The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

Sexual dysfunction คือ กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ หรือการมีความสุขทางเพศ ซึ่งเป็นการทำงานที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านชีววิทยา จิตใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มาเกี่ยวข้องกัน
Gender dysphoria: (ความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่เข้ากันระหว่าง อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และเพศกำเนิด)
ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ (sexual diversities หรือ sexual deviations) คือ ภาวะที่บุคคลหนึ่งเกิดอารมณ์ทางเพศด้วยสิ่งเร้าอื่นๆ มากกว่าการกระตุ้นอวัยวะเพศหรือการเล้าโลมกับบุคคลที่ยินยอมและเป็นผู้ใหญ่ หากภาวะนี้ทำให้เกิดความทุกข์ใจ หรือส่งผลเสียต่อตนเองหรือผู้อื่น

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by chon24tichaa, 2023-05-26 03:03:02

การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ

Sexual dysfunction คือ กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ หรือการมีความสุขทางเพศ ซึ่งเป็นการทำงานที่ประกอบด้วยปัจจัยด้านชีววิทยา จิตใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มาเกี่ยวข้องกัน
Gender dysphoria: (ความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่เข้ากันระหว่าง อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และเพศกำเนิด)
ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ (sexual diversities หรือ sexual deviations) คือ ภาวะที่บุคคลหนึ่งเกิดอารมณ์ทางเพศด้วยสิ่งเร้าอื่นๆ มากกว่าการกระตุ้นอวัยวะเพศหรือการเล้าโลมกับบุคคลที่ยินยอมและเป็นผู้ใหญ่ หากภาวะนี้ทำให้เกิดความทุกข์ใจ หรือส่งผลเสียต่อตนเองหรือผู้อื่น

Keywords: Sexual dysfunction,Gender dysphoria,Paraphilic disorder

เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 1 การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ อาจารย์ ดร. ชลธิชา ชลสวัสดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 2 5. การพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางจิตเวชโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย และหลักฐานเชิงประจักษ์ 5.1 การพยาบาลเพื่อการส่งเสริม ป้องกัน การบำบัด การฟื้นฟู และการดูแลต่อเนื่องในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหา ทางจิตเวช ในกลุ่มโรคต่อไปนี้ การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ - Sexual dysfunction - Gender dysphoria (Gender Identity disorder ใน DSM -IV) - Paraphilic disorder โดยอาจารย์ดร. ชลธิชา ชลสวัสดิ์ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ภายหลังศึกษาบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาจะสามารถ 1. อธิบายความหมาย ของ Sexual dysfunction, Gender dysphoria และParaphilic disorder ได้ 2. อธิบายอาการและอาการแสดงSexual dysfunction, Gender dysphoria และParaphilic disorder ได้ 3. จำแนกลักษณะสำคัญของ Sexual dysfunction, Gender dysphoria และParaphilic disorder ได้ 4. อธิบายแนวทางการบำบัดรักษา Sexual dysfunction, Gender dysphoria และParaphilic disorder ได้ 5. วางแผนการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ที่มีSexual dysfunction, Gender dysphoria และ Paraphilic disorder ได้ คำศัพท์ sexual dysfunction หมายถึง ความบกพร่องทางเพศ) หมายถึง สภาวะที่ร่างกายหรือจิตใจไม่สามารถ ตอบสนองต่อการกระตุ้นทางเพศได้ตามปกติ ทำให้เกิดปัญหาในการร่วมเพศ Gender dysphoria / Gender identity disorder หมายถึง ความผิดปกติของเอกลักษณ์ทางเพศ) หมายถึง เป็นภาวะที่มีความต้องการที่จะใช้ชีวิตแบบเพศตรงข้ามอย่างแน่นอน ถาวร Paraphilic disorder (กามวิปริต) หมายถึง สภาวะที่บุคคลมีการตอบสนองทางเพศเป็นปกติ แต่มีความพึง พอใจและปฏิบัติกิจกรรมทางเพศผิดปกติ โดยเลือกสิ่งเร้าทางเพศไม่เหมาะสม การพยาบาลผู้ที่มีความผิดปกติทางเพศ 1. Sexual dysfunction คือ กลุ่มโรคที่มีความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ หรือการมีความสุขทางเพศ ซึ่งเป็นการทำงานที่ ประกอบด้วยปัจจัยด้านชีววิทยา จิตใจ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มาเกี่ยวข้องกัน การวินิจฉัย: โรคในกลุ่ม Sexual dysfunction ตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรค DSM-5 ประกอบด้วย (1) Delayed ejaculation (2) Erectile disorder (3) Female orgasmic disorder (4) Female sexual interest/arousal disorder (5) Genito-Pelvic pain/penetration disorder


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 3 (6) Male hypoactive sexual desire disorder (7) Premature (Early) ejaculation (8) Substance/Medication-Induced sexual dysfunction มีเกณฑ์การวินิจฉัยร่วมกันคือ 1. มีอาการติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป 2. อาการต้องเกิดเป็นส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 75-100) ในกิจกรรมทางเพศของบุคคลนั้น 3. อาการนั้นทำให้เกิดความทุกข์ทรมาน 4. ไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกาย เช่น การบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณอุ้งเชิงกราน ไม่ได้เป็นผล ของสารเสพติดหรือยา ไม่ได้เป็นอาการแสดงของโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งผู้ป่วยอาจจะมีความสนใจหรือความ พึงพอใจทางเพศลดลงได้อย่างมาก และไม่ได้เกิดจากปัญหาด้านความสัมพันธ์ที่รุนแรง เช่น ถูกทำร้ายร่างกายจากอีกฝ่าย โรคในกลุ่ม Sexual dysfunction มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. Delayed ejaculation: คืออาการหลั่งอสุจิช้า หรือไม่สามารถหลั่งอสุจิได้ ทั้งๆ ที่มีการกระตุ้นและมี ความรู้สึกตื่นตัวทางเพศอย่างเพียงพอ ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติ คืออายุที่เพิ่มขึ้น การมาจากครอบครัวที่เคร่งครัดใน เรื่องเพศ ความวิตกกังวล ความกลัวการทำให้ฝ่ายหญิงเกิดการตั้งครรภ์ 2. Erectile disorder: คืออาการที่องคชาตไม่แข็งตัว แข็งตัวไม่เต็มที่ หรือแข็งตัวไม่นานพอในระหว่างกิจกรรม ทางเพศ ส่งผลให้สูญเสียความมั่นใจในตัวเอง นำไปสู่การหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์ทางเพศในอนาคต และอารมณ์ซึมเศร้าได้ ปัจจัยที่มีผลต่อความผิดปกติ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น พฤติกรรมสุขภาพ เช่น ความอ้วน การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ไม่ออก กำลังกาย การเจ็บป่วยจากโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือยาบางชนิด เช่น ยากลุ่ม Beta blockers, Thiazide diuretics ยารักษาโรคซึมเศร้า กลุ่ม SSRIs เป็นต้น อาการองคชาตไม่แข็งตัวในการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมักจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางด้านจิตใจ เช่น การมี เพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก ความกดดันจากกลุ่มเพศ ซึ่งมักหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา 3. Female orgasmic disorder: คืออาการที่เพศหญิงไม่เกิดความรู้สึกถึงจุดสุดยอด (orgasm) หรือรู้สึก ลดลงอย่างมากขณะมีเพศสัมพันธ์ ทั้งๆที่มีการกระตุ้นทางเพศอย่างเพียงพอ ปัจจัยทางด้านจิตใจที่ส่งผลต่อการเกิดโรคนี้ เช่น ความวิตกกังวลต่อการตั้งครรภ์ หรือปัญหาความสัมพันธ์ 4. Female sexual interest/arousal disorder: คือกลุ่มอาการที่เพศหญิงมีการลดลงหรือไม่มีความสนใจ หรือความรู้สึกตื่นตัวในกิจกรรมทางเพศ โดยอาการจะแสดงออกมาในด้านต่างๆ ได้แก่ ขาดความสนใจ ไม่มีความคิดหรือ จินตนาการเรื่องเพศ ไม่เป็นฝ่ายเริ่มต้นกิจกรรมทางเพศ ไม่ตอบสนองต่อการเชิญชวนของฝ่ายชาย ไม่มีความรู้สึกตื่นตัว เมื่อเจอกับสิ่งกระตุ้นทางเพศ ไม่เกิดความรู้สึกตื่นเต้นหรือมีความสุข หรือไม่มีความรู้สึกทางร่างกาย (physical sensation) ในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ มักพบโรคนี้ร่วมกับปัญหาความสัมพันธ์ การถูกทำร้ายร่างกายหรือทำร้ายทางเพศ การดื่มเหล้า และโรคซึมเศร้า 5. Genito-Pelvic pain/penetration disorder: คือกลุ่มอาการที่เพศหญิงมีปัญหาเกี่ยวกับการสอดใส่ทาง ช่องคลอด ไม่ว่าจะเป็น sexual intercourse หรือการตรวจภายใน มีอาการเจ็บบริเวณอวัยวะเพศหรือช่องท้องส่วนล่าง เมื่อมีความพยายามจะสอดใส่ และอาจเจ็บเวลาที่ปัสสาวะ มีความรู้สึกกลัวต่ออาการเจ็บหรือกลัวต่อการสอดใส่ หรือมี อาการเกร็งและตึงของกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้มักหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือความใกล้ชิดทางเพศ รวมถึง หลีกเลี่ยงการตรวจภายในทั้งๆ ที่มีความจำเป็นต้องตรวจ 6. Male hypoactive sexual desire disorder: คืออาการที่เพศชายมีการลดลงหรือไม่มีความต้องการทาง เพศ และความคิดหรือจินตนาการเรื่องเพศ ส่งผลให้ไม่เริ่มต้นกิจกรรมทางเพศ ไม่ตอบสนองต่อการเชิญชวนของฝ่ายหญิง


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 4 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ อายุที่เพิ่มขึ้น ภาวะhyperprolactinemia อาการทางอารมณ์ และความวิตกกังวล 7. Premature (Early) ejaculation: คืออาการหลั่งอสุจิเร็วเกินไป ตั้งแต่ก่อนสอดใส่หรือภายในไม่เกิน 1 นาทีหลังการสอดใส่ มักพบร่วมกับความรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมการหลั่งอสุจิได้ และความรู้สึกกังวลต่อความสัมพันธ์ ทางเพศ พบว่าผู้ชายบางคนมีปัญหานี้ในระยะแรก แล้วต่อมาก็จะสามารถควบคุมการหลั่งอสุจิได้มากขึ้นในครั้งต่อๆมา ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือโรควิตกกังวล โดยเฉพาะ Social anxiety disorder ผลกระทบที่สำคัญ คือ ทำให้ขาด ความเชื่อมั่นในตนเอง และปัญหาความสัมพันธ์ 8. Substance/Medication-Induced sexual dysfunction: คือกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติในด้านเพศ โดยมีความเกี่ยวข้องทางช่วงเวลากับการใช้ยาหรือสารเสพติด ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นใช้ยา การปรับขนาดยา หรือการ หยุดใช้ยา สารเสพติดที่ทำให้เกิดอาการทางเพศ ได้แก่ แอลกอฮอล์ opioid กลุ่มยานอนหลับและยาคลายกังวล โคเคน ส่วนยา ได้แก่ ยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหาเรื่องการหลั่งอสุจิและความรู้สึกถึงจุดสุดยอด และกลุ่มยา รักษาโรคจิต ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องความต้องการทางเพศ การแข็งตัวขององคชาต การหลั่งอสุจิ และความรู้สึกถึง จุดสุดยอด โดยพบอาการได้ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ที่ใช้ยา รวมไปถึงฮอร์โมนคุมกำเนิด ลิเทียม ยากันชัก และ benzodiazepines อาการอาจเริ่มต้นได้เร็วถึงภายใน 8 วันหลังเริ่มใช้ยา และประมาณร้อยละ 30 อาการจะหายเอง ภายใน 6 เดือน แต่มีบางส่วนที่อาการจะยังคงอยู่แม้จะหยุดใช้ยาแล้วก็ตาม ส่วนในผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ มักเริ่ม มีอาการหลังจากใช้ไปแล้วหลายปี ผลกกระทบที่สำคัญของโรคนี้ คือทำให้ผู้ป่วยไม่ร่วมมือในการกินยา การรักษา: หลักการรักษาเบื้องต้น ภาวะSexual dysfunction 1. ให้ข้อมูลและความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง แก้ไขความเชื่อที่ผิด 2. เพิ่มการกระตุ้นทางเพศ การใช้สื่อเพื่อช่วยกระตุ้น เช่นภาพยนตร์ หรือหนังสือ ใช้การสำเร็จความใคร่ด้วย ตนเองเพื่อเพิ่มความคุ้นเคยกับความรู้สึกตื่นตัวทางเพศ 3. แนะนำการพูดคุยสื่อสารกันในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ 4. ใช้เทคนิคเบี่ยงเบนความสนใจเพื่อลดความวิตกกังวล เช่น เปิดเพลงในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ 5. สำหรับผู้หญิง ให้ฝึกหดและคลายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานในระหว่างมีกิจกรรมทางเพศและใช้สารหล่อ ลื่นช่วย 6. แนะนำกิจกรรมทางเพศแบบไม่สอดใส่ นวดให้อีกฝ่ายเพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและกระตุ้นการรับรู้สัม การบำบัดรักษา 1. การรักษาด้วยยา: ในกรณีของความผิดปกติของการแข็งตัวขององคชาต มียาที่ใช้รักษา 3 ชนิดคือ 1) Sildenafil (Viagra 50, 100 mg.) จะเริ่มออกฤทธิ์หลังกินประมาณ 1 ชั่วโมง ผลคงอยู่นาน 4 ชั่วโมง ผลข้างเคียงที่พบบ่อยคือ ปวดศีรษะ ร้อนวูบวาบ และจุกเสียดท้อง ผลข้างเคียงที่พบได้น้อยแต่เป็นอันตราย คือทำให้เกิด nonarteritic ischemic neuropathy (ขั้วประสาทตาขาดเลือดหล่อเลี้ยงที่ไม่ได้เกิดจากการอักเสบของหลอดเลือดแดง) 2) Vardenafil (Levitra 10, 20 mg.) 3) Tadalafil (Cialis 20 mg.) 2. พฤติกรรมบำบัด: เช่น การฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (assertive training) เพื่อช่วยฝึกให้ ผู้ป่วยบอกความต้องการในเรื่องเพศได้อย่างเหมาะสม และสามารถปฏิเสธได้เมื่อไม่ต้องการ กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ (Sexual dysfunction) รวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติทั่วไป ประวัติทางเพศในปัจจุบัน ประวัติทางเพศในอดีต เช่นการอบรมเรื่องเพศ จากบิดามารดา การเรียนรู้เรื่องเพศ ประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่วัยเด็กถึงปัจจุบัน ประวัติการถูกทารุณกรรมทางร่างกาย


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 5 และเพศ ประวัติด้านสัมพันธภาพ เช่นการติดต่อสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การตัดสินใจ เป้าหมายของสัมพันธภาพ ในอนาคต ความรักที่มีต่อกัน ความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ซึ่งกันและกัน การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 1) มีการเปลี่ยนแปลงของความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศ เนื่องจากความวิตกกังวลว่าจะตั้งครรภ์ (ข้อมูลสนับสนุน เช่น ผู้ป่วยไม่สามารถเกิดความรู้สึกตื่นเต้นทางเพศได้ โดยอาการเริ่มเป็นหลังจากสามีบอกว่า อยากมีลูก แต่ตนรู้สึกไม่พร้อม) 2) มีความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ เนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคทางกาย (ข้อมูลสนับสนุน เช่น ผู้ป่วยไม่สามารถคงการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ตลอดการมีกิจกรรมทางเพศ/ มีการ เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) 3) มีความบกพร่องในหน้าที่ทางเพศ เนื่องจากการถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็ก (ข้อมูลสนับสนุน เช่น ผู้ป่วยไม่เคยมีความรู้สึกถึงจุดสุดยอดเมื่อมีเพศสัมพันธ์/ มีความรู้สึกกลัวการมีเพศสัมพันธ์ /มีประวัติถูกทารุณกรรมทางเพศในวัยเด็ก) การปฏิบัติการพยาบาล: พยาบาลควรมีท่าทีที่ผ่อนคลาย เป็นมิตร พร้อมให้การช่วยเหลือ โดยมีหลักปฏิบัติดังนี้ 1. จัดสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นส่วนตัว และรักษาความลับของผู้รับบริการ ทั้งนี้หากมีการตรวจร่างกายที่ต้องมี การสัมผัสร่างกาย ควรแจ้งให้ผู้รับบริการได้ทราบก่อน และควรมีผู้ช่วยอยู่ด้วย 2. สร้างสัมพันธภาพบนพื้นฐานของความเชื่อถือไว้วางใจ เคารพในความเป็นบุคคล และไม่ตัดสินผู้รับบริการ 3. แจ้งให้ทราบถึงบทบาทของพยาบาลในการประเมินและซักประวัติทางเพศอย่างครอบคลุม รวมถึงการดูแล ช่วยเหลือที่มีให้ 4. สังเกตท่าทางการแสดงออก ประเมินความวิตกกังวล ความเครียด รวมถึงสัญญาณที่ผู้รับบริการอาจสื่อให้รู้ว่า มีความกังวลเกี่ยวเรื่องเพศ (เช่นแสดงความรู้สึกอึดอัดที่ถูกถามเรื่องเพศ ถามถึงปัญหาสัมพันธภาพ หรือการใช้ชีวิตคู่) 5. ทำให้การพูดคุยเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศเป็นเรื่องธรรมดา จะทำให้ผู้รับบริการรู้สึกสะดวกใจมากขึ้นในการ บอกเล่าเรื่องราวของตน 6. ประเมินและซักประวัติอย่างครอบคลุมทั้งของผู้รับบริการและคู่ 7. ช่วยผู้รับบริการให้เกิดความเข้าใจในปัญหาของตนโดยพิจารณาประสบการณ์ที่ผ่านมาว่ามีผลต่อการเกิดความ บกพร่องในหน้าที่ทางเพศอย่างไร และสนับสนุนให้ได้ถามคำถามที่สงสัย ไม่เข้าใจ 8. ให้คู่มีส่วนร่วมในการบำบัด โดยให้พิจารณาแนวทางในการสร้างเสริมความพึงพอใจทางเพศร่วมกัน 9. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของการเจ็บป่วย ภาวะสุขภาพ และการใช้ยาที่มีต่อการทำหน้าที่ทางเพศ 10. ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง และความรู้เกี่ยวกับเรื่องเพศที่ผู้รับบริการยังขาดอยู่ 11. ให้คำปรึกษาในการเสริมสร้างสัมพันธภาพ และความขัดแย้ง และเพิ่มทักษะการสื่อสารและการบอกความ ต้องการของตนในการใช้ชีวิตคู่ 12. พิจารณาส่งต่อผู้รับบริการให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสมต่อไป การประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล เป้าหมายสูงสุดของการพยาบาล คือ การให้ผู้รับบริการหายจากการเจ็บป่วยหรือความผิดปกติที่มี ดังนั้นการที่ ผู้รับบริการสามารถควบคุมอาการหรือความผิดปกติได้ มีความรู้สึกพึงพอใจในตนเองและคู่ของตน ความรู้สึกทุกข์ใจ วิตก กังวลลดลง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนทัศนคติทางลบต่อเรื่องเพศให้มีความเป็นกลางหรือเป็นบวกมากขึ้น


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 6 2. Gender dysphoria: (ความทุกข์ทรมานใจที่เกิดจากความไม่เข้ากันระหว่าง อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทาง เพศ และเพศกำเนิด) Sex หมายถึง ความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงทางชีววิทยาจากลักษณะทางกายวิภาคและโครโมโซม Gender หมายถึงความเป็นเพศชายหรือเพศหญิงที่ได้รับผลจากปัจจัยทางสังคมด้วย โดยเพศทางสังคมอาจไม่ ตรงกับเพศทางชีววิทยาได้ เช่น กรณีที่เกิดความไม่ชัดเจนในลักษณะทางชีววิทยาที่จะบ่งบอกเพศได้ช่วงวัยเด็ก เด็กที่มี โครโมโซมเพศแบบเพศหนึ่ง อาจผ่านพัฒนาการทางสังคมที่ส่งผลให้เขามีเพศทางสังคมเป็นเพศอีกเพศหนึ่ง Gender identity หมายถึงความรู้สึกทางจิตใจของบุคคลว่าตนเองเป็นชาย หญิง หรือเพศอื่นๆ นอกเหนือจาก ชายหรือหญิง เมื่อความรู้สึกในจิตใจว่าตนเองเป็นเพศใดไม่สอดคล้องกับเพศทางสังคมที่ถูกกำหนดขึ้น อาจทำให้เกิดความ ทุกข์ใจ หรือในบางคนอาจเกิดความทุกข์ใจต่อเมื่อไม่สามารถมีหนทางเปลี่ยนแปลงเพศตนเอง เช่น การผ่าตัด การวินิจฉัย Gender dysphoria ตาม DSM-5 ประกอบด้วย เกณฑ์การวินิจฉัยในเด็ก A. มีความรู้สึกขัดแย้งอย่างมากระหว่างเพศสภาพของตนกับเพศโดยกำเนิด ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยมี ลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 6 ข้อ 1. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะเป็นเพศอื่นหรือยืนยันว่าตนเองเป็นเพศอื่น 2. ในเด็กชายจะมีความพึงพอใจอย่างมากในการแต่งตัวเป็นเพศหญิงหรือเลียนแบบเพศหญิง หรือในเด็กหญิง จะมีความพึงพอใจอย่างมากในการแต่งตัวเหมือนเพศชายเพียงอย่างเดียว โดยต่อต้านการแต่งตัวด้วยชุดของเพศหญิง 3. มีความพึงพอใจอย่างมากในการแสดงบทบาทเป็นเพศอื่น 4. มีความพึงพอใจอย่างมากในการเล่นของเล่น เกมส์ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับเพศอื่น 5. มีความพึงพอใจอย่างมากในการมีเพื่อนเล่นเป็นเพศอื่น 6. ในเด็กผู้ชายจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ และกิจกรรมของเพศชาย และหลีกเลี่ยงการเล่นที่ยุ่งวุ่นวาย หรือในเด็กผู้หญิงจะปฏิเสธการเล่นของเล่น เกมส์ และกิจกรรมของเพศหญิง 7. ไม่ชอบกายวิภาคทางเพศของตนเป็นอย่างมาก 8. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศเป็นเพศที่คิดว่าตนเองเป็น B. ภาวะนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานใจอย่างมากหรือทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตในสังคม การเรียน หรือด้าน อื่นๆที่สำคัญในชีวิต ผู้ที่มี gender dysphoria มักจะมีพฤติกรรมแสดงเพศ (gender role) เป็นแบบเดียวกับจิตใจที่รู้สึก นั่นคือ ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นหญิง จะมีพฤติกรรมเหมือนหญิง เช่นตอนเด็กๆ ชอบเล่นกับเพื่อนผู้หญิง กระโดดยาง หมากเก็บ ตุ๊กตา ไม่ชอบเล่นแตะต่อย เมื่อโตขึ้นมีกิริยาแบบผู้หญิง ชอบแต่งตัวเป็นหญิง หรือมีความต้องการจะผ่าตัดแปลงเพศให้เป็นหญิง ส่วนผู้หญิงที่มีจิตใจเป็นชายก็มักมีพฤติกรรมเหมือนผู้ชาย เช่น ตอนเด็กๆ ชอบเล่นฟุตบอล ชอบเล่นกับเด็กผู้ชาย บางรายไม่ชอบนุ่งกระโปรง เมื่อโตขึ้นก็ไม่ชอบไว้ผมยาว ชอบแต่งตัวคล้ายผู้ชาย บางรายอาจต้องการตัดหน้าอกออก เพื่อให้หน้าอกแบนราบอย่างผู้ชาย หรือถึงกับต้องการผ่าตัดแปลงเพศ เกณฑ์การวินิจฉัยในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ A. มีความรู้สึกขัดแย้งอย่างมากระหว่างเพศสภาพของตนกับเพศโดยกำเนิด ต่อเนื่องอย่างน้อย 6 เดือน โดยมี ลักษณะดังต่อไปนี้อย่างน้อย 2 ข้อ 1. มีความรู้สึกขัดแย้งอย่างมากระหว่างเพศสภาพกับลักษณะทางเพศของตน 2. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะกำจัดหรือป้องกันการพัฒนาของลักษณะทางเพศที่ก่อให้เกิดความรู้สึก ขัดแย้งอย่างมากกับเพศสภาพของตน


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 7 3. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะมีลักษณะทางเพศของเพศอื่น 4. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะเป็นเพศอื่น 5. มีความปรารถนาอย่างมากที่จะได้รับการปฏิบัติเป็นเพศอื่น 6. มีความเชื่อมั่นอย่างมากว่าตนมีความรู้สึกหรือกิริยาเป็นเพศอื่น B. ภาวะนี้ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานใจอย่างมากหรือทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิตในสังคม การประกอบอาชีพ หรือด้านอื่นๆที่สำคัญในชีวิต ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะความไม่พึงพอใจในเพศตนเอง 1. ปัจจัยทางชีวภาพ สันนิษฐานว่ามีระดับฮอร์โมนของเพศตรงข้ามสูงกว่าปกติตั้งแต่ตั้งครรภ์ 2. ปัจจัยทางจิตสังคม 2.1 ทัศนคติของพ่อแม่ ทัศนคติของพ่อแม่ที่ส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมผิดเพศ ได้แก่ พ่อแม่ต้องการให้ลูกมี เพศตรงกันข้ามกับเพศของลูก เช่น พ่อแม่ที่ต้องการลูกสาว เมื่อมีลูกชายก็อาจส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมเป็นหญิง โดยการ แต่งตัวและชักจูงให้เล่นหรือมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศหญิง ทำให้เด็กมีบทบาททางเพศผิดไป หรือพ่อแม่ยอมรับเมื่อลูก แสดงออกผิดเพศ เช่น เมื่อลูกชายเลียนแบบแม่โดยการแต่งหน้าทาปาก แล้วพ่อแม่ชื่นชมไม่แก้ไข 2.2 การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมให้ลูกมีพฤติกรรมผิดเพศ ได้แก่ พ่อแม่ห่างเหินลูก โดยเฉพาะพ่อกับลูก ชาย และแม่กับลูกสาว พ่อแม่ที่ก้าวร้าวกับลูก ทำให้เด็กเกิดความโกรธหรือกลัวกับพ่อแม่เพศเดียวกัน จึงหันไปถ่ายทอด แบบอย่างทางเพศจากเพศตรงข้าม เช่น พ่อที่ดุมากๆ ลูกชายจะกลัว จึงหันไปใกล้ชิดกับแม่ และถ่ายทอดบางอย่างทาง เพศจากแม่ ลูกสาวที่กลัว หรือเกลียดพ่อมากๆ อาจเลียนแบบพ่อกลายเป็นทอมบอย มีลักษณะเป็นผู้ชายเหมือนพ่อก็ได้ นอกจากนี้ เด็กหญิงที่มีพฤติกรรมผิดเพศ มักมีข้อขัดแย้งและไม่ใกล้ชิดกันกับมารดา ทำให้เด็กไม่ลอกเลียนแบบมารดา 2.3 สภาพสังคมสิ่งแวดล้อม เด็กที่มีลักษณะทางร่างกาย และจิตใจผิดเพศเป็นปัจจัยเสี่ยง เมื่อเติบโตเข้าสู่วัย เรียน จะพอใจในการเข้ากลุ่มที่เป็นเพศตรงข้าม เนื่องจากมีความชอบ ความถนัดและกิจกรรมคล้ายกัน ทำให้มีโอกาส ถ่ายทอดแบบอย่างทางเพศ จากเพื่อนต่างเพศ จนเด็กเกิดพฤติกรรมผิดเพศมากขึ้น ครูและโรงเรียนที่เปิดโอกาสให้เด็กมี พฤติกรรมผิดเพศ หรือส่งเสริมให้เกิดการแสดงออกผิดเพศ ก็เป็นการช่วยให้เด็กผิดเพศ หรือแสดงออกผิดเพศมากขึ้น จน ในที่สุดเด็กพึงพอใจกับพฤติกรรมผิดเพศของตนเอง การบำบัดรักษา: จะได้ผลดีเมื่อเริ่มในเด็กอายุน้อย พ่อแม่ให้ความร่วมมือ การรักษาควรใช้วิธีการต่างๆ ร่วมกันดังนี้ 1. ครอบครัวบำบัด แก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ของครอบครัว ระหว่างพ่อแม่ ซึ่งอาจมีผลต่อความสัมพันธ์ ระหว่าง พ่อ- ลูก หรือ แม่ - ลูก ส่งเสริมให้พ่อใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นเด็กชาย และแม่ใกล้ชิดลูกสาว เสริมสร้าง ความสัมพันธ์ที่ดี ให้มีกิจกรรมร่วมกันที่เหมาะสมทางเพศ เช่น พ่อเล่นกีฬากับลูกชาย แม่สอนลูกสาวทำอาหาร ส่งเสริม การเลี้ยงดูลูกให้ถูกต้อง ไม่ปล่อยให้เกิดพฤติกรรมผิดเพศ


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 8 ในกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเด็กได้ ควรให้พ่อแม่ยอมรับและช่วยเหลือแบบประคับประคองต่อไป 2. จิตบำบัด ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี อาจใช้การเล่น บำบัด (Play therapy) เพื่อช่วยเหลือปัญหาอารมณ์และ ความสัมพันธ์ที่มีในครอบครัว ให้เด็กได้ระบายความรู้สึก และเรียนรู้กิจกรรมที่เหมาะกับเพศตนเอง ในเด็กโตหรือวัยรุ่น สามารถใช้วิธีพูดคุยเหมือนจิตบำบัดในผู้ใหญ่ได้ 3. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม - จัดกลุ่มเป็นเพศเดียวกัน และส่งเสริมให้เด็กเป็นที่ยอมรับ เข้าร่วมกิจกรรมในเพศเดียวกัน - งดเว้นการส่งเสริมพฤติกรรมผิดเพศของเด็ก เช่น ไม่ให้แต่งกายผิดเพศ - ไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่มีความเสี่ยงสูงจับกลุ่มแสดงออกผิดเพศมากขึ้น - การส่งเสริมการออกกำลังกายในเด็กชาย โดยพยายามกระตุ้นการเล่นกีฬา หรือ การออกกำลัง กายที่เด็กชอบ ไม่จำเป็นต้องเป็นกีฬาที่ก้าวร้าว รุนแรง เพราะเด็กอาจไม่ชอบและปฏิเสธตั้งแต่เริ่มต้น กีฬาที่น่าจะทำได้ ทุกคน ได้แก่ วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ จักรยาน และส่งเสริมกิจกรรมที่เหมาะสมกับเพศ 4. พฤติกรรมบำบัด เมื่อเด็กมีพฤติกรรมถูกต้องตามเพศ ควรมีแรงเสริมทางบวกจากบิดา มารดา เช่น การชื่น ชม เพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสมทางเพศบ่อยขึ้น ส่งเสริมให้เด็กรู้ตัวเองเสมอเมื่อแสดงพฤติกรรมผิดเพศ และ กระตุ้นตัวเองให้แสดงออกให้ถูกต้องทางเพศ เช่น การพูด ท่าทาง การเดิน พ่อแม่อาจช่วยเตือนอย่างนุ่มนวลเป็นครั้งคราว ในวัยรุ่นจนถึงผู้ใหญ่ด้านพ่อแม่คือ การให้พ่อแม่ทำใจ เข้าใจ ยอมรับในตัวลูก โดยไม่ดุด่า ไม่คาดหวัง ไม่เสียใจ กับตัวเด็ก ด้านตัวลูก มักจะเป็นในแง่ของการช่วยให้ผู้ป่วยเป็นเพศที่เขาอยากจะเป็น และมีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพจิตดี กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีภาวะความไม่พึงพอใจในเพศของตนเอง ประเมินและซักประวัติอย่างครอบคลุม ประเมินทางจิตใจร่วมกับประวัติทางเพศ และทำความเข้าใจปัญหาที่ แท้จริงของผู้รับบริการ โดยซักประวัติทั้งปัจจุบันและในวัยเด็ก ประวัติในครอบครัว เช่นทัศนคติของบิดามารดาต่อเพศ ของเด็ก รูปแบบการเลี้ยงดู สัมพันธภาพของบิดามารดากับเด็ก การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล 1. มีความสับสนในเอกลักษณ์ทางเพศของตน (ข้อมูลสนับสนุน เช่น มีประวัติรู้สึกถึงความไม่สอดคล้องกันของเพศที่ต้องการเป็นกับเพศที่ถูกกำหนดมา มีความ ต้องการอย่างมากที่จะแต่งตัวหรือทำกิจกรรมที่เป็นของเพศตรงข้าม) 2. มีความรู้สึกอึดอัดใจที่ต้องลดพฤติกรรมที่ไม่สอดคล้องกับเพศที่คนต้องการเป็น (ข้อมูลสนับสนุน เช่น มีประวัติว่ารู้สึกอึดอัดใจที่ต้องแสดงพฤติกรรมของเพศที่ถูกกำหนดมา ซึ่งไม่สอดคล้องกับ เพศที่ต้องการเป็น ไม่สามารถแต่งตัวหรือทำกิจกรรมที่เป็นของเพศตรงข้ามได้ตามความต้องการของตนเพราะกังวลว่า บิดามารดาหรือผู้อื่นจะไม่ยอมรับ) 3. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบกพร่อง เนื่องจากกลัวถูกปฏิเสธสัมพันธภาพ (ข้อมูลสนับสนุน เช่น มีประวัติว่าไม่ค่อยกล้ามีปฎิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะไม่แน่ใจว่าบุคคลอื่นจะยอมรับการแสดง ออกแบบตนได้หรือไม่ มักแยกตนเอง มีเพื่อนน้อย) การให้คำปรึกษาหรือจิตบำบัดมีเป้าหมายหลักในการ: ช่วยให้ผู้รับบริการได้เข้าใจความต้องการที่แท้จริงของ ตน ยอมรับตนเองได้ และพร้อมที่จะเผชิญกับเรื่องยุ่งยากต่างๆ ที่จะตามมาเมื่อตัดสินใจตามความต้องการของตน ไม่ว่า จะเป็นการใช้ชีวิตแบบเพศที่ตนเป็นอยู่ หรือตามเพศที่ตนต้องการเป็นก็ตาม ซึ่งพยาบาลสามารถให้การช่วยเหลือได้ ดังนี้ 1) การให้ผู้รับบริการได้มีโอกาสระบายความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมการแสดงออกทางเพศของตน และ ความรู้สึกที่มีต่อปฏิกิริยาของผู้คนรอบข้างทั้งจากครอบครัว เพื่อน และสังคม 2) ประเมินความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ โดยช่วยให้เกิดความเข้าใจและยอมรับตนเอง


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 9 3) ให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะไม่พึงพอใจในเพศตนเอง พร้อมปรับแก้ความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสม 4) เสริมสร้างมีคุณค่าในตนเอง ให้แยกความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองออกจากความรู้สึกที่ตนมีต่อร่างกายหรือต่อ เพศของตน หาข้อดีของตน ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ และยอมรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของตน 5) เสริมสร้างความรู้สึกภาคภูมิใจในภาพลักษณ์และรูปร่างของตน 6) ให้การช่วยเหลือในการปรับตัว หากผู้รับบริการต้องการแสดงออกตามเพศที่ตนต้องการเป็น หรือให้การ ช่วยเหลือในการปรับตัวและปรับพฤติกรรมให้มีการแสดงออกที่เหมาะสมกับเพศที่ตนเป็นอยู่เท่าที่จะสามารถทำได้โดยไม่ ก่อให้เกิดความรู้สึกคับข้องใจ หากเลือกที่จะคงการแสดงออกตามบทบาทของเพศที่ตนเป็นอยู่ 7) ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัด 8) ส่งต่อจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาต่อ หากผู้รับบริการไม่มีความสุขในการมีเพศทางกายที่ไม่ สอดคล้องกับภาวะทางจิตใจ และต้องการได้รับการบำบัดด้วยการทดแทนฮอร์โมนเพศ 3. Paraphilic disorder: ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ (sexual diversities หรือ sexual deviations) คือ ภาวะที่บุคคลหนึ่งเกิดอารมณ์ทาง เพศด้วยสิ่งเร้าอื่นๆ มากกว่าการกระตุ้นอวัยวะเพศหรือการเล้าโลมกับบุคคลที่ยินยอมและเป็นผู้ใหญ่ หากภาวะนี้ทำให้ เกิดความทุกข์ใจ หรือส่งผลเสียต่อตนเองหรือผู้อื่น เช่น เป็นการละเมิดสิทธิ เกิดการบาดเจ็บ และเกิดขึ้นเป็นช่วงเวลาไม่ น้อยกว่า 6 เดือน เรียกภาวะนี้ว่า Paraphilic disorder (พฤติกรรมทางเพศที่วิปริต) ลักษณะอาการทางคลินิก มีดังนี้ ชนิด ลักษณะ Exhibitionistic Disorder (โรคชอบอวดอวัยวะเพศ) พบอาการพึงพอใจทางเพศโดยการอวดหรือเปิดเผยอวัยวะเพศของตนต่อคนแปลก หน้า หรือผู้คนในที่สาธารณะ เหยื่อจะเป็นเพศตรงข้าม ผู้ป่วยมักเป็นชาย มีความรู้สึกเก็บกดทางเพศ ยากที่จะหักห้ามใจไม่ให้ทำ เมื่อทำแล้ว จะละอาย รู้สึกผิด แต่ก็อดใจไม่ไหวเมื่อรู้สึกเก็บกดทางเพศขึ้นมาอีก โดยเฉพาะถ้าเหยื่อ แสดงอารมณ์ตื่นเต้นตกใจ มีอารมณ์ร่วมด้วย จะยิ่งเป็นแรงเสริมให้ทำพฤติกรรมซ้ำอีก Fetishistic Disorder (โรคพึงใจกับวัตถุ) พบอาการพึงพอใจทางเพศกับวัตถุ โดยมักเป็นสัญลักษณ์ทางเพศของเพศตรงข้าม เช่น ชุดชั้นใน ยกทรง กางเกงใน ถุงน่อง รองเท้า เป็นต้น ผู้ป่วยจะใช้วัตถุเหล่านี้สำเร็จความ ใคร่ด้วยตนเองด้วยการสัมผัส ลูบไล้ ดมกลิ่น หรือขอร้องให้คู่ขาสวมใส่ขณะมีกิจกรรมทาง เพศ เพื่อเพิ่มความตื่นเต้นทางเพศจนถึงจุดสุดยอด Frotteuristic Disorder (โรคชอบถูไถ) พบอาการพึงพอใจทางเพศโดยใช้อวัยวะเพศของตนสัมผัสถูไถกับส่วนของร่างกาย เหยื่อเพศตรงข้าม เช่น ต้นขา ก้น หรืออวัยวะเพศ ซึ่งมีเสื้อผ้าปกปิดอยู่ ผู้ป่วยมักเลือกเหยื่อที่มีรูปร่างสะดุดตา แต่งตัวรัดรูป เปิดเผย และเลือกกระทำใน สถานที่ที่มีคนหนาแน่น หลบหนีได้ง่าย เช่น บนรถประจำทาง รถขนส่งมวลชน Pedophilic Disorder (โรคพึงใจกับเด็ก) พบอาการพึงพอใจทางเพศกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี (โดยผู้ป่วยต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 16 ปี และอายุมากกว่าเด็กไม่น้อยกว่า 5 ปี) สาเหตุอาจเกิดจากความสัมพันธ์กับพ่อแม่ตั้งแต่วัยเด็กไม่สู้ดี ทำให้เมื่อโตขึ้นรู้สึกไม่ ชอบหรือกลัวผู้ใหญ่ หรือรู้สึกว่าตนมีปมด้อยในความเป็นชาย เลยหันมาสนใจเด็กเพราะ โน้มน้าวหลอกล่อได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ Sexual Masochism Disorder พบอาการพึงพอใจทางเพศจากการถูกคู่ขาทำให้เจ็บปวด ทนทุกข์ทรมาน อับอาย หรือ ทำตัวเอง


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 10 ชนิด ลักษณะ (โรคพึงใจทางเพศจากการได้รับ ความเจ็บปวด) Sexual Sadism Disorder (โรคพึงพอใจทางเพศจากการ ทำให้ผู้อื่นเจ็บปวด) พบอาการพึงพอใจทางเพศโดยทำให้เหยื่อเจ็บปวด ทนทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและ จิตใจ อาการของเหยื่อจะยิ่งกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ อาจใช้การผูกมัด เฆี่ยนตี บีบคอ ข่มขืน เชือดเฉือน ตัดชิ้นส่วนร่างกายของเหยื่อจนถึงฆ่า Transvestic Disorder (โรคพึงใจกับการแต่งตัวเป็น เพศตรงข้ามหรือลักเพศ) พบอาการพึงพอใจทางเพศกับการสวมใส่เสื้อผ้าอาภรณ์ เขียนคิ้ว ทาปาก แต่งตัวจาก ชายเป็นหญิง โดยที่รู้ตัวว่าเป็นชาย แต่ทำเพื่อความตื่นเต้นทางเพศ Voyeuristic Disorder (โรคชอบแอบมอง) พบอาการพึงพอใจทางเพศโดยการแอบมองไม่ให้เหยื่อรู้ตัว ในขณะที่เหยื่อเปลือยกาย หรือมีกิจกรรมทางเพศ ผู้ป่วยจะจินตนาการว่ากำลังมีเพศสัมพันธ์กับเหยื่อ หรือสำเร็จ ความใคร่ด้วยตนเองภายหลัง จะไม่ก่ออาชญากรรมทางเพศอื่นตามมา ที่มา : Norman L. Keltner and Debble Steele, (2015). Psychiatric Nursing. pp. 369 – 371. สาเหตุ: ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มีสมมติฐานจากการศึกษาเพื่ออธิบายตามทฤษฎีต่างๆ 1. ทฤษฎีทางชีววิทยา ภาวะนี้อาจสัมพันธ์กับการที่สมองส่วน frontal หรือ temporal lobe ถูกทำลาย ระบบ monoamine neurotransmitters เช่น dopamine, norepinephrine, serotonin อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง 2. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ มองว่าอาการเกิดขึ้นจากการที่จิตใจถดถอยไปสู่พัฒนาการทางจิตใจช่วงต้นของชีวิต (Fixation) หรือเป็นการแสดงออกของการแก้แค้น หรือลบล้างเหตุการณ์ที่มีผลกระทบจิตใจอย่างรุนแรงในวัยเด็ก 3. ทฤษฎีทางพฤติกรรม: เกิดขึ้นผ่านกระบวนการ conditioning (การเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข) เช่น เมื่อเด็กเริ่มมี ความรู้สึกทางเพศ แต่ไม่สามารถแสดงออกทางเพศได้ตามปกติ เด็กจะแสวงหาหรือเรียนรู้ด้วยตนเองว่า เมื่อใช้ตัวกระตุ้น บางอย่างทำให้เกิดความรู้สึกทางเพศได้ จะเกิดการเรียนรู้แบบเป็นเงื่อนไข และเป็นแรงเสริมให้มีพฤติกรรม เช่นนั้น ร่วมกับอาจมีปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้มีแนวโน้มเกิดอาการอยู่เดิม เช่น เหตุการณ์ที่มีผลกระทบจิตใจอย่างรุนแรงในวัยเด็ก การดูแลรักษา 1. การใช้ยา ใช้หลักการลดระดับ testosterone เพื่อลดพฤติกรรมทางเพศ เรียกว่า chemical castration 2. การรักษาด้วยจิตบำบัด 1) Cognitive behavioral therapy การปรับความคิดบิดเบือน เช่น minimization (ประเมินความ รุนแรงของเหตุการณ์น้อยกว่าความเป็นจริง) ที่ทำให้พฤติกรรมยังคงอยู่ 2) Relapse prevention therapy การฝึกสังเกต รู้เท่าทัน และยับยั้งความคิด พฤติกรรมที่เป็นปัญหา


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 11 3) Victimempathy ช่วยให้ผู้ป่วยตระหนักว่าผู้ที่ต้องรับการกระทำ เขาเป็นเหยื่อของการกระทำ 3. พฤติกรรมบำบัด ใช้หลักการของ positive และ negative reinforcements ตัวอย่าง เช่น 1) Olfactory aversion conditioning ให้ผู้ป่วยจินตนาการถึงเหตุการณ์พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ตนเองชอบ แล้วให้ดมสิ่งที่มีกลิ่นเหม็น เช่น แอมโมเนีย 2) Covert sensitization ให้จินตนาการถึงพฤติกรรมเบี่ยงเบนของตนเอง แล้วตามด้วยจินตนาการถึง เหตุการณ์ที่เป็นผลเสียอย่างร้ายแรงที่ผู้ป่วยกลัวโดยทันทีทำให้เกิดความกังวลขึ้นเมื่อคิดถึงสิ่งที่ตนชอบครั้งต่อไป กระบวนการพยาบาลบุคคลที่มีพฤติกรรมทางเพศวิปริต การประเมินพฤติกรรมทางเพศวิปริต การซักประวัติและประเมินทางจิตใจร่วมกับประวัติทางเพศเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นพยาบาลจึงต้องประเมินด้วยท่าทางที่อบอุ่น เป็นมิตร และให้เกียรติ จะทำให้ผู้รับบริการเกิดความรู้สึกปลอดภัยที่จะ เปิดเผยเรื่องราวของตนได้มากขึ้น อาการและอาการแสดงที่พยาบาลควรให้ความสนใจและคำนึงถึงว่า ผู้รับบริการอาจมี พฤติกรรมผิดปกติทางเพศ ได้แก่ ความรู้สึกอึดอัด และละอายใจอย่างมากกับพฤติกรรมทางเพศของตน การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (1) มีความเสี่ยงต่อการทำร้ายผู้อื่น เนื่องจากมีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ (ข้อมูลสนับสนุน เช่น มีประวัติทำร้ายคนอื่นเพื่อตอบสนองความพึงพอใจทางเพศของตน/ ไม่สามารถควบคุม อารมณ์ตื่นเต้นทางเพศหรือพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติของตนได้) (2) มีแบบแผนการแสดงออกทางเพศที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีการแสดงออกทางเพศที่แปลกไปจากปกติ (ข้อมูลสนับสนุน เช่น มีประวัติไม่มีความสุข ความพึงพอใจจากการมีกิจกรรมทางเพศตามปกติทั่วไป/ มีความสุขความพึง พอใจจากการมีกิจกรรมทางเพศที่แปลก (วิปริต)/ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศที่ผิดปกติของตนได้) (3) มีความวิตกกังวลกับพฤติกรรมทางเพศของตน และการไม่สามารถควบคุมตนเองได้ (ข้อมูลสนับสนุน เช่น บอกถึงความวิตกกังวลกับพฤติกรรมทางเพศของตน / มีหน้าท่าทางแสดงถึงความวิตก กังวล/ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศ หรือพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติของตนได้) เป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่คาดหวังแบ่งออกเป็น เป้าหมายระยะสั้น: เช่น ผู้ป่วยบอกถึงวิธีในการควบคุมอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศและการแสดงออกทางเพศที่ ไม่เหมาะสมของตนเองได้, มีอารมณ์ตื่นเต้นทางเพศที่ผิดปกติลดลง, ระบุแหล่งช่วยเหลือในการควบคุมได้ เป้าหมายระยะยาว: เช่น ผู้ป่วยเลิกมีพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ การปฏิบัติการพยาบาล 1. พยาบาลควรให้การพยาบาลโดยตระหนักในความคิด ทัศนคติ และค่านิยมของตนและไม่นำไปตัดสิน ผู้รับบริการ มีการสร้างสัมพันธภาพบนพื้นฐานของความไว้วางใจ เคารพในความเป็นบุคคล และให้เกียรติผู้รับบริการ 2. จัดให้มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นส่วนตัว ปลอดภัย และรักษาความลับของผู้รับบริการ 3. ให้โอกาสผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมของตน ความวิตกกังวลที่มี ความรู้สึกมีคุณค่าใน ตนเอง และผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมทางเพศที่มีปัญหา 4. ป้องกันการทำร้ายตนเอง ด้วยการประเมินการทำร้ายตนเองของผู้รับบริการ จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และหาแหล่งสนับสนุนทางสังคม 5. ให้ความรู้เกี่ยวกับความผิดปกติทางเพศ ปรับแก้ความคิดความเชื่อที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับเรื่องเพศ 6. เสริมสร้างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ด้วยการค้นหาข้อดีของตน ตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ มองเห็น ความสำเร็จที่ผ่านมาของตน และยอมรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 12 7. ป้องกันการแสดงออกทางเพศที่ไม่เหมาะสม และโอกาสเสี่ยงในการทำร้ายผู้อื่น ด้วยการใช้การจำกัด พฤติกรรม ให้ผู้รับบริการได้ระบายความรู้สึกที่มีต่อพฤติกรรมของตน อธิบายให้เข้าใจถึงผลที่จะได้รับหากแสดงพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสม ทำร้ายหรือละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น ตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินคดีตามกฎหมายสำหรับบางพฤติกรรม 8. พัฒนาทักษะการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก และแรงกระตุ้นภายใน ฝึกทักษะการผ่อนคลาย และเรียนรู้การ ปรับพฤติกรรม 9. ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติ และเสริมสร้างความเข้าใจของครอบครัว และให้ครอบครัวเข้า มามีส่วนร่วมในกระบวนการบำบัด 10. ส่งต่อจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อการักษาที่เหมาะสมต่อไป บทสรุป ความผิดปกติในกลุ่ม sexual dysfunction, gender dysphoria, และparaphilic disorders สาเหตุของความ ผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด การประเมินและซักประวัติโดยละเอียดเพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และกำหนดเป้าหมายในการ บำบัดร่วมกับผู้รับบริการ โดยช่วยให้ผู้รับบริการลดความยุ่งยากใจ สามารถจัดการกับปัญหาของตน และดำรงชีวิตได้อย่าง มีความสุข รวมถึงช่วยให้ครอบครัวและสังคมมีความเข้าใจผู้รับบริการ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการให้การช่วยเหลือ เอกสารอ้างอิง กระทรวงสาธารณสุข, สถาบันสุขภาพจิต. (2536). มาตรฐานการปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช และสุขภาพจิต เล่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ฉวีวรรณ สัตยธรรม, แผ จันทร์สุข และ ศุกร์ใจ เจริญสุข (บรรณาธิการ). (2558). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต (ฉบับปรับปรุง) เล่มที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด. มาโนช หล่อตระกูล และปราโมทย์ สุคนิชย์.(2558). จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด ยาใจ สิทธิมงคล, พวงเพชร เกสรสมุทร, นพพร ว่องสิริมาศ และ อทิตยา พรชัยเกตุ โอว ยอง (บรรณาธิการ). (2559). การ พยาบาลจิตเวชศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สแกนอาร์ต จำกัด ละเอียด แจ่มจันทร์ และ สุรี ขันธรักษวงค์. ( 2549). สาระทบทวน การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพมหานคร: จุดทอง จำกัด. วินัดดา ปิยะศิลป์ พนม เกตุมาน. (2545). จิตเวชเด็กและวัยรุ่น.กรงเทพฯ: บียอนด์ เอ็น เทอร์ ไพรซ์ จำกัด. สมภพ เรืองตระกูล. (2550). พฤติกรรมรักร่วมเพศ และสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ.: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. สายฝน เอกวรางกูร. (บรรณาธิการ). (2559). การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิตศาสตร์และศิลป์สู่การปฏิบัติ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครศรีธรรมราช: โรงพิมพ์สามลดา. Norman L. Keltner and Debbie Steele. (2015). Psychiatric Nursing. (7th ed).St. Louis, Missouri: Elsevier Mosby. Sheila L. Videbeck.(2011). Psychiatric mental health nursing. (6th ed). Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 13 ข้อสอบท้ายบท 1. ผู้รับบริการหญิงมาขอคำปรึกษา เรื่องบุตรชายอายุ 17 ปี มีพฤติกรรมชอบขโมยเสื้อชั้นในและกางเกงในของแม่มาดม พยาบาลควรให้คำแนะนำที่เหมาะสมอย่างไร ก. แนะนำให้พาบุตรไปพบจิตแพทย์ ข. ควรเก็บเครื่องชั้นในให้เรียบร้อย และมิดชิด ค. อธิบายให้ทราบว่าเป็นความผิดปกติทางจิตที่มักเกิดกับวัยรุ่น ง. แนะนำให้พูดคุยกับบุตร เพื่อหาสาเหตุและแนวทางช่วยเหลือ 2. นาย A มีความสุขทางเพศเมื่อได้โอ้อวดอวัยวะเพศบริเวณหอพักสตรี และมีความสุขเมื่อเห็นผู้อื่นตกใจ พฤติกรรมของ นาย A ตรงกับข้อใด ก. Exhibitionistic Disorder ค. Frotteuristic Disorder ข. Fetishistic Disorder ง. Pedophilic Disorder 3. ท่านคิดว่าบุคคลใดมีภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ ก. สมชายพูดคุยสนิทสนมกับชาติชาย ข. ด.ช. เอ ยืนยันว่าตนเองอยากเปลี่ยนเพศเหมือนมารดา ค. นาย บีชอบมองบริเวณหน้าอกผู้หญิงที่ใช่เสื้อเกาะอก ง. นาย ซี จะทำร้ายแฟนทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ 4. บุคคลใดมีภาวะ Sexual dysfunction (ความบกพร่องในการตอบสนองทางเพศ) ก. ป้อมเอ องคชาตไม่แข็งตัว นาน 3 เดือน หลังหายป่วยจากติดเชื้อโควิด ข. นองบี อาเจียนทุกครั้งที่ต้องมีเพศสัมพันธ์กับสามีหลังแต่งงาน จึงหลีกเลี่ยงทำงานหนัก ค. ซ่องเอ แอบมองผู้หญิงในห้องน้ำเพื่อสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง ง . จงซี ไปโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดเปลี่ยนเพศ


เอกสารคำสอน: NS 330 การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช การพยาบาลบุคคลที่มีความผิดปกติทางเพศ 14 เฉลยข้อสอบท้ายบท ข้อ เหตุผล 1. เฉลยข้อ ง. แนะนำให้พูดคุยกับบุตร เพื่อหาสาเหตุและแนวทางช่วยเหลือ: เพราะความผิดปกติของ Paraphilic disorder คือความสุขทางเพศที่เกิดจากการจินตนาการ หรือการปฏิบัติทางเพศโดยใช้วัตถุ ในการช่วยเหลือ พยาบาลต้องแนะนำครอบครัว กระตุ้นให้บุตรได้ระบายความรู้สึก ค้นหาปัญหา สาเหตุก่อนอันดับแรก 2 เฉลย ข้อ ก. Exhibitionistic Disorder(โรคชอบอวดอวัยวะเพศ): ภาวะกามวิปริตหรือภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ Fetishistic Disorder: โรคพึงใจกับวัตถุ ผู้ป่วยจะใช้วัตถุเ เช่น ยกทรง กางเกงใน ถุงน่อง รองเท้า สำเร็จความใคร่ด้วยตนเองด้วยการสัมผัส ลูบไล้ ดมกลิ่น Frotteuristic Disorder: ใช้อวัยวะเพศของตนสัมผัสกับส่วนของร่างกายเหยื่อเพศตรงข้าม เช่น ต้นขา Pedophilic Disorder: อาการพึงพอใจทางเพศกับเด็กอายุไม่เกิน 13 ปี 3 เฉลยข้อ ง. นาย ซี จะทำร้ายแฟนทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ ( ภาวะเบี่ยงเบนทางเพศ ชนิด Sexual Sadism Disorder) ด.ช. เอ ยืนยันว่าตนเองอยากเปลี่ยนเพศเหมือนมารดา เป็นภาวะ Gender dysphoria (ความทุกข์ ทรมานใจที่เกิดจากความไม่เข้ากันระหว่าง อัตลักษณ์ทางเพศ การแสดงออกทางเพศ และเพศกำเนิด) 4 เฉลยข้อ ข. (ภาวะ Female sexual interest/arousal disorder) นองบี อาเจียนทุกครั้งที่ต้องมีเพศสัมพันธ์กับสามีหลังแต่งงาน จึงหลีกเลี่ยงทำงานหนัก Sexual dysfunction มีอาการติดต่อกันนาน 6 เดือนขึ้นไป


Click to View FlipBook Version