The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

การเขียนรายงานการประชุม

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by balhee37, 2021-09-13 09:37:36

การเขียนรายงานการประชุม

การเขียนรายงานการประชุม

Keywords: การเขียนรายงานการประชุม

การเขียนรายงานการประชุม

นางสาว ฟาเดยี เล็มเละ
รหสั นักศกึ ษา 6401103001027

รายงานฉบบั นเี้ ป็นสว่ นหนึ่งของรายวชิ า วาทวทิ ยาสำหรบั ครู
ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สรุ าษฎร์ธานี



การเขียนรายงานการประชุม

นางสาว ฟาเดยี เล็มเละ
รหสั นักศกึ ษา 6401103001027

รายงานฉบบั นเี้ ป็นสว่ นหนึ่งของรายวชิ า วาทวทิ ยาสำหรบั ครู
ภาคเรียนท่ี 1 ปีการศึกษา 2564
มหาวทิ ยาลัยราชภฏั สรุ าษฎร์ธานี



คำนำ

งานประชุมเป็นภารกิจสำคัญอย่างหนึ่ง เนื่องจากเป็นแหล่งระดมความคิดในการวางแผน
นโยบาย ตลอดจนแนวปฏิบัติ หรือระดมความคิด เพื่อให้การปฏิบัติงานของกิจกรรมใดกิจกรรมหน่ึง
สำเร็จตามเป้าหมาย ซ่ึงบุคคลที่ทำหน้าที่เลขานุการหรือได้รับมอบหมายให้ดำเนินการในเร่ืองของการ
ประชุม จะต้องทำการจดบันทึกและจัดทำรายงานการประชุม ซ่ึงจะต้องมีทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น การ
สรุปความ จับประเดน็ และการถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาเขียน

รายงานฉบับน้ีจัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนรายงานการประชุม โดยรวบรวมข้อมูลท่ี
สำคัญท่ีเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ทำหน้าท่ีจดรายงานการประชุมชุดต่าง ๆ โดยเนื้อหาประกอบด้วย
ความหมายและความสำคัญของรายงานการประชุม ระเบียบวาระการประชุม และเทคนิคการเขียน
รายงานการประชุม เป็นต้น ผู้จัดทำหวังเปน็ อย่างย่ิงว่า รายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
ของผูท้ ำหนา้ ท่ีจดรายงานการประชมุ เพื่อเพ่มิ ทกั ษะในการเขยี นรายงานการประชุมต่อไป

นางสาว ฟาเดยี เล็มเละ
๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๔



สารบญั

เรอ่ื ง หน้า
คำนำ………………………………………………………………………………………………………………….…………..………….ก
สารบัญ……………………………………………………………………………………………………………….………………………ข
๑. ความหมายและความสำคัญของรายงานการประชุม……………………………………………………..…………....๑
๒. รูปแบบและการพิมพร์ ายงานการประชมุ ……………………………………………………………………….…..........๒
๓. ประเภทของการประชุม…………………………………………………………………………………………..….………..…๕
๔. ระเบียบวาระการประชุม……………………………………………………………………………………..…………….…....๗
๕. วิธีการจดรายงานการประชุม……………………………………………………………..……………….……………...……๙
๖. คำอธบิ ายการเขียนรายงานการประชุม……………………………………………………….…………………………..๑๐
๗. การใช้ภาษาในรายงานการประชุม……………………………………………………………………….…………………๑๒
๘. คุณสมบตั ิของผู้จดและจัดทำรายงานการประชุมที่ดี…………………………………………………………….……๑๕
๙. เทคนิคการเขียนรายงานการประชมุ ………………………………………………….…………………….…….……….๑๕
๑๐. การเขยี นจดหมายเชญิ ประชมุ ……………………………..………………………………………………………………๑๖
๑๑. ลักษณะของรายงานการประชุมทีด่ ี……………………………………………………………………….……………..๑๖
ภาคผนวก…………………………………………………………………………………………………………………………..……๑๘
บรรณานกุ รม……………………………………………………………………………………………………………………………๒๒

1

ในการประชุมของหน่วยงานหรือคณะบุคคล มักมีการจดบันทึกหลักฐานไว้อย่างชัดเจน ซ่ึง
เรยี กว่า รายงานการประชุม ระเบยี บสำนักนายกรัฐมนตรีวา่ ด้วยงานสารบรรณ ฯ ได้กำหนดระเบียบวาระ
การประชุม และการเขียนไว้ชัดเจน ซ่ึงนับว่ารอบคอบและเป็นบรรทัดฐานที่ดี แต่ส่วนราชการต่าง ๆ ก็
มิได้นำไปใช้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดความแตกต่างหรือลักลั่นกันไม่น้อย และมีปัญหากันอยู่เสมอว่าเขียน
อย่างไรจึงจะถูกต้องและ เหมาะสม จึงขอเสนอรูปแบบตามระเบียบสารบรรณ ตลอดจนวิธีการและ
เทคนิคการเขียนเพอ่ื ให้ สามารถนำไปปฏบิ ัตไิ ด้อย่างถกู ต้อง

๑. ความหมายและความสำคญั ของรายงานการประชุม
๑.๑ ความหมายของรายงานการประชุม
คำว่า รายงานการประชุม เป็นคำนาม หมายความว่า “รายละเอียดหรือสาระของการ

ประชุมท่ีจดไว้เป็นทางการ” (พจนานุกรมฉบับราชบณั ฑิตยสถาน ๒๕๕๔ : ๙๙๙) และตามระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบัญ ฯ หน้า ๑๑๖ ให้ความหมายว่า “การบันทึกความคิดเห็นของผู้มา
ประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของท่ีประชุมไว้เป็นหลักฐาน” คำว่ารายงานการประชุม บางครั้งใช้
ปะปนกับคำว่า บันทึกการประชุม และ บันทึกรายงานการประชุม ซ่ึง ๒ คำหลังน้ีไม่ปรากฏใน
พจนานุกรม แต่มคี ำว่า บนั ทึก ซง่ึ เป็นข้อความที่จัดไวเ้ พ่ือช่วยความทรงจำหรือเป็นหลักฐาน (พจนานุกรม
ฯ : ๖๖๔) หรอื เป็นกิริยาในการจด ข้อความดงั กล่าว และใน (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑติ ยสถาน ๒๕๕๔
และตามระเบียบนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย งานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖) ให้ความหมายว่า “การบันทึกความ
คดิ เหน็ ของผู้มาประชมุ ผู้เข้ารว่ มประชุม และมตทิ ป่ี ระชุมไว้เป็นหลกั ฐาน”

สำหรับผ้จู ดรายงานการประชุม บางแห่งใช้คำว่า ผู้จดบันทึกการประชุม บางแห่งใช้ผจู้ ด
บนั ทึก รายงานการประชมุ ซง่ึ อาจนำมาจากคำ ๒ กลุ่มคอื ผู้จดบันทึก - รายงานการประชุม แต่คำหลังนี้
ค่อนข้างยาว และซ้ำซ้อน จึงควรใช้คำว่า ผู้จดรายงานการประชุม ซึ่งเป็นคำท่ีใช้ในระเบียบสำนัก
นายกรัฐมนตรฯี เพอื่ ให้ เปน็ มาตรฐานเดียวกัน

๑.๒ ความสำคัญของรายงานการประชุม
รายงานการประชุมเป็นรายงานประเภทหนึง่ ที่มคี วามสำคัญอย่างยิ่ง สรุปไดด้ ังน้ี

๑.๒.๑) เป็นองค์ประกอบของการประชุม การประชมุ อย่างเปน็ ทางการนัน้ จะ
มอี งคป์ ระกอบทั้งหมด ๘ ประการ ไดแ้ ก่ ๑. ประธาน ๒. องค์ประชมุ ๓. เลขานุการ ๔. ญัตติ ๕. ระเบยี บ
วาระการประชมุ ๖. มติ ๗. รายงานการประชมุ และ ๘. หนงั สือเชญิ ประชมุ

๑.๒.๒) เป็นหลกั ฐานการปฏิบัตงิ าน การปฏิบตั งิ านในองคก์ รใด ๆ ก็ตาม ย่อม
มีการประชุมเพ่ือ รายงานผลการปฏิบัติงาน แลกเปลี่ยนความคิดเห็น กำหนดนโยบาย พิจารณาข้อเสนอ
ฯลฯ รายงานการ ประชุมจะเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงผลการปฏิบัติงาน หรอื กิจการของหน่วยงานท่ีผ่าน
มา เพอ่ื เปน็ หลกั ฐาน ขององคก์ รตอ่ ไป

2

๑.๒.๓) เป็นเคร่ืองมือติดตามงาน รายงานการประชุมที่มีการจดมติไว้อย่าง
ชัดเจนจะเป็น หลักฐานสำคัญให้เลขานุการหรือผู้ได้รับมอบหมายได้ติดตามงานตามมติท่ีประชุม การ
ประชุมส่วนใหญ่จะมี ระเบียบวาระ “เร่ืองที่เสนอให้ท่ีประชุมทราบ” ซ่ึงผู้ปฏิบัติจะรายงานผลหรือ
ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ตามมตทิ ี่ประชุมครง้ั ก่อน อนั จะเปน็ ประโยชน์แก่องคก์ รให้สามารถเร่งรัด
พฒั นางานอยา่ งเต็มท่ี

๑.๒.๔) เป็นหลักฐานอ้างอิง รายงานการประชุมที่มีการรับรองจากที่ประชุม
แล้วถอื เปน็ เอกสารที่ ใชอ้ า้ งอิงได้ตามกฎหมาย หากมีปัญหาหรอื ความขัดแย้งในทางปฏิบัติ สามารถใช้มติ
การประชุมเพ่ือยุติข้อ ขัดแย้งได้ หรือหากมปี ัญหาทางกฎหมาย เช่น บุคคล หรือหน่วยงานปฏิบตั ิงานโดย
ไม่เป็นไปตามมติ กส็ ามารถ ใชร้ ายงานการประชมุ เป็นหลกั ฐานส่วนหนงึ่ ในการดำเนนิ การตามกฎหมายได้

๑.๒.๕) เปน็ ขอ้ มลู ข่าวสาร เลขานุการจะส่งรายงานการประชุมให้ผูเ้ ข้าประชุม
ได้รับทราบข้อมูล หรือทบทวนเร่ืองราวที่ผ่านมาในการประชุมคร้ังก่อนเพ่ือให้ต่อเน่ืองกับการประชุมคร้ัง
ตอ่ ไป

รายงานการประชุมท่ีไม่ใช่เรื่องปกปิด ยังเป็นข้อมูลข่าวสารประเภทหนึ่งท่ีสามารถเผยแพร่ แก่
บุคคลในองค์กรให้รับทราบผลงานหรือความเคลื่อนไหวขององค์กร นับเป็นรูปแบบหน่ึงของการ
ประชาสัมพนั ธ์ ภายในเพ่อื สรา้ งความเข้าใจอันดตี อ่ องค์กรด้วย

๒. รูปแบบและการพิมพ์รายงานการประชมุ
๒.๑ รูปแบบรายงานการประชุม รายงานการประชุมอาจมีรูปแบบแตกต่างกัน ตามที่

หน่วยงาน เห็นว่าเหมาะสม แต่ที่นับว่าสมบูรณ์ครบถ้วนคือรูปแบบตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า
ดว้ ยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ดังน้ี

แบบรายงานการประชุม 3
(ตามระเบยี บขอ้ ๒๕) แบบท่ี ๑๑

รายงานการประชมุ ........................................
ครงั้ ท่.ี .................................

เม่อื ...................................................
ณ...............................................

ผู้มาประชมุ
ผไู้ มม่ าประชุม (ถ้ามี)
ผู้เขา้ ร่วมประชมุ (ถ้ามี)
เรม่ิ ประชุมเวลา

(ข้อความ)…………………………………………………………………………………………………………………………
..…………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
.….………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
.…….……………………………………………………………………………………………………………………………………………..
.……….…………………………………………………………………………………………………………………………………………..
.………….………………………………………………………………………………………………………………………………….......
เลกิ ประชุมเวลา

..............................................
ผจู้ ดรายงานการประชุม

4

๒.๒ รูปแบบการพิมพ์รายงานการประชุม การพิมพ์รายงานการประชุมไม่มีรูปแบบท่ี
อธิบายไว้ ชัดเจนในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานต่าง ๆ จึงใช้รูปแบบการพิมพ์ที่แตกต่างกัน
หลายแห่งพิมพ์ แบบบทละคร คือมีชื่อหรือตำแหน่งผู้พูดอยู่ชิดซ้าย ส่วนข้อความจะย่อหน้าเข้าไปและ
พิมพ์ตรงยอ่ หนา้ นัน้ ซึ่งคงจะมีเจตนาใหเ้ หน็ ชอื่ ผู้พูดเด่นชัด ดงั ตัวอย่าง

ประธาน …………………………………………………………............................
ผอู้ ำนวยการกองช่าง …………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………….
…………………………………………………………………………………

รูปแบบการพิมพ์เช่นนี้ ไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้พ้ืนท่ีการพิมพ์หดแคบลงเกือบคร่ึงหน้า เป็น
การสิ้นเปลืองหน้ากระดาษอย่างมาก รายงานการประชุมจึงหนาโดยมีเนื้อหาสาระน้อย รายงานการ
ประชมุ นัน้ สำคญั ท่ีเนื้อหาสาระ มิใชบ่ ทละครทเี่ นน้ ตัวผู้แสดง

รูปแบบท่ีเหมาะสมควรย่อหน้าเฉพาะบรรทัดแรก ส่วนบรรทัดต่อไปพิมพ์ชิดขอบกระดาษ ซ้าย
ทั้งหมด โดยเว้นขอบกระดาษซ้าย ๓ เซนติเมตร และขอบกระดาษขวา ๒ เซนติเมตร ตามรูปแบบของ
หนังสือราชการ ด้านขวานั้นจะก้ันตรงหรือไม่ก็ได้ หากก้ันตรงจะต้องระมัดระวังการเว้นวรรคและการตัด
คำ ระหวา่ งบรรทัดใหถ้ ูกตอ้ ง หากไมก่ ัน้ หลังตรงจะรักษาความถกู ต้องได้ดีกว่า รปู แบบท่ีเหมาะสม
ดังตวั อย่าง

ประธานกล่าวสรปุ วา่ …………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………….........................……

ผูอ้ ำนวยการกองชา่ งชแี้ จงวา่ ……………………………………………………………………............
……………………………………………………………………………………………………………………………..

5

๓. ประเภทของการประชุม

๓.๑ การประชมุ เพอ่ื แจง้ ใหท้ ราบ

วัตถุประสงค์ - เพื่อแจง้ คำสงั่

- เพื่อชี้แจงนโยบาย - วตั ถุประสงค์ - วธิ ปี ฏบิ ตั ิ

- เพอ่ื แถลงผลงาน หรอื ความกา้ วหนา้ ของงาน

(ตัวอย่าง : การปฐมนิเทศ การบรรยายทางวิชาการ)

ผู้แจง้ - ต้องเตรียมเรอื่ งท่ีจะแจ้งให้เขา้ ใจอย่างชัดเจน

ผู้ฟัง - ต้องตง้ั ใจฟงั สงสยั ใหซ้ ักถาม

- ไมม่ หี น้าทแ่ี สดงความคดิ เห็น

ลกั ษณะสำคัญ - ไมม่ กี ารลงคะแนนเสียง

๓.๒ การประชมุ เพื่อขอความคดิ เห็น

วัตถุประสงค์ - เพ่ือฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อ

ประธานหรือผ้เู กย่ี วขอ้ งจะนำไปประกอบการตัดสินใจ (ตัวอย่าง : การสมั มนา)

ลักษณะเฉพาะ - ความเห็นของผเู้ ขา้ รว่ มประชุมไม่มีผลผกู พันตอ่ การ

ตดั สินใจของประธาน

- ผู้ เข้ าร่ว ม ป ระ ชุ ม มี ห น้ าท่ี ให้ ค ว าม คิ ด เห็ น

ความสามารถที่จำเป็น คือ การพูด การฟัง และการ

ให้เหตุผล

- ไมม่ กี ารลงคะแนนเสียง

จุดอ่อน - ผู้เข้าร่วมประชุมบางคนไม่ยอมพูดในที่ประชุมแต่

กลับไปพูดนอกห้องประชมุ

6

๓.๓ การประชมุ เพื่อหาข้อตกลงรว่ มกนั

วตั ถุประสงค์ - เพ่ือหาข้อตกลงร่วมกันซ่ึงผูกพันการกระทำของ

ผู้เข้าร่วมประชุม (ตัวอยา่ ง : การเจรจาตกลง)

ลักษณะเฉพาะ - ผู้เข้ารว่ มประชุมมสี ่วนได้สว่ นเสีย

- มกั มีบรรยายเครง่ เครียด ต้องสรา้ งบรรยากาศเอง

- ความร่วมมือการส่ือสารที่มีประสิทธิภาพ และการ

ใช้เหตุผลอย่างมหี ลกั เกณฑเ์ ปน็ เงือ่ นไขสำคัญ

- เมื่อมีการโต้แย้งจนเหลือคู่แข่ง 2-3 คนแล้วอาจมีผู้

ขอใหป้ ระธานเป็นผู้ตัดสนิ ใจ

ประธาน - ตอ้ งกำหนดประเดน็ ใหช้ ดั เจน

- วางตัวเปน็ กลางอยา่ งเครง่ ครัด

- อาจกำหนดเกณฑ์การตัดสินใจด้วยว่าควรจะทำ
อย่างไร

ผเู้ ขา้ ร่วมประชุม - ถ้าคนมีส่วนได้ส่วนเสียต้องเตรียมเหตุผลที่จะ
สนับสนุนสิ่งที่ตนเองต้องการและขณะเดียวกันต้อง
ใจกวา้ งท่ีจะรบั ฟงั ความคดิ เหน็ ของผู้อน่ื ด้วย

๓.๔ การประชมุ เพ่อื หาข้อยุติ หรอื เพอื่ แก้ปัญหา

ลกั ษณะสำคญั - ผู้เข้าร่วมประชุมมีความทัดเทียมกันในการแสดง

ขอ้ คิดเหน็ เพ่อื หาข้อยุติ หรอื หาทางแกป้ ญั หา

ประธาน - ในการประชุมเพื่อหาข้อยุติร่วม ประธานต้องช้ี

ประเด็นหลักให้ท่ีประชุมหาข้อยตุ ิ โดยนำเสนอข้อมูล

พ้ืนฐานรวมท้ังประเด็นกฎหมาย เพ่ือประกอบการ

พิจารณา และสรปุ ขอ้ ยตุ ิรว่ มจากที่ประชมุ

- ในการประชุมเพื่อแก้ปัญหา ประธานต้องช้ีให้ที่

ประชุมเห็นว่าปัญหาคืออะไร ที่ต้องให้เกิดข้ึนคือ

อะไร ขณะน้ีเบี่ยงเบนอย่างไรกอ่ ให้เกดิ ความเสยี หาย

อยา่ งไร ขอให้ทีป่ ระชุมพิจารณาสาเหตขุ องปัญหา

ต่อไป ขอให้ท่ีประชุมพิจารณาหนทางแก้ปัญหาซึ่ง

มกั มหี ลายๆ ทาง ทีป่ ระชุมควรเลอื กแก้ปัญหาทางใด

7

๔. ระเบียบวาระการประชุม
๔.๑ ความหมายและความสำคัญของระเบยี บวาระการประชุม
คำว่า ระเบียบวาระ หมายความ ว่า ลำดับรายการท่ีกำหนดไว้เสนอที่ประชุม

(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ๒๕๕๔ : ๙๘๑) คำน้ีจึง ใช้สำหรับการประชุมโดยเฉพาะ บาง
หน่วยงานใช้คำว่า วาระ ซึ่งอาจเห็นว่าเป็นคำสั้น ๆ แต่คำน้ีควรใช้เฉพาะ ในภาษาพูดเท่าน้ัน ไม่ควรใช้ใน
รายงานการประชุม เพราะ วาระ หมายถึง เวลาหรือโอกาสท่ัวไป มิได้มี ความหมายเก่ียวกับการประชุม
แตอ่ ยา่ งใด

ระเบียบวาระการประชุมมีความสำคัญหลายประการ กล่าวคือ ทำให้ผู้เข้า
ประชุมทราบขอบเขตของการประชุมและทราบประเด็นล่วงหน้า สามารถเตรียมข้อมูลและความคิดเห็น
เพื่อเสนอท่ีประชุมได้ หรือหากไม่เข้าประชุมเองก็จะได้มอบหมายผู้ท่ีเก่ียวข้องกับเรื่องน้ัน ๆ เข้าประชุม
แทน

นอกจากน้ัน ยังเป็นการจัดระเบียบการประชุมให้ดำเนินไปตามลำดับ ป้องกัน
การพูดข้ามระเบียบ วาระหรืออภิปรายนอกเรื่อง ประธานสามารถจัดแบ่งเวลาให้เหมาะสมกับระเบียบ
วาระต่าง ๆ หากไมม่ ี ระเบียบวาระชัดเจน อาจมีการอภิปรายมากเกินจำเป็น ทำให้ไม่สามารถควบคุมการ
ประชมุ ให้แลว้ เสรจ็ ตาม กำหนดเวลาได้

๔.๒ รปู แบบของระเบียบวาระการประชุม
ก. รปู แบบการประชุมที่เปน็ ทางการ ในการประชุมใหญ่ ๆ หรอื การประชุมทจ่ี ัด

อย่าง สม่ำเสมอเป็นประจำ มักใช้รูปแบบท่ีมีระเบียบวาระเหมือนกันทุกครั้ง ท้ังน้ี เพื่อให้ส่ือความเข้าใจ
ชดั เจน ตรงกัน ระเบียบวาระดงั กลา่ วมดี งั นี้

ระเบยี บวาระท่ี ๑ เร่ืองทปี่ ระธานแจ้งใหท้ ีป่ ระชุมทราบ
๑.๑ ............................................................................................
๑.๒ ............................................................................................

ระเบยี บวาระที่ ๒ เรื่องการรับรองรายงานการประชมุ
ระเบียบวาระที่ ๓ เรอื่ งท่ีเสนอให้ทป่ี ระชมุ ทราบ

๓.๑ .............................................................................................
๓.๒ .............................................................................................
ระเบียบวาระที่ ๔ เร่ืองทเี่ สนอให้ท่ีประชมุ พิจารณา
๔.๑ ..............................................................................................
๔.๒ ..............................................................................................
ระเบยี บวาระที่ ๕ เร่ืองอ่นื ๆ (ถ้ามี)

8

ข. รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ ท่ีประชุมอาจกำหนดรูปแบบง่าย ๆ โดยไม่ต้องมี
ระเบียบวาระ ครบถ้วนเป็นแบบฉบับ มักใช้ในการประชุมที่ไม่ค่อยเป็นทางการหรือท่ีประชุมกลุ่มย่อย ๆ
หัวข้อประชุม เพียงแต่เรียงลำดับ ๑ – ๒ – ๓ - ๔ เทา่ นนั้

ค. รปู แบบท่หี นว่ ยงานกำหนด บางหน่วยงานอาจกำหนดรปู แบบเฉพาะในกรณี
ที่มีเหตุผล ความจำเป็น เช่น เรื่องสืบเนื่อง อย่างไรก็ตาม รูปแบบตามระเบียบสำนักนายกน้ันสมบูรณ์
ครบถ้วนอยแู่ ลว้ ไม่ จำเปน็ ตอ้ งเพ่ิมขอ้ ใหม่แตอ่ ยา่ งใด

๔.๓ รายละเอยี ดในระเบียบวาระการประชมุ
ระเบยี บวาระที่ ๑ เร่อื งท่ีประธานแจง้ ให้ทปี่ ระชุมทราบ
เมื่อประธานกล่าวเปิดประชุมแล้ว หากไม่มีเร่ืองแจ้งทราบก็เขียนว่า ไม่มี

ระเบียบวาระที่ ๑ น้ีไม่ต้องมีการลงมตเิ พราะไมใ่ ช่เรื่องพิจารณา แต่อาจมี ข้อสังเกตได้ ระเบียบวาระนี้จะ
ลงท้ายว่า ท่ีประชุม รับทราบ ที่ประชุมบางแห่งใช้คำว่า เรื่องแจ้งเพ่ือทราบ ซ่ึงไม่ชัดเจนว่าผู้ใดแจ้ง บาง
แห่งนำระเบียบวาระที่ ๓ มารวมด้วย คือกรรมการต่าง ๆ แจ้งหรือรายงานท่ีประชุมด้วย ซ่ึงอาจทำให้
สับสน ฉะนั้น หากเป็นการ ประชุมท่ีสำคัญควรแยกระเบียบวาระที่ ๑ ให้ประธานเท่าน้ันเป็นผู้แจ้ง ถือ
เป็นการใหเ้ กียรตปิ ระธานดว้ ย

ระเบยี บวาระท่ี ๒ เรอ่ื งการรับรองรายงานการประชุม
ประธานจะเป็นผู้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณารายงานการประชุมคร้ังท่ีผ่านมา
โดยอาจให้ พิจารณาทีละหน้า ในกรณที ี่มิได้ส่งลว่ งหนา้ หรือรายงานไมย่ าวมาก ถ้าส่งใหอ้ ่านลว่ งหน้าแล้ว
จะเสนอครั้งละ หลายหน้ากรณีที่รายงานมีความยาวมาก เพ่ือประหยัดเวลา หากมีผู้เสนอแก้ไข
เลขานุการจะตอ้ งบนั ทึก ขอ้ ความท่ีแก้ไขใหม่อยา่ งละเอียด และขอ้ ความใหมจ่ ะตอ้ งปรากฏในรายงานการ
ประชุมครัง้ ใหมด่ ้วย ระเบยี บวาระน้ีจะลงท้ายวา่ “ที่ประชุมพิจารณาแล้วรับรองรายงานการประชุมครงั้ ท่ี
...... โดยไม่มีการแก้ไข (หรือ มีการแก้ไขดังน้ี .......)” การรับรองรายงานการประชุมจะต้องรับรองในที่
ประชุมเท่านั้น ยกเว้นบางกรณีท่ีใช้การ รับรองโดยการแจ้งเวียน ตามระเบียบข้อ ๓ การรับรองรายงาน
การประชุมท่ีกล่าวมาแล้วขา้ งตน้
ระเบยี บวาระท่ี ๓ เรอื่ งที่เสนอใหท้ ป่ี ระชุมทราบ
บางแห่งใช้คำว่า เร่ืองสืบเน่ือง คือสืบเนื่องจากการประชุมคร้ังที่แล้ว เป็นการ
รายงานผลการ ปฏิบัติงานท่ีได้รับมอบหมายในการประชุมคร้ังก่อน ๆ แต่การใช้คำว่า เร่ืองสืบเน่ือง อาจ
ทำให้เกิดความผิดพลาด โดยมีการน าเร่ืองที่เลื่อนจากการพิจารณาครั้งก่อนมาพิจารณาและลงมติใน
ระเบยี บวาระนี้ ทำให้สับสนกับ ระเบยี บวาระที่ ๔ ซง่ึ เปน็ เร่ืองพจิ ารณาโดยเฉพาะ
ในการประชุมส่วนใหญ่ ระเบียบวาระที่ ๓ นี้เป็นเร่ืองท่ีผู้เข้าประชุมจะรายงานผลงาน
หรือ เรอื่ งราวสำคัญในหน่วยงานของตน ที่ประชุมเพียงแต่รับทราบ หรือมีข้อสังเกต เช่นเดยี วกบั ระเบียบ
วาระท่ี ๑

9

ระเบียบวาระที่ ๔ เรือ่ งทีเ่ สนอใหท้ ี่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระท่ี ๔ นี้เป็นหัวใจของการประชุม เลขานุการจะต้องส่งข้อมูล
ประกอบการ พิจารณาให้กรรมการศึกษาล่วงหน้า หากขอ้ มูลมากจะต้องสรปุ สาระสำคัญใหก้ รรมการอ่าน
ด้วย หัวข้อตา่ ง ๆ ท่ีจะนำมาพิจารณาจะตอ้ ง ต้งั ชื่อเร่ือง ใหก้ ระชับชัดเจนทุกเรือ่ ง เมื่อผเู้ กี่ยวข้องอา่ นกจ็ ะ
ทราบทนั ทวี า่ เป็น เรอ่ื งใด ทำให้ประหยดั เวลาอ่าน และท่ปี ระชมุ กอ็ ภิปรายได้ตรงประเด็น

ตัวอย่างการต้ังชือ่ เร่อื ง เชน่
๔.๔.๑) พิจารณาจดั สรรทนุ การศกึ ษาแกบ่ ตุ รขา้ ราชการ
๔.๔.๒) การจดั งานในวนั คลา้ ยวันสถาปนากระทรวงสาธารณสขุ
ระเบียบวาระท่ี ๔ จะลงท้ายด้วยมติที่ประชุม เช่น “ที่ประชุมมีมติ
อนุมัติตามเสนอ” หรือ “ท่ีประชมุ พจิ ารณาแล้วมีมตดิ ังน้ี ๑.... ๒.... ๓....” มติทป่ี ระชุมจะต้องกระชับและ
ชดั เจนว่าอนุมัติหรอื ไม่ มอบหมายใหใ้ คร ทำอะไร ใหแ้ ลว้ เสรจ็ เมื่อไร อย่างไร
ระเบียบวาระท่ี ๕ เร่ืองอืน่ ๆ (ถ้ามี)
ระเบียบวาระนี้จะเป็นเร่ืองเร่งด่วนที่มิได้แจ้งล่วงหน้า ไม่สามารถบรรจุไว้ใน
ระเบียบวาระท่ี ๓ หรือท่ี ๔ ได้ทัน จะเป็นเรื่องแจ้งเพื่อทราบ หรือเรื่องเสนอเพ่ือพิจารณา หรือเรื่องการ
นัดประชุมคร้ังต่อไปก็ได้ ภาษาพูดเรียกว่า “วาระจร” ในรายงานการประชุมจะไม่มีคำว่า (ถ้ามี) จะเขียน
ไว้เฉพาะในระเบยี บวาระทส่ี ง่ ไปล่วงหน้าเท่าน้นั
สรุป การจดรายงานการประชุม จะต้องมีระเบียบวาระครบถ้วนทั้ง ๕ หัวข้อ หากข้อ
ใดไม่มี ให้ เขียนว่า “ไม่มี” ไม่ควรตัดออกโดยเล่ือนระเบียบวาระอ่ืน ๆ มาแทน เพราะจะทำให้ตัวเลข
สับสน หาก เปรียบเสมือนตู้ลิ้นชัก จะต้องมีระเบียบวาระครบถ้วนทั้ง ๕ ล้ินชัก ล้ินชักใดไม่มีเร่ืองบรรจุก็
คือลิน้ ชกั วา่ ง มิใช่ ดงึ ทิ้งแล้วเลอ่ื นลน้ิ ชักอน่ื มาแทน

๕. วธิ กี ารจดรายงานการประชุม
๕.๑ จดอย่างละเอียด ใช้ในการประชุมท่ีสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องบันทึกทุกถ้อยคำไว้เป็น

หลกั ฐาน โดยต้องจดทุกคำพูดของผู้เข้าประชุมทกุ คน หรือถ้าท่ปี ระชมุ มีการแสดงกริยา หรือการกระทำใด
แทนคำพูด ก็อาจจะจดแจ้งกริยาหรือการกระทำน้ันไว้ด้วย โดยเขียนไว้ในวงเล็บ เช่น (ที่ประชุมปรบมือ)
เป็นตน้ การจดลักษณะนน้ี ยิ มใช้เครื่องบนั ทกึ เสียงแลว้ จงึ มาถอดเทปภายหลงั

๕.๒ จดอยา่ งย่อ จะจดเฉพาะเรือ่ งท่ีพิจารณา และยอ่ คำพูด เฉพาะทเ่ี ป็นประเด็นสำคัญ
ที่จะนำไปสู่มติของท่ีประชุม กล่าวคือในการประชุมนั้นท่ีประชุมได้พิจารณาเรื่องใดบ้าง สมาชิกผู้ใดได้
อภิปรายในประเด็นที่สำคัญอยา่ งไรบ้าง ผู้จดจะจดเฉพาะเน้ือความท่ีเป็นสาระสำคัญของการอภิปรายนั้น
ในลักษณะท่ีย่อคำพูดของสมาชิกท่ีอภิปรายในประเด็นสำคัญที่นำไปสู่มติของท่ีประชุม ใช้ในการประชุม
คณะกรรมการต่าง ๆ ที่ตอ้ งการหลักฐานยืนยนั วา่ ใครเปน็ ผู้พดู

10

๕.๓ จดอย่างสรุป เป็นการบันทึกการประชุมที่กระชับที่สุด โดยจะจดเพียงว่าการ
ประชุมน้ีพิจารณาในเร่ืองใดบ้างแต่ละเรือ่ งมีสาระสำคัญอย่างไร ที่ประชุมมีความคิดเห็นหรือข้อพิจารณา
โดยรวมเป็นเช่นไร และมีมติอย่างไร โดยจะไม่จดคำพูดของสมาชิกในการอภิปราย เว้นแต่เป็นประเด็นท่ี
สำคญั มากที่นำไปสู่มติของที่ประชุม

๖. คำอธิบายการเขียนรายงานการประชุม
ระเบยี บสำนกั นายกรฐั มนตรวี า่ ด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ใหค้ ำอธิบายไว้ดงั น้ี
๖.๑ ตามระเบียบข้อ ๒๕ ได้ให้ความหมายของคำว่า รายงานการประชุม ไว้ว่า “การ

บนั ทึกความคิดเห็น ของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของท่ีประชุมไว้เป็นหลักฐาน” ดังนนั้ เม่ือมี
การประชุมจึงเป็นหน้าที่ของ ฝ่ายเลขานุการท่ีจะต้องรับผดิ ชอบจัดทำรายงานการประชุมตามแบบท่ี ๑๑
ท้ายระเบยี บ โดยมรี ายละเอียดตามท่ี กำหนดไวใ้ นระเบียบ ขอ้ ๒๕ ดงั นี้

๖.๑.๑) รายงานการประชุม ให้ลงชื่อคณะที่ประชุม หรือการประชุมของคณะ
น้ัน เชน่ รายงานการประชุมคณะกรรมการ..................

๖.๑.๒) คร้ังที่ ให้ลงครั้งท่ีท่ีประชุมเป็นรายปี โดยเริ่มคร้ังแรกจากเลข ๑ เรียง
เป็นลำดับไปจนส้ินปีปฏิทิน ทับเลขปีพุทธศักราชท่ีประชุม เม่ือข้ึนปีปฏิทินใหม่ให้เร่ิมครั้งที่ ๑ ใหม่ เรียง
ไปตามลำดับ เช่น ครั้งที่ ๑/๒๕๓๓ หรือจะลงจำนวนครั้งท่ีประชุมทั้งหมดของคณะที่ประชุม หรือการ
ประชุมนั้นประกอบกับครั้งทปี่ ระชุมรายปกี ็ได้ เชน่ ครัง้ ท่ี ๒๐๕ - ๑/๒๕๓๓ เป็นตน้

๖.๑.๓) เม่ือ ให้ลงวัน เดือน ปี ที่ประชุม โดยลงวันท่ีพร้อมตัวเลขของวันที่ ชื่อ
เต็มของเดอื น และตวั เลขของปีพุทธศักราช เชน่ เม่ือวันท่ี ๑๐ มกราคม ๒๕๓๓

๖.๑.๔) ณ ใหล้ งช่ือสถานท่ที ีใ่ ช้เปน็ ทีป่ ระชมุ
๖.๑.๕) ผู้มาประชุม ให้ลงช่ือและหรือตำแหน่งของผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะที่
ประชุมซ่ึงมาประชุม ในกรณีท่ีเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้แทนหน่วยงาน ให้ระบุว่าเป็นผู้แทนจาก
หน่วยงานใดพร้อมตำแหน่งในคณะท่ีประชุมหรือการประชุมน้ัน ในกรณีที่เป็นผู้มาประชุมแทน ให้ลงช่ือ
มาประชมุ แทน และลงท้ายว่าประชุมแทนผู้ใดหรอื ตำแหน่งใด หรอื แทนผู้แทนหนว่ ยงานใด
๖.๑.๖) ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงช่ือและหรือตำแหน่งของผู้ท่ีได้รับการแต่งตั้งเป็น
คณะที่ประชุม ซ่ึงมิได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่
สามารถมาประชมุ ถา้ หากทราบด้วยกไ็ ด้
๖.๑.๗) ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อและหรือตำแหน่งของผู้ที่มิได้รับการแต่งตั้ง
เปน็ คณะทป่ี ระชุมซงึ่ ไดเ้ ข้าร่วมประชมุ และหนว่ ยงานทสี่ ังกัด ถา้ มี
๖.๑.๘) เร่มิ ประชมุ เวลา ให้ลงเวลาที่เริ่มประชมุ

11

๖.๑.๙) ข้อความ ใหบ้ ันทกึ ข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เร่ิมด้วยประธานกล่าว
เปดิ ประชมุ และเรอ่ื งทปี่ ระชุม กับมตหิ รอื ข้อสรปุ ของท่ปี ระชุมในแตล่ ะเร่ือง ประกอบด้วยหวั ขอ้ ดังนี้

- เรอ่ื งท่ีประธานแจ้งให้ทปี่ ระชมุ ทราบ
- เรื่องการรบั รองรายงานการประชมุ
- เรื่องทเ่ี สนอให้ทป่ี ระชมุ ทราบ
- เรื่องที่เสนอให้ทปี่ ระชมุ พิจารณา
- เรอ่ื งอ่ืน ๆ (ถ้าม)ี
๖.๑.๑๐) เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาท่ีเลิกประชมุ
๖.๑.๑๑) ผู้จดรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผู้ซ่ึงได้รับมอบหมายให้จด
รายงานการประชุม ลงลายมือช่ือ พร้อมท้ังพิมพ์ช่ือเต็มและนามสกุลไว้ใต้ลายมือช่ือ ในรายงานการ
ประชุมครงั้ นนั้ ด้วย
๖.๒ การจดรายงานการประชุม อาจทำได้ ๓ วธิ ี
๖.๒.๑) จดละเอียดทุกคำพูดของกรรมการ หรือผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน พร้อม
ด้วยมติ
๖.๒.๒) จดย่อคำพูดท่ีเป็นประเด็นสำคัญของกรรมการ หรือผู้เข้าร่วมประชุม
อันเปน็ เหตุผลนำไปส่มู ตขิ องทปี่ ระชุม พรอ้ มด้วยมติ
๖.๒.๓) จดแตเ่ หตผุ ลกับมตขิ องท่ีประชมุ
การจดรายงานการประชุมโดยวธิ ีใดนั้น ให้ที่ประชุมนน้ั เองเป็นผ้กู ำหนด หรอื ให้ประธาน
และเลขานกุ ารของทีป่ ระชุมปรกึ ษากันและกำหนด
๖.๓ การรับรองรายงานการประชุม อาจทำได้ ๓ วธิ ี
๖.๓.๑) รับรองในการประชุมคร้ังนั้น ใช้สำหรับกรณีเร่ืองเร่งด่วน ให้ประธาน
หรือเลขานกุ ารของทป่ี ระชมุ อา่ นสรปุ มตใิ หท้ ี่ประชมุ พจิ ารณารับรอง
๖.๓.๒) รับรองในการประชุมครั้งต่อไป ประธานหรือเลขานุการเสนอรายงาน
การประชุมครงั้ ที่แลว้ มาใหท้ ่ปี ระชมุ พจิ ารณารบั รอง
๖.๓.๓) รับรองโดยการแจ้งเวียน ใช้ในกรณีที่ไม่มีการประชุมครั้งต่อไป หรือมี
แต่ยังกำหนด เวลาประชุมคร้ังต่อไปไม่ได้ หรือมีระยะเวลาห่างจากการประชุมครั้งน้ันมาก ให้เลขานุการ
สง่ รายงานการประชุมไปใหบ้ ุคคลในคณะกรรมการพิจารณารับรอง ภายในระยะเวลาทก่ี ำหนด
ข้อสังเกต ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานเข้าใจผิดว่า การรับรองรายงานการประชุมทุกคร้ังใช้การ
แจ้งเวียน ให้กรรมการแต่ละคนรับรองเป็นการเฉพาะตัว ที่ถูกต้องตามระเบียบคือ การรบั รองต้องกระทำ
ในท่ีประชุม เท่านั้น การท่ีเลขานุการส่งร่างรายงานการประชุมไปให้อ่านล่วงหน้านั้น เป็นเพียงให้
เตรยี มการเพื่อนำมา เสนอแก้ไขในท่ีประชุมครั้งต่อไป การรับรองโดยการแจ้งเวียนจะใช้เฉพาะในกรณีข้อ
๖.๓.๓) ข้างตน้ เท่าน้ัน

12

๗. การใช้ภาษาในรายงานการประชุม
การใชภ้ าษาในรายงานการประชมุ ที่ใชก้ ารถอดเทปทุกคำพูด เช่น การประชมุ สภา

ผู้แทนราษฎร สภาท้องถ่ินต่าง ๆ สามารถใช้ภาษาตามคำพูดนัน้ ๆ แต่ภาษาพูดหรือคำอุทานบางคำ เชน่
แบบวา่ เอ้อ อา้ ยังง้ี งนั้ เหรอ ตายแน่ หว่ ย ฯลฯ เป็นภาษาปากและบางคำไม่สภุ าพ ผ้ถู อดเทปต้อง
พิจารณาใหเ้ หมาะสม โดยความหมายไม่เปลี่ยนจากเดิม บางคนพูดว่า “ครับ ครับ” การจดกอ็ าจตดั เหลอื
คำเดยี ว สำหรบั การใช้ภาษาในการประชุมทวั่ ไปท่ใี ช้การจดสรปุ สาระสำคัญ มีหลกั การดังน้ี

๗.๑ การใชค้ ำศัพท์
๗.๑.๑) การใชศ้ ัพท์เฉพาะ ในการประชมุ จะมีศัพท์เฉพาะ เช่น คำวา่ ระเบียบ

วาระ ผมู้ าประชมุ ผู้ไม่มาประชมุ ผู้เขา้ ร่วมประชุม เรมิ่ ประชมุ เลกิ ประชมุ ค าเหลา่ นมี้ ีความหมายเฉพาะ
ซงึ่ ผ้จู ดจะต้องใชใ้ ห้ ถูกตอ้ ง ดงั ปรากฏในคำอธบิ ายท่ีกล่าวมาแล้วขา้ งตน้ นอกจากศัพทเ์ ฉพาะแลว้ ยงั มี
คำกริยาบางคำที่ผู้พดู ไม่ได้พดู แตผ่ จู้ ดต้องหาคำมาใชใ้ ห้ตรง เจตนา เชน่ หารือ สนับสนนุ ทักทว้ ง คัดค้าน
เพิม่ เติม ฯลฯ ดังตัวอยา่ ง

“ผ้อู ำนวยการสำนักพมิ พ์ทักท้วงวา่ เรื่องทส่ี ำนกั ................เสนอนนั้ มีประเดน็
ทไ่ี ม่ชัดเจน หลายข้อ เช่น .............. จึงขอให้ทีป่ ระชมุ พจิ ารณาอยา่ งรอบคอบ”

๗.๑.๒) การใชไ้ ปยาลน้อย คำบางคำท่ีกล่าวไปแล้ว เช่น ประธานทป่ี ระชุม ใน
การกล่าวครงั้ ต่อไปสามารถใชค้ ำแทนที่สน้ั ลง คือ ประธาน ช่อื บุคคล เชน่ นางนภาลัย สุวรรณธาดา ครัง้
ตอ่ ไปสามารถใช้ เฉพาะชอ่ื คือ นางนภาลัย ได้ และไมต่ ้องใสไ่ ปยาลนอ้ ย ยกเวน้ ชอื่ หนว่ ยงานท่ยี าว ๆ
อาจกล่าวคำข้างหน้า บางส่วน และตอ้ งใส่ไปยาลน้อย เชน่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ครั้งตอ่ ไปใช้ว่า
กระทรวงเกษตร ฯ ได้

๗.๑.๓) การใชศ้ พั ทภ์ าษาตา่ งประเทศ ในกรณีทีจ่ ำเป็นต้องใช้ศัพท์ต่างประเทศ
ในการประชมุ เช่น ศัพท์วิชาการ ควรเขยี นเปน็ ภาษาไทยก่อน แล้ววงเล็บภาษาอังกฤษในการเขียนครั้ง
แรก สว่ นครง้ั ต่อไป จะใชภ้ าษาไทยหรอื ภาษาต่างประเทศก็ได้ ศัพท์ทเ่ี ขยี นเป็นภาษาไทยนน้ั อาจใชศ้ ัพท์
บัญญัติทเ่ี ข้าใจกัน เช่น โลกาภิวตั น์ ซึง่ ใชแ้ ทนคำวา่ Globalization ถา้ ไม่มีศัพทบ์ ญั ญัตกิ ็ใชค้ ำทับศัพท์
เชน่ คำวา่ ลิฟต์ (Lift) เป็นตน้

๗.๒ การเปล่ยี นภาษาพูดเป็นภาษาเขยี น
ปกติคนเราจะใชภ้ าษาพูดเสมอ ด้วยเหตนุ ี้ในการเรยี บเรียงรายงานการประชมุ

ผ้เู ขียนจะต้อง เปลย่ี นภาษาพูดใหเ้ ปน็ ภาษาเขียนหรือเป็นภาษาทางการ เช่น สรรพนามบุรุษที่ ๑ ๒ และ
๓ คือ ผม - ท่าน – เขา จะต้องปรับเป็นชื่อหนว่ ยงานหรือช่ือตำแหน่ง เช่น

ภาษาพูด “คราวหนา้ ผมอยากใหค้ ณุ ไปหาขอ้ มลู ของเขามาใหห้ นอ่ ย”
ภาษาเขยี น “ประธานขอใหเ้ ลขานุการจัดเตรียมข้อมลู เกี่ยวกบั บรษิ ทั แสงสีเสียง
มาเสนอในการประชุมคร้ังต่อไป”

13

ภาษาพูด “เดยี๋ วน้ีของแพงข้นึ เยอะมาก เรื่องนเ้ี ราจะแก้ไขยังไงกันดี”
ภาษาเขยี น “ผอู้ ำนวยการสำนกั พิมพห์ ารือทีป่ ระชุมเกย่ี วกับการแก้ปัญหา
ในชว่ งทีร่ าคาวสั ดสุ งู ขึ้นมาก”
นอกจากนี้ สำนวนตา่ ง ๆ อาจปรากฏเสมอในภาษาพูด เพราะสอื่ ความได้
ชัดเจน และน่าสนใจ แตใ่ นรายงานการประชุมต้องตดั สำนวนโวหารทัง้ หมด หากจำเป็นต้องคงไว้ก็ต้อง
อธบิ ายด้วยภาษาท่เี รยี บงา่ ย ตรงประเดน็ เช่น
ภาษาพูด “เราต้องระวงั เดี๋ยวจะกลายเป็น วา่ แต่เขาอิเหนาเป็นเอง”
ภาษาเขียน “การดำเนนิ การต้องระมัดระวัง มิให้ผิดพลาดดังเชน่ ทเ่ี คยตำหนิ
ผู้อืน่ ไว้”
วิธีทีจ่ ะฝกึ ฝนการใชภ้ าษาเขยี นทีด่ นี ้ัน ไมม่ ีวิธใี ดดีกว่าการอ่านหนังสือมาก เชน่
สารคดี บทความในวารสารต่าง ๆ ซ่ึงสว่ นใหญ่ไดร้ ับการกลั่นกรองภาษามาดีแลว้ นอกจากน้ันการอา่ น
รายงานการ ประชุมทดี่ ีอยู่เสมอ จะทำให้แยกแยะภาษาพูด - ภาษาเขยี นไดด้ ีขน้ึ
๗.๓ การใชป้ ระโยคทส่ี มบูรณ์
ปญั หาของรายงานการประชุม ส่วนหนง่ึ มกั เกดิ จากผ้จู ดรายงานการประชุมใช้
ประโยคท่ีไม่ สมบรู ณ์ อา่ นแล้วไมท่ ราบวา่ ประโยคขน้ึ ต้นและลงทา้ ยท่ีใด ประโยคทีส่ มบูรณ์จะต้องชดั เจน
ว่า ใคร กลา่ ว หรือทำอะไร อาจใชห้ ลัก ๕W ๑ H ได้แก่ Who (Whom) What Where When Why
How คอื ใคร ทำอะไร (แกใ่ คร) ที่ไหน เม่ือใด เหตุใด อย่างไร สำคัญทส่ี ดุ คือ ใคร ทำอะไร นอกจากน้ัน
เปน็ สว่ นขยาย ให้ประโยคสมบูรณข์ น้ึ เช่น
“เลขานุการเสนอใหท้ ปี่ ระชมุ พจิ ารณาโครงการอบรมการเขียนหนงั สือราชการ
ให้แก่บคุ ลากร ในสงั กดั ซ่ึงฝา่ ยฝึกอบรมเสนอมา สรปุ ประเด็นไดด้ ังนี้................”
ประโยคนช้ี ดั เจนว่าใคร เสนออะไร ให้แกใ่ คร มรี ายละเอียดอยา่ งไรในโครงการ
ดังกลา่ ว แต่ท่ี ปรากฏในรายงานการประชมุ บางฉบบั ไมม่ ีชื่อว่าใครเปน็ ผเู้ สนอ เสนออะไร ไม่มกี ารสรปุ
ประเดน็ เร่ืองที่เสนอ ทำใหร้ ายงานการประชุมไมส่ มบรู ณ
๗.๔ วิธีสรปุ ใจความสำคญั ในรายงานการประชมุ
การสรปุ ใจความสำคัญ กล่าวง่าย ๆ กค็ ือการย่อความน่ันเอง แตบ่ างเรอ่ื งที่ไม่
สำคญั อาจไมต่ ้อง ย่อไว้ ผู้จดจะเลอื กสรปุ เฉพาะประเด็นท่สี ำคัญเท่านนั้ การย่อความเปน็ ความสามารถ
พืน้ ฐานทีส่ ำคญั มาก ในการส่ือสารทกุ ชนดิ ทุกคนได้ผ่านการเรียนการฝกึ ย่อความมามาก แต่หลายคนก็
นำมาใชไ้ ม่ไดเ้ ช่น เขียน หนังสอื ราชการย่อหนา้ แรกยืดยาวมาก เพราะไม่สามารถสรปุ ประเด็นสำคัญได้
ในส่วนเน้อื หาก็พรรณนา รายละเอยี ดมาก และส่วนทา้ ยกย็ ังยดื ยาวอกี ทำใหผ้ อู้ า่ นเสยี เวลาและอาจจบั
ใจความไดย้ ากอีกดว้ ย หนงั สือราชการทุกชนดิ รวมทัง้ รายงานประชมุ ทุกย่อหนา้ จึงต้องสรปุ มาเขียน
เฉพาะใจความสำคญั แต่ต้อง ครบถ้วน

14

หลกั การการสรปุ ประเด็นสำคัญในการเขียนรายงานการประชุม มีดงั น้ี
๑) ต้งั ชอื่ เรอื่ ง เปน็ หัวข้อย่อยในระเบยี บวาระต่าง ๆ
๒) ฟังให้เข้าใจโดยตลอด
๓) สรุปดว้ ยภาษาของตนเองที่เรยี บง่ายและตรงประเด็น
๔) ตัดสำนวนโวหารต่าง ๆ ออกทั้งหมด เขียนเปน็ ภาษางา่ ย ๆ ทตี่ รง
ประเด็น
๕) เรือ่ งเดยี วกนั ถ้ามีการพดู หลายครัง้ ใหเ้ ขียนรวมกนั เพียงคร้ังเดยี ว

๗.๕ การสรปุ มติที่ประชมุ
หัวใจของการประชมุ คอื การลงมติ ซึ่งจะต้องนำไปปฏบิ ตั ิ การลงมติจะปรากฏ

ในระเบียบ วาระท่ี ๔ และอาจมีเพ่มิ เติมในระเบียบวาระท่ี ๕ ทงั้ นี้ กอ่ นการลงมติจะตอ้ งบันทึกการ
อภปิ รายแสดง ความเห็นของสมาชกิ อย่างครบถว้ นเสียก่อน สว่ นระเบียบวาระท่ี ๑ และที่ ๓ ไม่มกี ารลง
มตเิ ป็นเพียงการ รับทราบเท่านั้น (แต่หลายแห่งเขยี นวา่ มติ ซึง่ ไม่ถูกต้อง) การสรุปท้ายเรื่องในระเบยี บ
วาระต่าง ๆ มีดังน้ี

ระเบยี บวาระที่ ๑ และท่ี ๓ สรปุ ขา้ งทา้ ยว่า
ทป่ี ระชุมรับทราบ
ทป่ี ระชุมรับทราบ โดยมีข้อสังเกตว่า .................................

ระเบียบวาระท่ี ๔ (และ ๕ ถา้ มี) สรุปมติว่า
ทปี่ ระชมุ เหน็ ชอบในหลักการ
ทป่ี ระชุมมีมตอิ นุมัติ
ทีป่ ระชุมมีมตไิ มอ่ นุมตั ิ
ทป่ี ระชมุ พิจารณาแล้วเหน็ ว่าไมถ่ ูกต้องตามหลักเกณฑ์ จึงมีมตไิ ม่อนมุ ัติ
ทป่ี ระชมุ มีมติให(้ ใคร ทำอะไร อย่างไร ฯลฯ)
ที่ประชมุ พจิ ารณาแล้ว มีมติดังน้ี ๑...... ๒...... ๓....

๗.๖ ตวั อยา่ งการจดรายงานการประชมุ
ระเบยี บวาระท่ี ๔ เรื่องทเี่ สนอใหท้ ป่ี ระชมุ พจิ ารณา
๔.๑ การขออนุมตั ิโครงการอบรม “การเขียนหนังสือราชการ”
“กรรมการและเลขานกุ ารเสนอว่า เนอื่ งจากสำนักงานปลัดกระทรวงมภี ารกจิ

การเขียน หนังสอื ราชการโตต้ อบ ท้งั ภายในและภายนอกจำนวนมาก แต่บุคลากรยงั ขาดทักษะการเขียน
ทำให้งานล่าช้า ผู้บังคับบัญชาตอ้ งเสยี เวลาตรวจแกไ้ ขหลายครงั้ เพื่อแก้ปัญหาดังกลา่ ว ส านักงานจงึ ได้
จดั ทำโครงการอบรม หลักสูตร “การเขยี นหนงั สือราชการ” ขน้ึ โดยเชิญวิทยากรจาก
มหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช ผเู้ ข้าอบรม เปน็ ขา้ ราชการจำนวน ๔๐ คน กำหนดการอบรม ๓ วัน

15

ตง้ั แต่วันที่ ๑๕ – ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ คา่ ใช้จ่าย รวม ๕๐,๐๐๐ บาท (ห้าหมืน่ บาทถ้วน) ส านักงานขอ
อนุมัติโครงการ รายละเอยี ดตามเอกสารที่ ๔.๑ จึงเรียน เสนอที่ประชมุ เพื่อโปรดพจิ ารณา”

ตัวอยา่ งนสี้ ามารถดัดแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยต้องระบปุ ระเดน็ สำคญั
ให้ครบถ้วน และสน้ั กระชับ ส่งิ ที่ต้องจดจำไวเ้ สมอ คอื “ครบแตส่ น้ั ส้นั แต่ครบ”

๘. คณุ สมบตั ขิ องผจู้ ดและจัดทำรายงานการประชุมท่ดี ี
ผ้จู ดรายงานการประชุมควรมีคณุ สมบัติ ดงั น้ี
๘.๑ มีความรดู้ ี ผจู้ ดต้องทำการบา้ นก่อนเขา้ ประชมุ คือ ศึกษาเอกสารข้อมลู ทุก

ระเบยี บวาระอยา่ งละเอียดก่อนการประชมุ เสมอ ว่ามปี ระเดน็ ในการพจิ ารณาอยา่ งไร ข้อเท็จจรงิ เปน็
อยา่ งไร มขี ้อกฎหมายกำหนดแนวทางปฏบิ ัตไิ วเ้ พยี งใดหรือไม่ การศึกษาลว่ งหนา้ ก่อนเข้าประชมุ จะชว่ ย
ทำใหเ้ ขา้ ใจเรอ่ื งได้ง่ายและรวดเรว็ ข้ึน

๘.๒ มสี มาธดิ ตี ลอดการประชุม มใี จจดจ่ออยู่แต่เรื่องท่ีประชมุ ตลอดเวลาเพราะสมาธทิ ี่
ดจี ะชว่ ยทำใหเ้ กิดความเข้าใจและตดิ ตามเรื่องที่ประชมุ ได้อยา่ งต่อเนื่อง

๘.๓ เปน็ ผู้ฟงั ทด่ี ี ฟังอยา่ งจับประเดน็ ร้ปู ระเดน็ รู้เท่าทันในส่ิงทีก่ ำลังประชมุ โดยไม่
หวังพง่ึ เทปบนั ทึกเสยี ง

๘.๔ มที กั ษะการสรุปความ การสรปุ ความเป็นทักษะระดับสูงของมนษุ ย์ ซง่ึ ต้องฝกึ ฝน
ผู้ทีส่ รุปความได้ดจี ะมรี ะบบการสังเคราะหใ์ นสมองอยา่ งดี แม้ผู้พูดจะพูดวกวนยดื ยาว พูดออกนอกเรื่อง
หรือพูดหลายประเด็นปะปนกัน ก็ตอ้ งพยายามสรุปให้ตรงประเดน็ อาจใช้หลกั 5W1H คือเขยี นให้ชัดเจน
ว่า ใคร ทำอะไร ท่ีไหน เมื่อใด และอย่างไร ผจู้ ดตอ้ งพจิ าณาวา่ เรือ่ งใดสำคัญ

๘.๕ ใช้ภาษาในการเรียบเรียงได้ดี การถ่ายทอดจากภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียนมิใช่
เรอ่ื งง่ายนัก ผ้เู ขียนตอ้ งใช้ภาษาท่ีเหมาะสม เป็นภาษาเขียนที่เป็นทางการ ไมค่ วรใช้สำนวนภาษาของผูพ้ ูด
ในรายงานการประชุมไม่ควรปรากฏสำนวนโวหารใด ๆ แม้ผู้พูดจะมีฝีปากดีเพียงใดก็ตาม ต้องเรียบเรียง
ให้เป็นภาษาสามัญที่เรียบง่าย เข้าใจได้ทันทีทุกตัวอักษร ผู้พูดอาจพูดยาว วกไปวนมา หรือหลายเร่ือง
หลายประเด็นปะปนกัน ก็ต้องเรียบเรียงให้อ่านง่ายและตรงประเด็นตามหัวข้อนั้น ๆ บางคร้ังผู้พูดใช้
ภาษาอังกฤษปนภาษาไทยมาก ผู้เขียนต้องพยายามใช้ศัพท์ภาษาไทยแทน อาจใช้คำทับศัพท์บ้างในกรณี
จำเปน็ เท่านัน้ หากไมเ่ ขา้ ใจควรสอบถามผ้พู ดู หรอื ผ้รู ู้

๙. เทคนคิ การเขียนรายงานการประชุม
๙.๑ การจัดระเบียบความคิดก่อนลงมือเขียน การเขียนเป็นผลผลิตของการคิด ดังนั้น

กอ่ นจะลงมอื เขียนจงึ ต้องมีการจัดระเบยี บความคิดให้ลงตวั เสยี ก่อน วธิ คี ิดทเ่ี รียบง่ายท่ีสดุ ในการเขียน คือ
ใช้หลัก 5W 1H โดยตั้งคำถามกับตัวเองว่าจะเขียนเร่ืองใคร (Who) ทำอะไร (What) ให้แก่ใคร ท่ีไหน
(Where) เมอ่ื ไร (When) ทำไม (Why) และอย่างไร (How)

16

การคิดว่าจะเขียนเรื่องอะไรนั้นเป็นการคิดเพ่ือแสวงหาข้อมูลจากแหลง่ ข้อมูลที่เช่ือถือได้มาใช้ในการเขียน
ต้องใชข้ ้อมูลซึ่งมแี หล่งขอ้ มลู สำหรบั ให้ค้นควา้ งอ้างอิงหรืออ้างถึงอยา่ งเป็นทางการเสมอ ข้อมลู ทใ่ี ชใ้ นการ
เขียนไม่สามารถกำหนดได้ด้วยความคิดของผู้เขียน บางเรื่องต้องแสวงหาข้อมูลจากหลาแหล่งสำหรับ
นำมาใชป้ ระกอบกัน

๙.๒ การวางเคา้ โครง ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคญั คือ
สว่ นที่ 1 ความเป็นมา หรอื สาเหตุที่ทำให้ต้องมีการประชมุ พิจารณาเร่ืองน้ัน ๆ
ส่วนที่ 2 ความคิดเห็นหรือข้ออภิปรายต่าง ๆ ซึ่งคณะที่ประชุมได้แสดงความ
คิดเห็นหรือไดอ้ ภปิ รายในเรอื่ งดังกล่าว
ส่วนท่ี 3 มติที่ประชุม ซ่งึ ถือเป็นส่วนสำคญั ท่ีจำเป็นตอ้ งระบุให้ชัดเจน เพื่อจะ
ได้เป็นหลกั ฐาน หรอื ใชเ้ ปน็ แนวทางในการปฏบิ ตั เิ รื่องตา่ ง ๆ ที่ได้ประชมุ

ท้ังน้ี โครงสร้างทั้ง 3 ส่วนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างเป็นหนึ่งเดียวหรืออย่างมี
เอกภาพ จากบทกล่าวนำจะต้องนำไปสู่ส่วนเนื้อหาอย่างกลมกลืน และส่วนที่เป็นบทสรุปจะต้องรับช่วง
จากสองส่วนขา้ งบนใหไ้ ปในทศิ ทางเดยี วกนั จึงจะเรียกได้ว่ามคี วามสมบรู ณ์และงดงามในการเขียน

๑๐.การเขยี นจดหมายเชิญประชมุ
การเขียนจดหมายเชิญประชุม อาจจะเขียนระเบียบวาระการประชุมลงไปในจดหมาย

เชิญประชมุ หรือแยกระเบียบวาระการประชุมอีกแผน่ ตา่ งหากก็ได้ โดยมีวธิ กี ารเขยี น ดังน้ี
- ย่อหน้าแรกจะแจ้งว่าผู้มีอำนาจ เช่น ประธาน คณบดี ผู้อำนวยการ ฯลฯ ต้องการนัด

ประชมุ เร่ืองอะไร ครั้งทเี่ ทา่ ไร เม่ือไร ทีไ่ หน
- ยอ่ หนา้ ถดั มาจะแจง้ หัวข้อประชุมหรือระเบียบวาระการประชุม
- ย่อหนา้ สดุ ท้ายจะเชิญให้ผ้เู ขา้ ประชมุ ไปประชุมตามวนั เวลา และสถานท่ที กี่ ำหนด

๑๑.ลกั ษณะของรายงานการประชมุ ท่ดี ี
๑๑.๑ รายงานการประชุมทด่ี ี ควรมลี กั ษณะดงั น้ี
๙.๑.๑) เนื้อหาถูกต้อง ตรงตามท่ีประชุมอภิปราย มติถูกต้อง ชัดเจน และ

ครบถ้วนทุกประเด็น ไม่ตกหล่น
๑๑.๑.๒) เที่ยงตรง บางครั้งผู้จดอาจเลือกจดบางเรื่องที่ตนพอใจ และละเลย

บางเร่อื งที่ไมพ่ อใจ ซ่ึง ไม่ควรกระทำ ผู้จดจะต้องมีใจเป็นกลาง มจี ิตสำนึกที่ดีว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่าง
เท่ียงตรง รายงานการ ประชุมจึงเสมือนกระจกเงาสะท้อนความเที่ยงตรงของผู้จด ผู้ตรวจ ตลอดจน
ผเู้ กย่ี วขอ้ งทุกคน

๑๑.๑.๓) ชัดเจนและเข้าใจง่าย ผู้จดต้องคำนึงถึงผู้อ่านเป็นสำคัญ แม้ผู้ไม่ได้
เขา้ ประชุมกส็ ามารถ อ่านเขา้ ใจได้ ทกุ ถ้อยคำชดั เจนในตวั เอง ไม่ต้องสอบถามหรืออา่ นทวนหลายคร้ัง

17

๑๑.๑.๔) ใช้ภาษาดี ใช้ภาษาราชการที่ส้ัน กระชับ ตรงประเด็น และสุภาพ
เป็นประโยคบอกเล่าที่ เรียบง่าย ประโยคส้ัน ควรใช้ประโยคที่ไมม่ ีคำเชื่อมมาก เพราะการใช้คำเชื่อมมาก
จะทำให้ประโยคยาว ซับซอ้ น นอกจากนัน้ ต้องมีวรรคตอนและตัวสะกดถกู ต้อง

๑๑.๑.๕) มีหวั ข้อยอ่ ยทุกเรื่อง ผู้จดควรต้ังหวั ข้อยอ่ ยทุกเร่ือง เพ่ือให้สะดวกแก่
การกลา่ วอ้างองิ ภายหลัง และทำให้ผอู้ ่านเขา้ ใจเรือ่ งทนั ทที เี่ หน็ หัวขอ้ น้ัน

๑๑.๒ ข้อบกพร่องในการเขยี นรายงานการประชมุ
๑๑.๒.๑) ช่ือรายงานและผู้จด มีการใช้คำต่าง ๆ ไม่ตรงกัน ผู้จดควรใช้ให้เป็น

มาตรฐาน คือ รายงาน การประชมุ และ ผู้จดรายงานการประชมุ
๑๑.๒.๒) ชื่อการประชุม บางแหง่ ต้ังช่ือการประชมุ ไม่เหมาะสม เชน่

“การประชุมโอกาสทุจริตใน กรม......” ควรแก้ไขว่า “การประชุมคณะทำงานป้องกันการทุจริตในกรม
.....”

๑๑.๒.๓) วนั ท่แี ละสถานที่ประชมุ บางครง้ั วันและวันทไี่ ม่ตรงกัน เชน่
วันพุธท่ี ๕ แต่ความจริงคือ วันพฤหัสบดีท่ี ๕.... เป็นต้น สถานที่ประชุมบางแห่งระบุเฉพาะช่ือ หรือ
หมายเลขห้องประชมุ ควรระบุ หน่วยงานด้วย เช่น ห้องประชุม ๖๐๔๕ อาคาร....... กรม.......

๑๑.๒.๔) วันเวลาประชุม มีการใช้คำว่า เปิดประชุม - ปิดประชุม ที่ถูกต้อง
ควรใช้คำว่า เริ่มประชุม และ เลิกประชุม ส่วนคำว่า เปิด - ปิด ควรใช้ในกรณีของประธาน คือ ประธาน
กล่าวเปิดการประชุม – ประธานกล่าวปดิ การประชมุ การเขียนตวั เลขเวลา ตอ้ งเขียน ๐๙.๐๐ น.
ไม่ใช่ ๙.๐๐ น. และเขยี นตามจริง ไม่ใช่ตาม เวลาที่นดั หมาย เศษของนาทีอนุโลมเป็นเลข ๐ หรือ ๕ นาที
เชน่ ๑๕.๔๕ น.

๑๑.๒.๕) ผู้มาประชุม บางแห่งใช้คำว่า ผู้เขา้ ประชุม รายชื่อผู้เขา้ ประชุม ฯลฯ
ควรใช้ให้เป็นมาตรฐาน คือ ผู้มาประชุม และ ผู้ไม่มาประชุม ส่วนผู้เกี่ยวข้องที่เข้าประชุม แต่ไม่ใช่
กรรมการหรอื คณะบคุ คลที่ได้รับ การแตง่ ตั้ง เรยี กว่า ผเู้ ข้าร่วมประชมุ

การเขียนช่ือผู้มาประชุม ส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่าต้องใส่ชื่อก่อนเสมอ ท่ี
ถูกต้องนั้น หากได้รับ การแต่งต้ังโดยตำแหน่งจะต้องใส่ตำแหน่งก่อน ส่วนชื่อหากต้องการบันทึกไว้เป็น
หลักฐานก็ใหใ้ ส่ในวงเลบ็

ดังกล่าวแล้วในตอนต้นว่า รายงานการประชุมเป็นหลักฐานสำคัญท่ีจะนำไปอ้างอิงได้เสมอ ผู้จัด
รายงาน การประชุม ตลอดจนผู้เก่ียวข้องทุกฝ่ายจึงต้องพิถีพิถันในการจัดทำ ไม่ควรยกความเร่งรัดของ
เวลามาเป็นข้ออ้าง ท่ีจัดทำอย่างสุกเอาเผากิน ควรระลึกอยู่เสมอว่าช่ือของเลขานุการ และผู้เกี่ยวข้องกับ
รายงานการประชมุ ทกุ คน จะปรากฏเปน็ หลักฐานให้ผ้ทู ่ีอ่านได้รู้จักตลอดเวลาอกี ยาวนาน

18

ภาคผนวก

19

ตวั อยา่ งรปู แบบการเขียนรายงานการประชุม

รายงานการประชุม..........................................

ครง้ั ท่.ี ....../................

เมื่อวันท.่ี ..................................................
ณ .....................................................

------------------------------

ผู้มาประชุม
๑. นาย..............................................

ตำแหนง่ ........................................... ประธาน
๒. นาย..............................................

ตำแหนง่ ...........................................
๓. นาย..............................................

ตำแหน่ง...........................................
๔. นาย..............................................

ตำแหนง่ ...........................................
๕. นาย..............................................

ตำแหนง่ ...........................................
๖. นาย..............................................

ตำแหน่ง........................................... เลขานุการ
๗. นาย..............................................

ตำแหนง่ ........................................... ผชู้ ว่ ยเลขานกุ าร
ผไู้ มม่ าประชุม

๑. นาย..............................................
๒. นาย..............................................
ผ้เู ข้าร่วมประชุม
๑. นาย..............................................
๒. นาย..............................................
๓. นาย..............................................

20

เรมิ่ ประชุมเวลา……………. น.
ประธานกลา่ วเปดิ ประชุม
และดำเนินการตามระเบียบวาระการประชุมดังต่อไปน้ี
วาระที่ ๑. เรอ่ื งท่ีประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ประธานแจง้ ใหท้ ป่ี ระชุมทราบว่า……………………………………………………………………………………………...
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….………
…………………………………………………………………………………………………………………………………....
ทปี่ ระชมุ รับทราบ
วาระที่ ๒. เรอื่ งรบั รองรายงานการประชมุ
เลขานุการเสนอรายงานการประชุมคร้ังที.่ ............./...........เม่ือวนั ท่.ี ...........................................................
ใหท้ ีป่ ระชมุ รับรอง

มติ ที่ประชุมรบั รองรายงานการประชุม
วาระท่ี ๓. เรอื่ งสืบเนอ่ื ง(ถา้ ม)ี
๓.๑……………………………………………………………………………………………………………………………………….……..
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

มติ ท่ปี ระชมุ .............
๓.๒.................................................................................................... ............................................................
................................................................................................ .................................................. ....................

มติ ทีป่ ระชมุ .............
วาระที่ ๔. เรือ่ งทเี่ สนอให้ทป่ี ระชมุ ทราบ
๔.๑................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .........................................

มติ ทป่ี ระชมุ รับทราบ
๔.๒................................................................................................................................................................
................................................................................................................... ...................................................

มติ ที่ประชมุ รบั ทราบ

21

วาระท่ี ๕. เร่อื งที่เสนอให้ทปี่ ระชุมพจิ ารณา
๕.๑............................................................................................................................. ...................................
................................................................................................ .................................................. ....................

มติ ทปี่ ระชมุ เหน็ ชอบ
๕.๒.................................................................................................... ............................................................
.............................................................................................................................. ....................................

มติ ทปี่ ระชมุ เหน็ ชอบ
วาระท่ี ๖. เรอ่ื งอน่ื ๆ (ถา้ มี)
๖.๑................................................................................................................................................................
............................................................................................................................. .........................................

มติ ที่ประชุม……….
๖.๒.................................................................................................... ............................................................
............................................................................................................................. .........................................

มติ ท่ีประชุม……….

เลกิ ประชุมเวลา…………………. น.

(...........................................)
ผจู้ ดรายงานการประชุม

(...........................................)
ผตู้ รวจรายงานการประชุม

22

บรรณานุกรม

คณะกรรมการการจดั การความรู มหาวิทยาลยั เกษตรศาสตรว์ ิทยาเขตกำแพงแสน. (2557).
คูมอื การเขยี นหนงั สือราชการและ การจดรายงานการประชมุ . สบื ค้นเมื่อ 30 สงิ หาคม 2564,

จาก https://kpsoffice.kps.ku.ac.th/doc/km/km1-57.pdf
คณะทำงานจัดการความรู้ส่วนสารบรรณและนิติการ. (2555). เทคนิคการเขียนรายงานการประชุม.
สืบค้นเม่ือ 30 สงิ หาคม 2564,

จาก http://web.sut.ac.th/dcdl/modules/multiMenu/writing_report_book.pdf

ปรีดา ศิรริ ังษ.ี (2561). เทคนคิ การเขยี นรายงานการประชุม. สบื ค้นเม่อื 30 สงิ หาคม 2564,
จาก
https://www.agri.cmu.ac.th/2017/files/AgriPersonal/3413/341334_20190304_13415
2.pdf

หน่วยวิเคราะห์นโยบายและแผนและประกันคุณภาพการศึกษา งานธุรการ กองงานวิทยาเขตบางนา
มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2563). คู่มือโครงการส่งเสริมพัฒนาบุคลากร กองงานวิทยาเขตบางนา “
กิจกรรมแลกเปล่ยี นเรียนรู้ เทคนคิ การเขยี นรายงานการประชุม ”. สบื คน้ เมอื่ 30 สงิ หาคม 2564,

จาก https://bit.ly/3k7nSlO


Click to View FlipBook Version