หลักสูตรฝึกอบรม วิทยาลัยชุมชนปัตตานี ชื่อหลักสูตร : การตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น รหัสหลักสูตร ……………………… จำนวน 48 ชั่วโมง ทฤษฎี12 : ปฏิบัติ 36 หมวดวิชา…………………………… หมู่วิชา ................................... 1. ความสำคัญของหลักสูตร จากสถิติการนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย พบว่า มีอัตราการเติบโตที่สูงร้อยละ 45.5 โดยเสื้อผ้า สำเร็จรูปมีราคาแพงและมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 68.1 ทั้งนี้เสื้อผ้าสำเร็จรูปนำเข้าเหล่านี้จะเน้นการสร้าง ความแตกต่างในด้านคุณภาพตราสินค้าและรูปแบบการตัดเย็บที่ประณีต โดยอัตราการขยายตัวของสินค้า ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลได้มีนโยบายเปิดเสรีการค้า สิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปมากขึ้น ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าสำเร็จรูปจึงสามารถสร้างรายได้สูงสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ส่วน ใหญ่มีราคาถูก คุณภาพในระดับต่ำ และปานกลาง เป็นผลผลิตที่มาจากการพัฒนาของแรงงานฝีมือกลุ่ม แม่บ้านร่วมตัวกันเองของผู้ประกอบการรายย่อยหรือการผลิตภายในโรงงานขนาดเล็ก ได้พัฒนามาเป็นขนาด กลาง อุตสาหกรรมส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปขนาดเล็กและขนาดกลางของคนไทย ประสบปัญหาด้านการขาด บุคลากรผู้มีทักษะการออกแบบและตัดเย็บเสื้อค้า ที่มีความรู้ความเข้าใจ และสอดคล้องต่อวัฒนธรรมที่ฝังลึก ในจิตใจ และความต้องการของสังคมผู้ซื้อ เพื่อสร้างการเติบโต นี่คือปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ผลักดันพัฒนาทักษะ องค์ความรู้และเชื่อมโยงสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเสื้อผ้าเพื่อการค้า กระบวนการผลิตเสื้อผ้านั้นจะประกอบด้วย การออกแบบ การทำแบบตัด การวางแบบตัด การตัดผ้า การเย็บ การตรวจสอบ ตลอดจนการบรรจุหีบหอ ทุกกระบวนการจะประสบผลสำเร็จได้นั้นหากมีการวางแผน งานที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมกับลักษณะของงาน ในกระบวนการผลิตเสื้อผ้าทุกกระบวนการมีควา มสำคัญเท่า เทียมกัน เสื้อผ้าที่ผลิตออกจำหน่าย จะขายได้หรือไม่นั้นจุดสำคัญอยู่ที่ความพอใจของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบ สัดส่วน สีสัน หรือความพึงพอใจขณะสวมใส่ การทำตัดเย็บที่ดีจะช่วยส่งเสริมรูปทรงของเสื้อผ้า และ สร้างความพึงพอใจให้ผู้สวมใส่เป็นอย่างดี ดังนั้นการตัดเย็บจึงเป็นเสมือนจุดเริ่มต้นที่สำคัญยิ่งในกระบวนการ ผลิตและเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะมองข้ามมิได้ วิทยาลัยชุมชนปัตตานี มีการส่งเสริมและการพัฒนา สำหรับการเป็นช่างเย็บเสื้อผ้า เป็นแนวทางหนึ่ง ในการพัฒนากำลังคนจากแรงงานสู่ฝีมืออาชีพ การเพิ่มศักยภาพด้านแรงงาน เป็นการพัฒนาคน รวมทั้งการ ประเมินผลการปฏิบัติงานของฝีมือแรงงาน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน แรงงาน และสถาน ประกอบการเพื่อพัฒนาสู่การเป็นช่างฝีมืออาชีพ ยกระดับชีวิตและรายได้ของชุมชนให้มีรายได้ที่ดีขึ้นจากการ เป็นช่างฝีมือ มีมาตรฐานฝีมือในการตัดเย็บนำสู่การเพิ่มอัตราค่าจ้างที่เหมาะสม รวมทั้งกระตุ้นให้แรงงานไทย เห็นความสำคัญของการมีมาตรฐานฝีมือแรงงาน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2.1 พัฒนาศักยภาพของการตัดเย็บเสื้อผ้าและทักษะการตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น 2.2 ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการทางการตัดเย็บเสื้อผ้า 3. ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLOs) PLO 1 : อธิบายความรู้การตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้นและถออกแบบการตัดเย็บ PLO 2 : ประยุกต์ใช้ความรู้และนวัตกรรมเพื่อผลิตเสื้อผ้าแบบต่างๆ PLO 3 : ประยุกต์ใช้ความรู้และนวัตกรรมเพื่อการจัดการผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า PLO 4 : คิดคำนวณราคาต้นทุนการผลิต PLO 5 : แสดงออกถึงทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพและมีจริยธรรมในการเป็นผู้ประกอบการ 4. กลุ่มเป้าหมายและคุณสมบัติของผู้ฝึกอบรม 4.1 กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มว่างงาน / กลุ่มเยาวชน / ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 4.2 คุณสมบัติ 4.2.1 สามารถสื่อสารภาษาไทย 4.2.2 มีพื้นฐานในการตัดเย็บเสื้อเบื้องต้น 5. จำนวนผู้ฝึกอบรม/กลุ่ม : 25 คน 6. คำอธิบายหลักสูตร ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับชนิดและลักษณะการเลือกใช้วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ในการตัดเย็บ การเย็บ ตะเข็บต่าง ๆ ด้วยมือและจักร การวัดตัว การสร้างแบบ แยกแบบ การปรับแบบ การตัดเย็บเสื้อผ้าอย่างง่าย การลองและแก้ไขข้อบกพร่อง
7. โครงสร้างหลักสูตร หลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง จำนวน 48 ชั่วโมง จำแนกเป็นจำนวนชั่วโมงภาคทฤษฎี12 ชั่วโมง 36 และจำนวนภาคปฏิบัติ 48 ชั่วโมง ซึ่งมีรายละเอียดโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้ หน่วย ที่ สาระการเรียนรู้/เนื้อหา จำนวนชั่วโมง รวม ทฤษฎี ปฏิบัติ ทั้งหมด 1 ชื่อหน่วย ชนิดและลักษณะการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการตัดเย็บ 1.1 ชนิด และลักษณะวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการสร้างแบบ 1.2 ชนิด และลักษณะวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการตัดเย็บ 1 - 1 2 ชื่อหน่วย การเย็บตะเข็บต่าง ๆ ด้วยมือและจักร 2.1 การเย็บตะเข็บด้วยมือ 2.2 การเย็บตะเข็บด้วยจักร 1 2 3 3 ชื่อหน่วย การวัดตัว 3.1 การวัดตัวเพื่อการสร้างแบบเสื้อ 3.2 การวัดตัวเพื่อการสร้างแบบกระโปรง 1 2 3 4 ชื่อหน่วย การสร้างแบบ การแยกแบบ การปรับแบบ และการตัดเย็บ เสื้อผ้าเบื้องต้น 4.1 การสร้างแบบเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น 4.2 การแยกแบบ และการปรับแบบตัดเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรง เบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น 4.3 การทำเครื่องหมายบนแบบตัด 4.4 การวางแบบตัดเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น 4.5 การตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น 7 30 37 5. ชื่อหน่วย การลองตัวและการแก้ไขข้อบกพร่อง 5.1 การลองตัว 5.2 การแก้ไขข้อบกพร่อง 1 3 4 รวมทั้งหมด 11 37 48
8. ความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรกับสาระการเรียนรู้/เนื้อหา หน่วยที่ สาระการเรียนรู้/เนื้อหา PLO1 PLO2 PLO3 PLO4 PLO5 1 ชื่อหน่วย ชนิด และลักษณะการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการตัดเย็บ 1.1 ชนิด และลักษณะวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการสร้าง แบบ √ √ √ √ 1.2 ชนิด และลักษณะวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการตัดเย็บ √ √ √ √ 2 ชื่อหน่วย การเย็บตะเข็บต่าง ๆ ด้วยมือและจักร 2.1 การเย็บตะเข็บด้วยมือ √ √ √ √ 2.2 การเย็บตะเข็บด้วยจักร √ √ √ √ 3 ชื่อหน่วย การวัดตัว 3.1 การวัดตัวเพื่อการสร้างแบบเสื้อ √ √ √ √ 3.2 การวัดตัวเพื่อการสร้างแบบกระโปรง √ √ √ √ 4 ชื่อหน่วย การสร้างแบบ การแยกแบบ การปรับแบบ และการตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น 4.1 การสร้างแบบเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น √ √ √ √ √ 4.2 การแยกแบบ และการปรับแบบตัดเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น √ √ √ √ √ 4.3 การทำเครื่องหมายบนแบบตัด 4.4 การวางแบบตัดเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น √ √ √ √ √ 4.5 การตัดเย็บเสื้อผ้าเบื้องต้น กระโปรงเบื้องต้น กางเกงเบื้องต้น √ √ √ √ √ 5 ชื่อหน่วย การลองตัว และการแก้ไขข้อบกพร่อง 5.1 การลองตัว √ √ √ √ 5.2 การแก้ไขข้อบกพร่อง √ √ √ √
9. เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล 9.1 การประเมินผล การประเมินผลการฝึกอบรมของหลักสูตรจะดำเนินการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร ของผู้ฝึกอบรม โดยใช้แบบสังเกตเพื่อประเมินพฤติกรรมและแบบตรวจสอบรายการสำหรับประเมินทักษะ ตามมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) ในแต่ละขั้นตอนการฝึกอบรมหรือหน่วยการเรียนรู้ของหลักสูตร และเมื่อสิ้นสุดการฝึกอบรมจะนำผลมารวบรวมเพื่อประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ ที่กำหนด ดังนี้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร ช่วงคะแนน ผ่าน 60-100 - ระดับดีเด่น 80-100 - ระดับดีมาก 70-79 - ระดับดี 60-69 ไม่ผ่าน 0-59 9.2 การติดตามผลหลังสิ้นสุดการฝึกอบรม การติดตามผลหลังจากสำเร็จการฝึกอบรม จะดำเนินการหลังจากสิ้นสุดการฝึกอบรม ไปแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน เพื่อติดตามผลการนำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการปรับปรุงหลักสูตรต่อไป 10. เกณฑ์การสำเร็จหลักสูตร 1. ผู้ฝึกอบรมจะต้องมีเวลาเข้าร่วมฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนชั่วโมงทั้งหมด ในหลักสูตร 2. ผู้ฝึกอบรมจะต้องได้ระดับผลการฝึกอบรมผ่านระดับ “ดี” เป็นอย่างน้อย ตามเกณฑ์การวัดผลและ ประเมินผลของหลักสูตร 11. กระบวนการส่งเสริมให้เกิดอาชีพหลังฝึกอบรม การส่งเสริมให้เกิดอาชีพหลังฝึกอบรมหลักสูตรการตัดเย็บเสื้อผ้าพื้นเมือง วิทยาลัยชุมชนปัตตานี จะดำเนินการให้บริการห้องปฏิบัติการตัดเย็บเสื้อผ้า เครื่องมือ และอุปกรณ์ สำหรับผู้ผ่านการฝึกอบรมที่ขาด แคลนทุนทรัพย์ในการประกอบอาชีพ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ฝึกอบรมสามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ภายใน วิทยาลัยชุมชนปัตตานีตามช่วงเวลาที่ให้บริการในการประกอบอาชีพเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งจนสามารถ มีต้นทุนในการซื้อเครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพของตนเองได้ 12. สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ วัสดุ-อุปกรณ์ 1. เครื่องจักรเย็บผ้า 2. กรรไกรตัดผ้า 3. กรรไกรตัดเศษด้าย 4. ที่เลาะด้าย 5. ด้ายเย็บ 6. เข็มหมุด 7. เข็มเย็บ
8. สายวัด 9. ชอลก์เขียนผ้า 10. ปากกาเขียนผ้า 11. ไม้บรรทัด 12. กระดาษสร้างแพทเทิรน์ ตำรา/เอกสาร/หนังสืออ่านประกอบเพิ่มเติม 1. ผศ.วินิทรา สอนพรินทร์.(2559).การทำแบบตัดและเทคนิคการตัดเย็บเสื้อผ้า.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อร 2. ผ่องศรี ณรงค์เปลี่ยน.(1999).ตำรางตัดเสื้อ - กางเกงชาย.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ซีเอ็ดบุต แหล่งการเรียนรู้ 1. ห้องสมุดประชาชนจังหวัดปัตตานี 2. สถานประกอบการ ได้แก่ ร้านวานีตา ร้านสามดาว และร้านบิลันบูตัน 13. ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ไม่มี 14. อัตราค่าเล่าเรียน ค่าธรรมเนียม .....10....... บาท ค่าลงทะเบียน ......240..... บาท รวมอัตราค่าเล่าเรียนทั้งสิ้น ....250........ บาท