The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.
Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง

เทียนไสวใจสวา่ งกลางสายน้าํ
รวมลำ�นำ�ความคิดอธิษฐาน

กระทงเจมิ จำ�รสั ชัชวาล
ส่องสนานสายน้ํายํ้าส่องใจ

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบลู ย์
ศิลปินแห่งชาติ

ช่ือหนังสอื : ลอยกระทง
พิมพ์คร้งั ที่ ๑ : ตุลาคม ๒๕๕๒
จำ�นวนพมิ พ์ : ๒๐,๐๐๐ เล่ม
ผู้จัดพิมพ์ : สำ�นักงานคณะกรรมการวฒั นธรรมแห่งชาติ
กระทรวงวฒั นธรรม
พิมพ์ท่ี : โรงพิมพ์ชมุ นมุ สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำ กดั

พิมพ์คร้ังท่ี ๒ : พฤศจกิ ายน ๒๕๕๓
ลำ�ดบั หนงั สอื : ๑๖/๒๕๕๓
จำ�นวนพมิ พ์ : ๓,๐๐๐ เลม่
ผจู้ ัดพมิ พ์ : กรมสง่ เสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
พิมพ์ที่ : สำ�นกั งานกจิ การโรงพิมพ์องคก์ ารสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
โทร. ๐ - ๒๙๑๐ - ๗๐๐๑





สารบัญ : Content

คำ�นยิ ม : Announcement หนา้
คำ�นำ� : Introduction ๔
ลอยกระทง ๔
ความเปน็ มาของประเพณีลอยกระทง ๗
ประเพณลี อยกระทงในแต่ละภูมภิ าค ๑๓
วัตถปุ ระสงค์ของการลอยกระทง ๑๔
สาระของประเพณลี อยกระทง ๑๔
คุณค่าของประเพณลี อยกระทง ๑๕
กจิ กรรมท่ีเบีย่ งเบนไป ๑๕
กจิ กรรมที่พึงปฏิบัต ิ ๑๖
ประเพณลี อยกระทงในสภาพสงั คมทเ่ี ปลีย่ นแปลง ๑๖
น�ำ้ คอื ชีวิต : อกี หน่ึงคุณค่าของประเพณีลอยกระทงท่คี วรสืบสาน ๑๗
บทสรปุ ๑๘
Loy Krathong ๑๘
Loy Krathong Tradition ๑๘
Background ๑๙
Objectives ๒๐
Loy Krathong Tradition : Expression of Gratitude ๒๐
Values of Loy Krathong Tradition ๒๐
Activities that should be promoted ๒๒
Conclusion

4 ลอยกระทง : Loy Krathong

ลอยกระทง

ความเปน็ มาของประเพณลี อยกระทง

ลอยกระทง เป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชนท้ังสุวรรณภูมิ หรือภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ท่ีมีมาแต่ยุคดึกดำ�บรรพ์ เพ่ือขอขมาต่อธรรมชาติ แต่ไม่มี
หลักฐานยืนยันแน่นอนว่าลอยกระทงเร่ิมมีมาแต่เมื่อไร แต่พิธีกรรมเก่ียวกับ “ผี”
ผมู้ ีอ�ำ นาจเหนอื ธรรมชาติ มอี ยู่กบั ผู้คนในชมุ ชนสุวรรณภูมิไม่นอ้ ยกวา่ ๓,๐๐๐ ปมี าแลว้
ตงั้ แตก่ ่อนรับศาสนาพุทธ-พราหมณจ์ ากอินเดยี
ผีสำ�คัญยุคแรกๆ คือ ผีนำ้ � และ ผีดิน ซ่ึงต่อมาเรียกช่ือด้วยคำ�ยกย่องว่า
“แม่พระคงคา” กับ “แม่พระธรณี” มีคำ�พ้ืนเมืองนำ�หน้าว่า “แม่” ที่หมายถึง
ผู้เป็นใหญ่
ผคู้ นในสวุ รรณภมู ริ วู้ า่ ทมี่ ชี วี ติ อยไู่ ดก้ เ็ พราะ น้ำ� และ ดนิ เปน็ ส�ำ คญั และ นำ้ � เปน็
สง่ิ ส�ำ คญั ทสี่ ดุ ดงั นนั้ เมอื่ คนเรามชี วี ติ อยรู่ อดไดป้ หี นง่ึ จงึ ท�ำ พธิ ขี อขมาท่ีไดล้ ว่ งล�้ำ ก�ำ่ เกนิ
โดยรเู้ ทา่ ไมถ่ งึ การณ์ เชน่ เหยยี บย�่ำ ถา่ ยของเสยี หรอื ท�ำ สง่ิ อน่ื ใดที่ไมเ่ หมาะสมเสยี ครงั้ หนง่ึ
ขณะเดียวกันก็ทำ�พิธีบูชาพระคุณไปพร้อมกัน ด้วยการใช้วัสดุท่ีลอยน้ำ�ได้ใส่เครื่อง
เซน่ ไหว้ใหล้ อยไปกบั น�้ำ อาทิ ตน้ กลว้ ย กระบอกไม้ไผ่ กะลามะพรา้ ว ฯลฯ และชว่ งเวลาที่
เหมาะสมทค่ี นเราเรยี นรจู้ ากประสบการณธ์ รรมชาติ คอื สน้ิ ปนี กั ษตั รเกา่ ขน้ึ ปนี กั ษตั รใหม่
ตามจันทรคติท่ีมดี วงจนั ทร์เปน็ ศูนยก์ ลาง เพราะเป็นสิ่งท่ีมีอ�ำ นาจท�ำ ใหเ้ กดิ น้ำ�ข้นึ นำ้�ลง
ซง่ึ วันสน้ิ ปีนกั ษัตรเก่า กค็ อื วนั เพ็ญข้นึ ๑๕ ค่ำ� กลางเดือน ๑๒ เพราะเป็นชว่ งทนี่ ำ�้

ขน้ึ สงู สดุ และเมอื่ พน้ ไปจากนก้ี เ็ รม่ิ
ขนึ้ ปนี กั ษตั รใหม่ เรยี ก เดอื นอา้ ย
แปลว่าเดือนหนึ่ง ตามคำ�โบราณ
นบั หน่ึง สอง สาม ฯลฯ ว่า อา้ ย
ย่ี สาม เป็นต้น และเม่ือเทียบ
ช่วงเวลากับปฏิทินตามสุริยคติท่ี
มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางก็จะ
ตกราวเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน
ของทกุ ปี และหลงั จากรบั ศาสนา
พทุ ธ-พราหณ์จากอินเดยี เมอื่ ราว

ลอยกระทง : Loy Krathong 5

๒,๐๐๐ ปมี าแลว้ ราชสำ�นักโบราณในสวุ รรณภูมิก็ได้ปรบั พิธกี รรม “ผี” เพือ่ ขอขมานำ้�
และดนิ ใหเ้ ข้ากบั ศาสนาที่รับเข้ามาใหม่ ทำ�ใหค้ วามหมายเดมิ เปลย่ี นไปกลายเป็นการ
ลอยกระทงเพอ่ื บชู าพระพทุ ธเจา้ และเทวดา ซง่ึ ในสว่ นนมี้ พี ยานหลกั ฐานเกา่ สดุ คอื รปู
สลักพธิ ีกรรมทางน้�ำ คลา้ ยลอยกระทงทปี่ ราสาทหินบายนในนครธม ทำ�ขนึ้ ราวหลัง พ.ศ.
๑๗๐๐ แต่สำ�หรับชุมชนชาวบ้านท่ัวไปก็ยังเข้าใจเหมือนเดิม คือ ขอขมาแม่พระคงคา
และแมพ่ ระธรณี ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ในเอกสารของลาลแู บรช์ าวฝรง่ั เศส ที่บันทึก
พิธชี าวบา้ นในกรุงศรอี ยธุ ยาสมยั สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเอาไวห้ ลายตอน
ส�ำ หรบั ราชสำ�นกั กรุงศรอี ยุธยา ทีอ่ ยบู่ รเิ วณท่รี าบลมุ่ น�ำ้ และมนี �ำ้ ทว่ มนานหลาย
เดอื น กเ็ ปน็ ศนู ยก์ ลางส�ำ คญั ทจ่ี ะสรา้ งสรรคป์ ระเพณเี กย่ี วกบั นำ้�ขน้ึ มาใหเ้ ปน็ “ประเพณี
หลวง” ของราชอาณาจกั ร ดงั มหี ลกั ฐานการตราเปน็ กฎมณเฑยี รบาล วา่ พระเจา้ แผน่ ดนิ
ตอ้ งเสดจ็ ไปประกอบพธิ กี รรมทางน้ำ� เพอ่ื ความมนั่ คงและมน่ั คง่ั ทางกสกิ รรมของราษฎร
และยงั มขี บวนเรอื พยหุ ยาตราทางชลมารคเพ่อื ประกอบพระราชพธิ โี ดยเฉพาะ นอกจาก
น้ียังมีเอกสารบันทึกอย่างเป็นทางการอยู่ในตำ�ราพระราชพิธีกับวรรณคดีโบราณ เช่น
โคลงทวาทศมาสท่ีมีการกล่าวถึงประเพณี “ไล่ชล” หรือไล่นำ้�เพื่อวิงวอนให้น้ำ�ลดเร็วๆ
เป็นต้น ซึ่งประเพณีหลวงอย่างน้ี ไม่มีหลักฐานใดๆ ปรากฏว่ามีอยู่ในเมืองท่ีอยู่เหนือ
กรุงศรีอยธุ ยาขน้ึ ไป เช่น สุโขทยั ที่ตงั้ อยูบ่ นที่ดอนนำ้�ทว่ มไม่ถงึ จงึ ไม่มหี ลักฐานเกยี่ วกบั
ขบวนเรือพยหุ ยาตราทางชลมารค สว่ นตระพังหรอื สระน�้ำ ในสุโขทัยก็มไี ว้เพ่ือกกั เกบ็ นำ้�
เพื่อใช้ในการบริโภคอุปโภคของวัดและวังที่อยู่ในเมือง และมิได้มีไว้เพ่ือกิจกรรม
สาธารณะ อย่างเช่น ลอยกระทง
ฯลฯ
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงที่บ้าน
เมอื งมนั่ คง การศกึ สงครามลดลง
เกือบหมด การค้าก็ม่ังค่ังขึ้น
โดยเฉพาะกับจีน พระบาท
สมเด็จพระน่ังเกล้าเจ้าอยู่หัว
จงึ โปรดใหฟ้ น้ื ฟปู ระเพณพี ธิ กี รรม
สำ�คัญเพ่ือความอุดมสมบูรณ์
ของราชอาณาจักร และด้วย
ความจำ�เป็นในด้านอ่ืนๆ อีก จึง

6 ลอยกระทง : Loy Krathong

ได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือตำ�ราท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือ นางนพมาศ ข้ึนมา
โดยสมมุติให้ฉากของเรื่องเกิดข้ึนในยุคพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย ซ่ึงตำ�ราดังกล่าวได้
พูดถึงนางนพมาศว่าเป็นพระสนมเอกของพระร่วง ท่ีได้คิดประดิษฐ์กระทงใบตอง
เป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียง
ปลี ะครง้ั สมควรท�ำ เปน็ กระทงแตง่ ประทปี ลอยไปถวายสกั การะรอยพระพทุ ธบาท ซง่ึ เมอ่ื
พระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่
พอพระราชหฤทยั พระองคจ์ งึ มพี ระราชด�ำ รสั วา่ “แตน่ ส้ี บื ไปเบอื้ งหนา้ โดยลำ�ดบั กษตั รยิ ์
ในสยามประเทศถึงกาลกำ�หนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้ทำ�โคมลอยเป็น
รปู ดอกบวั อทุ ศิ สกั การบชู าพระพทุ ธบาทนม้ มทานที ตราบเทา่ กลั ปาวสาน” ดว้ ยเหตนุ ี้
จึงเกิด กระทง ทำ�ด้วยใบตองแทนวัตถุอื่นๆ แล้วนิยมใช้ลอยกระทงมาแต่คราวนั้น
ตราบจนทกุ วนั น้ี ซงึ่ ต�ำ ราทา้ วศรจี ฬุ าลกั ษณ์ หรอื นางนพมาศน้ี กรมพระยาด�ำ รงราชานภุ าพ
ทรงเชอื่ วา่ เปน็ พระราชนพิ นธข์ องพระบาทสมเดจ็ พระนงั่ เกลา้ เจา้ อยหู่ วั เนอ่ื งจากสำ�นวน
โวหารมีลักษณะร่วมกบั วรรณกรรมสมยั กรุงรัตนโกสนิ ทร์
นอกจากน้ี ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยและเอกสารร่วมสมัย ก็ไม่มีปรากฏชื่อ
“ลอยกระทง” แมแ้ ต่ในศลิ าจารึกของพ่อขุนรามค�ำ แหงก็มีแตช่ อ่ื “เผาเทยี น เลน่ ไฟ”
ที่มีความหมายอย่างกว้างๆ ว่า การทำ�บุญไหว้พระ ส่วนเอกสารและวรรณคดีสมัย
กรุงศรอี ยธุ ยาสมัยแรกๆ กม็ ีแต่ช่อื ชกั โคม ลอยโคม แซวนโคม และลดชุดลอยโคม
ลงนำ้ � ในพธิ พี ราหมณข์ องราชส�ำ นกั เทา่ นน้ั และแมแ้ ต่ในสมยั กรงุ ธนบรุ กี ็ไมม่ ชี อ่ื นี้ จนถงึ
ยคุ ตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทรจ์ งึ มปี รากฏชดั เจนในพระราชพงศาวดารแผน่ ดนิ รชั กาลท่ี ๓ ฉบบั
เจ้าพระยาทิพากรวงศ์และเร่ืองนางนพมาศ พระราชนพิ นธ์รัชกาลท่ี ๓ ซึง่ ก็หมายความ
วา่ คำ�ว่า “ลอยกระทง” เพิง่ ปรากฏในตน้ กรงุ รตั นโกสนิ ทรน์ เ้ี อง
อนึ่ง ประเพณีลอยกระทงท่ีทำ�ด้วยใบตองในระยะแรก จำ�กัดอยู่แต่ในราชสำ�นัก
กรงุ เทพฯ เท่านนั้ ซ่งึ มีรายละเอียดพรรณาอยู่ในหนงั สือพระราชพงศาวดาร รชั กาลท่ี ๓
ว่ากรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ราชธิดาองค์โปรดได้แต่งกระทงเล่นทุกปี เม่ือนานเข้าก็เร่ิม
แพรห่ ลายสรู่ าษฎรในกรงุ เทพฯ แลว้ ขยายไปยงั หวั เมอื งใกลเ้ คยี งในบรเิ วณทร่ี าบลมุ่ แมน่ ้ำ�
เจา้ พระยา และกวา่ จะเปน็ ทนี่ ยิ มแพรห่ ลายทวั่ ประเทศกป็ ระมาณปี พ.ศ.๒๕๐๐ หรอื กอ่ น
หนา้ นน้ั ไมน่ านนกั สง่ ผลใหเ้ กดิ “เพลงลอยกระทง” ในจงั หวะของสนุ ทราภรณ์ ทเี่ ผยแพร่
ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง จนในท่ีสุดลอยกระทงก็ถือเป็นประเพณีที่สำ�คัญของคนไทย
ทัว่ ประเทศ

(ข้อมลู จากเอกสารเผยแพรช่ ่อื “ลอยกระทง ขอขมาธรรมชาต”ิ
ของสจุ ติ ต์ วงษเ์ ทศ เรยี บเรียงโดย ทศั ชล เทพกำ�ปนาท)

ลอยกระทง : Loy Krathong 7
ประเพณีลอยกระทงในแตล่ ะภูมภิ าค

ลอยกระทง เปน็ ประเพณขี องคนในสงั คมลมุ่ น�้ำ ซง่ึ ประกอบอาชพี ทางเกษตรกรรมมี
ปรากฏทง้ั ในอนิ เดยี พมา่ ลาว เขมร และไทย ซง่ึ ปฏบิ ตั แิ ตกตา่ งกนั ไปในแตล่ ะทอ้ งถน่ิ เชน่

ภาคเหนอื

การลอยกระทงของชาวเหนอื นิยมทำ�กันในเดอื นยเี่ ป็ง (คือเดือนย่ีหรอื เดอื นสอง
เพราะนับวันเร็วกว่าภาคอ่ืน ๒ เดือน) เพ่ือบูชาพระอุปคุตต์ซึ่งเช่ือกันว่าท่านบำ�เพ็ญ
บรกิ รรมคาถาอยู่ในทอ้ งทะเลลกึ หรอื สะดือทะเล ตรงกับคตขิ องชาวพมา่ แต่ในปจั จบุ ัน
ไดม้ กี ารจดั งานในวนั ขนึ้ ๑๕ ค่ำ� เดอื น ๑๒ โดยจัดเปน็ ประเพณีย่งิ ใหญ่ในหลายจงั หวดั
เชน่ ประเพณีลอยกระทงสาย ของจังหวัดตาก เปน็ ประเพณีท่ีน�ำ เอาพระพทุ ธศาสนา
ภูมิปัญญาชาวบ้าน งานศิลปวัฒนธรรมมาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่น
ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซ่ึงจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นเพราะส่วนประกอบ
ของกระทงที่ใช้กะลามะพรา้ ว ประกอบกบั แม่น้ำ�ปงิ ที่ไหลผ่านจังหวดั ตาก จะมสี ันทราย
ใต้นำ้�ทำ�ให้เกิดเป็นร่องนำ้�ท่ีสวยงามตามธรรมชาติ เม่ือนำ�กระทงมาลอยกระทงจะไหล
ไปตามร่องนำ�้ เกดิ เป็นสายยาวตอ่ เนอ่ื ง ทำ�ให้แสงไฟของกระทงสอ่ งแสงระยบิ ระยบั เปน็
สายยาวตามความยาวของร่องนำ้�มีความสวยงามมาก ต่อมาจึงได้มีการพัฒนารูปแบบ
จากการลอยในชมุ ชนมเปน็ การแขง่ ขันลอยกระทงสาย
ส่วนประกอบของกระทงสาย มดี ังต่อไปนี้
๑. กระทงนำ� (ผา้ ปา่ น้�ำ ) เป็นกระทงขนาดใหญท่ ีต่ กแต่งด้วยใบตอง ดอกไมส้ ด
ซ่งึ ประดบั อย่างสวยงามพรอ้ มมีผา้ สบง เครอ่ื งกระยาบวช หมาก พลู ขนม ฯลฯ เพื่อท�ำ
พิธจี ุดธปู เทยี นบชู าแมพ่ ระคงคาและบชู าพระพทุ ธเจ้า นำ�ลงลอยเป็นอันดับแรก
๒. กระทงตาม เป็นกระทงกะลามะพร้าวท่ีไม่มีรู นำ�มาขดั ถู ให้สะอาด ภายใน
กะลานี้ ใสด่ ้ายดบิ ทีฟ่ น่ั เปน็ รปู ตีนกา แลว้ หล่อดว้ ยเทียนไขหรอื ขี้ผ้ึง สำ�หรบั เป็นเชื้อไฟ
จดุ กอ่ นปลอ่ ยลงลอย
๓. กระทงปดิ ทา้ ย เป็นกระทงขนาดกลาง ท่ตี กแต่งอย่างสวยงามคล้ายกระทง
นำ�เป็นการบง่ บอกถงึ การสนิ้ สุดการลอยของสายน้นั ๆ

8 ลอยกระทง : Loy Krathong
ภาคตะวันออกเฉียงเหนอื

การลอยกระทงของภาคตะวนั ออกเฉยี งเหนอื เรยี กวา่ เทศกาลไหลเรอื ไฟ จดั เปน็
ประเพณียง่ิ ใหญ่ในหลายจังหวดั เชน่ จงั หวดั นครพนม โดยการน�ำ หยวกกลว้ ยหรือวสั ดุ
ต่างๆ มาตกแต่งเป็นรูปพญานาคและรูปอื่นๆ ตอนกลางคืนจุดไฟปล่อยให้ไหลไปตาม
ลำ�นำ�้ โขงดสู วยงามตระการตา
ความเปน็ มาของประเพณไี หลเรอื ไฟ ประเพณไี หลเรอื ไฟเปน็ ประเพณสี ำ�คญั อยา่ ง
หนง่ึ ทชี่ าวอสี านสบื ทอดปฏบิ ตั ใิ นเทศกาลออกพรรษา ท�ำ กนั ในวนั ขน้ึ ๑๕ ค�่ำ ถงึ แรม ๑ ค�่ำ
เดือน ๑๑ ตามแม่น้ำ�ลำ�คลอง จังหวัดที่มีการไหลเรือไฟปัจจุบันคือ จังหวัดศรีสะเกษ
สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย และอบุ ลราชธานี โดยเฉพาะชาวนครพนมนั้นถือ
เป็นประเพณสี ำ�คัญมาก เมอื่ ใกล้จะออกพรรษาชาวบา้ นจะแบง่ กนั เป็น “คมุ้ ” โดยยดึ ถอื
เอาช่ือวัดใกล้บ้านเป็นหลักในการตั้งช่ือคุ้ม เช่น ถ้าอยู่ใกล้วัดกลาง ก็จะเรียกกันว่า
“ชาวค้มุ วดั กลาง” ชาวคุ้มวดั ต่างๆ กจ็ ะจัดให้มกี ารแขง่ เรือ สว่ งเฮือแหป่ ราสาทผึง้ และ
การไหลเรอื ไฟ
เรอื ไฟ หรือภาษาถน่ิ เรยี กกนั วา่ “เฮือไฟ” น้ีเปน็ เรอื ท่ที ำ�ด้วยตน้ กลว้ ยหรือไม้ไผ่
ตอ่ เป็นลำ�เรอื ยาวประมาณ ๕-๖ วา ข้างในบรรจขุ นม ขา้ วต้มผดั หรอื สิง่ ของท่ีต้องการ
บรจิ าคทาน ข้างนอกเรอื มดี อกไม้ ธูปเทยี น ตะเกยี ง ขี้ไต้ สำ�หรบั จุดใหส้ ว่างไสวก่อนจะ
ปล่อยเรอื ไฟ ซงึ่ เรียกว่า การไหลเรือไฟ หรอื ปล่อยเฮอื ไฟ มูลเหตุของการไหลเรือไฟน้ัน
มคี ตนิ ยิ มเชน่ เดียวกบั การลอยกระทง แตเ่ ปน็ การลอยกระทงกอ่ นที่อ่ืน ๑ เดอื น โดยมี
ความเชือ่ กันหลายประเด็นคอื
 ความเช่ือเก่ียวกับการบูชารอยพระพุทธบาทท่ีประทับไว้ ณ หาดทราย
รมิ ฝง่ั แม่น�้ำ นัมมทานที

ลอยกระทง : Loy Krathong 9

 ความเชื่อเก่ียวกับการบชู าพระรัตนตรัย
 ความเชือ่ เก่ยี วกบั การบชู าคณุ พระแม่คงคา
 ความเชื่อเกี่ยวกบั การบูชาพญานาค
ชาวนครพนมไดผ้ สมผสานความเชอ่ื ถอื ในการไหลเรอื ไฟไวด้ ว้ ยสาเหตหุ ลายอยา่ ง
และเนอ่ื งจากลกั ษณะท�ำ เลภมู ปิ ระเทศแมน่ �ำ้ โขงหนา้ เมอื งนครพนมนน้ั สวยงามมาก โดย
เฉพาะในวันเพ็ญ เดือน ๑๑ ท้องฟา้ แจ่มใสอากาศเยน็ สบายชาวนครพนมจึงไดร้ ว่ มใจกนั
ฟนื้ ฟปู ระเพณไี หลเรอื ไฟใหเ้ ปน็ ประเพณสี �ำ คญั ของจงั หวดั เมอ่ื พ.ศ.๒๕๒๓ มงี านรวม ๔ วนั
ต้ังแต่วนั ขนึ้ ๑๒-๑๕ ค่�ำ แตว่ ันที่สำ�คญั ท่สี ดุ คอื วนั สดุ ทา้ ย ซึ่งเปน็ วนั ขึน้ ๑๕ ค�่ำ เดอื น
๑๑ มีการไหลเรอื ไฟลงสแู่ มน่ ำ้�โขงอยา่ งมโหฬารเรือไฟแบง่ เป็น ๒ ประเภท คอื เรอื ไฟ
โบราณ (แบบชาวบา้ น) และเรือไฟขนาดใหญ่
เรือไฟโบราณ
ใชต้ น้ กลว้ ยมาต่อกนั เป็นแพ ให้มีลกั ษณ์คลา้ ยเรอื กาบกล้วย ตกแต่งดว้ ยดอกไม้ที่
หาได้ในทอ้ งถ่ิน ขา้ งกราบเรอื ใชข้ ี้ไตว้ างบนกาบกล้วยทล่ี อกออกมาแล้วห่อเปน็ ปล้องๆ
พร้อมกับเศษผ้าชบุ น้ำ�มันยาง ภายในลำ�เรอื ตง้ั ขันหมากเบง็ ๒ ค่,ู รวงข้าว, กลว้ ย, ออ้ ย,
ขนม, ข้าวตม้ , ไข่ต้ม สง่ิ ของเครื่องใชต้ า่ งๆ ทจี่ ะท�ำ ทาน ดอกไม้ ธูปเทียนประดบั ด้วย
กระดาษสี ธงทวิ กระดาษตา่ งๆ
เรือไฟขนานใหญ่
ท�ำ ดว้ ยไม้ไผม่ ดั ตอ่ กนั เปน็ แพลกู บวบ ขน้ึ โครงไม้ไผเ่ ปน็ ฉากดดั โครงลวดเปน็ รปู ทรง
ตา่ งๆ สว่ นใหญจ่ ะประดษิ ฐเ์ ปน็ รปู เรอื รปู พญานาค น�ำ ไปผกู ตดิ กบั โครงไม้ไผ่ ใชข้ ้ีไตห้ รอื
ขวดน�ำ้ มนั ใส่ใสผ้ กู ตดิ กบั โครงลวดเปน็ ระยะขนึ้ อยกู่ บั รปู ภาพทกี่ ำ�หนด จ�ำ นวนดวงไฟหรอื
ขวดนำ�้ มัน จะมตี ั้งแต่ ๕๐,๐๐๐-๒๐๐,๐๐๐ ดวง ใช้สำ�หรบั ประกวดแขง่ ขนั กนั

10 ลอยกระทง : Loy Krathong
ภาคใต้

การลอยกระทงของชาวใต้ สว่ นใหญน่ �ำ เอาหยวกมาท�ำ เปน็ แพ บรรจเุ ครอื่ งอาหาร
แล้วลอยไปแต่มีข้อน่าสังเกตคือ การลอยกระทงทางภาคใต้ ไม่มีกำ�หนดว่าเป็น
กลางเดือน ๑๒ หรอื เดอื น ๑๑ ดังกลา่ วแล้ว แตจ่ ะลอยเม่ือมโี รคภัยไขเ้ จ็บ เพือ่ ให้หาย
โรคภัยไขเ้ จบ็ ท่ีตนเปน็ อยู่ เปน็ การลอยแพสะเดาะเคราะห์
การตกแต่งเรือหรือแพลอยเคราะห์ จะมีการแทงหยวก เป็นลวดลายสวยงาม
ประดับดว้ ยธงทวิ ภายในบรรจดุ อกไม้ ธูปเทยี น เงนิ และเสบยี งต่างๆ
เรือหรอื แพทล่ี อยไปน้จี ะไมม่ ีใครกล้าเกบ็ เพราะเช่ือวา่ ผ้เู ก็บจะรบั เคราะหแ์ ทน

ลอยกระทง : Loy Krathong 11
ภาคกลาง

การลอยกระทงของภาคกลางซึ่งเป็นที่มาของการลอยกระทงที่นิยมปฏิบัติกันทั้ง
ประเทศนั้น มีหลักฐานว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีมีพระราชพิธี “จองเปรียง
ลดชุดลอยโคม” ดงั ระบไุ ว้ในนิราศธารโศกของเจา้ ฟา้ ก้งุ วา่

“เดือนสบิ สองถ่องแถวโคม แสงสวา่ งโพยมโสมนสั สา
เรืองรงุ่ กรุงอยุธยา วันทาแลว้ แก้วไปเหน็ ”

ในจดหมายเหตรุ าชทตู ลงั กาทเี่ ขา้ มาในสมยั พระเจา้ บรมโกศก็ไดร้ ะบวุ า่ ในพระราช
พธิ ดี งั กลา่ วมกี ารปลอ่ ยโคมกระดาษท�ำ เปน็ รปู ดอกบวั มเี ทยี นจดุ อยภู่ ายในขณะปลอ่ ยลง
น�ำ้ ดว้ ย
ในสมยั รัชกาลท่ี ๓ แหง่ กรุงรตั นโกสนิ ทรเ์ รียกพธิ ีนี้วา่ “ลอยพระประทีปกระทง”
เนื่องจากโปรดให้ทำ�เป็นกระทงใหญ่บนแพหยวกกล้วย ตกแต่งอย่างวิจิตรพิศดาร
ประกวดประชันกัน แต่ในรัชกาลต่อมาก็โปรดให้เปล่ียนกลับเป็นเรือลอยพระประทีป
แบบสมัยอยุธยา ในสมยั พระสมเดจ็ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รชั กาลท่ี ๖ โปรดใหเ้ ลิก
พิธีนี้เสียเพราะเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง แต่สำ�หรับประชาชนทั่วไปยังคงนิยมปฏิบัติกัน
อยู่ โดยลอยกระทงทที่ �ำ ดว้ ยใบตอง ภายในบรรจดุ อกไม้ ธปู เทยี น กอ่ นจะน�ำ ลงน�ำ้ จะกลา่ ว
สมาลาโทษและตัง้ จิตอธิษฐานขอสิ่งทต่ี นปรารถนา

12 ลอยกระทง : Loy Krathong

กระทงของภาคกลางมี ๒ ประเภทด้วยกนั คอื
กระทงแบบพุทธ
เป็นกระทงท่ีประดิษฐ์ด้วยวัสดุธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบกระบือ ก้านพลับพลึง
ใบโกศล หรือวสั ดุธรรมชาติท่ีหาได้ตามท้องถิ่นและประดับด้วยดอกไม้สดต่างๆ ภายใน
กระทงจะตงั้ พมุ่ ทองน้อย ถา้ กระทงใหญจ่ ะใช้ ๓ พุ่ม กระทงเลก็ ใช้พุ่มเดียวและธูปไม้
ระกำ� ๑ ดอก เทยี น ๑ เลม่

กระทงแบบพราหมณ์
วธิ กี ารท�ำ เชน่ เดยี วกบั การท�ำ
กระทงแบบพทุ ธ จะแตกต่างกัน
คือไม่มีเครื่องทองน้อย บาง
ท้องถิน่ จะมีการใส่หมากพลู เงนิ
เหรียญ หรือตัดเส้นผมเล็บมือ
เลบ็ เทา้ เพอ่ื เปน็ การสะเดาะเคราะห์
ไปในตัว

ลอยกระทง : Loy Krathong 13
วตั ถุประสงค์ของการลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่สำ�คัญสืบทอดกันมาต้ังแต่โบราณของไทย
ท่ียึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมา นิยมทำ�กันในคืนวันเพ็ญเดือน ๑๒ โดยมีวัตถุประสงค์
หลากหลาย ข้ึนอยกู่ บั ประเพณีความเชื่อของแต่ละทอ้ งถิ่น
๑. เพอ่ื บชู าพระพทุ ธเจา้ ในวนั เสดจ็ กลบั จากเทวโลกเมอ่ื ครง้ั เสดจ็ ไปจ�ำ พรรษาอยู่
บนสวรรค์ช้นั ดาวดึงส์ เพอื่ ทรงเทศนาอภธิ รรมโปรดพุทธมารดา
๒. เพ่ือสักการะรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้า ที่ประทับรอยพระบาท
ประดิษฐานไวบ้ นหาดทรายท่รี ิมฝั่งแม่น�ำ้ นมั มทานที ในประเทศอินเดีย
๓. เพอื่ บชู าพระเกศแกว้ จฬุ ามณบี นสวรรคช์ นั้ ดาวดงึ ส์ ซ่ึงเปน็ ท่บี รรจพุ ระเกศา
ของพระพุทธเจา้
๔. เพอื่ บชู าพระอปุ คตุ ตเถระทบ่ี ำ�เพญ็ เพยี รบรกิ รรมคาถาอยู่ในทอ้ งทะเลลกึ หรอื
สะดอื ทะเล ซงึ่ ตามต�ำ นานเลา่ วา่ เปน็ พระมหาเถระรปู หนง่ึ ทม่ี อี ทิ ธฤิ ทธม์ิ าก สามารถปราบ
พญามารได้
๕. เพือ่ บูชาพระผู้เปน็ เจ้า คอื พระนารายณซ์ งึ่ บรรทมสินธุอ์ ยู่ในมหาสมทุ ร
๖. เพื่อบชู าท้าวพกาพรหมบนสวรรค์ช้ันพรหมโลก
๗. เพอ่ื แสดงความส�ำ นกึ บญุ คณุ ของน�ำ้ ท่ไี ดน้ �ำ มากนิ มาใชป้ ระโยชน์ในชวี ติ ประจ�ำ วนั
รวมทง้ั ขอขมาลาโทษในการทำ�ให้แหลง่ น�้ำ นน้ั ๆ ไม่สะอาด
๘. เพอ่ื ลอยเคราะห์หรอื สะเดาะเคราะห์ คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
๙. เพอื่ อธษิ ฐานขอในสง่ิ ที่ตนปรารถนา
๑๐. เพอ่ื เป็นการระลกึ ถงึ พระคณุ ของบรรพบุรษุ ทีล่ ว่ งลบั ไปแล้ว

14 ลอยกระทง : Loy Krathong
สาระของประเพณีลอยกระทง

กตัญญรู ูค้ ณุ : ความหมายที่ดงี ามของประเพณลี อยกระทง
ความกตัญญูเป็นค่านิยมสำ�คัญที่คนไทยทุกกลุ่มยึดถือ คนไทยโบราณเช่ือว่าการ
ลอยกระทงเปน็ การขอขมาน�้ำ หรอื แม่คงคา ซ่ึงหล่อเลยี้ งชีวติ และอำ�นวยประโยชน์ตา่ งๆ
ไม่ว่าจะเปน็ นำ้�ดื่มนำ้�อาบน�ำ้ ใช้ หรือน้ำ�ท่หี ลอ่ เล้ยี งพชื พันธ์ุธัญญาหารด้วยความส�ำ นึกใน
บุญคณุ ของน�ำ้ จงึ ได้ก�ำ หนดวัดเพื่อแสดงความกตัญญูขน้ึ ปลี ะครั้ง
นอกจากนี้คนไทยบางกลุ่มยังมีความเชื่อท่ีต่างกันออกไป เช่นเชื่อว่าการ
ลอยกระทง เปน็ การแสดงความกตญั ญตู อ่ พระพทุ ธเจา้ บางกลมุ่ กเ็ ชอ่ื วา่ เปน็ การลอยเพอ่ื
บชู าบรรพบุรุษ แต่ไมว่ ่าแตล่ ะกลุ่มจะมีความเช่อื เชน่ ไร ความหมายรวมของประเพณนี ้ี
ก็คือความกตญั ญู ซึง่ เป็นคุณธรรมที่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของคนไทยโดยแท้

คุณค่าของประเพณลี อยกระทง

๑. คณุ คา่ ตอ่ ครอบครวั ท�ำ ใหส้ มาชกิ ในครอบครวั ไดท้ �ำ กจิ กรรมรว่ มกนั เชน่ การ
ประดษิ ฐ์กระทง แลว้ น�ำ ไปลอยนำ้�เพือ่ แสดงความกตญั ญกู ตเวทีตอ่ น้ำ�ที่ใหค้ ุณประโยชน์
บางทอ้ งถนิ่ จะลอยเพ่อื แสดงการร�ำ ลึกถงึ บรรพบุรษุ
๒. คุณค่าต่อชุมชน ทำ�ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น ร่วมกัน
คดิ ประดษิ ฐ์กระทง เป็นการสง่ เสรมิ และสบื ทอดศิลปกรรมด้านช่างฝีมือ และยังเปน็ การ
พบปะสังสรรค์สนุกสนานรื่นเริงบนั เทิงใจร่วมกัน
๓. คณุ คา่ ตอ่ สงั คม ท�ำ ใหม้ ี
ความเออื้ อาทรตอ่ สงิ่ แวดลอ้ ม ดว้ ย
การชว่ ยกนั รกั ษาความสะอาดแมน่ �ำ้
ลำ�คลอง
๔. คุณค่าต่อศาสนา ถือ
เป็นการทำ�นุบำ�รุงพระพุทธศาสนา
เช่นทางภาคเหนือ เช่ือว่าการ
ลอยกระทงเพ่ือเป็นการบูชารอย
พระพทุ ธบาทของพระพทุ ธเจา้ และ
ยังจัดให้มีการทำ�บุญทำ�ทาน การ
ปฏบิ ัติธรรมและฟังเทศน์ด้วย

ลอยกระทง : Loy Krathong 15
กจิ กรรมที่เบ่ียงเบนไป

๑. การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด หรือพลุ โดยเฉพาะเด็กและวัยรุ่นท่ีจุดเล่นกัน
อย่างคึกคะนองไม่เป็นที่เปน็ ทาง ไมร่ ะมดั ระวัง ไม่ค�ำ นึงถึงอนั ตรายที่อาจจะเกิดแก่ผู้คน
และยวดยานท่ีสญั จรไปมา และอาจเปน็ สาเหตุใหเ้ กดิ เพลิงไหมบ้ า้ นเรอื นได้
๒. การประกวดนางนพมาศ ไม่ควรให้ความสำ�คัญมากเกินไปจนกลายเป็น
กจิ กรรมหลกั ของประเพณี ซง่ึ แทท้ จ่ี รงิ แลว้ ไม่ใชแ่ กน่ แทข้ องประเพณี เปน็ เพยี งกจิ กรรม
ทเี่ สรมิ ขนึ้ มาภายหลัง เพือ่ ให้เกิดความสนกุ สนาน และเป็นส่ิงดึงดดู นกั ทอ่ งเทีย่ ว
๓. การประดษิ ฐก์ ระทง สมยั กอ่ นใชว้ สั ดพุ น้ื บา้ นทม่ี อี ยตู่ ามธรรมชาติ เชน่ ใบตอง
หยวกกลว้ ย ซ่งึ เปน็ วัสดทุ ี่ย่อยสลายง่าย แตป่ จั จุบนั กลับนิยมใชว้ สั ดุโฟม ซึง่ ยอ่ ยสลาย
ยาก ทำ�ให้แม่นำ้� ล�ำ คลอง สกปรก เนา่ เหมน็ และเกดิ มลภาวะเป็นพิษ

กิจกรรมท่ีพงึ ปฏบิ ัติ

๑. การท�ำ ความสะอาดแมน่ �ำ้ ล�ำ คลอง ทง้ั กอ่ นและหลงั เสรจ็ งานลอยกระทง เชน่
การขุดลอก เกบ็ ขยะในแม่นำ้�ล�ำ คลอง เป็นต้น
๒. การท�ำ บญุ ท�ำ ทาน การฟงั เทศน์ การปฏบิ ตั ธิ รรม ตามประเพณขี องแตล่ ะทอ้ งถน่ิ
๓. การประดษิ ฐ์กระทงใหญ่ กระทงเลก็ ดว้ ยวสั ดุในท้องถน่ิ
๔. การจดั ขบวนแห่กระทงจากหมูบ่ า้ น โรงเรยี น หรอื ชมุ ชนตา่ งๆ
๕. การจัดกจิ กรรมการประกวดตา่ งๆ เช่น การประกวดกระทง ประกวดโคมลอย
สำ�หรับประกวดนางนพมาศตามความนิยมในสงั คมปัจจบุ ันนั้น ก็สามารถปฏบิ ตั ิไดแ้ ต่ไม่
ควรใหค้ วามส�ำ คญั มากเกินไป
๖. การนำ�กระทงไปลอยในแมน่ ้ำ�ล�ำ คลอง
๗. การปลอ่ ยโคมลอย ตามประเพณีของแต่ละทอ้ งถ่ินโดยเฉพาะทางภาคเหนือ
๘. การจดุ ดอกไม้ไฟ หรอื พลุ เพอื่ เปน็ การเฉลมิ ฉลองนนั้ ควรจดุ อยา่ งระมดั ระวงั
ในสถานทที่ เ่ี หมาะสมหรอื ทท่ี จี่ ดั ไวเ้ ฉพาะ ซงึ่ ไดร้ บั อนญุ าตจากทางราชการแลว้ ไมค่ วรจดุ
ในทชี่ มุ นมุ ชน หรอื ตามถนนหนทางทมี่ ปี ระชาชนและยวดยานสญั จรไปมา เพราะจะทำ�ให้
เกดิ อนั ตรายต่อรา่ งกายและทรพั ยส์ นิ ได้
๙. การละเลน่ รืน่ เริงตามทอ้ งถ่ินน้ันๆ

16 ลอยกระทง : Loy Krathong
ประเพณีลอยกระทงในสภาพสังคมทีเ่ ปล่ียนแปลง

ประเพณีชองชุมชนย่อมมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคมท่ีเปลี่ยนแปลง แต่
การเปลย่ี นแปลงนน้ั ควรจะเปน็ การเปลยี่ นแปลงวธิ ปี ฏบิ ตั ิ มใิ ชเ่ ปลย่ี น หวั ใจของประเพณี
ปัจจุบันสังคมไทยกำ�ลังเปล่ียนสภาพจากสังคมเกษตรกรรมเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม
คนไทยก�ำ ลงั ไดร้ บั ผลกระทบจากสภาพแวดลอ้ มเพมิ่ ขน้ึ เรอ่ื ยๆ ประเพณที เ่ี คยมคี วามหมาย
ตอ่ ชมุ ชนในอดตี กเ็ ชน่ กนั อยา่ งประเพณลี อยกระทงไดก้ ลายเปน็ เทศกาลรนื่ เรงิ เพอื่ ดงึ ดดู
นกั ทอ่ งเทยี่ ว เนน้ การประกวดนางนพมาศซง่ึ ไมถ่ กู ตอ้ งในเชงิ วชิ าการ รวมทง้ั เกดิ มลภาวะ
ทางเสยี งจากการเลน่ ประทดั พลแุ ละดอกไม้ไฟจนอาจเกดิ อนั ตรายตอ่ ชวี ติ และทรพั ยส์ นิ
โดยมไิ ด้ค�ำ นงึ ถึงความหมายและสาระทีแ่ ทจ้ รงิ ของประเพณีลอยกระทง

นา้ํ คือชวี ติ : อกี หนง่ึ คณุ ค่าของประเพณลี อยกระทงทคี่ วรสืบสาน

ไม่ว่าประเพณีลอยกระทงจะมีประวัติท่ีมายาวนานอย่างไร มีการแตกแขนงทาง
ความคดิ ออกไปอยา่ งไร แต่สิ่งสำ�คัญทสี่ ุดของประเพณีนก้ี ็คือ “น�้ำ ” เรายังคงจะตอ้ งใช้
น�ำ้ ในการประกอบพธิ ดี งั กลา่ ว ไมว่ า่ จะเปน็ น�ำ้ ในแมน่ �ำ้ คู คลอง หรอื สระน�้ำ ในโรงแรม ในสวน
สาธารณะต่างมีความสำ�คัญทั้งส้ินเพราะมนุษย์และสัตว์ล้วนต้องใช้นำ้�ในชีวิตประจำ�วัน
ไมส่ ามารถขาดได้ น�ำ้ จงึ คอื ชวี ติ ดงั ทพี่ ระบาทสมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั ไดพ้ ระราชทานพระราช
ด�ำ รสั ไวเ้ มอ่ื วนั ที่ ๑๗ มนี าคม ๒๕๒๙ ณ พระต�ำ หนกั จติ รลดารโหฐาน วา่ “…หลกั ส�ำ คญั วา่
ต้องมีนำ้�บริโภค น�ำ้ ใช้ น้�ำ เพอื่ การเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ท่ีน่ัน ถา้ มนี �ำ้ คนอยู่ได้
ถ้าไม่มนี �้ำ คนอย่ไู ม่ได้ ไมม่ ีไฟฟา้ คนอยไู่ ด้ แต่ถ้ามีไฟฟา้ ไม่มนี ำ�้ คนอยูไ่ มไ่ ด้…”
เราจงึ ควรรว่ มมอื รว่ มใจกนั รณรงคร์ กั ษาความสะอาดของแมน่ �้ำ ล�ำ คลองแหลง่ น�ำ้
ในชุมชน ตลอดจนแหล่งน�ำ้ ตามธรรมชาตทิ ว่ั ๆ ไป เป็นการแต่งตวั ใหแ้ ม่น้ำ� และแตง่ ตวั
ใหช้ มุ ชมดว้ ยความรกั และความกตญั ญู เพอ่ื ตอ้ นรบั เทศกาล “ลอยกระทง” เทศกาลแหง่
ความรนื่ เรงิ ในคนื วนั พระจนั ทรง์ ามทสี่ ดุ ในรอบปี ซง่ึ จะท�ำ ใหป้ ระเพณลี อยกระทงยงั คงไว้
ซึง่ สาระคณุ ค่าและงดงามควรแก่การสืบสานตอ่ ไป

ลอยกระทง : Loy Krathong 17
บทสรปุ

ด้วยประวัติศาสตร์
ความเป็นมาอันยาวนาน
ของประเพณีลอยกระทง
ย่อมเป็นสิ่งแสดงให้เห็น
ว่ า ป ร ะ เ พ ณี น้ี มี ค ว า ม
ผูกพันธ์กับวิถีชีวิตของ
ช า ว ไ ท ย ม า ตั้ ง แ ต่ อ ดี ต
จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ทุกวันเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ�
เดือน ๑๒ อันเป็นช่วงเวลาที่พระจันทร์เต็มดวงทอแสงนวลอยู่เหนือลำ�น้ำ� และ
ขณะเดยี วกนั ณ รมิ ฝัง่ น้ำ�เราจะได้เห็นภาพของประชาชนตา่ งพากนั ตงั้ จติ อธษิ ฐานเพือ่
ขอส่ิงท่ีมุ่งหวัง และขอขมาแม่น้ำ�ท่ีหล่อเล้ียงชีวิตมาตลอดท้ังปีไปกับกระทงที่ประดิษฐ์
ขนึ้ ดว้ ยความงดงาม เมอ่ื แสงเทยี นจากกระทงนบั รอ้ ยนบั พนั ใบลอยกระทบผวิ น�้ำ เหมอื น
จะแขง่ ความสวา่ งไสวกบั แสงจนั ทรว์ นั เพญ็ ไดท้ �ำ ใหค้ วามสวยงามของค�ำ่ คนื แหง่ ประเพณี
ลอยกระทงเปน็ ทีโ่ จษจันไปทั่วโลก และดึงดดู ให้นักทอ่ งเทยี่ วมาร่วมชน่ื ชมและสัมผัสกับ
วฒั นธรรมประเพณอี นั งดงามของไทย เราคนไทยจงึ มไิ ดเ้ ปน็ เพยี งผตู้ อ้ นรบั นกั ทอ่ งเทย่ี ว
แตห่ ากคอื ผทู้ จี่ ะธ�ำ รงรกั ษาสาระคณุ คา่ ทแี่ ทจ้ รงิ ของประเพณลี อยกระทง ประเพณที แี่ สดง
ถงึ ความกตญั ญตู อ่ สายน้�ำ ใหค้ งอยสู่ บื ไป

บรรณานุกรม

สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๓๗. ผลการสัมมนาทางวิชาการ เร่ือง
การส่งเสริมการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทง. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพรา้ ว

ส�ำ นกั งานคณะกรรมการวฒั นธรรมแหง่ ชาต,ิ ๒๕๓๗. วนั สำ�คญั โครงการปีรณรงคว์ ฒั นธรรม
ไทยและแนวทางในการจดั กจิ กรรม. กรงุ เทพมหานคร : โรงพมิ พค์ รุ สุ ภาลาดพรา้ ว

สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, ๒๕๕๑. วารสารวัฒนธรรมไทย ปีที่ ๔๗
ฉบับท่ี ๑๒ ประจำ�เดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร : โรงพมิ พ์
ชุมนมุ สหกรณ์

18 ลอยกระทง : Loy Krathong

Loy Krathong

Loy Krathong Tradition

Loy Krathong Tradition is

a ceremony to honor the Goddess
of the river. In Thailand it is
annually held on full moon day
in November. Krathongs are
small vessels or cups often made
of cut banana stems, leafs and
contain flowers, candles and
joss sticks. They are released
in the rivers and left to float
downstream. Upon releasing
the Krathongs one asks for
forgiveness to the Goddess of the river for polluting her and makes wishes for
the future. It is one of the many religious custom in Thailand. During this period,
at the end of the rain season, most areas around rivers and canals are flooded.
This occurrence sparked an old Thai saying; in the 11th lunar month there is flooding
and in the 12th lunar month the (stagnant) flood waters are retreating. This period
is a time for rejoicing as the weather is changing for the better. The rain season
is more or less over and the winter or cool season is beginning. The moon is also
at its brightest this time of the year. At present, the Loy Krathong Tradition is a
major celebration in Thailand.

Background

Loy Krathong practice was commonly held by people living near or around

river basins. The origins can be traced back to practices held in India, Myanmar,
Laos, Cambodia and Thailand. The practice and religious back ground varies in
these countries or even within a country as is the case in Thailand.
In the North the celebration is known as “Loi Khamod” or “Loi Fai”
The Krathongs are made in the shape of a house or a junk and offerings are
put in leaves inside the Krathong. The Krathongs are floated down stream in
remembrance of faraway relatives.

ลอยกระทง : Loy Krathong 19

In the North east region of Thailand Loy Krathong is celebrated on full moon
day in the eleventh lunar month. The celebration here is called “Lai Rua Fai” or
“Floating Light Boats”.
In the Southern region the Krathongs are released in order to ‘float away’
bad luck and occasionally for sick people.
IntheCentralregion theTradition is widely recognized as the mostcommon and
is the original Loy Krathong celebration in Thailand. Evidence shows that
Loy Krathong was celebrated during theAyutthaya period, It was described in a poem,
named “Weeping Water”, composed by Prince Kung during that period. In this poem,
the royal celebration was called “Brahman Lantern Procession”.
“The twelve lunar month, row lanterns Brilliant sky bring delighted heart
Prosperous Ayutthaya bring about impression at gaze”
Also, a written record by a Lanka (ancient name for present day Sri Lanka)
envoy during the reign of King Boromkot stated that paper lanterns made in a
shape of lotus flowers containing lighted candles were released down the river
in a royal ceremony.
In the third Reign of the Rattanakosin (Bangkok) era, the royal lanterns were
modified in a form of leaf cups placed on cut banana stems. The small vessels were
called Krathong Yai or Big Krathong and decoration contests of the Krathongs
were popular events during that period. The tradition of Loy Krathong Tradition
was abandoned in the sixth Reign practices because of the high expenses but the
Tradition is still very much alive today.

Objectives

The objectives are

various depending on
different custom and
beliefs.
1. To pay homage
to the Lord Buddha’s
descent from the second
heaven (where Indra dwells)
after staying in a Buddhist
monastery during the Buddhist lent in order to preach a sermon to his royal mother.
2. To pay homage to the Lord Buddha’s foot print on the bank of the
Nammatha River in India.
3. To pay homage to the heavenly Pagoda containing the Lord Buddha’s
top knot cut off at his self-ordination.
4. To pay tribute to the senior disciple Upakut, who found his recluse in
the ocean (a belief inherited from Myanmar ; the priest had supernatural powers
in conquering the God of Evil).

20 ลอยกระทง : Loy Krathong

5. To pay homage to Narai banthom sin; Hindu God Vishnu, slumbering
in the ocean.
6. To pay homage to God Phaka Prom living in the third heaven.
7. To worship the Goddess Mae Khongkha, the Mother of Water, asking
for forgiveness for polluting her.
8. To float one’s sufferings away, this practice is similar to the Sin Floating
Rite of Brahmin.
9. To ask for blessing.
10. To remind the benevolence of departed ancestors.

Loy Krathong Tradition : Expression of Gratitude

Thai people express their gratitude to the Goddess of Water for

nourishing their lives by celebrating Loy Krathong. However, depending
on beliefs, Loy Krathong is also celebrated to express gratitude to the Lord
Buddha or paying homage to ancestors. To make a long story short one can say
Loy Krathong Tradition is about expressing gratitude.

Values of Loy Krathong Tradition

1. Family Value: relationships between family members are tightened as

family members are celebrating together.
2. Community Value: communities are more harmonious by joining in
the Loy Krathong activities.
3. Social Value: raising awareness in water resources conservation.
4. Religious Value: Buddhist practices such as merit making,
practicing dharma and sermons are essential parts of the Loy Krathong
celebration, therefore, they contribute to strengthen religious beliefs.

Activities that should be promoted

1. Clean up the rivers, both before and after the Loy Krathong

celebration.
2. Perform good deeds, listen to sermons, and practice the dharma.
3. Utilize local bio-degradable materials in making the Krathongs.
4. Promote the proceedings of Krathong parade.
5. Promote alternative activities, such as, a Krathong contest, hot-air
balloon contest. Presently the Noppamas Queen contest (The daughter of a
Brahman priest and a lady at the court of King Phra Ruang of Sukhothai, who
developed a new style of lotus flower which were to be floated on the streaming
waters at night to please the King) is a new, but indispensable featue.

ลอยกระทง : Loy Krathong 21

6. Release he Krathong into the rivers.

7. Release hot-air balloons (mainly practiced in the north).
8. Save use of fireworks in order not to hurt people or damage properties.
9. Participatory cultural activities in local communities.

22 ลอยกระทง : Loy Krathong

Conclusion

The Loy Krathong Tradition has been part of the Thai culture and
way of living for a long time. At full moon night of the Thai 12th month
(November) whole Thai people gather at the river banks and ask for blessings and
forgiveness from the Goddess of the River by releasing Krathongs. Thousands
of candle lights released at the same time illuminate the river brilliantly and
is an eerie but beautiful spectacle. The traditional custom has become a major
attraction for foreign tourist participating in the activities and enjoying the Thai
hospitality. But we should not forget the real message of Loy Krathong : Gratitude
to the River Goddess.

ท่ปี รึกษา เสียงหลาย ปลดั กระทรวงวัฒนธรรม
นายสมชาย
ศาสตราจารยอ์ ภนิ นั ท์ โปษยานนท์ อธิบดกี รมสง่ เสรมิ วัฒนธรรม
นางสาวนนั ทิยา สวา่ งวฒุ ิธรรม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ผจู้ ัดทำ�
กลมุ่ สง่ เสรมิ การถ่ายทอดวัฒนธรรม สำ�นักส่งเสรมิ และเผยแพร่วฒั นธรรม
สำ�นักประชาสัมพนั ธแ์ ละเทคโนโลยสี ารสนเทศ
กรมสง่ เสรมิ วฒั นธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
คณะท�ำ งาน
นางอรุณี คงเสร ี
นางปยิ ะนุช วฒั นชีวโนปกรณ์
นางสาวอัญชลี โตสกุล
นางสลักจติ ร ศรชี ยั
นางสาวสุมาลี เจียมจงั หรีด
นางสาววรณุ ี วิเศษหมอ
สนบั สนุนข้อมลู
กลมุ่ ส่งเสรมิ การถา่ ยทอดวัฒนธรรม
สำ�นักประชาสัมพันธแ์ ละเทคโนโลยีสารสนเทศ
ส่วนไทยนทิ ัศน์
แปลภาษาอังกฤษ
กล่มุ วิเทศสัมพันธ์ กองกลาง
นายอิศร ปกมนตรี
นางสาวกรรณกิ า ประสิทธ์ินราพันธ์ุ
Mr. Mattheas Johannes van de Bult
ภาพปก
นางเพญ็ พรรณ สิทธไิ ตรย์
ศลิ ปนิ แหง่ ชาติ พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๒ สาขาทศั นศลิ ป์ (ประณตี ศลิ ป์ – แกะสลกั เครอื่ งสด)
ออกแบบปก/รปู เลม่
กลุ่มส่งเสรมิ การถา่ ยทอดวัฒนธรรม
สำ�นกั ประชาสัมพนั ธ์และเทคโนโลยสี ารสนเทศ
นางสลกั จิตร ศรชี ัย
นางสาวกิง่ ทอง มหาพรไพศาล
ขอขอบคุณ
การท่องเทีย่ วแห่งประเทศไทย (สนับสนุนภาพ)


Click to View FlipBook Version