The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

รายงานเรียนซ้ำ สินเชื่อเพื่อการบริโภค

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by redskychanel, 2022-03-24 10:48:29

รายงานเรียนซ้ำ สินเชื่อเพื่อการบริโภค

รายงานเรียนซ้ำ สินเชื่อเพื่อการบริโภค

รายงานเรื่อง สินเชื่อเพื่อการ
บริโภค


จัดทำ
โดย

ด.ญ.กชพร จำปาจีน เลขที่ 22 ชั้น ม.3/4

เสนอ

ครู ศิริรักษ์ สมพงษ์

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา อาชีพ3
รหัสวิชา ง23201

โรงเรียนนวิมินทราชินูทิศ เบญจมราชาลัย

คำนำ

รายงานเล่มนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา
อาชีพ3 รหัสวิชา ง23201

เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องสินเชื่อเพื่อการ
บริโภคและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์

แก่การเรียน



ผู้จัดทำหวังว่า รายงานฉบับนี้จะให้ความรู้และ
เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านทุกท่านที่กำลังหาข้อมูล

เรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาด
ประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา

ณ ที่นี่ด้วย












ผู้จัดทำ

ด.ญ.กชพร จำปาจีน เลขที่ 22 ชั้น
ม.3/4

สารบัญ

คำนำ ก
สารบัญ ข

สินเชื่อคืออะไร-เรียนรู้ก่อนกู้ สินเชื่อมีกี่ประเภท 1

ประเภทของสินเชื่อ 2-3

สินเชื่อประเภทบุคคล 4

visa and mastercard 5
visa 6
mastercard 7
Unionpay 8
JCB

9
10
บรรณานุกรม

สินเชื่อคืออะไร



“สินเชื่อ” คือการที่ “ผู้ขอ” มีโอกาสที่จะได้รับเงินก้อนมาใช้
จ่ายกับเรื่องต่างๆ โดยการขอสินเชื่อส่วนมากนั้น มักจะ
เป็นการขอกับทางสถาบันทางการเงิน หรือธนาคารต่างๆ
ตามระเบียบแบบแผนประเภทต่างๆ ที่เหมาะสมกับผู้ขอ

เรียนรู้ก่อนกู้ สินเชื่อมีกี่ประเภท

เชื่อว่า สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ หรือสินเชื่อ
บ้าน น่าจะเป็นประเภทของสินเชื่อที่คุ้นหูกันดี แต่จริงๆ
แล้ว ประเภทของสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถแบ่ง

ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

สินเชื่อที่แบ่งตามลักษณะของผู้ขอสินเชื่อ
สินเชื่อที่แบ่งตามระยะเวลา
สินเชื่อที่แบ่งตามหลักประกัน

1

ประเภทของสินเชื่อ

สินเชื่อมีหลายประเภทซึ่งการศึกษาการแบ่งประเภทของสินเชื่อ
แบบต่างๆ ท าให้เราทราบว่า รูปแบบของการให้สินเชื่อนั้นสา
มารถกระท าได้ในรูปแบบใดได้บ้าง ดังสรุปประเภทของสินเชื่อ

ในตาราง



1. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามระยะเวลา



1.1 สินเชื่อระยะสั้น คือ สินเชื่อที่มีอายุไม่เกิน 1 ปี เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อการค้า
เครื่องมือสินเชื่อประเภทนี้ เช่น ตั๋วเงินคลัง (Treasury Bills) และตราสารพาณิชย์

(Commercial Papers) เป็นต้น
1.2 สินเชื่อระยะกลาง คือ สินเชื่อที่มีอายุระหว่าง 1-5 ปี เช่น การผ่อนส่งการซื้อสินค้า

คงทน เป็นต้น
1.3 สินเชื่อระยะยาว คือ สินเชื่อที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปเป็นการลงทุนในโครงการ

ขนาดใหญ่ ใช้เงินจ านวนมาก หรือเป็นการบริโภคสินค้าคงทนที่มีมูลค่าสูงมาก เช่น
บ้านและที่ดิน เป็นต้น

2. การแบ่งประเภทของสินเชื่อตามวัตถุประสงค์



2.1 สินเชื่อเพื่อการบริโภค หมายถึง สินเชื่อที่ให้กับบุคคล เพื่อประโยชน์ในการน ามาบริโภค
สินเชื่อประเภทนี้อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การเปิดบัญชีไว้กับร้านอาหาร เมื่อถึง
สิ้นเดือนจึงช าระครั้งเดียว การผ่อนส่งจากการซื้อสินค้า โดยเฉพาะสินค้าคงทน เช่น
ตู้เย็น โทรทัศน์ รถยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้สินเชื่อจากบัตรเครดิตก็เป็นสินเชื่อเพื่อ
การบริโภคเช่นกัน

2.2 สินเชื่อเพื่อการลงทุน อาจเป็นสินเชื่อเพื่อการจัดหาปัจจัยการผลิตหรือสินทรัพย์ถาวรต่างๆ
เพื่อใช้ในการด าเนินการผลิตไม่ว่าจะเป็นในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการ
สินเชื่อประเภทนี้มักเป็นสินเชื่อระยะยาว อาจอยู่ในรูปของการออกหุ้นกู้ หรือสินเชื่อ
จากสถาบันการเงิน

2.3 สินเชื่อเพื่อการพาณิชย์หรือสินเชื่อการค้า โดยทั่วไปเป็นสินเชื่อเพื่อการซื้อขายสินค้าประเภท
วัตถุดิบ หรือการซื้อสินค้ามาจ าหน่ายต่อเป็นการรับสินค้ามาก่อน แล้วค่อยช าระค่าสินค้า
ภายหลัง โดยทั่วไปจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น เช่น 30-60 วัน เป็นสินเชื่อที่ช่วยเพิ่มสภาพคล่อง
ให้แก่การท าธุรกิจ ทั้งนี้รวมไปถึงการออก Letter of Credit เพื่อใช้เป็นเครื่องป้องกัน
ความเสี่ยงในการช าระค่าสินค้าจากการซื้อขายระหว่างประเทศด้วย

2

3. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ขอรับสินเชื่อ



3.1 สินเชื่อส าหรับบุคคล มักเป็นสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค เช่น สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
3.2 สินเชื่อส าหรับธุรกิจ เป็นสินเชื่อส าหรับกิจการห้างร้านไม่ว่าจะนำไปใช้เพื่อการลงทุน
เพื่อการผลิต หรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการด าเนินงาน

3.3 สินเชื่อส าหรับรัฐบาล ในยามที่รัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอแก่รายจ่ายหน่วยงานภาครัฐจึงมี
ความจ าเป็นต้องกู้เงิน ซึ่งอาจอยู่ในรูปของตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และพันธบัตร
รัฐบาลรูปแบบต่างๆ เช่น พันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตร
ออมทรัพย์ เป็นต้น
4. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามผู้ให้สินเชื่อ



4.1 บุคคลเป็นผู้ให้ เช่น การให้กู้ยืมในหมู่คนรู้จัก ญาติพี่น้อง หรือการปล่อยกู้นอกระบบ
เป็นต้น

4.2 สถาบันการเงินเป็นผู้ให้ ซึ่งสถาบันการเงินก็มีหลายประเภทและอาจตั้งขึ้นเพื่อ
วัตถุประสงค์

ที่แตกต่างกัน ดังนั้น เงื่อนไขและประเภทของวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อก็อาจแตกต่าง
กันไป สถาบันการเงินเหล่านี้ยกตัวอย่าง เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการน าเข้าและ

ส่งออก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และ
ขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลาม และสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นต้น

4.3 หน่วยงานอื่นๆ เป็นผู้ให้ เช่น มูลนิธิ องค์กรที่ไม่แสวงหาก าไร หน่วยงานการกุศล และ
กองทุนต่างๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
5. การแบ่งประเภทสินเชื่อตามหลักประกัน



5.1 สินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้อาศัยความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง และ
ความสามารถในการช าระหนี้ของผู้กู้เป็นเครื่องพิจารณาการให้สินเชื่อ สินเชื่อประเภทนี้จึงมี

ความเสี่ยงสูง เพราะไม่มีหลักประกันให้แก่ผู้ให้กู้ในกรณีที่เกิดการผิดสัญญาขึ้น
5.2 สินเชื่อที่มีหลักประกัน สินเชื่อประเภทนี้มีความเสี่ยงต่ ากว่า เนื่องจากผู้กู้มีหลักประกัน
แก่ผู้ให้กู้เพื่อชดใช้ความเสียหาย หากเกิดการผิดสัญญาขึ้น โดยหลักประกันดังกล่าวอาจอยู่

ในรูปของอสังหาริมทรัพย์ เช่น การจ านองที่ดิน สังหาริมทรัพย์ เช่น พันธบัตร ทองค า
หรืออยู่ในรูปของการค้ าประกันจากบุคคล หรือ สถาบันการเงิน ก็ได้

3

สินเชื่อประเภทบุคคล







สินเชื่อส่วนบุคคล อาจหมายรวมถึง สินเชื่อเพื่อการ
บริโภค เพราะเป็นสินเชื่อที่อนุญาตให้บุคคลผู้ขอสิน

เชื่อ สามารถนำเงินก้อนไปใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
นั่นเอง



ถามว่าสินเชื่อประเภทนี้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างให้
เห็นภาพง่ายที่สุดก็คือ บัตรเครดิต และบัตรกด
เงินสด ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2
อย่างจากสถาบันการเงินและธนาคาร ก็นับเป็นส่วน
หนึ่งของสินเชื่อส่วนบุคคล ที่นับได้ว่าเป็นสินเชื่อ

เพื่อการบริโภคด้วย



โดยผู้ถือบัตร สามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย
ตามประเภทของบัตรฯ ที่ตนถืออยู่ ดังนี้
4

Visa And Mastercard

วีซ่าและมาสเตอร์การ์ดไม่ได้เป็นผู้ออกบัตรเครดิตโดยตรง แต่

เป็นตัวกลางในการชำระเงิน และดำเนินการระหว่าง ร้านค้า กับ

สถาบันการเงิน ซึ่งสถาบันการเงินจะมีสองส่วน คือ สถาบันการ

เงินที่ออกบัตร และสถาบันการเงินเจ้าของเครื่องรูดชำระที่ติดตั้ง
ในร้านค้า โดยทั้งวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดนั้น มีเครือข่ายอยู่ทั่วทุก

มุมโลก ซึ่งได้รับการยอมรับจากสากลว่าเป็นระบบที่
worldwide มากที่สุด นอกจากวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดแล้ว ยัง
มีผู้ให้บริการรายอื่น ๆ อีก เช่น American Express, JCB,
UNION PAY เป็นต้น ถ้าถามถึงความนิยมในการใช้งานของ
บัตรทั้งสองแบบ ต้องบอกว่าพอกันๆ แต่อาจจะค่อนไปทางบัตร
วีซ่ามากกว่า เพราะมีเครือข่ายการให้บริการมากกว่า 29 ล้าน

ร้านค้า และมีตู้ ATM ที่ใช้ในการถอนเงินสดมากกว่า 200
ประเทศ ทั่วโลก นิยมใช้กันในโซนเอเซีย และอเมริกา ในขณะที่
บัตรมาสเตอร์การ์ดนั้นก็มีเครือข่ายการให้บริการมากถึง 30
ล้านร้านค้า และตู้ ATM มากกว่า 200 ประเทศ ทั่วโลกเช่นกัน
แต่จะนิยมใช้ในโซนยุโรปซะมากกว่า ถึงแม้ว่าบัตรทั้งสองประเภท

จะนิยมใช้ในพื้นที่ที่ต่างกัน แต่ในความแตกต่างก็ยังมีความ
เหมือนกันคือ สิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือบัตรจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็น
ส่วนลดตามร้านค้าต่างๆ และความคุ้มครองอุบัติเหตุเมื่อผู้ถือ

บัตรฯ เดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น

5

Visa

VISA คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายในการชำระเงินผ่านบัตร

เครดิตจากประเทศอเมริกา ที่มีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด ซึ่งให้

บริการทั้งบัตรเครดิต และบัตรเดบิต โดย VISA ได้นำ


เทคโนโลยีเพื่อการชำระเงินระดับโลก มาเชื่อมโยงการใช้

จ่ายเงินของผู้บริโภค และธุรกิจไว้ด้วยกัน ซึ่งให้บริการทั้ง
ธนาคารและภาครัฐ กว่า 200 ประเทศทั่วโลกในปัจจุบัน
เพื่อให้ได้ใช้สกุลเงินระบบดิจิตอลแทนเงินสดและเช็คร่วม

กันได้อย่างคล่องตัว

VISA ไม่ได้เป็นผู้ออกบัตรเครดิต แต่เป็นเพียงเครือข่าย
การชำระเงิน และส่งข้อมูลให้ธนาคารเท่านั้น นวัตกรรม
ของ VISA ช่วยให้ธนาคารได้เสนอทางเลือกด้านการทำ
ธุรกรรมทางการเงินที่เพิ่มขึ้นให้แก่ลูกค้าของธนาคาร ซึ่ง
ทำให้ลูกค้าของธนาคาร สามารถเข้าถึงการชำระเงินทาง
อิเล็กทรอนิกส์ได้ในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น ทั้งจากหัวเมืองใหญ่
ของโลก ไปยังเมืองในพื้นที่ห่างไกลที่บางพื้นที่ไม่มีธนาคาร
ด้วยเหตุนี้ผู้คนทั่วโลกจึงสามารถชำระเงินได้อย่างสะดวก
รวดเร็ว และต่างวางใจในสกุลเงินระบบดิจิตอลมากขึ้น

6

Mastercard

บัตร MasterCard ถ้ามองถึงคุณสมบัติโดยรวม แทบไม่

ต่างจาก VISA เลยค่ะ เพราะเป็นหนึ่งในเครือข่ายผู้ให้

บริการชำระเงินเช่นเดียวกันกับบัตร VISA และยังเป็นผู้ให้

บริการเครือข่ายในการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตจากประเทศ
อเมริกาอีกเจ้าหนึ่ง ให้บริการทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต และ
บัตรพรีเพด เช่นเดียวกับบัตร VISA ซึ่ง MasterCard เอง
มีร้านค้าที่รับบัตรกว่า 30 ล้าน ร้านค้าทั่วโลก เช่นกัน แต่ก็
มีบางครั้งที่ผู้ถือบัตรประเภทนี้ ต้องเจอปัญหาในการชำระ
เงิน เพราะร้านค้าบางร้านในบางประเทศ ไม่รับบัตรค่ายที่ผู้

ใช้ถืออยู่ เช่น บางร้านค้าในประเทศแคนาดาที่รับบัตร
VISA เสียส่วนใหญ่ แต่ไม่รับบัตร MasterCard แต่สำหรับ

ในประเทศไทยนั้น บัตร MasterCard ยังคงได้รับความ
นิยมอย่างมาก และร้านค้าส่วนใหญ่ ก็ยินดีรับบัตรประเภท

นี้ไม่ต่างจากบัตรประเภท VISA เลย

7

Unionpay

Union Pay คือผู้ให้บริการบัตรเครดิตเจ้าใหญ่จากทาง

ประเทศจีน เป็นตัวแทนรับชำระค่าสินค้าและบริการเหมือน

ๆ กับ บัตร VISA และ MasterCard แต่จะต่างกันตรงบัตร

Union Pay ได้ผูกเอาพันธมิตรสินค้า บริการในประเทศ
แถบเอเชียตะวันออกเป็นส่วนใหญ่ อาทิ จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น
ขณะที่ บัตร VISA และ MasterCard จะเป็นระบบรับชำระ

ทางฝั่งอเมริกาและยุโรป

ทำไมธนาคารในประเทศไทยนิยมเอาระบบ Union Pay มา
ใช้

ปฎิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยคือแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความ
นิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือนักท่องเที่ยว
จากประเทศจีนที่หันมาเที่ยวยังประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ
ปี เราได้เห็นนักท่องเที่ยวชาวจีนตามสถานที่ท่องเที่ยว

สำคัญๆ มากมายโดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญ
และการที่นักท่องเที่ยวจีนหลั่งไหลกันเข้ามาเที่ยวใน
ประเทศไทยนั้นส่งผลดีทางด้านเศรษฐกิจเพราะนักท่อง
เที่ยวจีนกระเป๋ าหนัก แต่ติดที่ว่าไม่นิยมพกเงินสดติดตัวแต่
นิยมที่จะพกบัตรเครดิตประเภท UnionPay เอาไว้จับจ่าย

ใช้สอยกันมากกว่า



8

JCB

บัตรเครดิต JCB คือ ผู้ให้บริการเครือข่ายจากประเทศญี่ปุ่น

อีกหนึ่งบัตรที่มีคนสนใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบันร้าน

ค้าส่วนใหญ่ยังเปิดให้สามารถชำระเงินด้วยบัตรเครดิต JCB

ด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้บัตร JCB มักจะมีสิทธิ
ประโยชน์ต่าง ๆ ในการเดินทางท่องเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น
เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน ที่พักโรงแรม การซื้อสินค้าจาก
ประเทศญี่ปุ่น บริการต่าง ๆ ในสนามบิน บัตรนี้ตอบโจทย์
คนที่ชื่ นชอบการเดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่นเป็ นอย่างมาก

9

บรรณานุกรม



VISA และ Master CTahradi

laคืnอdอะไร? | MoneyDuck

บัตรเครดิตยูเนียนเพย์ (Union Pay) คืออะไร? - ทุกเรื่อง
โปรโมชั่น ที่อัพเดทที่สุด (promotions.co.th)

บัตรเครดิตมีอะไรบ้าง ประเภทบัตรเครดิตที่ควรรู้ 2022
(ktc.co.th)

10


Click to View FlipBook Version