รายงานเชิงวิชาการ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา จัดท าโดย นายธนวุฒิ โพธิ์พระรส เลขที่ ๓ นางสาววรรณิศา เรืองธง เลขที่ ๓๐ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เสนอ ครูอรวรรณ ธวัชวงษ์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาภาษาไทย ท ๓๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม อ าเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
รายงานเชิงวิชาการ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา จัดท าโดย นายธนวุฒิ โพธิ์พระรส เลขที่ ๓ นางสาววรรณิศา เรืองธง เลขที่ ๓๐ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๖ เสนอ ครูอรวรรณ ธวัชวงษ์ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาภาษาไทย ท ๓๒๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม อ าเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ค าน า รายงานเล่มนี้จัดท าขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับ บท ละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา โดยได้ศึกษาผ่านแหล่งความรู้ต่างๆ อาทิเช่น ต ารา หนังสือ ห้องสมุด และ แหล่งความรู้จากเว็บไซต์ต่างๆ โดยรายงานเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ที่มาของเรื่องมัทนะพาธา ผู้แต่งเรื่องมัทนะ พาธา ประวัติผู้แต่ง ลักษณะค าประพันธ์ และ วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี ๓ ด้าน ขอขอบพระคุณอาจารย์อรวรรณ ธวัชวงษ์ ที่กรุณาให้ค าแนะน าเพื่อแก้ไข ให้ข้อเสนอแนะตลอดการ ท ารายงาน ผู้จัดท าหวังว่ารายงานฉบับนี้จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา เป็นอย่างดี หากมีข้อแนะน าหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดท าขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดท า
สารบัญ เรื่อง หน้า ที่มาของเรื่อง ๑ ผู้แต่ง ๒ ประวัติผู้แต่ง ๒ ลักษณะค าประพันธ์ ๓ ตัวละคร ๖ ฉาก ๗ เรื่องย่อ ๘ ภาคสวรรค์ ๘ ภาคพื้นดิน ๘ บทวิเคราะห์คุณค่าทั้ง ๓ ด้าน ๑๐ ๑.คุณค่าด้านเนื้อหา ๑๐ ๒.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑๐ ๓.คุณค่าด้านสังคม ๑๑ บรรณานุกรม ๑๒ ภาคผนวก ๑๓
๑ ที่มาของเรื่อง มัทนะพาธา แปลว่า ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา หรือต านานแห่งดอกกุหลาบ มีลักษณะเป็นบทละครพูดค าฉันท์ จ านวน ๕ องก์ แบ่งเป็น ๒ ภาค คือ ภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน๑ เป็นบทพระราชนิพนธ์จากจินตนาการในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงให้นางเอกของเรื่องมีนามว่า มัทนา ซึ่งหมายถึงความลุ่มหลงหรือความรัก แทนค าว่า กุพฺชกะ ที่แปลว่า ดอกกุหลาบ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเริ่มพระราช นิพนธ์ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๖ ณ พระราชวังพญาไทและเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ ๑๘ ตุลาคม ปี เดียวกัน เมื่อพระราชนิพนธ์เสร็จก็พระราชทานแด่สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีพระวรราชายา โดย “แนวคิดส าคัญของเรื่อง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรัก ความลุ่มหลง ความเจ็บปวดทุกข์ระทมเพราะความรัก” ๑ ดูรายละเอียดในเรื่องย่อ หน้า ๘
๒ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ประวัติผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ เป็นพระราช โอรสองค์ที่ ๒๙ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) และเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒ ใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรง ศึกษาในประเทศไทยจนพระชนมายุ ๑๔ พรรษา ก็เสด็จไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ ได้ทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อทรงลาสิกขา เสด็จประทับ ณ พระราชวัง สราญรมย์ ทรงตั้งสโมสรการประพันธ์ชื่อทวีปัญญาสโมสรและออกหนังสือรายเดือนชื่อทวีปัญญา เสด็จขึ้น ครองราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ ขณะมีพระชนมายุได้ ๓๐ พรรษา พระองค์ทรงครองราช สมบัติได้๑๕ ปี และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๖๘ พระชนมายุ ๔๕ พรรษา พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถทางด้านอักษรศาสตร์ ทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อย กรอง กว่า ๒๐๐ เรื่อง เช่น เรื่อง ศกุนตลา รามเกียรติ์ บทละครเรื่องเวนิสวานิช ทรงใช้นามปากกาว่า อัศว พาหุ รามจิตติ พันแหลมศรีอยุธยา นายแก้วนายขวัญ พระขรรค์เพชร นายแก้ว ณ อยุธยา น้อยลา ท่านราม ณ กรุงเทพ
๓ ลักษณะค าประพันธ์ บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อง มัทนะพาธา ประกอบด้วยกาพย์ ๓ ชนิด คือ กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ และฉันท์ ๒๑ ชนิด เช่น วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นต้น ตัวอย่าง กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
๔ วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ อุปชาติฉันท์ ๑๑ ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒
๕ อินทวงศ์ฉันท์ ๑๒ วสันตดิลกฉันท์ ๑๔
๖ ตัวละคร ภาคสวรรค์ - สุเทษณ์ - จิตระเสน - จิตระรถ - มายาวิน - มัทนา - เทพบุตร์, คนธรรพ์, และอัปสร บริวารของสุเทษณ์. ภาคพื้นดิน - พระกาละทรรศิน, คณาจารย์อยู่ในป่าหิมะวัน. - โสมะทัต, หัวหน้าศิษย์ของพระกาละทรรศิน. - นาค, ศิษย์ของพระกาละทรรศิน. - ศุน, ศิษย์ของพระกาละทรรศิน. - ท้าวชัยเสน, กษัตริย์จันทรวงศ์ผู้ทรงราชย์ในนครหัสตินาปุระ. - ศุภางค์, นายทหารคนสนิธของท้าวชัยเสน. - นันทิวรรธนะ, อมาตย์ของท้าวชัยเสน, - ชาวสวนหลวง. - วิทูร, พราหมณ์หมอเสน่ห์. - พระนางจัณฑี, มเหสีของท้าวชัยเสน. - ปริยัมวะทา, นางก านัลของท้าวชัยเสน. - อราลี, นางค่อมฃ้าหลวงพระนางจัณฑี. - เกศินี, ฃ้าหลวงพระนางจัณฑี.
๗ ฉาก องก์ที่ ๑ ลานหน้ามุขเด็จแห่งวิมานของสุเทษณ์เทพบุตร, บนสวรรค์. องก์ที่ ๒ ตอนที่ ๑: ในกลางหิมะวัน. ตอนที่ ๒: ทางเดินในดง. ตอนที่ ๓: ลานหน้าอาศรมของพระกาละทรรศิน. องก์ที่ ๓ ลานหน้าอาศรมของพระกาละทรรศิน. องก์ที่ ๔ ตอนที่ ๑: สวนหลวงข้างพระราชวัง, ในกรุงหัสตินาปุระ. ตอนที่ ๒: ริมรั้วค่ายหลวง, ต าบลกุรุเกษตร ตอนที่ ๓: สวนหลวงข้างพระราชวัง, ในกรุงหัสตินาปุระ. องก์ที่ ๕ ตอนที่ ๑ : พลับพลาในค่ายหลวงที่ต าบลกุรุเกษตร์. ตอนที่ ๒ : ในกลางหิมะวัน.
๘ เรื่องย่อ มัทนะพาธา ตอนที่น ามาศึกษาเป็นองค์ที่ ๑ เริ่มต้นด้วยมายาวินท าพิธีสะกดพามัทนามาพบสุเทษณ์ไป จนจบองค์ เมื่อสุเทศน์สาปมัทนาเป็นดอกกุหลาบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราช นิพนธ์มัทนะพาธาเป็นเรื่องสมมุติว่า เกิดในอินเดียโบราณ โดยกล่าวถึงเหตุการณ์แบ่งเป็น 2 ภาค กล่าวคือ ภาคสวรรค์ กล่าวถึง “สุเทษณ์” เทพบุตรบนสวรรค์เป็นทุกข์ด้วยหลงรักนางฟ้า “มัทนา” แต่นางไม่รักตอบ จึง ขอให้วิทยาธรชื่อ “มายาวิน” ใช้เวทมนตร์เรียกนางมัทนามาหา เมื่อมาแล้วนางก็เหม่อลอยไม่มีสติเพราะตก อยู่ในฤทธิ์มนตรา สุเทษณ์ไม่ต้องการได้นางด้วยวิธีนั้นจึงให้มายาวินคลายเวทมนตร์ แต่ครั้นได้สติแล้วนางมัท นาก็ปฏิเสธสุเทษณ์ สุเทษณ์โกรธนักจึงจะสาปมัทนาให้ไปเกิดในโลกมนุษย์ มัทนาขอเกิดเป็นดอกไม้มีกลิ่น หอมเพื่อให้มีประโยชน์บ้าง สุเทษณ์จึงสาปให้นางมัทนาไปเกิดเป็นดอกกุหลาบ ไม้งามซึ่งแต่เดิมมีเพียงบน สวรรค์เท่านั้น เป็นดอกไม้ที่งามทั้งกลิ่นและรูป โดยที่ในทุกๆ ๑ เดือน นางมัทนาจะกลายเป็นหญิงสาวได้ชั่ว เวลา ๑ วัน ๑ คืน เฉพาะวันเพ็ญของแต่ละเดือนเท่านั้น และถ้านางมีความรักเมื่อใด นางจะมิต้องคืนร่างเป็น กุหลาบอีก แต่นางจะได้รับความทุกข์ทรมาณเพราะความรักจนมิอาจทนอยู่ได้ และเมื่อนั้นให้นางอ้อนวอนขอ ความช่วยเหลือจากตน ตนจึงจะงดโทษทัณฑ์นี้ให้แก่นาง ภาคพื้นดิน นางมัทนาไปจุติเป็นดอกกุหลาบงามอยู่กลางป่า ฤๅษีนาม “กาลทรรศิน” จึงพยายามขุดไปปลูกใกล้ อาศรมของตน ในขณะที่ท าการขุดก็มีเสียงผู้หญิงร้องเมื่อเล็งญาณดูก็รู้ว่าเป็นเทพธิดามาจุติ จึงได้เอ่ยเชิญและ สัญญาว่าจะคอยดูแลปกป้องนาง เมื่อถึงวันเพ็ญดอกกุหลาบก็กลายเป็นมนุษย์ ฤๅษีเลี้ยงดูนางเหมือนลูกวัน เพ็ญในเดือนหนึ่ง ท้าวชัยเสนแห่งเมืองหัสดินปุระเสด็จออกประพาสป่าหิมะวัน และได้แวะมาพักที่อาศรมฤๅษี เมื่อเห็นนางมัทนาก็ตกหลุมรัก ท้าวชัยเสนจึงประกาศหมั้นและสัญญารัก เมื่อมีความรักแล้วนางมัทนาจึงคงรูป เป็นนารีผู้งดงามไม่ต้องกลายเป็นกุหลาบอีกท้าวชัยเสนได้ทูลขอนางมัทนา พระฤๅษีจัดพิธีอภิเษกสมรสให้ทั้งๆ ที่รู้ว่ามัทนาจะต้องทนทุกข์เพราะความรักท้าวชัยเสนทรงพานางมัทนากลับไปยังกรุงหัสดินปุระพระนางมัทรี ทราบข่าวว่าพระสวามีน าสาวชาวป่ากลับมาด้วยจึงเจรจาดูหมิ่นนางมัทนาท าให้ชัยเสนกริ้วและทรงดุด่าว่าเป็น มเหสีผู้ริษยาพระนางจันฑีแค้นใจจึงให้คนไปทูลฟ้าพระบิดาผุ้เป็นเจ้าแห่งมคธนครให้ยกทัพมาท าศึกกับท้าวชัย เสนจากนั้นให้นางค่อมอราลีและวิทูรพราหมณ์หมอเสน่ห์ท าอุบายกลั่นแกล้งนางมัทนาโดยส่งหนังสือไปทูลท้าว ชัยเสนว่านางมัทนาป่วย เมื่อท้าวชัยเสนรีบเสด็จมาเยี่ยมนางมัทนาก็กลับพบหมอเสน่ห์ท าพิธีอยู่ใกล้ๆต้น กุหลาบวิทูรกับนางเกศินีข้าหลวงของนางจันฑีจึงทูลว่ามัทนาให้มาท าเสน่ห์ ท้าวชัยเสนกริ้วนัก รับสั่งให้ ศุภางค์ประหารนางมัทนา แต่ศุภางค์ไม่ยอม ท้าวชัยเสนจึงสั่งประหารทั้งคู่ ท้าวมคธยกกองทัพมาถึงเมือง หัสดินปุระ พระนางจันฑีอาสาออกไปห้ามศึกพระบิดา แต่ท้าวชัยเสนรู้ทันจึงออกท าศึกแล้วตัดหัวกษัตริย์
๙ มคธพ่อตาเอามาให้นางจันฑีขณะนั้นวิทูรพราหมณ์ได้ขอเข้าเฝ้าเพื่อสารภาพว่าพระนางจันฑีเป็นผู้วางแผนการ ร้ายซึ่งในที่สุดแล้วพระนางส านึกผิดและละอายต่อบาปที่เป็นเหตุให้คนบริสุทธิ์ต้องรับโทษประหาร ชัยเสน ทราบความจริงคิดจะฆ่าตัวตาย แต่อ ามาตย์นันทิวรรธนะห้ามไว้และสารภาพว่าคืนนั้นตนไม่ได้ประหารศุภางค์ และมัทนาหากแต่ปล่อยเข้าป่าไปนางมัทนานั้นได้โสมะทัตศิษย์ของฤๅษีกาละทรรศินน าพากลับสู่อาศรมเดิม ส่วนศุภางค์นั้นตายในสนามรบชัยเสนจึงสั่งเนรเทศพระนางจัณฑีพระมเหสีออกจากเมืองฝ่ายนางมัทนาได้ท า พิธีบูชาสุเทษณ์เทพบุตรเพื่อช่วยนางด้วยสุเทษณ์ยินดีจะแก้ค าสาปและรับนางเป็นมเหสีแต่นางปฏิเสธ สุเทษณ์ โกรธมากจึงสาปให้นางเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล เมื่อท้าวชัยเสนมาถึง นางปริยัมวะทาสที่ตามมาปรนนิบัติดูแลนางมัทนาก็ทูลเล่าให้ชัยเสนทราบ ชัยเสนท าได้แค่เพียงน าต้นกุหลาบนั้นกลับไปปลูกยังอุทยานและขอพรจากฤๅษีกาลทรรศินว่าขอให้กุหลาบนั้น ยังคงงดงามไม่ร่วงโรยราจนกว่าพระองค์จะสิ้นอายุขัยฤาษีประสาทพรให้กุหลาบนั้นด ารงอยู่คู่โลกไม่สูญพันธ์อีก ทั้งยังเป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมหวาน สามารถช่วยดับทุกข์ในใจคน ชายหญิงเมื่อมีความรักก็ให้ใช้ดอกกุหลาบ เป็นสัญลักษณ์แห่งความรักแท้สืบต่อไป
๑๐ บทวิเคราะห์ ๑.คุณค่าด้านเนื้อหา ๑.๑) รูปแบบ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครพูดค าฉันท์ เรื่อ มัทนะพาธา ด้วยค าประพันธ์ประเภทกาพย์และฉันท์ การเลือกถ้อยค าและรูปแบบค าประพันธ์มีความ เหมาะสมกับเนื้อหา ท าให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เกิดความประทับใจอยากติดตามอ่าน เช่น เมื่อมายา วินเล่าเรื่องราวในอดีตถวายสุเทษณ์ว่า เหตุใดมัทนาจึงไม่รักสุเทษณ์ ทรงเลือกใช้อินทรวิเชียรฉันท์ที่มี ท่วงท านองร็วเหมาะแก่การเล่าความหรือบรรยายเรื่อง ๑.๒) องค์ประกอบของเรื่อง -สาระ เป็นบทละครพูดค าฉันท์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคิดโครงเรื่อง เอง ไม่ได้ตัดตอนมาจากวรรณคดีเรื่องใด แก่นส าคัญของเรื่องมีอยู่ ๒ ประการ คือ ๑) ทรงปรารถนาจะกล่าวถึงต านานดอกกุหลาบ ซึ่งเป็นดอกไม้ที่สวยงาม แต่ไม่เคยมีต านานใน เทพนิยาย จึงพระราชนิพนธ์ให้ดอกกุหลาบมีก าเนิดมาจากนางฟ้าที่ถูกสาปให้จุติลงมาเกิดเป็นดอกไม้ชื่อว่า "ดอกกุพฺชกะ" คือ "ดอกกุหลาบ" ๒) เพื่อแสดงความเจ็บปวดอันเกิดจากความรัก ทรงแสดงให้เห็นว่าความรักมีอนุภาพอย่างยิ่ง ผู้ใดมีความรักก็อาจเกิดความหลงขึ้นตามมาด้วย ทรงใช้ชื่อเรื่องว่า "มัทนะพาธา" อันเป็นชื่อของตัวละครเอก ของเรื่อง ซึ่งมีความหมายว่า "ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนอันเกิดจากความรัก" มีการผูกเรื่องให้มี ความขัดแย้งซึ่งเป็นปมปัญหาของเรื่อง คือ ๒.๑ สุเทษณ์เทพบุตรหลงรักนางมัทนา แต่นางไม่รับรักตอบจึงสาปนางเป็นดอกกุพฺชกะ (กุหลาบ) ๒.๒ นางมัทนาพบรักกับท้าวชัยเสน แต่ก็ต้องพบกับอุปสรรคเพราะนางจันทีมเหสีของท้าวชัยเสนวาง อุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์เทพบุตร และสุ เทษณ์เทพบุตรขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความ เจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย ๒.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๒.๑ เรื่องมัทนะพาธาเป็นหนังสือที่แต่งดี ใช้ค าฉันท์เป็นบทละครพูด ซึ่งแปลกและแต่งได้ยาก มีการ เลือกใช้ค าเหมาะสมกับเนื้อความและบทบาทของตัวละคร รวมทั้งการพรรณนาให้มีความสอดคล้องกับ วัฒนธรรมภารตะโบราณและเข้ากับเนื้อเรื่องได้เป็นอย่างดี จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอด แห่งบทละครพูดค าฉันท์
๑๑ ๒.๒ มีการใช้ภาษาที่สละสลวย ตอนใดที่ต้องการด าเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว ก็ใช้ร้อยแก้ว ตอนใดที่ ต้องการจังหวะเสียงและความคล้องจองก็ใช้กาพย์ หรือตอนใดที่เน้นอารมณ์มากก็มักใช้ฉันท์ ๒.๓ มีการใช้ศิลปะการประพันธ์ที่ไพเราะ แสดงกวีโวหารและมีการเล่นค า เล่นอักษรอย่างแพรวพราว เช่น “สุเทษณ์ : รักจริงมิจริงฤก็ไฉน อรไทบ่แจ้งการ?” “มัทนา : รักจริงมิจริงก็สุรชาญ ชยะโปรดสถานใด?” “สุเทษณ์ : รักละเหี่ยอุระระทด เพราะมิอาจจะคลอเคลีย” “มัทนา : ความรักระทดอุระละเหี่ย ฤจะหายเพราะเคลียคลอ” ๒ ๓. คุณค่าด้านสังคม ๓.๑ สะท้อนแง่คิดให้คนในสังคมได้เข้าใจพุทธวจน๓ “ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์” ว่า เมื่อมีความรัก ต้อง รักอย่างมีสติ ใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบ มิใช่รักอย่างลุ่มหลงจะเกิดความทุกข์ได้ ๓.๒ สะท้อนให้เห็นค่านิยมเกี่ยวกับการครองรักระหว่างหญิงชายต้องเกิดจากความพึงพอใจทั้ง สองฝ่าย มิใช่เกิดจากการบังคับขู่เข็ญให้รับรัก จึงจะเกิดความสุขในชีวิต ๓.๓ สะท้อนให้เห็นค่านิยมของสตรีไทยในยุคสมัยนั้นว่ามีความซื่อสัตย์และยึดมั่นความรักเดียว ใจเดียว ๒ ภาสกร เกิดอ่อน.,และคณะ. ๒๕๕๙. ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม. (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยร่มเกล้า), หน้า ๕๗. ๓ คือ ค าสอนที่ออกจากปากของพระผู้มีพระภาคเจ้า พุทธ คือ ผู้รู้ และ วจน คือ วาจา ซึ่งก็คือค าสอนของศาสดานั่นเอง
๑๒ บรรณานุกรม ________. ๒๕๔๒. มัทนะพาธา. พิมพ์ครั้งที่ ๒๕. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. เปลื้อง ณ นคร. ๒๕๔๑. ประวัติวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช. กัลยา สหชาติโกสีย์.และคณะ. ๒๕๕๙. ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๙. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยร่มเกล้า. ข้อมูลเว็บไซต์ บุญกว้าง ศรีสุทโธ. ๒๕๖๐. มัทนะพาธา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/a/htp.ac.th/mathna-phatha/. (วันที่ค้นข้อมูล: ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖). ธนวรรณ โสขุมา. ๒๕๕๗. บทเรียนออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/a/chs.ac.th/kru-thanawan/. (วันที่ค้นข้อมูล: ๑๔ กันยายน ๒๕๖๖). กาญจนาภิเษกสงขลา, หอสมุดแห่งชาติ. ๒๕๖๔. บทละครพูดค าฉันท์เรื่องมัทนะพาธา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.finearts.go.th/songkhlalibraryk/view/20493. (วันที่ค้นข้อมูล: ๑๕ กันยายน ๒๕๖๖).
๑๓ ภาคผนวก ภาคผนวก ๑ พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว แหล่งที่มา https:/thwikipedia.org/wiki/ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. ภาคผนวก ๒ ค าฉันท์ย้อนความจากเรื่อง มัทนะพาธา แหล่งที่ https:/kingchulalongkorn.car.chula.ac.th/thvarticle/kingrama6.
๑
๑