The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

คู่มือนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ประจำปี 2566

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by Phrapathom, 2023-05-15 05:56:13

คู่มือนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ประจำปี 2566

คู่มือนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ประจำปี 2566

๔๕ ระเบียบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยความประพฤติและการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๗ ด้วยเห็นเป็นการสมควรให้มีระเบียบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยความประพฤติ และการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๗ เพื่อให้การดำเนินงานของกลุ่มบริหารงานบุคคล ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและเหมาะสม จึงออกระเบียบของโรงเรียนไว้ดังนี้ หมวดที่ ๑ บททั่วไป ๑. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยความประพฤติของ นักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๗" และให้ยกเลิกระเบียบกฎข้อบังคับอื่นที่ขัดแย้งกับระเบียบนี้ ๒. ระเบียบนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ๓. "นักเรียน" หมายถึง นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๔. "ครูที่ปรึกษา" หมายถึง ครูที่ได้รับการแต่งตั้งจากโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๕. "ครู" หมายถึง ครูที่ปฏิบัติราชการ และครูอัตราจ้างในโรงเรียนพระปฐม ๖. "หัวหน้าสถานศึกษา" หมายถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๗. "ผู้ปกครอง" หมายถึง ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๘. "สถานศึกษา" หมายถึง โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๙. "กลุ่มบริหารงานบุคคล" หมายถึง กลุ่มงานที่สถานศึกษาตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ดูแล ด้านความประพฤติและปฏิบัติตนของนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๑0. "คณะกรรมการปกครอง" หมายถึง คณะกรรมการที่สถานศึกษาตั้งขึ้นเพื่อทำ หน้าที่ตามระเบียบนี้ ๑๑. "คณะกรรมการบริหารโรงเรียน" หมายถึง คณะกรรมการบริหารโรงเรียนพระปฐม วิทยาลัย ๑๒. "ประเภทความผิด" หมายถึง ลักษณะความประพฤติที่นักเรียนกระทำขึ้นอันเป็น การฝ่าฝืนระเบียบของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๑๓. "การลงโทษ" หมายถึง การลงโทษนักเรียนที่ประพฤติผิด มีความประพฤติไม่ดีโดย ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษาหรือครูที่หัวหน้าสถานศึกษามอบหมายให้ดำเนินการ ตามระเบียบของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยความประพฤติและการปฏิบัติตนของ นักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๗ ๑๔. นักเรียนต้องปฏิบัติตามระเบียบของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วย ความประพฤติและการปฏิบัติตนของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๗


๔๖ ระเบียบการแต่งกายของนักเรียน ก. เครื่องแบบนักเรียนชาย นักเรียนชายทุกชั้นใช้เครื่องแบบดังต่อไปนี้ ๑. เสื้อ แบบเชิ้ตคอตั้ง ผ้าขาวเกลี้ยงไม่บางจนเกิน ผ่าด้านหน้าตลอด สาบที่อกเสื้อ กว้าง 5 ซม. ใช้กระดุมสีขาวกลมแบน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน ๑ ซม. แขนสั้นเพียง ข้อศอกมีกระเป๋าติดราวนมซ้าย ๑ กระเป๋า ขนาดกว้างตั้งแต่ ๘ -๑๒ ซม.และลึกตั้งแต่ "๑๐ - ๑๕ ซม. พอเหมาะกับขนาดของเสื้อ ๒. กางเกง ใช้ผ้าสีกากีแบบกางเกงไทย ขาสั้นเพียงเหนือเข่า (วัดจากเข่าขึ้นไป ๒ ซม.) กระเป๋าตามแนวตะเข็บข้าง ข้างละ ๑ กระเป๋า ไม่มีกระเป๋าหลัง เวลาสวมให้กางเกงทับชายเสื้อ ให้เรียบร้อย และสามารถมองเห็นเข็มขัดนักเรียนได้ ๓. เข็มขัด ใช้หนังสีน้ำตาลกว้างตั้งแต่ ๒. ๕ - ๔ ซม. ตามส่วนขนาดของนักเรียนหัว เข็มขัดเป็นโลหะ สีทอง หรือสีเงิน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบชนิดหัวกลัด มีปลอก หนังสีน้ำตาล ๑ ปลอก ขนาดกว้าง ๑.๕ ซม. สำหรับสอดปลายเข็มขัด เข็มขัดนี้ให้คาดทับ กางเกงนักเรียนจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้ 4. รองเท้าใช้รองเท้าหุ้มสันชนิดผูกหนัง หรือผ้าใบสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย พื้นเรียบ ๕. ถุงเท้า ใช้ถุงเท้าสั้นสีน้ำตาลครึ่งแข้ง แบบธรรมดา ไม่มีลวดลาย จะเป็นชนิดทอ ด้วยด้ายหรือสักหลาดก็ได้ (ห้ามพับปลายหรือม้วน) ข. เครื่องแบบนักเรียนหญิง นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นใช้เครื่องแบบ ดังต่อไปนี้ ๑. เสื้อ ใช้ผ้าขาวเกลี้ยงไม่บางจนเกินไป เป็นเสื้อคล้ายคอพับในตัวสวมศรีษะได้สะดวก ปกด้านหลังเป็นแบบปกทหารเรือ วัดจากต้นคอลงไปไม่เกิน ๑๒ ซม. ใช้ผ้าสองชั้นเย็บแบบเข้า ถ้ำแขนยาวเพียงเหนือข้อศอกเล็กน้อย ปลายแขนจีบ ประกอบด้วยผ้าสองชั้นกว้าง ๓ ซม. ความยาวและความกว้างของตัวเสื้อให้พอเหมาะกับลำตัวไม่รัดเอว ริมขอบเสื้อด้านล่างแถบขาว ติดกระเป๋ามีขนาดพองาม ปากกระเป๋าพับริมประมาณ ๒ ซม. ผูกหูกระต่ายใช้ผ้าสีกรมท่า ชาย เป็นสามเหลี่ยมกว้างไม่เกิน ๑0 ซม. ผูกรอบคอแบบเงื่อนกะลาสี ๒. กระโปรงใช้ผ้าสีกรมท่าเกลี้ยงไม่มีลวดลาย ด้านหน้าและด้านหลังพับเป็นจีบข้างละ ๓ จีบ พับจีบออกด้านนอก เย็บทาบขอบกลางลงมาระหว่าง ๖ - ๑๒ ซม. เว้นระยะความกว้าง ตรงกลางพองาม (วัดจากกึ่งกลางสะข้าหัวเข่าลงมายาว ๑๐ - ๑๕ ซม.) ชายกระโปรงพับเข้า ด้านใน ๕ ซม. และมีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้าง


๔๗ ๓. รองเท้าใช้รองเท้าแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า หัวมนชนิดมีสายรัดหลังเท้าเป็นรองเท้า หนังสีดำไม่มีลวดลาย 4. ถุงเท้า สีขาวไม่มีลวดลายเวลาสวมให้พับถุงเท้าลงมา 2 ชั้นกว้างประมาณ ๓ ซม. ๕. นักเรียนหญิง ต้องสวมเสื้อทับในก่อนสวมเสื้อนักเรียน หรือเสื้อพลศึกษาเสื้อทับใน และเสื้อในให้ใช้สีขาวเท่านั้น ห้ามใส่เสื้อยืดคอกลมติดคอไว้ข้างใน นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เครื่องแบบ ดังต่อไปนี้ ๑. เสื้อ ผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่บางจนเกินไป ไม่ใช้ผ้าดิบ แบบคอเชิ้ต ผ่าอกตลอด ที่อกเสื้อ ทำเป็นสาบตลบเข้าข้างใน กว้าง ๑ ซม. มีกระดุมกลมแบนสีขาวไม่เกิน ๑ ชม. เสื้อแผ่นหลังไม่ ต่อไหล่หรือจับรูด แขนยาวเพียงเหนือศอกเล็กน้อย เวลาสวมสอดชายเสื้อไว้ข้างในกระโปรง ๒. กระโปรง ใช้ผ้าสีกรมท่าเกลี้ยงไม่มีลวดลาย กระโปรงยาวเพียงคลุมเข่าพองาม (วัด จากกึ่งกลางสะบ้าหัวเข่าลงมายาว ๑0 - ๑๕ ซม.) ชายกระโปรงพับเข้าด้านใน ๕ ซม. และมี กระเป๋าตามแนวตะเข็บข้าง ๓. เข็มขัด ใช้เข็มขัดหนังสีดำกว้าง ตั้งแต่ ๒ - ๓ ซม. ตามส่วนขนาดของนักเรียน หัวรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบชนิดหัวกลัดใช้หนังสีดำหุ้ม มีปลอกหนังสีเดียวกับเข็มขัด ขนาดกว้าง ๑.๕ ซม. ๔. รองเท้า แบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้า หัวมนชนิดมีสายรัดหลังเท้า เป็นรองเท้าหนังสีดำ ไม่มีลวดลาย ๕. ถุงเท้า สีขาวล้วนไม่มีลวดลาย เวลาสวมให้พับถุงเท้าลงมา ๒ ชั้น กว้างประมาณ ๓ ซม. ๖. นักเรียนหญิง ต้องสวมเสื้อทับในก่อนสวมเสื้อนักเรียนหรือเสื้อพลศึกษาเสื้อทับใน และเสื้อในให้ใช้สีขาวเท่านั้น ห้ามใส่เสื้อยืดคอกลมติดคอไว้ข้างใน ค. การปักอักษรย่อ ชื่อโรงเรียน และชื่อ นามสกุล ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ให้ใช้ดังนี้ ที่อกเสื้อด้านขวาเหนือแนวราวนมปักอักษร พ.ป. ด้วยด้ายมันหรือไหมสีน้ำเงินแก่ ตัวอักษรมีขนาดตามแบบของโรงเรียนกำหนดให้โดยให้นักเรียนนำเสื้อที่จะไปปักไปขอ ประทับตราอักษรอดังกล่าว ได้ที่โรงเรียน ที่อกเสื้อด้านซ้ายเหนือราวนม ปักชื่อนามสกุลด้วย ด้ายมันหรือไหมสีน้ำเงินแก่ใช้แบบอักษรตัวพิมพ์ธรรมดาขนาด ๐.๗ ซม. เหนือและใต้ชื่อสกุลให้ ปักเครื่องหมายรูปดาว แสดงระดับชั้น ด้วยสีของคณะที่นักเรียนสังกัด โดยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปักดาวเหนือชื่อนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปักใต้ชื่อ


๔๘ ง. เครื่องหมายแสดงระดับชั้น นักเรียนทุกคน ต้องมีเครื่องหมายดาว ๕ แฉกปักติดที่อกเสื้อด้านซ้าย นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๓ เครื่องหมายดาวอยู่ใต้ชื่อ, นามสกุล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ - ๖ เครื่องหมายดาวอยู่เหนือชื่อ, นามสกุล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ และ ๔ มีเครื่องหมาย ดาว ๑ ดวง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ และ ๕ มีเครื่องหมายดาว ๒ ดวง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๖ มีเครื่องหมาย ๓ ดวงสีของดาวใช้สีประจำคณะซึ่งมี ๔ คณะ คือ คณะธำรงพล สีเขียว คณะถกลกิจ สีฟ้า คณะวิทย์วิโรจน์ สีส้ม คณะโชติสิริ สีม่วง วิธีคิดว่านักเรียนจะประจำอยู่คณะใด ให้ใช้วิธีคิด ดังนี้ ให้เอาเลขประจำตัว นักเรียนตั้ง หารด้วย ๔ ถ้ามีเศษ ๑ อยู่คณะธำรงพล (สีเขียว) เศษ ๒ อยู่คณะถกลกิจ (สีฟ้า) เศษ ๓ อยู่คณะวิทย์วิโรจน์ (สีส้ม) เศษ 0 อยู่คณะโชติสิริ (สีม่วง) จ. เครื่องประดับและสิ่งของเครื่องใช้ ๑. นาฬิกาข้อมือ ห้ามใช้สายสีฉูดฉาดหรือมีลวดลาย ๒. สร้อยคอ ทำด้วยเงิน หรือสแตนเลส สวมไว้ในเสื้อ ๓. ต่างหู ทำด้วยโลหะเกลี้ยง ไม่มีลวดลาย ทำเป็นห่วงคล้ายเส้นลวด ใส่ติดหู (บริเวณติ่งหู) เฉพาะนักเรียนหญิงที่เจาะหู ข้างละ ๑ ห่วง ๔. กรณีที่มีปัญหาทางสายตาให้สวมใส่แว่นสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์แบบใสเท่านั้น ฉ. กระเป๋าหนังสือ เป็นแบบกระเป๋าถือ ทรงสี่เหลี่ยม มีฝาปิด สีดำ หรือเป้สีดำ ตามแบบที่โรงเรียนกำหนด และไม่มีขีดเขียนข้อความใดๆ ช. ข้อห้าม ๑. ไว้เล็บยาว ตกแต่งเล็บ แต่งหน้า ทาริมฝีปาก กันคิ้ว สักผิวหนัง เจาะจมูก ทำสีผม ๒. เครื่องประดับมีค่า หรือเพิ่มความสวยงาม ๓. ไม้บรรทัดที่ทำด้วยโลหะทุกชนิด 4. อาวุธทุกชนิดและวัตถุจำพวกระเบิดทุกชนิด ๕. เครื่องเสียงและเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ๖. นักเรียนชายห้ามใส่ต่างหู ๗. นำทรัพย์สินของมีค่าทุกชนิดมาโรงเรียน


๔๙ ระเบียบการแต่งกายเครื่องแบบยุวกาชาด เครื่องแบบสมาชิกยุวกาชาด ๑. เสื้อ สีฟ้าอมเทาเชิ้ตแบบแขนสั้น ปลายแขนพับตลบออกด้านนอก ขนาดกว้าง ประมาณ ๓ ซม. ตัวเสื้อผ่าอกตลอด มีสาบกว้าง ๓ ซม. และชัดดุมตลอด ๕ ดุม ที่อกเสื้อมี กระเป๋าสองข้าง ตรงกึ่งกลางกระเป๋าพับจีบเป็นแถบกว้างเท่ากับสาบเสื้อ มีใบปกรูปมนชาย กลาง แหลมและขัดดุมที่ไหล่เสื้อมีสาบอินธนู ขัดดุมข้างละหนึ่งดุม กระดุม ทั้งสิ้นดังกล่าวนี้ มีลักษณะเป็นรูปกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ ซม. ทำด้วยวัตถุสีเดียวกับเสื้อ ๒. กระโปรง กระโปรงทรงบาน ใช้ผ้าและสีชนิดเดียวกับเสื้อ ยาวคลุมเข่ามีจีบรอบตัว ๑๒ จีบ ระยะห่างระหว่างจีบเท่ากัน ด้านหน้า ๖ จีบ ตะเข็บหลบในยาวประมาณ ๔ นิ้ว และ มีกระเป๋าตามแนวตะเข็บข้าง ใช้สวมทับเสื้อ เครื่องประกอบเครื่องแบบยุวกาชาด ๑. หมวก ทำด้วยผ้าสีกรมท่า มีรูปทรงคงที่ แบบมีแก๊ปด้านหน้า ตลบปีกด้านหลังและ ด้านล่างมีชัยช่อพฤกษ์ ตรงส่วนบนมีอุณาโลมแดง ยอดอุณาโลมแดงมีตะเข็บเป็นรัศมี จากฐาน เครื่องหมายถึงยอดสูง ๓ ซม. ๒. ผ้าผูกคอ ใช้ผ้าสีกรมท่า มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก ติดเครื่องหมายยุวกาชาด ทำด้วยผ้าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ ซม. ให้ห่างจากมุมฉาก ๕ ซม. เวลาใช้พับทบหลายๆ ครั้ง ผูกเป็นเงื่อนพิรอดตรงกับกระดุมเม็ดที่ ๒ ๓. เข็มเครื่องหมายยุวกาชาด ติดที่อกเสื้อด้านขวา ๔. ตัวเลขบอกระดับ เป็นโลหะสีทอง ติดที่อินธนู ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นใช้เลข ๓ ๕. แถบชื่อโรงเรียน ขนาด ๒ X ๗ ซม. ผ้าพื้นสีแดงขอบขาว ตัวอักษรสีขาว (ไม่มีคำว่า โรงเรียน) ติดกึ่งกลางของแขนเสื้อด้านขวา ห่างจากตะเข็บไหล่ ๑ ซม. ๖. เครื่องหมาย ชั้น กลุ่ม หน่วยสี เป็นเลขไทย ติดกึ่งกลางของแขนเสื้อด้านขวาห่าง จากแถบชื่อโรงเรียน ๑ ซม. ๗. ชื่อ - สกุลนักเรียน ทำด้วยผ้าสีขาว กว้าง ๒.๕ ซม. ปักชื่อ - นามสกุลสีน้ำเงิน ตัวอักษรสูง ๑ ซม. 8. เข็มขัด หัวเข็มขัดทำด้วยโลหะสีเงิน รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง ๓.๕ ซม. ยาว ๔.๕ ซม. ตรงกลางมีลายดุนเป็นเครื่องหมายอย่างเดียวกับเครื่องหมายหน้าหมวกสายเข็มชัดทำด้วยหนัง สีดำขนาดพอดีกับหัวเข็มขัดโดยคาดทับขอบกระโปรง ๙. ถุงเท้า ชนิดสั้นสีขาวไม่มีลวดลาย ๑๐. รองเท้า หนังสีดำแบบนักเรียน (หุ้มส้น หุ้มปลายเท้าหัวมน ชนิดรัดหลังเท้าส้นสูง ไม่เกิน ๑ - ๑.๕ ซม.)


๕๐ ระเบียบการแต่งกายเครื่องแบบลูกเสือ เครื่องแบบลูกเสือหลวง (เครื่องแบบพระราชทานพิเศษ) ๑. หมวกปีกสานสีน้ำตาล ขลิบหมวกเย็บด้วยกำมะหยี่สีเหลือง มีขนนกสีขาวปีกอยู่ ทางบนขวาของหมวก ๒. เสื้อและกางเกงสีกากี (เป็นผ้าพับเดียวกัน) 3. ผ้าผูกคอสีเหลือง พร้อมทั้งห่วงสวมผ้าผูกคอ 4. เครื่องหมายหมู่ (แถบสี) 5. ป้ายชื่อสีขาว ตัวหนังสือสีน้ำเงิน ตัวหนังสือโต ขนาด ๑ ซม. ๖. เข็มขัดสีน้ำตาล ขนาด ๓ ซม. หัวเข็มขัดสีทอง มีลายดุนรูปคณะลูกเสือแห่งชาติ ภายในกรอบช่อชัยพฤกษ์ ๗. ถุงเท้าสีกากี 8. รองเท้าหนังสีน้ำตาล หรือผ้าใบสีน้ำตาลแก่ (อนุโลมให้ใช้รองเท้านักเรียนสีน้ำตาล) ระเบียบการแต่งกายเครื่องแบบพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชาย) ๑. ใช้กางเกงขายาวสีน้ำเงิน เอวใส่ยางยืด กุ๊นแถบเหลือง ปลายขาปล่อย ๒. เสื้อโปโลสีเหลือง มีตราโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยที่อกด้านซ้าย ที่อกขวาปัก ชื่อ - สกุล และปักดาวตามระดับชั้น 3. รองเท้า ใช้รองเท้าผ้าใบสีน้ำตาลไม่มีลวดลาย พื้นเรียบ และถุงเท้าสีน้ำตาลและ ห้ามมีลวดลายเป็นสีอื่นๆ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (หญิง) ๑. ใช้กางเกงขายาวสีน้ำเงิน เอวใส่ยางยืด กุ๊นแถบเหลือง ปลายขาปล่อย ๒.เสื้อโปโลสีเหลือง มีตราโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยที่อกด้านซ้าย ที่อกด้านขวาปัก ชื่อ - สกุล และปักดาวตามระดับชั้น ๓. รองเท้าใช้รองเท้าผ้าใบสีขาวไม่มีลวดลาย พื้นเรียบ และถุงเท้าสีขาว ห้ามมีลวดลาย สำหรับรองเท้าต้องมีเชือกผูกให้เรียบร้อย หมายเหตุ : ให้ใส่ชุดพลศึกษาในวันที่เรียนวิชาพลศึกษาหรือวันที่โรงเรียนเท่านั้น


๕๑ ระเบียบการลาโรงเรียน ๑. การหยุดโรงเรียนทุกครั้ง นักเรียนจะต้องยื่นใบลากิจหรือลาป่วย ต่อครูที่ปรึกษา ตามเหตุผลที่เป็นจริง ๒. ให้ผู้ปกครองเขียนข้อความรับรองว่า "ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นความจริง"และลงชื่อ ผู้ปกครองกำกับไว้ ๓. นักเรียนคนใดไม่มาเรียนและไม่ส่งใบลา ถือว่าหลบหนีโรงเรียน 4.ผู้ปกครองที่จะลงชื่อรับรองใบลานั้น ต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ลงชื่อในใบมอบตัว ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองให้ผู้ปกครองคนเดิมทำหนังสือแจ้งโรงเรียนเป็นหลักฐาน ๕. ถ้าปรากฎว่านักเรียนคนใดปลอมลายมือชื่อผู้ปกครอง ให้ลงโทษฐานสร้างหลักฐาน เท็จอีกประการหนึ่งด้วย


๕๒ แบบใบลาป่วย และลากิจ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย วันที่...........เดือน.....................พ.ศ. ............. เรื่อง..................................................................... เรียน ครูที่ปรึกษา................................................ ด้วยข้าพเจ้า (นาย/นางสาว/เด็กชาย/เด็กหญิง).............................................................. นักเรียนชั้น..............มีความจำเป็นขอลาป่วย/ลากิจ เนื่องจาก..................................................... จึงขออนุญาตหยุดเรียนกำหนด....................วัน ตั้งแต่วันที่........เดือน...................พ.ศ. ............... ถึงวันที่..............เดือน...............................พ.ศ. ............... เมื่อครบกำหนดแล้วข้าพเจ้าจะมาเรียนตามปกติ ขอรับรองว่าเป็นความจริง (ลงชื่อ)................................................. (…………………………………………………………………..) นักเรียน ขอรับรองว่าเป็นความจริง (ลงชื่อ)……………………………………………………………….. (………………………………………………………………….) ผู้ปกครอง


๕๓ ระเบียบการขอใบรับรองความประพฤติ นักเรียนที่มีความประสงค์จะขอใบรับรองความประพฤติ เพื่อใช้ประกอบการสมัครเข้า เรียนต่อ หรือเพื่อสิทธิ์อื่น ๆ ให้นักเรียน และครูถือแนวปฏิบัติ ดังนี้ ๑. ให้นักเรียนขอใบรับคำร้องขอใบรับรองความประพฤติที่กลุ่มบริหารงานบุคคลและ ยื่นคำร้องผ่านครูที่ปรึกษา พร้อมรูปถ่าย ๑ นิ้ว จำนวน ๒ รูป 2. ครูที่ปรึกษาบันทึกรับรองความประพฤติ และนำเสนอรองผู้อำนวยการกลุ่ม บริหารงานบุคคลรับรอง ๓. กลุ่มบริหารงานบุคคลรวบรวมส่งกลุ่มบริหารทั่วไป เพื่อจัดทำและนำเสนอ ผู้อำนวยการโรงเรียนลงนาม 4. ให้นักเรียนติดต่อขอรับใบรับรองความประพฤติได้ที่กลุ่มบริหารงานบุคคลหลังจาก ยื่นคำร้องแล้วอย่างน้อย ๓ วัน ระเบียบการขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ๑. เวลาตั้งแต่โรงเรียนเข้าจนถึงโรงเรียนเลิก นักเรียนผู้ใดจะออกนอกบริเวณโรงเรียน ด้วยเหตุผลใดก็ดี ต้องมีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือผู้มีหนังสืออนุญาตจากผู้ปกครองมาแสดง ต่อกลุ่มบริหารงานบุคคลและก่อนจะออกนอกบริเวณโรงเรียนจะต้องลงชื่อในสมุดขออนุญาต ออกนอกบริเวณโรงเรียน พร้อมรับใบอนุญาต จึงจะถือว่าเป็นการได้รับอนุญาตที่สมบูรณ์ 2.ในกรณีที่ไม่มีผู้ปกครองมารับ ให้ขอแบบฟอร์มการขออนุญาตออกนอกบริเวณ โรงเรียนที่กลุ่มบริหารงานบุคคล เพื่อขออนุญาตจากครูที่ปรึกษา และหัวหน้าระดับจึงจะถือว่า เป็นการได้รับอนุญาตที่สมบูรณ์ ๓. เมื่อโรงเรียนเข้าเรียนแล้วจะเปิดประตูกาญจนจิตติเท่านั้น ให้นักเรียนเข้าออกทาง ประตูดังกล่าวก่อนออกต้องแสดงบัตรที่ได้รับจากกลุ่มบริหารงานบุคคลให้ครูหรือเจ้าหน้าที่ผู้มี หน้าที่ตรวจบัตรดูเสียก่อนจึงจะออกนอกบริเวณโรงเรียนได้ ๔. การออกนอกโรงเรียน จะต้องกระทำกิจตามที่ขออนุญาตไว้ ถ้าปรากฎว่านักเรียน ผู้ใดไปกระทำกิจอย่างอื่น ถือว่าเป็นการหลบหนีโรงเรียน เช่น ขอลาไปถอนฟันแล้วไปดู ภาพยนตร์ เป็นต้น


๕๔ ระเบียบการตรวจค้นนักเรียน เพื่อป้องกันมิให้นักเรียนนำอาวุธ วัตถุระเบิด สารเสพติด หรือส่วนประกอบสารเสพติด ให้โทษ หนังสือลามก ภาพลามก หรือสิ่งต่าง ๆ อันเป็นการไม่เหมาะสมเข้าในบริเวณโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้โรงเรียนเป็นสถานที่สงบปลอดภัย และไม่สร้างความหวาดระแวงให้แก่ครู นักเรียน โรงเรียนจะดำเนินการ ดังนี้ ๑. โรงเรียนจะดำเนินการตรวจค้นในห้องเรียนเป็นระยะ ๆ โดยไม่บอกให้ทราบ ล่วงหน้า 2. ถ้าปรากฎว่าค้นพบอาวุธหรือของมีคมโรงเรียนจะเก็บไว้และแจ้งให้ผู้ปกครอง รับทราบ ๓. ถ้าปรากฎว่าพกอาวุธปืนมีทะเบียน โรงเรียนจะเก็บไว้ และแจ้งให้ผู้ปกครองมารับ คืน พร้อมด้วยการพิจารณโทษแก่นักเรียน แต่ถ้าเป็นปืนไม่มีทะเบียนโรงเรียนจะมอบให้ เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย ๔. ผู้ใดนำวัตถุระเบิดทุกชนิด มาในบริเวณโรงเรียนให้ลงโทษสถานหนัก


๕๕ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ อาศัยอำนาจดามความในมาตรา 6 และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕4๖ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและ นักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและ นักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นดันไป ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา" หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของ โรงเรียนหรือสถานศึกษานั้น "กระทำความผิด" หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษา "การลงโทษ" หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิดโดยมี ความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้ (๑) ว่ากล่าวตักเตือน (๒) ทำทัณฑ์บน (๓) ตัดคะแนนความประพฤติ (4) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาตัวยวิธีรุนแรง หรือแบบกสั่นแกล้ง หรือลงโทษ ด้วยความโกรธ หรือตัวยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และ ความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติ ไม่ดีของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติคนในทางที่ดีต่อไป ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา มอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา ข้อ ๗ การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง


๕๖ ข้อ ๘ การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ สภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือ กรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือผ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบ ความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย ข้อ ๙ การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัด คะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึก ข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ข้อ ๑๐ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษา กระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจ ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


๕๗ ระเบียบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤติของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๐ ด้วยโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยมีนโยบาย และมีความประสงค์ที่จะส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพนักเรียนในด้านคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันดีงาม เพื่อปลูกฝังอบรมนักเรียนให้ เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบวินัยและกฎข้อบังคับของโรงเรียน ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบายระเบียบข้อบังคับต่างๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนที่ จบการศึกษาออกไปสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข และช่วยพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้าต่อไปดังนั้นโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยจึงได้กำหนดระเบียบข้อบังคับในด้าน ความประพฤติของนักเรียนไว้ดังต่อไปนี้ ข้อที่ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ว่าด้วยการตัดคะแนน พฤติกรรมของนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อที่ ๒ ระเบียบนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕o เป็นต้นไป ข้อที่ ๓ ระเบียบนี้ใช้สำหรับนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ข้อที่ ๔ นักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยทุกคน ถือว่าเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อย โรงเรียนจึงกำหนดให้มีคะแนนพฤติกรรมไว้คนละ ๑๐๐ คะแนน แบ่งเป็น ๒ ช่วงชั้นเรียน คือ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อที่ ๕ การพิจารณาตัดคะแนนพฤติกรรมของนักเรียน ให้ครูทุกคนมีสิทธิ์และมีอำนาจ ที่จะเสนอตัดคะแนนพฤติกรรมนักเรียนทุกคนที่สอนและมิได้สอน แล้วให้เสนอฝ่ายบริหารงาน บุคคลของโรงเรียน เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป ก่อนตัดคะแนนทุกครั้งต้องชี้แจงแนะนำ สั่งสอน ตักเตือนได้ทุกกรณีในความผิด โดยใช้อำนาจตัดคะแนนพฤติกรรมตามลักษณะความผิดแก่ครู ดังนี้ ๕.๑ ครูทุกคนมีอำนาจตัดคะแนนได้ครั้งละไม่เกิน ๑๐ คะแนน ๕.๒ คณะกรรมการปกครองระดับชั้น มีอำนาจตัดคะแนนได้ครั้งละไม่เกิน ๒๐ คะแนน ๕.๓ คณะกรรมการบริหารงานกิจการนักเรียน หัวหน้าระดับชั้นมีอำนาจตัดคะแนนได้ ครั้งละไม่เกิน ๓๐ คะแนน ๕.๔ ผู้บริหาร รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคล หัวหน้างานกิจการนักเรียน มีอำนาจตัดคะแนนได้ครั้งละไม่เกิน ๕๐ คะแนน


๕๘ ข้อที่ 6 ลักษณะความผิดและเกณฑ์การตัดคะแนนพฤติกรรมแบ่งไว้เป็นหมวดๆ ดังนี้ 6.1 หมวดพฤติกรรมการเรียนและการมาโรงเรียน ลำดับ ลักษณะความผิด คะแนนที่ถูกตัด 1 2 3 4 5 6 ไม่สนใจเรียนและไม่ตั้งใจเรียนในขณะที่มีการเรียนการสอน ไม่มีหนังสือหรือเอกสารการเรียน ไม่ส่งการบ้านหรืองานที่ได้รับมอบหมาย ไม่สนใจร่วมกิจกรรมกลุ่มในการเรียน เข้าห้องช้าเป็นประจำ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มาโรงเรียนสาย โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 7 8 9 10 11 ขาดเรียนบ่อย หลบหนีการเข้าแถวตอนเช้า ไม่เข้าร่วมประชุมหรือฟังการอบรมบรรยาย เที่ยวเตร็ดเตร่ตามศูนย์การค้าหรือสถานที่ไม่เหมาะสมในเวลาเรียน ไม่เข้ากิจกรรมสำคัญต่างๆ ตามที่โรงเรียนจัดให้โดยไม่มีเหตุผลอันควร 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 6.2 หมวดพฤติกรรมการแต่งกาย ลำดับ ลักษณะความผิด คะแนนที่ถูกตัด 1 2 3 4 5 6 7 ใส่เสื้อผิดระเบียบ หรือปล่อยชายเสื้อออกนอกกางเกง หรือกระโปรง (ม.ปลาย) ทั้งในและนอกโรงเรียน กางเกง กระโปรงผิดระเบียบ ถุงเท้า รองเท้า เข็มขัด ผิดระเบียบของโรงเรียน ใช้เป้ หรือกระเป๋าผิดระเบียบ ใส่เครื่องประดับที่ไม่เกี่ยวข้องกับเครื่องแบบนักเรียน แต่งกายไม่สุภาพ และไม่เหมาะสม ในโรงเรียนในวันหยุด ไม่แต่งกายเครื่องแบบลูกเสือ, ยุวกาชาด ตามวัน เวลาที่กำหนด 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 8 ทรงผมผิดระเบียบ หรือทำสีผม 10 คะแนน


๕๙ 6.3 หมวดพฤติกรรมเกี่ยวกับการประพฤติต่างๆ ลำดับ ลักษณะความผิด คะแนนที่ถูกตัด 1 2 ไม่พกพาบัตรประจำตัวนักเรียน ไม่ส่งจดหมาย หรือเอกสารแจ้งผู้ปกครองของโรงเรียนให้ผู้ปกครองทราบ 5 คะแนน 5 คะแนน 3 4 5 6 ใช้กิริยา วาจาหยาบคาย ไม่สุภาพ โดยการพูด เขียน และแสดงท่าทาง เล่นและส่งเสียงอึกทึกก่อความรำคาญ ขณะมีการเรียนการสอน เล่นในบริเวณพื้นที่ที่ห้ามเล่น มั่วสุมในห้องต่าง ๆ ทั้งในและนอกเวลาเรียน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 10 คะแนน 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 ไม่แสดงความเคารพ และไม่มีสัมมาคารวะต่อครู ปลอมแปลงลายมือ หรือเอกสาร หรือปลอมตน เพื่อสิทธิประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง กลั่นแกล้ง รังแก ข่มขู่บุคคลอื่นให้เกิดความเสียหาย ทะเลาะวิวาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่บาดเจ็บ หรือได้รับอันตราย ขัดคำสั่ง หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของครู ยุยง หรือสร้างความแตกแยก ความสามัคคี ให้การเท็จ หรือบ่ายเบี่ยงไม่ยอมรับ หรือการซัดทอดบุคคลอื่นในกรณีที่ กระทำผิดร่วมกัน ลักทรัพย์เล็ก ๆ น้อย ๆ โดยไม่เจตนา หรือวางแผนไว้ก่อน เที่ยวเร่ร่อน หรือมั่วสุม ตามบ้านเพื่อน หรือตามที่สาธารณะ หรือสถานเริงรมย์ หรือตามศูนย์การค้า มีสื่อลามกอนาจารทุกชนิด โดยมีอุปกรณ์การเล่น และมีหลักฐานชัดเจน เล่นการพนันทุกชนิด โดยมีอุปกรณ์การเล่น และมีหลักฐานชัดเจน หลบหนีออกนอกโรงเรียน โดยไม่ได้รับอนุญาต 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 20 คะแนน 19 20 21 ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายรุนแรงได้รับบาดเจ็บ ชู้สาว หรือกระทำการในทำนองชู้สาว หรือกระทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ในวัย เรียน ขัดขวางหรือไม่ให้ความร่วมมือต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือได้รับมอบหมาย ของครู ซึ่งอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 22 23 24 25 26 27 28 ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และของโรงเรียนให้เกิดความเสียหาย มั่วสุมสูบบุหรี่ตามที่ต่างๆ หรือมีบุหรี่ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ อยู่ในครอบครอง ดื่มสุรา หรือสิ่งมีนเมา หรือมีอยู่ในครอบครอง มั่วสุม หรือรวมกลุ่มเป็นก๊วน หรือแก๊ง เพื่อกระทำการที่ไม่เหมาะสม เป็นปฏิปักษ์ต่อ การเป็นนักเรียนที่ดี ก่อเหตุทะเลาะวิวาทภายนอกโรงเรียน ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงโรงเรียน เจตนาลักทรัพย์ ของมีค่า หรือเตรียมการ หรือวางแผนไว้ก่อน บีบบังคับ ข่มขู่ผู้อื่น เพื่อประสงค์ร้าย หรือประสงค์ต่อทรัพย์ หรือเจตนาอื่นใด ที่ไม่ได้รับการยินยอม 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 30 คะแนน 29 30 31 แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และก้าวร้าวต่อครู มีอาวุธทุกชนิดอยู่ในครอบครองและหรือใช้อาวุธทำร้ายผู้อื่นจนได้รับบาดเจ็บ เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด และมีอยู่ในครอบครอง หรือมีอุปกรณ์ประกอบการเสพอื่นๆ อยู่ในครอบครอง 40 คะแนน 40 คะแนน 40 คะแนน 32 เป็นผู้จัดหา หรือจัดจำหน่ายสิ่งเสพติด 50 คะแนน


๖๐ ๖.๔ หมวดพฤติกรรมเกี่ยวกับการรักษาความสะอาด ลำดับ ลักษณะความผิด คะแนนที่ถูกตัด 1 2 3 4 5 ไม่ทิ้งขยะในที่ที่จัดให้ นำภาชนะหรืออุปกรณ์ใส่ขยะไปใช้ผิดประเภท เช่น ทำเป็นประตูฟุตบอล ฯลฯ นำภาชนะ อาหารเครื่องดื่มออกนอกบริเวณโรงอาหารหรือสถานที่ที่จัดไว้ให้ ไม่รักษาความสะอาด หรือไม่รักษามารยาทที่ดีในการรับประทานอาหาร รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาที่กำหนด หรือนำไปรับประทานในห้องเรียน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 5 คะแนน 6 กระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสกปรกตามผนังตึก หรืออาคารหรือสถานที่ต่าง ๆ ทั้ง ภายในและภายนอกโรงเรียน 5 คะแนน ลักษณะความผิดของทุกหมวดที่มีจำนวนคะแนน ๕ คะแนน ถ้าเป็นการกระทำผิดครั้ง แรกให้ดำเนินการ ดังนี้ 1. อบรม สั่งสอน และว่ากล่าวตักเตือน แล้วบันทึกในแบบพฤติกรรมไว้เป็นหลักฐาน รวบรวมไว้ที่ฝ่ายบริหารงานบุคคล ๒. ถ้านักเรียนกระทำความผิดในกรณีเดียวกันเกิน ๓ ครั้ง ให้เชิญผู้ปกครองมาพบเพื่อ ทราบและทำทัณฑ์บนเอาไว้และแจ้งครูที่ปรึกษารับทราบ ข้อที่ ๗ นักเรียนที่กระทำความผิดตามระเบียบและข้อบังคับของโรงเรียนจนถูกตัด คะแนนพฤติกรรมตามระเบียบนี้ เมื่อรวมคะแนนที่ถูกตัดแล้ว จะดำเนินการตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ลำดับ คะแนนที่ถูกตัด ลักษณะความผิด 1 30 คะแนนขึ้นไป แจ้งผู้ปกครองทราบ 2 30 คะแนนขึ้นไป แจ้งผลการตัดคะแนนพฤติกรรมให้ ผู้ปกครองทราบ และเชิญผู้ปกครองมาทำ บันทึกสัญญาทัณฑ์บน ครั้งที่ ๑ 3 30 คะแนนขึ้นไป เชิญผู้ปกครองมาพบและทำบันทึกสัญญาทัณฑ์บน ครั้งที่ ๒ และบันทึกสัญญา ว่าจะดูแลนักเรียน 4 30 คะแนนขึ้นไป คณะกรรมการพิจารณาความผิด ประชุมสรุปความเห็นเสนอต่อผู้อำนวยการ เพื่อใช้อำนาจสั่งพักการเรียนตามระเบียบและแจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบ หรือ เชิญมาพบเพื่อหาทางแก้ไขพฤติกรรม นักเรียนต่อไป 5 30 คะแนนขึ้นไป คณะกรรมการพิจารณาความผิด ประชุมสรุปความเห็นเสนอต่อผู้อำนวยการ เพื่อใช้อำนาจสั่งพักการเรียนตามระเบียบครั้งที่ ๒ หรือเสนอให้เปลี่ยน สถานศึกษา เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนซึ่งจะบังเกิดผลดีต่อ การปรับเปลี่ยนและพฤติกรรมของนักเรียน


๖๑ ลำดับ คะแนนที่ถูกตัด ลักษณะความผิด 6 30 คะแนนขึ้นไป คณะกรรมการพิจารณาความผิดเสนอความเห็นต่อผู้อำนวยการให้ใช้อำนาจสั่ง ย้ายสถานศึกษา เพื่อปรับเปลี่ยน และพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน 7 นักเรียนที่เรียนชั้นสูงสุดใน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้นที่ถูกตัดคะแนน พฤติกรรมถึง 60 คะแนน เชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อให้คำแนะนำในการศึกษาต่อสายอาชีพหรือจัดให้ย้าย สถานศึกษา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาพฤติกรรมของนักเรียน ข้อที่ ๘ วิธีปฏิบัติของครู - อาจารย์ ตามระเบียบนี้ ๑.๑ การบันทึกการตัดคะแนนพฤติกรรมให้ใช้แบบบันทึกที่ฝ่ายบริหารงาน บุคคลกำหนเท่านั้นลงในทะเบียนประวัติฝ่ายบริหารงานบุคคล ๑.๒ เมื่อผู้มีอำนาจตัดคะแนนพฤติกรรมของนักเรียนที่กระทำผิดนั้นให้เสนอ เรื่องขึ้นไปตามสายงานการบริหารงานกิจการนักเรียนจนถึงผู้อำนวยการโรงเรียนเพื่อเห็นชอบ และอนุมัติทุกครั้ง ๑.๓ ในการตัดคะแนนพฤติกรรมทุกครั้ง ให้แจ้งผู้ปกครองรับทราบและฝ่าย บริหารงานบุคคลต้องเก็บเอกสารลงโทษต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐาน ข้อที่ ๙ การพิจารณาตัดคะแนนพฤติกรรมของนักเรียนที่นอกเหนือจากข้อ ๖ ให้อยู่ใน ดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารงานกิจการนักเรียนที่จะพิจารณา ข้อที่ ๑๐ การใช้ระเบียบนี้ให้ดำเนินการควบคู่กับระเบียบว่าด้วยการปฏิบัติตนของ นักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย และเป็นไปตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การลงโทษนักเรียน หรือนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘ ข้อที่ ๑๑ ให้รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารงานบุคคลเป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตาม ระเบียบนี้ ประกาศ ณ วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ นายชัยรัตน์ เผดิมรอด ผู้อำนวยการโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย


๖๒ แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การสรุปผลการประเมิน การวัดและประเมินผลด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น มีความละเอียดอ่อน เพราะ เป็นเรื่องของการพัฒนาคุณลักษณะที่ต้องปลูกฝังให้เกิดในตัวผู้เรียน การวัด และประเมินผลจึง ต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเมื่อได้รับการพัฒนาเป็นระยะ หรือเมื่อสิ้นปีการศึกษา ดังนั้นเพื่อให้มีแนวทางการสรุปผลการประเมินที่ชัดเจน เป็นธรรมสำหรับผู้เรียน จึงขอเสนอ แนวทางการกำหนดเกณฑ์พิจารณาการสรุปผล การประเมิน ๔ ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ : เกณฑ์พิจารณาสรุปผลการประเมินครูลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละ คุณลักษณะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๑ รักชาติศาสน์กษัตริย์ ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไปและได้ผลการประเมินระดับดี อย่างน้อย ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้รับการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับดีจำนวน ๓ ตัวชี้วัด และตัวชี้วัดที่เหลือ ได้ผลการประเมินระดับ ผ่าน ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน จำนวน ๒ ตัวชี้วัด และไม่มีผลการประเมิน ตัวชี้วัดใดต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๑) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๒ ซื่อสัตย์สุจริต ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และดีระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน (๑) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๓ มีวินัย ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ดี(๒) ได้ผลการประเมินระดับดี ผ่าน (๑) ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๐) ได้ผลการประเมินระดับไม่ผ่าน


๖๓ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๔ ใฝเรียนรู้ ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และดีระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๕ อยู่อย่างพอเพียง ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และดีระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๖ มุ่งมั่นในการทำงาน ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และดีระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน


๖๔ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๗ รักความเปนไทย ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ตั้งแต่ ๒ ตัวขึ้นไป และไม่มีผลการประเมินตัวชี้วัดได้ต่ำกว่าระดับ ผ่าน ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับดีจำนวน ๑ ตัวชี้วัด และไม่มีผลการประเมินตัวชี้วัดได้ต่ำกว่า ระดับผ่าน ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและไม่มีผลการประเมินตัวชี้วัดใดต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ข้อที่ ๘ มีจิตสาธารณะ ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และดีระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ดี(๒) ๑.ได้ผลการประเมินระดับดีทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยม และระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ผ่าน (๑) ๑.ได้ผลการประเมินระดับผ่าน ทุกตัวชี้วัด หรือ ๒.ได้ผลการประเมินระดับดีและระดับผ่าน ระดับละ ๑ ตัวชี้วัด ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน ขั้นตอนที่ ๒ : เกณฑ์การพิจารณาสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตาม คณะกรรมการทุกคนในแต่ละคุณลักษณะ ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๖๐ ของจำนวน ผู้ประเมินและไม่ได้ ผลการประเมินต่ำกว่าระดับดี ดี(๒) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมน้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ของจำนวนผู้ประเมินและไม่ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมเท่ากับร้อยละ ๖๐ ของจำนวนผู้ประเมินและไม่ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๓. ได้ผลการประเมินระดับดีมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๖๐ ของจำนวนผู้ประเมินและไม่ได้ผลการ ประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน ผ่าน (๑) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดี(๓)เท่ากับร้อยละ ๖๐ ของจำนวนผู้ประเมินและไม่ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน (๑) หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับผ่านมากกว่าเท่ากับร้อยละ ๖๐ ของจำนวนผู้ประเมินและไม่ได้ ผลการประเมินต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๐) มีผลการประเมินตัวชี้วัดข้อใดข้อหนึ่งได้ระดับไม่ผ่าน


๖๕ ขั้นตอนที่ ๓ : เกณฑ์การพิจารณาสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายปี/รายภาค ของผู้เรียนรายบุคคล ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕-๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับดี ดี(๒) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๑ - ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๓. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕ - ๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน ผ่าน (๑) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕ - ๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๐) ได้ผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ ๑ คุณลักษณะ ขั้นตอนที่ ๔ : เกณฑ์การพิจารณาสรุปผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละระดับ การศึกษา ระดับ เกณฑ์การพิจารณา ดีเยี่ยม (๓) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕-๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับดี ดี(๒) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๑ - ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๓. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕ - ๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน ผ่าน (๑) ๑. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๕ - ๘ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน หรือ ๒. ได้ผลการประเมินระดับดีเยี่ยมจำนวน ๔ คุณลักษณะและไม่มีคุณลักษณะใด ได้ผลการประเมิน ต่ำกว่าระดับผ่าน ไม่ผ่าน (๐) ได้ผลการประเมินระดับไม่ผ่าน ตั้งแต่ ๑ คุณลักษณะ


๖๖ เกณฑ์การพิจารณาสรุปผลการประเมิน กรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านเกณฑ์คุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้ผู้ที่รับผิดชอบดำเนิน การปรับปรุงพัฒนาและประเมินตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด


๖๗ ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓) ให้จัดเวลาเรียน เป็นรายภาค คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑.๐ หน่วยกิต ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔-๖) ให้จัดเวลา เรียนเป็น รายภาค คิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิตใช้เกณฑ์ ๔๐ ชั่วโมง ต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชาเท่ากับ ๑.๐ หน่วยกิต ระบบการเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนตน จัดให้นักเรียนอยู่ประจำห้องเรียนโดยนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ อยู่ประจำอาคาร ๗ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ อยู่ประจำ อาคาร ๑ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ อยู่ประจำ อาคาร ๖ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้นักเรียนอยู่ประจำห้องเรียนโดย นักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ อยู่ประจำอาคาร ๓ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ อยู่ประจำอาคาร ๔ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ อยู่ประจำอาคาร ๙ นอกจากนี้ได้มีการจัดพื้นที่ (zone) ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แบ่งเป็นกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย (อาคาร ๑) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(อาคาร ๖) กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์(อาคาร ๕) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (อาคาร ๓) กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ (อาคาร ๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (อาคาร ๘) กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (อาคาร 9) กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ (อาคาร ๒) เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง การเข้าเรียน ครูผู้สอนเป็นผู้สำรวจการเข้าเรียนของนักเรียนทุกครั้งในชั่วโมงการเรียน การสอน นักเรียนที่ขาดเรียนเกินกำหนดจะไม่มีสิทธิ์เข้าสอบ หรือรับการประเมิน ปลายภาคทำให้ไม่ได้ รับผลการเรียน จึงไม่จบหลักสูตรได้นอกจากนี้นักเรียน ที่เข้าเรียนแต่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมที่สมควรได้รับการแก้ไข โรงเรียนกำหนดให้มีมาตรการในการกำกับการเข้า เรียน และเชิญผู้ปกครองของ นักเรียนมาโรงเรียนร่วมแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าวด้วย การไดรับผลการเรียน ผลการเรียนที่จะต้องมีการแก้ไขคือ ผลการเรียนที่มีคะแนนไม่ถึงครึ่งของ คะแนนรวม ในการประเมินรายภาคหรือรายปีซึ่งนักเรียนที่ได้รับผลการประเมินดังกล่าว จะต้องลงทะเบียน แก้ไขและเข้ารับการแก้ไขตามกำหนดของโรงเรียน กรณีที่แก้ไข แล้วผลยังไม่ดีขึ้น หรือไม่เข้ารับ การแก้ไข นักเรียนจะต้องลงทะเบียนซ้ำในรายวิชานั้น ซึ่งการเรียนซ้ำอาจจะไม่สามารถเรียนใน ภาคเรียนถัดไป นักเรียนอาจจะต้องเสียเวลา เปนภาคเรียน หรือเปนปีทำให้ไม่สามารถ จบหลักสูตรพร้อมกับนักเรียนคนอื่น ๆ ในรุ่นเดียวกันได้


๖๘ การแก้ไขผลการเรียน นักเรียนที่ได้รับผลการเรียนมีคะแนนไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม หรือเกณฑ์ ที่กำหนด มีขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อแก้ไข ดังนี้ • ลงทะเบียนขอแก้ไขผลการเรียน • เข้ารับการแก้ไขผลการเรียนตามช่วงเวลาที่กำาหนด • ตรวจผลการแก้ไขผลการเรียน กรณีที่แก้ไขผลการเรียนครั้งที่ ๑ แล้วไม่ผ่านจะต้อง ลงทะเบียนขอแก้ไขผลการเรียนเป็นครั้งที่ ๒ และดำเนินการเช่นเดียวกับ การแก้ไขผลการเรียน ครั้งที่ ๑ หากไม่ผ่านการแก้ไขผลการเรียนครั้งที่ ๑ และ ๒ นักเรียนต้องลงทะเบียน เรียนซ้ำใน รายวิชานั้น ๆ โดยผู้ปกครองลงนามรับทราบการเรียนซ้ำของนักเรียน


๖๙ แผนภาพ แสดงกระบวนการตัดสินและแก้ไขผลการเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่มา : เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้


๗๐ เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ๑.ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยเป็นรายวิชาพื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิตและ รายวิชาเพิ่มเติมตามที่สถานศึกษากำหนด ๒.ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิต ตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิต โดยเปน รายวิชา พื้นฐาน ๖๖ หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติมไม่น้อยกว่า ๑๑ หน่วยกิต ๓. ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด ๔.ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด ๕.ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด เกณฑ์การจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ๑.ผู้เรียนเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม โดยเปนรายวิชาพื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิตและ รายวิชาเพิ่มเติม ตามที่สถานศึกษากำหนด ๒.ผู้เรียนต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๗๗ หน่วยกิตโดยเป็นรายวิชา พื้นฐาน ๔๑ หน่วยกิตและรายวิชาเพิ่มเติม ไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต ๓. ผู้เรียนมีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน ในระดับผ่านเกณฑ์ การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด ๔.ผู้เรียนมีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด ๕.ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน ตามที่สถานศึกษากำหนด


๗๑ ปฏิทินปฏิบัติงาน ปีการศึกษา ๒๕๖๖


๗๒ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 ---------------------------------- โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติ ในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธง ชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ในส่วนของการชักและประดับธงชาติ ณ สถานศึกษา ในโอกาสและวันพิธีสำคัญ ให้มีความสอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติและธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตามความในข้อ 12 วรรคหนึ่ง (4) แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่า ด้วยการใช้ การชัก หรือการแสดงธงชาติ และธงของต่างประเทศในราชอาณาจักร พ.ศ. 2529 กระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธงชาติใน สถานศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 7 ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการชักธงชาติ ในสถานศึกษา พ.ศ. 2547 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการชักธง ชาติในสถานศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ข้อ 7 ในโอกาสและวันพิธีสำคัญ ให้ชักและประดับธงชาติ ณ สถานศึกษา ตาม กำหนดวันและระยะเวลา ดังต่อไปนี้ (1) วันขึ้นปีใหม่ วันที่ 1 มกราคม 1 วัน (2) วันมาฆบูชา 1 วัน (3) วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช 1 วัน และวันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์ วันที่ 6 เมษายน (4) วันสงกรานต์ วันที่ 13 เมษายน 1 วัน (5) วันฉัตรมงคล วันที่ 4 พฤษภาคม 1 วัน (6) วันพืชมงคล 1 วัน (7) วันวิสาขบูชา 1 วัน (8) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา 1 วัน พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน (9) วันอาสาฬหบูชา 1 วัน (10) วันเข้าพรรษา 1 วัน (11) วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ 2 วัน พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 และวันที่ 29 กรกฎาคม


๗๓ (12) วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ 1 วัน พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และวันแม่แห่งชาติ วันที่ 12 สิงหาคม (13) วันพระราชทานธงชาติไทย วันที่ 28 กันยายน 1 วัน (14) วันสหประชาชาติ วันที่ 24 ตุลาคม 1 วัน (15) วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ 2 วัน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ วันที่ 5 และวันที่ 6 ธันวาคม (16) วันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม 1 วัน การชักและประดับธงชาติในโอกาสหรือวันพิธีสำคัญอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่ทาง ราชการจะประกาศให้ทราบเป็นครั้งคราว ส่วนการชักและประดับธงชาติในงานพิธีสำคัญอื่นๆ ตามประเพณีนิยม ให้ปฏิบัติต่อ ธงด้วยความเคารพ” ประกาศ ณ วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ


๗๔ กิจกรรมโรงเรียน กิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนที่นักเรียนควรทราบ กิจกรรมหน้าเสาธง โรงเรียนกำหนดกิจกรรมหน้าเสาธง โดยใช้สัญญาณเพลงมาร์ชโรงเรียน เวลา ๐๗.๔๐ น. เพื่อให้นักเรียนเตรียมตัวเข้าแถว เริ่มกิจกรรมเคารพธงชาติสวดมนต์ไหว้พระ แผ่เมตตา และร้องเพลงมาร์ชโรงเรียนตั้งแต่เวลา ๐๗.๕๐ น. ขณะที่เริ่มพิธีการหน้าเสาธง นักเรียนต้องเข้าแถวให้เรียบร้อย ตามที่โรงเรียนกำหนด ร่วมพิธีการด้วยอาการสำรวม เป็นระเบียบ และตั้งใจกระทำอย่างแท้จริงหยุดการกระทำใดๆ จนกว่าจะเสร็จพิธี กิจกรรมพบครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนพบครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา (Home Room) ทุกวัน โดยเริ่มตั้งแต่เวลา ๐๗.๒๐ - ๐๘.๒๐ น. หลังกิจกรรมเคารพธงชาติตามสถานที่ที่กำหนด กิจกรรมยกยองและเชิดชูเกียรติ โรงเรียนกำหนดให้มีการประกาศยกย่องและเชิดชูเกียรตินักเรียนที่ประกอบคุณงาม ความดีมีความรู้ความสามารถเปนพิเศษ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๑๐ - ๐๘.๒๐ น.หลังกิจกรรม เคารพธงชาติ กิจกรรมสงเสริมศาสนา โรงเรียนกำหนดให้มีกิจกรรมทางศาสนา ทุกวันศุกร์


๗๕ การปฏิบัติสำหรับนักเรียน การมาโรงเรียน โรงเรียนกำหนดให้นักเรียนทุกคนเดินทางถึงโรงเรียน ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ที่มี การเรียนการสอน ถ้านักเรียนยังมาไม่ถึงโรงเรียนตามเวลาที่กำหนดทางโรงเรียน จะแจ้งให้ ผู้ปกครองทราบว่านักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียนในวันนั้น ๆ การมาโรงเรียนสาย นักเรียนทุกคนจะต้องเข้าแถว เวลา ๐๗.๕๐ น. เพื่อทำพิธีเคารพธงชาติตั้งแต่ เวลา ๐๘.๐๐ น. สำหรับนักเรียนที่มาไม่ทันเวลาทำพิธีเคารพธงชาติถือว่าเป็นผู้มา โรงเรียนสาย นักเรียนที่มาสายจะต้องปฏิบัติตนเช่นเดียวกับนักเรียนที่มาทันเวลา โดยจะต้องร้องเพลงชาติ สวดมนต์แผ่เมตตา ร้องเพลงโรงเรียน และพัฒนาโรงเรียน ตามความเหมาะสม ซึ่งต้องเสียเวลา เพื่อร่วมกิจกรรมดังกล่าวในคาบแรก และต้อง รายงานตัวกับครูเวรประจำวันเพื่อบันทึกการมา โรงเรียนสาย ถ้ามาสาย ๕ ครั้ง โรงเรียนจะแจ้งผู้ปกครองทราบ (โดยหนังสือหรือโทรศัพท์) ถ้า มาสายเกิน ๗ ครั้ง โรงเรียนจะเชิญผู้ปกครองมารับทราบเพื่อร่วมกันแก้ไข นักเรียนที่มาสายหลังจากเวลา ๘.๓๐ น. ต้องมารายงานให้ครูประจำชั้น ครูหัวหน้า ระดับและผู้ปกครองทราบ โดยใช้กระดาษสมุดของตนเอง เมื่อเขียนเสร็จแล้วให้ส่งที่ครูเวรที่ทำ หน้าที่ดูแลนักเรียนมาสายลงชื่อรับทราบ ข้อความในจดหมาย การเข้าชั้นเรียน โรงเรียนกำหนดให้มีคาบเรียนทั้งหมด ๙ คาบ คาบเรียนละ ๑ ชั่วโมง โดยมีสัญญาณ บอกเข้าเรียนและหมดเวลาในแต่ละคาบ และเข้าเรียน กรณีที่นักเรียนเข้า ห้องเรียนช้ากว่า สัญญาณที่ระบุเกิน ๑๐ นาทีเป็นดุลยพินิจของครูผู้สอนที่จะให้ขาด หรือบำเพ็ญประโยชน์ ทดแทน ทุกครั้งที่ออกจากห้องเรียนจะต้องช่วยกันสำรวจห้องเรียนให้อยู่ในสภาพที่ เรียบร้อย ปิดไฟ ปดพัดลมและอุปกรณ์ไฟฟาทุกครั้งที่ออกจากห้องเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมในชวงเวลาเรียน นักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลาเรียน ในวันเรียนปกติ เช่น การเข้าประกวด/แข่งขัน การไปจัดแสดงผลงาน เป็นต้น ซึ่งครูผู้ควบคุมหรือครู ผู้ประสานงานเป็นผู้บันทึกข้อความขออนุญาตครูผู้สอน ตามระบบโรงเรียน แต่เพื่อให้สามารถ สื่อสารได้อย่างรวดเร็ว นักเรียนที่เข้าร่วม กิจกรรมดังกล่าวให้ปฏิบัติดังนี้ ๑. แจ้งให้ครูผู้สอนในแต่ละวิชาทราบก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมในวันนั้น ๆ ๒. ติดต่อครูผู้สอนภายหลังจากที่กลับมาจากเข้าร่วมกิจกรรมนั้น ๆ แล้ว


๗๖ การเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงวันหยุด นักเรียนได้รับการคัดเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในวันหยุดราชการ และ วันนักขัตฤกษ์ โรงเรียนจะแต่งตั้งและมอบหมายให้ครูทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุม ดูแล และ ประสานงานโดยแจ้งเป็นหนังสืออนุญาตถึงผู้ปกครอง และนักเรียน ต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. นำหนังสือของโรงเรียนให้ผู้ปกครองลงนามอนุญาต ๒. นำส่วนที่เป็นใบอนุญาตส่งคืนที่ครูผู้ควบคุมหรือครูผู้ประสานงาน การขออนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ในวันเรียนปกติเมื่อนักเรียนเข้าโรงเรียนแล้ว ไม่อนุญาตให้ออกนอกบริเวณ โรงเรียน หรือกลับก่อนเวลาเลิกเรียนโดยไม่มีเหตุผลสมควร โรงเรียนจะอนุญาตให้นักเรียนออกนอก บริเวณโรงเรียนก่อนเวลาเลิกเรียนปกติได้ก็ต่อเมื่อมีใบขออนุญาต จากผู้ปกครองมาแสดงหรือมี ผู้ปกครองมารับและบันทึกหลักฐานไว้เป็นลายลักษณ์อักษรที่กลุ่มบริหารงานบุคคลโดยให้ ปฏิบัติดังนี้ ๑. การออกนอกบริเวณโรงเรียน ๑.๑ นักเรียนและผู้ปกครองขอรับบัตรอนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียน ที่กลุ่ม บริหารงานบุคคล ๑.๒ นักเรียนนำบัตรตามข้อ ๑ ดำเนินการขออนุญาตครูผู้สอน/ครูประจำชั้น ๑.๓ นักเรียนนำบัตรตามข้อ ๒ นำไปส่งที่สำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล เพื่อให้ ครูเวรที่สำนักงานบริหารงานบุคคลลงชื่ออนุญาตเป็นลำดับสุดท้ายพร้อม ลงทะเบียนในสมุด ออกนอกบริเวณโรงเรียน และรับบัตรอนุญาตออกนอกบริเวณ โรงเรียน ๑.๔ นักเรียนนำบัตรอนุญาตออกนอกบริเวณโรงเรียนมอบให้ยาม ๑.๕ ถ้าเป็นกรณีรีบด่วนกะทันหัน หรือปวยมากจนต้องกลับบ้านและ ไม่ทราบล่วงหน้า ให้ติดต่อที่สำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล การไมมาโรงเรียน นักเรียนจะต้องมาโรงเรียนทุกวันในช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนดให้เป็นวันทำการเรียน การสอน กรณีที่นักเรียนไม่สามารถมาโรงเรียนได้ด้วยเหตุความเจ็บปวย หรืออื่น ๆ นักเรียน จะต้องปฏิบัติดังนี้ ๑. แจ้ง/สื่อสารให้ครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาทราบ ๒. ส่งใบลาต่อครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษาทันทีเมื่อนักเรียนมาโรงเรียน โดยในใบลาต้อง มีคำรับรองของผู้ปกครอง ๓. กรณีที่นักเรียนไม่ส่งใบลา ถือว่านักเรียนขาดเรียนในวันนั้น ๆ ๔. กรณีนักเรียนขาดสอบกลางภาค หรือปลายภาค ผู้ปกครองต้องมาทำเรื่อง ขออนุญาตที่กลุ่มบริหารวิชาการ


๗๗ การใชเครื่องมือสื่อสาร โรงเรียนไม่มีนโยบายสนับสนุนให้นักเรียนนำโทรศัพท์มาใช้การนำมาใช้ต้องไม่ใช้ ขณะที่มีการเรียนการสอน ขณะทำกิจกรรมของโรงเรียน ขณะประชุม หรือในสถานที่ที่ต้องการ ความสงบ หากไม่ปฏิบัติตาม ครูผู้สอน หรือครูผู้รับผิดชอบ ในการปฏิบัติกิจกรรมหรือครูที่ เกี่ยวข้องจะยึดไว้แล้วให้ผู้ปกครองมารับคืน การนำ โทรศัพท์มาใช้หากสูญหายถือว่าเป็น ความรับผิดชอบของนักเรียนเอง โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ใน โรงเรียน หากไม่ปฏิบัติตาม ครูผู้พบเห็นจะยึดอุปกรณ์ไว้แล้วให้ผู้ปกครองมารับคืน


๗๘ ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ความหมายของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงาน ดูแล ช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน พร้อมด้วยวิธีการและเครื่องมือ การทำงานที่ ชัดเจน โดยมีครูประจำชั้นเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินการ และ มีการประสานความร่วมมือ อย่างใกล้ชิดกับครูและบุคลากรทุกฝายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอก การดูแลช่วยเหลือ นักเรียน หมายรวมถึง การส่งเสริมพัฒนา การปองกัน และการแก้ไขปญหา โดยมีวิธีการและ เครื่องมือสำหรับครูประจำชั้นและบุคลากร ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการดำเนินงานพัฒนานักเรียน ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีภูมิคุ้มกันทางจิตใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีมีทักษะ การดำรงชีวิต และรอดพ้น จากวิกฤตทั้งปวง แผนภูมิแสดงการดูแลชวยเหลือนักเรียนของครูประจำชั้น/ครูที่ปรึกษา


๗๙ แนวปฏิบัติทั่วไปของนักเรียนโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๑. นักเรียนต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กำหนดความประพฤติ ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.๒๕๔๘ อย่างเคร่งครัด ๒. นักเรียนต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย ๓. นักเรียนต้องแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบของ โรงเรียน และมีบัตรประจำตัวนักเรียน ๔. นักเรียนต้องประพฤติตนให้เรียบร้อย สำรวม ใช้วาจาสุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะต่อครูและบุคคลทั่วไป ๕. นักเรียนต้องมาโรงเรียนให้ทันเวลาเคารพธงชาติ(๐๗.๕๐ น.) และเข้าแถว ร่วมกิจกรรมหน้าเสาธงทุกวัน ๖. นักเรียนมาถึงโรงเรียนแล้ว ไม่อนุญาตให้ออกนอกบริเวณโรงเรียน แม้ว่า ยังไม่ถึง เวลาเข้าเรียน ๗. นักเรียนต้องช่วยเหลืองาน/เข้าร่วมกิจกรรมของระดับชั้น และของโรงเรียน ทุกครั้ง ๘. นักเรียนต้องแต่งกายชุดเครื่องแบบพลศึกษา แต่งให้ถูกต้องเรียบร้อยและตรงกับ วันที่มีการเรียนการสอน ๙. นักเรียนต้องใช้กระเปา หรือเปที่ทางโรงเรียนกำหนดเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ ใช้นอกเหนือจากที่กำหนด ๑๐. นักเรียนต้องไม่ใช้เครื่องสำอาง ปรุงแต่งร่างกาย เกินสภาพของการเป็นนักเรียน ไม่ไว้เล็บหรือทาสีเล็บ ไม่เจาะหูหรือใช้วัสดุเสียบรูหูที่เจาะไว้ก่อนหน้านี้ ๑๑. นักเรียนขึ้นบนอาคารได้ในวันที่มีการเรียนการสอน ได้ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ น. และ ทุกคนต้องลงจากอาคารเวลา ๑๖.๓๐ น. ยกเว้นกรณีทำกิจกรรม โดยมีครูกำกับดูแล ๑๒. นักเรียนต้องมีความสามัคคีต่อนักเรียนด้วยกันและบุคคลทั่วไป ไม่ก่อการทะเลาะ วิวาท ไม่นำบุคคลภายนอกมาร่วมก่อเหตุด้วย ๑๓. นักเรียนที่เก็บสิ่งของได้ต้องนำส่งโรงเรียน (สำนักงานกลุ่มบริหารงานบุคคล) เพื่อ หาเจ้าของต่อไป ๑๔. การมาโรงเรียนในวันหยุด ๑๔.๑ กรณีนักเรียนมาทำกิจกรรม หรืองานที่ได้รับมอบหมายจากครูนักเรียน จะต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองเปนลายลักษณ์อักษร ๑๔.๒ การทำกิจกรรมให้แต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดพละ หรือเสื้อกีฬา สีที่มี สัญลักษณ์ของโรงเรียน ห้ามใส่รองเท้าแตะ นักเรียนหญิงห้ามนุ่งกางเกงขาสั้น ไม่นำ บุคคลภายนอกเข้ามาในโรงเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต ๑๔.๓ ไม่อนุญาตให้ขึ้นอาคารเรียนก่อนได้รับอนุญาต ๑๔.๔ ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย เช่น ทำลายทรัพย์สิน เล่นผิดสถานที่ฯลฯ ๑๕. การติดต่อราชการในโรงเรียน นักเรียนต้องแต่งกายเครื่องแบบนักเรียน ที่ถูกต้อง ตามระเบียบของโรงเรียน และผู้ปกครองนักเรียนต้องแต่งกายชุดสุภาพ


๘๐ ๑๖. โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำเครื่องประดับ หรือสิ่งของมีค่ามาโรงเรียน หาก โรงเรียนพบจะยึดไว้แล้วให้ผู้ปกครองมารับคืน และเพื่อปองกันทรัพย์สินนักเรียน ต้องเก็บ ทรัพย์สิน ของมีค่า หรือกระเปาสตางค์ไว้กับตัว ๑๗. โรงเรียนไม่อนุญาตให้นักเรียนนำรถยนต์และรถจักรยานยนต์มาโรงเรียน และไม่ อนุญาตให้รถรับ-ส่งนักเรียน รวมถึงผู้ปกครองเข้ามาส่งนักเรียนในโรงเรียน ตอนเช้า และเข้ามา รับในโรงเรียนในตอนเย็น (โรงเรียนเลิก) ๑๘. นักเรียนต้องสวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์และปฏิบัติตาม กฎจราจร ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน


๘๑ แนวปฏิบัติในการใช้บริการงานประชาสัมพันธ์ ๑. ผู้ปกครอง หรือบุคลากรภายนอกที่มาติดต่อขอพบครูบุคลากรทาง การศึกษา หรือ นักเรียนขอให้ติดต่อที่ห้องประชาสัมพันธ์ และจะประกาศในช่วงเวลา พักระหว่าง เวลา ๑๑.๒๐ – ๑๓.๒๐ น. ๒. การฝากของให้นักเรียนควรเขียนชื่อ นามสกุล ชั้นเรียน ที่ห่อพัสดุหรือ ของฝากให้ ชัดเจน ๓. การโทรศัพท์ฝากข้อความถึงนักเรียนให้แจ้งชื่อ นามสกุล ชั้นเรียนให้ชัดเจน (ไม่อนุญาตให้ผู้ปกครองพูดโทรศัพท์กับนักเรียน) ๔. ผู้ที่พบเงิน หรือสิ่งของขอให้นำส่งที่ห้องประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะได้ประกาศ และ ดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ทราบต่อไป ๕. นักเรียนทุกคนจะต้องแจ้งชั้นเรียนให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อสะดวกในการ ติดตาม และไม่อนุญาตให้ผู้ปกครอง หรือบุคคลภายนอกไปพบนักเรียนที่ห้องเรียน งานประชาสัมพันธ์


๘๒ “การอ่าน” เป็นทักษะที่สำคัญและจำเป็นสำหรับนักเรียนเป็นฐานของความรู้ความคิด และสร้าง จินตนาการให้กับผู้ที่เป็นนักอ่านได้เป็นอย่างดีด้วยความสำคัญของ “การอ่าน” โรงเรียน พระปฐมวิทยาลัยจึงกำหนดให้นักเรียนอ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามคำแนะนำอย่างน้อย วันละ ๒๐ นาทีประมาณ ๑๐ เล่ม / ภาคเรียน และมีการบันทึกตามรูปแบบที่กำหนด ทั้งนี้ใช้ “การอ่าน” ตามที่กำหนดเป็นเกณฑ์การจบหลักสูตรในแต่ละระดับ การศึกษาด้วย ความสำคัญของการอ่าน


๘๓ มีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียน ดังนี้ ๑. งานเฝ้าระวังโรคติดต่อและไม่ติดต่อ จัดให้มีกิจกรรมตรวจสุขภาพ ปีละ ๑ ครั้ง ๒. สนับสนุนให้นักเรียนมีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีกับโรงพยาบาลของรัฐ ๓. ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนผู้นำสุขภาพ เพื่อมีส่วนร่วม ในการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน ๔. สนับสนุนการคุ้มครองประกันอุบัติเหตุให้กับนักเรียน ๕. ส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพชีวิตที่ดี ๖. ให้คำปรึกษาและช่วยเหลือนักเรียนให้สามารถจัดการกับปญหารอบ ๆ ตัว ในสภาพ สังคมปจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ๗. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ทางด้านพัฒนาสุขภาพ มีบรรยากาศที่ดีเอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยตนเอง ๘. จัดให้มีระบบการสืบค้นข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ๙. จัดระบบการช่วยเหลือนักเรียนที่มีปญหาทางด้านร่างกายจิตใจ อารมณ์และสังคม ตลอดจนการส่งต่อผู้เชี่ยวชาญภายนอก ศูนย์สงเสริมสุขภาพ


๘๔ ศูนยสงเสริมสุขภาพของโรงเรียน คู่มือการปฏิบัติตนสำหรับสถานศึกษาในการป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) คู่มือแนวทางลดและป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละออง ขนาดไมเกิน ๒.๕ ไมครอน (PM 2.5) สำหรับสถานศึกษา


๘๕ คณะกรรมการ จัดทำคู่มือนักเรียน ครู และผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2566 1. นายพิเชษฐ์ อยู่ยงค์ 2. นางประจงจิต อมโร 3. นางภัชรา จิตสงบ 4. นายจารึก ศรีเกตุ 5. นางสาวธนัญญา บัวชุม 6. นายสุรสิทธิ์ จิตสงบ 7. นายธนสาร เมธสุทธิ์ 8. นายสุทิน เสนภักดี 9. นางสาวประภาพร อุยยาหาร 10. นายพงศธร เป็นสูงเนิน 11. นายวีรวิทย์ กล่ำเจริญ 12. นางสาวจรินญา ประสิทธิ์ชัย 13. นางสาวน้ำฝน ศรีวัลลภ 14. นางสาวอรณี นามวิชัย คณะผู้จัดทำ


๘๖ บันทึกความดี …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………


๘๗ บันทึกความดี …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………


๘๘ บันทึกความดี …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………………………………………


Click to View FlipBook Version