The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือประกอบการเรียนการสอน
วิชาดนตรีพื้นบ้านล้านนา

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

คู่มือประกอบการเรียนการสอน วิชาดนตรีพื้นบ้านล้านนา

คู่มือประกอบการเรียนการสอน
วิชาดนตรีพื้นบ้านล้านนา

Keywords: ดนตรีพื้นบ้านล้านนา

คู่มือประกอบการเรียนการสอน วิชาดนตรีพื้นบ้านล้านนา โดย ว่าที่ ร.ต. วศิน ชุ่มใจ ต าแหน่ง ครู วิทยฐานะครูช านาญการพิเศษ โรงเรียนวอแก้ววิทยา อ าเภอห้างฉัตร จังหวัดล าปาง


ค าน า หนังสือดนตรีพื้นบ้านล้านนาเล่มนี้ จัดท าขึ้นโดยมีเป้าหมายใหนักเรียนและครูผูสอนใชเปนสื่อใน การจัดการเรียนรูเพื่อพัฒนานักเรียนใหมีคุณภาพตามสาระ มาตรฐานการเรียนรูตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู แกนกลางที่หลักสูตรก าหนด รวมทั้งพัฒนานักเรียนใหมีสมรรถนะส าคัญตามที่ตองการทั้งดานการสื่อสาร การคิด การแกปญหา การใชทักษะชีวิต และการใชเทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนานักเรียนใหมีคุณลักษณะอันพึงประสงค ท าประโยชนใหสังคมเพื่อให้สามารถด า รงชีวิตอยูรวมกับผูอื่นในสังคมไทยและสังคมโลกไดอยางมีความสุข โดยการมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมให้เยาวชนสนใจในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นในด้านดนตรีพื้นบ้านล้านนา สิ่งส าคัญ ส่วนหนึ่งก็คือ “คู่มือประกอบการเรียนการสอน” ที่จะต้องใช้ประกอบกิจกรรมนี้ ดังนั้น จึงต้องเร่งรวบรวม/ เรียบเรียงเนื้อหาของคู่มือนี้ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมและแนวการเรียนการสอนที่จะมีขึ้นต่อไป หนังสือเรียนเลมนี้ยึดแนวคิดการจัดการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนส า คัญ ใชหลักการสงเสริมให นักเรียนมีความรูความเขาใจธรรมชาติของดนตรีพื้นบ้าน และสามารถน า ความรูไปประยุกตใชในชีวิตประจ า วันได อยางมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยพัฒนานักเรียนแบบองค์ความรู้บนพื้นฐานของการบูรณาการความคิดรวบยอด ที่เนนใหนักเรียนเรียนรูดวยกระบวนการที่เนนการปฏิบัติ (Active Learning) และเรียนรูโดยใช้สมองเปนฐาน (Brain based Learning) ซึ่งเนนการเรียนรูใหตรงกับรูปแบบการเรียนรู Learning Styles) เนนทักษะที่สราง เสริมความเขาใจที่คงทนของนักเรียน ซึ่งเปนผลลัพธปลายทางที่ตองการใหเกิดตามหลักสูตร ว่าที่ ร.ต. วศิน ชุ่มใจ ครูโรงเรียนวอแก้ววิทยา


สารบัญ เรื่อง หน้า ดนตรีพื้นบ้านล้านนามาจากไหน ซึงและวิธีการฝึกหัดดีดซึง สะล้อและวิธีการฝึกหัดสีสะล้อ ขลุ่ยและวิธีการเป่าขลุ่ย กลอง ฉิ่ง ฉาบ การอ่านโน้ตเพลงเบื้องต้น ศัพท์สังคีต โน้ตเพลงขั้นพื้นฐาน ๑ ๒ 14 22 24 25 26 27 28 ๒๙


(๑) ดนตรีพื้นบ้านล้านนามาจากไหน ศิลปวัฒนธรรมด้านดนตรีของล้านนานั้น มีวิวัฒนาการและได้รับการสืบทอดมานานตั้งแต่อดีตจนมาถึง ปัจจุบัน ไม่มีหลักฐานชี้ชัดแน่นนอน แต่ก็มีผู้สันนิษฐานว่าบางส่วนอาจได้รับอิทธิพลมาจากชมพูทวีปโดยผ่านมา ทางชนชาติมอญ ซึ่งผู้รู้บางท่านได้ตั้งข้อสังเกตว่าเครื่องดนตรีบางชนิดของล้านนานั้น มีลักษณะรูปร่างและวิธีการ บรรเลงก็ใกล้เคียงกับเครื่องดนตรีบางชนิดของอินเดียเช่น “เปี๊ยะ” ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ซึ่งมีการ สันนิฐานว่าอาจจะมีวิวัฒนาการมาจากพิณน้ าเต้าของอินเดีย อย่างไรก็ตาม ดนตรีพื้นบ้านล้านนา (สะล้อ ซอ ซึง) ก็เป็นศิลปะที่บรรพบุรุษของชาวล้านนาในอดีตได้ แสดงถึงความละเมียดละมัยของอารมณ์ทางศิลปะออกมาเป็นเสียงดนตรีที่สื่อถึงความนุ่มนวล เรียบง่ายใน ชีวิตประจ าวันและสอดคล้องกับวิถีชีวิต ถิ่นท ามาหากินและภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน สะล้อ ซอ ซึง สะล้อ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของล้านนา คันชักนั้นในอดีตท าจากหางม้า ใช้สีเหมือนกับซอ ของภาคกลาง แตกต่างกันที่คันชักของสะล้อจะอยู่ด้านนอกของสายสะล้อและเป็นอิสระ ไม่เหมือนกับคันชักของ ซอที่จะสอดไว้ติดกับสายของซอ กะโหลก หรือกล่องเสียงของสะล้อนั้นท าจากกะลามะพร้าว คันทวนหรือคันสะ ล้อท าจากไม้เนื้อแข็งเช่นไม้สัก ประดู่หรือชิงชัน สะล้อแบ่งออกตามขนาดได้เป็น ๓ ขนาด คือ สะล้อเล็ก สะล้อ กลาง และสะล้อใหญ่ นอกจากนี้แล้ว สะล้อก็มีทั้งแบบ ๒ สายและแบบ ๓ สาย การเล่นสะล้อนั้นมักใช้เล่นผสม กับซึงและปี่จุมหรือปี่ซอ เพื่อใช้เป็นดนตรีประกอบการขับร้องเพลงซอซึ่งเป็นเพลงพื้นบ้านล้านนา สะล้อในสมัยโบราณบางทีก็เรียกว่า ทะร้อ หรือ ตะล้อ มีลักษณะคล้ายกับซอของภาคอีสาน ส่วนขลุ่ย นั้นมีการน ามาเล่นร่วมกับวงสะล้อ ซึง ภายหลัง แต่เดิมนั้นมีแต่ซึงและสะล้อที่บรรเลงร่วมกัน เนื่องจากการฝึกหัดและการเล่นที่ไม่ยากเกินไปนัก จึงท าให้ซึงและสะล้อเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยม อย่างแพร่หลายกว่าดนตรีพื้นบ้านอย่างอื่น การเล่นดนตรีพื้นบ้านล้านนานั้นแต่เดิมใช้เป็นอุปกรณ์ในการแอ่วสาว ต่อมาจึงได้พัฒนาและดัดแปลงมาเป็นการเล่นรวมกันเป็นวงเพื่อความบันเทิงทั้งเวลาพักผ่อนและพิธีการต่างๆ ได้มี การน าเอาเครื่องประกอบจังหวะมาบรรเลงร่วมเช่นกลอง ฉิ่ง ฉาบ จึงท าให้การบรรเลงครึกครื้นยิ่งขึ้น จนได้รับ ความนิยมน าไปบรรเลงในงานต่างๆ ทั้งที่เป็นงานมงคลและอวมงคล ซอ หมายถึงปี่ซอ หรือปี่จุมที่ใช้บรรเลงร่วมกับบทขับร้องเพลงซอพื้นบ้านล้านนา ลักษณะการ ซอจะเป็นการนั่งรวมกันเป็นวงหันหน้าเข้าหากัน ฝ่ายหญิงจะนั่งติดกับปี่ขนาดเล็กซึ่งเรียกว่าปี่ก้อย โดยมีฝ่ายชาย ที่จะซอตอบโต้โดยนั่งถัดไปจากฝ่ายหญิง ลักษณะการซอนั้นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มขึ้นต้นซอก่อน ติดตามมาด้วย การซอตอบโต้จากฝ่ายหญิง โดยมีปี่ก้อยท าหน้าที่หลักในการน าการบรรเลง เนื้อหาของการขับล าน าซอนั้นก็ แล้วแต่ว่าจะเป็นวาระและโอกาสอะไร แต่มักจะเป็นงานมงคลเป็นหลักเช่น งานวัดทั้งปอยหลวง บวชพระหรืองาน ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ส่วนท านองในการซอพื้นบ้านล้านนานั้นมีหลากหลายท านองเช่น ตั้งเชียงใหม่ จะปุ ละม้าย โยนกเชียงแสน เงี้ยว หรือเสเลเมา พม่า พระลอ ซออื่อ ปั่นฝ้าย ล่องน่าน และท านองจ้อย เป็นต้น


(๒) ซึง ซึง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดของล้านนา มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับกีตาร์ และพิณของภาคอีสาน มี ๔ สาย ในอดีตมักใช้สายลวดเส้นเล็กๆ หรือสายเบรกรถจักรยานมาท าเป็นสายซึง แต่ปัจจุบันนี้นิยมใช้สายกีตาร์ แทน ซึ่งมีสายเป็นคู่รวมเป็น 4 สาย เวลาตั้งเสียงต้องตั้งเป็นคู่คือ สายคู่บน และสายคู่ล่าง มีลูกนับแบ่งเป็น ช่องๆ คล้ายกีตาร์(Fret) ซึ่งสามารถแบ่งตามขนาดมี ๓ ขนาด คือ ซึงเล็ก ซึงกลาง และซึงหลวง ที่มีหลาย ขนาดก็เพราะต้องการให้มีเสียงที่กลมกลืนกันในขณะบรรเลงร่วมกันเป็นวง นอกจากนี้ซึงยังมี “ซึงสามสาย” ซึ่งจะใช้เอาไว้บรรเลงเพื่ออวดทักษะฝีมือของนักดนตรี (เดี่ยวเครื่องดนตรี) ในการบรรเลงเป็นวงจะใช้ซึงขนาดใหญ่เข้าร่วมเพื่อให้เกิดเสียงประสานและตัดกัน และความไพเราะก็จะ ขึ้นอยู่กับขนาดของซึง การบรรเลงเป็นวงนั้นไม่มีจ ากัดจ านวนของเครื่องดนตรีว่าจะมีกี่ชิ้น ส่วนใหญ่แล้วมักจะ ค านึงถึงความเข้ากันได้ของฝีมือผู้เล่น และความกลมกลืนของเสียงที่จะออกมาในขณะบรรเลงมากกว่า ประเภทของซึง แบ่งได้ ๓ ประเภท ดังนี้ ๑. ซึงตัดหรือซึงเล็ก มีรูปร่างกะทัดรัด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ - ๘ นิ้ว ซึงที่ตั้งเสียงลูก ๔ จะมีสาย คู่ล่างเป็นเสียงโด คู่บนเป็นเสียงซอล นิยมดีดเพลงทั่วไปเพื่อให้มีเสียงตัดกับซึงใหญ่และซึงกลาง ผู้เล่นต้องมีกลเม็ด ในการเล่นที่แพรวพราว เสียงของซึงตัดจะมีเสียงสูงคมชัด ๒. ซึงกลาง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๐ นิ้ว ช่วงคอซึงยาวประมาณ ๑๕ - ๑๖ นิ้ว เป็นซึงที่ให้ เสียงทุ้มปานกลาง ถ้าเล่นเป็นวงจะใช้ควบคุมท านองหลัก มักตั้งเสียงแบบลูกสาม มีสายคู่ล่างเป็นเสียงซอล สายคู่บนเป็นเสียงโด ๓. ซึงใหญ่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๒ - ๑๕ นิ้ว ช่วงคอซึงจะยาวประมาณ ๑๘ - ๒๐ นิ้ว ซึงใหญ่เป็นซึงที่ให้เสียงทุ้มกังวาน มักจะตั้งเสียงเป็นแบบซึงลูกสี่ มีสายคู่ล่างเป็นเสียงโด (ด) และสายคู่บนเป็น เสียง ซอลต่ า (ซ)


(๓) ส่วนประกอบของซึง 1. ตัวซึง หรือ กล่องเสียง มักจะมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับความชอบและผู้ออกแบบ ส่วนความตื้น – ลึกและความหนา – บาง ของขอบด้านข้าง และความหนาด้านล่างนั้น มีส่วนท าให้เกิดเสียงก้อง กังวานมาก – น้อยได้ ๒. หน้าตาดซึง คือแผ่นไม้บางๆ ที่ปิดไว้บริเวณตัวซึงหรือกล่องเสียง และเจาะรูให้เสียงสะท้อนออกจากกล่อง เสียงตาดซึง เป็นองค์ประกอบที่ส าคัญในการรับการสั่นสะเทือนจากหย่องที่วางอยู่บนตาดซึง หย่องนั้นท าหน้าที่ เป็นตัวน าการสั่นสะเทือนของสายซึงผ่านเข้าสู่กล่องเสียง ท าให้เกิดเป็นเสียงสะท้อนดังก้องออกมาความหนา ของไม้และขนาดรูเปิดเสียงของตาดซึงจะต้องพอดีและสัมพันธ์กับขนาดของกล่องเสียง ซึ่งจะท าให้เกิดเสียงไพเราะ กังวานส่วนไม้ที่ใช้ท าเป็นตาดซึงมักจะเป็นไม้ชนิดเดียวกันกับตัวซึงหรืออาจใช้ไม้อัดก็ได้ ๓. คอซึง คอซึงเป็นไม้ชิ้นเดียวกับกล่องเสียง หรือใช้ไม้ประกอบต่อกันให้สนิทเข้าด้วยกันกับกล่องเสียงก็ได้ ความกว้างของคอซึงไม่ก าหนดเป็นมาตรฐานแล้วแต่ความชอบของผู้เล่นและผู้ออกแบบแต่ละคน คอซึงเป็นที่ ส าหรับวางหย่องพาดสายและวางลูกนับหรือนมซึง วางเรียงกันตามล าดับบันไดเสียง ๔. หัวซึงและลูกบิด (หลักซึงหรือหลักสาย) หัวซึงจะเจาะรูด้านข้างไว้ส าหรับใส่ลูกบิด และเซาะร่องตรงกลาง ส าหรับใส่สาย ลักษณะของหัวซึงจะมีลวดลายแตกต่างกันออกไปแล้วแต่ผู้ผลิต (สล่า) ส่วนลูกบิดซึงนั้นแต่เดิมใช้ ลูกบิดไม้(หลักซึงหรือหลักสาย) เวลาฝึกหัดเล่นซึงใหม่ ๆ จะตั้งเสียงยากและช้า ดังนั้น ส่วนใหญ่ในปัจจุบันจึง มักจะใช้ลูกบิดกีตาร์แทน เพราะสะดวกและง่ายต่อการตั้งเวลาจะเล่นแต่ก็จะใส่ลูกบิดไม้หลอกไว้ ๕. หย่องหน้า หรือ หย่องพาดสาย เป็นอุปกรณ์ส าหรับการจัดวางสายซึงโดยแบ่งเป็นคู่สายบนและคู่สายล่าง ความสูงของหย่องหน้านี้จะสัมพันธ์กับความสูงของหย่องหลังและลูกนับหรือนมหย่องหน้า จะต้องไม่สูงเกินไป เพราะถ้าสูงมากเกินไปเวลากดสายจะท าให้ผู้เล่นเจ็บนิ้ว ๖. ลูกนับซึง จะจัดวางเรียงกันตามล าดับจากสูงไปหาต่ า เวลากดสายซึงลูกใดลูกหนึ่งสายซึงต้องไม่ไปแตะ ลูกนับหรือนมตัวที่ถัดไป ลูกนับซึงท าด้วยไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ หรือกระดูกก็ได้ บางครั้งก็ใช้หวาย ลูกนับซึง จะเรียกเป็นลูกที่ ๑ ลูกที่ ๒ ลูกที่ ๓ และลูกที่ ๔ เรียงต่อไปเรื่อยๆ ซึงแต่ละตัวนั้นจ านวนลูกนับไม่เท่ากัน เช่น ซึงตัด ๑๑ ลูก หรือซึงตัด ๙ ลูก บางทีมีเพียง ๗ ลูกก็มี ไม่ได้จ ากัดตายตัว จะขึ้นอยู่กับผู้ท าซึงหรือผู้เล่น ๗. หย่องหลัง คือส่วนที่รับน้ าหนักแรงกดจากความตึงของสายซึง และเป็นตัวน าเสียงสั่นสะเทือนจากการดีดสาย ซึงผ่านตาดซึงเข้าไปในกล่องเสียงแล้วสะท้อนก้องออกมา หย่องหลังที่ดีจะต้องท าด้วยไม้เนื้อแข็ง กระดูกหรือเขา สัตว์ เพื่อให้เป็นตัวน าเสียงที่ดี ๘. หลักยึดสายซึง อยู่ด้านท้ายท าหน้าที่ในการยึดสายซึงไว้ให้แน่น ซึ่งจะใช้ตะปูตอกยึด หรือเจาะเป็นรูก็ได้ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙


(๔) ๙. สายซึง และไม้ดีด (บางที่ก็เรียกไม้เขี่ย) สมัยก่อนใช้สายเบรกรถจักรยาน หรือสายลวดทองเหลือง ปัจจุบัน นิยมใช้สายกีตาร์เพราะสามารถเลือกขนาดของสายได้แต่สายเบรกรถจักรยานก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่เพราะหา ง่ายและมีความทนทาน ส่วนไม้ดีดซึงนั้นแต่ก่อนนิยมใช้เขาควายโดยน ามาท าเป็นรูปร่างแบบเล็ก ๆ คล้ายปิ๊ก กีตาร์แต่จะเล็กและยาวกว่า ไม้ดีดที่ท าด้วยเขาควายมักไม่ค่อยทนเพราะจะแตกหรือฉีกง่าย ดังนั้น ในปัจจุบัน มักจะนิยมใช้พลาสติกมาท าไม้ดีดแทนเนื่องจากหาง่ายและทนทาน การตั้งเสียง การเทียบเสียงของเครื่องดนตรี มักเทียบกับระดับเสียงของเครื่องดนตรีภายในวงที่ไม่สามารถปรับระดับ เสียงของตัวเองได้ ซึ่งในที่นี้หมายถึงขลุ่ยที่จะใช้เป่าเล่นรวมกัน ส่วนใหญ่นั้นจะตั้งเสียงจากขลุ่ยหลิบหรือขลุ่ย พื้นเมืองเหนือซึ่งมี 6 - ๗ รู การตั้งเสียงของขลุ่ยก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป การตั้งเสียงซึงมี ๒ แบบ คือ ซึงกลางตั้งเสียงแบบลูกสาม ซึงใหญ่กับซึงเล็กตั้งเสียงแบบลูกสี่ ค าว่าที่ เรียกว่าแบบ “ลูกสาม” และแบบ “ลูกสี่” โดยการเทียบเสียงซึงที่ดีดลงไปแต่ละลูกนับว่าเทียบได้กับเสียงโน้ตไทย ทั้ง ๗ เสียง ดังตารางต่อไปนี้ แบบที่ ๑ ซึงลูกสาม ซึงลูกสาม คือ ซึงที่ตั้งเสียงสายเปล่าคู่บนเป็นเสียงโด (ด) ตั้งเสียงสายเปล่าคู่ล่างเป็นเสียง ซอล (ซ) และ เสียงลูกนับที่สามของสายคู่ล่างเป็นเสียง โดสูง (ด ) ฟ ม ร ลํ ซํฟํ มํ รํ ดํ ท ล ด ซ


(๕) ซึงลูกสาม สายคู่บนมักจะเล่นสายเปล่า ลูกที่ ๑, ลูกที่ ๒ และลูกที่ ๓ เท่านั้น ลูกที่ ๔ คู่บนเสียงซอล ไม่มีผู้นิยมเล่น แต่จะดีดสายเปล่าคู่ล่าง ซึ่งเป็นเสียง ซอล เหมือนกัน การฝึกหัดดีดและไล่เสียงซึงลูก ๓ มีวิธีการดังต่อไปนี้คือ ดีดสายเปล่า “คู่บน” โดยการ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต โด นิ้วชี้ กดสายคู่บนที่ ลูกนับที่ ๑ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต เร นิ้วกลาง กดสายคู่บนที่ ลูกนับที่ ๒ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต มี นิ้วนาง กดสายคู่บนที่ ลูกนับที่ ๓ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต ฟา ดีดสายเปล่า “คู่ล่าง” โดยการ ดีดลงแล้วตวัดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต ซอล นิ้วชี้ กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๑ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต ลา นิ้วกลาง กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๒ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต ที นิ้วนาง กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๓ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต โด (ด ) ให้ฝึกไล่เสียงย้อนกลับไปมาดังตัวอย่าง แต่เปลี่ยนวิธีการดีดเป็น ดีดขึ้น – ดีดลง จนสามารถจ าได้ แต่ จังหวะการดีดต้องสม่ าเสมอ การฝึกดีดให้เริ่มต้นจากช้า ๆ แล้วค่อยเร่งให้เร็วขึ้นได้เมื่อมีความช านาญจน สามารถจ าเสียงและลูกนับได้อย่างแม่นย า ฝึกให้คล่องจนกว่าประสาทสัมผัสจะสามารถแยกแยะเสียงได้จะ กระทั่งมือซ้ายและขวามีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี


(๖) การดีดรัวเสียง การฝึกดีดรัวเสียงให้ดีดลงดีดขึ้นสลับกันไป เริ่มจากการดีดลง ฝึกดีดช้า ๆ แล้วค่อยเร็ว ขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นเสียงรัว ให้ฝึกดีดทั้งสายเปล่า และดีดเมื่อกดลูกนับแต่ละลูก การดีดรัวนั้นจะต้องใช้ส่วน ของข้อมือเป็นส่วนเคลื่อนไหว เป็นการสะบัดมือดีด ไม่ใช้แขนทั้งหมดในการเคลื่อนไหวในการดีด การฝึกหัดดีดซึงลูก ๓ ๑. ดีดสายเปล่า สายทุ้ม เสียงที่ได้จะเป็นเสียง โด (ด) ๒. ดีดและกด นิ้วชี้ ใกล้กับลูกนับที่ ๑ สายทุ้ม เสียงที่ได้จะเป็นเสียง เร (ร) ๓. ดีดและกด นิ้วกลาง ใกล้กับลูกนับที่ ๒ สายทุ้ม เสียงที่ได้จะเป็นเสียง มี (ม)


(๗) ๔. ดีดและกด นิ้วนาง ใกล้กับลูกนับที่ ๓ สายทุ้ม เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ฟา (ฟ) ๕. ดีดสายเปล่า สายเอก เสียงที่ได้จะเป็น ซอล (ซ) ๖. ดีดและกด นิ้วชี้ ใกล้กับลูกนับที่ ๑ สายเอก เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ลา (ล)


(๘) ๗. ดีดและกด นิ้วกลาง ใกล้กับลูกนับที่ ๒ สายเอก เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ที (ท) ๘. ดีดและกด นิ้วนาง ใกล้กับลูกนับที่ ๓ สายเอก เสียงที่ได้จะเป็นเสียง โดสูง (ด ) ๙. ดีดและกด นิ้วก้อย ใกล้กับลูกนับที่ ๔ สายเอก เสียงที่ได้จะเป็นเสียง เรสูง (ร )


(๙) แบบที่ ๒ ซึงลูกสี่ ซึงลูกสี่ คือ ซึงที่ตั้งเสียงสายเปล่าคู่บนเป็นเสียง “ซอล”(ซ) ตั้งเสียงสายเปล่าคู่ล่างเป็นเสียง โด (ด) และเสียง ลูกนับที่สี่ของสายคู่ล่างเป็นเสียง ซอลสูง ( ซ ) ซึงลูกสี่ สายคู่บนมักจะเล่นแต่สายเปล่า ลูกที่ 1 และลูกที่ 2 ส่วนเสียงโดลูกที่สาม มักจะเล่นสายเปล่าคู่ล่าง ซึ่งเป็นเสียงโดแทน แต่ซึงใหญ่ลูก ๓ หรือซึงหลวงซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๕ นิ้วขึ้นไป มีขนาดใหญ่ และยาว มีเสียงทุ้มต่ าท าหน้าที่คล้ายเบส แต่โดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไร การตั้งเสียงซึงลูก ๔ ซึงใหญ่ - ซึงเล็กให้ตั้งเสียงเป็นเสียง ซอล - โด หรือลูก ๔ คือเทียบสียง สายเปล่าคู่บน เป็นเสียง ซอล สายเปล่าคู่ล่าง เป็นเสียง โด ดังนี้ ดีดสายเปล่า “คู่บน” โดยการดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต ซอล (ซ) นิ้วชี้ กดสายคู่บนที่ ลูกนับที่ ๑ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต ลา (ล) นิ้วกลาง กดสายคู่บนที่ ลูกนับที่ ๒ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต ที(ท) ดีดสายเปล่า “คู่ล่าง” โดยดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต โด (ด ) นิ้วชี้ กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๑ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต เร (ร ) นิ้วกลาง กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๒ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต มี(ม ) นิ้วนาง กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๓ ดีดขึ้น พร้อมกับท่องโน้ต ฟา (ฟํ) นิ้วก้อย กดสายคู่ล่าง ลูกนับที่ ๔ ดีดลง พร้อมกับท่องโน้ต ซอล (ซ ) ซํ ฟํ มํ รํ Y ทํ ลํ Y Y ดํ Y Q Y Y ท ล ซ ดํ


(๑๐) การฝึกหัดดีดและไล่เสียงซึงลูก ๔ ซึงลูก ๔ มีวิธีการฝึกดีดและไล่เสียงตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ ๑. ดีดคู่สายเปล่าบน (สายทุ้ม) เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ซอล (ซ) ๒. ดีดและกดนิ้ว บนลูกที่ ๑ (สายทุ้ม) เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ลา (ล) ๓. ดีดและกดนิ้วกลาง บนลูกที่ ๒ เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ที (ท)


(๑๑) ๔. ดีดคู่สายเปล่าล่าง (สายเอก) เสียงที่ได้จะเป็นเสียง โด (ด) ๕. ดีดและกดนิ้วชี้ บนลูกที่ ๑ (สายเอก) เสียงที่ได้จะเป็นเสียง เร (ร) ๖. ดีดและกดนิ้วกลาง บนลูกที่ ๒ เสียงที่ได้จะเป็นเสียง มี (ม)


(๑๒) ๗. ดีดและกดนิ้วนาง บนลูกที่ ๓ (สายเอก) เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ฟา (ฟ) ๘. ดีดและกดนิ้วก้อย บนลูกที่ ๔ สายเอก เสียงที่ได้จะเป็นเสียง ซอลสูง (ซ ) วิธีดีดซึง สายของซึงจะมีอยู่ ๒ คู่ คือ คู่บนและคู่ล่าง ให้กางมือจับคอซึง นิ้วมือซ้ายกดสายซึงโดยให้สายซึงแตะ กับลูกนับ ส่วนมือขวาจับไม้ดีด ดีดลงไปที่สายซึงทีละคู่สาย การดีดสายซึงนั้นจะต้องดีดลงก่อนเสมอ แล้วค่อยดีดขึ้นสลับกันไปมา จะเริ่มฝึกดีดลงดีดขึ้นอย่างช้าๆ และถี่ๆขึ้นจนเป็นเสียงรัว โดยเริ่มฝึกจากการ ดีดสายเปล่าก่อน แล้วจึงฝึกการไล่บันไดเสียงจนความช านาญ ค่อยเริ่มฝึกหัดเพลงพื้นฐานได้


(๑๓) การบรรเลงดนตรีพื้นบ้านล้านนาหลายชนิดเป็นวงผสมกันก่อนอื่นจะต้องมีการตั้งเสียงให้เข้ากันเสียก่อน การตั้งเสียงจะต้องใช้ขลุ่ยเป็นหลักในการเทียบเสียง ซึงจะต้องตั้งเป็นลูก ๓ และลูก ๔ ดังต่อไปนี้ ซึงเล็ก จะต้องตั้งเสียงให้เป็นเสียง “ลูกสี่” (สายทุ้มเสียง ซอล – สายเอกเสียง โด) ซึงกลาง จะต้องตั้งเสียงให้เป็นเสียง “ลูกสาม” (สายทุ้มเสียง โด – สายเอกเสียง ซอล) ซึงใหญ่ จะต้องตั้งเสียงให้เป็นเสียง “ลูกสี่” (สายทุ้มเสียง ซอล – สายเอกเสียง โด) ท่าทางในการนั่งดีดซึง ปกติการบรรเลงดนตรีพื้นบ้านล้านนานั้นมักจะนั่งกับพื้นซึ่งท่านั่งนั้นก็มักจะเป็นการนั่งพับเพียบหรือ นั่งขัดสมาธิก็ได้ตามแต่โอกาสและสถานที่หรือความถนัดของผู้เล่นเป็นหลัก บางโอกาสอาจนั่งเก้าอี้เล่นก็ได้แต่ โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการนั่งขัดสมาธิเสียเป็นส่วนใหญ่เพราะเป็นท่าที่ผ่อนคลายและสะดวกในการเล่น


(๑๔) สะล้อ สะล้อ บางทีก็เรียก ทะร้อ เอกสารโบราณบางแห่งเรียกว่าตะล้อ,ถะล้อ,ธะล้อ สะะล้อเป็นเครื่องดนตรี พื้นบ้านล้านนาที่ใช้เล่นผสมกับซึงและขลุ่ยหรือเล่นเดี่ยว มีรูปทรงคล้ายซออู้ ซึ่งเป็นเครื่องสายของดนตรีไทย แต่วิธีท าสะล้อนั้นไม่ประณีตเท่าซออู้และรายละเอียดอื่นๆ ก็แตกต่างกันเช่นกล่องเสียง (กะโหลก/กระโหล้ง) ท าจากกะลามะพร้าว ขอบสะล้อด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บางๆ ส่วนซออู้นั้นด้านหน้าปิดด้วยหนัง สายสะล้อ ใช้สายลวดหรือสายกีต้าร์ ส่วนซออู้นั้นเป็นสายเอ็นหรือสายไหม สะล้อใช้คันชักสีนอกสายคล้ายซอสามสาย แตกต่างจากซออู้ที่คันชักอยู่ในสาย คันชักเดิมใช้หางม้าแต่ปัจจุบันหางม้าหายากจึงใช้สายเอ็นเส้นเล็กๆ ส่วนประกอบของสะล้อ ๑. กะโหลก/กะโหล้ง (กล่องเสียง) สะล้อ ท าจากกะลามะพร้าว โดยเจาะรูด้านหลัง ให้เป็นทางออกของเสียง ด้านหน้าปิดด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ซึ่งเรียกว่า ตาดสะล้อ ๒. หย่อง (ก๊อบสะล้อ) เป็นไม้ชิ้นเล็กๆ ใช้ส าหรับรองสายสะล้อส่วนล่างให้ยกสูงจากตาดสะล้อ ๓. คันทวน (คันสะล้อ) เป็นไม้เนื้อแข็งกลึงหรือเหลาให้กลมเสียบทะลุกะลาใกล้ๆ ขอบที่ปิดด้วยตาดสะล้อ ๔. สายสะล้อ คือสายที่ท าให้เกิดเสียงขณะถูกสี ท าด้วยสายลวดโลหะ มี ๒ สาย คือ สายเอกและสายทุ้ม ๕. รัดอก เป็นเส้นก าหนดเสียง ใช้สายเอ็นหรือลวดเป็นห่วงรัดสายสะล้อรวมเข้ากับคันสะล้อส่วนบน ๖. ลูกบิด (หลักสะล้อ) ท าด้วยไม้กลึงเรียวเล็กลง เสียบตรงปลายคอคันทวน ส าหรับขันสายสะล้อให้ตึง หรือหย่อน เพื่อปรับเสียงตามความต้องการ ๗. คันชัก(ก๋งสะล้อ)ท าด้วยไม้เนื้อแข็งหรือไม้ไผ่ โค้งงอคล้ายคันศร ขึงด้วยหางม้าหรือเอ็นเส้นเล็กๆ ๑ ๒ ๓ ๕ ๔ ๗ ๖


(๑๕) ระบบเสียงของสะล้อ สะล้อ ต่างกับซึงที่ไม่มีนมรองรับ สะล้อจึงไม่มีปัญหาเรื่องบันไดเสียงว่าจะอยู่ในระบบใดระบบหนึ่งเพียง ระบบเดียว การขึ้นสายสะล้อเหมือนกับการขึ้นสายซึงคือขึ้นแบบลูก ๓ และลูก ๔ ตามความถนัดและความ ต้องการของผู้เล่น แต่มักจะมีหลักอยู่ว่าเมื่อจะมีการเล่นเป็นวงมีสะล้อหลายตัวนั้นมักจะมีการตั้งสะล้อใหญ่ให้ เป็นลูก ๔ และตั้งสายสะล้อเล็กให้เป็นลูก ๓ จึงจะท าให้มีเสียงออกมากลมกลืนกันเป็นอย่างดี ประเภทของสะล้อและการตั้งเสียง การตั้งเสียงสะล้อนั้น นักดนตรีพื้นบ้านล้านนาหลายท่านนิยมตั้งเสียงให้เหมือนกับการตั้งเสียงซอด้วง ของ วงดนตรีไทยคือสายทุ้มเป็นเสียง ซอล และสายเอกเป็นเสียง เร เนื่องด้วยเป็นการสะดวกที่เด็กนักเรียนที่เคยเล่น หรือไม่เคยเล่นซอด้วงหรือสะล้อ ก็สามารถจะเล่นเครื่องดนตรีทั้งสองชิ้นได้เพราะมีการวางต าแหน่งนิ้วที่จะกด เหมือนกัน แต่ความเป็นจริงแล้ว สะล้อที่เล่นประสมกับซึง และเครื่องประกอบจังหวะ ในวงดนตรีพื้นบ้านล้านนา จะตั้งเสียงไม่เหมือนกัน ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท เรียกตามขนาดดังนี้ ๑. สะล้อใหญ่ หน้ากะโหลกท าจากกะลามะพร้าวกว้างประมาณ ๕.๕ นิ้ว คันทวน (คันสะล้อ) วัดจากกระโหลก ถึงหลังสะล้อ ยาวประมาณ ๑๕ นิ้ว สะล้อใหญ่เวลาสีเสียงที่ออกมาทุ้มใหญ่มักตั้งเสียงเป็นแบบสะล้อลูกสาม (สายทุ้ม เสียงโด, สายเอก เสียงซอล ) ๒. สะล้อกลาง หน้ากระโหลกกว้างประมาณ ๔.๕ นิ้ว คันทวนวัดจากกระโหลกถึงหลักสะล้อ ยาวประมาณ ๑๓.๕ นิ้ว เสียงที่ได้เป็นเสียงทุ้มปานกลาง มักใช้สีควบคุมท านองหลัก นิยมตั้งเสียงแบบสะล้อลูกสี่ (สายทุ้ม เสียงซอล – สายเอก เสียงโด ) ๓. สะล้อเล็ก หน้ากระโหลกกว้างประมาณ ๓.๕ นิ้ว คันทวนวัดจากกระโหลกถึงหลักสะล้อยาว ๑๒ นิ้ว ให้เสียงสูงกว่าสะล้อกลาง มักตั้งเสียงเป็นแบบลูกสาม(สายเอกเสียงซอลสูง-สายทุ้มเป็นเสียงโดสูง) นอกจากนี้ ยังมีสะล้อสามสายอีก เป็นการวมเอาการตั้งเสียงแบบสะล้อลูกสามและลูกสี่อยู่ในตัวเดียวกัน บทบาทและลีลาของสะล้อแต่ละประเภท ๑. สะล้อใหญ่ มีลักษณะร่วมทางเสียงระหว่างสะล้อเล็กและสะล้อกลาง แต่เสียงทุ้มต่ าบทบาทคล้ายคนที่มีอายุ ไม่ค่อยมีลีลาและลูกเล่นมากนัก ๒. สะล้อกลาง บทบาทคล้ายคนวัยกลางคน มีลีลาสอดรับกับสะล้อใหญ่และสะล้อเล็ก ๓. สะล้อเล็ก คล้ายคนวัยคะนอง มีเสียงแหลมเล็ก ลีลาโลดโผน ล้อและรับกับเสียงสะล้อกลาง ซึงและขลุ่ย การตั้งเสียงสะล้อ ใช้พื้นฐานการอ่านโน้ตเพลงไทยเบื้องต้น ซึ่งมีตัวโน้ตอยู่ ๗ ชื่อ ซึ่งจะใช้อักษรย่อแทนเสียงแต่ละเสียง ดังต่อนี้ โด = ด, เร = ร, มี = ม, ฟา = ฟ, ซอล = ซ, ลา = ล, ที = ท การตั้งเสียงสะล้อใช้เทียบกับขลุ่ยพื้นเมืองซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มีระดับเสียงเท่ากับ ขลุ่ยหลิบของดนตรีไทย ซึ่งปิดรูเสียงทั้งหมดจะได้เสียง ซอล ใช้มือข้างบนปิด 4 นิ้ว และปิดรูค้ าอีก ๑ นิ้ว เมื่อ เป่าจะเป็นเสียง โด และใช้มือล่างอีกข้างหนึ่งปิดอีก ๓ รู รวมเป็น ๗ รู (ถ้านับทั้งนิ้วค้ า) จะเป็นเสียง ซอล


(๑๖) ต าแหน่งเสียง แบ่งตามลักษณะการตั้งเสียงได้ ๒ ประเภท ๑. ประเภทของสะล้อลูกสาม จะมีการตั้งเสียงสายเปล่า สายทุ้มกับสายเอก เป็นคู่เสียงที่ ๕ คือ โด กับ ซอล ๒. ประเภทสะล้อลูกสี่จะตั้งเสียงสายเปล่า สายทุ้มกับสายเอก เป็นคู่เสียงที่ ๔ เป็น ซอล กับ โด การจับสะล้อ มือซ้ายจับคันสะล้อ ใช้โคนหัวแม่มือและร่องนิ้วชี้คีบใต้สายรัดอกหรือรัดอกไว้เล็กน้อย(ประมาณ ๑-๒ ซม.) ให้พอดีกับต าแหน่งที่จะใช้นิ้วทั้ง ๔ กดลงบนต าแหน่งเสียงได้ถนัด และบังคับคันซอไม่ให้โอนเอนหรือล้มได้ มือขวาจับคันสะล้อ ให้มืออยู่ในลักษณะแบมือ สอดนิ้วก้อย นิ้วนาง และนิ้วชี้ไว้ใต้คันชักและหางม้า หัวแม่มืออยู่ บนคันชักคล้ายกับจับปากกา แล้วหงายมือบังคับให้คันชักสะล้อวางและสีในแนวนอนขนานกับพื้น ลักษณะการจับคันชัก สะล้อ นิ้ว สายทุ้ม สายเอก สายเปล่า ด ซ นิ้วช้ีร ล นิ้วกลาง ม ท นิ้วนาง ฟ ดํ นิ้วกอ้ย - รํ นิ้ว สายทุ้ม สายเอก สายเปล่า ซฺ ด นิ้วช้ีลฺ ร นิ้วกลาง ทฺ ม นิ้วนาง - ฟ นิ้วกอ้ย - ซ


(๑๗) การใช้คันชักสะล้อ การใช้คันชักในการสีสะล้อจะใช้หลักการ ชักออก – ชักเข้าและชักรวบ (ชักออกหนึ่งครั้งได้โน้ตหนึ่งตัว ชักเข้าหนึ่งครั้งได้โน้ตหนึ่งตัว ชักรวบหนึ่งครั้ง ได้โน้ตสองหรือหลายตัว) แบบเดียวกับการสีซออู้ซอด้วง แต่ต าแหน่งคันชักสะล้อจะอยู่ด้านนอก ไม่เหมือนของซอที่ต าแหน่องจะอยู่ด้านในสาย มือซ้ายจะคอยหมุน คันทวนสะล้อไปมา ให้สายเอกและสายทุ้มมาตรงต าแหน่งที่จะใช้คันชักสี ซึ่งในขณะเดียวกัน นิ้วมือก็จะคอย กดสายสะล้อ ตามต าแหน่งเสียงที่ต้องการเพื่อบรรเลงเพลงไปด้วย จึงเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวของสะล้อ เวลาผู้เล่น สีสะล้อ นอกจากจะดูสวยงามแล้วยังท าให้ทั้งผู้ชมเกิดความเพลิดเพลินไปด้วย การฝึกหัดสีสะล้อลูก ๓ เสียงคู่ ๕ (สายทุ้มโด - สายเอกซอล) ๑. ท่าทางในการบรรเลงสะล้อ


(๑8) ๒. การสีสายเปล่า ถ้าจะให้เกิดเสียงชัดเจนและมีเสียงคุณภาพ ควรฝึกหัดสีสายเปล่าเสียก่อน โดยเริ่มดังนี้ ๒.๑ นิ้วจับคันสะล้อและคันชัก (ก๋ง) ให้มั่นคง ๒.๒ ใช้มือขวาลากคันชักออก (ใช้ก าลังข้อมือและแขน) ลากช้าๆ ก่อนให้สายก๋งถูกกับสายสะล้อเส้นใน (สายทุ้ม) ออกเสียงพร้อมกับมือสีเป็นเสียงโด ลากคันชักออกจนสุดคันชักแล้วหยุด (เรียกว่าหนึ่งคันชัก) ๒.๓ กระชับนิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางให้มั่นคง และดันชักให้สายก๋งถูกกับสายเล็กที่อยู่ด้านนอก (สายเอก) โดยดันคันชักเข้าช้าๆ พร้อมกับออกเสียงเป็น เสียงซอล ดันคันชักเข้าจนสุดคันชัก


(๑9) ๓. การกดนิ้วลงบนสายสะล้อ ชักคันออกสลับกันชักเข้า หนึ่งคันชักต่อหนึ่งเสียงแล้วใช้นิ้วกดบนสาย เพื่อให้เกิดเสียง ดังนี้ สีสายเปล่าสายทุ้มได้เสียง โด กดนิ้วชี้ลงบนสายทุ้มได้เสียง เร กดนิ้วกลางลงบนสายทุ้มได้เสียง มี กดนิ้วนางลงบนสายทุ้มได้เสียง ฟา สีสายเปล่าสายเอกได้เสียง ซอล กดนิ้วชี้ลงบนสายเอกได้เสียง ลา


(๒๐) กดนิ้วกลางลงบนสายเอกได้เสียง ที กดนิ้วนางลงบนสายเอกได้เสียง โดสูง กดนิ้วก้อยลงบนสายเอกได้เสียง เรสูง การฝึกหัดสีสะล้อลูก ๔ เสียงคู่ ๔ (สายทุ้ม เสียงซอลต่ า – สายเอก เสียงโด) การฝึกหัดสีสะล้อลูกสี่การฝึกหัดสีใช้วิธีการเดียวกันกับการฝึกสะล้อลูก ๓ การกดนิ้วลงบนสายสะล้อ ชักคัน ออกสลับกันชักเข้า หนึ่งคันชักต่อหนึ่งเสียงแล้วใช้นิ้วกดบนสายเพื่อให้เกิดเสียง ดังนี้ สีสายเปล่าสายทุ้มได้เสียง ซอลต่ า กดนิ้วชี้ลงบนสายทุ้มได้เสียง ลาต่ า กดนิ้วกลางลงบนสายทุ้มได้เสียง ทีต่ า


(๒๑) กดนิ้วนางลงบนสายทุ้มได้เสียง โด สีสายเปล่าสายเอกได้เสียง โด กดนิ้วชี้ลงบนสายเอกได้เสียง เร กดนิ้วกลางลงบนสายเอกได้เสียง มี กดนิ้วนางลงบนสายเอกได้เสียง ฟา กดนิ้วก้อยลงบนสายเอกได้เสียง ซอล


(๒2) ขลุ่ยพื้นเมือง ขลุ่ยที่ชาวพื้นเมืองภาคเหนือใช้ ลักษณะโดยทั่วไปคล้าย ขลุ่ยหลิบ ของทางภาคกลาง ที่มีขนาดเล็ก แต่เดิมท าจากไม้ไผ่ ภายหลังได้ประยุกต์โดยการน าท่อพลาสติคมาเป็นวัสดุทดแทน ตัวเลาขลุ่ยมีความยาวประมาณ 33 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5 ซม. ที่ปากเป่า อุดด้วยไม้โดยเปิดเป็นช่องให้ลมเข้าเรียกว่า ดาก ด้านล่างใกล้ปากเป่าเจาะรูเป็นปากนกแก้ว ไม่มีรูเยื่อ และ รูนิ้วค้ าเหมือนขลุ่ยหลิบของภาคกลาง ที่เลาขลุ่ยเจาะรูกลมเพื่อใช้เป็นรูปิด - เปิดด้วยนิ้ว ช่วยให้เกิดเสียงต่างๆ ในขณะเป่า 7 รู ตอนปลายเจาะรูไว้ส าหรับร้อยเชือก เพื่อแขวนไว้เมื่อไม่ได้ใช้งาน ขลุ่ยเมือง ภาษาถิ่นล้านนาอาจเรียกว่า ขลุ่ยตาด มีเสียงเล็กแหลม ลีลาการด าเนินท านอง จะคอยสอดประสานไปกับเสียงเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่นิยมเล่นอยู่ในวงสะล้อ ซอ ซึง หรืออาจจะใช้ บรรเลงเดี่ยวคนเดียว เวลาไปเกี้ยวสาวก็เคยมีคนน าไปเป่าเหมือนกัน แต่ไม่พบหลักฐานว่ามีการน าไปประสม ในวงประเภทอื่นๆ โดยปกติเมื่อมีการบรรเลงร่วมกันเป็นวง ก็จะนิยมใช้ขลุ่ยเมืองเป็นตัวเทียบเสียงเครื่องดนตรี ในวงนั้นๆ ด้วย ภาพแสดงท่าทางในการจับขลุ่ย


(๒3) ต าแหน่งการวางนิ้วในการฝึกหัดขลุ่ยพื้นเมือง เสียง เร เสียง มี เสียง ฟา เสียง ซอล เสียง ลา เสียง ที เสียง โด เปิด สามนิ้วล่าง


(๒๔) กลองพื้นเมือง (กลองโป่งโป้ง) กลองพื้นเมือง มีลักษณะคล้ายตะโพน แต่มีขนาดเล็กกว่า ขึงหนังสองหน้า ใช้บรรเลงให้จังหวะใน วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ กลองพื้นเมือง เรียกกันทั่วไปว่า กลองโป่งโป้ง กลองโป่งโป้ง หน้าหนึ่งเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้วครึ่ง ด้านใหญ่ประมาณ ๘ นิ้วครึ่ง ยาวประมาณ ๑๖ นิ้ว กลองพื้นเมืองส่วนมากท าด้วยไม้ขนุน ไม้สักและไม้ซ้อ ส่วนหนังกลองใช้หนังวัว จังหวะหน้าทับหรือจังหวะการตีกลองที่ใช้กับการบรรเลงเพลงพื้นเมืองนั้น ขึ้นอยู่กับลีลาและความช านาญของผู้ตี แต่ในที่นี้ได้น าตัวอย่างขั้นพื้นฐานแบบง่ายๆ เพื่อให้ผู้ที่เริ่มฝึกหัดใหม่ได้ตีเข้ากับจังหวะเพลงพื้นเมืองได้ การตีกลองพื้นเมือง จะนิยมเอาหน้าใหญ่ไว้ทางขวามือ และตีให้เกิดเสียงดังนี้ ๑. เสียงติง คือการใช้ปลายนิ้วมือซ้ายตีที่ขอบกลองหน้าเล็ก แล้วเปิดนิ้วมือออกให้กลองมีเสียงกังวาน ๒. เสียงจ๊ะหรือป๊ะ คือการใช้ปลายนิ้วมือขวาตีปิดมือจะเป็นเสียงจ๊ะ ๓. เสียงทั่งหรือทั่ม คือการใช้ฝ่ามือขวาตีหน้าใหญ่ให้เต็มฝ่ามือแล้วเปิดมือจะเป็นเสียงทั่งหรือเท่ง ในการเริ่มจังหวะตีกลอง มักรอให้สะล้อหรือซึงขึ้นน าก่อนแล้วจึงเริ่มตีกลองให้เสียงตกในห้องที่สี่หรือตกท้าย วรรคแรกของเพลง ตัวอย่างหน้าทับกลอง หน้าทับลาว - ติง -โจ๊ะ - ติง - ติง - - ติง ทั่ง - ติง - ทั่ง - ติง -โจ๊ะ - ติง - ติง - - ติง ทั่ง - ติง - ทั่ง หน้าทับพื้นเมือง - - - โจ๊ะ - ติง - - ติง –ติงทั่ง -โจ๊ะทั่งติง - - - โจ๊ะ - ติง - - ติง -ติงทั่ง -โจ๊ะทั่งติง


(๒๕) ฉิ่ง ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีที่มีเล่นกันมาช้านานแล้ว ในราวสมัยสุโขทัย เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีท าด้วย ทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม ๑ ชุดมี ๒ ฝาเนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับ อีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง “ฉิ่ง” แต่ถ้าเอาทั้ง ๒ ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง “ฉับ” ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่อง ดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้น นั่นเอง วิธีการตี ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบล าตัวตรง ใช้นิ้วหัวแม่มือขวากับนิ้วชี้จับเชือกผูกฉิ่ง ในลักษณะ เหมือนคีบ แล้วคว่ ามือลง ในขณะเดียวกันให้นิ้วนาง กลาง ก้อย กรีดออกคุมฝาฉิ่ง ส่วนมือซ้ายจับเช่นเดียวกับ มือขวา แต่หงายฝาฉิ่งขึ้นรับฝาบน มีวิธีตีที่ท าให้เกิดเสียงอยู่ 2 แบบคือ เสียงฉิ่ง กับ เสียงฉับ


(๒๖) แสว่หรือสว่า รูปร่างลักษณะ : แสว่ เป็นฉาบขนาดกลาง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๕ ซ.ม. สว่า เป็นฉาบขนาดใหญ่ เส้นผ่าน ศูนย์กลาง ๓๐ ซ.ม. ทั้งคู่ท าด้วยโลหะผสมทองเหลือง ทองแดง ตรงกลางร้อยสายหนังส าหรับจับตีให้ถนัด ประวัติ: มีใช้ในวงเครื่องประโคม (วงตึ่งโนง) และวงสะล้อ ซึง การเทียบเสียง : เลือกขนาดให้เหมาะสมกับตึ่งโนงและวงที่ใช้ การประสมวง : ประกอบในวงเครื่องประโคม มีตึ่งโนง, ตะหลดปด, ฆ้องโหย้ง, ฆ้องอุ้ย, แสว่, สว่า วิธีการตี ใช้มือขวาจับฉาบข้างหนึ่งในลักษณะคีบ แล้วคว่ ามือลง ให้นิ้วนาง กลาง ก้อย คอยเปิด ปิด ห้ามเสียง ส่วนมือซ้ายจับฉาบอีกข้างหนึ่ง หงายขึ้นรับฉาบฝาบน เวลาตีเสียงจะดังเป็นเสียง " แช่ " อีกอย่าง หนึ่งเอาบริเวณ ตอนปลายฉาบตีกระทบกับ โดยใช้นิ้วแนบชิดติดกับขอบฝา เป็นการห้ามเสียง ซึ่งจะใช้ตีสอด สลับกับเสียงแช่ บางครั้งมีเสียงดังเป็น แช่ และวับ สลับกัน


(๒๗) การอ่านโน้ตเพลงเบื้องต้น โน้ตดนตรีไทย มีโครงสร้างดังนี้ ๑. ห้องเพลง ๒. จังหวะ ๓. ตัวโน้ต ๑. ห้องเพลง ใน ๑ บรรทัด ก าหนดให้มีห้องเพลงได้ทั้งหมด ๘ ห้อง ๒. จังหวะ ในแต่ละห้องเพลง จะมีจังหวะหลักๆคงที่ ๔ จังหวะ ใช้เครื่องหมาย - แทนแต่ละ จังหวะ โดยจังหวะที่ ๒ ของห้องก าหนดให้เป็นจังหวะ ยก ส่วนจังหวะที่ ๔ ของห้อง ก าหนดให้เป็นจังหวะ ตก ๓. ตังโน้ต โด = ด, เร = ร, มี = ม, ฟา = ฟ, ซอล = ซ, ลา = ล, ที = ท การฝึกหัดอ่านโน้ต หลักง่ายๆ ๑. ภายใน ๑ ห้องเพลง จะมีตัวโน้ตอยู่ทั้งหมด ๔ ตัวโน้ต ๒. ภายใน ๑ ห้องเพลง จังหวะจะตกท้ายห้องเพลง เสมอ ๓. แบ่งจังหวะทั้งหมดให้เท่าๆกัน โน้ตอยู่ตรงไหนก็ให้อ่านตรงนั้น 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 3 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 - 4 - 2 – 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - 3 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - - - 4 - 2 - - - 2 - - - 2 - - - 2 - - - 2 - - - 2 - - - 2 - - - 2 - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -


(๒๘) ศัพท์สังคีต ศัพท์สังคีต คือ ค าศัพท์ที่ใช้ในการขับร้องหรือบรรเลงดนตรีซึ่งจะท าให้นักดนตรีหรือผู้ขับร้องสามารถ เข้าใจความหมายตามวัตถุประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลงได้ เช่น ท านอง หมายถึง เสียงสูง กลาง ต่ า สั้น ยาว น ามาเรียบเรียงกันจนท าให้เกิดเป็นท านองที่ไพเราะ ท่อน หมายถึง วิธีการแบ่งเพลงออกเป็นออกเป็น วรรคตอน ตามจุดประสงค์ของผู้แต่งเพลง ซึ่งแต่ละ เพลงจะมีจ านวนท่อนที่ไม่เท่ากัน , เรียกตอนหนึ่ง ๆ ของ เพลงไทย กลับต้น หมายถึง บอกให้ทราบว่าเมื่อบรรเลงจนถึงบรรทัดนั้นๆแล้วให้ย้อนกลับไปเล่นตั้งแต่แรกใหม่ จังหวะ หมายถึง อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นอย่างสม่ าเสมออย่างมีระบบ โดยจังหวะในที่นี้ยกตัวอย่างให้เป็น จังหวะของ การปรบมือจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 จังหวะคือ จังหวะยก หมายถึง จังหวะเบา หรือยกมือออกจากกัน เป็นจังหวะที่ไม่เกิดเสียงใดๆ สัญลักษณ์และองค์ประกอบที่ใช้ในการอ่านโน้ตดนตรีไทย การบันทึกโน้ต ดนตรีไทย ในหนึ่งบรรทัดมีห้องทั้งหมด 8 ห้อง ในแต่ละห้องสามารถบรรจุโน้ตได้ 4 ตัว จังหวะตก หมายถึงจังหวะหนักหรือจังหวะที่ปรบมือแล้วท าให้เกิดเสียง ห้องเพลง หมายถึง ตารางสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในสามารถบรรจุตัวโน้ตได้ 4 ตัว 1 แถวมีห้องเพลงได้ 8 ห้องเพลง สามารถใช้อ่านโน้ตเพลง และยังสามารถตรวจสอบตัวโน้ตเพลงที่เขียนผิดได้ หน้าทับ หมายถึง เสียงตีเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง เช่น ตะโพน กลองแขก ที่เลียนเสียงมาจากทับ (โทน) หน้าทับมีบัญญัติเป็นแบบแผนส าหรับตีประจ าท านองเพลงต่าง ๆ ใช้บอกสัดส่วนและ ประโยคของเพลงนั้น ๆ ส่วนเสียงตีเครื่องหนังซึ่งไม่ได้เลียนเสียงจากทับ เช่น กลองทัด กลองมะริกัน จะเรียกว่า ไม้กลอง ซึ่งเป็นวิธีการตีกลองทัดตามแบบแผนที่บัญญัติไว้ เช่นเดียวกัน ค าว่าหน้าทับใช้เรียกการตีเครื่องดนตรีไทยขึงด้วยหนังได้ทุกภาค


(29) โน้ตเพลงพื้นฐาน เพลง ช้าง (พม่าเขว) อัตราจังหวะ ๒ ชั้น เพลงเต้ยโขง หน้าทับลาว (- - - - - - - ล - - - ซ - ม - ล - - - ซ - ด - ล - - - ซ - ม - ล) - - - - - ซ - ม - - - ร - ด - ม - - - ร - ซ - ม - - - ร - ด - ล - - - ด - ร - ม - ร - ด - ซ - ล - - - ด - ร - ม - ร - ด - ซ - ล กลับต้น อัตราจังหวะ ๒ ชั้น เพลงลาวล่องน่าน หน้าทับลาว - (ด ) – (ด ) - ม ร ด - - ล ซ ม ซ ล ด - ซ ล ซ ล ด - ล ด ล ซ ม ซ ร ม ซ - (ซ) – (ซ) - ด ร ม - - ซ ม ร ด ร ม - ด ร ม - ซ - ล - - ด ซ ม ซ ล ด กลับต้น อัตราจังหวะ ๒ ชั้น เพลงล่องแม่ปิง หน้าทับพื้นเมือง (- ม ร ม ซ ล ซ ซ ) - - - ซ - ซ ซ ซ ล ซ ม ซ - ล - ด - (ด ) – (ด ) ซ ล ซ ด ซ ล ซ ด ม ร ซ ม - (ม) – (ม) ซ ด ร ม ร ม ซ ม ร ด – ร - (ร) – (ร) ซ ด ร ม ร ม ซ ม ร ด – ร - ซ – ล - ด – ร ม ร ซ ร ม ร ด ล ซ ด ร ม - ซ - ล ซ ล ด ล ซ ม – ซ กลับต้นเปลี่ยน ๔ ห้องบรรทัดแรกเป็น - ม ร ม ซ ล ซ ซ ล ซ ม ซ - ล - ด กลับต้น หรือ ใช้แทนความหมายว่า รวบคันชักสะล้อ (๒ ตัวโน้ต ต่อการสีคันชักสะล้อ ๑ ครั้ง) แทนความหมาย รวบ “คันชักออก” และ แทนความหมาย รวบ “คันชักเข้า” (- - - - - - - ซ - - - ซ - - - ซ - - - - - ซ - ม - - ร ม - ซ - ด ) - - - - - ซ - ม - - ร ม - ด - ร - ด - ล - ด - ด - - ซ ล - ด - - - ด - ล - ด - ด - - ซ ล - ด - - - ซ - ล - ซ - ม - - - ร - - - ด


(30) เพลง ลาวครวญ อัตราจังหวะ ๒ ชั้น หน้าทับลาว ( - - - ม ร ร ร ร ) - - - - - - - - - ซ – ม ร ด ร ม - - - - ซ ล ด ร - ด - ม ร ร ร ร - - - ซ - ซ ซ ซ ล ซ ม ซ - ล – ดํ - - - รํ ดํ ดํ ดํ ดํ ร ม ซ ม ร ด – ร กลับต้น เพลง ร ำวงดำวพระศุกร์ อัตราจังหวะ ๒ ชั้น หน้าทับ ลาว - - - (ด ) - - - ซ - - - ซ - - - ซ - - ท ซ - ฟ – ม - - ด ม - ฟ – ซ - - ท ซ - ฟ – ม - - ด ม - ฟ – ซ - - ท ซ - ฟ – ม - - - ร - - - ด - - - - - ฟ – ด - ร – ด - ท – ด - ฟ – ฟ - ฟ – ด - ร – ด - ท – ด - - - ม - ม - ม - ด – ม - ฟ – ซ - ท – ซ - ฟ – ม - ด – ม - ฟ – ซ - ซ - - - ซ – ล - ซ – ล - ฟ – ซ - - - - - ด – ซ - ด – ซ - ด – ซ - - ซ ฟ - ม – ฟ - - ม ด - ท – ด - ซ - - - ซ – ฟ - - ม ด - ท – ด


Click to View FlipBook Version