2022
WAT
PHRA THAT
DONG chiang mai
SOM SUK
MAE AI
Temple name: wat Phra That Dong Som Suk Type of temple:
Monastery (sor.sor) login Sect: Maha Sect Register | Forgot
Password Monks: 2 pictures Location: Village No.7, Ban San Khong,
Fang-Thaton, Malika Subdistrict, Mae Ai District, Chiang Mai
Province Postal code 50280 Area: 9 rai 1 nngan 20
square wa
สารบัญ
TRAVEL 0
1
สารบัญ 2
บรรณาธิการ 3
วัดพระธาตุดงส้มสุก 4-5
ประวัติความเป็นมา
โครงสร้างวัด
แผ่นจารึกและเครื่องปั้ นดินเผา 6
ตัวอย่างจารึกที่เป็น 7
อักษรธรรมล้านนา
8
แผนผังวัดพระธาตุดงส้มสุก 9
10
วิชชุมมาลาฉันท์ 5
illustration
หน้ าที่ 1
บรรณาธิการ
วารสารฉบับนี้เป็นฉบับแรกของทางคณะผู้จัดทำ
สมาชิกทุกคนมีความตั้งใจให้วารสารฉบับนี้ออกมาดีที่สุด
และยังมีสิ่งที่ทางคณะผู้จัดทำตั้งใจนำเสนอนั่นคือ สวยงาม
ของวัดพระธาตุดงส้มสุก ประวัติความเป็นมาที่สื่อถึงความ
เลื่อมใสของคนในสมัยก่อนที่มีต่อพระพุทธศาสนาจนได้
วัดที่สวยงามแห่งนี้ขึ้นมา สิ่งก่อสร้างหรือวัตถุโบราณต่างๆ
ในสมัยประวัติศาสตร์ แผนผังภายในวัดและวิชุมมาลาฉันท์
ที่สมาชิกทุกคนได้ร่วมกันแต่งขึ้นมาที่สื่อถึงความสวยงาม
ที่สามารถพบเห็นได้ที่วัดพระธาตุดงส้มสุก ซึ่งทุกบทความ
เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่มีความสนใจและต้องการศึกษา
ในนามของทางคณะผู้จัดทำสมาชิกทุกคนหวังอย่างยิ่ง
ว่าผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากวารสารฉบับนี้ ที่ได้จัดทำขึ้น
หากผู้อ่านมีข้อเสนอแนะต้องการให้ทางคณะผู้จัดทำ
พัฒนาแก้ไขให้ดีขึ้นสามารถเสนอแนะและติชม ทางคณะผู้
จัดทำทุกคนน้อมรับแก้ไขและพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
นางสาวชุติกาญจน์ บุญมา
นางสาวพฤดี สัมพันธ์
นางสาวเกวลิน ตุ่นแก้ว
นางสาวศุทธินี หงษ์ประสิทธิ์
นางสาวนวรัตน์ ใจดี
นางสาวกนกพร ตันแก้ว
นางสาวหญิง ลุงรอด
นางสาวภาษิตา วงค์อุ่น
นางสาวดาปนีย์ ดำกำเนิด
หน้ าที่2
วัดพระธาตุดงส้มสุก
วัดพระธาตุดงส้มสุก เป็นวัดร้างโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างโดย
พระเจ้าพรหมมหาราช หังจากที่พระองค์ทรงสร้าเวียงพางคำเสร็จ
และทรงสร้างเมืองฝางขึ้นซากโบราณสถานในปี 2553 ประกอบไป
ด้วยเจดีย์ และวิหาร สร้างจากอิฐหน้าวัวขนาดใหญ่ และปรากฏเสา
วิหารขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.2 เมตร เดิมเป็นวัดร้าง
ต่อมาได้รับการบูรณะโดยเทศบาลตำบลแม่อาย
วัดดงส้มสุขตั้งอยู่ในพื้นที่ของ
หมู่บ้านสันโค้ง ตำบลมะลิกา อำเภอ
แม่อายจังหวัดเชียงใหม่บริเวณร
อบๆเป็นพื้นที่โล่งกว้าง ตั้งอยู่กลาง
บริเวณทุ่งนา โดยเป็นพื้นที่การ
ทำเกษตรของชาวบ้านส้นโค้งมีภูเขา
ล้อมเขียวขจี มีต้นไม
้ร่มรื่น ล้อมรอบพระธาตุ
โดยปัจจุบันมีต้นมะม่วงป
่าสูงเด่นขึ้นใจกลางพระธาตุ
โดยบรรยากาศรอบๆตัววัดจะเป็นพื้นที่โล่งกว้าง สามารถมอง
ทิวทัศน์ได้กว้างไกล มีภูเขาตั้งเรียงราย ส่วนบรรยากาศภายในวัด
นั้นเงียบสงบ ร่มรื่น มีต้นไม้เก่าแก่หลายต้น รวมถึงต้นมะม่วง
ป่าสูงเด่นที่เป็นจุดดึงดูดสายตาเมื่อย่างกรายเข้าไปในบริเวณวัดเก่า
แก่แห่งนี้
หน้ าที่ 3
ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า
โบราณสถานวัดส้มสุก อยู่ในเขตการปกครองของ ม.๖ บ้านสันโค้ง ต.มะลิกา
อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่เป็นโบราฌสถานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดพบในแอ่งที่ราบ
ฝาง-แม่อาย โดยอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำฝาง ไม่ห่างจากบริเวณที่แม่น้ำฝาง
บรรจบกับแม่น้ำกกหรือ"สบฝาง"ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมและเส้นทางการค้า
สำคัญเชื่อมต่อไปยังชุมชนโบราณอื่นๆ เช่นเมมืองเชียงราย เชียงแสน
และชุมชนโบราณในเขตรัฐฉาน ตามแนวแม่น้ำกก หรือใช้เส้นทางทวนแม่น้ำฝาง
ไปทางตะวันตก เพื่อติดต่อกับเมืองเชียงดาว เมืองพร้าว เชียงใหม่
และเมืองหริภุญไชยวิหารและพลับพลาเปลื้องเครื่อง ด้านตะวันออกของวิหาร
มีทางเดินทอดยาวไปทางชุ้มประตูโขง
หน้ าที่ 4
โครงสร้างวัด
โบราณสถานหมายเลข ๑ : เจดีย์
เป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบมีช้างล้อมที่ฐาน มีสถาบัตยกรรรมประกอบ
ด้วยฐานเขียงในผังสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๒ ชั้น ที่ฐานชั้นที่ ๒ มีร่องรอย
ว่าเคยมีประติมากรรมข้างประดับอยู่ เหนือขึ้นไปเป็นฐานเขียน
ผังแปดเหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้นฐานปัทม์และบัวถลาในผังแปดเหลี่ยม
รองรับบัวปากระฆัง องค์ระฆัง บัลลังก์ ในผังกลม ปล้องไฉน
ปลียอดและฉัตร คติการสร้างเจดีย์แบบช้างล้อม พบครั้งแรก
ในลังกาทวีปเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๔ และแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิ
ทางคาบสมุทรในภาคใต้ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ผ่านธรรมจาริก
ของภิกษุฝ่ายเถรวาทโดยในเขตวัฒนธรรมล้านนานั้น เริ่มพบ
ใน พ.ศ.๑๙๑๖ ที่สวนดอกเมืองเชียงใหม่ ซึ่งพระยากือนา
ทรงสร้างถวายพระสมุนเถรภิกษุชาวสุโขทัย ผู้นำพุทธศาสนา
รามัญวงศ์มาประดิษฐานยังล้านนา นอกจากนั้นยังพบที่
วัดป่าแดงหลวง,วัดเจดีย์หลวง,วัดพระสิงห์
วัดเชียงมั่น ในเมืองเชียงใหม่ วัดช้างค้ำที่ อ.จอมทอง และวัดช้าง
ค้ำ จ.น่าน ซึ่งทั้งหมดสร้างขึ้นในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒o-๒๑
โบราณสถานหมายเลข ๒ : วิหาร
พบหลักฐานก่อสร้างและปฎิสังขรณ์จำนวน ๔ ครั้ง เสาวิหารก่อ
อิฐในผังกลม สูงไม่ต่ำกว่า ๘ เมตรผนังวิหารก่ออิฐทั้ง ๔ ด้าน
หลังค้าเป็นเครื่องไม้ ท้ายวิหารพบฐานซุกชีขนาดใหญ่ ผลการ
คำนวณขนาดของพระพุ ทธรูปจากชิ้นส่วนพระพาหาและนิ้ว
พระบาทที่พบสันนิษฐานว่าพระประธานของวิหารหลังนี้มีขนาด
หน้าตักประมาณ๔.๕ เมตรสุงประมาณ๖เมตร บนพื้นวิหารด้านทิศ
ใต้พบแท่นฐานแท่นธรรมมาสน์ในผังแปดเหลี่ยม และอาคารก่ออิฐ
ขนาดเล็ำกอีก๑หลัง สันนิษฐานว่าน่าเป็นที่ประทับของบุคคลชั้น
สูงในระหว่างพระธรรมเทศนา พบบันไดขึ้นสู่วิหารที่ด้านทิศเหนือ
ตะวันออกและทิศใต้ โดยบีนไดด้านทิศตะวันออกนั้นมีทางเดินทอด
ยาวไปยั้งซุ้มประตูโขง ส่วนบันไดที่พบในแนวฐานยกเก็จด้านทิศใต้
น่าจะเป็นบันไดขึ้นของภิกษุสงฆ์ เพราะอยู่ในตำแหน่งที่สัมพันธ์กับ
อาคารต่าวๆ ที่พบในทิศนี้ ส่วนด้านทิศเหนือมีฉนวนทางเดินเชื่อม
ระหว่างวิหารไปยังโบราณสถานหมายเลข๓ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็น
พลับพลางเปลื้องเครื่อง
หน้ าที่ 5
โบราณสถานหมายเลข ๓ : พลับพลาเปลื้องเครื่อว
ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหาร มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จ
ด้านหน้า ๒ ชั้น ด้านหลัง๑ ชั้น พื้นที่ส่วนท้ายอาคารมีการก่อ
ผนังแยกพื้นที่ใช้งานเป็นสัดส่วน มีบันไดทางขึ้นหลักอยู่ด้านหน้า
ซึ่งหันไปทางทิศตะวันออก และบันไดกึ่งกลางแนวฐานอาคาร
ด้านทิศเหนือเชื่อมต่อไปยังโบราณสถานหมายเลข ๔ ซึ่งเหลือ
เพียงฐานส่วนฐานราก แต่ยังปรากฏหลักฐานบ่อน้ำอยูบริเวณ
ส่วนท้ายของอาคาร จากแผนผังของอาคารซึ่งมีการใช้งานร่วม
กับโบราณสถานหมายเลข ๔ และการก่อผนังกั้นห้องท้ายเป็น
สัดส่วน รวามทั้งการให้ความสำคัญกับผู้ใช้อาคารหลังนี้ โดย
การสร้างฉนวนทางเดินเชื่อมต่อไปยังวิหาร จึงสันนิษฐานว่า
โบราณสถานหมายเลข ๓ นี้ อาจเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่อง เพื่อ
ให้พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์เปลี่ยนเครื่องทรงก่อนเข้าไป
สดับธรรมในวิหาร
โบราณสถานหมายเลข ๑๓ : อุโบสถ
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิหาร มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกเก็จหน้า ๑ ชั้น ด้านหลัง ๒ ชั้น
พบในเสมาที่ทำจากหินธรรมชาติปักอยู่โดยรอบอาคารทั้ง ๘ ทิศ มีทางเดินทอดยาวจากด้านหน้าอุโบสถซึ่ง
หันไปทางทิศเหนือต่อกับทางเดินจากซุ้มประตูโขงไปยังวิหาร
นอกจากนั้นยังพบอาคารอีกหลายหลังซึ่งจากการศึกษารูปแบบแผนผัง ตำแหน่งที่ตั้งและโบราณวัตถุที่พบ
สันนิษฐานว่าอาจเป็นหอระฆัง (โบราณหมายเลข ๕ ) วิหารขนาดเล็ก (โบราณสถานหมายเลข ๖,๗ และ ๙ ) หอ
ฉัน (โบราณสถานหมายเลข ๘,๑o)หอพระไตรปิฎก(?)(โบราณสถานหมายเลข ๑๔) และกุฎิสงฆ์ (โบราณสถาน
หมายเลข ๑๕ และ ๑๖)
โบราณวัตถุที่พบจากการขุดแต่งส่วนใหญ่ คือชิ้นส่วนภาชนะดินเผา จากแหล่งเตาในล้านนา ที่สำคัญคือชิ้น
ส่วนพระพิมพ์ที่จารึกคาถา "จะ ภะ กะ สะ"
ซึ่งเป็นคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์วิชรสารัตนสังคหะ ซึ่งรจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระภิกษุในนิกายวัดสวนดอก
เมื่อ พ.ศ.๒o๗๖ นอกจากนั้นยังได้พบจารึกบนก้อนอิฐด้วยอักษรฝักขามและธรรมล้านนาที่มีอายุการใช้งาน
อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒o-๒๒ืพบทั้งจารึกนาทผู้ถวายอิฐ ฯลฯ และที่พบมากที่สุดคือกลุ่มที่จารึกด้วยฝัก
ขามและ/หรือตัวเลข ๑-๒ ตัว จึงสันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงอิฐที่ปั้นโดยกลุ่มหัวหมวดของวัดแห่งนี้ในอดีต
แผ่นจารึกและเครื่องปั้ นดินเผา หน้าที่ 6
พบจารึกอักษรฝักขามบนแผ่นอิฐหน้าวัว
และอิฐรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทั้งที่จารเป็น
อักษร 1 - 2 ตัว และเป็นข้อความ
หรือภาพลายเส้นเป็นลวดลายต่าง ๆ
มากกว่า 200 ก้อน จนอาจกล่าวได้ว่าวัดส้ม
สุกเป็นวัดที่มีจารึกมากที่สุด
ในประเทศไทย เบื้องต้น นักโบราณคดี
ได้จำแนกจารึกบนก้อนอิฐที่พบออก
เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เขียนเป็นข้อความ
ส่วนใหญ่ระบุชื่อบุคคลที่อาจหมายถึง
ผู้ปั้ นหรือผู้บริจาคอิฐก้อนนั้นๆ
และกลุ่มที่เขียนเป็นตัวอักษร 1 - 2 ตัว ซึ่ง
ส่วนใหญ่พบบนอิฐหน้าวัว
ที่ประกอบกันเป็นเสาอาคาร มีข้อสังเกตว่า
ในเสาต้นเดียวกันส่วนใหญ่จะเป็น
การจารึกตัวอักษรตัวเดียวกัน เบื้องต้น
นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าอาจเกี่ยวข้องกับ
การให้รหัสสำหรับการก่อสร้าง
หรือเทคนิคการผลิต หรืออาจหมายถึงกลุ่ม
บุคคล กลุ่มข้าวัด หัววัด หรือศรัทธาวัด
แต่ละหมู่บ้าน ที่ร่วมแรงร่วมใจกันซ่อมสร้าง
วัดโบราณแห่งนี้ขึ้น อย่างไรก็ตามจารึก
ทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการศึกษา
โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาโบราณ
หน้ าที่ 7
ตัวอย่างจารึก
ที่เป็นอักษรธรรมล้านนา
แผนผัง หน้ าที่ 8
วัดพระธาตุดงส้มสุก
หน้ าที่ 10
illustration
หน้ าที่ 9
วิชชุมมาลาฉันท์
ท้องถิ่นบ้านเรา ชนเผ่าหลากหลาย
ที่นี่แม่อาย ของเก่าโบราณ
วัดดงส้มสุก มีทุกหลักฐาน
เรื่องราวยาวนาน สำราญเพลินใจ
เดินวนดูกัน
ยากให้ทุกคน ไม่เหมือนแห่งใด
ส้มสุกสุขสันต์ รื่นรมย์อุ่นใจ
มาเถิดมาชม ที่ดงสมสุก
มีมากกว่าใคร