The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักมนุษยธรรม 1-9-65

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by rollyan2013, 2022-09-10 00:14:42

คู่มือนักมนุษยธรรม 1-9-65

คู่มือนักมนุษยธรรม 1-9-65

ฉบับ วันที่ 1 กันยายน 2565

คู่มือนักมนุษยธรรม

ฝ่ายในประเทศ CHNS Internal Affairs
สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

คู่มือนักมนุษยธรรม

ฝ่ายในประเทศ

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

คู่มือนักมนุษยธรรม i

"สร้างสังคมแห่งมนุษยธรรม
บนพื้ นฐานการรับผิดชอบร่วมกัน"

คู่มือนั กมนุษยธรรม ii

คคำำนนำำ

‫ِبْس ِم ِهللا الَّرْحمِن الَّرِح يِم‬

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

การสรรเสริญทั้งมวลเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ผู้ทรงส่งบรรดาศาสนทูตมา พร้อมหลักฐานและ
คุณธรรมเพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติออกจากความมืดมนสู่แสงสว่าง และผู้ทรงชี้นำสู่หนทางที่เที่ยง
ตรง ขอการประสาทพรและสุขสวัสดิ์จงมีแด่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) ศาสนทูต
องค์สุดท้ายที่ถูกส่งมาประกาศสัจจธรรมและมีความประเสริฐสุด

คู่มือนักมนุษยธรรมฉบับนี้เป็นการรวบรวมข้อมูลของสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
สำนักจุฬาราชมนตรี ซึ่งรวมทั้งธรรมนูญ ระเบียบ คำสั่ง และมติต่างๆ ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ดี
โดยประมวลไว้เพื่อเป็นคู่มือปฏิบัติงานสำหรับนักมนุษยธรรมที่อยู่ภายใต้โครงสร้างสภาเครือข่ ายช่วย
เหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อเป็นศึกษาแนวทางปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ

คู่มือนักมนุษยธรรมนี้ได้กำหนดแนวทางการทำงานจากจุดเริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการ
เพื่อมุ่งหวังให้การทำงานด้านมนุษยธรรมที่กำกับดูแลภายใต้ฝ่ายในประเทศนั้นขับเคลื่อนไปพร้อม ๆ
กันอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในการก่อตั้งสภาเครือข่ ายช่วย
เหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อสร้างความสันติสุขแก่มนุษยชาติ
อย่างยั่งยืน

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคู่มือนักมนุษยธรรมฉบับนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถใช้เป็นแนวทางใน
การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

“และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดี
และใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ
และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ”
(อาละอิมรอน: 104)




ฝ่ายในประเทศ
สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
15 มกราคม 2565

คู่มือนักมนุษยธรรม iii

สารบัญ

คติพจน์ i
คำนำ ii
สารบัญ iii
1 บทนำ
2 สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 1
5
สำนักจุฬาราชมนตรี 11
17
3 ฝ่ายในประเทศ 29
4 ศูนย์ประสานงาน 37
5 ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน
41
การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศ

6 งานมนุษยธรรมในมิติของกฎหมาย
7 ภาคผนวก

คู่มือนักมนุษยธรรม 1

บทนำ 1

“การทำงานด้านมนุษยธรรม” เป็นหนึ่งในภารกิจที่ถูกระบุและกำชับโดย “พระผู้เป็น
เจ้า” หาใช่กลุ่มใดหรือองค์กรใดทั้งสิ้น สังเกตได้จากคำตรัสของพระองค์ที่ว่า “จงให้มีขึ้น
จากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ ...” ตามที่ถูก
ระบุในอาละอิมรอน อายะฮฺ 104 ด้วยเหตุนี้ งานขับเคลื่อนเพื่อสังคมจึงได้รับ “การประเมิน
ค่าและตีความ” ผ่านคะแนนผลบุญโดยพระองค์เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม งานขับเคลื่อน
เพื่อสังคมนั้นมิใช่การหยิบยื่นเพื่อคนรอบข้าง แม้ภาพที่เห็น มันคือการหยิบยื่นเพื่อผู้อื่น
ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง การขับเคลื่อนดังกล่าวเป็นการเตรียมเสบียงเพื่อตนเองทั้งสิ้น
เพื่อโลกแห่งการสอบสวนและโลกแห่งความตายที่ทุกคนต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่นิรันดร์
กระนั้นก็ดี การขับเคลื่อนดังกล่าวจะได้รับคะแนนระดับไหนจากพระเจ้าก็ขึ้นอยู่กับ “เจตนา”
หากเพื่อพระเจ้า แน่นอน เราจะโชคดีและยิ้มร่า หากเพื่อหน้าตา เราจะหดหู่และสิ้นหวัง สิ่ง
นี้ต่างหากที่นักมนุษยธรรมอย่างเราต้องเตือนตนและพึงระลึกถึง

“หากการให้คือการเตรียมเสบียงของตนเอง” ก็ไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า “เฉพาะผู้
เตรียมเสบียงของตนเองสำหรับโลกแห่งความตายเท่านั้นคือผู้ที่ฉลาดที่สุด” สำนวนเหล่านี้
นักมนุษยธรรมมิได้กล่าวเอง แต่ท่านศาสดาต่างหากที่เน้นย้ำเป้าหมายของประโยคดัง
กล่าวก็เพื่อให้มนุษย์อย่างเราหลุดพ้นจากมรสุมแห่งกิเลส ข้ามลำธารแห่งตัณหา อยากได้
อยากมี และอยากครอบครอง จึงไม่แปลกที่ศาสดาเตือนสติอยู่บ่อยครั้งว่า “ของของท่าน
มีเพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ ของที่ท่านกิน ของที่ท่านใช้ และของที่ท่านให้” พระองค์จึงส่ง
ศาสดา เพื่อ “ภารกิจเมตตาธรรม” ผ่านคำตรัสที่ว่า “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด
นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาธรรมแก่ประชาชาติทั้งหลาย” (อัลกุรอาน 21:107) ด้วยเหตุนี้
“นักมนุษยธรรม” จึงเป็นผู้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัย
ฮิวะซัลลัม) หากเรายังทอดน่องบนเส้นทางสายนี้ จงจดจำไว้ว่า “มันคือหนทางสู่การเคาะ
จิตวิญญาณ ” และเป็นเครื่องมือแห่งความรักที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ
วะซัลลัม) นำมาสร้างความสามัคคีในหมู่มนุษยชาติ “การให้” จึงควรหมายถึงการสละได้
ทั้งด้านเวลา ร่างกาย หรือทรัพย์สินตามความสามารถเพื่อคนรอบข้างได้อิ่มทั้งกาย ไม่ให้
หิว อิ่มทั้งใจ ไม่ให้ลืม และผูกสัมพันธ์อันมิรู้สิ้น

มือบนมิใช่ “มือแห่งการให้” แต่เป็น “มือรับไมตรี” จากมือล่างที่แผ่ยื่นอย่างไร้ข้อแม้
หลักคำสอนจึงชี้ชัดให้เราเห็นภาพว่า “อย่าให้ตามที่เราปรารถนา แต่จงให้ตามแต่ผู้รับจับ
ฉวยและปรารถนา” สิ่งดังกล่าวถูกระบุไว้ในพระคัมภีร์อย่างชัดเจน

คู่มือนักมนุษยธรรม 2

บทนำ 1

‫َلۡن َتَناُلوا اۡلِبَّر َحّٰتى ُتۡنِف ُق ۡو ا ِم َّم ا ُتِح ُّبۡو َن‬

พวกเจ้าจะไม่บรรลุถึงคุณธรรมได้เลย จนกว่าจะให้ (บริจาค) ในสิ่งที่ตนเองรัก
)อัลกุรอ่าน 3:92(

การที่ต้องให้สิ่งที่รัก เพราะสิ่งเหล่านั้นมิใช่เพื่อผู้อื่น แต่เพื่อเป็นเสบียงสำหรับ
ตนเองในวันที่การกระทำต่าง ๆ ถูกตัดขาด การให้จึงเป็นข้าวห่อแห่งการเดินทางอันไม่รู้
จบ คือต้นไม้แห่งความดีที่สร้างดอกผลและเติบโตอย่างไม่จบสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น การให้ไม่ได้
ถูกจำกัดที่สิ่งของ แต่ขีดคั่นด้วยเวลา หากอายุจบสิ้น การให้ก็อาจไร้ผล ด้วยเหตุนี้ การให้
จึงมิใช่ว่า “มีหรือไม่มี” แต่ให้เพราะเจริญรอยตามอัครสาวกแห่งท่านศาสดามุฮัมมัด
(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) ซึ่งเน้นการสร้างกุศลกิจเพื่อ
ผู้อื่นโดยไร้อาณาเขตเหตุผลขวางกั้น

‫َو ُيْؤ ِثُروَن َع ٰىَل َأْنُف ِس ِه ْم َو َلْو َكاَن ِبِه ْم َخَص اَص ٌة‬

และพวกเขาชอบสละให้กับผู้อื่นมากกว่าตัวของพวกเขาเอง

)ให้สิทธิ์ผู้อื่นก่อนตัวของพวกเขาเอง(
)ถึงแม้พวกเขาจะมีความขัดสนก็ตาม พวกเขายังมีความต้องการอยู่มากมาย

)อัลกุรอาน 59:9(

คำว่า “ให้” จึงเป็นมรดกตกทอดทางภูมิปัญญาที่มิรู้จักจบสิ้น งอกเงยเป็นเมล็ด

พันธุ์ แตกงอกยื่นออกเป็นหน่อกล้าอย่างมิจบสิ้น ด้วยเหตุนี้ การขับเคลื่อนเพื่อสังคมนั้น

ไม่ว่าจะด้วย “การให้” หรือ “การช่วยเหลือ” จึงกลายเป็นมรดกตกทอดทางความคิดใน

การสร้างความดีให้แก่สังคม “จิตใจแห่งความเมตตา” มิได้ถูกระบุไว้เพื่อพี่น้องร่วม

ศาสนาเพียงถ่ายเดียว แต่ยังชี้ชัดว่าเพื่อประโยชน์แก่สังคมและสากลโลก หากการช่วย

เหลือคือสัจธรรม แน่นอนมันคือภารกิจมนุษยธรรมที่ไม่เคยสูญเปล่า ไม่มีโครงครอบแห่ง

ชาติพันธุ์และศาสนามาขีดคั่น “คะแนน” แห่งการให้จากพระเจ้าผู้ที่ไม่ได้มองว่า “สำหรับ

ใคร” แต่พระองค์จะเพ่ งพิจารณาว่า “ช่วยผู้อื่นหรือยังในฐานะเพื่อนร่วมโลก”

งานด้านมนุษยธรรมจึงเป็นสากลและสดใหม่เสมอ เพราะสามารถข้ามพรมแดน

และทะลวงความแตกต่างทางด้านศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม และวัฒนธรรม อีกทั้งจะ

ต้องปลดแอกจากข้อจำกัดทางด้านชาติพันธุ์และภาษาได้อย่างหมดจด เพราะงาน

มนุษยธรรมของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นเครื่องมือที่

เปลี่ยนจากท่อน้ำเลี้ยงจิตวิญญาณอันมืดบอดของมนุษย์ให้กลับมาสวยใสและเจิดจรัส

ท่านศาสดามุฮัมมัด(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม) จึงได้รับการยกย่องจากพระผู้เป็นเจ้า

ว่าเป็น “แบบฉบับที่ดีที่สุด”

คู่มือนักมนุษยธรรม 3

บทนำ 1

ในการช่วยเหลือและให้เกียรติต่อเพื่อนมนุษย์ หาก “ศาสดาถูกส่งมาเพื่อสร้างความ
เมตตาธรรมต่อมนุษยชาติ” นั้นถูกต้อง เราจะต้องมั่นใจด้วยว่า “ความเมตตาธรรม” นั้นคือ
มรดกชิ้นสำคัญที่สุดต่อมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้ “งานมนุษยธรรมจึงมีแบบแผนตามกรอบและ
เงื่อนไขที่ศาสดาได้วางไว้ มิใช่จะขับเคลื่อนหรือกระทำแบบใดก็ได้ หากงานมนุษยธรรม
เติบโตด้วยแบบฉบับของท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม) สังคมมนุษย์ก็จะเติบโตอย่างมีอารยธรรม หากแบบฉบับศาสดาเหี่ยวเฉา
และหดหาย บั้นปลายแห่งสังคมเมตตาธรรมจะสะบั้นลง” เมื่อเป็นเช่นนั้น ศาสนิกชนอย่างเรา
จะตอบคำถามของพระองค์ได้อย่างไรกันในวันตัดสินพิพากษา หากมนุษย์ไร้ผู้ขับเคลื่อน
มนุษยธรรม แล้วเสบียงอะไรเล่าที่มนุษย์อย่างเราจะนำไปแสดงต่อพระผู้เป็นเจ้าเพื่อเรียก
ร้องความเมตตาจากพระองค์ ในเมื่อพระองค์ตรัสย้ำว่า

‫إرحموامن في الأرض يرحمكم من في السمآء‬
พวกเจ้าจงเมตตาผู้ที่อยู่บนหน้าแผ่นดิน ผู้ที่อยู่ในชั้นฟ้าก็จะเมตตาเจ้าเช่นกัน

มนุษยธรรมจะงอกเงยและเติบโตในสังคมเรา... อามีน

คู่มือนักมนุษยธรรมฉบับนี้เป็นเอกสารที่ให้แนวทางการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม
ของสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ที่กำหนดภาระหน้าที่
ความรับผิดชอบไว้ในมาตรฐาน กำหนดลักษณะงาน (JOB DESCRIPTION) มีคำอธิบาย
งานที่ปฏิบัติ ประวัติความเป็นมา มีแผนกลยุทธการปฏิบัติ กำหนดตัวชี้วัด การประเมินผล
ซึ่งในแต่ละบทมีความคิดหลัก วัตถุประสงค์ และเนื้อหาสาระที่มีความสมบูรณ์ มีราย
ละเอียดครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละเรื่อง มีกฎ ระเบียบ มติต่าง ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้อง หลัก
เกณฑ์ แนวทางด้านกฎหมาย เทคนิคหรือแนวทางในการปฏิบัติงาน ปัญหาอุปสรรค
แนวทางแก้ไข ข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นแนวทางประกอบการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม

สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ให้ความสำคัญกับ
การจัดทำคู่มือนักมนุษยธรรม เพื่อการปฏิบัติงาน ซึ่งคู่มือนักมนุษยธรรมฉบับนี้จะมี
ประโยชน์ในการทำงานดังนี้

ด้านผู้กำหนดนโยบาย

1. การปฏิบัติงานสอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของสภาเครือ
ข่ ายฯ

2. ใช้เป็นมาตรฐานในการทำงานทั่วประเทศเพื่อให้ผลงานมีคุณภาพตามที่กำหนด
อย่างมืออาชีพ

3. ใช้เป็นคู่มือปฏิบัติ อันเป็นแบบแผนในการทำงานเดียวกัน
4. เป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนงาน การเรียนรู้งาน การฝึกอบรม
5. ใช้เป็นสื่อในการประสานงานระหว่างผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงาน
6. ใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับกาปรับปรุงระบบงานและการรออกแบบระบบงานใหม่
7. ใช้สำหรับการติดตามงาน

คู่มือนักมนุษยธรรม 4

บทนำ 1

ด้านผู้ปฏิบัติงาน

1. ใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงาน
2. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการทำงานหรือกรณีมีข้อสงสัย
3. ใช้เป็นสื่อในการประสานงานระหว่างผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเดียวกันหรือระหว่าง ศปง. ต่าง


พื้นที่
4. บุคลากรสามารถทำงานแทนกันได้ทันที ทั้งใน ศปง. เดียวกัน และต่าง ศปง. โดยไม่


ต้องเสียเวลาศึกษาและเรียนรู้ใหม่
5. ผู้ปฏิบัติงานสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็วขึ้น ตามกระบวนการที่กำหนดไว้
6. ผู้ปฏิบัติงานสามารถปฏิบัติงานตามลำดับก่อนหลัง ไม่เกิดความสับสนในการทำงาน
7. ผู้ปฏิบัติงานวาระใหม่สามารถเข้าสู่กระบวนการทำงานได้ทันทีเมื่อถึงคราวหมดวาระ
8. ผู้ปฏิบัติงานทราบบทบาท หน้าที่ในความรับผิดชอบ แนวทางการปฏิบัติ รายละเอียด


การทำงาน เทคนิค สำหรับตนเองและผู้อื่น
9. ลดขั้นตอนการทำงาน ลดการทำงานซ้ำซ้อน ลดความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงานที่


ไม่เป็นระบบ
10. ผู้ปฏิบัติงานมีความมั่นใจในการทำงานยิ่งขึ้น

คู่มือนักมนุษยธรรม 5

สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 2
สำนักจุฬาราชมนตรี

ชื่อ สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
ชื่อย่อภาษาไทย สภาเครือข่ าย
ชื่อภาษาอังกฤษ Council for Humanitarian Networking of Sheikhul
Islam Office
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ CHNS
ชื่อภาษาอาหรับ ‫مجلس شيخ اﻹسلام‬-‫رابطة الغوث اﻹنساني‬

“สภาเครือข่ าย”

หมายถึง สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ซึ่งเป็น
องค์กรประสานงานกลางที่บุคคล กลุ่มบุคคลและองค์กรต่าง ๆ จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนิน
งานตามวัตถุประสงค์ ภายใตร่มเงาของสำนักจุฬาราชมนตรี โดยมีระบบสมาชิก
ระบบคณะกรรมการ ระบบสำนักงาน ระบบการประชุม ระบบการปฏิบัติ
ต่อภารกิจร่วม ระบบการเงินและบัญชีในการบริหารองค์กร

คู่มือนักมนุษยธรรม 6
สภาเครือข่ าย
2

ความเป็นมาของการก่อตั้งสภาเครือข่ าย

สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ก่อตั้งเมื่อ
วันที่ 11 สิงหาคม 2557 ณ โรงแรมรีเจนท์รามคำแหง กรุงเทพมหานคร จากการเห็นพ้อง
ขององค์กรมุสลิม 17 องค์กรในการผนึกกำลังองค์กรมุสลิมในประเทศไทยให้มีเอกภาพใน
การขับเคลื่อนงานเครือข่ ายการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในรูปแบบของเครือข่ าย
โดยให้ความช่วยเหลือทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนรวบรวม

นักวิชาการมุสลิมให้บริการความรู้และสร้างความเข้าใจในสถานการณ์ต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้นในโลกมุสลิมต่อหน่วยงาน องค์กร สถาบันภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป
ได้อย่างถูกต้อง โดยตั้งมั่นในการทำงานการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมว่า “ให้ความช่วย
เหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบภัยทั้งในและต่างประเทศโดยไม่เลือกเชื้อชาติและศาสนา”

เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2557 จุฬาราชมนตรีได้ประกาศคำสั่งจุฬาราชมนตรีที่
11/2557 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนัก
จุฬาราชมนตรีซึ่งเป็นคณะกรรมการบริหารชุดแรกให้เป็นองค์กรที่อยู่ในการอุปถัมภ์ของ
สำนักจุฬาราชมนตรี

องค์กรความร่วมมือ

องค์กรความร่วมมือในประเทศ องค์กรความร่วมมือในต่างประเทศ

คู่มือนักมนุษยธรรม 7
สภาเครือข่ าย
2

วิสัยทัศน์

องค์กรเครือข่ ายมนุษยธรรมที่ประสิทธิภาพ ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชน ทำงาน
เพื่อความสุขสันติของมนุษยชาติอย่างยั่งยืน

พันธกิจ

1. การรวบรวมองค์กรเครือข่ ายเพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการทำงานด้าน
มนุษยธรรม

2. การสร้างองค์กรเครือข่ ายด้านมนุษยธรรมที่มีประสิทธิภาพในการทำงานและบริหาร
จัดการจนเป็นที่เชื่อมั่นศรัทธาของประชาชน

3. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติหรือผู้เดือดร้อนให้ได้รับความปลอดภัย
ความสงบสุขที่ยั่งยืน

4. ระดมทรัพยากรเพื่อให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทั้งในและต่างประเทศ
5. ประสานความร่วมมือกับองค์กรที่ทำงานด้านมนุษยธรรมทั้งในและต่างประเทศ

เพื่อสร้างการเรียนรู้และเชื่อมโยงข้อมูล
6. ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอุบัติภัยที่เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ แก่ประชาชน
7. ผลิตและพัฒนาศักยภาพ คนทำงานด้านมนุษยธรรม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้องค์กรมุสลิม สังคมมุสลิม ตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญของความ
ร่วมมือเป็นเครือข่ าย

2. เพื่อให้เกิดสภาเครือข่ ายที่มีหลักการและระบบการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถเป็น
ที่พึ่งของสังคมได้

3. เพื่อเป็นศูนย์ประสานงาน แหล่งข้อมูล แหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมเพื่อพัฒนายกระดับ
องค์กรที่ทำงานด้านมนุษยธรรมและบริการสังคม

4. เพื่อให้เกิดองค์กรภาคีที่มีความสามารถ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
5. เพื่อให้ภารกิจความช่วยเหลือสามารถดำเนินอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

นโยบายในการทำงาน

1. ตระหนักถึงความทุกข์ ยากลำบากของพี่น้องและมนุษยชาติ
2. ห่วงใยในความปลอดภัยและมีปรารถนาดีที่จะเห็นความสงบสุขที่ยั่งยืนของทุกคน
3. มีความรัก เอื้ออาทร และช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้ศรัทธาที่ทำงานร่วมกัน

คู่มือนักมนุษยธรรม 8

สภาเครือข่ าย 2

โครงสร้างคณะกรรมการ
สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

สำนักจุฬาราชมนตรี

สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
สมาชิกสภาเครือข่ าย

กรรมการตรวจสอบการ องค์กรภาคีสมาชิก ที่ปรึกษา
ดำเนินงาน

กรรมการสภาเครือข่ ายฯ

ประธานกรรมการสภาเครือข่ ายฯ

กรรมการและเหรัญญิก กรรมการและเลขานุการ กรรมการและ
ผู้ช่วยเลขานุการ

รองประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน

ฝ่ายในประเทศ ฝ่ายสิทธิ ฝ่ายสื่อสาร ฝ่ายผู้ลี้ภัย ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายต่างประเทศ
ประโยชน์ องคืกร

ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

ศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด

เครือข่ ายนักมนุษยธธรม
มนุษย์+ธรรม

คู่มือนักมนุษยธรรม 9

สภาเครือข่ าย 2

หน้าที่ความรับผิดชอบของฝ่าย หน้าที่ความรับผิดชอบ
ฝ่าย

1. ฝ่ายสิทธิประโยชน์ จัดหารายได้ และงบประมาณเพื่อการบริหารและดำเนินงานของ
สภาเครือข่ าย ตามแผนงาน

2. ฝ่ายสื่อสารองค์กร งานประชาสัมพันธ์สื่อสารภารกิจของสภาเครือข่ าย ให้คณะกรรมการ
3. ฝ่ายในประเทศ องค์กรสมาชิก และองค์กรเครือข่ ายภายนอกทราบอย่างทั่วถึง
4. ฝ่ายต่างประเทศ สร้างการรับรู้ของประชาชนต่อภาพลักษณ์ที่ดีของมุสลิมผ่านภารกิจการช่วย
เหลือด้านมนุษยธรรม

ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่กลุ่มตามกรอบภารกิจอย่างเหมาะสม
จัดตั้งและขับเคลื่อนกลุ่มเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายในประเทศ
กำกับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานสภาเครือข่ าย ประสานงานกับ
หน่วยงานอื่น ๆ ภายในประเทศ ตามกรอบภารกิจ

ส่งเสริม ช่วยเหลือ และพิทักษ์สิทธิด้านมนุษยธรรมแก่กลุ่มตามกรอบ
ภารกิจในต่างประเทศ ประสานงาน และสร้างความร่วมมือกลุ่มเครือข่ าย
ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในต่างประเทศตามกรอบภารกิจ

5. ฝ่ายวิชาการ สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม เพื่อเป็นแหล่ง
6. ฝ่ายผู้ลี้ภัย เรียนรู้ และอ้างอิงทางด้านวิชาการ จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรม เพื่อการ
ขับเคลื่อนภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และพัฒนาบุคลากร และ
องค์กรสมาชิก เพื่อพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรมและด้าน
อื่น ๆ

ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ลี้ภัยในประเทศ

คู่มือนักมนุษยธรรม 10

สภาเครือข่ าย 2

ช่องทางติดต่อติดตามข้อมูลข่ าวสารและช่องทางการรับบริจาค

สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
ศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ
ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก
กรุงเทพมหานคร 10530
02 949 4278, 08 6101 0957

@humanitarianthai @ChnsPr

PR CHNS @forhumanitythai

[email protected]

ช่องทางการบริจาค

เพื่อการบริหารสภาเครือข่ าย เพื่อช่วยเหลือชาวซีเรีย
0341079685 0341087432

เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและผู้ยากไร้ เพื่อช่วยผู้ลี้ภัยต่างประเทศ
0341087440
0341096407

เพื่อช่วยเหลือปาเลสไตน์ เพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในประเทศ
0341076694 0341113761

เพื่อสร้างบ้านแก่ผู้ยากไร้
0341133711

www.humanitarianthai.org

คู่มือนักมนุษยธรรม 11

ฝ่ายในประเทศ 3

Internal Affairs

โครงสร้างการบริหารฝ่ายในประเทศ
ประธานฝ่าย

รองประธาน รองประธาน รองประธาน รองประธาน

เลขานุการ

ฝ่ายทะเบียน ฝ่ายพัฒนา ฝ่ายบัญชี ฝ่ายนโยบาย
บุคลากร และการเงิน และแผน

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ฝ่ายจัดหาทุน
และสวัสดิการ

หน้าที่กรรมการฝ่าย

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย
2. ปฏิบัติงานตามที่กรรมการบริหารสภาเครือข่ าย มอบหมาย และหรืออื่น ๆ ตามความ

เหมาะสมที่ได้รับมอบหมายจากฝ่าย เพื่อให้บรรลุผลตามกรอบยุทธศาสตร์ นโยบาย
แผนงานและเป้าหมายของสภาเครือข่ าย

คู่มือนักมนุษยธรรม 12
ฝ่ายในประเทศ
3

หน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการฝ่ายในประเทศ

1. กำหนดนโยบายการทำงานของฝ่ายในประเทศ
2. จัดทำแผนงบประมาณประจำปี
3. จัดและเข้าร่วมสัมมนากรรมการฝ่ายในประเทศประจำปี
4. จัดประชุมประจำปีคณะกรรมการศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด
5. จัดงานพัฒนาศักยภาพของกรรมการฝ่ายในประเทศและกรรมการศูนย์ประสานงาน
6. พิจารณาให้ความเห็นชอบระเบียบ แนวทางปฏิบัติงาน และประกาศต่าง ๆ
7. สร้างนักมนุษยธรรม มนุษย์+ธรรม ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
8. พิจารณาบุคคลเพื่อเสนอแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

และระดับจังหวัด ตลอดจนการขึ้นทะเบียนสมาชิกนักมนุษยธรรม มนุษย์+ธรรม

ที่มาของคณะกรรมการฝ่ายในประเทศ


ประธานฝ่ายในประเทศคัดเลือกบุคคลที่มาดำรงตำแหน่งคณะกรรมการฝ่ายในประเทศ

จำนวนอย่างน้อย 15 คน แต่ไม่เกิน 21 คน จากคณะและบุคคลดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย และองค์กรภาคีเครือข่ าย
2. ประธานศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค
3 บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

การพ้นจากตำแหน่ง

1. หมดวาระ
2. ตาย
3. ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อประธานสภาเครือข่ าย
4. คณะกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย มีมติให้ออก

ที่ปรึกษาฝ่ายในประเทศ
จำนวนไม่เกิน 5 คน

คู่มือนักมนุษยธรรม 13

ฝ่ายในประเทศ 3

รายชื่อกรรมการฝ่ายในประเทศปี 2565-2569 คำสั่งที่ 17-2565

1. ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ พิศสุวรรณ ประธาน
2. นายปรัชญา ฉิมวิเศษ รองประธาน
3. นายพิเชษฐ์ ดารากัย รองประธาน
4. นายสุชาติ จันทลักขณา รองประธาน
5. นายสุชาติ มาศโอสถ รองประธาน
6. นางรัตติฟาร์ สิมารักษ์ กรรมการ (ฝ่ายพัฒนาบุคลากร)
7. นายนิรันดร เราะห์มานีย์ กรรมการ (ฝ่ายนโยบายและแผน)
8. นายมุสตาฟา กสิวรรณ์ กรรมการ (ฝ่ายนโยบายและแผน)
9. นายดาวุด อาดัม กรรมการ (ฝ่ายนโยบายและแผน)
10. นายณัฐกิจ สมานมิตร กรรมการ (ฝ่ายทะเบียน)
11. นายศักดา ยูเต๊ะ กรรมการ (ฝ่ายทะเบียน)
12. นายอธิภัทร โยธารักษ์ กรรมการ (ฝ่ายบัญชีและการเงิน)
13. นายภักดีนรเศรษฐ ดำฤทธิ์ กรรมการ (ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ)
14. นายอัสมัน วันสอารี กรรมการ (ฝ่ายประชาสัมพันธ์)
15. นายอบี ยะลา กรรมการ
16. นายยูซบ โต๊ะวัง กรรมการ
17. นายอาซิ ดาราแม กรรมการ
18. นายซอลาฮุดดิน หะยียูโซะ กรรมการ
19. นายวุฒิสาร เจสาสน์ กรรมการและเลขานุการ

คู่มือนักมนุษยธรรม 14
ฝ่ายในประเทศ
3

วิสัยทัศน์
มุ่งมั่นสร้างเครือข่ ายด้านมนุษยธรรมครอบคลุมทั่วประเทศด้วยกระบวนการการมีส่วน
ร่วมในภารกิจนำสารแห่งความเมตตาสู่มวลมนุษยชาติ

พันธกิจ
“สร้างสังคมแห่งมนุษยธรรมบนพื้นฐานการรับผิดชอบร่วมกัน”

เป้าหมาย
“ขยายแนวคิดและอุดมการณ์พร้อมสร้างเครือข่ ายด้านมนุษยธรรมให้ครอบคลุมและยั่งยืน”

หลักคิด
อิสลามนำสังคมด้วยพลังแห่งมนุษยธรรม
ยุทธศาสตร์สร้างนักมนุษยธรรม นักมนุษยธรรมสร้างสังคม
ครอบคลุม ทั่วถึง เป็นธรรม
สร้างสันติสุขแก่ประชาชาติคือเป้าหมายสูงสุด

นโยบาย

นโยบายช่วยเหลือ นโยบายบริหารและ นโยบายขับเคลื่อน
เร่งด่วนตาม การพัฒนา ระดับพื้นที่/จังหวัด
สถานการณ์
1. พัฒนาบุคลากรสู่การเป็นนัก 1. จัดตั้งศูนย์ประสานงาน
1. ช่วยเหลือและบรรเทา
มนุษยธรรมมืออาชีพ ประจำจังหวัดให้ครบทุก
ทุกข์ ผู้ได้รับความเดือด
จังหวัดที่มีสำนักงานคณะ
ร้อนจากภัยพิบัติ 2. พัฒนาโครงสร้างด้าน กรรมการอิสลามประจำ
มนุษยธรรมในประเทศสู่ จังหวัด
2. บรรเทาความเดือดร้อน
มาตรฐาน
กลุ่มผู้เดือดร้อนฉุกเฉิน
2. เป็นเจ้าภาพในการช่วย
อย่างทันท่วงที 3. พัฒนาระบบและกระบวนการ เหลือด้านมนุษยธรรมที่เกิด
ทำงานให้เกิดประสิทธิผล ขึ้นในพื้นที่
3. ช่วยเหลือและบรรเทา

ความเดือดร้อนผู้
4. พัฒนาเครือข่ ายจิตอาสา 3. พัฒนาการจัดทำข้อมูลการ
ยากไร้ มนุษย์+ธรรม ให้มีทักษะและ ช่วยเหลือและข้อมูลผู้ได้รับ
ประสบการณ์ ผลกระทบ
4. สร้างบ้านใหม่เพื่อผู้

ยากไร้ 5. พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่าง 4. พัฒนาศักยภาพการ
องค์กรภาคีเครือข่ ายเพื่อ ประสานงานภาคี (ภาครัฐ
5. กำหนดยุทธศาสตร์
มนุษยธรรมและคณะ เอกชน และภาคประชา
วางแผน โครงสร้าง
กรรมการอิสลามประจำ สังคม)
ด้านมนุษยธรรม ใน
จังหวัด
ประเทศไทย 5. สนับสนุน ส่งเสริม ศูนย์
6. จัดสวัสดิการและดูแล ประสานงานให้มีศักยภาพ
บุคลากร ในทุก ๆ ด้าน

คู่มือนักมนุษยธรรม 15

ฝ่ายในประเทศ 3

นโยบาย

1. ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายใต้เจตนารมณ์ "อัลอิสลาม" รักษาเกียรติและคุ้มครองผล
ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ โดยไม่แบ่งเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ ชนชั้นวรรณะ และสีผิว

2. เน้นความเป็นเอกภาพในการทำงานด้านมนุษยธรรมภายในประเทศ โดยประสานความร่วมมือกับ
องค์กรภายในและภายนอก องค์กรเครือข่ าย รวมถึงการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. สร้างกระบวนการพัฒนานักมนุษยธรรมและอาสาสมัครให้เกิดจิตสำนึก และมีความพร้อมที่จะ
ปฏิบัติการครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศ ตั้งแต่ระดับภาคจนถึงระดับจังหวัด เพื่อเสริมศักยภาพ
การทำงานด้านมนุษยธรรมในประเทศ และการทำงานขององค์กรภายในเครือข่ ายให้มี
ประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ


4. สร้างเสริมช่องทางการสื่อสาร เชื่อมโยงทั้งภายในเครือข่ ายและสาธารณชนทั่วไปผ่านสื่อสมัย
ใหม่ (โซเชี่ยล มีเดีย) อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจ ตลอดจนการมี
ส่วนร่วมโดยทั่วไปจากสังคม

ยุทธศาสตร์

ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญในการช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมบนหลักการอิสลามให้แก่สาธารณชนบนพื้นฐานการรับผิดชอบ
ร่วมกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การสนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งกรรมการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมใน
ระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด พร้อมพัฒนาให้มีศักยภาพในการบริหาร
จัดการการช่วยเหลือในพื้นที่

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะและเพิ่มขีดความสามารถ
ในการช่วยเหลือ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การส่งเสริมความร่วมมือด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมกับภาคี
เครือข่ ายทั้งในและต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ตามกรอบนโยบายสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาระบบ ข้อมูลข่ าวสาร การประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมให้สาธารณชนได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างทั่วถึง

กรอบภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศ

1. การช่วยเหลือ 2. การช่วยเหลือบรรเทา 3. การช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยพิบัติ ความเดือดร้อนฉุกเฉิน/ภัย ผู้ยากไร้ขั้นวิกฤต

ภัยธรรมชาติ ฉุกเฉิน ด้านการศึกษา
อุทกภัย ด้านสาธารณสุข
วาตภัย อุบัติเหตุ ด้านการอุปโภคบริโภค
ธรณีพิบัติภัย ฆาตกรรม ด้านที่อยู่อาศัย
ฯลฯ ตึกถล่ม
ฯลฯ
ภัยจากน้ำมือมนุษย์

คู่มือนักมนุษยธรรม 16
ฝ่ายในประเทศ
3

ช่องทางการติดต่อฝ่ายในประเทศ
[email protected]

28/20 ม.4 ต.คลองอู่ตะเภา
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110

09 5434 9090
08 4848 2626
08 2262 3121

บัญชีธนาคารของฝ่ายในประเทศ

บัตรประจำตัวกรรมการฝ่ายในประเทศ

ตัวอย่าง

คู่มือนักมนุษยธรรม 17

ศูนย์ประสานงาน 4

สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้กำหนดให้มี
การจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและศูนย์ประสานงานระดับจังหวัดให้ครอบคลุม
ทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นผู้แทนในการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความ
เดือนร้อน โดยในปัจจุบันสามารถจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคได้ครอบ คลุม 9 ภาค
ตามที่กำหนดไว้ และจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด 10 จังหวัด และอยู่ระหว่างการ
ทยอยจัดตั้งศูนย์ประสานงานระดับจังหวัดตามความพร้อมของจังหวัดต่าง ๆ

วัตถุประสงค์การจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

1. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานอย่างทั่วถึง และ
รวดเร็วในทุกด้านของภารกิจสภาเครือข่ าย ในพื้นที่เขตภููมิภาคและจังหวัด

2. เพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่มีส่วนร่วมในภารกิจสภาเครือข่ าย ให้
มากที่สุดในทุกด้าน

3. ความเป็นรูปธรรมของภารกิจ เพื่อให้ระดับภูมิภาค และจังหวัดเป็นศูนย์กลางการขับ
เคลื่อนในเขตพื้นที่นั้น โดยสร้างบทบาทที่ชัดเจน และเป็นรูปธรรมทุกภารกิจงานของ
สภาเครือข่ าย

ระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

ระเบียบฉบับที่ 3 ว่าด้วย ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด




ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

ศปง. ประจำภาคเหนือตอนบน ศปง. ประจำภาคตะวันออก
ศปง. ประจำภาคเหนือตอนล่าง เฉียงเหนือ

ศปง. ประจำภาคกลาง ศปง. ประจำภาคตะวันออก
ศปง. ประจำภาคใต้ตอนบน ศปง. ประจำภาคใต้ตอนกลาง
ศปง. ประจำภาคใต้ฝั่ งอันดามัน ศปง. ประจำภาคใต้ตอนล่าง

คู่มือนักมนุษยธรรม 18
ศูนย์ประสานงาน
4

ขั้นตอนการเสนอชื่อประธานศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

1. คณะกรรมการฝ่ายในประเทศสรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของสภา
เครือข่ ายฯ

2. ประธานฝ่ายในประเทศนำเสนอรายชื่อต่อสำนักเลขานุการ
3. เลขานุการนำเข้าสู่วาระการประชุมกรรมการบริหาร
4. กรรมการบริหารพิจารณาเห็นชอบ รับรองรายชื่อ
5. ประธานสภาเครือข่ าย ออกคำสั่งแต่งตั้ง
6. สำนักเลขานุการประกาศเพื่อให้รับทราบโดยทั่วกัน

หน้าที่ของประธานกรรมการศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค
1. เสนอชื่อกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค โดยคัดสรรจากบุคคลากรใน

พื้นที่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล เพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการศูนย์ประสานงานระดับ
ภูมิภาค
2. ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคที่ได้รับการแต่งตั้ง
3. ควบคุมกำกับ ดูแล และบริหารงานศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคให้เป็นไปตามระเบียบ
และธรรมนูญของสภาเครือข่ าย

ขั้นตอนการเสนอชื่อกรรมการศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

1. ประธาน ศปง. ระดับภูมิภาคสรรหาบุคคลและเสนอชื่อ พร้อมระบุตำแหน่ง แนบ
ข้อมูลประวัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ประธานฝ่ายในประเทศพิจารณาเบื้องต้น
เพื่อนำเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการ ศปง. ระดับภูมิภาคจำนวนไม่เกิน 15 คน โดย
ตำแหน่งในศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคมีดังนี้
O ประธาน
O รองประธาน
O กรรมการ
O เหรัญญิก
O เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ

โดยส่งข้อมูลรายชื่อ และประวัติมาที่ฝ่ายในประเทศผ่านอีเมล
[email protected]

2. ประธานฝ่ายในประเทศเสนอรายชื่อและข้อมูลไปยังสำนักเลขานุการ
3. เลขานุการนำเข้าวาระการประชุมกรรมการบริหาร
4. กรรมการบริหารพิจารณาเห็นชอบ รับรองรายชื่อ
5. ประธานสภาเครือข่ าย ออกคำสั่งแต่งตั้ง
6. สำนักเลขานุการประกาศเพื่อให้รับทราบโดยทั่วกัน

คู่มือนักมนุษยธรรม 19
ศูนย์ประสานงาน
4

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

1. ประสานงาน กำกับดูแล และให้คำปรึกษาศูนย์จังหวัด ในการบริหารและปฏิบัติงาน
เชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างสภาเครือข่ าย และศูนย์จังหวัดในภารกิจที่กำหนด

2. ดำเนินการเบื้องต้นในภารกิจอื่นใดที่เกิดขึ้นในทันด่วนภายในเขตภูมิภาค
3. ปฏิบัติภารกิจของสภาเครือข่ าย ในการกำกับพื้นที่จังหวัดที่ไม่มีศูนย์ประสานงาน

ระดับจังหวัด
4. ภารกิจอื่นใดตามที่สภาเครือข่ าย มอบหมาย


การบริหารจัดการอื่นใดในภูมิภาคนั้น ๆ ที่ไม่ขัดกับธรรมนูญ ระเบียบ คำสั่ง ของสภา

เครือข่ าย กรรมการศูนย์ภูมิภาค อาจกำหนดเงื่อนไขการปฏิบัติงานเป็น
คำสั่งหรือประกาศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวมของภูมิภาคนั้น โดยไม่ขัดกับ
ธรรมนูญ ระเบียบ คำสั่ง ของสภาเครือข่ าย และผ่านความเห็นชอบของสภาเครือข่ าย

การพ้นจากตำแหน่ง
1. หมดวาระ
2. ตาย
3. ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อประธานสภาเครือข่ าย
4. คณะกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย มีมติให้ออก

คู่มือนักมนุษยธรรม 20

ศูนย์ประสานงาน 4

ข้อมูลศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค ปี 2565-2569

ศูนย์ประสานงานประจำภาคเหนือตอนบน (รอการแต่งตั้งกรรมการ)

ที่อยู่ : 24 มณีนพรัตน์ ซอย 1 ต.ศรีภูมิ
อ.เมือง จ.เชียงใหม่

นางรัตติฟาร์ สิมารักษ์ [email protected]
ประธาน

08 1387 6189

กรรมการ ศปง. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
จำนวน 15 คน
เลขที่ 052-1-05551-2


ชื่อบัญชี นางรัตติฟาร์สิมารักษ์/ น.ส.กนกพรเลาจาง/
น.ส.มัฐฉิมา ทะซัน

สภาเครือข่ าย สน.จุฬาฯ ภาคเหนือตอนบน

นายนิรันดร เราะห์มานีย์ ศูนย์ประสานงานประจำภาคเหนือตอนล่าง (คำสั่งที่ 9/2565)
ประธาน

ที่อยู่ : 94 หมู่ที่4/ 6 ต.มหาวัน
อ.แม่สอด จ.ตาก
กรรมการ ศปง.
[email protected]
จำนวน 11 คน 08 9567 2499



ธนาคาร......................................................

เลขที่

ชื่อบัญชี :

นายมุสตาฟา กสิวรรณ์ ศูนย์ประสานงานประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (คำสั่งที่ 4/2565)
ประธาน
ที่อยู่ : 23 หมู่ที่ 7 ถนนมะลิวรรณ
ยังไม่เสนอชื่อกรรมการ ต.โนนทัน อ.หนองเรือ
จ.ขอนแก่น

[email protected]

08 1991 4496

ธนาคาร......................................................

เลขที่
ชื่อบัญชี : นายมุสตาฟา กสิวรรณ์

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565

คู่มือนักมนุษยธรรม 21
ศูนย์ประสานงาน
4

ข้อมูลศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค ปี 2565-2569

ศูนย์ประสานงานประจำภาคตะวันออก (คำสั่งที่ 4/2565)

ที่อยู่ : 24/1 ม.2 ต.เทพนิมิต อ.เมืองจ.ตราด

ดาวุด อาดัม [email protected]
ประธาน 08 7101 2454

ยังไม่แต่งตั้งกรรมการ ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส...ล...า..ม...แ...ห.่..ง...ป..ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท...ย.................

เลข0ที0่ 000000000

ชื่อบัญชี :

นายศักดา ยูเต๊ะ ศูนย์ประสานงานประจำภาคกลาง (คำสั่งที่ 7/2565)
ประธาน

ที่อยู่ : 96 ซอยลาดพร้าว 114
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง
กรรมการ ศปง. กรุงเทพฯ
จำนวน 15 คน
[email protected]


08 6660 2427

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

เลขที่ 588-1-15841-5

ศูนย์ประสานงานสภาเครือข่ ายช่วยหลือด้านมนุษย
ธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี...

นายณัฐกิจ สมานมิตร ศูนย์ประสานงานประจำภาคใต้ตอนบน (คำสั่งที่ 13/2565)
ประธาน

ที่อยู่ : มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
ม.3 ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
กรรมการ ศปง.
จำนวน 14 คน [email protected]


08 1944 7568

ธนาคาร............................................................

เลขที่
ชื่อบัญชี :

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565

คู่มือนักมนุษยธรรม 22
ศูนย์ประสานงาน
4

ข้อมูลศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค ปี 2562-2564

ศูนย์ประสานงานประจำภาคใต้ฝั่งอันดามัน (คำสั่งที่ 6/2565)



ที่อยู่ : มัสยิดกลางประจำจังหวัดกระบี่
67 หมู่ที่ 2 ถนนเพชรเกษม
ต.ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่

นายอธิภัทร โยธารักษ์ [email protected]
ประธาน
08 1891 7126
กรรมกา
ร ศปง.
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
จำนวน 15 คน

เลขที่ 106-1-16961-8
ชื่อบัญชี : อธิภัทร/สุชาติ/วุฒิสาร (ศปง.อันดามันสำหรับ

สนับสนุนการดำเนินงาน)

นายภักดีนรเศรษฐ ดำฤทธิ์ ศูนย์ประสานงานประจำภาคใต้ตอนกลาง (คำสั่งที่ 8/2565)
ประธาน



ที่อยู่ : 28/20 ซอยหมู่บ้านร่มรื่น หมู่ที่ 4
ต.คลองอู่ตะเภา อ.หาดใหญ่
กรรมการ ศปง. จ.สงขลา
จำนวน 15 คน
[email protected]


093 582 6662

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

เลขที่ 061-1-10292-7

ชื่อบัญชี : CHNS สภาเครือข่ าย ภาคใต้ตอนกลาง
(เพื่อการช่วยเหลือ)

ศูนย์ประสานงานประจำภาคเหนือตอนบน (คำสั่งที่ 10/2565)

ที่อยู่ : 99/6 ม.1 ซอยบุหงารายา ต.สะเตงนอก
อ.เมือง จ.ยะลา

นายอัสมัน วันสอารี [email protected]
ประธาน [email protected]
06 4056 3769


ธนาคาร.............................................................
กรรมการ ศปง.
จำนวน 15 คน เลขที่


ชื่อบัญชี

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565

คู่มือนักมนุษยธรรม 23
ศูนย์ประสานงาน
4

ศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด

ตามระเบียบที่ 3 มีมติให้จัดตั้ง ศปง. ระดับจังหวัดตามความพร้อมของจังหวัด
โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด ดังนี้

ขั้นตอนการเสนอชื่อกรรมการศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด
1. ประธาน ศปง. ระดับภูมิภาคสรรหาบุคคลและเสนอชื่อ พร้อมระบุตำแหน่ง แนบ

ข้อมูลประวัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้ประธานฝ่ายในประเทศพิจารณาเบื้องต้น
เพื่อนำเสนอแต่งตั้งเป็นกรรมการ ศปง. ระดับจังหวัดจำนวนไม่เกิน 15 คน โดย
ตำแหน่งในศูนย์ประสานงานระดับจังหวัดมีดังนี้

O ผู้อำนวยการ
O รองผู้อำนวยการ
O กรรมการ
O เหรัญญิก
O เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ
โดยส่งข้อมูลรายชื่อ และประวัติมาที่ฝ่ายในประเทศ ผ่านอีเมล
[email protected]
2. ประธานฝ่ายในประเทศเสนอรายชื่อและข้อมูลไปยังสำนักเลขานุการ
3. เลขานุการนำเข้าวาระการประชุมกรรมการบริหาร
4. กรรมการบริหารพิจารณาเห็นชอบ รับรองรายชื่อ
5. ประธานสภาเครือข่ าย ออกคำสั่งแต่งตั้ง
6. สำนักเลขานุการประกาศเพื่อให้รับทราบโดยทั่วกัน

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด
1. ควบคุม กำกับดูแล ประสานงาน และบริหารงานศูนย์ประสานงานสภาเครือข่ ายช่วย
เหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ประจำจังหวัดที่ได้รับการแต่งตั้ง
2. เชื่อมโยงการปฏิบัติงานระหว่างสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนัก
จุฬาราชมนตรี ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค ศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด องค์กร
ภาคีเครือข่ าย ภาครัฐ ภาคเอกชน จิตอาสา ฯลฯ ในภารกิจที่กำหนด
3. ดำเนินการเบื้องต้นในภารกิจที่เกิดขึ้นในทันด่วนภายในจังหวัด
4. ปฏิบัติภารกิจของสภาเครือขายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
5. ภายในจังหวัด
6. ภารกิจอื่น ๆ ที่สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรีมอบหมาย

คู่มือนักมนุษยธรรม 24
ศูนย์ประสานงาน
4

อนึ่ง การดำเนินการอื่น ๆ ของศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด สภาเครือข่ ายช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ให้ดำเนินการโดยสอดคล้องและไม่ขัดกับธรรมนูญ
ระเบียบ คำสั่งของสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี

การพ้นจากตำแหน่งกรรมการศูนย์

1. ถึงคราวออกตามวาระ
2. ตาย
3. ลาออก โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อประธานสภาเครือข่ าย
4. คณะกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย มีมติให้ออก

คู่มือนักมนุษยธรรม 25

ศูนย์ประสานงาน 4

ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565

ข้อมูลศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด ปี 2565-2569

ศูนย์ประสานงานจังหวัดภูเก็ต คำสั่งที่ 14/2565

ที่อยู่ 08 9645 8887
4/2 ม.5 ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
ธนาคาร..........................................
อิสมาแอ เบ็ญอับดุลลาตีฟ [email protected]
เลขที่บัญชี
ผู้อำนวยการ
ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดพังงา คำสั่งที่ 14/2565

ประเสริฐ ประสารการ ที่อยู่ 08 7171 6213
ผู้อำนวยการ อาคารมูลนิธิอันดามันเพื่อ
การศึกษาและเด็กกำพร้า ธนาคาร..........................................
(ร.ร.ฟาฮัดวิทยาทาน) ม.1 ต.บ่อแสน
อ.ทับปุด จ.พังงา เลขที่บัญชี

[email protected] ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดกระบี่ คำสั่งที่ 14/2565

เรวัตร กาหลง ที่อยู่ 08 3646 4449
ผู้อำนวยการ 360 ม.1 ต.คลองเขม้า อ.เหนือคลอง
จ.กระบี่ ธนาคาร..........................................

[email protected] เลขที่บัญชี

ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานกรุงเทพมหานคร คำสั่งที่ 15/2564

วรวัฒน์ แสงน้อยอ่อน ที่อยู่ 08 5133 5650
ผู้อำนวยการ 96 ซอยลาดพร้าว 114
แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย
กรุงเทพฯ
000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00
[email protected]
ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดปทุมธานี คำสั่งที่ 15/2564

อำนาจ มะหะหมัด ที่อยู่ 09 7123 7711
ผู้อำนวยการ 38/2 หมู่4 ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง
จ.ปทุมธานี ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย

[email protected] 000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00

ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดเพชรบุรี คำสั่งที่ 15/2565

สมโชค พุ่ มพวง ที่อยู่ 09 8647 1009
15 ถนนราชดำเนิน ต.คลองกระแซง
ผู้อำนวยการ อ.เมืองเพชรบุรี จ.เพชรบุรี ธนาคาร..........................................

[email protected] เลขที่บัญชี

ชื่อบัญชี

คู่มือนักมนุษยธรรม 4 26
ศูนย์ประสานงาน
ข้อมูล ณ วันที่ 1 กันยายน 2565

ข้อมูลศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด ปี 2565-2569

ศูนย์ประสานงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คำสั่งท่ี่ 15/2565

อนันต์ รื่นพิทักษ์ ที่อยู่ 09 3128 2505
ผู้อำนวยการ 77/1 หมู่ 5 ต.บ้านพลับ
อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ธนาคาร..........................................

[email protected] เลขที่บัญชี

ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดยะลา คำสั่งที่ 16/2565

อาหะมะ สาลัง ที่อยู่ 08 1738 0647
152/4 ม.1 ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา
ผู้อำนวยการ จ.ยะลา ธนาคาร..........................................

- เลขที่บัญชี

ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดนราธิวาส คำสั่ง 16/2565

รูสนียาห์ อาแว ที่อยู่ 08 8775 3781
194/4 ม.2 ต.ยี่งอ. อ.ยี่งอ. จ.นราธิวาส
ผู้อำนวยการ ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย
[email protected]
000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00

ชื่อบัญชี

ศูนย์ประสานงานจังหวัดปัตตานี คำสั่ง 19/2565

ที่อยู่ 08 2829 4069
59/8 ซอย9 ถนนเจริญประดิษฐ์
ต.สะบารัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย

[email protected] 000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00

วัลดีนฮูสเซ็นต์ หะยีฮัสซัน ศูนย์ประสานงานจังหวัดสงขลา คำสั่ง 18/2565

ผู้อำนวยการ ที่อยู่ ..............................
(ยังไม่ได้รับการแต่งตั้ง) 28/20 ม.4 ต.คลองอู่ตะเภา
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110 ธธนนาาคคาารรอ..ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย
คอเบตร์ เหล็มหนู
- 000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00
ผู้อำนวยการ

ศูนย์ประสานงานจังหวัดตรัง คำสั่ง 18/2565

ที่อยู่ 08 3656 8234
44/19 ซ.อุดมลาภ1 ถ.โรงเรียน ต.ทับเที่ยง
อ.เมือง จ.ตรัง ธธนนาาคคาารร.อ.ิ..ส..ล...า...ม...แ..ห..่.ง...ป...ร...ะ..เ.ท...ศ...ไ..ท..ย

[email protected] 000เล0ข0ที0่บั0ญ00ชี00

นุมาน สะอะ
ผู้อำนวยการ

คู่มือนักมนุษยธรรม 27

ศูนย์ประสานงาน 4

การดำเนินงานเมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงาน

ป้ายสำนักงานศูนย์ประสานงาน




ปฐมนิเทศคณะกรรมการศูนย์ประสานงาน

ศปง.ระดับภูมิภาคจัดปฐมนิเทศคณะกรรมการ ศปง.ระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด
ที่ได้รับการแต่งตั้งแล้ว เพื่อรับทราบนโยบายและแนวทางการทำงานจากสำนักเลขานุการ
และฝ่ายในประเทศ เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของสภา
เครือข่ าย

คู่มือนักมนุษยธรรม 4 28

ศูนย์ประสานงาน ศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด

บัตรประจำตัวกรรมการศูนย์ประสานงาน ตัวอย่าง

ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค

ตัวอย่าง

การสื่อสารทางช่องทาง Facebook ของ ศปง.

ศปง. ระดับภูมิภาคสามารถตั้งเพจ Facebook เพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน
ของศูนย์ประสานงาน

ศปง. ระดับจังหวัดให้ใช้ช่องทางของ ศปง.ภาค เพื่อการประชาสัมพันธ์
ตัวอย่างการตั้งชื่อเพจ
Chns-ศูนย์ประสานงานสภาเครือข่าย ประจำภาคใต้ตอนล่าง
ตัวอย่างการตั้ง Username
lowersouthern.chns

เมื่อตั้งแล้วกรุณาแจ้งชื่อและเบอร์โทร์ของแอดมินพร้อมกับลิงก์ของเพจมายังฝ่ายในประเทศ

คู่มือนักมนุษยธรรม 29

ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงาน 5

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศ

การดำเนินงานใด ๆ ล้วนต้องมีวิธีการและขั้นตอนในการทำงานเพื่อให้งานมีระบบการ
ทำงานที่ดี ในบทนี้ ฝ่ายในประเทศได้กำหนดวิธีการและขั้นตอนการทำงานช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมตามกรอบการทำงานไว้

3 สิ่งที่กรรมการควรมี

1. คู่มือนักมนุษยธรรม
2. บัตรประจำตัวกรรมการ
3. เสื้อสนามเพื่อนักมนุษยธรรม

1. การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
1.1 ประเภทของภัยพิบัติ

ภัยธรรมชาติ

อุทกภัย ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมหรือน้ำท่วมฉับพลัน

วาตภัย ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดจากพายุลมแรง จนทำให้เกิดความเสียหายแก่

อาคารบ้านเรือน ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้าง เช่น พายุฟ้าคะนอง พายุ

ดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุไต้ฝุ่นพายุหมุนเขตร้อน

ธรณีพิบัติภัย ภัยธรรมชาติที่เกิดจากกระบวนการทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นโดย


ฉับพลันและรุนแรง ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน ชีวิตและ

ทรัพย์สิน เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ หลุมยุบ ดินถล่ม ภูเขาไฟ

ระเบิด

อัคคีภัย ภัยหรือเหตุการณ์อันตรายอันเกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแล

ทำให้เกิดการติดต่อลุกลามไปตามบริเวณที่มีเชื้อเพลิงเกิดการลุก

ไหม้ต่อเนื่อง

ภัยแล้ง ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน

จนก่อให้เกิดความแห้งแล้งและส่งผลกระทบต่อชุมชน

ภัยจากอากาศหนาว ภัยที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่หนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่า

15 องศาเซลเซียส และลงอย่างต่อเนื่องจนประชาชนได้รับผล

กระทบอย่างรุนแรงและกว้างขวาง

ทุพภิกขภัย ภัยที่เกิดจากความแห้งแล้งหรืออดอยากขาดแคลน

โรคระบาด การระบาดของเชื้อโรคที่แพร่กระจายเป็นวงกว้างในเชิง

ภูมิศาสตร์ อาจเกิดเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือกระจายเป็น

วงกว้างในระดับชุมชน ระดับสังคม ระดับประเทศ หรือระดับโลก

ภัยจากน้ำมือมนุษย์

อัคคีภัย ภัยที่เกิดจากไฟไหม้ซึ่งมีผลกับชีวิตและทรัพย์สิน

มลพิษ สภาวะที่ไม่ดีของสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของสิ่งมีชีวิต

การระเบิด การสลายตัวของสารที่เป็นของแข็งหรือของหลวส่งผลห้เกิดการ

ทำลายล้าง

อื่น ๆ

คู่มือนักมนุษยธรรม 30

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

1.2 ผู้รับผิดชอบ : ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด
1.3 แนวทางการดำเนินงาน

1.3.1 การให้ความช่วยเหลือ
บรรเทา ฟื้นฟู เยียวยา (เยี่ยมเยียนให้กำลังใจ)
มอบปัจจัยยังชีพ (อาหาร เครื่องนุ่งห่มยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ฯลฯ)
สร้างอาชีพ, ส่งเสริมการศึกษา
ประสานเครือข่ ายและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อผนึกกำลังร่วมให้การช่วยเหลือ
อื่น ๆ

1.3.2 ที่มาของงบประมาณ (การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ)
รับงบประมาณจากสภาเครือข่ าย
รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคีเครือข่ าย บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป
ศูนย์ประสานงานจัดกิจกรรมเพื่อหางบประมาณสนับสนุนการช่วยเหลือ


1.3.3 การประชาสัมพันธ์ความเดือดร้อนเพื่อเปิดรับความช่วยเหลือ

แชร์ข้อมูลจากเพจ FACEBOOK ของสภาเครือข่ าย ผ่านเพจ FACEBOOK ของ ศปง.


ระดับภูมิภาค ผ่านกลุ่มไลน์ และสื่อโซเชียลมีเดียอื่น ๆ

สื่อวิทยุ โทรทัศน์ หรือสื่อส่งพิมพ์
อื่น ๆ
หมายเหตุ : บัญชีธนาคารที่ใช้ในการเปิดรับบริจาคต้องเป็นไปตามที่สภาเครือข่ ายช่วย

เหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรีได้กำหนด

ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

034-1-09640-7

1.4 กรอบการช่วยเหลือ :
1.4.1 ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับอาคาร บ้านเรือน

ระดับความเสียหาย

ลักษณะที่อยู่อาศัย บางส่วน ปานกลาง ทั้งหลัง
1. บ้านของตนเอง
2,000 บาท 3,000 บาท 5,000 บาท

2. บ้านเช่า 2,000 บาท 3,000 บาท 5,000 บาท
2.1 ผู้เช่า
2.2 เจ้าของ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของกรรมการ

รูปแบบความเสียหาย การช่วยเหลือ
เสียหายหลังเดียว ให้ความช่วยเหลือตามตารางกรอบการช่วยเหลือ
เสียหายหลายหลัง ให้ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคเสนอแนวทางการ
ช่วยเหลือให้ฝ่ายในประเทศพิจารณาตามความ

เหมาะสม

คู่มือนักมนุษยธรรม 31

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติที่ส่งผลให้อาคารและ
ที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหาย

1. ศปง. ระดับจังหวัดรับทราบเหตุ
2. ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานระดับจังหวัด รายงานประธานศูนย์ประสานงานระดับ

ภูมิภาคพร้อมแนบข้อมูลดังนี้

2.1 ข้อมูลรายละเอียดความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย
2.2 รูปภาพความเสียหายที่ได้รับ


2.3 แบบกรอกข้อมูล INTERIOR XX-01 แบบกรอกข้อมูลการช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัย (ถ้ามี)
2.4 ระบุการช่วยเหลือที่เสนอ

3. ประธาน ศปง. ระดับภูมิภาค พิจารณาข้อมูลและรายงานต่อประธานฝ่ายใน
ประเทศผ่านกลุ่มไลน์ กก. ศปง. ภูมิภาค โดยบันทึกลงในโน๊ตมีวิธีการดังนี้

วิธีการรายงานในไลน์กลุ่ม

เสร็จแล้วกด โพสต์ ตัวอย่าง ตัวอย่าง

พิมพ์ เนื้อหาที่จะรายงาน

ลงชื่อ ประธาน ศปง. ภูมิภาค
แนบรูปภาพ

กดปุ่ม

3. ประธานฝ่ายในประเทศจัดทำบันทึกไปยังสำนักเลขานุการเพื่อขออนุมัติการช่วย
เหลือ

4. ศูนย์ประสานงานลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ
5. บันทึกการลงพื้นที่ข้อมูลลงใน Google Form เพื่อการเก็บข้อมูลการช่วยเหลือ
6. สรุปรายงานการดำเนินงาน

คู่มือนักมนุษยธรรม 32

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง เช่น วาตภัย
อุทกภัยใหญ่ เป็นต้น

1. ประธาน ศปง. ระดับภูมิภาค รายงานประธานฝ่ายในประเทศ
2. ประธานฝ่ายในประเทศรายงานสถานการณ์ให้กรรมการบริหารทราบ
3. ประธานฝ่ายในประเทศหารือแนวทางรูปแบบการช่วยเหลือและประเมินสถานการณ์ร่วม

กับกรรมการฝ่ายในประเทศ
4. ประธานฝ่ายในประเทศขออนุมัติงบประมาณไปยังสำนักเลขานุการ
5. ประธานฝ่ายในประเทศบัญชาการ ศูนย์ประสานงานในพื้นที่และประสานไปยังและศูนย์

ประสานงานอื่น ๆ เพื่อระดมสรรพกำลังการช่วยเหลือ ประสานศูนย์ประสาน งานฯ
หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในพื้นที่
6. จัดเตรียมสิ่งของเพื่อการแจกจ่ายให้ความช่วยเหลือ
7. ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ
8. ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคจัดทำรายงานสรุปการดำเนินงานเสนอประธานฝ่ายใน
ประเทศเพื่อนำเสนอในการประชุมกรรมการสภาเครือข่ าย ต่อไป

ระดับการการให้ความช่วยเหลือมี 3 ระดับ ได้แก่
ระดับที่ 1 การช่วยเหลือในระดับที่วิกฤต
ระดับที่ 2 การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
ระดับที่ 3 ประเมินความเสียหายเพื่อให้การช่วยเหลือ ฟื้นฟู และเยียวยา แก่ผู้ที่ได้รับความ

เสียหายที่กระทบต่อร่างกาย ชีวิต และทรัพย์สิน

คู่มือนักมนุษยธรรม 33

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

2. การช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนฉุกเฉิน/ภัยฉุกเฉิน ซึ่งได้รับผลกระ
ทบจากเหตุใด ๆ (อุบัติเหตุ ฆาตกรรม ตึกถล่ม ฯลฯ)

ผู้รับผิดชอบ: ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด/
กรรมการฝ่ายในประเทศ

กรอบการช่วยเหลือ: ช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้พ้นจากภัยอันตราย

ขั้นตอนการช่วยเหลือผู้เดือดร้อนฉุกเฉิน




1. ศปง./ฝ่ายในประเทศ/กรรมการสภาเครือข่ าย ได้รับข้อมูลความเดือดร้อน
2. ประธานฝ่ายในประเทศแจ้งกรรมการบริหารและนำเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการ

ฝ่ายในประเทศเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
3. ประธานฝ่ายในประเทศรายงานแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อกรรมการบริหาร

และทำบันทึกแจ้งสำนักเลขานุการเพื่อขออนุมัติการช่วยเหลือ
4. ฝ่ายในประเทศพร้อมศูนย์ประสานงานลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ
5. จัดทำรายงานสรุปการดำเนินงาน

3. การช่วยเหลือผู้ยากไร้ขั้นวิกฤต

3.1 ด้านการศึกษา/ด้านสาธารณสุข/ด้านการอุปโภคบริโภค
ผู้รับผิดชอบ : ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด/กรรมการฝ่ายใน

ประเทศ
กรอบการช่วยเหลือ : ช่วยเหลือเบื้องต้นเพื่อให้พ้นจากสภาพความเดือดร้อนและพ้น

ขีดอันตราย

ขั้นตอนการช่วยเหลือ :




1. ศปง./ฝ่ายในประเทศ/กรรมการสภาเครือข่ าย ได้รับข้อมูลความเดือดร้อน
2. ประธานฝ่ายในประเทศแจ้งกรรมการบริหารและนำเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการ

ฝ่ายในประเทศเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
3. ประธานฝ่ายในประเทศรายงานแนวทางการให้ความช่วยเหลือต่อกรรมการบริหาร

และทำบันทึกแจ้งสำนักเลขานุการเพื่อขออนุมัติการช่วยเหลือ
4. ฝ่ายในประเทศพร้อมศูนย์ประสานงานลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ
5. จัดทำรายงานสรุปการดำเนินงาน

คู่มือนักมนุษยธรรม 34

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

3.2 ด้านที่อยู่อาศัย
โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ยากไร้
บนแนวคิด “สร้างสังคมแห่งมนุษยธรรมบนพื้นฐานการรับผิดชอบร่วมกัน”
ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายในประเทศร่วมกับมูลนิธิคนช่วยฅน และชุมชน
กรอบการช่วยเหลือ :




โครงการสร้างบ้านเพื่อผู้ยากไร้ สร้างบ้านใหม่ ซ่อมแซมบ้าน ต่อเติมปรับปรุงบ้าน
เดิมของ ผู้ยากไร้ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น งบประมาณตั้งแต่ 10,000-300,000 บาท
โครงการแบ่งปันน้ำใจเปลี่ยนสายไฟบ้านผู้ยากไร้ ปรับปรุงระบบไฟภายในตัวบ้าน
ของผู้ยากไร้ให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐาน
โครงการบ้านน็อคดาวน์ 100 หลัง สร้างบ้านน็อคดาวน์ให้แก่ครอบครัวผู้ยากไร้ที่มีผู้
อยู่อาศัย 1-2 คน หรือเป็นผู้สูงอายุ งบประมาณตั้งแต่ 70,000-100,000 บาท

เกณฑ์การพิจารณา
1.ระดับความยากไร้อยู่ในภาวะวิกฤต
2.ผ่านการประเมินจัดอยู่ในระดับเป็นผู้ไร้ความสามารถ
3.ผ่านการเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากที่ประชุมผู้นำชุมชน

คู่มือนักมนุษยธรรม 35

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน




1. ประธานศปง. ระดับภูมิภาค/ผู้นำชุมชน/บุคคลทั่วไป นำเสนอข้อมูลผู้เดือดร้อนต่อคณะ
ทำงานโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ยากไร้

2. มอบหมายให้คณะทำงานลงพื้นที่ตรวจสอบและเก็บข้อมูลเชิงลึก
3. นำข้อมูลเข้าสู่วาระที่ประชุมคณะทำงานเพื่อพิจารณา
4. ลงพื้นที่จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและร่วมพิจารณาเห็นชอบจากผู้นำชุมชน

ชาวบ้านและผู้มีส่วนร่วมเพื่ออนุมัติโครงการ
5. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบโครงการในการดำเนินงาน ระดมทรัพยากรและงบประมาณจากใน

พื้นที่
6. สภาเครือข่ ายและมูลนิธิคนช่วยฅน เปิดรับบริจาคเพื่อสมทบทุนในโครงการ
7. ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนตามที่ประชุมได้กำหนด
8. ติดตามความคืบหน้าให้เป็นไปตามแผนการปฏิบัติงานและนโยบาย
9. ส่งมอบบ้านพร้อมสรุปรายงาน

คู่มือนักมนุษยธรรม 36

ขั้นตอนและวิธีการ 5
ปฏิบัติงาน

3.3 ด้านอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนหรือมีความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ภารกิจอื่น ๆ ที่ฝ่ายในประเทศรับผิดชอบ

• จัดตั้งและขับเคลื่อนกลุ่มเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมภายในประเทศ


• กำกับการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน สภาเครือข่ าย

• ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ภายในประเทศ ตามกรอบภารกิจ
• การพัฒนาศักยภาพบุคลากร
• สร้างนักมนุษยธรรม มนุษย์+ธรรม
• สร้างนักจิตอาสาด้านมนุษยธรรม
• โครงการอาหารเพื่อผู้ละศีลอดและผู้ยากไร้
ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายสิทธิประโยชน์/ฝ่ายในประเทศ

• การจัดสรรกุรบานในประเทศ


ผู้รับผิดชอบ : ฝ่ายในประเทศ/ฝ่ายผู้ลี้ภัย/ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและระดับจังหวัด

ขั้นตอนการดำเนินการ :
1. สอบถามความพร้อมของแต่ละพื้นที่ผ่านศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาค
2. ประชาสัมพันธ์รับจองกุรบานผ่านช่องทางต่าง ๆ
3. รวบรวมยอดจองและจัดสรรกุรบานให้ ศปงฯ. ระดับภูมิภาคดำเนินการ พร้อมแจก

จ่ายไปยังผู้ยากไร้และผู้ลี้ภัยในพื้นที่
4. รวบรวมภาพการแจกจ่ายเนื้อกุรบานจาก ศปง.
5. ประชาสัมพันธ์ภาพการแจกจ่ายเนื้อกุรบาน

คู่มือนักมนุษยธรรม 37

งานมนุษยธรรมในมิติของ 6
กฎหมาย

ในโลกแห่งการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมนั้น เป็นที่ทราบและยอมรับโดยทั่วไปว่า มี
ผู้คนจำนวนมากมายที่มีความทุกข์ ยาก ความเดือดร้อน อยู่ในภาวะที่ต้องการความช่วย
เหลือ โดยที่ไม่มีใครหรือหน่วยงานใดที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือให้ผู้คนพ้นจากความ
ยากลำบากได้เพียงลำพัง นักมนุษยธรรมจำนวนมากมายจึงได้อุทิศตนปฏิบัติภารกิจให้
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในระดับชุมชน สังคม ประเทศชาติ ไปจนถึง
ระดับโลก สภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ตระหนักในความ
เดือนร้อนของผู้คนในทุกระดับ
จึงได้สร้างนักมนุษยธรรม มนุษย์+ธรรม เพื่อรับใช้สังคม กระนั้นก็ดี หลายครั้งที่นัก
มนุษยธรรมโดยทั่วไปมักมุ่งเน้นแต่การให้ความช่วยเหลือ โดยขาดความรู้และความเข้าใจ
ในบทบาทและสิทธิของตวามเป็นนักมนุษยธรรม และมักทำหน้าที่โดยกระทบสิทธิของผู้อื่น
และบางครั้งละเมิดกฎหมาย โดยขาดความรู้หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

งานกฎหมายของสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
ตระหนักในปัญหาและข้อจำกัดในเรื่องนี้ จึงเห็นความจำเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานด้านมนุษยธรรม
ภายใต้การทำงานของสภาเครือข่ ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬา ราชมนตรี จะได้
มีความรู้เพื่อจะได้สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมตามกรอบการทำงาน
ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ขณะเดียวกันก็ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นและกฎหมายในประเทศและ
ระหว่างประเทศ จึงได้เสนอประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ซึ่งเป็นข้อควรรู้ในมิติอันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน

ประเด็นที่ 1 สถานภาพ ตัวตนขององค์กรเครือข่ ายภาคีสมาชิก
สภาเครือข่ าย ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย กระทำการโดยคณะหรือ

กลุ่มบุคคล โดยมีกรรมการบริหารสภาเครือข่ าย จนถึงกรรมการ ศปง. เป็นกลุ่มหรือคณะ
บุคคลที่ต้องมีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมใด ๆ ที่ได้กระทำต่อบุคคลภายนอกมีความ
สัมพันธ์ในลักษณะตัวการ ตัวแทน

คู่มือนักมนุษยธรรม 38

งานมนุษยธรรมใน 56
มิติของกฎหมาย

ประเด็นที่ 2 บทบาท อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ
ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยภายใต้หลักนิติรัฐ กล่าวคือ

รัฐใช้อำนาจใด ๆ ต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้ให้อำนาจกำหนดหน้าที่ไว้ชัดเจน และมีการ
ควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ดังนั้น บางกรณีรัฐอาจจะกระทำไม่ได้ เนื่องจาก
ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้

ส่วนเครือข่ ายภาคีสมาชิกเป็นองค์กรภาคประชาชน หน่วยงานเอกชน (NGO) ใช้สิทธิ
เสรีภาพของบุคคล จะทำการใดก็ได้ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามไว้ การกระทำ
เหล่านั้นได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นไม่ไป
กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐตามมาตรา 25 รัฐธรรมนูญ
พ.ศ.2560

ประเด็นที่ 3 การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการเป็นการกระทำทาง
ปกครองที่มีกฎหมายปกครองควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจอยู่

การออกคำสั่งทางปกครองใด ๆ ของราชการต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งมี
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองกำหนดหลักเกณฑ์การออกคำสั่งและ
ควบคุมการออกคำสั่งอยู่ ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย หรือคู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งคัดค้านคำสั่งได้
รัฐมีหน้าที่ดูแลคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิต ทรัพย์สินของประชาชน และอยู่ดีมีสุขใน
ชีวิต จึงมีกฎหมายหลายฉบับที่กำหนดอำนาจหน้าที่ให้รัฐหรือราชการต้องปฏิบัติในด้าน
การดูแลช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับความเสียหาย เช่น กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันภัย
ฝ่ายพลเรือน ที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเข้าควบคุม ดูแลพื้นที่ที่เกิดภัยพิบัติ มี
อำนาจที่จะสั่งห้ามการกระทำใด ๆ ที่อาจสร้างความเสียหาย หรือเป็นปัญหาอุปสรรคต่อ
การเข้าแก้ไขปัญหาในพื้นที่ การเข้าช่วยเหลือในพื้นที่ใด ๆ จึงต้องพิจารณาให้ละเอียด
รอบคอบ และที่สำคัญต้องประสานงานกับทางหน่วยงานรัฐในพื้นที่ด้วย

ประเด็นที่ 4 องค์กรรัฐที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน
องค์กรรัฐที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่อยู่ใกล้ชิดประชาชน คือ องค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่น (อปท.) ตั้งแต่เทศบาล องค์กรบริหารส่วนตำบล (อบต.) ต่าง ๆ มีอำนาจหน้าที่ค่อน
ข้างกว้างขวางในเรื่องการพัฒนาท้องถิ่น การแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยมีโครงสร้าง
องค์กร ประกอบด้วย

ผู้บริหาร คือ นายกเทศมนตรี นายก อบต.
สภาเทศบาล หรือ อบต.
มีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่
กำหนดให้ผู้บริหารของเทศบาล หรือ อบต. เป็นเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่มีอำนาจหน้าที่
ตามกฎหมายในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

คู่มือนักมนุษยธรรม 39

งานมนุษยธรรมใน 56
มิติของกฎหมาย

ประเด็นที่ 5 การช่วยเหลือคนต่างด้าว

ปัจจุบันคนต่างด้าวที่หลบหนีเข้าประเทศไทยซึ่งมีอยู่หลายประเภท ได้แก่


1. ผู้หลบหนีภัยสงครามการสู้รบในพื้นที่ชายแดน ส่วนใหญ่อยู่ในศูนย์อพยพดูแล

โดย UNHCR
2. หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายอยู่ตามชุมชนทั่วไปบางส่วนเป็นแรงงานข้ามชาติ

ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะที่จะกำหนดในเรื่องการแก้ไขปัญหา หรือให้

ความคุ้มครองคนต่างด้าวที่จัดเป็นกลุ่มผู้ลี้ภัยโดยเฉพาะ แต่ที่ใช้แก้ไขปัญหาอยู่คือ
พรบ.คนเข้าเมืองฯซึ่งเจ้าหน้าที่มักจะดำเนินโดยตั้งข้อหาเป็นคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
ผิดกฎหมาย แต่เมื่อถูกดำเนินคดีแล้วก็จะมีปัญหาเรื่องการผลักดันกลับประเทศต้นทาง
ถูกจับกุมคุมขังอยู่ในสถานที่กักตัวโดยไม่มีกำหนดเวลาซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากช่อง


ว่างที่ไม่มีกฎหมายกำหนดการคุ้มครองดูแลอย่างเป็นระบบ กลับกลายเป็นภาระของรัฐ

ที่จะต้องดูแลโดยไม่มีกำหนดเวลา โดยมีองค์กรเอกชนเข้าช่วยบ้างเป็นครั้งคราในบาง
กรณีซึ่งก็ยังไม่มีกฎระเบียบใดมารองรับ การช่วยเหลือยังคงเป็นลักษณะถ้อยทีถ้อย
อาศัยกัน

ประเด็นที่ 6 การช่วยเหลือคนต่างด้าวผิดกฎหมายหรือไม่
การช่วยเหลือคนต่างด้าวที่จะเข้าข่ ายผิดกฎหมายตามมาตรา 64 พรบ. คนเข้า

เมืองฯ ต้องเป็นการกระทำในลักษณะให้เข้าพักอาศัยซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการ
ใด ๆ เพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมมีประเด็นต้องระวางโทษ หากเป็นการช่วย
เหลือให้อาหารปัจจัยยังชีพ หรือพาไปพบแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล หรือช่วยเหลือ
เพื่อมนุษยธรรมก็ไม่เข้าองค์ประกอบของกฎหมายแต่อย่างใด เพราะไม่มีเจตนาเพื่อให้คน
ต่างด้าวพ้นจากการจับกุมตามข้อกฎหมายดังกล่าวข้างต้น

ในการเข้าให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นให้พ้นจากภัยพิบัติ ภัยอันตรายหรือภาวะ
ทุกข์ ยาก ลำเค็ญกฎหมายแพ่ งเกี่ยวกับความรับผิดชอบดังกล่าวยังได้ให้ความคุ้มครอง
บุคคลผู้เข้าช่วยเหลือไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด

คู่มือนักมนุษยธรรม 40

งานมนุษยธรรมใน 56
มิติของกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่ งและพาณิชย์ มาตรา 449 บุคคลใดเมื่อกระทำการป้องกันโดย
ชอบด้วยกฎหมาย กระทำตามคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย หากก่อให้เกิดเสียหายแก่ผู้อื่น
ท่านว่าบุคคลนั้นหาต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่

มาตรา 450 ถ้าบุคคลทำบุบสลาย หรือทำลายทรัพย์สิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อจะบำบัด ปัด
ป้องภัยอันตราย ซึ่งมีมาเป็นสาธารณะโดยฉุกเฉิน ท่านว่าไม่จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หากความเสียหายนั้นไม่เกินสมควรแก่เหตุภยันตราย

กรณีตัวอย่างไฟไหม้บ้านเรือน ผู้ช่วยเหลือต้องเข้าทางบ้านอีกหลังหนึ่ง ซึ่งไม่มีทาง
เลือกใดอีก ผู้เข้าช่วยเหลืออาจจะมีความจำเป็นต้องทุบทำลายประตูหน้าต่างบ้าน เพื่อ
เข้าไปช่วยเหลือบุคคลให้พ้นอันตรายสามารถทำได้โดยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
เป็นต้น

นอกจากนี้แล้ว บุคคลที่ต้องการความช่วยเหลือหรือถูกกระทำอาจได้รับการชดเชย
เยียวยาค่าตอบแทนหรือค่าทดแทนจากรัฐได้ในคดีบางประเภท ตาม พรบ. ค่าตอบแทนผู้
เสียหายและค่าทดแทนแก่จำเลย พ.ศ.2545 โดยติดต่อยื่นคำขอความช่วยเหลือต่อ
สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ซึ่งมีอยู่ทุกจังหวัดขณะนี้ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิของพลเมืองที่รัฐ
มีหน้าที่คุ้มครองดูแลความสุขความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คู่มือนักมนุษยธรรม 41

ภาคผนวก 7

ธรรมนูญ ระเบียบ

คำสั่งสภาเครือข่าย

คู่มือนักมนุษยธรรม 7 42
ภาคผนวก
แบบฟอร์มต่าง ๆ
1. บัญชี และการเงิน
1.2 ใบสำคัญจ่ายเงินฝ่ายในประเทศ
1.1 ใบสำคัญรับเงินฝ่ายในประเทศ

1.3 ใบสำคัญจ่ายศูนย์ประสานงาน 1.4 ใบสำคัญรับเงิน CHNS

คู่มือนักมนุษยธรรม 43
ภาคผนวก
7

2. แบบฟอร์มเก็บข้อมูลการลงพื้นที่
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

01-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคใต้ตอนบน
02-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคใต้ฝั่ งอันดามัน
03-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคใต้ตอนกลาง
04-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคใต้ตอนล่าง
05-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคกลาง
06-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
07-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคเหนือตอนล่าง
08-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคเหนือตอนบน
09-01 : แบบฟอร์มเก็บข้อมูลฯ ภาคตะวันออก

คู่มือนักมนุษยธรรม 44
ภาคผนวก
7

3. แบบกรอกข้อมูลผู้ได้รับเสนอชื่อกรรมการ
ศูนย์ประสานงานระดับภูมิภาคและจังหวัด

ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด
แบบกรอกข้อมูลออนไลน์

คู่มือนักมนุษยธรรม 45
ภาคผนวก
7

4. แบบกรอกข้อมูล
ของศูนย์ประสานงาน (ข้อมูลติดต่อ/เลขที่บัญชีธนาคาร)


Click to View FlipBook Version