The words you are searching are inside this book. To get more targeted content, please make full-text search by clicking here.

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนชลประทานวิทยาสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ จึงจัดพิมพ์หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรหมาภูมิพลอดุลยเดช” โดยบันทึกพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ
ตลอดการครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเป็นกตัญญุตาบูชาถวายราช
สักการะ และเผยแผ่พระเกียรติคุณอันล้ำเลิศให้ขจรขจายแผ่ไพศาลไปทั่วโลก

Discover the best professional documents and content resources in AnyFlip Document Base.
Search
Published by tossawattosua, 2021-12-01 03:02:56

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนชลประทานวิทยาสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมหาที่สุดมิได้ จึงจัดพิมพ์หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรหมาภูมิพลอดุลยเดช” โดยบันทึกพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ
ตลอดการครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์เพื่อเป็นกตัญญุตาบูชาถวายราช
สักการะ และเผยแผ่พระเกียรติคุณอันล้ำเลิศให้ขจรขจายแผ่ไพศาลไปทั่วโลก

ทรงสถิตในดวงใจไทยนิรนั ดร์

คำนำ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช มหติ ลาธิเบศรามาธิบดี จกั รีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เป็น
พระมหากษัตริย์ที่ทรงตั้งมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมอย่างแน่วแน่ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ
นานัปการ เพื่อความกินดี อยู่ ดีและคุณภาพชีวิตที่ดีของพสกนิกร และความเจริญรุ่งเรืองอย่าง
ยั่งยืนของประเทศชาติ พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสที่ประทานไว้ในโอกาสต่างๆ ล้วน
แล้วแต่เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตบนความพอเพียง พอดี และมีภูมิคุ้มกันแก่ชีวิต และเพื่อให้
อาณาประชาราษฎร์ได้อยู่อยา่ งรม่ เย็นเป็นสุข นับเป็นบุญของปวงชนชาวไทยท้ังหลายท่ีได้เกิดมา
ภายใตร้ ่มพระบารมขี องพระมหากษัตรยิ ์ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ท่มี สี ายพระเนตรยาวไกลและ
มีพระราชจริยาวัตรอันงดงาม ทรงเป็นศนู ยร์ วมใจของชาวไทยทั้งชาติ พสกนิกรไทยต่างจงรักภักดี
เคารพ เทิดทูนไวเ้ ปน็ พ่อแห่งแผน่ ดินและสถติ แนบแน่นในดวงใจปวงชนชาวไทยชั่วนิรนั ดร์ เม่ือศุภ
สมัยสำคัญเนื่องในพระองค์เวียนมาทุกครั้ง พสกนิกรทุกหมู่เหล่าต่างสมานฉันท์จัดกจิ กรรมเฉลิม
พระเกียรติแสดงความจงรักภักดีโดยพร้อมเพียงภิญโญยิ่งเสมอมา ด้วยสำนึกในพระมหา
กรณุ าธคิ ณุ อยา่ งหาที่สุดมิได้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนชลประทานวิทยา สำนึก
ในพระมหากรณุ าธคิ ณุ ล้นเกล้าลน้ กระหม่อมหาทสี่ ุดมิได้ จึงจดั พิมพ์หนังสือ “พระบาทสมเด็จพระ
ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” โดยบันทึกพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจในด้านต่างๆ
ตลอดการครองสิริราชสมบัติ ๗๐ ปี พร้อมพระบรมฉายาลักษณ์เพือ่ เป็นกตัญญุตาบูชาถวายราช
สกั การะ และเผยแพรพ่ ระเกียรตคิ ุณอนั ลำ้ เลิศให้ขจรขจายแผไ่ พศาลไปท่ัวโลก

คณะผูจ้ ัดทำ
กลุ่มสาระการเรยี นรู้ สงั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

โรงเรยี นชลประทานวิทยา

พระบาทสมเดจ็ พระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดลุ ยเดชมหาราชบรมนาถบพติ ร

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชสมภพในราชสกุล
มหดิ ลอันเปน็ สายหน่ึงในราชวงศจ์ ักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบรดิ จ์ รัฐแมสซาชูเซตส์
สหรัฐอเมริก อันเป็นที่ซึ่งพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ เมื่อวันจันทร์
เดือนอ้าย ข้ึน ๑๒ คำ่ ปเี ถาะ นพศก จลุ ศกั ราช ๑๒๘๙ ตรงกบั วันท่ี ๕ ธนั วาคม พ.ศ. ๒๓๗๐

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จ
เจา้ ฟา้ มหดิ ลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครนิ ทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดลุ ยเดชวกิ รม พระบรมราชชนก
ในกาลตอ่ มา) และหมอ่ มสังวาลย์ มหดิ ล ณ อยธุ ยา (สกลุ เดิม ตะละภฎั , สมเดจ็ พระศรนี ครนิ ทราบรมราชชนนี
ในกาลต่อมา) มีพระนามเมื่อแรกประสูติอันปรากฏในสูติบัตรว่า “เบบี สงขลา” ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๒
พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหดิ ล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนาม
เรยี กพระองคเ์ ปน็ การลำลองว่า “เลก็ ”





ทรงประกอบพระราชพธิ ีราชาภเิ ษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิรกิ ติ ์ิ กิตยิ ากร เมื่อวนั ท่ี ๒๘ เมษายน
พุทธศกั ราช ๒๔๙๓ แลว้ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินี ตอ่ มาสถาปนาเปน็ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรม
ราชินี พระบรมราชนิ ีนาถตามลำดับ

ทรงรับการพระราชพธิ บี รมราชาภิเษก เมอ่ื วันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ พระราชทานพระ
บรมราชโองการแก่ประชาชนชา่ วไทยวา่ “เราจะครองแผน่ ดินโดยธรรม เพ่ือประโยชนส์ ุขแก่มหาชนชาว
สยาม”

พระโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองคค์ ือ
๑. ทูลกระหมอ่ มหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิรวิ ฒั นาพรรณวดี,
๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธริ าช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกมุ าร,
๓. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟา้ มหาจกั รสี ิรนิ ทร รฐั สีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี,
๔. สมเด็จพระเจา้ ลกู เธอ เจา้ ฟ้าจุฬาภรณวลัยลกั ษณ์ อคั รราชกมุ ารี,

พระราชพิธเี ฉลมิ พระราชมณเฑียร ในพระราชพธิ บี รมราชาภเิ ษก
วนั ที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๙๓





พทุ ธศักราช ๒๔๙๙ มพี ระราชศรทั ธาทรงพระผนวช ตามคตขิ องพุทธศาสนิกชนไทย เป็นเวลา ๑๕ วนั
นับแต่เสดจ็ เถลิงถวลั ยราชสมบัตปิ กครองราชอาณาจกั รไทย ตราบถึงวันที่ ๑๓ ตลุ าคม พทุ ธศักราช ๒๕๕๙

เป็นเวลา ๗๐ ปี กล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดใน
ประวตั ศิ าสตร์ไทย ทรงตง้ั ม่นั อย่ใู นทศพิธราชธรรม ทรงอุทศิ กำลังพระวรกายและกำลังสติปัญญาปฏบิ ัติ
พระราชกรณยี กิจอเนกอนันต์ เพอื่ ประโยชน์สขุ ของปวงอาณาประชาราษฎร์

พระราชพธิ ที รงพระผนวช วนั ที่ ๒๒ ตลุ าคม พทุ ธศกั ราช ๒๔๙๙

เสด็จเยี่ยมราษฎรทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๕ เป็นต้นมา ทรงตระหนักในความเป็นอยู่
ของราษฎรท่ตี ้องเผชญิ ปญั หาที่ทำกินและการดำรงชพี โดยพง่ึ พาธรรมชาติจึงมพี ระราชดำริแก้ไขและบรรเทา
ความเดอื ดร้อน ปรากฏเป็นโครงการอันเนือ่ งมาจากพระราชดำรใิ นรัชสมัยมากกว่า ๔,๖๐๐ โครงการ ประจกั ษ์
ว่า พระองค์คือกษตั รยิ ์นักพฒั นายงิ่ ใหญ่แท้จริง ทรงเน้นการพฒั นาอยา่ งย่งั ยนื และการอยู่อย่างสมดุลระหว่าง
มนุษย์กับธรรมชาติ อันได้แก่ โครงการแก้มลิง แก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการแกล้งดิน แก้ปัญหาดินเปรี้ยว
โครงการฝนหลวง แกป้ ัญหาภยั แลง้ ธนาคารข้าว ธนาคารโค กระบือ แก้ปญั หาความขาดแคลน การปลูกหญ้า
แฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ ปลูกป่าด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อการจัดการทรัพยากร รวมทั้งการสร้างเขื่อน ฝาย
ทำนบกนั้ น้ำ เพือ่ ความอดุ มสมบรู ณ์แหง่ ทรัพยากรของประเทศ ตลอดพระราชทานแนวพระราชดำริไปยงั นานา
ประเทศทต่ี ้องการความช่วยเหลืออกี ด้วย พระอัจฉรยิ ภาพเปน็ ทป่ี ระจักษไ์ ม่เฉพาะต่อคนไทยเท่าน้ัน องค์การ
สากลต่างๆไดป้ ระกาศยกย่องพระเกยี รติคุณใหป้ รากฏอยา่ งแพรห่ ลายกวา้ งขวางมาโดยตลอด

ทอดพระเนตรโครงการอา่ งเก็บนำ้ ยางชมุ อนั เนอื่ งมาจากพระราชดำริ จังหวดั ประจวบคีรขี นั ธ์
วนั ที่ ๘ พฤศจกิ ายน พุทธศกั ราช ๒๕๔๘



ระหว่างพุทธศักราช ๒๕๓๐ - ๒๕๑๐ เสด็จฯเยือนมิตรประเทศในเอเชีย ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย
จำนวน ๑๔ ประเทศ เปน็ การเจรญิ ทางพระราชไมตรีสรา้ งชื่อเสียงให้ประเทศเปน็ ที่รู้จกั ในสังคมโลก เพราะมี
พระประมขุ ท่ที รงพระปรชี าสามารถในวิชาการ ศลิ ปวัฒนธรรม และองอาจกลา้ หาญ สิ่งสำคัญทรงมุ่งหวังท่ีจะ
แสวงหาความรู้ ประสบการณจ์ ากประเทศที่เจริญทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี เพ่ีอนำมาประยุกตใ์ หเ้ หมาะ
กบั สภาพแวดล้อมของประเทศไทย เช่น การไดร้ บั ความร่วมมือจากประเทศเดนมารก์ ในด้านผลิตฟาร์มโคนม
เป็นต้น

ระหวา่ งพทุ ธศักราช ๒๕๑๐ - ๒๕๓๐ เสดจ็ พระราชดำเนินไปทรงเป็นกำลงั ใจแก่ทหารหาญและเยี่ยม
พสกนกิ รในพ้ืนที่ชายแดนท่ีประสบภยั คุกคามจากลทั ธิคอมมวิ นสิ ต์ ในฐานะทรงดำรงตำแหนง่ จอมทัพไทย ทรง
เยี่ยมบำรุงขวัญทหาร ตำรวจในพื้นที่สู้รบถึงฐานปฏิบัติการทั่วทุกพื้นที่ โดยมิหวั่นเกรงภยันตรายใดๆ
พระราชทานแนวทางปฏิบตั ิดว้ ยสนั ติวธิ ี ทรงนำโครงการอันเน่อื งมาจากพระราชดำริเป็นยทุ ธศาสตร์การพฒั นา
ใหช้ ายแดนเป็นรั้ว ดา้ นในเปน็ ศูนยพ์ ฒั นา เป็นแหล่งเรียนรู้ในการประกอบอาชพี ให้บา้ นเมืองกลับคืนสู่ความ
สงบ

ดา้ นเกษตรกรรม ทรงคดิ คน้ ทางเลอื กใหมใ่ หแ้ ก่เกษตรกรเพ่ือพึ่งพาตนเองอย่างเขม้ แข็ง เรยี กวา่
“เกษตรทฤษฎใี หม”่ ดว้ ยแนวพระราชดำริใช้ท่ีดินให้ไดป้ ระโยชน์สงู สดุ

พทุ ธศักราช ๒๕๔๐ ประเทศไทยประสบปญั หาภาวะเศรษฐกจิ ตกต่ำ ไดพ้ ระราชทานหลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง ทรงวางแนวทางการดำเนนิ ชวี ติ ใหร้ าษฎร เปน็ ผลให้เกิดการพฒั นาสงั คมและทรัพยากร
บุคคลอยา่ งมั่นคงย่งั ยนื

ด้านการศึกษา ทรงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพชีวิตราษฎร ซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศทุกๆ ระดับ มี
พระราชดำริส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาทุกสาขาแก่เยาวชนและประชาชนอย่างทั่วถึง การศึกษาในระบบ
โรงเรียนทวั่ ประเทศต้ังแต่ในเมืองไปจนถึงถน่ิ ทรุ กันดาร เชน่ โรงเรียนจติ รลดา ในภูมภิ าค เช่น โรงเรียนเจ้าพ่อ
หลวงอุปถัมภ์ โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ฯลฯ จัดโครงการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนครูและเพิ่มแหล่งศึกษาให้เยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีโอกาสเล่าเรียนได้อย่างต่อเน่อื ง
การศกึ ษานอกระบบ ไดแ้ ก่ โรงเรียนพระดาบส และการศึกษาตามอธั ยาศยั คือโครงการตามพระราชดำริสาขา
ต่างๆ จำนวนมาก จัดทำสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน และพระราชทานทุนการศึกษาอย่างกว้างขวาง เช่น
ทุนอานนั ทมหิดล ทุนมูลนธิ ิภูมพิ ล เป็นต้น

ด้านศิลปวัฒนธรรม มีพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ศิลปะทุกสาขา ทรง
สนพระราชหฤทัยในศิลปวัฒนธรรมของชาติทุกแขนง ทรงเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์มรดกของชาติ ทรง
ฟ้ืนฟพู ระราชพธิ พี ชื มงคลจรดพระนังคลั แรกนาขวญั นอกจากนยี้ งั มีพระราชดำริบรู ณปฏิสงั ขรณว์ ัดพระศรีรตั น
ศาสดาราม โปรดให้เขียนจติ รกรรมฝาผนงั พระพุทธรตั นสถาน ทรงอุปถัมภ์การแสดงโขนละครศิลปะการแสดง
อันเป็นจารีตแบบแผนของชาติ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในการดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์เพลงที่กล่าวได้วา่
เป็นอมตะเพื่อปวงชนจำนวนมาก เช่น เพลงพรปีใหม่ สายฝน ใกล้รุ่ง แสงเทียน ฯลฯ พระราชนิพนธ์
วรรณกรรมเรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเร่ืองติโตและนายอนิ ทร์ผปู้ ิดทองหลงั พระ

ด้านศาสนา ทรงเคร่งครัดและทำนุบำรุงศาสนา ทรงเป็นแบบอย่างที่ล้ำเลิศในการผดุงรักษา
พระพทุ ธศาสนาให้ประดิษฐานถาวรเจรญิ รงุ่ เรื่องในแผ่นดนิ ทรงเป็นองค์อคั รศาสนูปถัมภก พระราชทานพระ
บรมราชปู ถมั ภบ์ ำรุงศาสนาอืน่ ๆในพระราชอาณาจกั ร ให้พสกนิกรทกุ ศาสนาอยู่รว่ มกันอย่างสันติสุข

มีพระราชดำริสร้างวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ให้เป็นวัดแบบอย่าง คำนึงถึงประโยชน์ที่สาน
สัมพันธ์ร่วมกันระหว่าง วัด บ้านและโรงเรียน ที่เรียกว่า “บวร” ให้มีความเรียบง่าย และประหยัด เมื่อใช้
ประโยชนแ์ ละกจิ กรรมร่วมกัน

ด้านสาธารณสุข ทรงตระหนักถึงสุขภาพอนามัยประชาชน กำจัดโรคระบาดที่คุกคามบั่นทอนชีวิต
ราษฎร ได้แก่ โรคเรื้อน วัณโรค โปลิโอ และโรคติดต่อร้ายแรง จัดตั้งหน่วยงานแพทย์หลวง หน่วยแพทย์
พระราชทานทั้งทางบกทางน้ำ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน ก่อตั้งมูลนิธิราชประชาสมาสัย และ
มูลนิธิประชานุเคราะห์ ดำเนินงานช่วยเหลือในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะก่อตั้งมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการ
ช่วยเหลือประชาชนได้รวดเร็ว ในด้านการแพทย์ ส่งเสริมให้ทุนนายแพทย์สาขาต่างๆ ไปศึกษาเพิ่มเติมใน
ต่างประเทศ เพ่ือนำวทิ ยาการทีเ่ จริญมาพัฒนาประเทศ

ดา้ นการคมนาคม ทรงวางแผนสร้างถนนเพื่อความมน่ั คงของประเทศและพัฒนาบา้ นเมือง เสน้ ทาง
ข้ามภูเขาในภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ภาคเหนอื ภาคใต้ โดยเฉพาะเส้นทาง สายนา่ น-ปวั -ทุ่งช้าง-ปอน-ห้วย
โกรน๋ ในพ้ืนทอ่ี นั ตรายทผ่ี ้กู ่อการรา้ ยขัดขวาง ทัง้ ทรงแกป้ ัญหาจราจรดว้ ยระบบเครอื ขา่ ย ไดแ้ ก่ ถนนวงแหวน
รัชดาภิเษก กาญจนาภิเษก โครงขา่ ยถนนจตุรทศิ เหนือ-ใต้ ตะวันออก-ตะวันตก รับรองการจราจรข้าม
กรงุ เทพฯ ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม สะพานขนาดใหญ่ข้ามแม่นำ้ เจ้าพระยาสองช่วงที่โดดเด่นสง่างาม

สะพานแขวนพระราม ๘ ทางคูข่ นานลอยฟา้ ถนน
บรมราชชนนี เป็นตน้

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมพิ ลอดลุ ยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร คอื ดวงมณี
ดวงประทปี และดวงใจของชาวไทย ทรงแผ่พระมหาบารมอี นั บรสิ ุทธิ์ไพศาล ทรงร่วมทกุ ข์ร่วมสขุ กบั ปวง
ประชาชาวไทย พระราชทานความรกั ความหว่ งใย เปยี่ มดว้ ยพระเมตตาอนั ประมาณมไิ ด้ ทรงท่มุ เทพระ
วิรยิ ะ อสุ าหะ พระปรชี าญาณ สร้างความสุขสวัสด์ยิ ่งั ยนื แก่ประชาชนของพระองค์อยา่ งมิทรงรู้สกึ เหนด็
เหน่อื ย ชาติไทยจึงกา้ วหน้ารุ่งเร่อื งเป็นลำดบั ทรงเป็นหลกั ชยั นำทางแก่ชาติยาวนานถึง ๗๐ ปี ๔ เดอื น ๗
วัน นับเปน็ ความวปิ โยคสุดอาลัยเมื่อพระองคเ์ สด็จสูส่ วรรคาลยั เมื่อวนั พฤหัสบดี ท่ี ๑๓ ตุลาคม
พทุ ธศกั ราช ๒๕๕๙ ชาวไทยทง้ั ชาตติ า่ งนอ้ มศิรเกลา้ กราบสกั การะพระผสู้ ถิตในดวงใจตราบนิรนั ดร์


Click to View FlipBook Version