194 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • บทเรียนจากการทบทวนและปรับปรุง ระบบการส่งมอบผลการตรวจ วิเคราะห์ • คุณภาพการรายงานผลการตรวจ (ความถูกต้อง รวดเร็ว การสืบค้น การรายงานค่าวิกฤติ) (4) องค์กรจัดการกับสิ่งส่งตรวจหลังการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถ ท�ำการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมได้เมื่อจ�ำเป็น และมีการก�ำจัดสิ่งส่งตรวจที่เหลือจาก การวิเคราะห์อย่างปลอดภัย. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทบทวนแนวทางการจัดการกับสิ่งส่งตรวจหลังการตรวจวิเคราะห์ o เพื่อให้สามารถท�ำการตรวจวิเคราะห์เพิ่มเติมได้เมื่อจ�ำเป็น o มีการก�ำจัดสิ่งส่งตรวจที่เหลือจากการตรวจวิเคราะห์อย่างปลอดภัย ตามมาตรฐาน IC • มีการเฝ้าติดตามการปฏิบัติตามแนวทางที่ก�ำหนดไว้ และน�ำมาปรับปรุง ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ความเหมาะสมของการจัดการกับ สิ่งส่งตรวจหลังการตรวจวิเคราะห์
II-7 การตรวจทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคและบริการที่เกี่ยวข้อง 195 ค. การบริหารคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and Safety Management) (1) ห้องปฏิบัติการมีโปรแกรม/ระบบบริหารคุณภาพซึ่งครอบคลุมบริการห้องปฏิบัติการ ทุกด้าน และประสานกับส่วนอื่นๆ ในองค์กร โดยโปรแกรม/ระบบบริหารคุณภาพ ครอบคลุม: (i) การชี้บ่งปัญหา/โอกาสพัฒนา; (ii) บันทึกความผิดพลาดและการรายงานอุบัติการณ์; (iii) การติดตามตัวชี้วัดส�ำคัญ; (iv) การแก้ไข/ป้องกันปัญหา; (v) การติดตามปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบคุณภาพตลอดกระบวนการตรวจวิเคราะห์ (Pre-analytical and Post-analytical); (vi) การควบคุมเอกสาร; (vii) เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากร; (viii) การประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม/ระบบบริหารคุณภาพ. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • จัดให้มีระบบบริหารคุณภาพของห้องปฏิบัติการซึ่งมีองค์ประกอบต่อไปนี้ o การชี้บ่งปัญหา/ความเสี่ยง/โอกาสพัฒนา o บันทึกความผิดพลาดและการรายงานอุบัติการณ์ o การติดตามตัวชี้วัด o การแก้ไข/ป้องกันปัญหา o การติดตามปัจจัยก่อนและหลังการตรวจวิเคราะห์ที่มีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ o การควบคุมเอกสาร o เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วย o การประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ • ประสานระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการกับส่วนอื่นๆ ขององค์กร เช่น ระบบรายงาน อุบัติการณ์ ระบบสารสนเทศ เป็นต้น ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ผลการติดตามตัวชี้วัดและ การปรับปรุงที่เกิดขึ้น • ประสิทธิผลของระบบบริหารคุณภาพ ของห้องปฏิบัติการ
196 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II (2) ห้องปฏิบัติการเข้าร่วมโปรแกรมทดสอบความช�ำนาญระหว่างห้องปฏิบัติการ (proficiency testing - PT) ตามขอบเขตและความซับซ้อนของการตรวจวิเคราะห์ ที่ให้บริการ หรือจัดให้มีระบบประเมินความน่าเชื่อถือของการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่น. มีหลักฐานว่ามีการน�ำปัญหาทั้งหมดที่พบจากการทดสอบความช�ำนาญหรือ ระบบประเมินอื่นมาแก้ไขโดยเร็ว. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ระบุว่าการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในแต่ละสาขา การตรวจวิเคราะห์ ใดบ้างที่จะเข้าร่วมโปรแกรมทดสอบความช�ำนาญระหว่างห้องปฏิบัติการ (PT) การตรวจวิเคราะห์ใดที่ไม่มี PT แต่สมควรมีระบบประเมินความน่าเชื่อถือ ของการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่นเพื่อสร้างความมั่นใจในผลการผลวิเคราะห์ • สร้างความมั่นใจว่ามีการน�ำปัญหาที่พบจากการทดสอบความช�ำนาญหรือ ระบบประเมินความน่าเชื่อถือของการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่นมาแก้ไขโดยทันที • มีการสื่อสารและวางแผนร่วมกันกับแพทย์ผู้ใช้ผลการตรวจ ในกรณีที่ผลการทดสอบ ความช�ำนาญมีความคลาดเคลื่อนสูงจนอาจมีผลกระทบต่อการดูแลผู้ป่วย ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ความครอบคลุมของการทดสอบ ความช�ำนาญ และผลการทดสอบ (3) ห้องปฏิบัติการวางระบบควบคุมคุณภาพเพื่อติดตาม Performance ของการวิเคราะห์ โดยมีการก�ำหนดช่วงค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ น�ำผลการควบคุมคุณภาพและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการแก้ไขปัญหา รวมทั้งมีวิธีการยืนยันความน่าเชื่อถือ ของผลการตรวจวิเคราะห์ กรณีที่ไม่มีการสอบเทียบหรือไม่มีสารควบคุม. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • จัดให้มีระบบควบคุมคุณภาพภายในที่เหมาะสม การติดตาม Performance ของ การตรวจวิเคราะห์ รวมทั้งการก�ำหนดช่วงค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ • น�ำข้อมูลการควบคุมคุณภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง มาประกอบการแก้ไขปัญหา • หาวิธีการยืนยันความน่าเชื่อถือของการผลการตรวจทดสอบเมื่อไม่มีการสอบเทียบ หรือไม่มีสารควบคุม
II-7 การตรวจทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคและบริการที่เกี่ยวข้อง 197 ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ผลการควบคุมคุณภาพ และการใช้ประโยชน์ (4) ห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อมในการวางระบบคุณภาพและเข้าสู่กระบวนการรับรอง ตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ มีการน�ำมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาใช้ประโยชน์ และขอรับการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ISO 15189) สภาเทคนิคการแพทย์ หรือราชวิทยาลัย พยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ห้องปฏิบัติการที่มีความพร้อมในการวางระบบคุณภาพและเข้าสู่กระบวนการรับรอง ตามมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ น�ำมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ซึ่งเป็นที่ ยอมรับมาใช้ประโยชน์ และขอรับการประเมินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น o กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ISO 15189) o สภาเทคนิคการแพทย์ o ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย (การประเมินและรับรองมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ พยาธิวิทยาคลินิก พยาธิวิทยากายวิภาค เซลล์วิทยา นิติเวชศาสตร์ นิติเวชคลินิก และธนาคารเลือด/บริการโลหิต) ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • การปรับปรุงเพื่อการรับรองมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ • การได้รับการรับรองมาตรฐาน ห้องปฏิบัติการ
198 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II SPA II–7.3 พยาธิวิทยากายวิภาค, เซลล์วิทยา, นิติศาสตร์และนิติเวชคลินิก (Anatomical Pathology, Cell Cytology and Forensic Clinic Service) (1) องค์กรน�ำมาตรฐานพยาธิวิทยากายวิภาค เซลล์วิทยา นิติศาสตร์และนิติเวชคลินิก ที่จัดท�ำโดยองค์กรวิชาชีพ เช่น ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย มาเป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน และมีการบริหารคุณภาพและความปลอดภัยในระบบบริการ. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้รับผิดชอบด�ำเนินการดังนี้ o ประเมินส่วนขาด (gap analysis) ระหว่างมาตรฐานพยาธิวิทยากายวิภาค กับการปฏิบัติที่ท�ำได้ o ปรับปรุงตามส่วนขาดที่ประเมินได้ o ขอการรับรองจากราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ผลการประเมินส่วนขาดตามมาตรฐาน พยาธิวิทยากายวิภาคและ การปรับปรุงที่ได้ท�ำไป • ผลการรับรองจากราชวิทยาลัยพยาธิ แพทย์แห่งประเทศไทย
II-7 การตรวจทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคและบริการที่เกี่ยวข้อง 199 SPA II–7.4 ธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต (Blood Bank and Transfusion Service) (1) องค์กรน�ำมาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต ที่จัดท�ำโดยศูนย์บริการโลหิต แห่งชาติ สภากาชาดไทย หรือราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย มาเป็น แนวทางในการปฏิบัติงาน. และมีการบริหารคุณภาพและความปลอดภัยในระบบ บริการ. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้รับผิดชอบศึกษามาตรฐานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2558 และคู่มือต่างๆ ของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ o นโยบายทั่วไป (แพทย์ผู้รับผิดชอบ การบริหารงานระบบคุณภาพ ความปลอดภัย) o การคัดกรองผู้บริจาคโลหิต ดูคู่มือการรับบริจาคโลหิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2564 การสมัครเป็นผู้บริจาคโลหิต การคัดกรองตนเองโดยผู้บริจาคโลหิต การตรวจสอบประวัติและลงทะเบียนผู้บริจาคโลหิตในฐานข้อมูล การประเมินสุขภาพผู้บริจาคโลหิตโดยแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ การเจาะเก็บโลหิตและตัวอย่างโลหิต การตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิตทางห้องปฏิบัติการ ระบบห่วงโซ่ความเย็นของโลหิตในงานบริการโลหิต o การเตรียมส่วนประกอบของโลหิต (preparation of blood components) o การทดสอบโลหิตบริจาค (testing allogeneic donated blood) o ข้อกําหนดการปิดฉลากของถุงโลหิตและส่วนประกอบโลหิต o ข้อกําหนดการเก็บ การขนส่งและการหมดอายุของโลหิตและส่วนประกอบ ของโลหิต o การบริจาคเฉพาะส่วนประกอบของโลหิต (apheresis) o การทดสอบการเข้ากันได้ของโลหิตและการเลือกใช้ส่วนประกอบโลหิต o การจ่ายและการให้โลหิต ส่วนประกอบโลหิต และการให้ Rh Immune Globulin
200 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II o ผลแทรกซ้อนจากการได้รับโลหิต (transfusion complications) o การใช้โลหิตของตนเอง (autologous blood transfusion) o การบันทึกข้อมูลของงานธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต o การเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต (hemovigilance) ดูคู่มือแนวทาง การเฝ้าระวังความปลอดภัยของโลหิต ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 • ทีมผู้รับผิดชอบด�ำเนินการดังนี้ o ประเมินส่วนขาด (gap analysis) ระหว่างมาตรฐานธนาคารเลือด และงานบริการโลหิตของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กับการปฏิบัติที่ท�ำได้ o ปรับปรุงตามส่วนขาดที่ประเมินได้ ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ผลการประเมินส่วนขาดตามมาตรฐาน ธนาคารเลือดและงานบริการโลหิต และการปรับปรุงที่ได้ท�ำไป • อุบัติการณ์เกี่ยวกับงานบริการโลหิต • การเฝ้าระวังและติดตามตัวชี้วัดตาม แนวทางของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ
II-7 การตรวจทดสอบเพื่อการวินิจฉัยโรคและบริการที่เกี่ยวข้อง 201 SPA II–7.5 บริ การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ (Other Diagnostic Investigation) (1) ในการตรวจทดสอบที่กระท�ำกับผู้ป่ วยโดยตรง มีการประเมินผู้ป่ วยก่อนส่งตรวจ และก่อนเข้ารับการตรวจ มีการเตรียมผู้ป่ วยอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันผล ที่ไม่พึงประสงค์ ลดอันตรายต่อผู้ป่วย และมั่นใจว่าผลการตรวจมีคุณภาพตามที่ต้องการ. มีการให้ข้อมูลผู้ป่ วยอย่างเพียงพอและลงนามยินยอมในกรณีที่เป็นการตรวจ ที่มีความเสี่ยงสูง. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • บริการตรวจวินิจฉัยหรือบริการตรวจทดสอบที่กระท�ำกับผู้ป่ วยโดยตรง เช่น การส่่องกล้้องตรวจวิินิิจฉััย การตรวจที่่มีีการสอดใส่่อุุปกรณ์์เข้้าในร่่างกาย การติิดอุุปกรณ์์ตรวจการทำำงานของอวััยวะต่่างๆ ในร่า่งกาย เป็็นต้้น • ทีมดูแลผู้ป่ วยที่จัดบริการตรวจทดสอบที่กระท�ำกับผู้ป่ วยโดยตรง ออกแบบ กระบวนการท�ำงานเพื่อให้มั่นใจว่าผลการตรวจมีคุณภาพตามที่ต้องการและไม่เกิด อันตรายต่อผู้ป่วย o การประเมินผู้ป่วยก่อนส่งตรวจ o การประเมินผู้ป่วยก่อนเข้ารับการตรวจ o การเตรียมผู้ป่วยก่อนการตรวจ o การให้ข้อมูลผู้ป่วยอย่างเพียงพอและลงนามยินยอมในกรณีที่เป็นการตรวจ ที่มีความเสี่ยงสูง o การพิจารณาใช้ยาระงับความรู้สึกหรือการให้ยาเพื่อหลับลึก • ทีมดูแลผู้ป่ วยน�ำกระบวนการที่ออกแบบไปปฏิบัติ มีการติดตามก�ำกับตาม ความเหมาะสม ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ประเด็นคุณภาพและความปลอดภัย ที่ส�ำคัญของการตรวจทดสอบ ที่กระท�ำกับผู้ป่วยต่างๆ และมาตรการที่น�ำมาใช้ • คุณภาพ ประสิทธิผล และ ความปลอดภัยของการตรวจทดสอบ แต่ละประเภท
202 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II (2) มีการแปลผลการตรวจโดยผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์ บันทึกสรุปสิ่งที่พบ หรือ การวินิจฉัยที่ชัดเจน. มีการสื่อสารผลการตรวจให้แก่แพทย์เจ้าของไข้เป็นลายลักษณ์อักษร ในเวลาที่เหมาะสม. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • การแปลผลการตรวจและสื่อสารผลการตรวจ o มีการมอบหมายให้ผู้มีคุณวุฒิและประสบการณ์เหมาะสมท�ำหน้าที่แปลผล การตรวจ o มีการจัดท�ำแนวทางการบันทึกสรุปสิ่งที่พบ หรือการวินิจฉัยที่ชัดเจน และ น�ำไปปฏิบัติ o มีการก�ำหนดแนวทางปรึกษาหารือหรือยืนยันผลการตรวจในกรณี ที่มีความซับซ้อนหรือมีข้อสงสัย o มีการก�ำหนดเวลาประกันการรายงานผลการตรวจส�ำหรับการตรวจ แต่ละประเภท o มีการสื่อสารผลการตรวจให้แก่แพทย์เจ้าของไข้เป็นลายลักษณ์อักษร ในเวลาที่เหมาะสม ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • แนวทางปฏิบัติส�ำคัญในการแปลผล และสื่อสารผลการตรวจ • ความพึงพอใจของผู้ส่งตรวจ
II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 203 SPA II – 8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ (Disease and Health Hazard Surveillance) องค์กรสร้างความมั ่นใจว่ามีระบบเฝ้าระวังเพื่อติดตาม ค้นหา การเกิดโรคและ ภัยสุขภาพที่ผิดปกติอย่างมีประสิทธิภาพ และด�ำเนินการสอบสวนควบคุมโรค ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดได้. ก. การบริหารจัดการและทรัพยากร (Management and Resources) (1) องค์กรมีนโยบายเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพครอบคลุมพื้นที่ภายในองค์กร และ พื้นที่ชุมชนที่องค์กรรับผิดชอบ. (2) องค์กรมีแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการที่ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาโรคและ ภัยสุขภาพในพื้นที่. มีการประสานงาน ติดตามประเมินผล และปรับปรุงกระบวนการ เฝ้าระวังโรค. (3) องค์กรมีบุคลากรที่มีความรู้และทักษะ ท�ำหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค ในจ�ำนวนที่เหมาะสม. (4) องค์กรมีงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ ที่เพียงพอ มีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ส�ำหรับการเฝ้าระวังโรค สอบสวนโรค และควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ. (5) องค์กรสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ในด้านแนวคิด นโยบาย แผน และ แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพส�ำหรับบุคลากรใน โรงพยาบาลทุกระดับ. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ผู้น�ำระดับสูงกับทีมที่รับผิดชอบ ร่วมกันท�ำความเข้าใจความหมายและความมุ่งหมาย ของการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ว่าเป็นไปเพื่อการค้นหาโรคและภัยสุขภาพ ที่เกิดขึ้น o ภัยสุขภาพ หมายถึง สภาวะ สิ่งแวดล้อม พืช สัตว์ สารเคมี / สารอื่นๆ ทั้ง สถานะของเหลว ของแข็ง ก๊าซ หรือเป็นองค์ประกอบร่วมกัน ที่มีโอกาส ส่งผลกระทบต่อ สุขภาพ สุขภาวะ หรือก่อให้เกิดการบาดเจ็บ สูญเสีย ทั้งระยะสั้น II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ
204 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II และระยะยาว ต่่อบุุคคลใดๆ เช่่น การบริิโภคยาสููบ การบริิโภคเครื่่องดื่่ม แอลกอฮอล์์ การบาดเจ็็บจากอุุบััติิเหตุุทางถนน การจมน้ำำ เป็็นต้้น และภััยสุุขภาพจากการประกอบอาชีีพและสิ่่งแวดล้้อม เช่่น ภััยจาก ภาคอุุตสาหกรรม/ เกษตรกรรม ภััยจากมลพิิษสิ่่งแวดล้้อม เป็็นต้้น o การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพส�ำหรับพื้นที่ในองค์กร เป็นไปตามมาตรฐาน ว่าด้วยการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ และมาตรฐานว่าด้วยสุขภาพของ ก�ำลังคน o การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพส�ำหรับพื้นที่ชุมชนที่องค์กรรับผิดชอบ เพื่อ สอบสวนและควบคุมโรคมิให้เกิดการแพร่ระบาด การเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ควรมีเป้าหมายเพื่อ ให้ได้ข้อมูลทางระบาดวิทยามาใช้ในการก�ำหนดมาตรการทาง สาธารณสุขเพื่อการป้องกันและควบคุมในระดับ Population Health มิใช่เพื่อการรักษารายบุคคล • ผู้น�ำระดับสูงก�ำหนดทีมที่รับผิดชอบกิจกรรมการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ซึ่งอาจ ประกอบด้วย o การเฝ้าระวังโรคติดต่อที่ต้องรายงานตามที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด o การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มีลักษณะเฉียบพลันอื่นๆ o การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพที่มีลักษณะค่อยเป็ นค่อยไป เช่น โรคจากการประกอบอาชีีพและสิ่่งแวดล้้อม เป็็นต้้น • ผู้น�ำระดับสูงร่วมกับทีมที่รับผิดชอบจัดท�ำนโยบายเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่ให้บริการแก่ผู้ป่วย บุคลากร และประชาชน • ผู้น�ำระดับสูงร่วมกับทีมที่รับผิดชอบจัดท�ำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ o วิเคราะห์ปัญหาโรคและภัยสุขภาพที่มีโอกาสเกิดในพื้นที่ o จัดล�ำดับความส�ำคัญของโรคและภัยสุขภาพ o จัดท�ำแผนการเฝ้าระวังที่สอดคล้องกับโรคและภัยสุขภาพที่จัดล�ำดับ ความส�ำคัญไว้ รวมทั้งความพร้อมในการตรวจพบโรคและภัยสุขภาพที่มิได้ คาดการณ์ไว้ก่อน • ผู้น�ำระดับสูงร่วมกับทีมที่รับผิดชอบจัดระบบก�ำกับดูแล ประสานงาน ติดตามประเมินผล โดยให้ความส�ำคัญกับประเด็นต่อไปนี้ o ความเป็นปัจจุบันของสถานการณ์โรคส�ำคัญที่เฝ้าระวัง o ความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูลที่เฝ้าระวัง
II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 205 o การใช้ประโยชน์ข้อมูลเฝ้าระวังเพื่อเร่งรัดหรือปรับเปลี่ยนมาตรการควบคุม ป้องกันโรค o ความทันต่อสถานการณ์ในการสอบสวนโรคส�ำคัญ o ความสามารถในการหยุดยั้งการเกิดผู้ป่วยรายใหม่ • ผู้น�ำระดับสูงมอบหมายให้มีบุคลากรท�ำหน้าที่เฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค o มีจ�ำนวนเหมาะสมกับจ�ำนวนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ หรือจ�ำนวนเตียง ของโรงพยาบาล o ได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ • ผู้น�ำระดับสูงจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อให้สามารถเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพ • ทีมงานที่รับผิดชอบจัดให้มีการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก ส�ำหรับ บุคลากรในโรงพยาบาลทุกระดับ ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • โรคและภัยสุขภาพส�ำคัญที่อยู่ใน แผนการเฝ้าระวัง • ผลการประเมินระบบการเฝ้าระวังโรค และภัยสุขภาพ o ความเป็นปัจจุบันของ สถานการณ์โรคส�ำคัญที่เฝ้าระวัง o ความถูกต้องและครบถ้วนของ ข้อมูลที่เฝ้าระวัง o การใช้ประโยชน์ข้อมูลเฝ้าระวัง เพื่อเร่งรัดหรือปรับเปลี่ยน มาตรการควบคุมป้องกันโรค o ความทันต่อสถานการณ์ ในการสอบสวนโรคส�ำคัญ o ความสามารถในการหยุดยั้ง การเกิดผู้ป่วยรายใหม่
206 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II ข. การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการเฝ้าระวัง (Data Collection and Analysis for Surveillance) (1) องค์กรมีระบบการเฝ้าระวังโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัญหาสุขภาพอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาของพื้นที่ องค์กร และเป็นไปตามกฎระเบียบ ที่กระทรวงสาธารณสุขก�ำหนด. (2) ทีมผู้ให้บริการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง. ข้อมูลมีความเป็น ปัจจุบัน ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมได้. (3) ทีมผู้ให้บริการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลความหมายข้อมูลการเฝ้าระวัง อย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ โดยใช้วิธีการทางระบาดวิทยา. (4) ทีมผู้ให้บริการค้นหาและตรวจจับการเพิ่มที่ผิดปกติหรือการระบาดของโรค ทั้งจาก การวิเคราะห์ข้อมูลจากการเฝ้าระวัง รับทราบข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์ และทบทวนรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสม�่ำเสมอ. (5) องค์กรติดตามเฝ้าดูสถานการณ์และแนวโน้มของโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง และเป็นปัจจุบัน. (6) องค์กรคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคที่ส�ำคัญ เพื่อประโยชน์ในการวางแผนป้องกัน ควบคุมโรค. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมงานที่รับผิดชอบวิเคราะห์ว่าระบบเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพมีความเหมาะสมกับ สภาพปัญหาของพื้นที่ และครอบคลุมโรคที่ต้องเฝ้าระวังตามที่กระทรวงสาธารณสุข ก�ำหนดหรือไม่ และด�ำเนินการปรับปรุงให้มีความครอบคลุมตามความเหมาะสม • ส่งเสริมบทบาทของผู้ให้บริการในการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ o จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ให้บริการ (แพทย์ พยาบาล ห้องปฏิบัติ การ) ว่าได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังอย่างไร เคยมีประสบการณ์อะไร และ ควรจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างไร o ใช้กรณีศึกษาของโรงพยาบาลอื่นเพื่อเรียนรู้ความส�ำคัญของผู้ให้บริการใน การเฝ้าระวัง และโอกาสที่จะพบโรคและภัยสุขภาพในรูปแบบต่างๆ เช่น ภัยสุขภาพจากปลาปักเป้า หน่อไม้ปี๊บ หมูดิบ เป็นต้น o สร้างระบบให้ค�ำปรึกษาส�ำหรับผู้มีประสบการณ์น้อย o จัดให้มีผู้รับผิดชอบในการรับรายงานและตัดสินใจ Take Action ที่ชัดเจน
II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 207 • ทีมงานที่รับผิดชอบตามรอยดูการเก็บบันทึกและจัดเก็บข้อมูลในประเด็นต่อไปนี้ และ ปรับปรุงตามความเหมาะสม o มีระบบการบันทึกและจัดเก็บข้อมูลชัดเจนหรือไม่ o ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลา หรือไม่ o สามารถเปรียบเทียบข้อมูลปัจจุบันกับข้อมูลที่ผ่านมาได้หรือไม่ • ทีมงานที่รับผิดชอบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลในประเด็นต่อไปนี้ o มีการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ แปลความหมายข้อมูลอย่างต่อเนื่องและ สม�่ำเสมอเพียงใด o มีผู้รู้ทางด้านระบาดวิทยา และมีการใช้วิธีการทางระบาดวิทยาใน การวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ o สามารถค้นหาการเพิ่มที่ผิดปกติหรือการระบาดของโรคได้หรือไม่ พบอะไรบ้าง อะไรคือจุดเริ่มของการสงสัยว่าจะมีการระบาด o สามารถบอกสถานการณ์และแนวโน้มของโรคที่เฝ้าระวังได้หรือไม่ • ทีมงานที่รับผิดชอบร่วมกันคาดการณ์แนวโน้มการเกิดโรคที่ส�ำคัญ และวางแผน ป้องกันควบคุม ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • การพบการระบาดของโรคและ ภัยสุขภาพในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา • ผลการประเมินและตามรอยที่สะท้อน ประสิทธิภาพของการเฝ้าระวัง
208 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II ค. การตอบสนองต่อการระบาดของโรคและภัยสุขภาพ (Response to an Epidemic of Diseases and Health Hazards) (1) องค์กรมีแผนการตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และมีการเตรียมความพร้อม ในการรองรับตลอดเวลา. (2) องค์กรมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (Surveillance and Rapid Response Team - SRRT) จากสหสาขาวิชาชีพท�ำหน้าที่ตอบสนองต่อการระบาดของโรคและภัยสุขภาพ. (3) องค์กรก�ำหนดมาตรการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่จ�ำเป็น เพื่อป้องกัน การแพร่ระบาดของโรค. (4) องค์กรมีช่องทางและบุคลากรที่สามารถรับรายงานผู้ป่ วยหรือภาวะฉุกเฉินทาง สาธารณสุขได้ตลอด 24 ชั่วโมง. (5) องค์กรด�ำเนินการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อย่างทันท่วงที. (6) ทีมผู้รับผิดชอบในการสอบสวนควบคุมโรคมีทรัพยากรและอ�ำนาจตามกฎหมายใน การตรวจสอบและใช้มาตรการควบคุมโรคที่เหมาะสมและทันเหตุการณ์เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้น . กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันวิเคราะห์เหตุฉุกเฉินด้านสาธารณสุขที่อาจเกิดขึ้น จัดท�ำแผน และเตรียมพร้อมในการรองรับ • ทีมงานที่รับผิดชอบประเมินการท�ำหน้าที่ของ SRRT o มีทีมรับผิดชอบชัดเจนหรือไม่ อยู่ในความรับผิดชอบของใคร o ระบบการประสานงานระหว่าง SRRT กับโรงพยาบาลเป็นอย่างไร o จากการระบาดที่เกิดขึ้น SRRT สามารถตอบสนองต่อการระบาดของโรค และภัยสุขภาพได้ดีเพียงใด สามารถควบคุมให้โรคสงบได้เร็วเพียงใด • ทีมงานที่รับผิดชอบก�ำหนดช่องทางและบุคลากรที่จะรับรายงานผู้ป่ วยและ ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ตั้งแต่ผู้รับรายงานเบื้องต้นไปจนถึงผู้มีอ�ำนาจตัดสินใจ สั่งให้มีการปฏิบัติที่จ�ำเป็น • ทีมงานที่รับผิดชอบก�ำหนดข้อบ่งชี้และแนวทางในการสอบสวนผู้ป่วยเฉพาะราย เพื่อ ให้สามารถควบคุมแหล่งแพร่เชื้อและป้องกันการระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ทบทวนความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการสอบสวน/ควบคุมป้องกัน • ทีมงานที่รับผิดชอบก�ำหนดแนวทางการสอบสวนและควบคุมโรคเมื่อเกิดการระบาด o ก�ำหนดข้อบ่งชี้ที่ต้องมีการสอบสวนโรค
II-8 การเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพ 209 มีเหตุการณ์ผิดปกติ มีการป่วยเป็นกลุ่มก้อน พบแนวโน้มที่บ่งบอกว่าอาจมีการระบาด o ให้อ�ำนาจผู้รับผิดชอบในการสอบสวนควบคุมโรค การสั่งใช้ทรัพยากร อ�ำนาจการสืบค้น การใช้มาตรการควบคุมที่เหมาะสมอย่างทันกาลและรอบด้าน o การแจ้งเตือนไปยังชุมชน ส่วนราชการ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง • ทีมงานที่เกี่ยวข้องประเมินประสิทธิภาพของการสอบสวนและควบคุมโรคที่เคย เกิดขึ้น ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ประสบการณ์ในการตอบสนองต่อ การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ • ประสิทธิภาพของการตอบสนองต่อ การระบาดของโรคและภัยสุขภาพ ง. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนภัย (Information Dissemination and Alert) (1) องค์กรจัดให้มีทีมที่รับผิดชอบเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคและภัยสุขภาพเพื่อ สื่อสารข้อมูล สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และสร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค และภัยสุขภาพ กับผู้ป่วย/ผู้รับผลงานชุมชน และสังคม (2) องค์กรจัดท�ำรายงานและเผยแพร่สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพทั้งใน ด้านการเฝ้าระวังการระบาดที่เกิดขึ้น และการด�ำเนินการสอบสวนควบคุมโรค ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสื่อสาธารณะ อย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ. (3) องค์์กรรายงานโรคไปยัังสำำนัักงานสาธารณสุุขในพื้้นที่่และหน่่วยงานที่่เกี่่ยวข้้อง ตามพระราชบััญญัติัิโรคติิดต่่อ พ.ศ. 2558 กฎอนามััยระหว่า่ งประเทศ พ.ศ. 2548 และ กฎข้้อบัังคัับอื่่นๆ. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ผู้น�ำองค์กรจัดให้มีทีมที่รับผิดชอบเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงต่อโรคและภัยสุขภาพ เพื่อท�ำหน้าที่
210 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II o สื่อสารข้อมูล สร้างความตระหนัก ความเข้าใจ กับผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน ชุมชน และสังคม o สร้างการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ กับผู้ป่วย/ผู้รับผลงาน ชุมชน และสังคม • ผู้น�ำองค์กรมอบให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจัดท�ำรายงาน o รายงานและเผยแพร่สถานการณ์ ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ สื่อสาธารณะ อย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ การเฝ้าระวังการระบาดของโรคและภัยสุขภาพที่เกิดขึ้น การด�ำเนินการสอบสวนควบคุมโรค o รายงานโรคไปยังส�ำนักงานสาธารณสุขในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (International Health Regulation) กฎข้อบังคับอื่นๆ ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ความเข้าใจ ความตระหนัก ของผู้ป่วย ผู้รับบริการ ชุมชน และสังคม เกี่ยวกับ โรคและภัยสุขภาพที่ส�ำคัญในพื้นที่ • ความครอบคลุมและทันเวลาของ การจัดท�ำรายงาน
II-9 การทำ งานกับชุมชน 211 SPA II - 9.1 การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับชุมชน (Health Promotion for the Communities) องค์กรร่วมกับชุมชน จัดให้มีบริการสร้างเสริมสุขภาพที่สนองตอบต่อความต้องการ ของชุมชน. (1) องค์กรก�ำหนดชุมชนที่รับผิดชอบและท�ำความเข้าใจบริบทของชุมชน มีการประเมิน ความต้องการด้านสุขภาพและศักยภาพของชุมชน และระบุกลุ่มเป้าหมายและบริการ สร้างเสริมสุขภาพที่จ�ำเป็นส�ำหรับชุมชน. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ผู้บริหารร่วมกับทีมที่รับผิดชอบ ร่วมกันท�ำความเข้าใจความหมายของชุมชน ว่าครอบคลุมถึงชุมชนทางภูมิศาสตร์ และชุมชนทางสังคมที่มารวมตัวกัน เพื่อเป้าหมายเดียวกัน • ผู้บริหารร่วมกับทีมที่รับผิดชอบ ก�ำหนดชุมชนที่รับผิดชอบที่จะจัดบริการ สร้างเสริมสุขภาพ • ทีมผู้ให้บริการร่วมกันท�ำความเข้าใจบริบทของชุมชนที่รับผิดชอบ โดย o ประเมินความต้องการของชุมชน ซึ่งครอบคลุมถึงการเก็บรวบรวม สารสนเทศเกี่ยวกับสุขภาพของชุมชน เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ สถานะ สุขภาพ ศักยภาพ และความเสี่ยงด้านสุขภาพของชุมชน เป็นต้น o ทบทวน ท�ำความเข้าใจกับสถานการณ์ และขีดความสามารถในปัจจุบันของ ชุมชน ครอบคลุมมุมมองด้านการส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟู o ประเมินศักยภาพของชุมชน เพื่อรับรู้ถึงความสามารถสูงสุดที่เป็นไปได้ของ ชุมชนนั้นๆ ถ้าหากชุมชนนั้นได้รับการสนับสนุน ด้านการบริการ ประสาน ความร่วมมือ ส่งเสริม เพิ่มพลังอ�ำนาจอย่างเต็มที่ o ก�ำหนดกลุ่มเป้าหมายส�ำคัญในชุมชน (ซึ่งอาจมีทั้งกลุ่มที่มีสุขภาพดี กลุ่มที่ มีความเสี่ยงสูงหรือด้อยโอกาส กลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ) และบริการสุขภาพ ที่จ�ำเป็นส�ำหรับชุมชน II-9 การท�ำงานกับชุมชน
212 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II o บริการสุขภาพที่เป็นไปได้ ได้แก่ การดูแลสุขภาพ การป้องกันโรค การช่วยเหลือ สนับสนุน การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะสุขภาพ การชี้ประเด็น นโยบายสาธารณะ การสร้างเครือข่าย ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปชุมชนที่รับผิดชอบ ความต้องการ ศักยภาพ กลุ่มเป้าหมายส�ำคัญ บริการ สุขภาพที่จ�ำเป็น • ความชัดเจนและเหมาะสมในการ ก�ำหนดชุมชน ระบุกลุ่มเป้าหมาย และบริการสร้างเสริมสุขภาพที่จ�ำเป็น ส�ำหรับชุมชน (2) องค์กรร่วมกับชุมชนวางแผนและออกแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ ที่ตอบสนอง ความต้องการและปัญหาของชุมชน. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชนวางแผนและออกแบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ โดย o ใช้ข้อมูลทั้งในระดับบุคคล ระดับกลุ่มบุคคล และระดับชุมชน เพื่อระบุปัญหา และความต้องการด้านสุขภาพ o พิจารณาบริการสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ โดยอาจครอบคลุมการดูแล การช่วยเหลือสนับสนุน การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะสุขภาพ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน o พิจารณาบริการสร้างเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมกลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพ o จัดท�ำแผนบริการสร้างเสริมสุขภาพประกอบด้วยเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่ต้องการ และตัวชี้วัดที่เหมาะสม ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปแผนงานสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับ ชุมชนจ�ำแนกตามลักษณะบริการต่างๆ และผลคาดว่าจะสามารถตอบสนอง ความต้องการและปัญหาของชุมชน • ความชัดเจนและความเหมาะสมของ บริการสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับชุมชน
II-9 การทำ งานกับชุมชน 213 (3) องค์กรร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้อง จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับชุมชน . กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้ให้บริการด�ำเนินการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับชุมชนตามแผนที่ก�ำหนด ไว้ในข้อ (2) • ทีมผู้ให้บริการแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรและผู้ให้บริการอื่นๆ ในการจัดบริการ สร้างเสริมสุขภาพ เช่น องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สถานีอนามัย ร้านขายยา ในชุมชน การแพทย์พื้นบ้าน เป็นต้น • ทบทวนการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพส�ำหรับชุมชน โดยพิจารณาถึงลักษณะ การด�ำเนิน ความครอบคลุม ความเหมาะสมสอดคล้องกับแผนงานที่วางไว้ และรูปแบบ ลักษณะ ระดับการมีส่วนร่วมขององค์กรและผู้ให้บริการอื่นๆ ในประเด็นดังต่อไปนี้ o การดูแลสุขภาพ o การช่วยเหลือสนับสนุน o การส่งเสริมการเรียนรู้ o การพัฒนาทักษะสุขภาพ o การชี้ประเด็นนโยบายสาธารณะ o การสร้างเครือข่าย ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • ความครอบคลุมของการด�ำเนินงาน • ความร่วมมือกับองค์กรและผู้ให้บริการ อื่นๆ (4) องค์กรติดตามประเมินผล ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลและร่วมกับชุมชนในการปรับปรุง บริการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้ให้บริการติดตามประเมินผลการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน เปรียบเทียบกับแผนงานและความต้องการสุขภาพของชุมชน • ทีมผู้ให้บริการน�ำสิ่งที่ได้จากการทบทวนประเมินผลมาจัดล�ำดับความส�ำคัญ สื่อสาร แก่ชุมชนที่มีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันพัฒนาการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
214 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปผลการประเมินและการปรับปรุง ที่เกิดขึ้น • ผลลัพธ์หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น จากบริการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน
II-9 การทำ งานกับชุมชน 215 SPA II - 9.2 การเสริมพลังชุมชน (Community Empowerment) องค์กรท�ำงานร่วมกับชุมชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถของชุมชน ในการปรับปรุงสุขภาพและความเป็ นอยู่ที่ดีของชุมชน. (1) องค์กรส่งเสริมการมีส่วนร่วม การสร้างศักยภาพ และการสร้างเครือข่ายของชุมชน รวมทั้งการเป็นคู่พันธมิตร ที่เข้มแข็งกับชุมชน. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ผู้น�ำระดับสูง ทีมผู้ให้บริการ และทีมงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันก�ำหนดหรือทบทวน ทิศทางนโยบายในเรื่องการท�ำงานร่วมกับชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การสร้างศักยภาพ และการสนับสนุนการสร้างเครือข่ายของชุมชน ซึ่งควรเป็น ส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของโรงพยาบาล • ผู้น�ำทุกระดับทบทวนบทบาทในการสนับสนุนการด�ำเนินการของทีมผู้ให้บริการ ในการด�ำเนินการเสริมพลังชุมชน อย่างชัดเจนและสื่อสารทั่วถึงทั้งองค์กร • ทีมผู้ให้บริการทบทวนปรับปรุงบทบาทการท�ำงานให้ลักษณะด�ำเนินการให้ ไปสู่ การให้บริการ ในลักษณะคู่พันธมิตร หุ้นส่วนทางสุขภาพ ที่เข้มแข็ง ด้วยการแลกเปลี่ยน สารสนเทศ ความรู้ ทักษะ และทรัพยากร ที่จ�ำเป็นเพื่อการสนับสนุนการพัฒนา ความสามารถของชุมชนในการปรับปรุงสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน และ การเรียนรู้ร่วมกัน ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปภาพรวมที่เป็นรูปธรรมของการท�ำงาน ร่วมกับชุมชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วม การสร้างศักยภาพ การสร้างเครือข่าย ของชุมชน การเป็นคู่พันธมิตรที่เข้มแข็ง กับชุมชน • ความครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย • ระดับความสัมพันธ์กับชุมชน
216 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II (2) องค์กรร่วมมือกับชุมชน ส่งเสริมความสามารถของกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เพื่อด�ำเนินการ แก้ปัญหาที่ชุมชนให้ความส�ำคัญโดยใช้ต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรมและภูมิปัญญา ของชุมชน. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้ให้บริการด�ำเนินการวิเคราะห์ o ปัญหาที่ชุมชนให้ความส�ำคัญ o ต้นทุนทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาของชุมชนที่จะน�ำมาใช้แก้ปัญหา o กลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่จะมีบทบาทในการแก้ปัญหาของชุมชน เช่น กลุ่่มแม่บ้่า้น กลุ่่มพระสงฆ์์ กลุ่่มผู้้ติิดเชื้้อ HIV เป็็นต้้น • ทีมผู้ให้บริการร่วมมือกับชุมชนในการส่งเสริมความสามารถของกลุ่มต่างๆ ที่วิเคราะห์ได้ เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • กลุ่มต่างๆ ในชุมชนที่องค์กรเข้าไป ส่งเสริมความสามารถ • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการด�ำเนินงาน ของกลุ่มดังกล่าว (3) องค์กรร่วมมือกับชุมชน ส่งเสริมการพัฒนาพฤติกรรมและทักษะสุขภาพของบุคคล และครอบครัว. กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชนทบทวนข้อมูล สถานการณ์ ของปัญหาสุขภาพ พฤติกรรม สุขภาพที่เกี่ยวข้องและทักษะสุขภาพส่วนบุคคลของชุมชนที่รับผิดชอบ ในปัจจุบัน • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชน ทบทวนการด�ำเนินการร่วมกับชุมชนในปัจจุบัน ในการส่งเสริมพฤติกรรมและทักษะสุขภาพส่วนบุคคล ที่มีความส�ำคัญต่อสุขภาพ ของแต่ละคน ในประเด็นดังต่อไปนี้ o พฤติกรรมสุขภาพที่ดี (การออกก�ำลัง การผ่อนคลาย อาหาร) o การลดพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ o การปกป้องส่วนบุคคลให้พ้นจากความเสี่ยง o การจัดการกับความเครียดในชีวิตประจ�ำวัน • ทีมผู้ให้บริการประเมินผลการสนับสนุนส่งเสริมพฤติกรรมและทักษะสุขภาพ ส่วนบุคคลร่วมกับชุมชน และประเมินแนวโน้มสุขภาพส่วนบุคคลในภาพรวม ที่เกิดขึ้นหลังมีความร่วมมือกัน
II-9 การทำ งานกับชุมชน 217 ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปภาพรวมของความร่วมมือ ที่เกิดขึ้นจริง • แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม และทักษะสุขภาพส่วนบุคคล (4) องค์กรส่งเสริมการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และทางสังคม ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี รวมทั้งการชี้แนะและสนับสนุนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพด้วยการสร้าง ความสัมพันธ์ ร่วมมือ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับผู้เกี่ยวข้อง กิจกรรมที่ควรด�ำเนินการ ส ิ่งแวดล้อมทางกายภาพ • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชน ทบทวนข้อมูล สถานการณ์ ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพในชุมชนที่มีผลต่อสุขภาพ และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ ในองค์กรอื่นๆ ในปัจจุบัน • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชน ทบทวนการด�ำเนินการร่วมกับชุมชนและผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องรับผิดชอบในองค์กรอื่นๆ ในปัจจุบัน ในการส่งเสริมให้มีสิ่งแวดล้อม ทางกายภาพในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ในประเด็นดังต่อไปนี้ o การลดสิ่งปนเปื้อนทางกายภาพและสารเคมี o การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ o สิ่งแวดล้อมเพื่อสันทนาการ การพักผ่อน สมดุลของชีวิตและกิจกรรม ที่เอื้อต่อสุขภาพ • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชนและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในองค์กรอื่นๆ ประเมินผลการส่งเสริมให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพในชุมชนที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ส ิ่งแวดล้อมทางสังคม • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชน ทบทวนข้อมูล สถานการณ์ ของผู้ต้องการ ความช่วยเหลือทางสังคม ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในองค์กรอื่นๆ และปัญหา สิ่งแวดล้อมทางสังคมในชุมชนที่มีผลต่อสุขภาพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในปัจจุบัน • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชน ทบทวนการด�ำเนินการร่วมกับชุมชนและผู้มีหน้าที่ เกี่ยวข้องรับผิดชอบในองค์กรอื่นๆ ในปัจจุบัน ในส่งเสริมให้มีบริการช่วยเหลือ ทางสังคม และสร้างสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ในประเด็นดังต่อไปนี้ o การช่วยเหลือทางสังคมในกลุ่มเป้าหมาย (เช่น ผู้ที่ด้อยโอกาสทางสังคม) o การสร้างเครือข่ายทางสังคม o ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีในที่ท�ำงานและชุมชน
218 SPA (Standards-Practice-Assessment) Part II • ทีมผู้ให้บริการร่วมกับชุมชนและผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบในองค์กรอื่นๆ ประเมินผลการส่งเสริมให้มีบริการช่วยเหลือทางสังคม และสร้างสิ่งแวดล้อม ทางสังคมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ • ผู้น�ำระดับสูง ทีมผู้ให้บริการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันท�ำความเข้าใจว่า นโยบายสาธารณะ อาจจะมาจากการก�ำหนดมาตรการเชิงบังคับโดยส่วนราชการ หรือมาจากมาตรการเชิงสังคมโดยชุมชนก็ได้ • ผู้น�ำระดับสูง ทีมผู้ให้บริการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันพิจารณาข้อมูลและ สถานการณ์ต่างๆ เพื่อก�ำหนดหรือทบทวนประเด็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ที่องค์กรควรมีบทบาทในการชี้แนะและสนับสนุน • ผู้น�ำระดับสูง ทีมผู้ให้บริการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวิเคราะห์ ชุมชน องค์กร และบุคคลผู้เกี่ยวข้อง ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแต่ละประเด็น รวมถึง รูปแบบการมีส่วนร่วม สารสนเทศที่จ�ำเป็น และช่องทางการสื่อสาร • ผู้น�ำระดับสูง ทีมผู้ให้บริการ และทีมงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความสัมพันธ์และ ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องและสื่อสารแลกเปลี่ยนสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความตระหนักในความส�ำคัญของประเด็นนโยบายสาธารณะดังกล่าว และน�ำไปสู่การก�ำหนดมาตรการต่างๆ โดยชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่ควรพิจารณาในการประเมินตนเอง การปฏิบัติ (practice) ผลลัพธ์ (result) • สรุปภาพรวมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี • สรุปภาพรวมการส่งเสริมให้มีบริการ ช่วยเหลือทางสังคม และสร้าง สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการ มีสุขภาพดี • นโยบายสาธารณะที่องค์กรขับเคลื่อน • ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อน ต่างๆ