งานวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะด้านการจำแนก โดยใช้ชุดกิจกรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองเสา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดย นางสาวณัฐธิดา วงค์เพ็ญ ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านหนองเสา ตำบลเม็งราย อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เชียงราย เขต 4 กระทรวงศึกษาธิการ
ก คำนำ การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ สำเร็จได้ด้วยความกรุณาจากคณะครูโรงเรียนบ้านหนองเสา ที่ได้ ให้คำปรึกษา ความช่วยเหลือให้ความรู้ ความคิด ให้คำแนะนำ ตลอดจนการตรวจแก้ไขข้อบกพร่อง ต่าง ๆ เป็นอย่างดีจนการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณคณะครูโรงเรียนบ้านหนองเสา ที่กรุณาให้ความอนุเคราะห์ และอำนวยความ สะดวกในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นอย่างดี และขอขอบใจนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ของโรงเรียน บ้านหนองเสา ทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการวิจัยและเก็บข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ จนกระทั่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์ นางสาวณัฐธิดา วงค์เพ็ญ ผู้วิจัย
ข สารบัญ หน้า คำนำ ก สารบัญ ข ความสำคัญและที่มา 1 จุดมุ่งหมาย 2 ตัวแปรที่ศึกษา 2 นิยามศัพท์เฉพาะ 2 วิธีดำเนินการวิจัย 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3 ผลการดำเนินการวิจัย 3 ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต 3 ภาคผนวก 4 ภาคผนวก ก แผนการจัดกิจกรรมเสรี และแบบฝึกหัดทักษะการจำแนก 4 ภาคผนวก ข ภาพการจัดกิจกรรม 17
1 การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะด้านการจำแนก โดยใช้ชุดกิจกรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ความสำคัญและที่มา คณิตศาสตร์มีส่วนช่วยสร้างคุณลักษณะพิเศษให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล คือ ทำให้เป็นคนช่าง สังเกตคิดอย่างมีเหตุผล แสดงออกมาอย่างมีระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้ดีตลอดจนมี ความคิดสร้างสรรค์อันก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างมี ประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นเราควรส่งเสริมให้เด็กได้รับประสบการณ์ และฝึกฝนจนเกิดทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งในปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่า เด็กในวัยนี้มีความสำคัญที่สุดใน การส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กจะเกิดการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ เป็นทักษะที่ช่วยส่งเสริมและกระตุ้นให้เกิดความคิด อันเป็นรากฐานของการพัฒนาสติปัญญา (กุลยา ตันติผลาชีวะ. 2547:157) คณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตัวเด็กถ้าเราสังเกตรอบตัวก็จะเห็นว่า ชีวิตเราเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มากมาย เริ่มตั้งแต่ เลขที่บ้าน เบอร์โทรศัพท์ หรือแม้แต่การพูดคุย ของเด็กที่เราได้ยิน ก็จะมีการเปรียบเทียบ การวัด การจัดประเภทและตัวเลข(นิตยา ประพฤติกิจ. 2541:3-4) นอกจากนี้ วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542:60) จากการที่คณิตศาสตร์มีส่วนเกี่ยวข้องกับการ ดำรงชีวิตของมนุษย์ ทำให้เด็กต้องรู้จักการสังเกต ความเหมือน และความแตกต่างการเปรียบเทียบ ขนาดใหญ่-เล็ก สั้น-ยาวการจัดลำดับเด็กจะต้องรู้จักการเปรียบเทียบของสองสิ่ง หรือมากกว่าสองสิ่ง และจะต้องมีการจัดลำดับ ตั้งแต่ขั้นแรกถึงขั้นสุดท้ายและการวัดซึ่งความสามารถทางด้านการวัดนี้ จะ พัฒนามาจากประสบการณ์ในการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบและการจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับ ในขณะที่เด็กเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของสิ่งใดยาวที่สุด ทักษะทางคณิตศาสตร์ เหล่านี้จะเป็นทักษะพื้นฐานในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆต่อไป (สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. 2545:8) ในการ จัดกิจกรรมแต่ละครั้งจึงต้องคำนึงถึงพัฒนาการเด็กและในการจัดกิจกรรมนั้นๆ ก็ไม่ได้หมายความว่า เด็กๆทุกคนจะสามารถพัฒนาเหมือนกันหมดทุกคน โดยเฉพาะการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยไม่ได้ มุ่งเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้เชิงเนื้อหาเป็นสำคัญ แต่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาเครื่องมือหรือทักษะ การเรียนรู้ที่เด็กจะต้องใช้ต่อไป (วัลนา ธรจักร.2544:1) โดยเฉพาะทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็น
2 ทักษะที่สำคัญมาก เพราะคณิตศาสตร์ช่วยพัฒนาความคิดของผู้เรียนให้สามารถคิดได้อย่างมีระบบ มี เหตุผล และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการสังเกตเด็กๆ ชั้นอนุบาลปีที่ 2 พบว่า ส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมในด้านพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์หรือขาดทักษะด้านการจำแนก ยังไม่สามารถจัดหมวดหมู่ได้ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะด้านการจำแนก โดยใช้ชุดกิจกรรมของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นการพัฒนาทักษะด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น การจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมด้านการจำแนก ตัวแปรตาม ทักษะด้านการจำแนก นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การจำแนก หมายถึง ความสามารถในการจัดจำแนกหรือเรียงลำดับวัตถุ หรือสิ่งที่อยู่ใน ปรากฏการณ์ต่างๆ ออกเป็นหมวดหมู่โดยมีเกณฑ์ในการจัดจำแนก เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ ความ เหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ โดยจัดสิ่งที่มีสมบัติบางประการ ร่วมกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ในการวิจัยในครั้งนี้ จะจำแนกใช้เกณฑ์ดังนี้ 1.1 การจำแนกสิ่งของ 1.2 การจำแนกสัตว์ 1.3 การจำแนกผัก ผลไม้ 1.4 การจำแนกสี 1.5 การจำแนกรูปเรขาคณิต 1.6 การจำแนกขนาด 2. ชุดกิจกรรม หมายถึง แผนการจัดกิจกรรมการจำแนก และแบบฝึกหัดการจำแนก เพื่อ ใช้ในการพัฒนาทักษะด้านการจำแนกของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในช่วงกิจกรรมเสรีตามมุม
3 วิธีดำเนินการวิจัย 1. ร่วมกับคณะครูในกลุ่ม PLC เสนอวิธีการแก้ปัญหาจากการร่วมกันค้นคว้าเอกสารต่างๆ 2. ออกแบบกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ด้านการจำแนก 3. นำแบบกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น นำไปใช้ และสังเกตการสอนโดยการจดบันทึกข้อสังเกต ข้อเสนอแนะ จุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของแต่ละกิจกรรมเพื่อนำไปสะท้อนผล 4. นำผลจากการสังเกตมาสะท้อนผล แก้ไขแบบกิจกรรมตามข้อเสนอแนะของกลุ่มPLC 5. นำแบบกิจกรรมที่ได้จัดทำขึ้น นำไปใช้ และสังเกตการสอนอีกครั้ง 6. สรุปผลการใช้แบบกิจกรรมร่วมกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แผนการจัดกิจกรรมการจำแนก 6 กิจกรรม 2. แบบฝึกหัดการจำแนก ผลการดำเนินการวิจัย จากการตรวจผลการทำแบบฝึกหัดการจำแนกและการสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติ กิจกรรมพบว่า เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีทักษะด้านการจำแนกเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาและพัฒนาในอนาคต 1. ครูควรมีบทบาทในการดูแลให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำเมื่อเด็กต้องการ กล่าว เสริมแรงเพื่อให้เด็กมีความมั่นใจและตั้งใจทำกิจกรรม 2. ในการเตรียมการจัดกิจกรรมโดยใช้แบบกิจกรรมนั้น ควรเตรียมทุกอย่างให้พร้อมใน ระยะเวลาที่กำหนด เพื่อสะดวกกับเด็กในการทำกิจกรรม 3. ควรมีการศึกษาผลการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในด้านอื่นๆจากการจัด กิจกรรม เป็นต้น
ภาคผนวก ก - แผนการจัดกิจกรรมเสรีเพื่อพัฒนาทักษะด้านการจำแนก - แบบฝึกหัดทักษะการจำ
5 กิจกรรมที่ 1 จำแนกสิ่งของ จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. สีไม้สีต่างๆหลากหลายสี หลายขนาด 2. ดินสอไม้ หลากหลายยี่ห้อ 3. แก้วสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำแก้วที่ใส่สีไม้และดินสอต่างๆและบอกให้เด็กๆลองจำแนก จัดให้เป็นหมวดหมู่ ตามความคิดของเด็กๆ แยกใส่แก้วไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำสีไม้และ ดินสอใส่ในแก้วรวมกันไว้แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
6 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกสิ่งของ ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
7 กิจกรรมที่ 2 จำแนกสัตว์ จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. สัตว์จำลองประเภทต่างๆ 2. ตะกร้าสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำสัตว์ต่างๆและบอกให้เด็กๆลองจำแนก จัดให้เป็นหมวดหมู่ตามความคิดของ เด็กๆ แยกใส่ตะกร้าไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำสัตว์จำลองใส่ ตะกร้ารวมกันไว้ แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
8 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกสัตว์ ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
9 กิจกรรมที่ 3 จำแนกผักผลไม้ จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. ผัก ผลไม้ จำลองต่างๆ 2. ตะกร้าสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำผักผลไม้ต่างๆ และบอกให้เด็กๆ ลองจำแนกจัดให้เป็นหมวดหมู่ตามความคิด ของเด็กๆ แยกใส่ตะกร้าไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำผักผลไม้ จำลองใส่ตะกร้ารวมกันไว้ แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
10 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกผลไม้ ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
11 กิจกรรมที่ 4 จำแนกสี จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. บล็อกพลาสติกสีสันต่างๆ 4 สี 2. ตะกร้าสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำบล็อกพลาสติกสีสันต่างๆและบอกให้เด็กๆลองจำแนกจัดให้เป็นหมวดหมู่ตาม ความคิดของเด็กๆ แยกใส่ตะกร้าไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำบล็อก พลาสติกใส่ตะกร้ารวมกันไว้ แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
12 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกสี ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
13 กิจกรรมที่ 5 จำแนกรูปเรขาคณิต จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. ไม้บล็อกรูปร่างต่างๆ 2. ตะกร้าสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำไม้บล็อกต่างๆและบอกให้เด็กๆลองจำแนกจัดให้เป็นหมวดหมู่ตามความคิดของ เด็กๆ แยกใส่ตะกร้าไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำไม้บล็อกใส่ ตะกร้ารวมกันไว้ แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
14 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกรูปเรขาคณิต ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
15 กิจกรรมที่ 6 จำแนกขนาด จุดประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ด้านการจำแนก อุปกรณ์ 1. บล็อกพลาสติกที่มีความยาวสั้นแตกต่างกัน 4 ขนาด 2. ตะกร้าสำหรับการจำแนก 4-5 ใบ วิธีการดำเนินกิจกรรม 1. ครูแนะนำมุมเสรีให้เด็กๆได้รู้จัก 2. ครูนำอุปกรณ์ที่จะให้เด็กจำแนกตั้งไว้ในมุมเสรี 3. ครูแนะนำบล็อกพลาสติกที่มีความยาวสั้นแตกต่างกันและบอกให้เด็กๆลองจำแนกจัดให้ เป็นหมวดหมู่ตามความคิดของเด็กๆ แยกใส่ตะกร้าไว้ 4. หากเด็กๆจำแนกเสร็จแล้ว บอกเหตุผลในการจำแนกให้คุณครูฟัง จากนั้นนำบล็อก พลาสติกใส่ตะกร้ารวมกันไว้ แล้วให้มารับแบบฝึกหัด เรื่องการจำแนก 1 แผ่น และลงมือทำ นำมาส่งครู 5. ครูสังเกตการจำแนกของเด็ก และตรวจแบบฝึกหัด
16 แบบฝึกหัดทักษะการจำแนกขนาด ให้กากบาท X ทับภาพสิ่งที่ไม่เข้าพวก
ภาคผนวก ข ภาพการจัดกิจกรรม
18 กิจกรรมที่ 1 จำแนกสิ่งของ
19 กิจกรรมที่ 2 จำแนกสัตว์
20 กิจกรรมที่ 3 จำแนกผักผลไม้
21 กิจกรรมที่ 4 จำแนกสี
22 กิจกรรมที่ 5 จำแนกรูปเรขาคณิต
23 กิจกรรมที่ 6 จำแนกขนาด