บนสวรรค์ ฉากท้องเรื่องเริ่มขึ้นบนสวรรค์เพราะมายาวิน สุเทศณ์และมัทนาเป็น เทวดา นางฟ้า ซึ่งอาศัยอยู่บนสวรรค์ สังเกตุได้จากหลังจากที่มายาวินคลายมนต์สะกดมัทนา มัทยาได้พูดว่า “ เหตุใดพระองค์ทรงธรรม์จึงท าเช่นนั้น ให้ข้าพระบาทต้องอาย แก่หมู่ชาวฟ้าทั้งหลาย? โอ้พระฦสาย พระองค์จงทรงปราณี” ในบทสนทนามัทนากล่าว จะสังเกตุว่ามัทนาพูดค าว่า หมู่ชาวฟ้า ท าให้รู้ว่าสถานที่ที่มัทนาอาศัยอยู่ไม่ใช่โลก มนุษย์และสุเทษณ์ก็สาป ให้มัทนามาเกิดบนโลกมนุษย์ ๒. กลางป่าหิมะวัน ฉากท้องเรื่องหลังจากที่มายาวินสาปมัทนาให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์สังเกตุได้จาก นางมทะนา จุติอย่านาน จงมะละฐาน สุระแมนสวรรค์, ไปเถอะก าเนิด ณ หิมาวัน ดังดนุลั่น จสิสาปไว้! ป่า หิมะวันมีลักษณะเป็นลานหญ้าอยู่ระหว่างต้นไม้ใหญ่ที่ตรงกลางเวทีมีดอกกุหลาบอยู่ต้นหนึ่ง ดอกสวยงาม ใหญ่สีชมพูส่งกลิ่นหอมชวนผู้คนหลงใหล ๓ เนื้อเรื่อง ๓ วิมานของเทพบุตรสุเทษณ์บนสวรรค์
ภาคสวรรค์ - กล่าวถึงสุเทษณ์เทพบุตร ซึ่งในอดีตชาตินั้นคือกษัตริย์แคว้นปัญจาล และนางมัทนา ซึ่งใน อดีตชาติเป็นราชธิดาในกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ ซึ่งทั้งคู่ได้มาเกิดใหม่บนสวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรใฝ่ปองรัก นางฟ้ามัทนา แต่ก็ไม่อาจจะสมรักด้วยกรรมที่เคยท ามาแต่อดีต ท าให้ไร้ซึ่งความสุขอย่างยิ่ง สุเทษณ์เทพบุตร จึงได้ให้วิทยาธรนามว่า "มายาวิน" ใช้เวทมนตร์คาถาไปสะกดเอานางมัทนาเข้ามาหา ก่อนที่มายาวินจะใช้เวท มนตร์เรียกนางมัทนา ได้ทูลสุเทษณ์เทพบุตรว่า การที่พระองค์ไม่อาจจะสมรักกับมัทนาได้ เป็นเพราะเมื่อชาติ ปางก่อน เมื่อพระองค์เป็นกษัตริย์แคว้นปัญจาลนั้น พระองค์ได้ไปสู่ขอมัทนาจากกษัตริย์แคว้นสุราษฎร์ผู้เป็น พระราชบิดา แต่ท้าวสุราษฎร์ไม่ให้ จึงเกิดรบกันขึ้น ในที่สุดท้าวสุเทษณ์แห่งแคว้นปัญจาลก็ชนะ จับท้าวสุ ราษฎร์เป็นเชลย และจะประหารชีวิตเสีย แต่นางมัทนาเข้ามาขอชีวิตพระราชบิดาไว้ และยอมเป็นบาท บริจาริกา ก่อนที่นางจะใช้พระขรรค์ปลงพระชนม์ตนเอง เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว นางมัทนาก็ไปเกิดเป็นเทพธิดา บนสวรรค์ ส่วนท้าวสุเทษณ์ก็ได้ท าพลีกรรมบ าเพ็ญจนได้มาเกิดบนสวรรค์เช่นกัน อย่างไรก็ตาม สุเทษณ์ เทพบุตรก็ยังยืนยันจะให้มายาวินลองวิชาดูก่อน มายาวินจึงเรียกเอามัทนามาด้วยวิชาอาคม เมื่อมัทนามาแล้ว ด้วยมนต์ที่ผูกไว้ ท าให้ไม่ว่าสุเทษณ์เทพบุตรจะถามอย่างไร มัทนาก็ตอบตามเป็นค าถามย้อนไปอย่างนั้น เหมือนไม่มีสติ สุเทษณ์เทพบุตรขัดใจนักก็ให้มายาวินคลายมนต์ ครั้นมนต์คลายแล้ว มัทนาก็ตกใจที่ตนล่วงเข้า มาในวิมานของสุเทษณ์เทพบุตรโดยไม่รู้ตัว สุเทษณ์เทพบุตรพยายามจะฝากรักมัทนา แต่มัทนามิรักตอบ จะ อย่างไรๆก็ไม่ยอมรับรัก จนสุเทษณ์เทพบุตรกริ้วจัด สาปส่งให้นางลงไปเกิดเป็น ดอกกุพชกะ คือ ดอกกุหลาบ อยู่ในแดนมนุษย์ และจะกลับคืนเป็นคนได้ก็ต่อเมื่อวันเพ็ญ เพียง 1 วัน 1 คืนเท่านั้น แล้วจะกลับคืนเป็น กุหลาบดังเดิม แต่หากนางได้รักบุรุษใดแล้ว เมื่อนั้นจึงจะคงรูปมนุษย์อยู่ได้ และหากเมื่อใดที่นางมีทุกข์เพราะ รัก ก็จงขอประทานโทษมายังพระองค์พระองค์จะยกโทษให้ ภาคพื้นดิน - มัทนาได้ไปเกิดเป็นดอกกุหลาบอยู่ในป่าหิมวัน ในป่านั้นมีพระฤๅษีนามกาละทรรศินพร้อมด้วย ศิษย์ทั้งหลาย พระกาละทรรศินได้เห็นกุหลาบมัทนาก็ชอบใจ สั่งให้ศิษย์ขุดเอากุหลาบมัทนาไปปลูกใหม่ไว้ใกล้ อาศรม เมื่อถึงคืนวันเพ็ญ มัทนาก็กลายเป็นร่างมนุษย์มาคอยรับใช้พระกาละทรรศินและศิษย์ทั้งหลาย คอย ปรนนิบัติเรื่อยมา พระกาละทรรศินก็รักมัทนาเหมือนลูกตัว ต่อมาวันหนึ่ง ท้าวชัยเสนผู้ครองนครหัสดิน ได้ เสด็จประพาสป่า ผ่านมายังอาศรมพระกาละทรรศิน ประจวบกับเป็นคืนวันเพ็ญ ก็ได้พบกับนางมัทนา ทั้งสอง ฝ่ายต่างรักกัน พระกาละทรรศินก็จัดพิธีอภิเษกให้ และนางมัทนาก็ได้เดินทางไปกับท้าวชัยเสน เข้าไปยังกรุง หัสดิน โดยไม่ได้กลับเป็นดอกกุหลาบอีก ท้าวชัยเสนหลงรักนางมัทนามาก จนกระทั่งลืมมเหสีของตนคือนางจัณฑี พระมเหสีจัณฑีหึงหวงนางมัทนา ทั้งอิจฉาริษยาเป็นอันมาก ก็ท าอุบาย ใส่ร้ายนางมัทนาว่าเป็นชู้กับทหารเอกท้าวชัยเสนนามว่าศุภางค์ และยุยงท้าวมคธพระราชบิดาให้มาตีเมือง
หัสดิน ท้าวชัยเสนออกไปรบ ครั้นเมื่อกลับมาได้ข่าวว่ามัทนาลอบเป็นชู้กับศุภางค์ก็กริ้วจัด สั่งประหารมัทนา เสียทันที แต่เพชฌฆาตได้ปล่อยนางหนีไปเพราะความสงสาร ส่วนศุภางค์นั้น ด้วยความจงรักภักดีต่อท้าวชัย เสน ก็ออกสนามรบกับท้าวชัยเสนเป็นครั้งสุดท้ายในฐานะไพร่ทหารเลว และตายในที่รบ มัทนาหนีกลับมายัง ป่าหิมวัน และได้ท าพลีกรรม์บูชาสุเทษณ์เทพบุตร จนสุเทษณ์เทพบุตรเสด็จมา และเอ่ยปากจะช่วยให้คืน สวรรค์ สุเทษณ์เทพบุตรได้ขอความรักจากนางอีก แต่มัทนามิสามารถจะรักใครได้อีกแล้ว และปฏิเสธไป สุ เทษณ์เทพบุตรกริ้วนัก จึงสาปนางให้เป็นกุหลาบไปตลอดชีวิต ฝ่ายท้าวชัยเสน ต่อมาเมื่อรบชนะท้าวมคธ และ ได้รู้ความจริงทั้งหมด ก็กริ้วพระมเหสีจัณฑีมาก และได้ลงอาญาไป ก่อนจะออกไปตามหามัทนาในป่า แต่สิ่งที่ พบ ก็เพียงแต่กุหลาบกอใหม่อันขึ้นอยู่ยังกองกูณฑ์บูชาสุเทษณ์เทพบุตรเท่านั้น ท้าวชัยเสนท าอะไรไม่ได้อีก ต่อไป แต่ด้วยความรักสุดจะรัก จึงน ากุหลาบมัทนากลับไปปลูกใหม่ยังสวนขวัญกรุงหัสดิน วิเคราะห์คุณค่าวรรรคดี ๓ ด้าน คุณค่าด้านเนื้อหา ๑. โครงเรื่อง เป็นบทละครพูดค าฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่องเอง ไม่ได้ตัดตอนมา จากวรรณคดีเรื่องใด แก่นส าคัญของเรื่องมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑) ทรงปรารถนาจะกล่าวถึงต านานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ไม่เคยมีต านานในเทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีก าเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้ชื่อว่า "ดอก กุพฺชกะ" คือ "ดอกกุหลาบ" ๒) เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ทรงแสดงให่เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง ผู้ใดมีความ รักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า "มัทนะพาธา" อันเป็นชื่อของตัวละครเอกของเรื่อง ซึ่งมีความหมายว่า "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก" มีการผูกเรื่องให้มีความขัดแย้งซึ่ง เป็นปมปัญหาของเรื่อง คือ ๒.๑ สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนา แต่นางไม่รับรักตอบจึงสาปนางเป็นดอกกุพฺชกะ (กุหลาบ)
๒.๒ นางมัทนาพบรักกับท้าวชัยเสน แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเพราะนางจันทีมเหสีของท้าวชัยเสนวาง อุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์เทพบุตร และสุ เทษณ์เทพบุตรขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธเช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความ เจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย ๒. ตัวละคร ๒.๑ สุเทษณ์ เป็นเทพบุตรที่หมกมุ่นในตัณหาราคะ เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตนเอง และไม่ค านึงถึง ความรู้สึกของผู้อื่น ดังตัวอย่างบทกวีต่อไปนี้ สุเทษณ์ : เหวยจิตรเสน มึงบังอาจเล่น ล้อกูไฉน? จิตระเสน : เท วะ, ข้าบาท จะบังอาจใจ ท าเช่นนั้นไซร้ได้บ่พึงมี. สุเทษณ์ : เช่นนั้นท าไม พวกมึงมาให้ พรกูบัดนี้, ว่าประสงค์ใด ให้สมฤดี? มึงรู้อยู่นี่? ว่ากูเศร้า จิต เพราะไม่ได้สม จิตที่ใฝ่ชม, อกกรมเนืองนิตย์. จิตระเสน : ตูข้าภักดี ก็มีแต่คิด เพื่อให้ทรงฤทธิ์ โปรดทุกขณะ สุเทษณ์ : กูไม่พอใจ ไล่คนธรรพ์ไป บัดนี้เทียวละ อย่ามัวรอลั้ง ๒.๒ มัทนา ซื่อสัตย์ นิสัยตรงไปตรงมา คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่รักก็บอกตรงๆ ไม่พูดปด หลอกลวง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม พูดแต่ความจริง แต่ความจริงที่นางพูดท าให้นางต้องได้รับความล าบากทุกข์ระทม ใจ ดังตัวอย่างเมื่อสุเทษณ์บอกรักนางและขอนางให้ค าตอบ “ ฟังถ้อยด ารัสมะธุระวอน ดนุนี้ผิเอออวย. จักเปนมุสาวะจะนะด้วย บมิตรงกะความจริง. อันชายประกาศวะระประทาน ประดิพัทธะแด่หญิง, หญิงควรจะเปรมกะมะละยิ่ง ผิวะจิตตะตอบรัก; แต่หากฤดีบอะภิรม จะเฉลยฉะนั้นจัก เปนปดและลวงบุรุษะรัก ก็จะหลงละเลิงไป. ตูข้าพระบาทสิสุจริต บมิคิดจะปดใคร, จึ่งหวังและมุ่งมะนะสะใน วรเมตตะธรรมา. ”
๓. กลวิธีในการด าเนินเรื่อง การด าเนินเรื่องใช้กลวิธีให้มายาวินเป็นผู้เล่าอดีตชาติของสุเทษณ์เทพบุตร และด าเนินเรื่องโดยแสดงให้ เห็นลักษณะของสุเทษณ์เทพบุตรผู้เป็นใหญ่ ว่ามีบุญมีวาสนามาก มีบริวารพรั่งพร้อมควรที่จะเสวยสุขใน วิมานของตน กลับเอาแต่ใจตนเองหมกมุ่นอยู่ในกามตัณหาราคะ เฉพาะนางเทพธิดาที่ประดับบารมีก็มากล้น เหลือ จะเสวยสุขอย่างไรก็ได้ แต่ก็ยังไม่พอ ศิลปะการด าเนินเรื่อง เปรียบให้เห็นว่าชายที่ร่ ารวยด้วยเงิน อ านาจวาสนาอยากได้อะไรก็จะต้องเอาให้ ได้ เมื่อไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนตร์ต้องเอาด้วยคาถา ผู้หญิงจึงเป็นฝ่ายเสียเปรียบเพราะไม่มี อะไรจะไปต่อสู้ และมีไม่น้อยที่หญิงจะหลงไปติดในวิมานของคนร่ ารวย การด าเนินเรื่องก าหนดให้สุเทษณ์สาปนางมัทนาให้เป็นดอกกุหลาบ ต่อเมื่อถึงคืนเดือนเพ็ญจะกลาย ร่างเป็นหญิงรูปงามหนึ่งวันหนึ่งคืน หากมีความรักเมื่อใดจึงจะกลายเป็นมนุษย์อย่างถาวร และขอให้นางพบ กับความทุกข์ระทมจากความรัก หากนางมีความทุกข์ระทมเพราะความรักเมื่อก็ให้ไปอ้อนวอนสุเทษณ์ๆ จึง จะยกโทษให้ เพราะสุเทษณ์เทพบุตรหวังว่าเมื่อนางต้องผิดหวังทุกข์ระทมเพราะความรัก คงจะเห็นใจตนและ ยินดีรับรักบ้าง แต่สุเทษณ์คาดการณ์ผิด เพราะเรื่องกลับจบลงด้วยนางมัทนามาอ้อนวอนให้รักของนาง สมหวัง สุเทษณ์เทพบุตรขอให้นางรับรักก็ถูกปฏิเสธอีก สุเทษณ์จึงโกรธแค้นและสาปนางให้เป็นดอกกุหลาบ ชั่วนิรันดร์
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. การใช้ถ้อยค าและรูแบบค าประพันธ์เหมาะสมกับเนื้อหา ท าให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เกิดความประทับใจอยากติดตามอ่าน เช่น เมื่อมายาวินเล่าเรื่องราว ในอดีตถวายสุเทษณ์ว่าเหตุใดมัทนาจึงไม่รักสุเทษณ์ กวีเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ที่มีท่วงท านองเร็ว เหมาะแก่การเล่าความ หรือบรรยายเรื่อง ส่วนเนื้อหาตอนสุเทษณ์ฝากรักนางมัทนานั้นใช้วสันตดิลกฉันท์ ซึ่ง มีท่วงท านองที่อ่อนหวาน เมื่อสุเทษณ์กริ้วนางมัทนาก็ไช้ กมลฉันท์ ซึ่งมีค าครุลหุที่มีจ านวนเท่ากันแต่ขึ้นต้น ด้วยค าลหุ จึงมีท านองประแทกกระทั้นถ่ายทอดอารมณ์โกรธเกรี้ยวได้ดี ดังตัวอย่าง มะทะนาชะเจ้าเล่ห์ ชิชิช่างจ านรรจา,.... .................................... ก็และเจ้ามิเต็มจิต จะสดับดนูชวน, ผิวะให้อนงค์นวล ชนะหล่อนทนงใจ. บ่มิยอมจะร่วมรัก และสมัครสมรไซร้, ก็ดะนูจะยอมให้ วนิดานวาศสวรรค์,....
๒. การใช้โวหาร กวีใช้อุปมาโวหารในการกล่าวชมความงามของนางมัทนาท าให้ผู้อ่านมองเห็นภาพความงามของมัทนา เด่นชัดขึ้น ดังตัวอย่าง งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน งามเกศะด าข า กลน้ า ณ ท้องละหาน งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา- ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสะโรชะมาศ งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปชาญฉลาด เกลากลึงประหนึ่งวาด วรรูปพิไลยพะวง งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง นวยนาฏวิลาศวง ดุจะร าระบ าระเบง ซ้ าไพเราะน้ าเสียง อรเพียงภิรมย์ประเลง, ได้ฟังก็วังเวง บ มิว่างมิวายถวิล นางใดจะมีเทียบ มะทะนา ณ ฟ้า ณ ดิน เป็นยอดและจอดจิน- ตะนะแน่ว ณ อก ณ ใจ ๓. การใช้ลีลาจังหวะของค าท าให้เกิดความไพเราะ กวีมีความเชี่ยวชาด้านฉันทลักษณ์อย่างยิ่ง สามารถแต่งบทเจรจาของตัวละครให้เป็นค าฉันท์ได้อย่างดี เยี่ยม อีกทั้งการใช้ภาษาก็คมคายโดยที่บังคับฉันทลักษณ์ ครุ ลหุ ไม่เป็นอุปสรรคเลย เช่น บทเกี้ยวพาราสี ต่อไปนี้ แต่งด้วยวสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีการสลับต าแหน่งของค า ท าให้เกิดความไพเราะได้อย่างยอดเยี่ยม สเทษณ์ : พี่รักและหวังวธุจะรัก และบทอดบทิ้งไป มัทนา : พระรักสมัครณพระหทัย ฤจะทอกจะทิ้งเสีย? สุเทษณ์ : ความรักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ
๔. การใช้ค าที่มีเสียงไพเราะ อันเกิดจากการเล่นเสียงสัมผัสคล้องจอง และการหลากค าท าให้เกิดความไพเราะ เช่น ตอนมายาวินร่าย มนตร อ้าสองเทเวศร์ โปรดเกศข้าบาท ทรงฟังซึ่งวาท ที่กราบทูลเชอญ โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยให้เพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนี้นา แม้คิดขัดขืน ฝืนมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านี้คอย ต้อนรับทรามวัย อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร. โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน มาเร็วบัดนี้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยให้เพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนี้นา แม้คิดขัดขืน ฝืนมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านี้คอย ต้อนรับทรามวัย อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร. โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน มาเร็วบัดนี้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยให้เพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนี้นา แม้คิดขัดขืน ฝืนมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านี้คอย ต้อนรับทรามวัย อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร. โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน มาเร็วบัดนี้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา
โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยให้เพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนี้นา แม้คิดขัดขืน ฝืนมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านี้คอย ต้อนรับทรามวัย อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร. โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน มาเร็วบัดนี้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา โปรดช่วยดลใจ ทรามวัยให้เพลิน จนลืมขวยเขิน แล้วรีบเร็วมา ด้วยเดชเทพไท้ ทรามวัยรูปงาม จงได้ทราบความ ข้าขอนี้นา แม้คิดขัดขืน ฝืนมนตร์คาถา ขอให้นิทรา เข้าสึงถึงใจ มาเถิดนางมา อย่าช้าเชื่องช้อย ตูข้านี้คอย ต้อนรับทรามวัย อ้านางโศภา อย่าช้ามาไว ตูข้าสั่งให้ โฉมตรูรีบจร. โฉมยงอย่าขัด รีบรัดมาเถิด ขืนขัดคงเกิด ในทรวงเร่าร้อน มาเร็วบัดนี้ รีบลีลาจร มาเร็วบังอร ข้าเรียกนางมา
คุณค่าด้านสังคม ๑. สอดแทรกความคิดเกี่ยวกับความเชื่อในสังคมไทย เช่น ๑.๑ ความเชื่อเรื่องชาติภพ ๑.๒ ความเชื่อเรื่องการท าบุญมากๆ จะได้ไปเกิดในสวรรค์ และเสวยสุขในวิมาน ๑.๓ ความเชื่อเรื่องท ากรรมสิ่งใดย่อมได้รับผลกรรมนั้น ๑.๔ ความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา การท าเสน่ห์เล่ห์กล ๒. แสดงกวีทัศน์ โดยแสดงให้เห็นว่า "การมีรักเป็นทุกข์อย่างยิ่ง" ตรงตามพุทธวัจนะที่ว่า "ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์" เช่น ๒.๑ สุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ แม้เมื่อได้เสวยสุขเป็นเทพบุตรก็ยังรักนางมัทนาอยู่ จึง ท าทุกอย่างเพื่อให้ได้นางมาแต่ไม่สมหวังก็พร้อมที่จะท าลาย ความรักเช่นนี้เป็นความรักที่เห็นแก่ตัวควรหลีก หนีให้ไกล ๒.๒ ท้าาสุราษฎร์รักลูกและรักศักดิ์ศรี พร้อมที่จะปกป้องศักดิ์ศรีและลูกแม้จะสู้ไม่ได้และต้องตายแน่นอน ก็พร้อมที่จะสู้ เพราะรักของพ่อแม่เป็นรักที่ลริสุทธิ์และเที่ยงแท้ ๒.๓ นางมัทนารักบิดา นางยอมท้าวสุเทษณ์เพื่อปกป้องบิดา รักศักดื์ศรีและรักษาสัจจะ เมื่อท าตาม สัญญาแล้วจึงฆ่าตัวตาย รักของนางมัทนาเป็นความรักที่แท้จริงมั่นคง กล้าหาญและเสียสละ ๒.๔ ท้าวชัยเสนและนางจันที เป็นความรักที่มีความใคร่และความหลงอยู่ด้วยจึงมีความรู้สึกหึงหวง โกรธ แค้นเมื่อถูกแย่งชิงคนรัก พร้อมที่จะต่อสู้ท าลายทุกอย่างเพื่อให้ได้กลับคืนมา ตัวละครทั้งหมดในเรื่องประสบแต่ความทุกระทมจากความรัก มีรักแล้วรักไม่สมหวังก็เป็นทุกข์ อยู่กับคน ที่ไม่รักก็เป็นทุกข์ มีรักแล้วไม่ได้อยู่กับคนรักก็เป็นทุกข์ มีความรักแล้วถูกแย่งคนรักก็เป็นทุกข์ มีรักแล้วพลัด พรากจากสิ่งที่รักก็เป็นทุกข์แก่นของเรื่องมัทนะพาธาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่มีความรักต้องเจ็บปวดจากความรัก ทั้งสิ้น ๓. ให้ข้อคิดในการครองตน หญิงใดอยู่ในฐานะอย่างนางมัทนาจะต้องมีความระมัดระวังตัว หลีกหนีจากผู้ชายมาราคะให้ไกล กวีจึง ก าหนดให้ทางมัทนาถูกสาปกลายเป็นดอกไม้ชื่อดอกกฺุชกะ (กุหลาบ) ซึ่งสวยงามมีหนามแหลมคมเป็นเกราะ ป้องกันตนให้พ้นจากมือผู้ที่ปรารถนาจะหักหาญรานกิ่งหรือเด็ดดอกไปเชยชม ดอกกุหลาบจึงเป็นสัญลักษณ์
แทนหญิงสาวที่มีรูปสวยย่อมเป็นที่หมายปองของชายทั่วไป หนามแหลมคมเปรียบเหมือนสติปัญญา ดังนั้นถ้า หญิงสาวที่รูปงามและมีความเฉลียวฉลาดรู้ทันเล่ห์เหลี่ยม ย่อมสามารถเอาตัวรอดจากผู้ที่หมายจะหยาม เกียรติหรือหมิ่นศักดิ์ศรีได้ ๔. ให้ข้อคิดในเรื่องการมีบริวารที่ขาดคุณธรรมอาจท าให้นายประสบหายนะได้ เช่น บริวารของท้าวสุเทษณ์ที่เป็นคนธรรพ์ ชื่อจิตระเสนมีหน้าที่บ ารุงบ าเรอให้เจ้านายมีความสุข มีความ พอใจ ดังนั้นจึงท าทุกอย่างเพื่อเอาใจผู้เป็นเจ้านาย เช่น แสวงหาหญิงงามมาเสนอสนองกิเลสตัณหาของ เจ้านาย ให้วิทยาธรชื่อมายาวินใช้เวทมนตร์สะกดนางมัทนามาให้ท้าวสุเทษณ์ บริวารลักษณะอย่างนี้มีมากใน สังคมจริง ซึ่งมีส่วนให้นาย หรือประเทศชาติ ประสบความเดือดร้อนเสียหายได้ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธาถือเป็นวรรณคดีเรื่องเยี่ยมและได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสร ให้เป็นแบบอย่างของบทละครพูดค าฉันท์ โดยวรรณคดีเรื่องนี้ให้ความเพลิดเพลินจากเนื้อหาที่ชวนติดตาม และวรรณศิลป์อันไพเราะแล้วยังให้ข้อคิดเกี่ยวกับความรักอย่างน่าสนใจ จึงควรศึกษาวรรณคดีเรื่องนี้อย่าง พินิจพิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์จากการอ่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ข้อคิดที่ได้รับ 1. สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่มั่นคงของสุเทษณ์ที่มีต่อนางมัทนา 2. เพื่อกล่าวถึงต านานดอกกุหลาบ 3. สะท้อนให้เห็นว่าในสังคมปัจจุบัน ความงามของผู้หญิงจะน าความเดือดร้อนใจมาให้ 4.ความรักเป็นบ่อเกิดของความทุกข์
บรรณานุกรม ครูออย./(๒๕๕๖).//มัทนะพาธา ( ต านานรักดอกกุหลาบ )./วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖,//http://kruthaicrw.blogspot.com/2013/10/blog-post_11.html สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราวุธ./(๒๔๖๖).//มัทนะพาธาต านานแห่งดอกกุหลาบ./วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖¸//https://vajirayana.org อ.บุญกว้าง ศรีสุทโธ./(๒๕๕๗).//มัทนะพาธา./วันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖,//https://sites.google.com สมเด็จมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ.//มัทนะพาธา หรือต านานแห่ง ดอกกุหลาบ.//ธนบุรี:/คินฮิง,/๒๔๙๙ นายเอกรินทร์สี่มหาศาล.//หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทยวรรณคดีและวรรณกรรมม.๕.//พิมพ์ครั้งที่ ๙.//บริษัทไทยร่มเกล้าจ ากัด:/บริษัทอักษรเจริญทัศน์อจท. จ ากัด,/๒๕๕๑ สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.//บทละครพูดค าฉันท์เรื่องมัทนะพาธา.//กรุงเทพฯ:/จงเจริญการพิมพ์,/ ๒๕๑๙
ภาคผนวก อภิธานศัพท์ ประดิพัทธ์หมายถึง ความรักใคร่ผูกพัน ศุภะเลิศ หมายถึง ความสวยงาม วิไลยะ หมายถึง รูปงาม มละแรง หมายถึง บอบบาง ผิ หมายถึง แม้ว่า ฤดิ หมายถึง ใจ ดนุ หมายถึง ฉันข้า
ยุพิน หมายถึง ผู้หญิง : มัทนา มะเมอ หมายถึง ละเมอ อภิระตี หมายถึง นางผู้น่ารักใคร่อย่างยิ่ง ดะรุณี หมายถึง หญิงสาว : มัทนา วจะ หมายถึง ค าพูด อรไท หมายถึง ใจ,นางผู้เป็นใหญ่ : มัทนา สุระชาญ หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ : สุเทษณ์ ชยะ หมายถึง พระผู้เป็นใหญ่ : สุเทษณ์ วธุ หมายถึง ผู้หญิง : มัทนา ละเหี่ย หมายถึง อ่อนใจ, อิดโรย มระ หมายถึง เทวดา
สุชาตา หมายถึง ผู้หญิง : มัทนา วิไลศรี หมายถึง งาม วรพจน์ หมายถึง ค าพูด,ถ้อยค า มะธุรส หมายถึงไพเราะ พจี หมายถึง ค าพูด ผิวะ หมายถึง แม้นว่า สุปริยา หมายถึง ที่รัก สุรางค์ หมายถึง นางฟ้า กอบ หมายถึง ปรารถนาจะได้ครอบครอง