The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

วิทยาศาสตร์ ม.1 เรื่อง สารรอบตัว

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by NaJa NaNo, 2022-08-22 00:26:16

วิทยาศาสตร์ ม.1 เรื่อง สารรอบตัว

วิทยาศาสตร์ ม.1 เรื่อง สารรอบตัว

แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

แผนการจัดการเรียนรู้

รายวิชาวิทยาศาสตร์ม.1 เล่ม1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เสนอ

อาจารย์ พงษ์พร พันธ์เพ็ง

จัดทำโดย

นางสาวสิริพร เอกดำรงเลิศชัย

ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2565
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง



คำนำ

แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 นี้เป็นสื่อการเรียนรู้ที่จัดทำ
ขึ้นโดยยึดแนวการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช 2551 โดยออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้ น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ผสมผสานกับแนวคิดของ Backward Design (BwD) โดยถือว่าผู้ เรียน

สำคัญที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เล่มนี้ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งเป็นรายบุคคล และรายกลุ่ม เน้ นกระบวนการคิด
วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองส่งเสริมให้

นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ทั้งในและต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ

ด้วยวิธีการที่หลากหลาย สร้างสถานการณ์การเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน

โดยครูมีบทบาทหน้ าที่ในการเอื้ออานวยความสะดวกให้แก่นักเรียนเพื่อให้

นักเรียนมีคุณภาพตามสาระมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดรวมทั้งพัฒนา

นักเรียนให้มีสมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตร

กำหนด เพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทยและ

สังคมโลกได้อย่างมีความสุข

แผนการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ม. 1 เล่ม 1 เล่มนี้ ได้จัดทำตรงตาม

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งครอบคลุมทุก

สาระการเรียนรู้ ภายในเล่ม ได้นำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรายชั่วโมง

ตามหน่วยการเรียนรู้ เพื่อครูนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้สะดวก นอกจาก
นี้แต่ละหน่วยการเรียนรู้ยังมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน

ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านคุณธรรม จริยธรรม และจิตวิทยาศาสตร์ และด้าน
ทักษะ/กระบวนการ ทำให้ทราบผลสัมฤทธิ์ ของนักเรียนแต่ละหน่วยการเรียน
รู้ได้ทันที

นางสาวสิริพร เอกดำรงเลิศชัย

สารบัญ ข

เรื่อง หน้ า

คำนำ ก
สารบัญ ข
เรื่อง สารรอบตัว
1. สมบัติของสาร 1
-สมบัติของสาร 1
2. การเปลี่ยนแปลงของสาร 1-2
-การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร 3
3-6
-แบบสรุป 7
8-10
-แบบทดสอบ-เฉลย 11
12
-เอกสารอ้างอิง
-ประวัติผู็เขียน

สารรอบตัว 1

สมบัติของสารและแบบจำลองอนุภาคของสาร

สมบัติของสสาร

สาร (substance) คือ สิ่งที่มีรูปร่าง มีมวล ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
สมบัติของสาร หมายถึง ลักษณะของสารนั้นๆซึ่จะทำให้บอกได้ว่าเป็นสารใด สมบัติของ

สาร ได้แก่ เนื้อสาร องค์ประกอบ สถานะ การนาไฟฟ้ า ฯลฯ
สมบัติของสารแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. สมบัติทางกายภาพ คือ สมบัติที่สังเกตเห็นได้หรือทดลองด้วยวิธีง่ายๆได้ เช่น สี กลิ่น

รส จุดเดือด จุด
หลอมเหลว สถานะ การนกไฟฟ้ า ความแข็ง เป็นต้น
2. สมบัติทางเคมี คือ สมบัติที่ทราบได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือ สมบัติเฉพาะ

ตัวของสารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีนั่นเอง เช่น ความเป็นกรด-เบส การลุก

ติดไฟ การสลายตัวให้สารใหม่ เป็นต้น

ถ้าเรานกสมบัติของสารมาเป็นเกณฑ์ ก็จะสามารถแบ่งการเปลี่ยนแปลงของสาร

ได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ คือ การเปลี่ยนแปลงที่ทกให้สมบัติทางกายภาพ

ของสารเปลี่ยนไป
เช่น การเปลี่ยนสถานะ การเปลี่ยนขนาด ซึ่งองค์ประกอบภายในจะยังคงเหมือนเดิม

เช่น การละลายของ น้ำแข็ง การระเหยของแอลกอฮอล์ การระเหิดของน้ำแข็งแห้ง
2.การเปลี่ยนแปลงทางเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้สมบัติทางเคมีของสาร

เปลี่ยนไป หรือการเปลี่ยนไปเป็นสารใหม่นั่นเอง เช่น การเกิดสนิมเหล็ก การเผาไหม้

ของน้ำมัน

2

สถานะของสาร

สารเมื่อจำแนกสารโดยใช้การจัดเรียงตัวของอนุภาคที่เป็นองค์ประกอบเป็นเกณฑ์ สารแบ่ง

ออกเป็น 3 สถานะ ดังนี้

3

การเปลี่ยนแปลงของสาร

การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร

1. การเปลี่ยนสถานะของแข็ง

สารที่เป็นของแข็งจะเปลี่ยนสถานะเมื่อได้รับความร้อนจำนวนหนึ่ง เมื่อของแข็งได้รับ

ความร้อน อนุภาคต่างๆของแข็งจะได้รับพลังงานมีการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและเกิด

แรงผลักอนุภาคอื่นๆให้เคลื่อนที่ไปคนละทิศคนละทาง อุณหภูมิของวัตถุจึงขึ้นอยู่กับ

พลังงานที่อนุภาคเหล่านั้นสะสมอยู่ เมื่ออุณหภูมิของวัตถุเพิ่มขึ้น อนุภาคต่างๆของวัตถุ

จะสั่นสะเทือนอย่างรวดเร็วและดันให้อนุภาคอื่นๆเคลื่อนที่ไกลออกไป จึงเป็นสาเหตุให้

ของแข็งเมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการขยายตัว
นอกจากนี้ อุณหภูมิของของแข็งเพิ่มสูงขึ้นจนถึงจุดเดือด พลังงานที่ได้รับจากการเพิ่ม

ความร้อน จะทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค จนทำให้เกิดอนุภาคอิสระเคลื่อนที่อยู่

รอบๆอนุภาคอื่นๆ ซึ่งของแข็งจะหลอมละลายกลายเป็นของเหลว อุณหภูมิที่ทำให้

ของแข็งหลอมละลายเรียกว่า จุดหลอมเหลว (melting point) และหากเปลี่ยนสถานะ

เป็นแก๊สโดยไม่เกิดการหลอมละลายเรียกว่า การระเหิด (sublimation)

ของแข็ง

4

2. การเปลี่ยนแปลงสถานะของเหลว

สารที่เป็นของเหลวจะเปลี่ยนสถานะเมื่อได้รับความร้อนและความเย็น เมื่อ

ของเหลวได้รับความร้อนอนุภาคของของเหลวจะได้รับพลังงานและเคลื่อนที่

อย่างรวดเร็ว อนุภาคจะเกิดการชนกันทำให้อนุภาคเคลื่อนที่ไปหลายทิศทาง
เป็นสาเหตุทำให้ของเหลวขยายตัว หลังจากที่ของเหลวได้รับความร้อน

อนุภาคจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ทำให้อุณหภูมิของของเหลวเพิ่มสูงขึ้น เมื่อ

อุณหภูมิของของเหลวเพิ่มขึ้นจนกระทั่งถึงจุดเดือด พลังงานที่ของเหลวได้รับ
จาการเพิ่มความร้อนจะทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค อนุภาคต่างๆจะ

เริ่มเคลื่อนที่อย่างอิสระ ซึ่งของเหลวจะเดือดและเปลี่ยนสถานะกลายเป็นแก๊ส
อุณหภูมิที่ทำให้ของเหลวเดือดเรียกว่า จุดเดือด (boiling point) เมื่อ

ของเหลวได้รับความเย็น อนุภาคของของเหลวจะสูญเสียพลังงาน อนุภาคจะ
เริ่มเคลื่อนที่ช้าลง และจะเรียงตัวใกล้กัน เมื่ออุณหภูมิของของเหลวลดลงจน
กระทั่งถึงจุดที่ของเหลวแข็งตัวซึ่งของเหลวจะรวมตัวเป็นของแข็ง เรียก

ปรากฏการณ์นี้ว่า จุดเยือกแข็ง (freezing point)

ของเหลว

3. การเปลี่ยนแปลงสถานะของแก๊ส

สารที่เป็นแก๊สจะเปลี่ยนสถานะเมื่อได้รับความเย็น ซึ่งจะทำให้อนุภาคของแก๊สจะสูญ

เสียพลังงาน การเคลื่อนที่ของอนุภาคจะเริ่มช้าลง เมื่ออุณหภูมิของแก๊สลดลงจะเกิด

แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคต่างๆของแก๊ส อนุภาคจะหยุดการเคลื่อนที่อย่างอิสระ

แต่จะเริ่มต้นเคลื่อนที่รอบๆอนุภาคอื่นๆ ขณะที่เกิดปรากฏการณ์นี้ แก๊สจะรวมตัว

เป็นของเหลว โดยเรียกว่า จุดควบแน่น

แก๊ส

5

2.การเปลี่ยนสถานะระหว่างของเหลวกับแก๊ส เมื่อของเหลวได้รับความร้อน

อุณหภูมิสูงขึ้น พลังงานจลน์ของโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงยึดเหนี่ยวถูกทำลายจนถึงจุดเดือด

จึงซึ่งระหว่างเปลี่ยนสถานะอุณหภูมิจะคงที่ หลุดออกเป็นโมเลกุลของแก๊ส เป็นการ

เปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน ในทางกลับกันเมื่ออุณหภูมิลดลง แก๊สเปลี่ยนสถานะเป็น

ของเหลวระหว่างเปลี่ยน

3. การเปลี่ยนสถานะระหว่างของแข็งกับแก๊ส เมื่อของแข็งได้รับความร้อนจะทำให้

อุณหภูมิเพิ่มขึ้น พลังงานจลน์ของโมเลกุลเพิ่มขึ้น แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลถูก

ทำลาย สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊สหรือไอ เรียกการเปลี่ยนแปลงแบบดูด

ความร้อน เช่น การกลายเป็นไอของลูกเหม็น การบูร เกล็ดไอโอดีน น้ำแข็งแห้ง เป็นต้น

ความร้อนแฝงของการกลายเป็ นไอ

คือ ปริมาณความร้อนที่สารได้รับจากสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปใช้ในการเปลี่ยนสถานะจาก

ของเหลวกลายเป็ นไอการละลายของสารการละลายของสารที่อยู่ในรูปของสารละลาย

คือสารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารบริสุทธิ์ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นมาผสมกัน คือ ตัวทำละลายและ

ตัวละลาย โดยสารทั้งสองจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีกัน สารละลายที่ได้จะมีจุดเดือดและ

จุดหลอมเหลวไม้คงที่สารละลายหนึ่งๆอาจมีตัวละลายอยู่เพียง 1 ชนิด หรืออาจมี

สารละลายที่มีตัวละลายมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไปผสมกันอยู่ เช่น การนำเกลือผสมกับ

น้ำตาลละลายน้ำพลังงานกับการละลายของสาร พลังงานที่ใช้ในการเปลี่ยนสถานะของ

สารมี 2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงแบบคาย

พลังงาน

1.ชนิดของตัวทำละลาย
2.ชนิดของตัวถูกละลาย
3.ความดัน ในกรณีที่ตัวละลายมีสถานะเป็นก๊าซ ถ้าความดันเพิ่มจะละลายได้มากขึ้น
4.อุณหภูมิการเกิดปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิด

การเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม

การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้น

เหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการ

เปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า

"ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด

6

อุณหภูมิกับการเปลี่ยนสถานะ

เมื่อสารได้รับความร้อนจะมีการเปลี่ยนแปลงสถานะ เมื่อสารในสถานะต่าง ๆ ได้รับ

ความร้อน สารจะเกิดการเปลี่ยนแปลง 2 ลักษณะ คือ

1. อุณหภูมิสูงขึ้น ช่วง BC
2. เปลี่ยนสถานะ ช่วง AB CD

อุณหภูมิ ขณะที่สารกำลังเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว

คือ จุดหลอมเหลว จุด A เป็นจุดที่ของแข็งเริ่มหลอมเหลว และ B เป็นจุดที่ของแข็ง

หลอมเหลวหมด อุณหภูมิขณะที่สารกำลังเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นแก๊ส คือ

จุดเดือด จุด C เป็นจุดที่ของแข็งเริ่มเดือด และ D เป็นจุดที่ของเหลวเดือดไปหมด
การหลอมเหลว (melting) คือ การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลวและจะ

เกิดขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิอยู่ที่จุดหลอมเหลว
การแข็งตัว (freezing) คือ การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นของแข็งและจะเกิด

ขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิที่จุดเยือกแข็ง
จุดหลอมเหลว (melting point) คือ อุณหภูมิในขณะที่ของแข็งกำลังเปลี่ยนสถานะเป็น

ของเหลว เช่น น้ำแข็งกลายไปเป็นน้ำที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส
จุดเยือกแข็ง (freezing point)คือ อุณหภูมิในขณะที่ของเหลวกำลังเปลี่ยนสถานะเป็น

ของแข็ง เช่น น้ำกลายเป็นน้ำแข็งที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส
การกลายเป็นไอ (vaporization) คือ การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นแก๊ส

อุณหภูมิอยู่ที่จุดเดือด
การควบแน่นหรือการกลั่นตัว (condensation) คือ การเปลี่ยนสถานะจากแก๊สไปเป็น

ของเหลว อุณหภูมิอยู่ที่จุดกลั่นตัวหรือจุดควบแน่น
จุดเดือด (boiling point) คือ อุณหภูมิในขณะที่ของเหลวกำลังเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊ส

เช่น น้ำมีจุดเดือด 100 องศาเซลเซียส
จุดควบแน่น คือ อุณหภูมิในขณะที่แก๊สกำลังเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว ไอน้ำกลาย

เป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ความร้อนแฝง คือ ปริมาณความร้อนที่สาร

ใช้ในการเปลี่ยนสถานะ โดยอุณหภูมิในขณะที่มีการเปลี่ยนสถานะคงที่เป็นสมบัติเฉพาะ

ตัวของสาร
ความร้อนแฝงของการหลอมเหลว คือ ปริมาณความร้อนที่สารได้รับจากสิ่งแวดล้อมแล้ว

ใช้ในการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นของเหลว โดยอุณหภูมิไม่เปลี่ยนแปลง

7

สรุป

สสาร ( Matter ) คือสิ่งที่มีมวล ต้องการที่อยู่ และสามารถสัมผัสได้ หรืออาจหมายถึง
สิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา มีตัวตน ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้ อาจมองเห็นหรือไม่เห็นก็ได้
เช่น อากาศ เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์เรียกสสารที่รู้จักแล้วว่า สาร

สาร( Substance) คือ สสารที่ศึกษาค้นคว้าจนทราบสมบัติและองค์ประกอบที่
แน่นอนซึ่ งก็คือเนื้ อของสสารนั่นเอง

สมบัติของสาร มี 2 ประเภท คือ
1.สมบัติกายภาพ ( Physical Property ) หมายถึง สมบัติที่สังเกตได้จากลักษณะ
ภายนอก และ เกี่ยวกับวิธีการทางฟิสิกส์ เช่น ความหนาแน่น , จุดเดือด ,
จุดหลอมเหลว
2.สมบัติทางเคมี ( Chemistry Property ) หมายถึง สมบัติที่เกิดขึ้นจากการทำ
ปฏิกิริยาเคมี เช่น การติดไฟ , การเป็นสนิม , ความเป็น กรด - เบส ของสาร

8

แบบทดสอบ

1.ข้อใดไม่ใช่สถานะของสาร

ก.สารเนื้ อแข็ง ข.ของเหลว

ค.ของแข็ง ง. แก๊ส

2.ข้อใดเป็ นสมบัติของสารในสถานะของแข็ง

ก.มีมวลต้องการที่อยู่มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ

ข.มีมวลต้องการที่อยู่มีรูปร่างแน่นอน

ค.มีมวลต้องการที่อยู่มีช่องว่างสามารถเคลื่อนที่ได้

ง.มีอนุภาคอยู่กันห่างมากทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ

3.ข้อใดไม่ใช่สมบัติของสารในสถานะของเหลว

ก.มีมวล ต้องการที่อยู่ สัมผัสได้
ข.มีรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ
ค.มีอนุภาคจับการหลวมๆ
ง.มีปริมาตรไม่คงที่

4.สมบัติใดของสถานะของแก๊สที่ไม่เหมือนสถานะอื่น

ก.มีมวล ข.ต้องการที่อยู่

ค.สัมผัสได้ ง.ปริมาตร

5.ข้อใดบ้างที่ไม่เป็ นสารเนื้ อเดียว

ก.น้ำพริก ข.น้ำเชื่อม

ค.น้ำเกลือ ง.น้ำแดง

9

6.ข้อใดเป็ นสารเนื้ อผสม

ก.น้ำเชื่อม ข.น้ำส้มใส่ก๋วยเตี๋ยว

ค.น้ำเกลือ ง.น้ำเขียว

7.ข้อใดนำไฟฟ้ าได้

ก.ถ่านไม้ ข.เหล็ก

ค.ยางลบ ง.ผ้าแห้ง

8.การแยกสารโดยการร่อนใช้แยกสารประเภทใด

ก.ของแข็ง ออกจากของเหลว

ข.ของแข็งกับแก๊ส

ค.ของแข็งกับของแข็ง

ง.สารละลาย

9.สถานะของสารจากของเหลวเป็ นแก๊สเรียกว่า

ก.การระเหิด ข.การระเหย
ง.การดูดความร้อน
ค.การละลาย

10.ข้อใดเป็ นผลเสียจากการเปลี่ยนสถานะของสาร

ก.การทำน้ำแข็ง
ข.การทำไอศกรีม
ค.การสร้างเครื่องจักร
ง.การเกิดลูกเห็บขนาดใหญ่

10

เฉลย

1.ก
2.ข
3.ง
4.ง
5.ก
6.ข
7.ข
8.ค
9.ข
10.ง

11

เอกสารอ้างอิง

กิตติศักดิ์ ปัญญา และคณะ. ของแข็ง ของเหลว แก๊ส. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2561.
http://www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/286/2/3/gas/gas/index.htm

กระทรวงศึกษาธิการ. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิทยาศาสตร์ ป.5 เทอม 1. สืบค้นเมื่อวันที่

12 สิงหาคม 2561 .

http://www.mcp.ac.th/e-learning456.php

แหล่งอ้างอิง: หนังสือวิทยาศาสตร์ม.1 เล่ม 1
เมื่อ พฤ, 16/09/2010 - 17:49 | แก้ไขล่าสุด พฤ, 16/09/2010 - 19:04| โดย mild88
http://www.thaigoodview.com/node/79593
https://www.trueplookpanya.com/blog/content/72323/-sci-sciche-

Posted By Guide NT | 11 เม.ย. 62
อาจารย์ ดร.สุภาวรัตน์ ทัพสุริย์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. หนังสือเรียน วิทยาศาสตร์


ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 2. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562

12

ประวัติผู้เขียน

บ้านเลขที่ 22 หมู่ 6 ตำบลบ้านทับ
อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ 50270

นางสาวสิริพร เอกดำรงเลิศชัย เกิดวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2546

การศึกษา ชั้นประถมศึกษา:โรงเรียน ตชด.บ้านแม่ลอง

ชั้นมัธยมศึกษา:โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 31
ปั จจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่:มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี

ความสามารถพิเศษ:เล่นดนตรีพื้นเมือง(สะล้อซึง)

ช่องทางการติดต่อ: เบอร์ 0963650426

FB:NaJa NaNo
E-mail [email protected]


Click to View FlipBook Version